Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๐-๘ หน้า ๓๒๑ - ๓๖๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร
สมัยนั้น ภิกษุชื่อกัสสปโคตร เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ตำบลปังกธา ทราบมาว่า ณ
ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วย
สิกขาบท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่
ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้
ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริก
ไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ ภูเขา
คิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์นั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความรำคาญ
เดือดร้อนใจว่า “ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราได้
ไม่ดีแล้วหนอ ที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ที่ประกอบด้วยสิกขาบท ได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’
จะเป็นการดี ถ้าเราจะพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วแสดงโทษโดย
ความเป็นโทษในสำนักพระผู้มีพระภาค”
ลำดับนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวร หลีกไปทางกรุง
ราชคฤห์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล
ปังกธาของชาวโกศล ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุ
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ข้าพระองค์นั้นได้มีความขัดใจ
ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๒๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร
ปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เมื่อพระผู้มีพระภาค
เสด็จหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์นั้นได้มีความรำคาญเดือดร้อนใจว่า ‘ไม่ใช่ลาภของ
เราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ ที่เมื่อพระผู้มี
พระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท
เรากลับมีความขัดใจไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ จะเป็นการดี ถ้าเรา
จะพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนัก
พระผู้มีพระภาค’ โทษได้ถึงตัวข้าพระองค์ผู้โง่เขลา งมงาย ไม่ฉลาด เมื่อพระผู้มีพระ
ภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่
ข้าพระองค์ได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับทราบโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ
เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาละ กัสสปะ โทษได้ถึงตัวเธอผู้โง่เขลา งมงาย
ไม่ฉลาด เมื่อเราให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจ
หาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท
ก็เพราะเธอมีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ได้เห็นโทษโดย
ความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ฉะนั้นเราจึงรับทราบโทษนั้นของเธอ ก็การที่
บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป
นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย
ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา
เธอย่อมไม่ชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการศึกษา และไม่สรรเสริญ
คุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราไม่
สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกภิกษุอื่นพึง
คบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหา
เธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ภิกษุพวกที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๒๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร
พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญคุณของภิกษุ
ผู้เป็นเถระเช่นนี้
ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่
สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา เธอย่อมไม่ชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษา
ให้ใคร่ต่อการศึกษา และไม่สรรเสริญคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการ
ศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราไม่สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญ
คุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหาเธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ภิกษุพวกที่พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น
เราจึงไม่สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้
ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา เธอ
ย่อมชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการศึกษา และสรรเสริญคุณที่มี
จริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราสรรเสริญคุณ
ของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดย
เห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหาเธอพึงพากัน
ตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ภิกษุพวกที่พากันตามอย่างเธอ
ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงสรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้
ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญ
การเอาใจใส่การศึกษา เธอย่อมชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการ
ศึกษา และสรรเสริญคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาส
อันสมควร เราสรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุ
พวกที่คบหาเธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ภิกษุ
พวกที่พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงสรรเสริญคุณของ
ภิกษุผู้เป็นนวกะเช่นนี้
ปังกธาสูตรที่ ๑๑ จบ
สมณวรรคที่ ๔ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑. อัจจายิกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมณสูตร ๒. คัทรภสูตร
๓. เขตตสูตร ๔. วัชชีปุตตสูตร
๕. เสกขสูตร ๖. ปฐมสิกขาสูตร
๗. ทุติยสิกขาสูตร ๘. ตติยสิกขาสูตร
๙. ปฐมสิกขัตตยสูตร ๑๐. ทุติยสิกขัตตยสูตร
๑๑. ปังกธาสูตร

๕. โลณผลวรรค
หมวดว่าด้วยก้อนเกลือ
๑. อัจจายิกสูตร
ว่าด้วยกิจรีบด่วนของชาวนาและของภิกษุ
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการนี้
กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
คหบดีชาวนาในโลกนี้
๑. ต้องเร่งรีบไถคราดนา ให้เรียบร้อย
๒. ต้องเร่งรีบเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร
๓. ต้องเร่งรีบไขน้ำเข้าบ้าง ระบายน้ำออกบ้าง
กิจที่คหบดีชาวนาต้องรีบทำ ๓ ประการนี้แล
คหบดีชาวนานั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “วันนี้แลข้าวเปลือก
ของเราจงเกิด พรุ่งนี้จงออกรวง มะรืนนี้จงหุงได้” แท้ที่จริง ข้าวเปลือกของคหบดี
ชาวนานั้น มีระยะเวลาของฤดูที่จะเกิดขึ้น ออกรวง และหุงได้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๒๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร
กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)
๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)

