Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๕ หน้า ๒๒๐ - ๒๗๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๘. สูทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็น
โคจรเถิด เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร มารก็
จักไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
แดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร อะไรบ้าง
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจรของภิกษุ”
มักกฏสูตรที่ ๗ จบ

๘. สูทสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพ่อครัว
[๓๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลม บำรุงพระ
ราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยแกงชนิดต่าง ๆ คือ เปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัด
บ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง เฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัว
ผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลมนั้นไม่สังเกตชนิดแห่งอาหารของตนว่า ‘วันนี้ ท่าน
ชอบข้าวและแกงชนิดนี้ของเรา หรือรับแกงชนิดนี้ ตักแกงชนิดนี้มาก หรือชมแกง
ชนิดนี้ วันนี้ ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสเปรี้ยวจัดของเรา หรือรับแกงที่มีรสเปรี้ยว
จัด ตักแกงที่มีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือชมแกงที่มีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ แกงของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๘. สูทสูตร
มีรสขมจัด ... มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ...
มีรสเค็ม ... วันนี้ ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสจืดของเรา หรือรับแกงที่มีรสจืด
ตักแกงที่มีรสจืดมาก หรือชมแกงที่มีรสจืด’ พ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบ
แหลมนั้น ย่อมไม่ได้เครื่องนุ่งห่ม ไม่ได้ค่าจ้าง ไม่ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลม ไม่สังเกตชนิดแห่งอาหาร
ของตน แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เขลา ไม่ฉลาด
ไม่เฉียบแหลม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตไม่ตั้งมั่น
ละความเศร้าหมองไม่ได้ เธอไม่กำหนดนิมิตนั้น พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลาย ... พิจารณาเห็นจิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตไม่ตั้งมั่น ละความเศร้าหมองไม่ได้
เธอไม่กำหนดนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ย่อมไม่ได้ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และ
ไม่ได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด
ไม่เฉียบแหลม ไม่กำหนดนิมิตแห่งจิตของตน
ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลม บำรุงพระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยแกงชนิดต่าง ๆ คือ เปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง
เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง เฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวผู้
เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลมนั้นสังเกตชนิดแห่งอาหารของตนว่า ‘วันนี้ ท่านชอบ
ข้าวและแกงชนิดนี้ของเรา หรือรับแกงชนิดนี้ ตักแกงชนิดนี้มาก หรือชมแกงชนิดนี้
วันนี้ ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสเปรี้ยวจัดของเรา หรือรับแกงที่มีรสเปรี้ยวจัด ตัก
แกงที่มีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือชมแกงที่มีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ แกงของเรามีรสขมจัด ...
มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ... มีรสเค็ม ... วันนี้
ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสจืดของเรา หรือรับแกงที่มีรสจืด ตักแกงที่มีรสจืดมาก
หรือชมแกงที่มีรสจืด’ พ่อครัวผู้เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลมนั้นย่อมได้เครื่อง
นุ่งห่ม ได้ค่าจ้าง ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพ่อครัวนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด
เฉียบแหลม สังเกตชนิดแห่งอาหารของตน แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๙. คิลานสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นบัณฑิต
ฉลาด เฉียบแหลม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อม
ตั้งมั่น ละความเศร้าหมองได้ เธอย่อมกำหนดนิมิตนั้นได้ พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาทั้งหลาย ... พิจารณาเห็นจิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละความเศร้าหมองได้ เธอ
ย่อมกำหนดนิมิตนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมได้ธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น
เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลม กำหนดนิมิตแห่งจิตของตน”
สูทสูตรที่ ๘ จบ

