Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๐-๖ หน้า ๒๓๐ - ๒๗๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๙. ชานุสโสณิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ว่าเป็นผู้ได้
วิชชา ๓ เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
ชานุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ใน
อริยวินัยเป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
อย่างที่ผู้ได้วิชชา ๓ มีในอริยวินัย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ชานุสโสณิพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่อง
นี้ว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่...อยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ ฯลฯ๓ เธอได้บรรลุวิชชา
ที่ ๑ นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เธอ
เปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้า
หมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ
เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ ความมืดมิดคืออวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชา
ได้เกิดขึ้นแก่เธอเปรียบเหมือนแสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจ
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๙. ชานุสโสณิสูตร
เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา” “นี้อาสวะ ฯลฯ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ ความมืดมิดคือ
อวิชชา เธอกำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เธอ เปรียบเหมือนแสงสว่าง
เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
บุคคลใดสมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
อุทิศกายและใจ มีจิตตั้งมั่น
บุคคลใดมีจิตที่ชำนาญ แน่วแน่ ตั้งมั่นดี
บุคคลใดรู้แจ้งปุพเพนิวาสญาณ เห็นทั้งสวรรค์
และอบาย บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นความเกิด เป็นมุนี
อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓
โดยวิชชา ๓ นี้ เราเรียกบุคคลนั้นว่าได้วิชชา ๓
ไม่เรียกบุคคลอื่นว่าได้วิชชา ๓ ตามที่ผู้อื่นเรียกกัน
พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
ชานุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวก
พราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง ข้าแต่ท่าน
พระโคดม ก็ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของผู้ได้วิชชา ๓
ในอริยวินัยนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต
ชานุสโสณิสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

๑๐. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์
[๖๑] ครั้งนั้น สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าทั้งหลายชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บูชายัญเองบ้าง
ให้ผู้อื่นบูชาบ้าง ในหมู่พราหมณ์นั้น ผู้ใดบูชายัญเอง และผู้ใดให้ผู้อื่นบูชายัญ คน
เหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่าปฏิบัติปุญญปฏิปทาที่เกิดแก่หลายสรีระคือยัญญาธิกรณ์๑(มี
ยัญเป็นเหตุ) ส่วนบุคคลใดออกจากเรือนแห่งตระกูลใดก็ตาม บวชเป็นบรรพชิต ฝึก
ตนเอง ทำตนเองให้สงบ ทำตนเองให้ดับเย็นสนิท เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า
ปฏิบัติปุญญปฏิปทาที่เกิดแก่สรีระเดียวคือปัพพัชชาธิกรณ์(มีบรรพชาเป็นเหตุ)”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้
ท่านพึงเฉลยปัญหานั้นตามที่ท่านเห็นควร ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ตถาคตเสด็จ
อุบัติในโลกนี้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค
ตถาคตพระองค์นั้นตรัสไว้อย่างนี้ว่า ‘ในข้อนี้เราปฏิบัติตามมรรคนี้ปฏิปทานี้ ทำให้
แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม มาเถิด แม้ท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติ
แล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ พระศาสดาพระองค์นี้ทรงแสดงธรรมไว้ และคนเหล่าอื่นต่างก็
ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ผู้แสดงและผู้ปฏิบัตินั้นมีมากกว่าร้อย มีมากกว่า
พัน มีมากกว่าแสน ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เมื่อเป็นอย่างนี้ ปุญญปฏิปทาคือ
ปัพพัชชาธิกรณ์ย่อมเกิดแก่สรีระเดียวหรือเกิดแก่หลายสรีระ”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร
เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นอย่างนี้
ปุญปฏิปทาคือปัพพชชาธิกรณ์นี้ย่อมเกิดแก่หลายสรีระ”
เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามสังคารว-
พราหมณ์ว่า “บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบใจปฏิปทาอะไร ซึ่งต้องใช้
อุปกรณ์น้อยกว่า มีความวุ่นวายน้อยกว่า แต่มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า”
เมื่อท่านพระอานนท์ถามอย่างนี้ สังคารวพราหมณ์ได้กล่าวกับท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมเป็นฉันใด ท่านพระอานนท์ก็เป็นฉันนั้น ท่าน
ทั้ง ๒ นี้เราบูชาแล้ว ท่านทั้ง ๒ นี้เราสรรเสริญแล้ว”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับสังคารวพราหมณ์ว่า “พราหมณ์ เรา
ไม่ได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านบูชาใครหรือว่าท่านสรรเสริญใคร แต่เราถามท่าน
อย่างนี้ว่า บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอะไร ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์
น้อยกว่า มีความวุ่นวายน้อยกว่า แต่มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า”
แม้ครั้งที่ ๓ สังคารวพราหมณ์ก็ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
พระโคดมเป็นฉันใด ท่านพระอานนท์ก็เป็นฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้เราบูชาแล้ว ท่าน
ทั้ง ๒ นี้เราสรรเสริญแล้ว”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า “สังคารวพราหมณ์ถูกอานนท์ถาม
ปัญหาที่ชอบธรรม ก็นิ่งเสีย ไม่ตอบถึง ๓ ครั้ง ทางที่ดี เราควรช่วยเหลือ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสังคารวพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ วันนี้
พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมว่าอย่างไร”
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้พวกราชบุรุษนั่ง
ประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ‘ทราบมาว่า ในกาลก่อน
ภิกษุธรรมดามีจำนวนน้อย ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริมนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์๑