กิจที่ภิกษุต้องรีบทำ ๓ ประการนี้แล
ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “วันนี้แล พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้
จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น” ภิกษุทั้งหลาย แท้ที่จริง จิตของ
ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา มีระยะเวลาที่จะ
หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมี
ความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการ
สมาทานอธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
อัจจายิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปวิเวกสูตร
ว่าด้วยความสงัดจากกิเลส
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติความสงัดจากกิเลส
ไว้ ๓ ประการนี้
ความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยจีวร
๒. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต
๓. ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยเสนาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๒๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร
บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ ประการนั้น ในความสงัดจากกิเลสเพราะ
อาศัยจีวร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ คือ นุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้า
แกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้าห่อศพบ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง
นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่มหนังเสือที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มผ้าคากรองบ้าง นุ่งห่ม
ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง
นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยปีกนกเค้าบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แล ในความสงัดจาก
กิเลสเพราะอาศัยจีวร
บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ นั้น ความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต
ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้คือกินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างบ้าง
อาหารบ้าง กินลูกเดือยเป็นอาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยาง๑เป็น
อาหารบ้าง กินรำบ้าง กินข้าวตังบ้าง กินกำยานบ้าง กินหญ้าบ้าง กินโคมัยบ้าง กิน
รากและผลไม้ในป่าบ้าง กินผลไม้ที่หล่นเลี้ยงชีพอยู่ ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์
ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แลไว้ในความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัยบิณฑบาต
บรรดาความสงัดจากกิเลสทั้ง ๓ นั้น ในความสงัดจากกิเลสเพราะอาศัย
เสนาสนะ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ คือ ป่า โคนไม้ ป่าช้า ป่าทึบ
ที่แจ้ง ลอมฟาง โรงลาน พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติเรื่องนี้แลไว้ในความสงัด
จากกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเสนาสนะ
ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติความสงัดจากกิเลสไว้ ๓ ประการ
นี้แล
ส่วนความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ ของภิกษุในธรรมวินัยนี้
ความสงัดจากกิเลส ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๒. ปวิเวกสูตร
๑. มีศีล๑ละความเป็นคนทุศีล๒และปราศจากโทษเครื่องทุศีลนั้น
๒. เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น
๓. เป็นขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย๓และปราศจากอาสวะเหล่านั้น
เพราะภิกษุเป็นผู้มีศีล ละความเป็นคนทุศีลและปราศจากความเป็นคนทุศีลนั้น
เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น และเป็นขีณาสพ ละ
อาสวะทั้งหลายและปราศจากอาสวะเหล่านั้น ฉะนั้นภิกษุนี้จึงเรียกว่า “ผู้เลิศด้วย
ศีล ถึงธรรมที่เป็นสาระ บริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ๔”
เปรียบเหมือนนาข้าวสาลีของคหบดีชาวนา สมบูรณ์แล้ว คหบดีชาวนาพึงใช้
คนให้รีบเก็บเกี่ยวข้าวสาลีนั้น ให้รีบรวบรวมไว้ ให้รีบขนเอาไปเข้าลาน ให้รีบทำเป็น
ลอมไว้ ให้รีบนวด ให้รีบเอาฟางออก ให้รีบเอาข้าวลีบออก ให้รีบฝัดข้าว ให้รีบขนไป
ให้รีบซ้อม ให้รีบเอาแกลบออก ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าวเปลือกเหล่านั้น
ของคหบดีชาวนานั้นพึงถึงความเป็นส่วนอันเลิศ เป็นข้าวสารสะอาด คงอยู่ในความ
เป็นข้าวสาร ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะเป็นผู้มีศีล ละความเป็นคนทุศีลและปราศ
จากความเป็นคนทุศีลนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิและปราศจากมิจฉาทิฏฐินั้น
และเป็นขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลายและปราศจากอาสวะเหล่านั้น ฉะนั้นภิกษุนี้จึง
เรียกว่า “ผู้เลิศด้วยศีล ถึงธรรมที่เป็นสาระ บริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ”
ปวิเวกสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๔. ปริสาสูตร

๓. สรทสูตร
ว่าด้วยธรรมจักษุกับท้องฟ้าในสารทกาล
[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้องฟ้าแจ่มใสปราศจากเมฆหมอกในสารทกาล๑ ดวง
อาทิตย์ส่องแสงไปทั่วท้องฟ้า ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศทั้งหมด ส่องแสง แผด
แสงและส่องสว่างอยู่ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อธรรมจักษุ๒ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่
อริยสาวก พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งทัสสนะ อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) และ
สีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต)
ลำดับต่อมา อริยสาวกออกจากธรรม ๒ ประการ คือ อภิชฌา(ความเพ่งเล็ง
อยากได้ของเขา) และพยาบาท(ความคิดร้าย) อริยสาวกนั้นสงัดจากกามและอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงตายลงในขณะนั้น เธอไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุ
ให้ต้องกลับมาสู่โลกนี้อีก
สรทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท
[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้
บริษัท ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม ๒. บริษัทที่แตกแยกกัน
๓. บริษัทที่สามัคคีกัน

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๔. ปริสาสูตร
บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุผู้เป็นเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน
หมดธุระในโอกกมนธรรม๑ เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คน
รุ่นหลังต่างพากันตามอย่างภิกษุผู้เถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก
ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อ
ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ
ให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
บริษัทที่แตกแยกกัน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่แตกแยกกัน
บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน
ในสมัยใด พวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ในสมัยนั้น พวกภิกษุ
ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ในสมัยนั้น พวกภิกษุอยู่กันเหมือนพรหม คืออยู่กัน
ด้วยมุทิตาเจโตวิมุตติ ผู้มีความบันเทิงใจย่อมเกิดความอิ่มใจ กายของผู้มีความอิ่ม
ใจย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น
เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ทำให้
ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้
หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็มแล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อย
เต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้วก็ทำให้มหาสมุทรเต็ม ฉันใด

