Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๒ หน้า ๕๖ - ๑๑๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น
[๘๕-๘๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อริยมรรค
มีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นแล้วถึง
ความเจริญเต็มที่ เหมือนสีลสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนฉันทสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนอัตตสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนทิฏฐิสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนอัปปมาทสัมปทานี้ ฯลฯ
สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๙-๑๓ จบ

๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา
[๙๐] “... เหมือนโยนิโสมนสิการสัมปทานี้
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”
โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑๔ จบ
ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัลยาณมิตตสูตร ๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. กัลยาณมิตตสูตร
๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ

๙. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑
[๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไป
สู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๑ จบ

๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๔ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น
[๙๒-๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๖. ฉัฎฐปาจีนนินนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะที่ ๒-๕ จบ

๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๖
[๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา
แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ฉัฏฐปาจีนนินนสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑
[๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่
สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๗ จบ

๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น
[๙๘-๑๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลาก
ไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๘-๑๒ จบ

คังคาเปยยาลวาร ท่านเขียนไว้โดยย่อ พึงให้พิสดารในเปยยาล

คังคาเปยยาลวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๒-๖. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ

๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาลที่ ๒
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑
[๑๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๑ จบ

๒-๖. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น
[๑๐๔-๑๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ
ปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะที่ ๒-๖ จบ

๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑
[๑๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไป
สู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น
[๑๑๐-๑๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร
หลากไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๘-๑๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๑๔-๑๘. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ

(หมวดที่ ๒ ว่าด้วยธรรมเป็นที่กำจัดราคะมี ๑๒ สูตร คือ
๖ สูตรแรก ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน
๖ สูตรหลัง ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร)

๑๓. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑
[๑๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔-๑๘. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น
[๑๑๖-๑๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ
ปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๑๙. ปฐมสมุททนินนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะที่ ๑๔-๑๘ จบ

๑๙. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑
[๑๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่
สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๑๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๒๐-๒๔. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

๒๐-๒๔. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น
[๑๒๒-๑๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร
หลากไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๒๐-๒๔ จบ
(หมวดที่ ๓ ว่าด้วยธรรมอันหยั่งลงสู่อมตะมี ๑๒ สูตร)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๒๖-๓๐. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ

๒๕. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑
[๑๒๗] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖-๓๐. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น
[๑๒๘-๑๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ
ปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๓๑. ปฐมสมุททนินนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศไปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะที่ ๒๖-๓๐ จบ

๓๑. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑
[๑๓๓] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่
สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๓๒-๓๖. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๓๑ จบ

๓๒-๓๖. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น
[๑๓๔-๑๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร
หลากไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๓๒-๓๖ จบ
ทุติยคังคาเปยยาลวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๖. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
๗. ปฐมสมุททนินนสูตร ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
๑๓. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๑๔-๑๘. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
๑๙. ปฐมสมุททนินนสูตร ๒๐-๒๔. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
๒๕. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒๖-๓๐. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
๓๑. ปฐมสมุททนินนสูตร ๓๒-๓๖. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑. ตถาคตสูตร

๑๑. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
๑. ตถาคตสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเป็นเลิศ
[๑๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มี
สี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือ
มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรม
ทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท
ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น๑
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม
มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑. ตถาคตสูตร
ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มี
ความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าว
ว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม
มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็
ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มี
ความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าว
ว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑. ตถาคตสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูป
หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่า
สัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่
ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”
ตถาคตสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๓-๗. กูฏาทิสุตตปัญจกะ

๒. ปทสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าสัตว์
[๑๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลง
ในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอย
ใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่ประมาทเป็นมูล
รวม ลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น๑
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์
๘ ให้มาก อย่างนี้แล”
ปทสูตรที่ ๒ จบ

๓-๗. กูฏาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีกูฏสูตรเป็นต้น
[๑๔๑-๑๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย กลอนของเรือนยอดทั้งหมดทอดไปถึงยอด
รวมลงที่ยอด ยอดเรือนชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลอนเหล่านั้นทั้งหมด แม้ฉันใด
กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนสูตรต้น)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๘-๑๐. จันทิมาทิสุตตติกะ
กลิ่นหอมที่เกิดจากรากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณาชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่น
หอมที่เกิดจากรากเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดงชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
กลิ่นที่เกิดจากแก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
กลิ่นหอมที่เกิดจากดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกมะลิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่น
ที่เกิดจากดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
พระราชาผู้มีอำนาจน้อยทั้งหมดย่อมคล้อยตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้า
จักรพรรดิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าพระราชาผู้มีอำนาจน้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด
กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ๑
กูฏาทิสุตตปัญจกะที่ ๓-๗ จบ

