Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๑-๔ หน้า ๑๓๑ - ๑๗๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๖.โอณโตณตสูตร
และเขาก็ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์ บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ตโมตมสูตรที่ ๕ จบ

๖. โอณโตณตสูตร
ว่าด้วยผู้ต่ำมาและต่ำไป
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป ๒. บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป
๓. บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป ๔. บุคคลผู้สูงมาและสูงไป
บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ฯลฯ๒
และเขายังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วย่อมเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ฯลฯ๒
แต่เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน
สุคติโลก สวรรค์ บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ฯลฯ๒
แต่เขาประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๗.ปุตตสูตร
บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ฯลฯ๑
และเขาก็ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อณโตณตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปุตตสูตร
ว่าด้วยสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเหมือนพระราชโอรสองค์พี่
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว๒
๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก๓(บัวขาว)
๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม๔(บัวหลวง)
๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเสขะ ดำเนินตามข้อปฏิบัติ ปรารถนาผลที่ยอด
เยี่ยมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอยู่เหมือนพระราชโอรสองค์พี่ของพระราชามหา-
กษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว แม้ยังไม่ได้รับการอภิเษกก็ไม่ทรงหวั่นไหว บุคคล
เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๗.ปุตตสูตร
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน และเธอได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงฉันบิณฑบาตมาก ไม่มีใครขอร้องย่อม
ฉันบิณฑบาตแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยเสนาสนะมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยเสนาสนะแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
มาก ไม่มีใครขอร้องย่อมบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแต่น้อย และเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายที่อยู่ด้วยกันย่อมแสดงออกทางกาย วาจา และใจต่อเธอเป็นกิริยา
ที่น่าชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าชอบใจเป็นส่วนน้อย น้อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าชอบใจ
เท่านั้น สิ่งที่ไม่น่าชอบใจมีน้อย เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี เกิดเพราะฤดูแปรผันก็ดี เกิดเพราะ
การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ส่วนมาก
ย่อมไม่เกิดแก่เธอ เธอมีความเจ็บไข้น้อย จึงเป็นผู้ได้ฌาน ๔๑ อันมีในจิตยิ่ง๒ ซึ่งเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๘.สังโยชนสูตร
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่
สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั่นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงฉันบิณฑบาตมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมฉันบิณฑบาตแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยเสนาสนะมาก ไม่มี
ใครขอร้องย่อมใช้สอยเสนาสนะแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขารมาก ไม่มีใครขอร้องย่อมบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแต่น้อย
และพวกภิกษุที่อยู่ด้วยกันย่อมแสดงออกทางกาย วาจา และใจต่อเราเป็นกิริยาที่
น่าชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าชอบใจเป็นส่วนน้อย น้อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าชอบใจ
เท่านั้น สิ่งที่ไม่น่าชอบใจมีน้อย เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี เกิดเพราะฤดูแปรผันก็ดี เกิดเพราะ
การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ส่วนมาก
ย่อมไม่เกิดแก่เรา เรามีความเจ็บไข้น้อย จึงเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ปุตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยผู้สิ้นสังโยชน์
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๘.สังโยชนสูตร
๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก
๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า บุคคลเป็นสมณะผู้
ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
เพราะราคะโทสะและโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก บุคคลเป็นสมณะ
เหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียด
อ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สังโยชนสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก
๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) มีสัมมาสังกัปปะ (ดำริ
ชอบ) มีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) มีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) มีสัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) มีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) มีสัมมาสติ (ระลึกชอบ) มี
สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา
มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ
มีสัมมาญาณะ (รู้ชอบ) มีสัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ) แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุตติ
และเธอสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็น
อย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๑๐.ขันธสูตร
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ (เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สัมมาทิฏฐิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว๑
๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก๒
๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม๓
๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ๔
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตมรรค ปรารถนาผลที่
ยอดเยี่ยมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕
ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิด
ขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้’ แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์
๘ ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕
ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนา
เป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้น
แห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้’ และเธอได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า
‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึง
เรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้น
จึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
มจลวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. มุสาวาทสูตร
๓. อวัณณารหสูตร ๔. โกธครุสูตร
๕. ตโมตมสูตร ๖. โอณโตณตสูตร
๗. ปุตตสูตร ๘. สังโยชนสูตร
๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ๑๐. ขันธสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๑.อสุรสูตร