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๕. ปฐมอาชานียสูตร
ในสมัยใด พวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ในสมัยนั้น พวกภิกษุย่อม
ประสพบุญเป็นอันมาก ในสมัยนั้น พวกภิกษุอยู่กันเหมือนพรหม คือ อยู่กันด้วย
มุทิตาเจโตวิมุตติ ผู้มีความบันเทิงใจย่อมเกิดความอิ่มใจ กายของผู้มีความอิ่มใจย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้แล
ปริสาสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๑
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย๑พันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยสี ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าเร็ว
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แลย่อมเป็นม้า
ควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมเป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๖. ทุติยอาชานียสูตร
๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล สำรวมด้วยความสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุผู้
สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ปฐมอาชานียสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๒
[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยสี ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าเร็ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๓๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๗. ตติยอาชานียสูตร
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่ ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จึงเป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับจากโลกนั้นอย่างแน่นอน ภิกษุผู้
สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ทุติยอาชานียสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ปประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๓
[๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๓
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๓๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๗. ตติยอาชานียสูตร
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยสี ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยฝีเท้าเร็ว
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๒. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
๓. สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่ ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมา
ถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ตติยอาชานียสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๘. โปตถกสูตร

๘. โปตถกสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้
[๑๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ผ้าเปลือกไม้แม้ยังใหม่แต่ก็มีสีไม่สวย มีสัมผัสไม่สบาย
และมีราคาถูก ผ้าเปลือกไม้แม้กลางเก่ากลางใหม่ก็มีสีไม่สวย มีสัมผัสไม่สบาย และมี
ราคาถูก ผ้าเปลือกไม้ที่เก่า มีสีไม่สวย มีสัมผัสไม่สบาย และมีราคาถูก คนทั้งหลาย
ย่อมทำผ้าเปลือกไม้ที่เก่าให้เป็นผ้าเช็ดหม้อข้าวหรือทิ้งมันที่กองหยากเยื่อ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะ๑ แต่เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมเลวทราม เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงไม่ดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้
ว่าเป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสีไม่สวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่าง
เธอ การคบหาเป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่คนเหล่านั้นตลอด
กาลนาน เรากล่าวอย่างนี้เพราะภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดทุกข์ เราเรียกบุคคล
เช่นนี้ว่าเป็น เหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสัมผัสไม่สบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นไม่มีผล
มาก ไม่มีอานิสงส์มากแก่คนเหล่านั้น เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นเป็นคนมีค่า
น้อย เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีราคาถูก
ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ ถ้าภิกษุแม้ผู้เป็นเถระ แต่เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลว
ทราม เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงไม่ดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็น
เหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสีไม่สวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่างเธอ การ
คบหาเป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน
เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดทุกข์ เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า
เป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสัมผัสไม่สบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นไม่มีผลมาก ไม่มี
อานิสงส์มากแก่คนเหล่านั้น เรากล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีค่าน้อย เรา
เรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีราคาถูก

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๘. โปตถกสูตร
อนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้จะต้องกล่าวในท่ามกลางสงฆ์ พวกภิกษุได้กล่าว
กับเธออย่างนี้ว่า “จะมีประโยชน์อะไรด้วยคำที่คนพาลไม่ฉลาดกล่าวออกไป แม้ตัว
ท่านก็เข้าใจคำที่ควรกล่าว” เธอโกรธ ไม่พอใจ เปล่งวาจาที่เป็นเหตุให้สงฆ์
ยกวัตรตนเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่เขาทิ้งที่กองหยากเยื่อ
ผ้าแคว้นกาสีที่ยังใหม่ มีสีสวย มีสัมผัสสบาย และมีราคาแพง ผ้าแคว้น
กาสีแม้กลางเก่ากลางใหม่แต่ก็มีสีสวย มีสัมผัสสบาย และมีราคาแพง ผ้าแคว้น
กาสีแม้เก่า แต่ก็มีสีสวย มีสัมผัสสบาย และมีราคาแพง คนทั้งหลายย่อมทำผ้า
แคว้นกาสีแม้ที่เก่าให้เป็นผ้าห่อแก้ว หรือเอาใส่ไว้ในหีบของหอม ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุผู้เป็นนวกะ แต่มีศีล มีธรรมงาม เรา
กล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้น
กาสีที่มีสีสวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่างเธอ การคบหาเป็นต้นนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวอย่างนี้
เพราะภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดสุข เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้น
กาสีที่มีสัมผัสสบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขารของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่คน
เหล่านั้น เรากล่าวอย่างนี้เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีค่ามาก เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็น
เหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มีราคาแพง
ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ ถ้าภิกษุแม้ผู้เป็นเถระ แต่มีศีล มีธรรมงาม เรา
กล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นมีชื่อเสียงดี เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้น
กาสีที่มีสีสวย ก็คนเหล่าใดคบหาใกล้ชิดพากันตามอย่างเธอ การคบหาเป็นต้นนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวอย่างนี้เพราะ
ภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดสุข เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มี
สัมผัสสบาย ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
ของคนเหล่าใด การรับของเธอนั้นย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่คนเหล่านั้น เรา
กล่าวอย่างนี้ เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีค่ามาก เราเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นเหมือนผ้า
แคว้นกาสีที่มีราคาแพง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๓๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร
อนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้จะต้องกล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายได้กล่าว
กับเธออย่างนี้ว่า “ขอให้ท่านทั้งหลายจงสงบเถิด ภิกษุที่เป็นเถระจะกล่าวธรรมและ
วินัย”
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นเหมือนผ้า
แคว้นกาสี จักไม่เป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
โปตถกสูตรที่ ๘ จบ

