Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๖ หน้า ๒๗๕ - ๓๒๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. คังคานทีอาทีอาทิสุตตทวาทสกะ

๖. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. คังคานทีอาทิสุตตทวาทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๒ สูตรมีคังคานทีสูตรเป็นต้น
[๔๑๗-๔๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไป
สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑
คังคานทีอาทิสุตตทวาทสกะที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๗. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
๑-๑๐. ตถาคตาทิสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเป็นต้น
[๔๒๙-๔๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มี
เท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑
ตถาคตาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
อัปปมาทวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๘. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๘. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น
[๔๓๙-๔๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำ
ด้วยกำลังทั้งหมด

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑
พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
พลกรณียวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๙. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๐. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น
[๔๕๑-๔๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓
ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑
เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
เอสนาวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑๐. โอฆวรรค ๑-๑๐. อุทธัมภาคิยาทิสูตร

๑๐. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. อุทธัมภาคิยาทิสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์เป็นต้น
[๔๖๑-๔๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”
อุทธัมภาคิยาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ

(บัณฑิตพึงขยายสติปัฏฐานสังยุตให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

สติปัฏฐานสังยุตที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๒. ปฐมโสตาปันนสูตร

๔. อินทริยสังยุต
๑. สุทธิกวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์ล้วน
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ล้วน
[๔๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”
สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมโสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน สูตรที่ ๑
[๔๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๓. ทุติยโสตาปันนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า ‘เป็น
โสดาบัน๑ ไม่มีทางตกต่ำ๒ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๓ในวันข้างหน้า”
ปฐมโสตาปันนสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยโสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน สูตรที่ ๒
[๔๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้
เรากล่าวว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ
ในวันข้างหน้า”
ทุติยโสตาปันนสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๕. ทุติยอรหันตสูตร

๔. ปฐมอรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์ สูตรที่ ๑
[๔๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว๑ บรรลุประโยชน์ตน๒โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์๓แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”
ปฐมอรหันตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์ สูตรที่ ๒
[๔๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”
ทุติยอรหันตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑
[๔๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒
[๔๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดสัทธินทรีย์
ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๙. ปฐมวิภังคสูตร
แห่งสัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดวิริยินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดสมาธินทรีย์
ฯลฯ ไม่รู้ชัดปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่
จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสัทธินทรีย์
ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดวิริยินทรีย์ ความเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งวิริยินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิริยินทรีย์ รู้ชัดสตินทรีย์ ฯลฯ รู้ชัดสมาธินทรีย์
ฯลฯ รู้ชัดปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ในธรรมต่าง ๆ
[๔๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ในที่นี้
พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน ๔ ประการ พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ในที่นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๙. ปฐมวิภังคสูตร
พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔ ประการ พึงเห็นสตินทรีย์ได้ในที่นี้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในฌาน ๔ ประการ พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ในที่นี้
พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔ ประการ พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ในที่นี้
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”
ทัฏฐัพพสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๑
[๔๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๑’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร
วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร๑ เพื่อละอกุศลธรรม
เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง๒ มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล-
ธรรมอยู่
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร
สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตน๑อย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูดไว้นานบ้าง
นี้เรียกว่า สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้
เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”
ปฐมวิภังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๒
[๔๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้
ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ
ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูดไว้นานบ้าง
เธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณา
เห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี
สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตา-
จิต เธอสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มี
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมี
ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
เธอบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ เธอรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”
ทุติยวิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ
สุทธิกวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. ปฐมโสตาปันนสูตร
๓. ทุติยโสตาปันนสูตร ๔. ปฐมอรหันตสูตร
๕. ทุติยอรหันตสูตร ๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร
๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๘. ทัฏฐัพพสูตร
๙. ปฐมวิภังคสูตร ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๑. ปฏิลาภสูตร

๒. มุทุตรวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์ที่อ่อนกว่า
๑. ปฏิลาภสูตร
ว่าด้วยการได้อินทรีย์
[๔๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคต
ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ประการ ย่อมได้ความเพียร
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ ย่อมได้สติ
นี้เรียกว่า สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้
เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๒. ปฐมสังขิตตสูตร
ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”
ปฏิลาภสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมสังขิตตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๑
[๔๘๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น
๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี๑เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๓. ทุติยสังขิตตสูตร
๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี๑เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันผู้ธัมมานุสารีนั้น”
ปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยสังขิตตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๒
[๔๘๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น
๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น
๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันผู้ธัมมานุสารีนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ความแตกต่างแห่งผลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งอินทรีย์
ความแตกต่างแห่งบุคคลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งผล อย่างนี้”
ทุติยสังขิตตสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๕. ปฐมวิตถารสูตร

