Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๗ หน้า ๓๒๙ - ๓๘๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๗. ตติยปุพพารามสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๒ ประการที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาที่เป็นอริยะ ๒. วิมุตติที่เป็นอริยะ
ปัญญาที่เป็นอริยะเป็นปัญญินทรีย์ วิมุตติที่เป็นอริยะเป็นสมาธินทรีย์
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์ ๒ ประการนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ทุติยปุพพารามสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๓
[๕๑๗] ต้นเรื่องเหมือนสูตรที่ ๕
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๔ ประการที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๘. จตุตถปุพพารามสูตร
อินทรีย์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิริยินทรีย์ ๒. สตินทรีย์
๓. สมาธินทรีย์ ๔. ปัญญินทรีย์
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เพราะ
อินทรีย์ ๔ ประการนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ตติยปุพพารามสูตรที่ ๗ จบ

๘. จตุตถปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๔
[๕๑๘] ต้นเรื่องเหมือนสูตรที่ ๕
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
จตุตถปุพพารามสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร

๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร
ว่าด้วยพระปิณโฑลภารทวาชะ
[๕๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้น
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้พยากรณ์อรหัตตผลว่า “เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์อรหัตตผลว่า
‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเห็นอำนาจประโยชน์อะไร
จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์
อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๓ ประการที่
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. สมาธินทรีย์
๓. ปัญญินทรีย์
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์ ๓ ประการนี้ที่ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๓ ประการนี้มีอะไรเป็นที่สุด
คือ มีความสิ้นไปเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๑๐. อาปณสูตร
อะไรมีความสิ้นไปเป็นที่สุด
คือ ชาติ ชรา และมรณะมีความสิ้นไปเป็นที่สุด
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะพิจารณาเห็นว่า ‘ชาติ ชรา และมรณะสิ้นไป’ จึง
พยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ปิณโฑลภารทวาชสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาปณสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อาปณนิคม
[๕๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่ออาปณะ แคว้น
อังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า “สารีบุตร
อริยสาวกใดมีศรัทธามั่นคง เลื่อมใสยิ่งในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือ
เคลือบแคลงในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกใดมี
ศรัทธามั่นคง เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระตถาคต พระอริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือ
เคลือบแคลงในพระตถาคตหรือในคำสอนของพระตถาคต
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธาพึงหวังได้ว่าจักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละ
อกุศลธรรม เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระ
ในกุศลธรรมอยู่ ก็วิริยะของพระอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นวิริยินทรีย์
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร พึงหวังได้ว่าจักเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูด
ไว้นานบ้าง ก็สติของพระอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นสตินทรีย์
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง พึงหวังได้ว่า
จักทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ก็สมาธิของพระอริยสาวก
นั้นพึงจัดเป็นสมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๑๐. อาปณสูตร
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น
พึงหวังได้ว่า จักรู้ชัดว่า ‘สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นกำหนดรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและ
ที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาปิดกั้น มีตัณหาผูกไว้ แล่นไป ท่องเที่ยวไป
ส่วนความดับกองแห่งความมืดคืออวิชชาไม่ให้เหลือด้วยวิราคะ นี้เป็นทางอันสงบ
นี้เป็นทางอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน’ ก็ปัญญาของพระอริยสาวกนั้น
พึงจัดเป็นปัญญินทรีย์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกผู้มีศรัทธานั้นพยายามอย่างนี้ ครั้น
พยายามแล้วระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้วรู้ชัดอย่างนี้
ครั้นรู้ชัดแล้วย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ‘นี้แลคือธรรมที่เราได้ฟังมาก่อน บัดนี้เราถูก
ต้องด้วยนามกายนั้นอยู่และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา’ ก็ศรัทธาของพระอริย-
สาวกนั้นพึงจัดเป็นสัทธินทรีย์”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่นคง เลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต
อริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือเคลือบแคลงในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต ด้วยว่า
อริยสาวกผู้มีศรัทธาพึงหวังได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล-
ธรรมทั้งหลายอยู่ ก็วิริยะของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นวิริยินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร พึงหวังได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูด
ไว้นานบ้าง ก็สติของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นสตินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง พึงหวังได้ว่า
จักยึดนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น
พึงจัดเป็นสมาธินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น พึง
หวังได้ว่า จักรู้ชัดว่า ‘สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นกำหนดรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและที่สุด
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาปิดกั้น มีตัณหาผูกไว้ แล่นไป ท่องเที่ยวไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ส่วนความดับกองแห่งความมืดคืออวิชชาไม่ให้เหลือด้วยวิราคะ นี้เป็นทางอันสงบ
นี้เป็นทางอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน’ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้นพึงจัด
เป็นปัญญินทรีย์
สารีบุตร อริยสาวกผู้มีศรัทธานั้นพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้วระลึก
อย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้วรู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้วย่อม
เชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ‘นี้แลคือธรรมที่เราได้ฟังมาก่อน บัดนี้เราถูกต้องด้วยนามกาย
นั้นอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา’ ก็ศรัทธาของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็น
สัทธินทรีย์”
อาปณสูตรที่ ๑๐ จบ
ชราวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชราธัมมสูตร ๒. อุณณาภพราหมณสูตร
๓. สาเกตสูตร ๔. ปุพพโกฏฐกสูตร
๕. ปฐมปุพพารามสูตร ๖. ทุติยปุพพารามสูตร
๗. ตติยปุพพารามสูตร ๘. จตุตถปุพพารามสูตร
๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร ๑๐. อาปณสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๑. สาลสูตร