๙. คิลานสูตร
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคทรงพระประชวร
[๓๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเข้าจำพรรษารอบกรุงเวสาลี ตามที่ที่มีเพื่อน ตามที่
ที่มีคนเคยคบกัน ตามที่ที่มีคนเคยคบกันมา เราก็จะเข้าจำพรรษาในเวฬุวคามนี้
เหมือนกัน” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าจำพรรษารอบกรุงเวสาลี
ตามที่ที่มีเพื่อน ตามที่ที่มีคนเคยคบกัน ตามที่ที่มีคนเคยคบกันมา ส่วนพระผู้มี
พระภาคก็ทรงเข้าจำพรรษาในเวฬุวคามนั้นเอง
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเข้าจำพรรษาแล้ว ทรงพระประชวรอย่าง
รุนแรง มีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส จวนเจียนปรินิพพาน พระองค์ทรงมี
สติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น ไม่พรั่นพรึง ทรงพระดำริว่า “การที่เราไม่บอกผู้
อุปัฏฐาก ไม่อำลาภิกษุสงฆ์ปรินิพพานนั้น ไม่เหมาะแก่เรา ทางที่ดี เราควรใช้
ความเพียรขับไล่อาพาธนี้ ดำรงชีวิตสังขารอยู่ต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๙. คิลานสูตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ความเพียรขับไล่พระอาการประชวรนั้น
ทรงดำรงชีวิตสังขารอยู่ อาการพระประชวรจึงสงบ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหาย
จากพระประชวรหายจากพระอาการไข้ไม่นาน ได้เสด็จออกจากพระวิหาร ไป
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วในร่มเงาพระวิหาร
ทีนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อข้าพระองค์ได้เห็นพระสุขภาพของพระองค์แล้ว ได้เห็นพระองค์ทรงอดทนต่อ
ทุกขเวทนาแล้ว ทำให้ร่างกายของข้าพระองค์อ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา ข้าพระองค์
รู้สึกมืดทุกด้าน แม้ธรรมก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์อีกแล้ว เพราะพระอาการไข้ของ
พระผู้มีพระภาค แต่ข้าพระองค์ก็ยังเบาใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า ‘พระผู้มีพระภาคจะยัง
ไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ยังไม่ได้ปรารภภิกษุสงฆ์แล้วตรัสพระพุทธพจน์อย่างใด
อย่างหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังจะหวังได้อะไรในเราอีกเล่า
ธรรมที่เราแสดงแล้วไม่มีในไม่มีนอก๑ ในเรื่องธรรมทั้งหลาย ตถาคตไม่มีอาจริยมุฏฐิ๒
ผู้ที่คิดว่า เราเท่านั้นจักเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป หรือว่า ภิกษุสงฆ์จะต้องยึด
เราเท่านั้นเป็นหลัก ผู้นั้นจะต้องปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่
แต่ตถาคตไม่คิดว่า เราเท่านั้นจักเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป หรือว่า ภิกษุสงฆ์จะ
ต้องยึดเราเท่านั้นเป็นหลัก แล้วทำไมตถาคตจะต้องปรารภภิกษุสงฆ์กล่าวอย่างใด
อย่างหนึ่งอีกเล่า บัดนี้เราเป็นผู้ชรา แก่ เฒ่า ล่วงกาลมานาน ผ่านวัยมามาก
เรามีวัย ๘๐ ปี ร่างกายของตถาคตยังเป็นไปได้ก็เหมือนกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซม
ด้วยไม้ไผ่ ฉะนั้น ร่างกายของตถาคตยังสบายขึ้น ก็เพราะในเวลาที่ตถาคตเข้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต๑ เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทุกอย่าง และเพราะดับเวทนาบางอย่าง
ได้เท่านั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ๒ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็น
เกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล
อานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปก็ดี จักมีตน
เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา”๓
คิลานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในสำนักภิกษุณี
[๓๗๖] ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังสำนักภิกษุณีแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น ภิกษุณี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร
หลายรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ภิกษุณีจำนวนมากในพระธรรมวินัยนี้มีจิต
ตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่
มีอยู่ก่อน”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น น้องหญิง
ทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีใน
สติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษ
อันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน” จากนั้นได้ชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสนะจากไป
ต่อมา ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังสำนักภิกษุณีแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น ภิกษุณี
จำนวนมากเข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภิกษุณีจำนวนมากในพระธรรมวินัยนี้มีจิตตั้งมั่นดี
ในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงกล่าวว่า
‘น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่
มีอยู่ก่อน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มีกายเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
บ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอกบ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิต
ไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อ
เธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง
ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้ง
มั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์
นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้
ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มี
สติในภายใน มีความสุข’
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มี
ธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นบ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก
บ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์
ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้
เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร
เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้ ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า
‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในภายใน มีความสุข’
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะการตั้งจิตไว้ อย่างนี้
ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างไร
คือ ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’
ลำดับนั้น เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลัง๑หรือข้างหน้า๒ หลุดพ้นแล้ว
ไม่ตั้งอยู่’ ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข’
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข”
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
มีความสุข’
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ มีความสุข’
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างนี้
อานนท์ ภาวนาเพราะการตั้งจิตไว้เราได้แสดงแล้ว ภาวนาเพราะการไม่ตั้งจิตไว้
เราก็ได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อานนท์ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้
มีความร้อนใจในภายหลัง นี้คือคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดี ชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ภิกขุนูปัสสยสูตรที่ ๑๐ จบ
อัมพปาลิวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัมพปาลิสูตร ๒. สติสูตร
๓. ภิกขุสูตร ๔. สาลสูตร
๕. อกุสลราสิสูตร ๖. สกุณัคฆิสูตร
๗. มักกฏสูตร ๘. สูทสูตร
๙. คิลานสูตร ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๑. มหาปุริสสูตร