๕. อสุรวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลเหมือนอสูรและเทวดา
๑. อสุรสูตร
ว่าด้วยบุคคลเหมือนอสูรและเทวดา
[๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนอสูร
๒. บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนเทวดา
๓. บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนอสูร
๔. บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนเทวดา
บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้พวกพ้องของเขาก็
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนเทวดา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่พวกพ้องของเขาเป็น
ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม๑ บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนเทวดา เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่พวกพ้องของเขา เป็น
ผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๒. ปฐมสมาธิสูตร
บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนเทวดา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้พวกพ้องของเขาก็
เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนเทวดา เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อสุรสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมสมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ สูตรที่ ๑
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน๒ แต่ไม่ได้ความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง๓
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่
ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภาใน
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้ง
ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ปฐมสมาธิสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๓.ทุติยสมาธิสูตร

๓. ทุติยสมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ สูตรที่ ๒
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่
ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้ง
ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ควรตั้งมั่นในความสงบแห่งจิตภายใน แล้วทำ
ความเพียรเพื่อความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้
ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
ควรตั้งมั่นในความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วทำความเพียรเพื่อความสงบ
แห่งจิตภายใน สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
และได้ความสงบแห่งจิตภายใน
บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง ควรทำความพอใจ๑ ความพยายาม๒ ความอุตสาหะ๓ ความขะมัก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๔.ตติยสมาธิสูตร
เขม้น๑ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่า
นั้นเถิด บุคคลนั้นทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้น
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอยให้มีประมาณยิ่ง
สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น ๆ
สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ทุติยสมาธิสูตรที่ ๓ จบ

๔. ตติยสมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ สูตรที่ ๓
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่
ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๔.ตติยสมาธิสูตร
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้ง
ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง เรียนถามอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พึงมองสังขารอย่างไร พิจารณาสังขาร
อย่างไร เห็นแจ้งสังขารอย่างไร’ บุคคลผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตาม
ที่รู้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พึงมองสังขารอย่างนี้ พิจารณาสังขารอย่างนี้ เห็นแจ้งสังขาร
อย่างนี้’ สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้ง
ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน เรียนถามอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
พึงตั้งจิตไว้อย่างไร น้อมจิตไปอย่างไร ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างไร
ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร’ บุคคลผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตามที่
รู้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้ น้อมจิตไปอย่างนี้ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็น
หนึ่งผุดขึ้นอย่างนี้ ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิอย่างนี้’ สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งและได้ความสงบแห่งจิตภายใน
บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรม
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เรียนถามอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างไร น้อมจิต
ไปอย่างไร ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างไร ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร
พึงมองสังขารอย่างไร พิจารณาสังขารอย่างไร เห็นแจ้งสังขารอย่างไร’ บุคคลผู้
ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตามที่รู้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้
น้อมจิตไปอย่างนี้ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างนี้ ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิ
อย่างนี้ พึงมองสังขารอย่างนี้ พิจารณาสังขารอย่างนี้ เห็นแจ้งสังขารอย่างนี้’
สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๕. ฉวาลาตสูตร
บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ตติยสมาธิสูตรที่ ๔ จบ

๕. ฉวาลาตสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนท่อนไม้ที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า
[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เราเรียกว่า
เป็นเหมือนท่อนไม้ที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ไฟไหม้ทั้งสองข้าง ตรงกลางเปื้อนคูถ ย่อม
ไม่อำนวยประโยชน์เป็นเครื่องเรือน๑ ทั้งไม่อำนวยประโยชน์เป็นอุปกรณ์ในป่า๒
ในบุคคล ๒ จำพวกแรกของบุคคล ๔ จำพวกเหล่านั้นข้างต้นนี้ บุคคลผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองงามกว่าและประณีตกว่า
ในบุคคล ๓ จำพวกแรก บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลผู้อื่นงามกว่าและประณีตกว่า
ในบุคคล ๔ จำพวก บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น เป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด ยิ่งใหญ่ที่สุด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๖. ราควินยสูตร
เปรียบเหมือนนมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส๑ ยอดเนยใส ชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดา
นมสดเป็นต้นนั้น ฉันใด
บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่นเป็นเลิศ ประเสริฐสุด เป็นประธาน สูงสุด ยิ่งใหญ่ที่สุด ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ฉวาลาตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ราควินยสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ
[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ แต่ไม่ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อกำจัดราคะ ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัด
โทสะ ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดโมหะ
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ แต่ชักชวนผู้
อื่นเพื่อกำจัดราคะ ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ แต่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๗.ขิปปนิสันติสูตร
โทสะ ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ แต่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดโมหะ
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะและไม่ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อกำจัดราคะ ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะและไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อ
กำจัดโทสะ ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะและไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดโมหะ
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะและชักชวนผู้อื่น
เพื่อกำจัดราคะ ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะและชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดโทสะ
ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะและชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดโมหะ บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ราควินยสูตรที่ ๖ จบ