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร
ได้มีจำนวนมากกว่า ทุกวันนี้ ภิกษุธรรมดามีจำนวนมากกว่า ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริ-
มนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้มีจำนวนน้อยกว่า’ ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้
พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมดังนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ปาฏิหาริย์(การทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้)
๓ อย่างนี้
ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุสาสนี)
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไป
ก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นและดำลง
ในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์
อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดยเครื่องหมายว่า “ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หาก
เธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย แต่พอได้
ฟังมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้๑ก็มี
ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจ
หลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง
เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของ
บุคคลผู้ตรึกตรองแล้ว ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง
คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง
เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ ถึงได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคล
ผู้ตรึกตรอง ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่กำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้าสมาธิ ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจารด้วยใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญนี้จักตรึกเรื่องชื่อโน้นในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้ง
มโนสังขาร” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้
ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรม
นี้อยู่” นี้เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์
พราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ท่านชอบใจ
ปาฏิหาริย์ไหน ซึ่งงดงามกว่าและประณีตกว่า
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาปาฏิหาริย์ ๓
อย่างนั้น ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ
แผ่อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้คือปาฏิหาริย์ ผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
นั้น ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น และผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์
นั้นเป็นของผู้นั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์นี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนกับ
ภาพมายา
ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดย
อาศัยเครื่องหมายว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๓๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร
ท่านกำลังคิดอย่างนี้ ๆ” แม้หากเขาจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เขากล่าวนั้นก็
เป็นอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา
แล้วก็กล่าวดักใจได้ว่า ฯลฯ ได้ฟังเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาแล้ว ก็ยังกล่าว
ดักใจไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคลผู้ตรึกตรอง ก็กล่าวดักใจได้ว่า ฯลฯ
แม้ได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคลผู้ตรึกตรอง ก็ยังกล่าวดักใจไม่ได้ แต่กำหนดรู้ใจของ
บุคคลผู้เข้าสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารด้วยใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญนี้จักตรึกเรื่อง
โน้นในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้งมโนสังขารไว้” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง
คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่ได้เป็นอย่างอื่น ข้าแต่ท่านพระโคดมนี้คือ
ปาฏิหาริย์ ผู้ใดแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น และ
ผู้ใดแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์นั้นเป็นของผู้นั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม
ปาฏิหาริย์แม้นี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนภาพมายา
ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ ข้าพระองค์ชอบใจปาฏิหาริย์
นี้ซึ่งงดงามกว่าและประณีตกว่า คือภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอย่างนี้ว่า
“จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้
จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่”
ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระโคดมตรัส
เรื่องนี้ไว้ดี และข้าพเจ้าทั้งหลายขอทรงจำไว้ว่า ท่านพระโคดมประกอบด้วยปาฏิหาริย์
๓ อย่างนี้ เพราะท่านพระโคดมทรงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ทรงใช้อำนาจ
ทางกายไปจนถึงพรหมโลกได้ เพราะท่านพระโคดมทรงกำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้า
สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของพระองค์ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ จักตรึกเรื่องโน้น
ในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้งมโนสังขารไว้” เพราะท่านพระโคดมทรงพร่ำสอนอย่างนี้ว่า
“จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้
จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ท่านกล่าววาจาที่เกี่ยวข้องกับคุณของเราแน่แท้ อนึ่ง
เราจักตอบคำถามของท่าน เพราะเราแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทาง
กายไปจนถึงพรหมโลกได้ เพราะเรากำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้าสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๓๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๑. พราหมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
วิจาร ด้วยใจของตนว่า ‘ท่านผู้เจริญนี้ จักตรึกเรื่องโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยวิธีที่ได้ตั้ง
มโนสังขารไว้’ เพราะว่าเราพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า ‘จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้
จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่”
สังคารวพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม นอกจากท่านพระโคดม
ภิกษุอื่นแม้รูปเดียวผู้เพียบพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ไม่ใช่เพียงหนึ่งร้อย ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย
ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้มีอยู่จำนวน
มากทีเดียว”
สังคารวพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็บัดนี้ภิกษุเหล่านั้น
อยู่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ท่านเหล่านั้นอยู่ในหมู่ภิกษุนี้เอง”
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้ง
พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
สังคารวสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร ๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร
๓. อัญญตรพราหมณสูตร ๔. ปริพพาชกสูตร
๕. นิพพุตสูตร ๖. ปโลกสูตร
๗. วัจฉโคตตสูตร ๘. ติกัณณสูตร
๙. ชานุสโสณิสูตร ๑๐. สังคารวสูตร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร

๒. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่

๑. ติตถายตนสูตร
ว่าด้วยที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า
[๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า๑ ๓
ประการ ซึ่งเมื่อถูกบัณฑิตไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงเข้า ก็อ้างการถือสืบ ๆ กันมา ยืน
กรานอยู่ในหลักอกิริยวาทะ๒
ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วน
แต่มีกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ๋
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่
มีการเนรมิตของพระเป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ”
๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่
ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย”
บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนมี
กรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร
ว่า “ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีกรรมที่ทำไว้ในปาง
ก่อนเป็นเหตุ” ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้ยอมรับว่า “จริง” เรา
จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ
ท่านทั้งหลาย ก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีจิต
พยาบาท และเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มี
ความพอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็เมื่อไม่ได้
กรณียกิจและอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังมากล่าวนี้ สมณวาทะที่เป็นธรรม เป็น
ของเฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็น
วาทะที่ ๑ สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ (๑)
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ
เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ
เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ” ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้ยอมรับว่า “จริง” เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น
เพราะการเนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ ท่านทั้งหลายก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์
ฯลฯ และเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือการเนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่โดยความเป็น
แก่นสารย่อมไม่มีความพอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควร
ทำ” ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจและอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังกล่าวมานี้ สมณวาทะ
ที่ชอบธรรม เป็นของเฉพาะตัว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่อง
ป้องกัน นี้แลเป็นวาทะที่ ๒ สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์
เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า “สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย” เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ทราบมาว่า จริง
หรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข
ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย” ถ้าท่านเหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้ ยอมรับว่า “จริง” เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ถ้าอย่างนั้น
เพราะไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ท่านทั้งหลายจักเป็นคนฆ่าสัตว์ ฯลฯ และเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
อนึ่ง เมื่อบุคคลยึดถือความไม่มีเหตุโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มีความ
พอใจหรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจ
และอกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังกล่าวมานี้ สมณวาทะที่ชอบธรรม เป็นของ
เฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็นวาทะที่ ๓
สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า ๓ ประการ ซึ่งเมื่อถูกบัณฑิตไต่ถาม
ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ก็อ้างการถือสืบ ๆ กันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยวาทะ
ส่วนธรรมที่เราแสดงไว้นี้ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
ธรรมที่เราแสดงไว้ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เป็นอย่างไร
คือ (๑) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ ๖ ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัว
หมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (๒) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า
“ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน (๓) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “มโนปวิจาร๑ ๑๘ ประการนี้”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
(๔) ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ ๔ ประการนี้’ ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง
ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ธาตุ ๖ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ธาตุ ๖ ประการนี้ คือ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)
อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) อากาสธาตุ(ธาตุอากาศ)
วิญญาณธาตุ(ธาตุวิญญาณ) เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า
“ธาตุ ๖ ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ คือ จักขุ(ตา)
โสตะ(หู) ฆานะ(จมูก) ชิวหา(ลิ้น) กาย(กาย) มโน(ใจ) เพราะอาศัยคำที่เรากล่าว
ไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้” ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัว
หมอง ไม่ถูกตำหนิ สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “มโนปวิจาร ๑๘ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะบุคคลเห็นรูปด้วยตาแล้วย่อมเข้าไปไตร่
ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไปไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไป
ไตร่ตรองรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา บุคคลฟังเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วย
จมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วย่อมเข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เข้าไป
ไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เข้าไปไตร่ตรองธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงว่า “มโนปวิจาร ๑๘ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร
อนึ่ง เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ ๔ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน
เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะถือมั่นธาตุ ๖ ประการ สัตว์จึงก้าวลง
สู่ครรภ์ เมื่อมีการก้าวลงสู่ครรภ์ นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ
จึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ก็เรา
บัญญัติไว้ว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ และนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
แก่บุคคลผู้เสวยอารมณ์อยู่
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ แม้ชาติ(ความเกิด)ก็เป็นทุกข์ แม้ชรา(ความแก่)ก็เป็นทุกข์ แม้มรณะ(ความ
ตาย)ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ(ความโศก) แม้ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์
กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส(ความคับแค้นใจ)ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับ
สิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นอย่างไร

คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงมี

กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีความเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย-
อริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑. ติตถายตนสูตร
ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร

คือ เพราะอวิชชาสำรอกดับไป สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสจึงดับ

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีความดับด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-
อริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า “อริยสัจ ๔ ประการนี้”
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งคัดค้าน เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ติตถายตนสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๒. ภยสูตร

๒. ภยสูตร
ว่าด้วยภัย
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมเรียกภัย ๓ อย่างนี้ว่า “อมาตา-
ปุตติกภัย”
ภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่มีอยู่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกไฟ
เผา ตำบลก็ถูกไฟเผา เมืองก็ถูกไฟเผา เมื่อหมู่บ้านถูกไฟเผาอยู่ เมื่อ
ตำบลถูกไฟเผาอยู่ เมื่อเมืองถูกไฟเผาอยู่ ในที่นั้น แม้มารดาก็ไม่ได้พบ
บุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกภัยที่ ๑ นี้ว่า
“อมาตาปุตติกภัย๑”
๒. สมัยที่มหาเมฆตั้งเค้ามีอยู่ เมื่อมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ฝนตกลงมา
ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกน้ำพัด
ไป ตำบลก็ถูกน้ำพัดไป เมืองก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อหมู่บ้านถูกน้ำพัดไปอยู่
เมื่อตำบลถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อเมืองถูกน้ำพัดไปอยู่ ในที่นั้น แม้มารดา
ก็ไม่ได้พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกภัยที่
๒ นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย”
๓. สมัยที่ภัยคือโจรป่าปล้นสะดม พวกชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป
มีอยู่ เมื่อมีภัยคือโจรป่าปล้นสะดม เมื่อชาวบ้านพากันขึ้นยานหนีไป
ในที่นั้น แม้มารดาก็ไม่ได้พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่
ได้สดับเรียกภัยที่ ๓ นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย”
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมเรียกอมาตาปุตติกภัยทั้ง ๓ อย่างนี้แล
ว่า “อมาตาปุตติกภัย”
แต่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยทั้ง ๓ อย่างนี้แลว่า “อมาตา-
ปุตติกภัย”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. มหาวรรค ๒. ภยสูตร
สมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่มีอยู่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูก
ไฟเผา ตำบลก็ถูกไฟเผา เมืองก็ถูกไฟเผา เมื่อหมู่บ้านถูกไฟเผาอยู่
เมื่อตำบลถูกไฟเผาอยู่ เมื่อเมืองถูกไฟนั้นเผาอยู่ สมัยที่มารดาได้พบ
บุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดา เป็นบางครั้งบางคราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๑ นี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย”
๒. สมัยที่มหาเมฆตั้งเค้าขึ้นมีอยู่ เมื่อมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ฝนตกลงมา
ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกน้ำพัดไป
ตำบลก็ถูกน้ำพัดไป เมืองก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อหมู่บ้านถูกน้ำพัดไปอยู่
เมื่อตำบลถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อเมืองถูกน้ำพัดไปอยู่ สมัยที่มารดาได้พบ
บุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดาเป็นบางครั้งบางคราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๒ นี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย”
๓. สมัยที่ภัยคือโจรป่าปล้นสะดม พวกชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป
มีอยู่ เมื่อภัยคือโจรป่าปล้นสะดม เมื่อชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป
มีอยู่ สมัยที่มารดาได้พบบุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดาเป็นบางครั้งบาง
คราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๓ นี้แลว่า
“อมาตาปุตติกภัย”
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย”
ภิกษุทั้งหลาย อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้
อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ชราภัย๑ (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความแก่)
๒. พยาธิภัย (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความเจ็บ)
๓. มรณภัย (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความตาย)
เมื่อบุตรแก่ มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงแก่ บุตรของเราอย่าได้
แก่” หรือเมื่อมารดาแก่ บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงแก่ มารดาของเรา
อย่าได้แก่”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร
เมื่อบุตรเจ็บไข้ มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงเจ็บไข้ บุตรของเรา
อย่าได้เจ็บไข้” หรือเมื่อมารดาเจ็บไข้ บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงเจ็บไข้
มารดาของเราอย่าได้เจ็บไข้”
เมื่อบุตรกำลังจะตาย มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงตาย บุตร
ของเราอย่าได้ตาย” หรือเมื่อมารดากำลังจะตาย บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า
“เราจงตาย มารดาของเราอย่าได้ตาย”
อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้แล
มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และ
อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้มีอยู่
มรรคปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตา-
ปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้
ภยสูตรที่ ๒ จบ