๒. นาลันทวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เมืองนาลันทา
๑. มหาปุริสสูตร
ว่าด้วยมหาบุรุษ
[๓๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘มหาบุรุษ มหาบุรุษ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคล
จึงชื่อว่าเป็นมหาบุรุษ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร เรากล่าวว่า ‘มหาบุรุษ’ เพราะมี
จิตหลุดพ้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ใช่มหาบุรุษ’ เพราะมีจิตยังไม่หลุดพ้น
บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ถือมั่น
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้น เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๒. นาลันทสูตร
สารีบุตร เรากล่าวว่า ‘มหาบุรุษ’ เพราะมีจิตหลุดพ้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ใช่
มหาบุรุษ’ เพราะมีจิตยังไม่หลุดพ้น”
มหาปุริสสูตรที่ ๑ จบ

๒. นาลันทสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เมืองนาลันทา
[๓๗๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาลันทา ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี
จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางสัมโพธิญาณ
ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจา๑อย่างยิ่ง เธอถือ
เอาด้านเดียว บันลือสีหนาท๒ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสใน
พระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น
ซึ่งจะมีปัญญาในทางสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค’
สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทุกพระองค์ในอดีตกาลด้วยใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น
ทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคเหล่านั้นทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
เหล่านั้นทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๒. นาลันทสูตร
“สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทุกพระองค์ในอนาคตกาลด้วยใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
เหล่านั้น จักทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมี
ธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีปัญญาอย่างนี้
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร เธอกำหนดรู้ใจเราผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลานี้ด้วย
ใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีปัญญา
อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร ในเรื่องนี้ เธอไม่มีญาณกำหนดรู้พระทัยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงกล่าว
อาสภิวาจาอย่างยิ่งนี้ เธอถือเอาด้านเดียวบันลือสีหนาทว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มี
สมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงแม้ว่าข้าพระองค์จะไม่มีญาณกำหนดรู้พระทัยของ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน แต่ข้าพระองค์ก็รู้
วิธีการอนุมาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมืองชายแดนของพระราชามีรากฐานมั่นคง
มีกำแพงและป้อมค่ายแน่นหนา มีประตูเดียว นายประตูของเมืองนั้นเป็นคนเฉลียว
ฉลาด หลักแหลม ห้ามคนที่ไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินสำรวจ
ดูหนทางไปรอบเมืองนั้น ไม่พบรอยต่อหรือช่องกำแพง โดยที่สุดแม้พอที่แมวรอด
ออกไปได้ เขาย่อมรู้ว่า ‘สัตว์ใหญ่ทุกชนิดจะเข้าหรือออกที่เมืองนี้ จะเข้าหรือออก
ทางประตูนี้เท่านั้น’ แม้ฉันใด วิธีการอนุมานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ทราบ
ว่า ‘พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีตกาล ทรงละนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๓. จุนทสูตร
๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีใน
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริง ได้
ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอนาคตกาล ทรงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริง จักตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยม แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕
ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีใน
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริง ตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร เพราะเหตุนั้น เธอพึงกล่าวธรรมบรรยายนี้เนืองๆ
แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยว่าโมฆะบุรุษเหล่าใดจักมีความ
เคลือบแคลงหรือความสงสัยในตถาคต โมฆะบุรุษเหล่านั้นจักละความเคลือบแคลง
หรือความสงสัยในตถาคต เพราะได้ฟังธรรมบรรยายนี้”๑
นาลันทสูตรที่ ๒ จบ