๗. ขิปปนิสันติสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้รู้ได้เร็ว
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๗.ขิปปนิสันติสูตร
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทรงจำธรรม
ที่ฟังแล้วจำไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม๑ แต่หามีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อันประกอบด้วย
วาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ไม่ ทั้งไม่ชี้แจงให้
เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ
ธรรมที่ฟังแล้วไว้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ หารู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำอ่อนหวาน อัน
ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ทั้ง
ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ
ธรรมที่ฟังแล้วไว้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ หารู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ และหามีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อัน
ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ไม่ ทั้ง
ไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
เองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๙.สิกขาปทสูตร
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทรงจำธรรม
ที่ฟังแล้วไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม และมีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อันประกอบด้วย
วาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ทั้งชี้แจงให้เพื่อน
พรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ขิปปนิสันติสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัตตหิตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อัตตหิตสูตรที่ ๘ จบ

๙. สิกขาปทสูตร
ว่าด้วยสิกขาบทเป็นเหตุให้เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล
[๙๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๙.สิกขาปทสูตร
๑. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม แต่ไม่
ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ แต่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุรา
และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท แต่ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและไม่ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๑๐.โปตลิยสูตร
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้
อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามและ
ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จและชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและชักชวนผู้อื่นให้งดเว้น
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สิกขาปทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โปตลิยสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อโปตลิยะ
[๑๐๐] สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อโปตลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้กับโปตลิยปริพาชกดังนี้ว่า
“โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๑๐.โปตลิยสูตร
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
โปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนว่างามกว่า
และประณีตกว่า”
โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้มี
ปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๑๐.โปตลิยสูตร
บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพระองค์ชอบใจบุคคลผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควร
ติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตาม
ความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุเบกขานี้เป็นธรรมที่งดงามยิ่งนัก”
พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า “โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง ฯลฯ บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้
เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมคือความเป็นผู้รู้จัก
กาลนี้งดงามยิ่งนัก”
โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้มี
ปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็น
จริง เหมาะแก่กาล
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพระองค์ชอบใจบุคคล
ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล และกล่าวสรรเสริญ
ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมคือความเป็นผู้รู้จักกาลนี้งดงามยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
โปตลิยสูตรที่ ๑๐ จบ
อสุรวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสุรสูตร ๒. ปฐมสมาธิสูตร
๓. ทุติยสมาธิสูตร ๔. ตติยสมาธิสูตร
๕. ฉวาลาตสูตร ๖. ราควินยสูตร
๗. ขิปปนิสันติสูตร ๘. อัตตหิตสูตร
๙. สิกขาปทสูตร ๑๐. โปตลิยสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๑. ปฐมวลาหกสูตร

๓. ตติยปัณณาสก์
๑. วลาหกวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมฆ
๑. ปฐมวลาหกสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมฆ สูตรที่ ๑
[๑๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมฆ ๔ ชนิดนี้
เมฆ ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. เมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก
๒. เมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
๓. เมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
๔. เมฆที่คำรามและให้ฝนตก
ภิกษุทั้งหลาย เมฆ ๔ ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
๓. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
๔. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๒. ทุติยวลาหกสูตร
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูด แต่ไม่ทำ บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม
แต่ไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆที่
คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบทำ แต่ไม่พูด บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้
ฝนตก แต่ไม่คำราม เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือน
เมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พูดและไม่ทำ บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำราม
และไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆที่ไม่
คำรามและไม่ให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูดและชอบทำ บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่
คำรามและให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆ
ที่คำรามและให้ฝนตก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ปฐมวลาหกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยวลาหกสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมฆ สูตรที่ ๒
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย เมฆ ๔ ชนิดนี้
เมฆ ๔ ชนิด อะไรบ้าง คือ
๑. เมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก ๒. เมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
๓. เมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก ๔. เมฆที่คำรามและให้ฝนตก
ภิกษุทั้งหลาย เมฆ ๔ ชนิดนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๒. ทุติยวลาหกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
๓. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
๔. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)’ บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้
ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆที่คำราม แต่
ไม่ให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบ
เหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคล
ประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขาไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าว
เปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๓. กุมภสูตร
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบ
เหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้
ว่าเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ทุติยวลาหกสูตรที่ ๒ จบ