๓. เวนาคปุรสูตร
ว่าด้วยหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเวนาคปุระ
[๖๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมกับภิกษุ
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อเวนาคปุระ
พราหมณ์และคหบดีชาวเวนาคปุระได้ทราบว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ฟัง
ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงเวนาค-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร
ปุระโดยลำดับแล้ว ท่านพระสมณโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๑’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ต่อมา พราหมณ์และคหบดีชาวเวนาคปุระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไหว้ไป
ทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ
โคตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
พราหมณ์วัจฉโคตรชาวเวนาคปุระผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ อินทรีย์ของท่านพระโคดม
ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผลพุทราสุกที่มีในสารทกาล๑ ย่อม
บริสุทธิ์ผุดผ่องแม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ผลตาลสุกที่หล่นจากขั้วย่อม
บริสุทธิ์ผุดผ่อง แม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง พระฉวีวรรณก็
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ทองแท่งชมพูนุท๒ ที่บุตรนายช่างทองผู้ชำนาญ
หลอมดีแล้ว ที่นายช่างทองผู้ฉลาดบุดีแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพล๓ ส่องแสงประกาย
สุกสว่างอยู่ แม้ฉันใด อินทรีย์ของท่านพระโคดมก็ผ่องใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ฉันนั้นเหมือนกัน ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่คือเตียงมีเท้าเกินประมาณ
บัลลังก์๔ ผ้าโกเชาว์๕ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาด

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร
ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดทำด้วยขนแกะลายดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น
เครื่องลาดขนแกะที่วิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีราชสีห์และเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะ
มีขนตั้งข้างเดียว เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้งสองข้าง เครื่องลาดไหมขลิบรัตนะ เครื่อง
ลาดไหม เครื่องลาดขนแกะที่นางรำ ๑๖ นางยืนรำได้ เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาด
หลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือดาวซึ่งมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาด
อย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดข้างบนมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนสีแดงวางไว้
ทั้ง ๒ ข้าง๑(เหล่านี้) ท่านพระโคดมได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่อย่างนี้ตามความ
ปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากแน่นอน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ คือเตียงมี
เท้าเกินประมาณ ฯลฯ เครื่องลาดมีหมอนข้าง ของเหล่านั้นบรรพชิตหาได้ยาก และ
ได้มาแล้วก็ไม่สมควร
ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่าง ในปัจจุบันนี้ที่เราได้ตามความปรารถนาโดย
ไม่ยาก ไม่ลำบาก
ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของทิพย์
๒. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหม
๓. ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพระอริยะ
ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ๓ อย่างในปัจจุบันนี้ที่เราได้ตามความปรารถนาโดย
ไม่ยาก ไม่ลำบาก
พราหมณ์วัจฉโคตรทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่
ที่เป็นของทิพย์ ที่ท่านพระโคดมได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ใน
ปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พรามหณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้
อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร
เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า
หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้มั่น สงัด
จากกาม และอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานมีวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่
จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติจาง
คลายไป เรามีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายบรรลุตติยฌานที่พระ
อริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มี
สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ถ้าเรานั้นผู้เป็นอย่างนี้ จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรม
ของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ในสมัยที่ยืนของเรานั้น ชื่อว่า
เป็นทิพย์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้นั่งอยู่ ในสมัยนั้นที่นั่งของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์ ถ้าเรา
ผู้เป็นอย่างนี้นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นทิพย์
นี้แลคือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของทิพย์ ที่เราได้ตามความปรารถนา
โดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้
พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่เป็นของทิพย์
ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหมที่ท่านพระโคดม
ได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้
อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล
เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า
หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้มั่น มี
เมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร
ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็น
มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตา-
จิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
พราหมณ์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรมของเรานั้นชื่อว่า
เป็นของพรหม ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ฯลฯ นั่งอยู่ ฯลฯ นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่
นอนสูงและที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นของพรหม
นี้แล คือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของพรหมที่เราได้ตามความปรารถนา
โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในปัจจุบันนี้
พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของ
พรหมตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของอริยะที่ท่านพระโคดม
ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้ เป็นอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดในโลกนี้
อยู่ ในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือตำบลนั้นแล
เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่ชายป่า กวาดหญ้า
หรือใบไม้ที่มีอยู่ในที่นั้นรวมเข้าเป็นกองแล้วนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้มั่น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละราคะ โทสะ โมหะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
พราหมณ์ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้จงกรมอยู่ ในสมัยนั้นที่จงกรมของเรานั้นชื่อว่าเป็นของ
อริยะ ถ้าเราผู้เป็นอย่างนี้ยืนอยู่ ฯลฯ นั่งอยู่ ฯลฯ นอนอยู่ ในสมัยนั้นที่นอนสูงและ
ที่นอนใหญ่ของเรานั้นชื่อว่าเป็นของอริยะ
นี้แลคือที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของอริยะที่เราได้ตามความปรารถนา
โดยไม่ยาก ไม่ลำบากในปัจจุบันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๔. สรภสูตร
พราหมณ์วัจฉโคตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ก็ใครอื่นนอกจากท่านพระโคดมจักได้ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ที่เป็นของ
อริยะตามปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ภาษิตของ
ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย
ประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลง
ทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึง
ท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรง
จำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต
เวนาคปุรสูตรที่ ๓ จบ

