Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๘ หน้า ๓๘๔ - ๔๓๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๙. ญาณสูตร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอันบัณฑิตเรียกว่า ‘พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า’
เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว”
พุทธสูตรที่ ๘ จบ

๙. ญาณสูตร
ว่าด้วยญาณเกิดขึ้นเพราะเจริญอิทธิบาท
[๘๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น
แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า ‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้น
แล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ก็อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันท-
สมาธิปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิด
ขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ก็อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธาน-
สังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้ได้เจริญแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ
เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ก็อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิ-
ปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ
เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ-
ปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว”
ญาณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เจติยสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปาวาลเจดีย์
[๘๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระ
กระยาหารเสร็จแล้ว ได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงถือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร
ผ้านิสีทนะ๑ เราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์เพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระอานนท์
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระ
ปฤษฎางค์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธ-
อาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายท่านพระอานนท์ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ กรุงเวสาลี
น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์
พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็น่ารื่นรมย์
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลใดบุคคลหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำ
ให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว บุคคลนั้นเมื่อปรารถนา
ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัป๒หรือมากกว่ากัป
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อปรารถนาก็จะมี
ชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป”
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง โอภาสที่ชัดเจนอย่างนี้ ท่าน
พระอานนท์ก็ไม่อาจรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัป ขอ
พระสุคตโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ทั้งนี้เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร
น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็น่า
รื่นรมย์
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลใดบุคคลหนึ่งเจริญ ทำให้มาก ทำ
ให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว บุคคลนั้นเมื่อปรารถนา
ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง ก็จะ
มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป”
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง โอภาสที่ชัดเจนอย่างนี้ ท่าน
พระอานนท์ก็ไม่อาจรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัป ขอพระสุคต
โปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความ
สุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ทั้งนี้เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “ไปเถิด อานนท์
เธอจงกำหนดเวลาอันสมควรในบัดนี้” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้ว นั่งที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล
ครั้นเมื่อท่านพระอานนท์จากไปไม่นาน มารผู้มีบาปก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ
ภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด เวลานี้
เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า
‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรายัง
ไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร
ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก๑ แสดง๒ บัญญัติ๓ กำหนด๔ เปิดเผย๕ จำแนก๖
ทำให้ง่าย๗ไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับวาท๘ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย
โดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน
แล้วก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปริพพานในบัดนี้เถิด
เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป
เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม
ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน
แล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยัง
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มี
พระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์
ของตนแล้ว ก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด
เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป
เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ฯลฯ ตราบ
เท่าที่อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ
ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่
ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์
ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระ
ภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์
ของตนแล้ว ก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรม
ได้ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานใน
บัดนี้เถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้
มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่พรหมจรรย์๑นี้ของเรายังไม่บริบูรณ์
กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายประกาศได้แล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรหมจรรย์นี้ของพระผู้มีพระภาคบริบูรณ์ กว้างขวาง
แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด
เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค”
เมื่อมารทูลอาราธนาอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบดังนี้ว่า “มารผู้
มีบาป เธอจงอย่ากังวลเลย อีกไม่นานการปรินิพพานของตถาคตจักมี จากนี้
ไป(เพียง) ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน”
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงพระชนมายุสังขาร๑ ณ
ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดิน
ไหวครั้งใหญ่ น่าสะพรึงกลัว ให้เกิดขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทาน
นี้ในเวลานั้นว่า
“มุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้
อันเป็นเหตุก่อกำเนิดเป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว
ยินดีภายในตน มีใจมั่งคง ทำลายกิเลสที่เกิดในตนได้
เหมือนนักรบทำลายเกราะเสีย ฉะนั้น”๒
เจติยสูตรที่ ๑๐ จบ
ปาวาลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อปารสูตร ๒. วิรัทธสูตร
๓. อริยสูตร ๔. นิพพิทาสูตร
๕. อิทธิปเทสสูตร ๖. สมัตตสูตร
๗. ภิกขุสูตร ๘. พุทธสูตร
๙. ญาณสูตร ๑๐. เจติยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑. ปุพพสูตร

๒. ปาสาทกัมปนวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุที่ทำให้ปราสาทไหว
๑. ปุพพสูตร
ว่าด้วยพระดำริก่อนตรัสรู้
[๘๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งการเจริญอิทธิบาท’
ภิกษุทั้งหลาย (ต่อมา) เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่าง๑อยู่
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิริยะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า เบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑. ปุพพสูตร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า จิต
ของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือน
กลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด
อบรมจิตให้สว่างอยู่
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน
แสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)
ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปใน
น้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปใน
อากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑. ปุพพสูตร
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์บุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า
จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่าจิต
มีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่าจิตมี
โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ หรือ
จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตมีสิ่งอื่น
ยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า
จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิต
หลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง
๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง
๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย
สุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น
เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่าง
นั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุ
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(ตาย) กำลังอุบัติ(เกิด) ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๒. มหัปผลสูตร
มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้
อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’
เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดี
และเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมอย่างนี้แล๑
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ปุพพสูตรที่ ๑ จบ

๒. มหัปผลสูตร
ว่าด้วยการเจริญอิทธิบาทมีผลานิสงส์มาก
[๘๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๓. ฉันทสมาธิสูตร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้
มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
มหัปผลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ฉันทสมาธิสูตร
ว่าด้วยฉันทสมาธิ
[๘๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา
(สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว) นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๓. ฉันทสมาธิสูตร
๒. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ฉันทะนี้ ฉันทสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า
วิริยสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิริยะนี้ วิริยสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า จิตต-
สมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
พื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๔. โมคคัลลานสูตร
๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
จิตนี้ จิตตสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า
วิมังสาสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิมังสานี้ วิมังสาสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร”
ฉันทสมาธิสูตรที่ ๓ จบ

๔. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์
[๘๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากอยู่ภายใต้ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมาตา เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ
ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๔. โมคคัลลานสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า
“โมคคัลลานะ เพื่อนพรหมจารีเหล่านี้อยู่ภายใต้ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ไปเถิดโมคคัลลานะ เธอจงทำ
ภิกษุเหล่านั้นให้สังเวช”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว แสดงอิทธาภิสังขารให้
ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาสะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า ทีนั้น
ภิกษุเหล่านั้นตกใจ ขนพองสยองเกล้า ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่สมควร พูดกันว่า
“ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ลมก็ไม่พัด ทั้งปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมาตานี้ มีฐานลึก ฝังไว้แน่น ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน ก็เมื่อเป็นเช่นนี้
คงมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ปราสาทนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว”
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายเกิดความสลดใจ ขนพองสยองเกล้า ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่สมควร เพราะ
เหตุไร”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ลมก็ไม่พัด ทั้งปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตานี้ มีฐานลึก ฝังไว้แน่น
ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ คงมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ปราสาท
นี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหวเป็นแน่”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะ ประสงค์จะให้เธอทั้งหลายสังเวช จึงทำ
ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาให้สะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะธรรมเหล่าไหนที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำให้มาก
แล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระ
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๔. โมคคัลลานสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุโมคคัลลานะ
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อน ฯลฯ
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า เบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ภิกษุ
โมคคัลลานะแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุ
โมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก อนึ่ง
ภิกษุโมคคัลลานะย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
โมคคัลลานสูตรที่ ๔ จบ

(อนึ่ง อภิญญาทั้งหลายพึงให้พิสดารอย่างนี้)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๕. อุณณาภพราหมณสูตร

๕. อุณณาภพราหมณสูตร
ว่าด้วยอุณณาภพราหมณ์
[๘๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
พราหมณ์ชื่ออุณณาภะเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่าน
พระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ
ต้องการอะไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “พราหมณ์ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อละฉันทะ”
“ท่านอานนท์ มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้นอยู่หรือ”
“พราหมณ์ มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้นอยู่”
“ท่านอานนท์ มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น เป็นอย่างไร”
“พราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิ-
ปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ-
ปธานสังขาร นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น”
“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันทะนั้นยังมีอยู่ มิใช่ไม่มี เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะนั่นเอง”
“พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านพึงตอบเรื่องนั้น
ตามที่ท่านพอใจเถิด
พราหมณ์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเบื้องต้นท่านได้มีฉันทะ (ความ
พอใจ) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ฉันทะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้น
ก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๕. อุณณาภพราหมณสูตร
“ในเบื้องต้น ท่านได้มีวิริยะ (ความเพียร) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่านไปถึง
อารามแล้ว วิริยะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“ในเบื้องต้น ท่านได้มีจิตตะ (ความใส่ใจ) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่านไปถึง
อารามแล้ว จิตตะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“ในเบื้องต้น ท่านได้มีวิมังสา (ความไตร่ตรอง) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่าน
ไปถึงอารามแล้ว วิมังสาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“พราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นในเบื้องต้น
ได้มีฉันทะเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุอรหัตแล้ว ฉันทะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไป
ในเบื้องต้นได้มีวิริยะเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุอรหัตแล้ว วิริยะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น
นั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นได้มีจิตตะเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุอรหัตแล้ว จิตตะที่
เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นได้มีวิมังสาเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุ
อรหัตแล้ว วิมังสาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไป พราหมณ์ ท่านจะเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นดังที่กล่าวมานี้ ฉันทะเป็นต้นนั้นยังมีอยู่ หรือมิใช่ไม่มี”
“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันทะเป็นต้นนั้นยังมีอยู่แน่นอน มิใช่ไม่มี
ท่านอานนท์ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอานนท์ ภาษิตของท่าน
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่
มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ท่านอานนท์ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระ
โคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านจงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อุณณาภพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๖. ปฐมพราหมณสูตร