๓. กุมภสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนหม้อ
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย หม้อ ๔ ชนิดนี้
หม้อ ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. หม้อเปล่าแต่ปิดฝา ๒. หม้อเต็มแต่เปิดฝา
๓. หม้อเปล่าและเปิดฝา ๔. หม้อเต็มและปิดฝา
ภิกษุทั้งหลาย หม้อ ๔ ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา
๒. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา
๓. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา
๔. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๓. กุมภสูตร
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่เขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
กุมภสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๔. อุทกรหทสูตร

๔. อุทกรหทสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำ ๔ ชนิดนี้
ห้วงน้ำ ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก ๒. ห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น
๓. ห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น ๔. ห้วงน้ำลึกและเงาลึก
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำ ๔ ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวกนี้แล
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น
๓. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น
๔. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขาไม่
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่เขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๕. อัมพสูตร
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าว
เปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อุทกรหทสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัมพสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย มะม่วง ๔ ชนิดนี้
มะม่วง ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. มะม่วงดิบแต่ผิวสุก ๒. มะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
๓. มะม่วงดิบและผิวดิบ ๔. มะม่วงสุกและผิวสุก
ภิกษุทั้งหลาย มะม่วง ๔ ชนิดนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๕. อัมพสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
๓. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ
๔. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่เขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวดิบ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๗. มูสิกสูตร
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อัมพสูตรที่ ๕ จบ

๖. ( )๑
๗. มูสิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนหนู
[๑๐๗] ภิกษุทั้งหลาย หนู ๔ ชนิดนี้
หนู ๔ ชนิด๒ อะไรบ้าง คือ
๑. หนูขุดรูแต่ไม่อยู่ ๒. หนูอยู่แต่ไม่ขุดรู
๓. หนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ ๔. หนูขุดรูและอยู่
ภิกษุทั้งหลาย หนู ๔ ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวกมีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๒ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูแต่ไม่อยู่
๒. บุคคลเปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู
๓. บุคคลเปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่
๔. บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๗. มูสิกสูตร
บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูแต่ไม่อยู่ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือน
หนูขุดรูแต่ไม่อยู่ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหนูขุดรู
แต่ไม่อยู่
บุคคลเปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือน
หนูอยู่แต่ไม่ขุดรู เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหนูอยู่
แต่ไม่ขุดรู
บุคคลเปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบ
เหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือน
หนูไม่ขุดรูและไม่อยู่
บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือน
หนูขุดรูและอยู่ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหนูขุดรู
และอยู่
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
มูสิกสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๘. พลิวัททสูตร

๘. พลิวัททสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนโคผู้
[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย โคผู้ ๔ ชนิดนี้
โคผู้ ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
๒. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน
๓. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น
๔. โคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
ภิกษุทั้งหลาย โคผู้ ๔ ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวก
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
๒. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน
๓. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น
๔. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้ชนในบริษัทของตนหวาดกลัว แต่ไม่ทำให้ชน
ในบริษัทของผู้อื่นหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่
ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่
ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้ชนในบริษัทของผู้อื่นหวาดกลัว แต่ไม่ทำให้
ชนในบริษัทของตนหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่
ข่มเหงโคฝูงตน เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่
ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๙.รุกขสูตร
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้ชนในบริษัทของตนหวาดกลัวและทำให้ชนในบริษัท
ของผู้อื่นหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น
เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน
และข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ทำให้ชนในบริษัทของตนหวาดกลัวและไม่ทำให้ชน
ในบริษัทของผู้อื่นหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่
ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่ไม่
ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
พลิวัททสูตรที่ ๘ จบ