๘-๑๐. จันทิมาทิสุตตติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓ สูตร มีจันทิมสูตรเป็นต้น
[๑๔๖-๑๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างของดวงดาวทั้งหมดย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่
๑๖ แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์ แสงสว่างของดวงจันทร์ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
แสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ในสารทฤดู เมื่อฝนขาดหาย ปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นสู่ท้องฟ้า
กำจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งหมดย่อมส่องแสง แผดแสงจ้า และแจ่มกระจ่าง
แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ๒
ผ้าที่ทอด้วยด้ายชนิดใดชนิดหนึ่ง ผ้าแคว้นกาสีชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าผ้า
เหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่ประมาทเป็นมูล
รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรม
เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนตถาคตสูตร)
จันทิมาทิสุตตติกะที่ ๘-๑๐ จบ
อัปปมาทวรรคที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑. พลสูตร

๑๒. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑. พลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกำลัง
[๑๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด
บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล๑แล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล

(พึงทราบความพิสดารสูตรที่บริบูรณ์ตามพรรณนาในคังคาเปยยาลข้างต้น)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑. พลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๒. พีชสูตร
ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”
พลสูตรที่ ๑ จบ

๒. พีชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพืช
[๑๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย พืชคาม๑ และภูตคาม๒ทั้งหมด ล้วนอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงเจริญงอกงามเติบโตได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ
อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๓. นาคสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
อย่างนี้แล”
พีชสูตรที่ ๒ จบ

๓. นาคสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยนาค
[๑๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมเติบโตมีกำลัง
เติบโตมีกำลังแล้วลงสู่หนอง ลงสู่หนองแล้วลงสู่บึง ลงสู่บึงแล้วลงสู่แม่น้ำน้อย
ลงสู่แม่น้ำน้อยแล้วลงสู่แม่น้ำใหญ่ ลงสู่แม่น้ำใหญ่แล้วลงสู่มหาสมุทรสาคร นาค
เหล่านั้นย่อมถึงความเจริญเติบโตทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๔. รุกขสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่าง
นี้แล”
นาคสูตรที่ ๓ จบ

๔. รุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้
[๑๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมไปสู่ทิศปราจีน โน้มไป
สู่ทิศปราจีน โอนไปสู่ทิศปราจีน ต้นไม้นั้นถูกตัดโคนแล้วพึงล้มไปทางไหน”
“ล้มไปทางที่น้อมไป โน้มไป โอนไป พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
รุกขสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๖. สูกสูตร

๕. กุมภสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยหม้อ
[๑๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย หม้อที่คว่ำ น้ำย่อมไหลออกอย่างเดียว ไม่ไหลเข้า
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก ย่อมคายบาปอกุศลธรรมออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับมา
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมคาย
บาปอกุศลธรรมออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับมา อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมคายบาปอกุศลธรรมออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับมา อย่างนี้แล”
กุมภสูตรที่ ๕ จบ

๖. สูกสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเดือย
[๑๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคล
ตั้งไว้ตรงจักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้าหรือทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ตรง แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่ภิกษุรูปนั้นมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มี
มรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก จักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะตั้งทิฏฐิไว้ถูก ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลายอวิชชา ให้
วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๘. ปฐมเมฆสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลาย
อวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง อย่างนี้แล”
สูกสูตรที่ ๖ จบ