๓. จุนทสูตร
ว่าด้วยจุนทสมณุทเทส
[๓๗๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้าน
นาฬกคาม แคว้นมคธ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก อนึ่ง จุนทะ
สมณุทเทส๒ เป็นผู้ปรนนิบัติท่าน
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั้นแล ทีนั้น จุนทะ
สมณุทเทสจึงถือบาตรและจีวรของท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๓. จุนทสูตร
พระเชตวัน ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
สารีบุตรปรินิพพานแล้ว ขอรับ นี้บาตรและจีวรของท่าน”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “จุนทะ มูลเรื่องนี้ให้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด
จุนทะ พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลเรื่องนี้” จุนทะ
สมณุทเทสรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว
ต่อมา ท่านพระอานนท์และจุนทะ สมณุทเทส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จุนทะ สมณุทเทสนี้ได้กล่าวอย่าง
นี้ว่า ‘ท่านสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ร่างกายของข้าพระองค์อ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา ข้าพระองค์รู้สึกมืดทุกด้าน
แม้ธรรมก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เพราะได้ฟังว่า ‘ท่านสารีบุตรปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “อานนท์ สารีบุตรพาเอาสีลขันธ์ สมาธิขันธ์
ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๑ปรินิพพานไปด้วยหรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “มิใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ท่านสารีบุตร
ไม่ได้พาเอาสีลขันธ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย แต่ท่าน
สารีบุตรได้เป็นผู้ให้โอวาท ชักนำให้รู้ ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง เอาใจใส่ในการแสดงธรรม
อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารี ข้าพระองค์ทั้งหลายระลึกถึงโอชะแห่งธรรม โภคธรรม
และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้นของท่าน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เราได้บอกเรื่องนั้นไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า
‘ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจ
ทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า
‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’ เมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ยืนต้นอยู่ ต้นที่ใหญ่กว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๔. อุกกเจลสูตร
พึงโค่นลง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ผู้เป็นหลักยังดำรงอยู่ สารีบุตร
ปรินิพพานแล้วก็ฉันนั้น ฉะนั้น จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า
‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็น
เกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล
อานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปก็ดี จักมีตน
เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา”
จุนทสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุกกเจลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อุกกเจลนิคม
[๓๘๐] สมัยหนึ่ง เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะปรินิพพานได้ไม่นาน
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เขตอุกกเจลนิคม แคว้นวัชชี
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
ประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๔. อุกกเจลสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์ที่นิ่งอยู่แล้วรับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสารีบุตรและโมคคัลลานะปรินิพพานแล้ว
บริษัทของเรานี้ปรากฏเหมือนว่างเปล่า สารีบุตรและโมคคัลลานะอยู่ในทิศใด
บริษัทของเราไม่ว่างเปล่า ไม่มีความห่วงใยในทิศนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่านั้นใดได้มีแล้วในอดีตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นได้มีคู่สาวกนั้นเป็น
อย่างยิ่งเหมือนกับสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่านั้นใดจักมีในอนาคตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นก็จักมีคู่สาวกนั้นเป็นอย่างยิ่ง
เหมือนสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา
ภิกษุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏสำหรับสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า
สาวกทั้งหลายจักทำตามคำสอนและทำตามคำสั่งของพระศาสดา จักเป็นที่รัก
ที่พอใจ และเป็นที่เคารพสรรเสริญของบริษัท ๔
ภิกษุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏสำหรับตถาคต เมื่อคู่สาวก
เห็นปานนี้ปรินิพพานแล้ว โสกะหรือปริเทวะย่อมไม่มีแก่ตถาคต ฉะนั้น จะไปหวัง
อะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็น
ธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’ เมื่อ
ต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ยืนต้นอยู่ ต้นที่ใหญ่กว่าพึงโค่นลง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ผู้เป็นหลักยังดำรงอยู่ สารีบุตรและโมคคัลลานะปรินิพพานแล้วก็ฉันนั้น ฉะนั้น
จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตก
สลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๕. พาหิยสูตร
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ
มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปก็ดี จักมี
ตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา”
อุกกเจลสูตรที่ ๔ จบ

๕. พาหิยสูตร
ว่าด้วยพระพาหิยะ
[๓๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พาหิยะ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็น๑ที่ตรง
พาหิยะ เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นจักตรง เมื่อนั้น
เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๖. อุตติยสูตร
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พาหิยะ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืนหรือ
วันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”
ลำดับนั้น ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุก
จากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระพาหิยะก็หลีก
ออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้
ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระพาหิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
พาหิยสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุตติยสูตร
ว่าด้วยพระอุตติยะ
[๓๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๖. อุตติยสูตร
วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์
ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุตติยะ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นที่ตรง
อุตติยะ เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดีและความเห็นจักตรง เมื่อนั้น เธอ
อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
อุตติยะ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจักถึงจุดจบแห่งความตาย๑
ลำดับนั้น ท่านพระอุตติยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุก
จากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระอุตติยะก็หลีก
ออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้
ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๗. อริยสูตร
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระอุตติยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อุตติยสูตรที่ ๖ จบ

๗. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ
[๓๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ประการนั้น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔
ประการนั้น”
อริยสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๘. พรหมสูตร