๔. ตติยสังขิตตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๓
[๔๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น
๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น
๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น
บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้บรรลุอรหัตตผล บุคคลผู้
บำเพ็ญมรรคทั้ง ๓ (ที่เหลือให้บริบูรณ์) ย่อมได้บรรลุผลทั้ง ๓ ดังกล่าวนี้ ภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ประการว่าไม่เป็นหมันเลย”
ตติยสังขิตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมวิตถารสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยพิสดาร สูตรที่ ๑
[๔๘๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๖. ทุติยวิตถารสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๙. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
นั้น
๑๐. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น”
ปฐมวิตถารสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยวิตถารสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยพิสดาร สูตรที่ ๒
[๔๘๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๖. ทุติยวิตถารสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๙. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
นั้น
๑๐. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ความแตกต่างแห่งผลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งอินทรีย์
ความแตกต่างแห่งบุคคลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งผล อย่างนี้”
ทุติยวิตถารสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๗. ตติยวิตถารสูตร

๗. ตติยวิตถารสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยพิสดาร สูตรที่ ๓
[๔๘๗] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๙. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
นั้น
๑๐. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๘. ปฏิปันนสูตร
บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้บรรลุอรหัตตผล บุคคลผู้
บำเพ็ญมรรคทั้ง ๓ (ที่เหลือให้บริบูรณ์) ย่อมได้บรรลุผลทั้ง ๓ ดังกล่าวนี้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ประการว่าไม่เป็นหมันเลย”
ตติยวิตถารสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฏิปันนสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการปฏิบัติตามลำดับอินทรีย์
[๔๘๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อรหัตตผลนั้น
๔. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีนั้น
๕. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อนาคามิผลนั้น
๖. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
สกทาคามีนั้น
๗. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
สกทาคามิผลนั้น
๘. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๑๐. อาสวักขยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดไม่มีอินทรีย์ ๕ ประการนี้โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรา
กล่าวว่า ‘เป็นผู้เหินห่าง อยู่ในฝ่ายปุถุชน”
ปฏิปันนสูตรที่ ๘ จบ

๙. สัมปันนสูตร
ว่าด้วยผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์
[๔๘๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ผู้สมบูรณ์
ด้วยอินทรีย์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์ให้ถึงความ
สงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญ
สตินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสมาธินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ
ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญปัญญินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์”
สัมปันนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ
[๔๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ ๕
ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว”
อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
มุทุตรวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฏิลาภสูตร ๒. ปฐมสังขิตตสูตร
๓. ทุติยสังขิตตสูตร ๔. ตติยสังขิตตสูตร
๕. ปฐมวิตถารสูตร ๖. ทุติยวิตถารสูตร
๗. ตติยวิตถารสูตร ๘. ปฏิปันนสูตร
๙. สัมปันนสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๑. ปุนัพภวสูตร

๓. ฉฬินทริยวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์ ๖

๑. ปุนัพภวสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ไม่มีภพใหม่
[๔๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้นเรายังไม่ยืนยัน
ว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
แต่เมื่อใด เรารู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ปุนัพภวสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๓. อัญญินทริยสูตร

๒. ชีวิตินทริยสูตร
ว่าด้วยชีวิตินทรีย์
[๔๙๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์คืออิตถีภาวะ)
๒. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์คือปุริสภาวะ)
๓. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต)
อินทรีย์ ๓ ประการนี้”
ชีวิตินทริยสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัญญินทริยสูตร
ว่าด้วยอัญญินทรีย์
[๔๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่า
เราจักรู้สัจธรรมที่มิได้รู้)
๒. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง)
๓. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)

อินทรีย์ ๓ ประการนี้”
อัญญินทริยสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๔. เอกพีชีสูตร