๙. โลณผลสูตร
ว่าด้วยผลกรรมกับก้อนเกลือ
[๑๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใด ๆ
เขาต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อม
มีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้
ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใด ๆ เขาต้องเสวยผลของกรรมนั้น อย่าง
นั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุด
แห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย
บาปกรรมก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย
เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒
(ชาติหน้า)๑ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือ
บุคคลเช่นไร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร
คือ บุคคล๑บางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย๒ ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคล
เช่นนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น
ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญา๓แล้ว
มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่๔ เป็นอัปปมาณวิหารี๕ บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง
เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน
อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษใส่ก้อนเกลือลงในขันใบน้อย เธอทั้งหลาย
เข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร น้ำในขันเล็กน้อยนั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่
หรือไม่
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย น้ำนั้นจึงเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้น
พระพุทธเจ้าข้า”
“บุคคลใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร แม่น้ำ
คงคานั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่หรือไม่”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะในแม่น้ำคงคานั้นมีห้วงน้ำใหญ่ น้ำนั้นจึงไม่เค็ม ดื่มกินได้เพราะก้อน
เกลือโน้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือน
กันแล ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคล
บางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน
เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก”
บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือ
บุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้ทำ
บาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน
เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคล
เช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว
มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง
เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพ
ที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๑)
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะ
ทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง ส่วนบุคคลบาง
คนในโลกนี้ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่ง
กหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๓๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร
บุคคลที่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่ง
กหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง คือบุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ขัดสน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย บุคคลเช่นนี้
ย่อมถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ
บ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง
บุคคลที่ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์
หนึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง คือบุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก บุคคลเช่นนี้
ย่อมไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ
บ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย
บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย
เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือ
บุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แล
ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน
เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคล
เช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มี
คุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง
เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน
อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๓๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญ
ปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำ
บาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผล
แม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนสามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ
หรือทำตามที่ตนปรารถนา แต่บางคนไม่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ
หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้
เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะที่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือ
ทำตามที่ตนปรารถนาได้ คือเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร
คือ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้ขัดสน มีสมบัติน้อย มีโภคะ
น้อย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ
หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้
เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะที่ไม่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือ
ทำตามที่ตนปรารถนาได้ คือเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร
คือ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก เป็นพระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เจ้าของแกะหรือคนฆ่า
แกะเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะฆ่าจองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนา
ได้ แท้ที่จริง คนที่ประนมมือย่อมขอเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะได้ว่า “ขอท่านจง
ให้แกะหรือทรัพย์ที่มีมูลค่าเท่ากับแกะแก่ฉันด้วยเถิด” ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อยเช่น
นั้นแล บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรม
เพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อย
ในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้คือ
บุคคลเช่นไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๔๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แล
ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน
เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคล
เช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว
มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง
เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน
อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๓)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใด ๆ เขา
จะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใด ๆ เขาต้องเสวยผลของกรรม
นั้นอย่างนั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่
จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ
โลณผลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปังสุโธวกสูตร
ว่าด้วยคนล้างฝุ่นล้างทอง
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ทองมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบ คือ ดินร่วน
ทราย ก้อนกรวด และกระเบื้อง คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ร่อนทอง
นั้นในรางน้ำแล้ว ล้างซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เมื่อสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างหยาบนั้นถูก
ทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ทองยังคงมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างกลาง คือ ก้อนกรวด
อย่างละเอียด ทรายอย่างหยาบ คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ล้างทองนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๔๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร
ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เมื่อสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างกลางนั้นถูกทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว
ทองยังมีสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างละเอียด คือ ทรายอย่างละเอียด และสะเก็ด
กะลำพัก คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ล้างทองนั้นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เมื่อ
สิ่งที่ทำให้เศร้าหมองอย่างละเอียดนั้นถูกทำให้หมดไป สิ้นไปแล้ว ก็ยังคงเหลือเขม่า
ทองอยู่อีก ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ใส่ทองลงในเบ้าหลอม เป่าทองนั้น
เป่าแล้วเป่าอีก เป่าจนได้ที่ ทองนั้นก็ยังไม่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน ยังไม่หาย
กระด้าง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่ายและใช้งานได้ไม่ดี ช่างทอง
หรือลูกมือของช่างทองเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าอีก เป่าจนได้ที่ในสมัยใด สมัยนั้น
ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้วเป่าอีก ถูกเป่าจนได้ที่ ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน
หมดความกระด้าง เป็นของอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่อง ไม่แตกง่าย ใช้งานได้ดี เขามุ่ง
หมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง
เครื่องประดับชนิดนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ กายทุจริต(ความประพฤติชั่ว
ด้วยกาย) วจีทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) มโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย
ใจ)ของภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละบรรเทา
อุปกิเลสอย่างหยาบนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาดทำให้สิ้นไป
แล้ว อุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก(ความตรึกในทางกาม) พยาบาทวิตก(ความ
ตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในความเบียดเบียน)ของภิกษุผู้บำเพ็ญ
อธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด ละ บรรเทาอุปกิเลสอย่างกลางนั้น
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาด ทำให้สิ้นไปแล้ว อุปกิเลสอย่าง
ละเอียด คือ ความนึกคิดถึงชาติ ความนึกคิดถึงชนบท และความนึกคิดที่ประกอบ
ด้วยความไม่ดูหมิ่นของภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีความคิด เป็นคนฉลาด
ละ บรรเทาอุปกิเลสอย่างละเอียดนั้น ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี เมื่อละได้เด็ดขาด
ทำให้สิ้นไปแล้ว ก็ยังมีธรรมวิตกเหลืออยู่ สมาธินั้นยังไม่สงบ ไม่ประณีต ไม่ได้
ความสงบระงับ ยังไม่บรรลุภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ยังมีการข่มห้ามกิเลสด้วย
ธรรมเครื่องปรุงแต่งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๔๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย มีสมัย๑ที่จิตตั้งมั่นอยู่ภายใน สงบนิ่งอยู่ มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ สมาธินั้นเป็นธรรมสงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ถึงภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีการข่มห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง และภิกษุนั้นจะน้อม
จิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อ
มีเหตุแห่งสติ๒ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้
ทะลุฝา กำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงใน
แผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่ง
ขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์อันมีฤทธ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้”
เมื่อมี เหตุแห่งสติ๒ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้
ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือ
ปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหัคคตะ๓ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า
หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความ
เป็นผู้เหมาะที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ
บ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า “ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้
ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุข ทุกข์ และ
มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลาย
ชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(เคลื่อน) กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึง
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และ
มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์
ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น
ชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้
เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอ
ย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ปังสุโธวกสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๑. นิมิตตสูตร