๙. รุกขสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้
[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ ๔ ชนิดนี้
ต้นไม้ ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อน๒แวดล้อม
๒. ต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
๓. ต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
๔. ต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ ๔ ชนิดนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๙.รุกขสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวก
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
๒. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
๓. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
๔. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้บริษัทของเขาก็
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อน
แวดล้อม เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อน
และมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่บริษัทของเขาเป็นผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้
เนื้อแข็งแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่บริษัทของเขาเป็นผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทราม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้
เนื้ออ่อนแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้บริษัทของเขาก็
เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็ง
แวดล้อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๑๐.อาสีวิสสูตร
เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนต้นไม้เนื้อแข็ง
และมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
รุกขสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาสีวิสสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ
[๑๑๐] ภิกษุทั้งหลาย อสรพิษ ๔ จำพวกนี้
อสรพิษ ๔ จำพวก๑ อะไรบ้าง คือ
๑. อสรพิษมีพิษแล่น แต่พิษไม่ร้าย
๒. อสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น
๓. อสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย
๔. อสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย
ภิกษุทั้งหลาย อสรพิษ ๔ จำพวกนี้แล
ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่
ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่น แต่พิษไม่ร้าย
๒. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น
๓. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย
๔. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่น แต่พิษไม่ร้าย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธอยู่บ่อย ๆ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่คงอยู่นาน
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่น แต่พิษไม่ร้าย เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษแล่น แต่พิษไม่ร้าย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนัก แต่ความโกรธของเขานั้นคงอยู่นาน
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าว
เปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธอยู่บ่อย ๆ และความโกรธของเขาก็คงอยู่นาน
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนักและความโกรธของเขานั้นก็ไม่คงอยู่
นาน บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย เป็นอย่างนี้แล เรา
กล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่
ในโลก
อาสีวิสสูตรที่ ๑๐ จบ
วลาหกวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวลาหกสูตร ๒. ทุติยวลาหกสูตร
๓. กุมภสูตร ๔. อุทกรหทสูตร
๕. อัมพสูตร ๖. (ไม่ปรากฏชื่อสูตร)
๗. มูสิกสูตร ๘. พลิวัททสูตร
๙. รุกขสูตร ๑๐. อาสีวิสสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๑.เกสิสูตร

๒. เกสิวรรค
หมวดว่าด้วยเกสีสารถีผู้ฝึกม้า
๑. เกสิสูตร
ว่าด้วยเกสีสารถีผู้ฝึกม้า
[๑๑๑] ครั้งนั้นแล เกสีสารถีผู้ฝึกม้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามเกสีสารถีผู้ฝึก
ม้าดังนี้ว่า
“เกสี ท่านนั่นแล เขารู้กันทั่วไปว่าเป็นสารถีผู้ฝึกม้า ก็ท่านฝึกม้าที่ควรฝึกได้
อย่างไร”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ฝึกม้าที่ควรฝึก
ด้วยวิธีแบบสุภาพ๑บ้าง วิธีแบบรุนแรง๒บ้าง วิธีทั้งแบบสุภาพและแบบรุนแรงบ้าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “เกสี ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่านฝึกไม่ได้
ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพและแบบรุนแรง ท่านจะทำกับ
มันอย่างไร”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าม้าที่ควรฝึกของ
ข้าพระองค์ฝึกไม่ได้ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบ
รุนแรง ข้าพระองค์จะฆ่ามันเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้าพระองค์คิดว่า
ความเสียหายอย่าได้มีแก่สำนักอาจารย์ของเราเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระ
ผู้มีพระภาคเป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงฝึกบุรุษ
ที่ควรฝึกอย่างไร”