๘. พรหมสูตร
ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม
[๓๘๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความรำพึงขึ้น
มาว่า “ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ
และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและ
ปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึง
หายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เปรียบเหมือน
บุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้เแขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้าเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่าง
นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ
ทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๙. เสทกสูตร
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลคำนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นธรรม
อันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ
ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ทรงรู้จักทางอันเป็นทางเดียว
ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว
จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยทางนี้”
พรหมสูตรที่ ๘ จบ

๙. เสทกสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่เสทกนิคม
[๓๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อ
เสทกะ แคว้นสุมภะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว คนจัณฑาลผู้เป็นนักไต่ราว ยกไม้ไผ่ขึ้นตั้งไว้
แล้วเรียกศิษย์ชื่อเมทกถาลิกะมาบอกว่า ‘เมทกถาลิกะผู้สหาย เธอจงขึ้นราวไม้ไผ่
แล้วยืนบนคอของเราเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๙. เสทกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์รับคำของคนจัณฑาลผู้เป็นนักไต่ราว
แล้วได้ขึ้นราวไม้ไผ่ ยืนอยู่บนคอของอาจารย์ คนจัณฑาลผู้เป็นนักไต่ราวได้กล่าวว่า
‘เมทกถาลิกะผู้สหาย เธอจงรักษาเรา เราก็จักรักษาเธอ เราทั้งสองต่างคุ้มครอง
รักษากันและกันอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ และจักลงจากราวไม้ไผ่โดย
ความสวัสดี’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออาจารย์กล่าวอย่างนี้แล้ว เมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์ได้กล่าว
ว่า ‘ท่านอาจารย์ ก็เรื่องนี้ จักเป็นอย่างนั้นหามิได้ ท่านจงรักษาตน ผมก็จักรักษาตน
เราทั้งสองต่างคุ้มครองรักษาตนอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ และจักลงจาก
ราวไม้ไผ่โดยความสวัสดี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสนับสนุนว่า “อุบายในเรื่องนั้นมีอยู่” เหมือนศิษย์ชื่อ
เมทกถาลิกะได้พูดกับอาจารย์ คือ พระองค์ได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาตน’
พึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาผู้อื่น’ บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษา
ผู้อื่น เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน
บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อรักษาตนด้วยการปฏิบัติ ด้วยการเจริญ ด้วยการทำให้มาก
ชื่อว่ารักษาผู้อื่น
บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่นด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยจิต
เมตตา ด้วยความเอ็นดู ชื่อว่ารักษาตน
บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน เป็นอย่างนี้แล
เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาตน’ พึงปฏิบัติ
สติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาผู้อื่น’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่า
รักษาตน”
เสทกสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร

๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร
ว่าด้วยนางงามในชนบท
[๓๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อเสทกะ ใน
แคว้นสุมภะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า ‘มีนางงามในชนบท๑ มีนางงามใน
ชนบท’ จึงประชุมกัน ก็นางงามในชนบทนั้นน่าดูยิ่งนักในเวลาฟ้อนรำ น่าฟังยิ่งนัก
ในเวลาขับร้อง หมู่มหาชนได้ทราบข่าวอีกว่า ‘นางงามในชนบทจะฟ้อนรำ จะขับร้อง’
จึงประชุมกันแน่นขนัดประมาณไม่ได้ ทีนั้น มีบุรุษคนหนึ่งผู้รักตัวกลัวตาย รักสุข
เกลียดทุกข์เดินมา หมู่มหาชนพึงพูดกับเขาอย่างนี้ว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ท่านพึงนำ
ภาชนะน้ำมันซึ่งเต็มเปี่ยมนี้ผ่านไประหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามชนบท และจักมี
บุรุษเงื้อดาบติดตามไปข้างหลังๆ โดยบอกว่า ‘ถ้าท่านจักทำน้ำมันหกแม้เพียง
หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงในที่นั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะไม่ใส่
ใจภาชนะน้ำมันโน้นแล้ว เผลอนำไปในภายนอกเทียวหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรายกอุปมานี้มา ก็เพื่อให้เข้าใจ
เนื้อความชัดเจน เนื้อความในเรื่องนี้มีดังต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คำว่า ‘ภาชนะน้ำมันซึ่งเต็มเปี่ยม’ นี้เป็นคำเรียกกายคตาสติ เพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘กายคตาสติจักเป็นกัมมัฏฐานที่พวกเราเจริญ
ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๑๐ จบ
นาลันทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาปุริสสูตร ๒. นาลันทสูตร
๓. จุนทสูตร ๔. อุกกเจลสูตร
๕. พาหิยสูตร ๖. อุตติยสูตร
๗. อริยสูตร ๘. พรหมสูตร
๙. เสทกสูตร ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๑. สีลสูตร