๗. อากาสสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอากาศ
[๑๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ลมหลายชนิดพัดไปในอากาศ คือ ลมทางทิศตะวันออกพัดไป
บ้าง ลมทางทิศตะวันตกพัดไปบ้าง ลมทางทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมทางทิศใต้พัดไป
บ้าง ลมมีฝุ่นพัดไปบ้าง ลมไม่มีฝุ่นพัดไปบ้าง ลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง
ลมอ่อนพัดไปบ้าง ลมแรงพัดไปบ้าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สติปัฏฐาน ๔ ประการถึงความเจริญ
เต็มที่บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อิทธิบาท ๔ ประการถึง
ความเจริญเต็มที่บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง พละ ๕ ประการ
ถึงความเจริญเต็มที่บ้าง โพชฌงค์ ๗ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง
เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สติปัฏฐาน
๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่
บ้าง อิทธิบาท ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการถึง
ความเจริญเต็มที่บ้าง พละ ๕ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง โพชฌงค์ ๗
ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๘. ปฐมเมฆสูตร
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้
มาก สติปัฏฐาน ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ประการถึง
ความเจริญเต็มที่บ้าง อิทธิบาท ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อินทรีย์ ๕
ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง พละ ๕ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง โพชฌงค์
๗ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อย่างนี้แล”
อากาสสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมเมฆสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเมฆฝน สูตรที่ ๑
[๑๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมฆฝนก้อนใหญ่ที่เกิดนอกฤดูกาล พัดเอาฝุ่นละอองธุลี
ที่ตั้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อน๑ให้อันตรธานหายไปโดยฉับพลัน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน
ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบโดยฉับพลัน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน อย่างนี้แล”
ปฐมเมฆสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๐. นาวาสูตร

๙. ทุติยเมฆสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเมฆฝน สูตรที่ ๒
[๑๕๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ลมมรสุมพัดเอาเมฆฝนก้อนใหญ่ที่เกิดขึ้นให้อันตรธานหายไป
ในระหว่าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธาน
สงบไปในระหว่าง
ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปในระหว่าง อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปในระหว่าง อย่างนี้แล”
ทุติยเมฆสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นาวาสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเรือ
[๑๕๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกไว้ด้วยเครื่องผูกคือหวาย จอดอยู่ในน้ำ
๖ เดือน พอถึงฤดูหนาว เขาก็ยกขึ้นบก เครื่องผูกเหล่านั้นต้องลมและแดด ถูก
ฝนตกรดย่อมเปื่อยผุไปโดยง่ายดาย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบราบคาบ
ไปโดยง่ายดาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๑. อาคันตุกสูตร
เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สังโยชน์
ทั้งหลายย่อมสงบราบคาบไปโดยง่ายดาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบราบคาบไปโดยง่ายดาย อย่างนี้แล”
นาวาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อาคันตุกสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอาคันตุกะ
[๑๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย มีเรือนพักคนเดินทาง๑อยู่หลังหนึ่ง คนทั้งหลายมาจากทิศ
ตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง
เข้าพักในเรือนนั้น คือ กษัตริย์มาพักบ้าง พราหมณ์มาพักบ้าง แพศย์มาพักบ้าง
ศูทรมาพักบ้าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ฯลฯ
ละธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ทำให้แจ้งธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้นั้น ได้แก่ อุปาทาน-
ขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕ ประการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๑. อาคันตุกสูตร
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
ฯลฯ
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ เป็นอย่างไร
คือ อวิชชาและภวตัณหา
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร
คือ วิชชาและวิมุตติ
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ เป็นอย่างไร
คือ สมถะและวิปัสสนา๑
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ฯลฯ เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
กำหนดรู้ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ละธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ทำให้
แจ้งธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
อย่างนี้แล”
อาคันตุกสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๒. นทีสูตร

๑๒. นทีสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำ
[๑๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไป
สู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน ถ้าหมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามา
ด้วยตั้งใจว่า ‘พวกเราจักช่วยกันทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง
หลากไปข้างหลัง’ เธอทั้งหลายจักเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นจะพึง
ทดแม่น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน พระพุทธเจ้าข้า ใคร ๆ จะทดแม่น้ำคงคานั้นให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง
หลากไปข้างหลังมิใช่ทำได้ง่าย แต่หมู่มหาชนนั้นพึงมีส่วนแห่งความลำบาก
เหน็ดเหนื่อยแน่นอน”
“อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระราชา มหาอำมาตย์ของ
พระราชา มิตร๑ อำมาตย์๒ ญาติ๓ สาโลหิต๔ก็ตาม พึงปวารณาภิกษุผู้เจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากเพื่อให้ยินดียิ่งด้วยโภคทรัพย์
ทั้งหลายว่า ‘มาเถิดพระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ท่านจะเป็นคนหัวโล้นเที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็น
คฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญเถิด’
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้
มาก จักบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้
เลยที่จิตนั้นอันน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกตลอดกาลนานแล้ว จักเวียน
มาเพื่อเป็นคฤหัสถ์
ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนพลสูตรฉะนั้น)
นทีสูตรที่ ๑๒ จบ
พลกรณียวรรคที่ ๑๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑. เอสนาสูตร