๑๑. นิมิตตสูตร
ว่าด้วยนิมิต
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิต๑พึงมนสิการนิมิต ๓ ประการ
ตามสมควรแก่เวลา คือ
๑. พึงมนสิการสมาธินิมิต๒ตามสมควรแก่เวลา
๒. พึงมนสิการปัคคหนิมิต๓ตามสมควรแก่เวลา
๓. พึงมนสิการอุเบกขานิมิต๔ตามสมควรแก่เวลา
ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิต
นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ
ปัคคหนิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้
บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึง
ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิ
มิตตามสมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการ
อุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
ผุดผ่อง และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองตระเตรียมเบ้า เอาคีมคีบทองใส่
ลงที่ปากเบ้า แล้วสูบลมตามสมควรแก่เวลา เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่ง
ดูตามสมควรแก่เวลา ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงสูบลมทองนั้นอย่างเดียว
เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเอาน้ำประพรมทอง
นั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเพ่งดู
ทองนั้นอย่างเดียว เป็นไปได้ที่ทองนั้นไม่สุกทั่วถึง แต่เมื่อใด ช่างทองหรือลูกมือ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค ๑๑. นิมิตตสูตร
ของช่างทองสูบลมทองนั้นตามสมควรแก่เวลา เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา
เพ่งดูตามสมควรแก่เวลา ทองนั้นย่อมอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่องและไม่แตกง่าย ใช้งาน
ได้ดี และช่างทองหรือลูกมือของช่างทองมุ่งหมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ
แผ่นทอง ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง ทองนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้
แม้ฉันใด
ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงมนสิการนิมิต ๓ ประการ ตาม
สมควรแก่เวลา คือ
๑. พึงมนสิการสมาธินิมิตตามสมควรแก่เวลา
๒. พึงมนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา
๓. พึงมนสิการอุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา
ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้น
จะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ ปัคค
หนิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญ
อธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึงตั้งมั่น
ด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิมิตตาม
สมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการอุเบกขา-
นิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง
และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ และภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญายิ่งใด ๆ เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า “เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ๑พึงทำให้แจ้ง ฯลฯ
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เมื่อมีเหตุแห่งสติ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ
ประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
นิมิตตสูตรที่ ๑๑ จบ
โลณผลวรรคที่ ๕ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๕. โลณผลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัจจายิกสูตร ๒. ปวิเวกสูตร
๓. สรทสูตร ๔. ปริสาสูตร
๕. ปฐมอาชานียสูตร ๖. ทุติยอาชานียสูตร
๗. ตติยอาชานียสูตร ๘. โปตถกสูตร
๙. โลณผลสูตร ๑๐. ปังสุโธวกสูตร
๑๑. นิมิตตสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๑. ปุพเพวสัมโพธสูตร