๖. ปฐมพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑
[๘๒๘] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันย่อมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้มีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว”
ปฐมพราหมณสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๗. ทุติยพราหมณสูตร

๗. ทุติยพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒
[๘๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็น
คนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้
ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ
เหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการ
ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียว
ก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ
โดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพรามณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียว
ก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ
โดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๘. ภิกขุสูตร
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้แสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดจริญ ทำให้มากแล้ว”
ทุติยพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ภิกษุได้วิมุตติ
[๘๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท
๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๙. อิทธาทิเทสนาสูตร
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว”
ภิกขุสูตรที่ ๘ จบ

๙. อิทธาทิเทสนาสูตร
ว่าด้วยการแสดงอิทธิ(ฤทธิ์)เป็นต้น
[๘๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอิทธิ อิทธิบาท อิทธิบาทภาวนาและ
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อิทธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”
อิทธาทิเทสนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอิทธิบาท
[๘๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อิทธิบาท ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะ
ของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ฉันทะที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนนัก
ฉันทะที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคับประคองเกินไป
ฉันทะที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน
ฉันทะที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ซ่านไปในภายนอก
ภิกษุมีความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า
เบื้องหลังเหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เป็นอย่างไร
คือ ความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอันภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนดี
ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร
ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า
เบื้องหลังเหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีความหมายรู้ว่าเบื้องบนเหมือนเบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน
อยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณากายนี้ขึ้นเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
พิจารณาลงเบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่
สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ‘ในร่างกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๑ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๒ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร๓’
ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่าเบื้องบนเหมือนเบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบนอยู่
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีความหมายรู้ว่ากลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน
อยู่ เป็นอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ในกลางวันด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอก็เจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่านั้น
ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด
ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอก็เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางวัน
ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น
ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่ากลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืนอยู่
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างไร
คือ อาโลกสัญญา (ความหมายรู้แสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนไว้ดี
ความหมายรู้ว่ากลางวัน ตั้งมั่นดี
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล
วิริยะที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า วิริยะที่ย่อหย่อนนัก
วิริยะที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคับประคองเกินไป
วิริยะที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า วิริยะที่หดหู่ในภายใน
วิริยะที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า วิริยะที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร
จิตที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนนัก
จิตที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคับประคองเกินไป
จิตที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน
จิตที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ จิตที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า จิตที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล
วิมังสาที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนนัก
วิมังสาที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคับประคองเกินไป
วิมังสาที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน
วิมังสาที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการ ในภายนอก
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุทำ
ให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
วิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ

(แม้อภิญญาทั้ง ๖ ก็พึงให้พิสดาร)

ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุพพสูตร ๒. มหัปผลสูตร
๓. ฉันทสมาธิสูตร ๔. โมคคัลลานสูตร
๕. อุณณาภพราหมณสูตร ๖. ปฐมพราหมณสูตร
๗. ทุติยพราหมณสูตร ๘. ภิกขุสูตร
๙. อิทธาทิเทสนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑. มัคคสูตร

๓. อโยคุฬวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผา
๑. มัคคสูตร
ว่าด้วยทางแห่งการเจริญอิทธิบาท
[๘๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นมรรค อะไรเป็นปฏิปทาแห่งการเจริญ
อิทธิบาท’ ภิกษุทั้งหลาย (ต่อมา) เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ด้วยประการฉะนี้
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๒. อโยคุฬสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุจึง
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
มัคคสูตรที่ ๑ จบ

(แม้อภิญญาทั้ง ๖ ก็พึงให้พิสดาร)