๖. สูกรขตวรรค
หมวดว่าด้วยถ้ำสุกรขาตา
๑. สาลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่หมู่บ้านพราหณ์ชื่อสาลา
[๕๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา แคว้น
โกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พญาราชสีห์ชาวโลกกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้น เพราะพละกำลัง ความเร็ว ความกล้า แม้ฉันใด
โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิย-
ธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สตินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สมาธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พญาราชสีห์ชาวโลกกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น เพราะพละกำลัง ความเร็ว ความกล้า แม้ฉันใด โพธิปักขิย-
ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น
เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
สาลสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร

๒. มัลลกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่นิคมของชาวมัลละ
[๕๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละชื่ออุรุเวลกัปปะ
แคว้นมัลละ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ประการ ก็ชื่อว่า
ยังไม่ตั้งมั่น ไม่หยั่งลงเพียงนั้น แต่เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแก่อริยสาวก เมื่อนั้น
อินทรีย์ ๔ ประการก็ชื่อว่าย่อมตั้งมั่น ย่อมหยั่งลง
ภิกษุทั้งหลาย ยอดของเรือนยอดเขายังไม่ยกขึ้นเพียงใด กลอนทั้งหลายก็ชื่อ
ว่ายังไม่ได้ตั้ง ยังไม่ได้ใส่เพียงนั้น แต่เมื่อใด ยอดของเรือนเขายกขึ้นแล้ว เมื่อนั้น
กลอนทั้งหลายก็ชื่อว่าได้ตั้ง ได้ใส่ไว้ แม้ฉันใด อริยญาณก็ฉันนั้นเหมือนกันยัง
ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ประการก็ชื่อว่ายังไม่ตั้งมั่น ไม่หยั่งลง
เพียงนั้น แต่เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ประการ
ก็ชื่อว่าย่อมตั้งมั่น ย่อมหยั่งลง
อินทรีย์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สัทธาที่เป็นไปตามปัญญา วิริยะที่เป็นไปตามปัญญา สติที่
เป็นไปตามปัญญา สมาธิที่เป็นไปตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น”
มัลลกสูตรที่ ๒ จบ