๓. สีลัฏฐิติวรรค
หมวดว่าด้วยความดำรงอยู่แห่งศีล
๑. สีลสูตร
ว่าด้วยศีลที่เป็นกุศล
[๓๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม เขตเมือง
ปาฏลีบุตร ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระภัททะออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาค
ตรัสศีลที่เป็นกุศล๑เหล่านี้ไว้ทรงมีพระประสงค์อะไร”
ท่านพระอานนท์กล่าวสอบถามว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของ
ท่านดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ท่านอานนท์ พระผู้มี
พระภาคตรัสศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ไว้ ทรงมีพระประสงค์อะไร’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ท่านภัททะ พระผู้มีพระภาคตรัสศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ไว้ ก็เพียงเพื่อเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ประการเท่านั้น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๒. จิรัฏฐิติสูตร
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านภัททะ พระผู้มีพระภาคตรัสศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ไว้ ก็เพียงเพื่อเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เท่านั้น”
สีลสูตรที่ ๑ จบ

๒. จิรัฏฐิติสูตร
ว่าด้วยความดำรงอยู่ได้นานแห่งพระสัทธรรม
[๓๘๘] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรแรก
ท่านพระภัททะนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
อานนท์ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อ
พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรม
ดำรงอยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว”
ท่านพระอานนท์กล่าวสอบถามว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของ
ท่านดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ท่านอานนท์ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จ
ปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานในเมื่อ
พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และ
เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรง
อยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๓. ปริหานสูตร
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และเพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้
นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว”
จิรัฏฐิติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปริหานสูตร
ว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม
[๓๘๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม
เขตเมืองปาฏลีบุตร ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระภัททะออกจากที่หลีกเร้นเข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ อะไรหนอเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมเสื่อม และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่เสื่อม”
ท่านพระอานนท์กล่าวสอบถามว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของ
ท่านดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ท่านอานนท์ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมเสื่อม และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระ
สัทธรรมไม่เสื่อม’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๔. สุทธสูตร
“ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงเสื่อม และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม”
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงเสื่อม และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม”
ปริหานสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุทธสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐานล้วน
[๓๙๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๕. อัญญตรพราหมณสูตร
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้”
สุทธสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัญญตรพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์คนหนึ่งทูลถามปัญหา
[๓๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว
และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อ
ตถาคตปรินิพพาน แล้ว และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๖. ปเทสสูตร
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พราหมณ์ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว และเพราะสติปัฏฐาน
๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้นานในเมื่อ
ตถาคตปรินิพพานแล้ว”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมไพเราะชัดเจนยิ่งนัก ขอท่านพระโคดม
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อัญญตรพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปเทสสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานบางข้อ
[๓๙๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ และท่านพระ
อนุรุทธะอยู่ ณ กัณฏกีวัน เขตเมืองสาเกต ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรและ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่หลีกเร้นแล้วเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะ ที่เรียกกันว่า ‘พระเสขะ
พระเสขะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพระเสขะ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะได้
เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการเป็นบางข้อ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๗. สมัตตสูตร
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เป็น
บางข้อ”
ปเทสสูตรที่ ๖ จบ

๗. สมัตตสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานครบบริบูรณ์
[๓๙๓] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรที่ ๖
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ที่เรียกกันว่า ‘พระอเสขะ พระอเสขะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพระอเสขะ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะได้เจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ประการครบบริบูรณ์”
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ครบบริบูรณ์”
สมัตตสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๙. สิริวัฑฒสูตร

๘. โลกสูตร
ว่าด้วยผู้รู้โลก
[๓๙๔] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรที่ ๖
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ท่านอนุรุทธะถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหน ที่ท่านเจริญ
ทำให้มากแล้ว
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ ผมถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ ผมถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว และผมรู้แจ้งโลก ๑,๐๐๐ โลกได้ เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
โลกสูตรที่ ๘ จบ