๒. อโยคุฬสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผา
[๘๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์มีพระวรกายเป็นมโนมัย ทรงเข้าถึง
พรหมโลกด้วยฤทธิ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เราทราบอยู่ว่า เรามีกายเป็นมโนมัย
เข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบหรือว่า พระองค์มีพระ
วรกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์”
“อานนท์ เราทราบอยู่ว่า เรามีกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เข้าถึง
พรหมโลกด้วยฤทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏที่พระผู้มีพระภาคทรง
ทราบว่า พระองค์มีพระวรกายเป็นมโนมัย ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ และทรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๒. อโยคุฬสูตร
ทราบว่า มีพระวรกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วย
ฤทธิ์”
“อานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์และประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์
เป็นผู้ไม่เคยมีและประกอบด้วยธรรมที่ไม่เคยมี
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญา (ความ
หมายรู้ว่าสบาย) และลหุสัญญา (ความหมายรู้ว่าเบา) ในกายอยู่ สมัยนั้น กาย
ของตถาคตย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า และผุดผ่องกว่า
ก้อนเหล็กที่ไฟเผาตลอดทั้งวันย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า
และผุดผ่องกว่า แม้ฉันใด
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ
ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การ
งานกว่า และผุดผ่องกว่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ
ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศ
ได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคน
ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายซึ่งเบาถูกลมพัดก็ลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศโดยไม่ยากเลย
แม้ฉันใด
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ
ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศได้
โดยไม่ยากเลย ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
อโยคุฬสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๔. สุทธิกสูตร

๓. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ภิกษุได้วิมุตติ
[๘๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท ๔ ประการ
นี้ ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ภิกขุสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาทล้วน
[๘๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้”
สุทธิกสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๖. ทุติยผลสูตร

๕. ปฐมผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอิทธิบาท สูตรที่ ๑
[๘๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี”
ปฐมผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอิทธิบาท สูตรที่ ๒
[๘๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๗. ปฐมอานันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. หากไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
๓. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
๔. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๕. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
๖. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
๗. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”๑
ทุติยผลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑
[๘๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาท-
ภาวนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๘. ทุติยอานันทสูตร
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”
ปฐมอานันทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒
[๘๔๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควรว่า
“อานนท์ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๙. ปฐมภิกขุสูตร
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจน
ถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”
ทุติยอานันทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๑
[๘๔๑] ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิ-
บาทภาวนา เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๐. ทุติยภิกขุสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”
ปฐมภิกขุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๒
[๘๔๒] ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้น
ดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาทภาวนา
เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๐. ทุติยภิกขุสูตร
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย อิทธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้
นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”
ทุติยภิกขุสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๑. โมคคัลลานสูตร

๑๑. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระโมคคัลลานะ
[๘๔๓] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะธรรมเหล่าไหนที่เธอเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุโมคคัลลานะนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุโมคคัลลานะ
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ มีใจสงัด ไม่มี
เครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๒. ตถาคตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว
แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท
๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว”
โมคคัลลานสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ตถาคตสูตร
ว่าด้วยพระตถาคต
[๘๔๔] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจข้อความนั้นว่าอย่างไร ตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากอย่างนี้ เพราะธรรมเหล่าไหนที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะอิทธิบาท ๔
ประการที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ตถาคต
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และตถาคตมีความหมาย
รู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป มี
ใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะอิทธิบาท ๔
ประการนี้ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจน
ถึงพรหมโลกก็ได้ เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว
อนึ่ง ตถาคตย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้
ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ตถาคตสูตรที่ ๑๒ จบ

(แม้อภิญญาทั้ง ๖ ก็พึงให้พิสดาร)

อโยคุฬวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มัคคสูตร ๒. อโยคุฬสูตร
๓. ภิกขุสูตร ๔. สุทธิกสูตร
๕. ปฐมผลสูตร ๖. ทุติยผลสูตร
๗. ปฐมอานันทสูตร ๘. ทุติยอานันทสูตร
๙. ปฐมภิกขุสูตร ๑๐. ทุติยภิกขุสูตร
๑๑. โมคคัลลานสูตร ๑๒. ตถาคตสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๔. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. คังคานทีอาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น
[๘๔๕-๘๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ทำอิทธิบาท ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ทำอิทธิบาท ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ทำอิทธิบาท ๔
ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
คังคานทีอาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๔ จบ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๔. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๘. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๘. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๘๘๙-๘๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)
โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๘. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