๔. สรภสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าสรภะ
[๖๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ก็
สมัยนั้น สรภปริพาชกผู้ออกไปจากพระธรรมวินัยนี้ไม่นาน๑ เขากล่าวอย่างนี้ใน
หมู่ชน ณ กรุงราชคฤห์อย่างนี้ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรแล้ว ก็
เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคง
ไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น”
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เข้าไปยัง
กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นได้ยินสรภปริพาชกกำลังกล่าวอย่างนี้ใน
หมู่ชน ณ กรุงราชคฤห์อย่างนี้ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรแล้ว
เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคง
ไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๔. สรภสูตร
ครั้นต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันเสร็จแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรภปริพาชกผู้ออกไปจากพระธรรมวินัยนี้ได้ไม่นาน
กล่าวในหมู่ชน ณ กรุงราชคฤห์อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร
ก็เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เราคง
ไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี
พระภาคเสด็จไปยังอารามของปริพาชก ณ ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ได้โปรดอนุเคราะห์
เสด็จไปหาสรภปริพาชกด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จไปยัง
อารามปริพาชก ณ ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา เสด็จเข้าไปหาสรภปริพาชกถึงที่อยู่แล้วนั่ง
บนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า
“สรภะ ทราบว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากย-
บุตรแล้ว ก็เพราะรู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตร เราจึงออกมา ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว
เราคงไม่ออกมาจากธรรมวินัยนั้น’ จริงหรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกได้นิ่งเงียบ
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า
“(สรภะ เราเองบัญญัติธรรมไว้สำหรับเหล่าสมณศากยบุตร) สรภะ จงกล่าวเถิด ท่าน
รู้ทั่วถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรว่าอย่างไร ถ้าความรู้ของท่านยังไม่บริบูรณ์
เราจักช่วยทำให้บริบูรณ์ แต่ถ้าความรู้ของท่านบริบูรณ์ เราจักพลอยยินดีด้วย”
แม้ครั้งที่ ๓ สรภปริพาชกก็ยังนิ่ง
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับสรภปริพาชกดังนี้ว่า “ท่านสรภะ พระ
สมณโคดมจะปวารณาพระองค์เองทุกครั้งที่ท่านขอ ท่านสรภะ จงกล่าวเถิด ท่านรู้ทั่ว
ถึงธรรมของเหล่าสมณศากยบุตรว่าอย่างไร ถ้าความรู้ของท่านยังไม่บริบูรณ์ พระ
สมณโคดมจักช่วยทำให้บริบูรณ์ แต่ถ้าความรู้ของท่านบริบูรณ์ พระสมณโคดมจัก
พลอยยินดีด้วย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๕๓ }

พระสุตตัตนตปิฎ อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. มหาวรรค ๔. สรภสูตร
เมื่อปริพาชกเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกนิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่ง
คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทราบว่าสรภปริพาชกนิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก
ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้ จึงได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าปฏิญญาตนอยู่ ยังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้น
ในธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียง
ตามหลักเหตุผลจะไม่เข้าถึงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ ๓ อย่าง คือ (๑) พูดกลบ
เกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (๒) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ (๓) นิ่งเงียบ
เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “อาสวะเหล่านี้ของท่านผู้
ปฏิญญาตนว่าเป็นพระขีณาสพยังไม่สิ้นไปเลย เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นใน
ธรรมนั้นตามหลักเหตุผล” เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงตาม
หลักเหตุผลจะไม่เข้าถึงฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ ๓ อย่าง คือ (๑) พูดกลบ
เกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง (๒) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ (๓) นิ่งเงียบ
เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวกับเราอย่างนี้ว่า “ท่านแสดงธรรมเพื่อ
ประโยชน์ใด ธรรมที่ท่านแสดงนั้นไม่อำนวยประโยชน์นั้นเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น เราพึงไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นในธรรมนั้นตามหลักเหตุผล”
เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นเมื่อถูกเราไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงตามหลักเหตุผลจะไม่เข้าถึง
ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในฐานะ ๓ อย่าง คือ (๑) พูดกลบเกลื่อนหรือพูดนอกเรื่อง
(๒) แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และอาการไม่พอใจ (๓) นิ่งเงียบ เก้อเขิน นั่งคอตก
ก้มหน้า ซบเซา ไม่สามารถจะโต้ตอบได้เหมือนสรภปริพาชก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง ณ อารามปริพาชก
ที่ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินิกาแล้วทรงเหาะหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๕๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร
ต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ปริพาชกพากันใช้ปฏักคือ
วาจาทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบด้านว่า “ท่านสรภะ สุนัขจิ้งจอกแก่ในป่าใหญ่คิดว่า
จักร้องเหมือนเสียงราชสีห์ แต่ก็ร้องเป็นสุนัขจิ้งจอกอยู่นั่นเอง ร้องไม่ต่างจากสุนัข
จิ้งจอกเลยแม้ฉันใด ท่านสรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ‘นอกจากพระ
สมณโคดมแล้ว เราก็บันลือสีหนาทได้’ กลับบันลือได้เหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ บันลือไม่
ต่างจากสุนัขจิ้งจอกเลย ท่านสรภะ ลูกไก่ตัวเมียคิดว่าจักขันให้ได้เหมือนพ่อไก่ กลับ
ขันได้อย่างลูกไก่ตัวเมียเท่านั้น แม้ฉันใด ท่านสรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน
คิดว่า ‘นอกจากพระสมณโคดมแล้ว เราก็จักขันเหมือนพ่อไก่ได้’ กลับขันได้เหมือน
ลูกไก่ตัวเมีย ท่านสรภะ โคผู้เข้าใจว่าตนร้องได้อย่างลึกซึ้งในโรงโคที่ว่าง แม้ฉันใด ท่าน
สรภะ ตัวท่านเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน เข้าใจว่าตนร้องได้อย่างลึกซึ้ง”
ครั้งนั้น ปริพาชกเหล่านั้นพากันใช้ปฏักคือวาจาทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบด้าน
สรภสูตรที่ ๔ จบ