๙. สิริวัฑฒสูตร
ว่าด้วยสิริวัฑฒคหบดี
[๓๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น คหบดีชื่อสิริวัฑฒะป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้
เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มานี่แน่ะบุรุษผู้เจริญ เธอจงเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ถึงที่อยู่ แล้วกราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า เรียนตามคำของเราว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๙. สิริวัฑฒสูตร
‘ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าทั้งสองของ
ท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเธอจงเรียนว่า ‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์เข้าไป
เยี่ยมสิริวัฑฒคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” บุรุษนั้นรับคำของสิริวัฑฒคหบดีแล้วเข้าไป
หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนท่านพระอานนท์
ดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าทั้ง
สองของท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมาเรียนว่า ‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์
เข้าไปเยี่ยมสิริวัฑฒคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
ยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามว่า “คหบดี ท่านยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลงไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ
ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
สิริวัฑฒคหบดีตอบว่า “ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ ขอรับ”
“คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
จักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ จักพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ จัก
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ คหบดี ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
“ท่านผู้เจริญ ธรรมคือสติปัฏฐาน ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วมี
อยู่ในผม และผมก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะผมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านผู้เจริญ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
แล้ว ผมไม่เล็งเห็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นข้อใดข้อหนึ่งในตนที่ยังละไม่ได้”
“คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ อนาคามิผลท่านก็ทำให้
แจ้งแล้ว”
สิริวัฑฒสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. มานทินนสูตร
ว่าด้วยมานทินนคหบดี
[๓๙๖] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรที่ ๙
สมัยนั้น คหบดีชื่อมานทินนะป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้เรียกบุรุษคน
หนึ่งมาสั่งว่า “มานี่แน่ะบุรุษผู้เจริญ ฯลฯ๑
มานทินนคหบดีตอบว่า “ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ ท่าน
ผู้เจริญ แม้ผมจะได้รับทุกขเวทนาเห็นปานนี้ก็ยังพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
ท่านผู้เจริญ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
ผมไม่เล็งเห็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นข้อใดข้อหนึ่งในตนที่ยังละไม่ได้”
“คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ อนาคามิผลท่านก็ทำให้แจ้งแล้ว”
มานทินนสูตรที่ ๑๐ จบ
สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีลสูตร ๒. จิรัฏฐิติสูตร
๓. ปริหานสูตร ๔. สุทธสูตร
๕. อัญญตรพราหมณสูตร ๖. ปเทสสูตร
๗. สมัตตสูตร ๘. โลกสูตร
๙. สิริวัฑฒสูตร ๑๐. มานทินนสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๑. อนนุสสุตสูตร

๔. อนนุสสุตวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
๑. อนนุสสุตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
[๓๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า๑ ‘นี้คือการพิจารณาเห็นกายในกาย’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว
ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นกายในกายนี้
ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณา
เห็นกายในกายนี้ เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้คือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ควรเจริญ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้คือการพิจารณาเห็นจิตในจิต’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๒. วิราคสูตร
แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ควรเจริญ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายนี้เราได้เจริญแล้ว”
อนนุสสุตสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิราคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
[๓๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๓. วิรัทธสูตร
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
วิราคสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด
[๓๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคล
เหล่านั้นพลาดแล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
ปรารภแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาด
แล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
มีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”
วิรัทธสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๕. สติสูตร

๔. ภาวิตสูตร
ว่าด้วยผู้เจริญสติปัฏฐาน
[๔๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้”
ภาวิตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สติสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติสัมปชัญญะ
[๔๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๖. อัญญาสูตร
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่
ปรากฏถึงความดับไป มีวิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป มีสัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย”
สติสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัญญาสูตร
ว่าด้วยเหตุให้บรรลุอรหัตตผล
[๔๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๗. ฉันทสูตร
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
พึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี”
อัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. ฉันทสูตร
ว่าด้วยผู้ละฉันทะ
[๔๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกาย
อยู่ ย่อมละฉันทะ(ความพอใจ)ในกายนั้นได้ เพราะละฉันทะได้
จึงทำอมตะ(นิพพาน)ให้แจ้ง
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ย่อมละฉันทะในเวทนา
ทั้งหลาย เพราะละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิต
อยู่ ย่อมละฉันทะในจิต เพราะละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๘. ปริญญาตสูตร
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมละฉันทะในธรรมทั้งหลาย เพราะ
ละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง”
ฉันทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปริญญาตสูตร
ว่าด้วยผู้กำหนดรู้สติปัฏฐาน
[๔๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกาย
อยู่ ย่อมกำหนดรู้กาย เพราะกำหนดรู้กายจึงทำอมตะให้แจ้ง
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ย่อมกำหนดรู้เวทนา
เพราะกำหนดรู้เวทนาจึงทำอมตะให้แจ้ง
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิต
อยู่ ย่อมกำหนดรู้จิต เพราะกำหนดรู้จิตจึงทำอมตะให้แจ้ง
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย ย่อมกำหนดรู้ธรรม เพราะกำหนดรู้ธรรม
จึงทำอมตะให้แจ้ง”
ปริญญาตสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