อิทธิปาทสังยุตที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร

๘. อนุรุทธสังยุต
๑. รโหคตวรรค
หมวดว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
๑. ปฐมรโหคตสูตร
ว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด สูตรที่ ๑
[๘๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความรำพึงขึ้นมาว่า “สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้น
พลาดแล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นปรารภแล้ว”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบความรำพึงของท่านพระอนุรุทธะ
ด้วยใจ จึงหายตัวไปปรากฏเฉพาะหน้าของท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายภายในอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร
ธรรมเป็นเหตุดับในกายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่
ก็มีความรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่เถิด’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี
สัมปชัญญะในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
๒. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนา
ทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดใน
เวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุ
ดับในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับใน
เวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น
ทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
๓. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิตภายใน ฯลฯ ในจิตภายนอก
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในจิตทั้งภายในทั้งภายนอก
อยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุ
ดับในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร ฯลฯ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๒. ทุติยรโหคตสูตร
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายภายใน ฯลฯ ใน
ธรรมทั้งหลายภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิด
ในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรม
ทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ปฐมรโหคตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยรโหคตสูตร
ว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด สูตรที่ ๒
[๙๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
“สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นพลาดแล้ว สติปัฏฐาน ๔
ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นปรารภแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๒. ทุติยรโหคตสูตร
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบความรำพึงของท่านพระอนุรุทธะ
ด้วยใจ จึงหายตัวไปปรากฏเฉพาะหน้าของท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นกายใน
กายภายนอกอยู่ มีความเพียร ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย
นอก ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ทุติยรโหคตสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๕. ทุติยกัณฏกีสูตร

๓. สุตนุสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ริมฝั่งแม่น้ำสุตนุ
[๙๐๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำสุตนุ เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่าน
พระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรม
เหล่าไหนที่ท่านอนุรุทธะเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มี
อภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมได้รู้ธรรมเลวโดยความเป็นธรรมเลว
ได้รู้ธรรมปานกลางโดยความเป็นธรรมปานกลาง ได้รู้ธรรมประณีตโดยความเป็น
ธรรมประณีต เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
สุตนุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมกัณฏกีสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่กัณฏกีวัน สูตรที่ ๑
[๙๐๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหา-
โมคคัลลานะอยู่ที่กัณฏกีวัน เขตเมืองสาเกต ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๕. ทุติยกัณฏกีสูตร
และท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่สงัดเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหนที่
ภิกษุผู้เสขะพึงเข้าถึงอยู่”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุผู้เสขะ
พึงเข้าถึงอยู่
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุผู้เสขะพึงเข้าถึงอยู่”
ปฐมกัณฏกีสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยกัณฏกีสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่กัณฏกีวัน สูตรที่ ๒
[๙๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองสาเกต
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหนที่ภิกษุผู้อเสขะพึงเข้าถึงอยู่”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุผู้
อเสขะพึงเข้าถึงอยู่
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๖. ตติยกัณฏกีสูตร
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุผู้อเสขะพึงเข้าถึงอยู่”
ทุติยกัณฏกีสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตติยกัณฏกีสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่กัณฏกีวัน สูตรที่ ๓
[๙๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองสาเกต
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหนที่ท่านอนุรุทธะเจริญ
ทำให้มากแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก
เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๗. ตัณหากขยสูตร
ผู้มีอายุ ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมรู้โลกตั้ง ๑,๐๐๐ โลกได้เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ตติยกัณฏกีสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตัณหากขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา
[๙๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอนุรุทธะแล้ว ท่านพระอนุรุทธะจึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา”
ตัณหากขยสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๘. สลฬาคารสูตร

๘. สลฬาคารสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่สลฬาคาร
[๙๐๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร เขตกรุงสาวัตถี ณ
ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ๑ ได้กล่าวคำนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน เมื่อเป็นเช่นนั้น หมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามา
ด้วยประสงค์ว่า ‘จักทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไป
ข้างหลัง’ ท่านทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นจะพึงทดแม่
น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “ไม่ได้ ขอรับ”
“ข้อนั้น เพราะเหตุไร”
“เพราะการจะทดแม่น้ำคงคาที่ไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลาก
ไปสู่ทิศปราจีน ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังนั้น มิใช่ทำได้ง่าย
ทั้งหมู่มหาชนนั้นจะพึงมีส่วนแห่งความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแน่นอน”
“ผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น พระราชา มหาอำมาตย์ของ
พระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม พึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐาน
๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก ให้ยินดีด้วยโภคะว่า ‘เชิญเถิด
ท่านผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนหัวโล้น
เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์
และทำบุญเถิด”
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก จะบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จิตอันน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไป
ในวิเวกตลอดกาลนานแล้ว จักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น