๓. ตติยปัณณาสก์

๑. สัมโพธวรรค
หมวดว่าด้วยการตรัสรู้
๑. ปุพเพวสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นพระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดดังนี้ว่า “ในโลก อะไรหนอเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก”
เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยโลกเกิดขึ้นนี้เป็นคุณในโลก
สภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เป็นโทษในโลก ธรรมเป็น
ที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๑เป็นเครื่องสลัดออกไปในโลก”
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ
เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง
ตราบนั้น เราจะยังไม่ปฏิญญาตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
แต่เมื่อใด เรารู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และ
เครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไป เมื่อนั้นเราจึงปฏิญญาตนว่าเป็น
ผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
ก็แลญาณทัสสนะ๒เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ปุพเพวสัมโพธสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๓. ทุติยอัสสาทสูตร

๒. ปฐมอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของโลก สูตรที่ ๑
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของโลก ได้พบคุณในโลกแล้ว
คุณในโลกมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของโลก ได้พบโทษในโลกแล้ว โทษในโลกมีประมาณเท่าใด
เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดโลกออกไป ได้พบเครื่องสลัดโลกออกไป
เครื่องสลัดออกไปในโลกมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดโลกออกไปประมาณ
เท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
ตราบใด เรายังไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และ
เครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง ตราบนั้น เรา
จะยังไม่ปฏิญญาตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
แต่เมื่อใด เรารู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่อง
สลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึง
ปฏิญญาตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ก็แลญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุด
ท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ปฐมอัสสาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของโลก สูตรที่ ๒
[๑๐๖] ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าคุณในโลกนี้จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึง
ติดใจในโลก แต่เพราะคุณในโลกมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๔๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๔. สมณพราหมณสูตร
ถ้าโทษในโลกจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในโลก แต่เพราะโทษ
ในโลกมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในโลก
ก็ถ้าเครื่องสลัดออกไปในโลกจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกไปจากโลก
แต่เพราะเครื่องสลัดออกไปในโลกมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกไปจากโลก
ตราบใด สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษของโลกโดย
ความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง
ตราบนั้น สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป พ้นไปจากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย มีใจ
ปราศจากขีดคั่นอยู่ไม่ได้เลย
แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณ โทษของโลกโดย
ความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความเป็นจริง
เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมออกไป หลุดไป พ้นไปจากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย มีใจ
ปราศจากขีดคั่นอยู่ได้
ทุติยอัสสาทสูตรที่ ๓ จบ

๔. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยผู้ควรยกย่องว่าเป็นสมณะและพราหมณ์
[๑๐๗] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่รู้คุณของโลกโดยความเป็น
คุณ โทษของโลกโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัด
ออกไปตามความเป็นจริง เราไม่ยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์
ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นไม่ชื่อว่าทำให้แจ้งคุณของความเป็นสมณะและ
คุณของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
แต่สมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้คุณของโลกโดยความเป็นคุณของโลก โทษของโลก
โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกไปโดยความเป็นเครื่องสลัดออกไปตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๕๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๖. อติตติสูตร
เป็นจริง เรายกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์
และท่านเหล่านั้นชื่อว่าทำให้แจ้งคุณของความเป็นสมณะและคุณของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
สมณพราหมณสูตรที่ ๔ จบ

๕. รุณณสูตร
ว่าด้วยการขับร้องคือการร้องไห้ในอริยวินัย
[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย การขับร้องคือการร้องไห้ในอริยวินัย การฟ้อนรำคือ
ความเป็นบ้าในอริยวินัย การหัวเราะจนเห็นฟันมากเกินไปคือความเป็นเด็กในอริยวินัย
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายจงละโดยเด็ดขาดในการขับร้องและการฟ้อนรำ
เมื่อเธอทั้งหลายมีความเบิกบานในธรรม เพียงแค่ยิ้มแย้มก็เพียงพอแล้ว
รุณณสูตรที่ ๕ จบ

๖. อติตติสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เสพไม่รู้จักอิ่ม
[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการ ย่อมไม่มี
ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความอิ่มในการนอนหลับ
๒. ความอิ่มในการเสพเครื่องดื่มคือสุราและเมรัย
๓. ความอิ่มในการเสพเมถุนธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ ประการนี้แลย่อมไม่มี
อติตติสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๗. อรักขิตสูตร