๓. เสขสูตร
ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ
[๕๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’ และ
ที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระอเสขะ’ มี
อยู่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑
“ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า
‘เราเป็นพระเสขะ’ และที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า
‘เราเป็นพระอเสขะ’ มีอยู่
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระเสขะ‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะพิจารณาเห็นว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์อื่น
นอกศาสนานี้ผู้ที่แสดงธรรมจริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาคมีอยู่หรือ’ เธอรู้
ชัดว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกศาสนานี้ผู้ที่แสดงธรรมจริงแท้แน่นอนเหมือน
พระผู้มีพระภาคไม่มีเลย’
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร
อินทรีย์ ๕ ประการซึ่งมีคติ มีความเป็นเลิศ มีผล และมีที่สุด เธอยังไม่ถูก
ต้องด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระอเสขะ‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการซึ่งมีคติ มีความเป็นเลิศ มีผล และมีที่สุด เธอยังไม่ถูก
ต้องด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระอเสขะ’ เป็นอย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๖ ประการ คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
เธอรู้ชัดว่า ‘อินทรีย์ ๖ ประการนี้จักดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่างไม่
เหลือโดยประการทั้งปวง และอินทรีย์ ๖ ประการอื่นก็จักไม่เกิดในภพไหน ๆ’
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระอเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล”
เสขสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๕. สารสูตร

๔. ปทสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าสัตว์
[๕๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลง
ในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็น
รอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บทแห่งธรรมที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สตินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สมาธินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลงในรอยเท้าช้าง
รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด
บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าว
ว่าเลิศกว่าบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
ปทสูตรที่ ๔ จบ

๕. สารสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแก่นไม้
[๕๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น
เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๖. ปติฏฐิตสูตร
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย จันทน์แดงชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากแก่น
เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน”
สารสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปติฏฐิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นเอก
[๕๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรม
อันเป็นเอกเจริญ อบรมดีแล้ว
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรักษาจิตในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอาสวะและที่
เป็นไปพร้อมกับอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอาสวะและที่เป็นไป
พร้อมกับอาสวะ สัทธินทรีย์ก็ดี วิริยินทรีย์ก็ดี สตินทรีย์ก็ดี สมาธินทรีย์ก็ดี ปัญญินทรีย์ก็ดี
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการเป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นเอก
เจริญ อบรมดีแล้ว แม้อย่างนี้แล”
ปติฏฐิตสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๗. สหัมปติพรหมสูตร

๗. สหัมปติพรหมสูตร
ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม
[๕๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่ง
แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความรำพึงขึ้นว่า
“อินทรีย์ ๕ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
๒. วิริยินทรีย์ ฯลฯ
๓. สตินทรีย์ ฯลฯ
๔. สมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มี
อมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึง
หายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม
อัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น อินทรีย์ ๕ ประการที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๘. สูกรขตสูตร
๕. ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มี
อมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์ได้ประพฤติพรหมจรรย์
ในพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ในสมัยนั้น พวกเขารู้จักข้าพระองค์อย่างนี้ว่า
‘สหกภิกษุ สหกภิกษุ’ ข้าพระองค์นั้นคลายกามฉันทะในกามทั้งหลาย หลังจาก
ตายแล้วไปเกิดในสุคติพรหมโลก เพราะอินทรีย์ ๕ ประการที่ข้าพระองค์เจริญ
ทำให้มากแล้ว แม้ในพรหมโลกนั้น พวกเขาก็รู้จักข้าพระองค์ว่า ‘ท้าวสหัมบดีพรหม
ท้าวสหัมบดีพรหม’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต
เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์รู้ ข้าพระองค์เห็นข้อที่อินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”
สหัมปติพรหมสูตรที่ ๗ จบ