๕. เกสปุตติสูตร
ว่าด้วยกาลามะ๑ชาวเกสปุตตนิคม
[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงตำบลของพวกกาลามะชื่อว่าเกสปุตตนิคม
พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคมได้ทราบว่า “ข่าวว่า ท่านพระสมณโคดมศากย
บุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูลเสด็จถึงเกสปุตตนิคมโดยลำดับแล้ว ท่านพระ
สมณโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระ
องค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกและหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ
พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรง
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน’ การ
ได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ลำดับนั้น พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกสนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไหว้ไป
ทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ
โคตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
พวกกาลามะชาวเกสปุตตนิคมผู้นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม แสดง
ประกาศวาทะ๑ของตนเท่านั้น แต่กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น กล่าวข่มวาทะของผู้อื่น
ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม แสดง
ประกาศวาทะของตนเท่านั้น แต่กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น กล่าวข่มวาทะของผู้อื่น
ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความสงสัยลังเลใจในสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นว่า “บรรดาท่านสมณพราหมณ์เหล่านี้ ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลามชนทั้งหลาย ก็สมควรที่ท่านทั้งหลายจะสงสัย
สมควรที่จะลังเลใจ ท่านทั้งหลายเกิดความสงสัยลังเลใจในฐานะที่ควรสงสัยอย่าง
แท้จริง มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ(การคิดเอาเอง)
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน๑
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้
เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติ
บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละ
(ธรรมเหล่านั้น)เสีย
กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โลภะ(ความอยาก
ได้) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล
“ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโลภะนี้ ถูกโลภะครอบงำ มีจิตถูกโลภะ
กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โทสะ(ความคิด
ประทุษร้าย) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร
“ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโทสะนี้ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะ
กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โมหะ(ความหลง)
เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“ไม่เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้มีโมหะนี้ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะ
กลุ้มรุม ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“ อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็น
กุศลหรืออกุศล”
“เป็นอกุศล พระพุทธเจ้าข้า”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๕๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลามะทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า
มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้
เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติ
บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละ
(ธรรมเหล่านั้น)เสีย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น มาเถิด
กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๕๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร
กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรมเหล่านี้
เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือ
ปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้า
ถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่
กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโลภะ(ความไม่
อยากได้) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโลภะนี้ ไม่ถูกโลภะครอบงำ มีจิตไม่ถูก
โลภะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโทสะ(ความไม่คิด
ประทุษร้าย) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโทสะนี้ ไม่ถูกโทสะครอบงำ มีจิตไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโมหะ(ความไม่
หลง) เมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล”
“เกื้อกูล พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ก็บุรุษบุคคลผู้ไม่มีโมหะนี้ ไม่ถูกโมหะครอบงำ มีจิตไม่ถูก
โมหะกลุ้มรุม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือธรรมเหล่านี้เป็น
กุศลหรือเป็นอกุศล”
“เป็นกุศล พระพุทธเจ้าข้า”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่ไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้สรรเสริญ พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลามะทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า
มาเถิด กาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร
กาลามะทั้งหลาย เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า ธรรมเหล่านี้
เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือ
ปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้า
ถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่ เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
กาลามะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่
ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑
ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
กาลามะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาทอย่างนี้
มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ เธอบรรลุความเบาใจ ๔ ประการใน
ปัจจุบัน คือ
๑. ถ้าโลกหน้ามี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี เป็นไปได้ที่เรื่อง
นั้นจะเป็นเหตุให้เราหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้คือ
ความเบาใจประการที่ ๑ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๒. ถ้าโลกหน้าไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี เราก็รักษา
ตนไม่ให้มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่ให้มีทุกข์ ให้มีสุขในปัจจุบันใน
โลกนี้ได้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๒ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๓. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าทำบาป เราไม่เจาะจงบาปไว้เพื่อใคร ๆ เลย
เมื่อเราไม่ทำบาปเลย ความทุกข์จะถูกต้องเราได้อย่างไร นี้คือความ
เบาใจประการที่ ๓ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๔. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าไม่ทำบาป เราก็พิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์
ทั้ง ๒ ส่วนในโลกนี้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๔ ที่อริยสาวกนั้น
บรรลุแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๕. เกสปุตติสูตร
กาลามะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาทอย่างนี้
มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ อริยสาวกนั้นชื่อว่าบรรลุความเบาใจ
๔ ประการนี้ในปัจจุบัน
พวกกาลามะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนั้นเป็นอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต เรื่องนั้นเป็นอย่างนี้ พระอริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาท
อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ พระอริยสาวกนั้นบรรลุ
ความเบาใจ ๔ ประการในปัจจุบัน คือ
๑. ถ้าโลกหน้ามี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี เป็นไปได้ที่เรื่อง
นั้นจะเป็นเหตุให้เราหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้คือ
ความเบาใจประการที่ ๑ ที่พระอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๒. ถ้าโลกหน้าไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี เราก็รักษาตน
ไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน ไม่ให้มีทุกข์ ให้มีสุขในปัจจุบันใน
โลกนี้ได้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๒ ที่พระอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๓. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าทำบาป เราไม่เจาะจงบาปไว้เพื่อใคร ๆ
เลย เมื่อเราไม่ทำบาปเลย ความทุกข์จะถูกต้องเราได้อย่างไร นี้คือ
ความเบาใจประการที่ ๓ ที่พระอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๔. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าไม่ทำบาป เราก็พิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์
ทั้ง ๒ ส่วนในโลกนี้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๔ ที่พระอริยสาวก
นั้นบรรลุแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาท
อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ พระอริยสาวกนั้นชื่อว่าบรรลุ
ความเบาใจ ๔ ประการนี้ในปัจจุบัน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าพระองค์ทั้งหลายนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