๗. อรักขิตสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่รักษาจิต
[๑๑๐] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
คหบดี เมื่อบุคคลไม่รักษาจิต ชื่อว่าไม่รักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
เขาผู้ไม่รักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ย่อมมีกายกรรม วจีกรรม และ
มโนกรรมเปียกชุ่ม เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเปียกชุ่ม ย่อมมี
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเสียหาย เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
เสียหาย ย่อมมีการตายที่ไม่ดี กาลกิริยา(การตาย)ก็ไม่งาม
เมื่อเรือนยอดมุงไว้ไม่ดี ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าไม่ได้รับการ
รักษา ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าถูกฝนรั่วรด ยอดเรือน ไม้กลอน
และฝาเรือนก็ผุพัง แม้ฉันใด
เมื่อบุคคลไม่รักษาจิต ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน
เมื่อบุคคลรักษาจิต ชื่อว่ารักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เขา
ผู้รักษากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ย่อมมีกายกรรม วจีกรรม และ
มโนกรรมที่ไม่เปียกชุ่ม เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ไม่เปียกชุ่ม
ย่อมมีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ไม่เสียหาย เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม
และมโนกรรมไม่เสียหาย ย่อมมีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม
เมื่อเรือนยอดมุงไว้ดี ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าได้รับการรักษา
ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนชื่อว่าไม่ถูกฝนรั่วรด ยอดเรือน ไม้กลอน
ฝาเรือนก็ไม่ผุพัง แม้ฉันใด
คหบดี เมื่อบุคคลรักษาจิต ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
อรักขิตสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๙. ปฐมนิทานสูตร

๘. พยาปันนสูตร
ว่าด้วยจิตถึงความผิดปกติ
[๑๑๑] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
คหบดี เมื่อจิตถึงความผิดปกติ แม้กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมก็ถึง
ความผิดปกติ เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมถึงความผิดปกติ ย่อมมี
การตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม
เมื่อเรือนยอดมุงไว้ไม่ดี ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนย่อมถึงความผิด
ปกติแม้ฉันใด เมื่อจิตถึงความผิดปกติ ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม
ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อจิตไม่ถึงความผิดปกติ แม้กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมก็ไม่ถึง
ความผิดปกติ เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่ถึงความผิดปกติ ย่อม
มีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม
เมื่อเรือนยอดมุงไว้ดี แม้ยอดเรือน ไม้กลอน ฝาเรือนก็ไม่ถึงความผิดปกติ
แม้ฉันใด
คหบดี เมื่อจิตไม่ถึงความผิดปกติ ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม
ฉันนั้นเหมือนกัน
พยาปันนสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม สูตรที่ ๑
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โลภะ (ความอยากได้) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๕๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๙. ปฐมนิทานสูตร
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อโลภะ (ความไม่อยากได้) ๒. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
๓. อโมหะ (ความไม่หลง)
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโลภะ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโทสะ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโมหะ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้แล
ปฐมนิทานสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๑๐. ทุติยนิทานสูตร

๑๐. ทุติยนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม สูตรที่ ๒
[๑๑๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ฉันทะ๑เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต
๒. ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต
๓. ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง พิจารณาด้วยใจ
เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง พิจารณาด้วยใจ ย่อม
เกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความกำหนัดแห่ง
ใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะใน
อดีต เป็นอย่างนี้แล
ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ ย่อมเกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความ
กำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะ
ในอนาคต เป็นอย่างนี้แล
ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ ย่อมเกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. สัมโพธวรรค ๑๐. ทุติยนิทานสูตร
กำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะ
ในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต
๒. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต
๓. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ครั้น
รู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ
อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างนี้แล
ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็น
อย่างไร
คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต
ครั้นรู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ
อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างนี้แล
ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็น
อย่างไร
คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ครั้นรู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ
อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้แล
ทุติยนิทานสูตรที่ ๑๐ จบ
สัมโพธวรรคที่ ๑ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๑. อาปายิกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุพเพวสัมโพธสูตร ๒. ปฐมอัสสาทสูตร
๓. ทุติยอัสสาทสูตร ๔. สมณพราหมณสูตร
๕. รุณณสูตร ๖. อติตติสูตร
๗. อรักขิตสูตร ๘. พยาปันนสูตร
๙. ปฐมนิทานสูตร ๑๐. ทุติยนิทานสูตร

๒. อาปายิกวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปสู่อบายภูมิ
๑. อาปายิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปสู่อบายภูมิ
[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ไม่ละ
บาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไปอบายภูมิ ต้องไปนรก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาตนว่าเป็นพรหมจารี
๒. บุคคลที่ตามกำจัดท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ด้วยกรรมที่ไม่มี
มูลอันเป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์
๓. บุคคลที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ๑อย่างนี้ว่า “โทษในกามไม่มี” แล้ว
ถึงความเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไป
อบายภูมิ ต้องไปนรก
อาปายิกสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๓. อัปปเมยยสูตร

๒. ทุลลภสูตร
ว่าด้วยบุคคลหาได้ยาก
[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏของบุคคล ๓ จำพวกหาได้ยากในโลก
ความปรากฏของบุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้
๓. กตัญญูกตเวทีบุคคล๑
ภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏของบุคคล ๓ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก
ทุลลภสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัปปเมยยสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ประมาณไม่ได้
[๑๑๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. สุปปเมยยบุคคล (บุคคลที่ประมาณได้ง่าย)
๒. ทุปปเมยยบุคคล (บุคคลที่ประมาณได้ยาก)
๓. อัปปเมยยบุคคล (บุคคลที่ประมาณไม่ได้)
สุปปเมยยบุคคล เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ
หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ นี้
เรียกว่า สุปปเมยยบุคคล
ทุปปเมยยบุคคล เป็นอย่างไร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๔. อาเนญชสูตร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูด
พร่ำเพรื่อ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุปปเมยยบุคคล
อัปปเมยยบุคคล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ นี้เรียกว่า อัปปเมยยบุคคล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อัปปเมยยสูตรที่ ๓ จบ