๙. ภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
[๔๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล”
ภาวนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกสติปัฏฐาน
[๔๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐานและ
ปฏิปทาที่ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
สติปัฏฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๑๐. วิภังคสูตร
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
การเจริญสติปัฏฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายอยู่ พิจารณาเห็นธรรม
เป็นเหตุดับในกายอยู่ พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรม
เป็นเหตุดับในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นทั้ง
ธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า การเจริญสติปัฏฐาน

ปฏิปทาที่ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน”
วิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ
อนนุสสุตวรรคที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนนุสสุตสูตร ๒. วิราคสูตร
๓. วิรัทธสูตร ๔. ภาวิตสูตร
๕. สติสูตร ๖. อัญญาสูตร
๗. ฉันทสูตร ๘. ปริญญาตสูตร
๙. ภาวนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๒. สมุทยสูตร

๕. อมตวรรค
หมวดว่าด้วยอมตะ
๑. อมตสูตร
ว่าด้วยอมตะ
[๔๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นในสติ-
ปัฏฐาน ๔ ประการอยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะ (นิพพาน) พึงมี
แก่เธอทั้งหลาย
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้อยู่เถิด
อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย”
อมตสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งสติปัฏฐาน
[๔๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ ประการ
เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๓. มัคคสูตร
ความเกิดแห่งกาย เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาหารเกิด กายจึงเกิด เพราะอาหารดับ กายจึงดับ เพราะผัสสะ
เกิด เวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะนามรูปเกิด จิตจึงเกิด
เพราะนามรูปดับ จิตจึงดับ เพราะมนสิการเกิด ธรรมจึงเกิด เพราะมนสิการดับ
ธรรมจึงดับ”
สมุทยสูตรที่ ๒ จบ

๓. มัคคสูตร
ว่าด้วยทางเดียว
[๔๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สมัยหนึ่ง เราเมื่อแรกตรัสรู้อยู่ใต้ต้นไม้อชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลา หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดได้เกิดความรำพึงขึ้นมาว่า ‘ทางนี้เป็นทาง
เดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับ
ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน
๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและ
ปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๓. มัคคสูตร
ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของเราแล้ว จึงหายตัวจาก
พรหมโลกมาปรากฏตรงหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก หรือคู้
แขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางเราแล้ว
กล่าวว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้ง
หลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลคำนี้แล้วจึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
“พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นธรรม
อันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ
ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ทรงรู้จักทางอันเป็นทางเดียว
ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว
จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยทางนี้”
มัคคสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๕. กุสลราสิสูตร

๔. สติสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติ
[๔๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอ
ทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุพึงมีสติอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
สติสูตรที่ ๔ จบ

๕. กุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองกุศล
[๔๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๖. ปาติโมกขสังวรสูตร
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าว
ถึงสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ”
กุสลราสิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปาติโมกขสังวรสูตร
ว่าด้วยปาติโมกขสังวร
[๔๑๒] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอจงสำรวมด้วยสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ(มารยาท) และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด เมื่อใด เธอจักสำรวมด้วยสังวรในพระ
ปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึง
เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๗. ทุจจริตสูตร
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
นี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืนและวันที่จัก
มาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา เธอก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ปาติโมกขสังวรสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยการละทุจริต
[๔๑๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะ
พึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๘. มิตตสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอจักละกายทุจริตแล้ว เจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริต
แล้ว เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริตแล้ว เจริญมโนสุจริต เมื่อใด เธอจักละกายทุจริต
แล้ว เจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริตแล้ว เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริตแล้ว เจริญ
มโนสุจริต เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืนและวันที่จัก
มาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย”
ทุจจริตสูตรที่ ๗ จบ

๘. มิตตสูตร
ว่าด้วยการชักชวนมิตรให้เจริญสติปัฏฐาน
[๔๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคน
เหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตามให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง
เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๙. เวทนาสูตร
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็น
มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตามให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลาย
พึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้”
มิตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา
[๔๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อกำหนด
รู้เวทนา ๓ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๑๐. อาสวสูตร
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เพื่อกำหนดรู้
เวทนา ๓ ประการนี้”
เวทนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวะ
[๔๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้
อาสวะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามาสวะ ๒. ภวาสวะ
๓. อวิชชาสวะ
อาสวะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการเพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เพื่อละอาสวะ
๓ ประการนี้”
อาสวสูตรที่ ๑๐ จบ
อมตวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อมตสูตร ๒. สมุทยสูตร
๓. มัคคสูตร ๔. สติสูตร
๕. กุสลราสิสูตร ๖. ปาติโมกขสังวรสูตร
๗. ทุจจริตสูตร ๘. มิตตสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. อาสวสูตร

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น