๑๓. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑. เอสนาสูตร
ว่าด้วยการแสวงหา
[๑๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์๑
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง
๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑. เอสนาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง
๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง
๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑. เอสนาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้การแสวงหา
ทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ

ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

(พึงเพิ่มข้อความเพื่อกำหนดรู้ให้พิสดารเหมือนความรู้ยิ่งฉะนั้น)

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้ง ๓ ประการ
นี้ ฯลฯ

ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

(พึงเพิ่มข้อความเพื่อความสิ้นไปให้พิสดารเหมือนความรู้ยิ่งฉะนั้น)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๒. วิธาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อละการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อละการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความเพื่อการละให้พิสดารเหมือนความรู้ยิ่งฉะนั้น)
เอสนาสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิธาสูตร
ว่าด้วยมานะ
[๑๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย มานะ (ความถือตัว) ๓ ประการนี้
มานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มานะว่าเราเลิศกว่าเขา ๒. มานะว่าเราเสมอเขา
๓. มานะว่าเราด้อยกว่าเขา
มานะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละมานะทั้ง ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๓. เอสนาวรรค ๔. ภวสูตร
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละมานะทั้ง ๓ ประการนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนเอสนาสูตรฉะนั้น)
วิธาสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวะ
[๑๖๓] “ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้
อาสวะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละอาสวะทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อาสวสูตรที่ ๓ จบ

๔. ภวสูตร
ว่าด้วยภพ
[๑๖๔] “ภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ ประการนี้
ภพ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๓. เอสนาวรรค ๖. ขีลสูตร
๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
ภพ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละภพทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
ภวสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขตาสูตร
ว่าด้วยสภาวทุกข์
[๑๖๕] “ภิกษุทั้งหลาย สภาวทุกข์ ๓ ประการนี้
สภาวทุกข์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สภาวทุกข์คือทุกข์ ๒. สภาวทุกข์คือสังขาร
๓. สภาวทุกข์คือความแปรผันไป
สภาวทุกข์ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละสภาวทุกข์ทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
ทุกขตาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ขีลสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๑๖๖] “ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๓ ประการนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูคือราคะ
๒. กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูคือโทสะ
๓. กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูคือโมหะ
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๘. นีฆสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
ขีลสูตรที่ ๖ จบ

๗. มลสูตร
ว่าด้วยมลทิน
[๑๖๗] “ภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ ประการนี้
มลทิน ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มลทินคือราคะ ๒. มลทินคือโทสะ
๓. มลทินคือโมหะ
มลทิน ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละมลทินทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
มลสูตรที่ ๗ จบ

๘. นีฆสูตร
ว่าด้วยทุกข์
[๑๖๘] “ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ ประการนี้
ทุกข์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกข์คือราคะ ๒. ทุกข์คือโทสะ
๓. ทุกข์คือโมหะ
ทุกข์ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละทุกข์ทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
นีฆสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑๐. ตัณหาสูตร

๙. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา
[๑๖๙] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) ๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์)
เวทนา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละเวทนาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
เวทนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา
[๑๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย ตัณหา (ความทะยานอยาก) ๓ ประการนี้
ตัณหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
ตัณหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑๑. ตสินาสูตร
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
ตัณหาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ตสินาสูตร
ว่าด้วยตสินา
[๑๗๑] “ภิกษุทั้งหลาย ตสินา (ความอยาก) ๓ ประการนี้
ตสินา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามตสินา (ความอยากในกาม)
๒. ภวตสินา (ความอยากในภพ)
๓. วิภวตสินา (ความอยากในวิภพ)
ตสินา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตสินาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตสินาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
ตสินาสูตรที่ ๑๑ จบ
เอสนาวรรคที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตรร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๔. โอฆวรรค ๒. โยคสูตร