๖. สาฬหสูตร
ว่าด้วยนายสาฬหะถามถึงหลักความเชื่อ
[๖๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะอยู่ที่ปราสาทของวิสาขามิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นายสาฬหะผู้เป็นหลานชายของมิคารเศรษฐี
และนายโรหนะผู้เป็นหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี เข้าไปหาท่านพระนันทกะถึง
ที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับสาฬหมิคารนัดดาดังนี้ว่า
มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่
บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่าน
ทั้งหลายควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย
สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โลภะมีอยู่หรือ
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อภิชฌา” บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้
ของเขานี้ เป็นผู้โลภ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูด
เท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โทสะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “พยาบาท” บุคคลผู้มีจิตพยาบาท
(ความคิดร้าย)นี้เป็นผู้คิดร้าย ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น
บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ โมหะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำว่า “อวิชชา” บุคคลผู้ตกอยู่ในอวิชชา
(ความไม่รู้แจ้ง)นี้เป็นผู้หลง ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น
บ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์บ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ธรรมเหล่านี้เป็น
กุศลหรืออกุศล”
“เป็นอกุศล ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่มีโทษ ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียน ท่านผู้เจริญ”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์หรือไม่ หรือท่านทั้งหลาย มีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร
ท่านพระนันทกะกล่าวว่า สาฬหะและโรหนะ เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าวไว้ว่า
มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ที่บุคคล
ถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย
ควรละ(ธรรมเหล่านั้น)เสีย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
มาเถิด สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร
สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่
บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย
ควรเข้าถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่เถิด
สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโลภะมีอยู่หรือ
“มี ท่านผู้เจริญ”
สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “อนภิชฌา” บุคคลผู้ไม่เพ่งเล็งอยาก
ได้ของเขานี้ เป็นผู้ไม่โลภ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่
พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโทสะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “อพยาบาท” บุคคลผู้มีจิตไม่
พยาบาทนี้เป็นผู้ไม่คิดร้าย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม
พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ อโมหะมีอยู่หรือ”
“มี ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ เราจะอธิบายคำนี้ว่า “วิชชา” บุคคลผู้มีวิชชานี้เป็นผู้
ไม่หลงอยู่ในความรู้นี้ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ
ชักชวนผู้อื่นเพื่อสิ่งที่เกื้อกูล เพื่อสุขบ้างหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“สาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
หรือเป็นอกุศล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร
“เป็นกุศล ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่มีโทษหรือไม่มีโทษ”
“เป็นธรรมที่ไม่มีโทษ ท่านผู้เจริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้ติเตียนหรือผู้รู้สรรเสริญ”
“เป็นธรรมที่ผู้รู้สรรเสริญ ท่านผู้เจริญ”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
หรือไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
“ธรรมเหล่านี้ที่บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
พวกกระผมมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้ ท่านผู้เจริญ”
ท่านพระนันทกะกล่าวว่า สาฬหะและโรหนะ เพราะเหตุนี้แล เราจึงได้กล่าว
ไว้ว่า มาเถิด ท่านสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลาย
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
สาฬหะและโรหนะ เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่า “ธรรม
เหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๖๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร
บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย
ควรเข้าถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่เถิด เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
สาฬหะและโรหนะ พระอริยสาวกนั้นปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท
ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ... ทิศ
ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่
เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่
มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอด
ทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินี้๑
มีอยู่ ธรรมอันทราม๒มีอยู่ ธรรมอันประณีต๓มีอยู่ การที่สัญญานี้สลัดออกอย่าง
ยอดเยี่ยม๔มีอยู่” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ
และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเรามีโลภะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี
บัดนี้โลภะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ ฯลฯ เมื่อก่อนเรามีโมหะ
เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โมหะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี” เธอไม่มีความทะยาน
อยาก ดับสนิทเยือกเย็น เสวยสุข มีตนเป็นประหนึ่งพรหมอยู่ในปัจจุบัน
สาฬหสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๗. กถาวัตถุสูตร