๔. อาเนญชสูตร
ว่าด้วยธรรมอันไม่หวั่นไหว
[๑๑๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
“อากาศไม่มีที่สุด” อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เขาชอบใจฌานนั้น ติดใจฌาน
นั้นและถึงความปลื้มใจกับฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจ
ไปในฌานนั้น ชอบอยู่กับฌานนั้นโดยมากไม่เสื่อม หลังจากตายแล้ว
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจา ยตนะ
พวกเทวดาที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอายุประมาณ ๒๐,๐๐๐
กัป คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ
ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่
นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวก
ของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ
ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพาน
ในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็น
เหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เมื่อคติ(การตาย)และอุบัติ(การเกิด)ยังมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๕๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๔. อาเนญชสูตร
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” อยู่
เขาชอบใจฌานนั้น ติดใจฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับฌานนั้น
เขาดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจไปในฌานนั้น ชอบอยู่กับฌานนั้น
โดยมากไม่เสื่อม หลังจากตายแล้วเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้น
วิญญาณัญจายตนะมีอายุประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัป คนที่เป็นปุถุชน
ดำรงอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็น
กำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็น
กำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล
นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่าง
กันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติ
ยังมีอยู่
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” อยู่ เขา
ชอบใจฌานนั้น ติดใจฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับฌานนั้น เขา
ดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจไปในฌานนั้น ชอบอยู่กับฌานนั้นโดยมาก
ไม่เสื่อม หลังจากตายแล้วเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาพวก
ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ เทวดาทั้งหลายพวกที่เข้าถึงชั้น
อากิญจัญญายตนะ มีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัป คนที่เป็นปุถุชน
ดำรงอยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็น
กำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรง
อยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนด
อายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร
ความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่าง
อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อาเนญชสูตรที่ ๔ จบ

๕. วิปัตติสัมปทาสูตร
ว่าด้วยวิบัติ และสัมปทา
[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้
วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
๒. จิตตวิบัติ (ความวิบัตแห่งจิต)
๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
สีลวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สีลวิบัติ
จิตตวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า
จิตตวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว
ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ
ชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร
เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต๑ นรก เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเพราะทิฏฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจาก
ตายแล้วจึงไปเกิดอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล
สัมปทา ๓ ประการนี้
สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๒. จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต)
๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ นี้
เรียกว่า สีลสัมปทา
จิตตสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า
จิตตสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) มีความเห็นไม่วิปริตว่า
“ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่
ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๖. อปัณณกสูตร
เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ เพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์ หรือเพราะทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึง
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
วิปัตติสัมปทาสูตรที่ ๕ จบ

๖. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด
[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้
วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
๒. จิตตวิบัติ (ความวิบัติแห่งจิต)
๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
สีลวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า
สีลวิบัติ
จิตตวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า
จิตตวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว
ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า
ทิฏฐิวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๖. อปัณณกสูตร
เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ ฯลฯ หรือเพราะทิฏฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์
ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะศีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เปรียบเหมือนแก้วมณีหกเหลี่ยมถูกโยนขึ้นสูงก็
กลับลงมาตั้งอยู่ด้วยดีตามปกติฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล
สัมปทา ๓ ประการนี้
สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๒. จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต)
๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ การพูดเพ้อเจ้อ นี้
เรียกว่า สีลสัมปทา
จิตตสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท นี้เรียก
ว่า จิตตสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่
ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า
ทิฏฐิสัมปทา
เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ เพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุ ฯลฯ หรือเพราะทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์
ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๗. กัมมันตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึง
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เปรียบเหมือนแก้วมณีหกเหลี่ยมถูกโยนขึ้นสูงก็กลับลงมา
ตั้งอยู่ด้วยดีตามปกติฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
อปัณณกสูตรที่ ๖ จบ

๗. กัมมันตสูตร
ว่าด้วยความวิบัติแห่งการงาน
[๑๒๐] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้
วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กัมมันตวิบัติ (ความวิบัติแห่งการงาน)
๒. อาชีววิบัติ (ความวิบัติแห่งอาชีพ)
๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
กัมมันตวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า
กัมมันตวิบัติ
อาชีววิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีอาชีพผิด เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)
นี้เรียกว่า อาชีววิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว
ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า
ทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๘. ปฐมโสเจยยสูตร
สัมปทา ๓ ประการนี้
สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กัมมันตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการงาน)
๒. อาชีวสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยอาชีพ)
๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
กัมมันตสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ การพูดเพ้อเจ้อ นี้
เรียกว่า กัมมันตสัมปทา
อาชีวสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีอาชีพชอบ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพ
ชอบ) นี้เรียกว่า อาชีวสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่ให้
แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้ง
โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า
ทิฏฐิสัมปทา
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
กัมมันตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมโสเจยยสูตร
ว่าด้วยความสะอาด สูตรที่ ๑
[๑๒๑] ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้
ความสะอาด ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความสะอาดกาย ๒. ความสะอาดวาจา
๓. ความสะอาดใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น