๔. เอกพีชีสูตร
ว่าด้วยพระเอกพีชีโสดาบัน
[๔๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระเอกพีชีโสดาบัน๑ เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามี
นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๕. สุทธสูตร
๙. เป็นพระโกลังโกลโสดาบัน๑ เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระเอกพีชี-
โสดาบันนั้น
๑๐. เป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๒เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โกลังโกลโสดาบันนั้น
๑๑. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
สัตตักขัตตุปรมโสดาบันนั้น
๑๒. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น”
เอกพีชีสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุทธสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ล้วน
[๔๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท)
๖. มนินทรีย์ (อินทรีย์คือใจ)
อินทรีย์ ๖ ประการนี้”
สุทธสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๗. อรหันตสูตร

๖. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน
[๔๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าว
ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
โสตาปันนสูตรที่ ๖ จบ

๗. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์
[๔๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะ
รู้โดยชอบ”
อรหันตสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๘. สัมมัทธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๔๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้น เรายังไม่ยืนยันว่า
‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
แต่เมื่อใด เรารู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
สัมมัทธสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑
[๔๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความ
เป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะและจัดว่า
เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒
[๕๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัด
จักขุนทรีย์ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งจักขุนทรีย์ ไม่รู้ชัดโสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ
กายินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดมนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัด
ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะหรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็น
พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดจักขุนทรีย์
ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
จักขุนทรีย์ รู้ชัดโสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์
ฯลฯ รู้ชัดมนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ ปฏิปทาที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่
สมณะและจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้ง
ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐ จบ
ฉฬินทริยวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุนัพภวสูตร ๒. ชีวิตินทริยสูตร
๓. อัญญินทริยสูตร ๔. เอกพีชีสูตร
๕. สุทธสูตร ๖. โสตาปันนสูตร
๗. อรหันตสูตร ๘. สัมมัทธสูตร
๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๒. โสตาปันนสูตร

๔. สุขินทริยวรรค
หมวดว่าด้วยสุขินทรีย์
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ล้วน
[๕๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา)
๒. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา)
๓. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา)
๔. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโทมนัสสเวทนา)
๕. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขา)
อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล”
สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน
[๕๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า
‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
โสตาปันนสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๓. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์
[๕๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์
แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”
อรหันตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑
[๕๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒
[๕๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดสุขินทรีย์ ความ
เกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสุขินทรีย์
ไม่รู้ชัดทุกขินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ชัดอุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสุขินทรีย์ รู้ชัด
ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
สุขินทรีย์ รู้ชัดทุกขินทรีย์ ฯลฯ รู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ รู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๖. ปฐมวิภังคสูตร
รู้ชัดอุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๑
[๕๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
ทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๗. ทุติยวิภังคสูตร
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล”
ปฐมวิภังคสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๒
[๕๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
ทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๘. ตติยวิภังคสูตร
โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา
ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา
อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”
ทุติยวิภังคสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๓
[๕๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๘. ตติยวิภังคสูตร
สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา
ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา
อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็น ๕ ประการแล้วย่อเป็น ๓ ประการ เป็น ๓ ประการ
แล้วขยายออกเป็น ๕ ประการโดยปริยาย ด้วยประการฉะนี้”
ตติยวิภังคสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๙. กัฏโฐปมสูตร