๑๔. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑. โอฆสูตร
ว่าด้วยโอฆะ
[๑๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โอฆะ (ห้วงน้ำ) ๔ ประการนี้
โอฆะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)
โอฆะ ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละโอฆะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนเอสนาสูตรฉะนั้น)
โอฆสูตรที่ ๑ จบ

๒. โยคสูตร
ว่าด้วยโยคะ
[๑๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย โยคะ (สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๔ ประการนี้
โยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามโยคะ (โยคะคือกาม) ๒. ภวโยคะ (โยคะคือภพ)
๓. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา)
โยคะ ๔ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๔. โอฆวรรค ๔. คันถสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละโยคะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
โยคสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยอุปาทาน
[๑๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน (ความยึดมั่น) ๔ ประการนี้
อุปาทาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม)
๒ ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา)
อุปาทาน ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อุปาทานสูตรที่ ๓ จบ

๔. คันถสูตร
ว่าด้วยคันถะ
[๑๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย คันถะ (กิเลสเครื่องผูก) มี ๔ ประการนี้
คันถะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคืออภิชฌา)
๒. พยาปาทกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือพยาบาท)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๕. อนุสยสูตร
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความถือมั่น
ศีลพรต)
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความยึดมั่น
ว่าสิ่งนี้จริง)
คันถะ ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละคันถะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
คันถสูตรที่ ๔ จบ

๕. อนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย
[๑๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง) ๗ ประการนี้
อนุสัย ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือปฏิฆะ)
๓. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือทิฏฐิ)
๔. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือวิจิกิจฉา)
๕. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือมานะ)
๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคืออวิชชา)
อนุสัย ๗ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัยทั้ง ๗ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อนุสยสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๗. นีวรณสูตร

๖. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ
[๑๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
กามคุณสูตรที่ ๖ จบ

๗. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์
[๑๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ ประการนี้
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความพอใจ
ในกาม)
๒. พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความคิด
ปองร้าย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความหดหู่
และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความลังเล
สงสัย)
นิวรณ์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ”
นีวรณสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุปาทานักขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์
[๑๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕
ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อุปาทานักขันธสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

๙. โอรัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์
[๑๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการนี้
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดปองร้าย)
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
โอรัมภาคิยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์
[๑๘๑] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด ... อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด ... อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้”
อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๑๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูต ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

รวมวรรคที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. อวิชชาวรรค ๒. วิหารวรรค
๓. มิจฉัตตวรรค ๔. ปฏิปัตติวรรค
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๖. สุริยเปยยาลวรรค
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑๒. พลกรณียวรรค
๑๓. เอสนาวรรค ๑๔. โอฆวรรค

มัคคสังยุตที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๑. หิมวันตสูตร

๒. โพชฌังคสังยุต
๑. ปัพพตวรรค
หมวดว่าด้วยขุนเขา
๑. หิมวันตสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์
[๑๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อม
เติบโตมีกำลัง เติบโตมีกำลังแล้วลงสู่หนอง ลงสู่หนองแล้วลงสู่บึง ลงสู่บึงแล้วลง
สู่แม่น้ำน้อย ลงสู่แม่น้ำน้อยแล้วลงสู่แม่น้ำใหญ่ ลงสู่แม่น้ำใหญ่แล้วลงสู่มหาสมุทรสาคร
นาคเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญเติบโตทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญโพชฌงค์ (ธรรมที่
เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมถึง
ความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือความ
ระลึกได้) อันอาศัยวิเวก (ความสงัด) อาศัยวิราคะ (ความคลาย
กำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
การเฟ้นธรรม) ฯลฯ
๓. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความเพียร) ...
๔. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความอิ่มใจ) ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร
๕. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความสงบกายสงบใจ) ...
๖. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความตั้งจิตมั่น) ...
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความมีใจเป็นกลาง) อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
อย่างนี้แล”
หิมวันตสูตรที่ ๑ จบ

๒. กายสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกาย
[๑๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้
ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้
อาหารของนิวรณ์
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ สุภนิมิต๑มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในสุภนิมิตนั้นให้มาก นี้
เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น