๘. สูกรขตสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ถ้ำสุกรขาตา
[๕๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัส
ถามว่า “สารีบุตร ภิกษุขีณาสพเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงประพฤตินอบน้อม
อย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”
ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพเห็นธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในพระตถาคต
หรือในคำสอนของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ภิกษุขีณาสพเห็นธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอด
เยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ภิกษุขีณาสพเห็นอยู่ จึงประพฤติ
นอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๙. ปฐมอุปปาทสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์ที่ให้
ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ เจริญปัญญินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมนี้ที่ภิกษุขีณาสพ
เห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในพระตถาคตหรือในคำสอนของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมนี้ที่ภิกษุขีณาสพ
เห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต
สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งที่ภิกษุขีณาสพประพฤติในตถาคตหรือในคำสอน
ของตถาคต เป็นอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้มีความเคารพยำเกรง
ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
นี้แล คือการนอบน้อมอย่างยิ่งที่ภิกษุขีณาสพประพฤติในพระตถาคตหรือในคำสอน
ของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งนี้ที่ภิกษุขีณาสพประพฤติใน
ตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”
สูกรขตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอินทรีย์ สูตรที่ ๑
[๕๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่
เกิดขึ้น
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เกิดขึ้น”
ปฐมอุปปาทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอินทรีย์ สูตรที่ ๒
[๕๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น”
ทุติยอุปปาทสูตรที่ ๑๐ จบ
สูกรขตวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาลสูตร ๒. มัลลกสูตร
๓. เสขสูตร ๔. ปทสูตร
๕. สารสูตร ๖. ปติฏฐิตสูตร
๗. สหัมปติพรหมสูตร ๘. สูกรขตสูตร
๙. ปฐมอุปปาทสูตร ๑๐. ทุติยอุปปาทสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๓. ปริญญาสูตร

๗. โพธิปักขิยวรรค
หมวดว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม
๑. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อละสังโยชน์
[๕๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์”
สัญโญชนสูตรที่ ๑ จบ

๒. อนุสยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อถอนอนุสัย
[๕๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย”
อนุสยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ
[๕๓๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ(ทางไกล)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๔. อาสวักขยสูตร
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้
อัทธานะ”
ปริญญาสูตรที่ ๓ จบ

๔. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
[๕๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะ
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์
เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์
เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ”
อาสวักขยสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๖. ทุติยผลสูตร

๕. ปฐมผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอินทรีย์ สูตรที่ ๑
[๕๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พึง
หวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ ก็จักเป็นพระอนาคามี”
ปฐมผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอินทรีย์ สูตรที่ ๒
[๕๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พึง
หวังผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. ถ้าไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
๓. ถ้าในปัจจุบันและเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๗. ปฐมรุกขสูตร
๔. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๕. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
๖. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
๗. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอุทธัม-
ภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พึง
หวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”๑
ทุติยผลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๑
[๕๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีอยู่ในชมพูทวีปเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ต้นหว้า
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๘. ทุติยรุกขสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีอยู่ในชมพูทวีป ต้นหว้าชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
ปฐมรุกขสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๒
[๕๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์
ต้นปาริฉัตตกะ (ต้นทองหลาง) ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด
โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิย-
ธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ ต้นปาริฉัตตกะ
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
ทุติยรุกขสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๑๐. จตุตถรุกขสูตร

๙. ตติยรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๓
[๕๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกอสูร ต้นจิตตปาฏลี
(ต้นไม้ประจำพิภพอสูร) ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิ-
ปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรม
เหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกอสูร ต้นจิตตปาฏลีชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
ตติยรุกขสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๔
[๕๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกครุฑ ต้นโกฏสิมพลี
(ไม้งิ้วป่า) ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็น
ไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกครุฑ ต้นโกฏสิมพลี ชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นเพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
จตุตถรุกขสูตรที่ ๑๐ จบ
โพธิปักขิยวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัญโญชนสูตร ๒. อนุสยสูตร
๓. ปริญญาสูตร ๔. อาสวักขยสูตร
๕. ปฐมผลสูตร ๖. ทุติยผลสูตร
๗. ปฐมรุกขสูตร ๘. ทุติยรุกขสูตร
๙. ตติยรุกขสูตร ๑๐. จตุตถรุกขสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร

๘. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น
[๕๔๑-๕๕๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อม
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
๒. เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
๓. เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไป
สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๘. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถุสูตร

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๘. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๒. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๑๒. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๕๘๗-๕๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕
ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล”
โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๑๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๒. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๓. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๓. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น
[๕๙๗-๖๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน
กัน เมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่
นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อม
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(อัปปมาทวรรค พลกรณียวรรค และเอสนาวรรคพึงให้พิสดาร)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๗. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๑๗. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๖๔๑-๖๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
๒. เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
๓. เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๗. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”
โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๑๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