๙. กัฏโฐปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยไม้เสียดสีกัน
[๕๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
ภิกษุนั้นมีสุขก็รู้ชัดว่า เรามีสุข เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป
เธอก็รู้ชัดว่า สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาที่เสวยอยู่
อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ภิกษุนั้นมี
ทุกข์ก็รู้ชัดว่า เรามีทุกข์ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป เธอ
ก็รู้ชัดว่า ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาที่เสวยอยู่
อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนา ภิกษุ
นั้นสบายใจก็รู้ชัดว่า เราสบายใจ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแล
ดับไป เธอก็รู้ชัดว่า โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โสมนัสสเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา ภิกษุ
นั้นไม่สบายใจก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา
นั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งโทมนัสสเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา ภิกษุนั้น
วางเฉยก็รู้ชัดว่า เราวางเฉย เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแลดับไป
เธอก็รู้ชัดว่า อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา
ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้ ๒ อันเสียดสีกันจึงเกิดความร้อน ลุกเป็นไฟขึ้น เพราะ
แยกไม้ ๒ อันนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นก็ดับไป ระงับไป
แม้ฉันใด สุขินทรีย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา ภิกษุนั้นมีสุขก็รู้ชัดว่า เรามีสุข เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
นั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป ระงับไป ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนา ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา ฯลฯ อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา ภิกษุนั้นวางเฉยก็รู้ชัดว่า เราวางเฉย เพราะผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ดับไป ระงับไป”
กัฏโฐปมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ที่เกิดสับลำดับกัน
[๕๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขินทรีย์ ๒. โทมนันสินทรีย์
๓. สุขินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ทุกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และทุกขินทรีย์นั้น
มีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกขินทรีย์นั้นซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร
ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดทุกขินทรีย์
รู้ชัดความเกิดแห่งทุกขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งทุกขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่
เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขที่เกิดจากวิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่
เหลือในปฐมฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งทุกขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
โทมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘โทมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ
โทมนัสสินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลย
ที่โทมนัสสินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จัก
เกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความดับ
แห่งโทมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งโทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มี
ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในทุติยฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
สุขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และสุขินทรีย์นั้น
มีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่สุขินทรีย์นั้นซึ่ง
ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดสุขินทรีย์
รู้ชัดความเกิดแห่งสุขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งสุขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่ง
สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค[๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร
สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในตติยฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งสุขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่าง
นั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
โสมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ
โสมนัสสินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่
โสมนัสสินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย
จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งโสมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความ
ดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในจตุตถฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
อุเปกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘อุเปกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ
อุเปกขินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่
อุเปกขินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’
เธอรู้ชัดอุเปกขินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งอุเปกขินทรีย์
และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับ
ไม่เหลือในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น”
อุปปฏิปาฏิกสูตรที่ ๑๐ จบ
สุขินทริยวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. โสตาปันนสูตร
๓. อรหันตสูตร ๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร
๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๖. ปฐมวิภังคสูตร
๗. ทุติยวิภังคสูตร ๘. ตติยวิภังคสูตร
๙. กัฏโฐปมสูตร ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๑. ชราธัมมสูตร

๕. ชราวรรค
หมวดว่าด้วยความแก่
๑. ชราธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีความแก่
[๕๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่
หลีกเร้น ประทับนั่งผินพระปฤษฎางค์ให้แดดที่ส่องมาจากทิศตะวันตก
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วบีบนวดพระวรกายของพระผู้มีพระภาคด้วยฝ่ามือพลางกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้พระฉวีวรรณ
ของพระผู้มีพระภาคไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน พระอวัยวะทุกส่วนก็เหี่ยวย่น
เป็นเกลียว พระวรกายก็ค้อมไปข้างหน้า และพระอินทรีย์ทั้งหลาย คือ จักขุนทรีย์
โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ก็ปรากฏแปรเปลี่ยนไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จริงอย่างนั้น อานนท์ ความแก่มีอยู่ในความเป็น
หนุ่มสาว ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค ความตายก็มีอยู่ในชีวิต ผิวพรรณไม่
บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน อวัยวะทุกส่วนก็เหี่ยวย่นเป็นเกลียว กายก็ค้อมไป
ข้างหน้า และอินทรีย์ทั้งหลาย คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์ ก็ปรากฏแปรเปลี่ยนไป”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
“ถึงท่านจะติความแก่ที่เลวทราม
จะติความแก่ที่ทำให้ผิวพรรณทรามไปสักเพียงใด
รูปที่น่าพึงพอใจก็คงถูกความแก่ย่ำยีเพียงนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๒. อุณณาภพราหมณสูตร
แม้ผู้ใดพึงมีชีวิตอยู่ถึง ๑๐๐ ปี
ผู้นั้นก็มีความตายอยู่เบื้องหน้า
ความตายไม่ละเว้นใคร ๆ ย่อมย่ำยีสัตว์ทั้งหมดทีเดียว”
ชราธัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุณณาภพราหมณสูตร
ว่าด้วยอุณณาภพราหมณ์
[๕๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่ออุณณาภะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่
เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์
ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่มีอารมณ์ต่างกัน
มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และอะไรเล่าย่อมเสวย
อารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์
ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๒. อุณณาภพราหมณสูตร
พราหมณ์ ใจเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่มีอารมณ์ต่างกัน มี
โคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และใจย่อมเสวยอารมณ์
อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของใจ”
“พราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวของใจ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของสติ”
“พราหมณ์ วิมุตติเป็นที่ยึดเหนี่ยวของสติ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของวิมุตติ”
“พราหมณ์ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวของวิมุตติ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของนิพพาน”
“พราหมณ์ ท่านล่วงเลยปัญหาไป ไม่สามารถกำหนดที่สุดแห่งปัญหาได้ ด้วยว่า
พรหมจรรย์ที่บุคคลอยู่จบแล้ว หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มี
นิพพานเป็นที่สุด”
ลำดับนั้น อุณณาภพราหมณ์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นอุณณาภพราหมณ์จากไปได้ไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอดหรือศาลาเรือนยอด มีหน้าต่างอยู่
ด้านทิศตะวันออก เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น แสง (ดวงอาทิตย์) ส่องเข้าไปทางหน้าต่าง
จะปรากฏที่ไหน”
“ที่ฝาด้านทิศตะวันตก พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศรัทธาในตถาคตของ
อุณณาภพราหมณ์ตั้งมั่นหยั่งรากลงแล้วมั่นคง อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร
พรหมหรือใคร ๆ ในโลกให้หวั่นไหวไม่ได้ ถ้าอุณณาภพราหมณ์พึงทำกาละในเวลา
นี้ไซร้ ย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเครื่องประกอบให้อุณณาภพราหมณ์ต้องมาสู่โลกนี้อีก”
อุณณาภพราหมณสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๓. สาเกตสูตร