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]๒.เกสิวรรค ๑.เกสิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เกสี เราฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ด้วยวิธีแบบสุภาพบ้าง
วิธีแบบรุนแรงบ้าง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบรุนแรงบ้าง
บรรดาวิธี ๓ อย่างนั้น ต่อไปนี้เป็นถ้อยคำในวิธีแบบสุภาพ คือ กายสุจริตเป็น
อย่างนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นอย่างนี้ วจีสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีสุจริต
เป็นอย่างนี้ มโนสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ เทวดาเป็น
อย่างนี้ มนุษย์เป็นอย่างนี้
ต่อไปนี้เป็นถ้อยคำในวิธีแบบรุนแรง คือ กายทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่ง
กายทุจริตเป็นอย่างนี้ วจีทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ มโน-
ทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ นรกเป็นอย่างนี้ กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานเป็นอย่างนี้ แดนเปรตเป็นอย่างนี้
ต่อไปนี้เป็นถ้อยคำในวิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบรุนแรง คือ กายสุจริตเป็น
อย่างนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นอย่างนี้ กายทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งกาย-
ทุจริตเป็นอย่างนี้ วจีสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ วจีทุจริต
เป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ มโนสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโน
สุจริตเป็นอย่างนี้ มโนทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ เทวดา
เป็นอย่างนี้ มนุษย์เป็นอย่างนี้ นรกเป็นอย่างนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นอย่างนี้
แดนเปรตเป็นอย่างนี้”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุรุษผู้ที่ควรฝึกได้
ของพระองค์ฝึกไม่ได้ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบ
รุนแรง พระผู้มีพระภาคจะทำกับเขาอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เกสี ถ้าบุรุษผู้ที่ควรฝึกได้ของเราฝึกไม่ได้ด้วย
วิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบรุนแรง เราก็ฆ่าเขาเสีย”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฆ่าสัตว์ไม่สมควรแก่
พระผู้มีพระภาคเลย ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสอย่างนี้ว่า ‘เราก็จะฆ่าเขาเสีย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒.เกสิวรรค ๒.ชวสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เกสี ความจริงการฆ่าสัตว์ไม่สมควรแก่ตถาคต
แต่บุรุษผู้ที่ควรฝึกใด ฝึกไม่ได้ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพ
และแบบรุนแรง ตถาคตย่อมกำหนดบุรุษนั้นว่าไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน เพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ต่างกำหนดว่าเขาเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน เกสี เพราะข้อที่ว่า
ตถาคตย่อมกำหนดบุรุษนั้นว่าไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน แม้เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ต่าง
กำหนดว่าเขาเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน ดังนี้นั้นถือว่าเป็นการฆ่าในอริยวินัย”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้ากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ตถาคตกำหนดผู้นั้น
ว่าเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน แม้เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ก็กำหนดว่าเขาเป็นผู้ไม่ควร
ว่ากล่าวสั่งสอน ชื่อว่าเป็นการฆ่าอย่างดีแน่นอน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย
ประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้
หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ขอ
ถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เกสิสูตรที่ ๑ จบ