อินทริยสังยุตที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร

๕. สัมมัปปธานสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น
[๖๕๑-๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑ ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน
๔ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้
แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน
๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุเมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔
ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
อย่างนี้แล”
ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(คังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุตพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธาน)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๒. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๒. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

(อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธาน)

อัปปมาทวรรคที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๓. พลกรณียวรรค ๑-๑๒. พลกรณียาทิสูตร

๓. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลกรณียาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น
[๖๗๓-๖๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วย
กำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ
ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำ
สัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔
ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก อย่างนี้แล”
พลกรณียาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ

(พลกรณียวรรคพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธานอย่างนี้)

พลกรณียวรรคที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๓. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๔. เอสนาวรรค ๑-๑๐. เอสนาทิสุตตทสกะ

๔. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๐. เอสนาทิสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีเอสนาสูตรเป็นต้น
[๖๘๕-๖๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓
ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ ประการนี้”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
เอสนาวรรคที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๔. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๖๙๕-๗๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๕. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

สัมมัปปธานสังยุตที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. พลาทิสูตร

๖. พลสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยพละเป็นต้น
[๗๐๕-๗๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. สติพละ (กำลังคือสติ) ๔. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

พละ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาที่ไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ
๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
๒. เจริญวิริยพละ ฯลฯ
๓. เจริญสติพละ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธิพละ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๗๔๙-๗๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
๒. เจริญวิริยพละ ...
๓. เจริญสติพละ ...
๔. เจริญสมาธิพละ ...
๕. เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดารอย่างนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๖. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น
[๗๕๙-๗๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด
ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(อัปปมาทวรรค - พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๙. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๒. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น
[๗๙๒-๘๐๒] บาลีแห่งเอสนาวรรค พึงให้พิสดารจนถึงธรรมมีการกำจัดราคะ
โทสะ และโมหะเป็นที่สุด อย่างนี้
เอสนาวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ปฐมทุกขสูตร ๖. ทุติยทุกขสูตร
๗. ตติยทุกขสูตร ๘. ขีลสูตร
๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร
๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๑๐. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๑๐. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๘๐๓-๘๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล”
โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๑๐. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

พลสังยุตที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑. อปารสูตร

๗. อิทธิปาทสังยุต
๑. ปาวาลวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปาวาลเจดีย์
๑. อปารสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
[๘๑๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่
บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑ (สมาธิที่
เกิดจากฉันทะและความเพียรที่มุ่งมั่น)
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากวิริยะและความเพียรที่มุ่งมั่น)
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากจิตตะและความเพียรที่มุ่งมั่น)
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิ
ที่เกิดจากวิมังสาและความเพียรที่มุ่งมั่น)
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้”
อปารสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๓. อริยสูตร

๒. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด
[๘๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
พลาดแล้ว ส่วนอิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว
อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว
อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาดแล้ว
ส่วนอิทธิบาท ๔ ประการนี้อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”
วิรัทธสูตรที่ ๒ จบ

๓. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ
[๘๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท
๔ ประการนั้น
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๔. นิพพิทาสูตร
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท ๔
ประการนั้น”
อริยสูตรที่ ๓ จบ

๔. นิพพิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
[๘๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน”
นิพพิทาสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๕. อิทธิปเทสสูตร

๕. อิทธิปเทสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำฤทธิ์บางอย่างให้สำเร็จ
[๘๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้ทำฤทธิ์บางอย่าง๑ให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำฤทธิ์
บางอย่างให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพรหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๖. สมัตตสูตร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
เจริญ ทำให้มากแล้ว”
อิทธิปเทสสูตรที่ ๕ จบ

๖. สมัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้สำเร็จ
[๘๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้
ทำฤทธิ์บริบูรณ์๑ให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำฤทธิ์
บริบูรณ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๗. ภิกขุสูตร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว”
สมัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ภิกษุได้วิมุตติ
[๘๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำให้แจ้งเจโต-
วิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้
มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน
ไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๘. พุทธสูตร
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ภิกขุสูตรที่ ๗ จบ

๘. พุทธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๘๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๓ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น