๓. สาเกตสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เมืองสาเกต
[๕๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนวัน สถานที่พระราชทาน
อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการอาศัยแล้วกลาย
เป็นพละ ๕ ประการ และที่พละ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นอินทรีย์ ๕ ประการ
มีอยู่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก
พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นพละ ๕ ประการ
และที่พละ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นอินทรีย์ ๕ ประการมีอยู่
เหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นพละ ๕ ประการ และที่
พละ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นอินทรีย์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้น
เป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้น
เป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้น
เป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ
สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็น
ปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน กลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียวมีอยู่ และ
เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี ๒ กระแสก็มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๔. ปุพพโกฏฐกสูตร
เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียว เป็นอย่างไร
คือ น้ำที่อยู่สุดทิศตะวันออกและสุดทิศตะวันตกของเกาะนั้น
นี้แล คือเหตุที่ให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียว
เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี ๒ กระแส เป็นอย่างไร
คือ น้ำที่อยู่สุดทิศเหนือและสุดทิศใต้ของเกาะนั้น
นี้แล คือเหตุที่ให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี ๒ กระแส แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธา-
พละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
วิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
สติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้น
เป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์
สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์
ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการที่ภิกษุนั้น
เจริญ ทำให้มากแล้ว”
สาเกตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปุพพโกฏฐกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปุพพโกฏฐกะ
[๕๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ เขตกรุงสาวัตถี ณ
ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า
“สารีบุตร เธอเชื่อหรือไม่ว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๕. ปฐมปุพพารามสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ชนเหล่าใดไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง
มิได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ชนเหล่าใดรู้ เห็น เข้าใจ
ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้นย่อมไม่มีความสงสัย ไม่มีความ
แคลงใจในข้อนั้นเลยว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็ข้อนั้นข้าพระองค์
รู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัย
ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ข้อนี้ชนเหล่าใดไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง
มิได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า
สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้อนี้ชนเหล่าใดรู้ เห็น เข้าใจ
ทำให้แจ้ง ได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความระแวงสงสัยในข้อนั้นว่า
สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”
ปุพพโกฏฐกสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๑
[๕๑๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๖. ทุติยปุพพารามสูตร
มาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ๑
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์อย่างหนึ่งที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์อย่างหนึ่ง คืออะไร
คือ ปัญญินทรีย์ ศรัทธาที่เป็นไปตามปัญญา วิริยะที่เป็นไปตามปัญญา
สติที่เป็นไปตามปัญญา สมาธิที่เป็นไปตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญาย่อม
ตั้งมั่น
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์อย่างหนึ่งนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ปฐมปุพพารามสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๒
[๕๑๖] ต้นเรื่องเหมือนสูตรที่ ๕
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น