๗. กถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ควรกล่าว
[๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ๑ ๓ ประการนี้
กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า “อดีตกาลได้มีอย่างนี้”
๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า “อนาคตกาลจักมีอย่างนี้”
๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า “ปัจจุบันกาลมีอยู่อย่างนี้”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่ตอบโดยนัยเดียวซึ่งปัญหาที่ควร
ตอบนัยเดียว ไม่จำแนกตอบซึ่งปัญหาที่ควรจำแนกตอบ ไม่ย้อนถามแล้วจึงตอบ
ปัญหาที่ควรย้อนถามแล้วจึงตอบ ไม่พักปัญหาที่ควรพักไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้
ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ตอบโดยนัยเดียวซึ่งปัญหาที่
ควรตอบโดยนัยเดียว จำแนกตอบปัญหาที่ควรจำแนกตอบ ย้อนถามแล้วจึงตอบ
ปัญหาที่ควรย้อนถามแล้วจึงตอบ พักปัญหาที่ควรพักไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อ
ว่า “ผู้ควรพูดด้วย”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่ตั้งมั่นอยู่ในฐานะและอฐานะ๒
ไม่ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป๓ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ควรรู้ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องปฏิบัติ เมื่อ
เป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ตั้งมั่น
อยู่ในฐานะและอฐานะ ตั้งมั่นอยู่ในปริกัป ตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่ควรรู้ ตั้งมั่นอยู่ใน
เรื่องปฏิบัติ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๗. กถาวัตถุสูตร
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดง
อาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูด
ด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา ไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดง
อาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้ควรพูดด้วย
หรือไม่ควรพูดด้วย” ถ้าบุคคลนี้ถูกถามปัญหา พูดฟุ้งเฟ้อ พูดย่ำยี พูดหัวเราะเยาะ
คอยจับผิด เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ไม่ควรพูดด้วย” แต่ถ้าบุคคลนี้ถูกถาม
ปัญหา ไม่พูดฟุ้งเฟ้อ ไม่พูดย่ำยี ไม่พูดหัวเราะเยาะ ไม่คอยจับผิด เมื่อเป็นอย่างนี้
บุคคลนี้ชื่อว่า “ผู้ควรพูดด้วย”
ชาวโลกพึงรู้จักบุคคลได้ด้วยการมาร่วมประชุมสนทนากันว่า “ผู้นี้มีอุปนิสัย๑
หรือไม่มีอุปนิสัย” บุคคลผู้ไม่เงี่ยหูฟัง ชื่อว่า “ไม่มีอุปนิสัย” บุคคลผู้เงี่ยหูฟังชื่อว่า
“มีอุปนิสัย” บุคคลนั้นผู้มีอุปนิสัยย่อมรู้ธรรมอย่างหนึ่ง กำหนดรู้ธรรมอย่างหนึ่ง ละ
ธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้แจ้งธรรมอย่างหนึ่ง เขาเมื่อรู้ยิ่งธรรมอย่างหนึ่ง กำหนดรู้
ธรรมอย่างหนึ่ง ละธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้แจ้งธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมสัมผัสความ
หลุดพ้นโดยชอบ การสนทนากันมีประโยชน์อย่างนี้ การปรึกษากันมีประโยชน์
อย่างนี้ อุปนิสัยมีประโยชน์อย่างนี้ การเงี่ยหูฟังมีประโยชน์อย่างนี้ คือ ความหลุด
พ้นแห่งจิตเพราะความไม่ถือมั่น
ชนเหล่าใดเป็นคนมักโกรธ
ฟุ้งซ่าน โอ้อวด พูดเพ้อเจ้อ
ชนเหล่านั้นชื่อว่ายึดถือถ้อยคำที่ไม่ประเสริฐ
มองดูเรื่องผิดพลาดของกันและกัน
ชนเหล่าใดชื่นชมทุพภาษิต ความพลั้งพลาด
ความหลงลืม ความพ่ายแพ้ของกันและกัน
พระอริยะไม่พูดถึงเรื่องนั้นของชนเหล่านั้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร
แต่ถ้าบัณฑิตรู้จักกาลอันเหมาะสมแล้ว
ประสงค์จะพูด ควรมีความรู้ ไม่โกรธ ไม่ฟุ้งซ่าน
ไม่โอ้อวด ไม่ใจเบาหุนหันพลันแล่น ไม่คอยจับผิด
พูดแต่เรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม
เป็นเรื่องที่พระอริยะประพฤติกันมา
เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ เขาไม่พูดริษยา
บุคคลควรชื่นชมถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต
ไม่ควรเลื่อมใสถ้อยคำที่เป็นทุพภาษิต
ไม่ควรใส่ใจถึงความแข่งดี
และไม่ควรคอยจับผิด ไม่ควรพูดทับถม
ไม่ควรพูดย่ำยี ไม่ควรพูดเหลาะแหละ
เพื่อความรู้ เพื่อความเลื่อมใส
สัตบุรุษทั้งหลายจึงมีการปรึกษากัน
พระอริยะทั้งหลายย่อมปรึกษากันเช่นนั้นแล
นี้เป็นการปรึกษากันของพระอริยะทั้งหลาย
บุคคลผู้มีปัญญารู้เรื่องนี้แล้ว
ไม่ควรถือตัว ควรปรึกษากัน
กถาวัตถุสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัญญติตถิยสูตร
ว่าด้วยพวกอัญเดียรถีย์
[๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
พึงถามอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ราคะ(ความกำหนัด) (๒) โทสะ
(ความคิดประทุษร้าย) (๓) โมหะ(ความหลง) ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
แล ธรรม ๓ ประการนี้มีความแปลกกันอย่างไร มีคำอธิบายอย่างไร มีความต่างกัน
อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบพวกเขาอย่างไร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรง
อธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระ
ภาคแล้วจักทรงจำไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ
นี้ คือ (๑) ราคะ (๒) โทสะ (๓) โมหะ ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ธรรม
๓ ประการนี้มีความแปลกกันอย่างไร มีคำอธิบายอย่างไร มีความต่างกันอย่างไร
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบพวกเขาอย่างนี้ว่า ราคะมีโทษน้อยแต่
คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากและคลายช้า
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “สุภนิมิต” เมื่อมนสิการสุภนิมิตโดยไม่แยบคาย
ราคะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “ปฏิฆนิมิต” เมื่อมนสิการปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย
โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “อโยนิโสมนสิการ” เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย
โมหะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “อสุภนิมิต” เมื่อมนสิการอสุภนิมิตโดยแยบคาย ราคะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “เมตตาเจโตวิมุตติ๑” เมื่อมนสิการเมตตาเจโตวิมุตติ
โดยแยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “โยนิโสมนสิการ” เมื่อมนสิการโดยแยบคาย โมหะ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะที่
ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
อัญญติตถิยสูตรที่ ๘ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น