๒. ชวสูตร
ว่าด้วยความว่องไวของม้าต้นและของภิกษุ
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ ๔
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความซื่อตรง ๒. ความว่องไว
๓. ความอดทน ๔. ความสงบเสงี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ
นี้แลย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๓.ปโตทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควร
แก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความซื่อตรง ๒. ความว่องไว
๓. ความอดทน ๔. ความสงบเสงี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ชวสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปโตทสูตร
ว่าด้วยปฏักของสารถี
[๑๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๔ ประเภทนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้พอเห็นเงาปฏัก๑ก็หวาดหวั่น
สำนึกว่า ‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำการอะไรหนอ เราจัก
สนองเขาอย่างไร’ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ เป็นอย่าง
นี้แล ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีประเภทที่ ๑ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๒. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้เห็นเงาปฏักก็ไม่หวาดหวั่น ไม่
สำนึก แต่เมื่อถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนจึงหวาดหวั่น สำนึกว่า
‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำการอะไรหนอ เราจะสนองเขา
อย่างไร’ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล ม้า
อาชาไนยพันธุ์ดีประเภทที่ ๒ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๓.ปโตทสูตร
๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้เห็นเงาปฏักก็ไม่หวาดหวั่น ไม่
สำนึก แม้จะถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนก็ยังไม่หวาดหวั่น ไม่
สำนึก แต่เมื่อถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังจึงหวาดหวั่น สำนึกว่า
‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำการอะไรหนอ เราจะสนองเขา
อย่างไร’ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล ม้า
อาชาไนยพันธุ์ดีประเภทที่ ๓ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๔. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้เห็นเงาปฏักก็ไม่
หวาดหวั่น ไม่สำนึก แม้จะถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนก็ไม่หวาดหวั่น ไม่สำนึก
แม้จะถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังก็ไม่หวาดหวั่น ไม่สำนึก แต่เมื่อ
ถูกแทงด้วยปฏักถึงกระดูกจึงหวาดหวั่น สำนึกว่า ‘วันนี้ สารถี
ผู้ฝึกม้าจักให้เราทำการอะไรหนอ เราจะสนองเขาอย่างไร’ ม้า
อาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล ม้าอาชาไนย
พันธุ์ดีประเภทที่ ๔ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๔ ประเภทนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุรุษอาชาไนย ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ฟังข่าวว่า ‘ในหมู่บ้านหรือ
ตำบลโน้น สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตาย’ เขาสลดใจ
สำนึกตัวเพราะฟังข่าวนั้น จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย อุทิศ
กายและใจ ทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งทั่ว
ถึงด้วยปัญญา เรากล่าวเปรียบบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้ว่าเหมือน
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีเห็นเงาปฏักก็หวาดหวั่น สำนึก บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ
ประเภทที่ ๑ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๒. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ไม่ได้ฟังข่าวว่า ‘ในหมู่บ้าน
หรือตำบลโน้น สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตาย’ แต่เขาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๓.ปโตทสูตร
สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตายด้วยตัวเองเลยทีเดียว เขาสลดใจ
สำนึกตัวเพราะเห็นเหตุการณ์นั้น จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย
อุทิศกายและใจ ทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็น
แจ้งทั่วถึงด้วยปัญญา เรากล่าวเปรียบบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้ว่า
เหมือนม้าอาชาไนยพันธุ์ดีที่ถูกแทงด้วยปฏักจึงหวาดหวั่น สำนึก
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญประเภทที่ ๒ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๓. บุรุษอาชาไนยบางคนในโลกนี้ไม่ได้ฟังข่าวว่า ‘ในหมู่บ้านหรือ
ตำบลชื่อโน้น สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตาย’ ไม่ได้เห็นสตรี
หรือบุรุษประสบทุกข์หรือตายด้วยตัวเอง แต่ญาติหรือสาโลหิต๑
ของเขาประสบทุกข์หรือตาย เขาสลดใจ สำนึกตัวเพราะเหตุการณ์
นั้น จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย อุทิศกายและใจ ทำให้แจ้ง
ปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งทั่วถึงด้วยปัญญา เรา
กล่าวเปรียบบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้ว่าเหมือนม้าอาชาไนยพันธุ์ดี
ที่ถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังจึงหวาดหวั่น สำนึก บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ
ประเภทที่ ๓ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๔. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ไม่ได้ฟังข่าวว่า ‘ในหมู่บ้านหรือ
ตำบลโน้น สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตาย’ ไม่ได้เห็นสตรีหรือ
บุรุษประสบทุกข์หรือตายด้วยตัวเอง ทั้งญาติหรือสาโลหิตของเขา
ก็ไม่ได้ประสบทุกข์หรือตาย แต่ตัวเขาเองประสบเวทนาทั้งหลาย
อันมีในร่างกายเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี
ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต เขาสลดใจ สำนึกตัวเพราะประสบทุกข์นั้น
จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย อุทิศกายและใจ ทำให้แจ้ง

4 ความคิดเห็น :

  1. ไม่ระบุชื่อ1 พฤษภาคม 2561 เวลา 08:30

    หาเบญจศีลไม่เจอค่ะ
    รบกวนด้วยค่ะ
    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สวัสดีครับ

      ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์พระไตรปิฎกออนไลน์ http://tripitaka-online.blogspot.com

      ในพระไตรปิฎกไม่มีตรงไหนที่กล่าวถึงศีล 5 หรือเบญจศีล อย่างเฉพาะเจาะจงเลยนะครับ มีกล่าวถึงการให้ศีลห้าเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นแต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของตัวศีล 5

      และในพระไตรปิฎกก็ไม่ได้กล่าวว่าใครเป็นผู้บัญญัติศีล 5 ขึ้นมาด้วยครับ

      ลองดูเรื่องนี้ประกอบได้ครับ ศีล 5 อย่างละเอียด

      ลบ
  2. ค้นยากมาก ควรพัฒนาให้ค้นหาง่ายๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ

    1. สวัสดีครับ

      ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์พระไตรปิฎกออนไลน์ https://tripitaka-online.blogspot.com

      ถ้าต้องการค้นข้อมูลลองดูที่ https://84000.org/ นะครับ

      ธัมมโชติ

      ลบ