Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๒-๓ หน้า ๑๐๙ - ๑๖๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. ทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ สูตรที่ ๒
[๖๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
หาได้ยาก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่
๑. เป็นผู้ว่าง่าย หาได้ยาก
๒. เป็นผู้คงแก่เรียน หาได้ยาก
๓. เป็นผู้รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ หาได้ยาก
๔. เป็นธรรมกถึก หาได้ยาก
๕. เป็นวินัยธร หาได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หาได้ยาก
ทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตรที่ ๑๐ จบ
นีวรณวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาวรณสูตร ๒. อกุสลราสิสูตร
๓. ปธานิยังคสูตร ๔. สมยสูตร
๕. มาตาปุตตสูตร ๖. อุปัชฌายสูตร
๗. ฐานสูตร ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
๙. ปฐมวุฑฒปัพพชิตสูตร ๑๐. ทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๑. ปฐมสัญญาสูตร
๒. สัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยสัญญา
๑. ปฐมสัญญาสูตร๑
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๑
[๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ ที่บุคคล
เจริญทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
๓. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๕. สัพพโลเก อนภิรติสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๗/๑๒๔
๒ อมตะ หมายถึงพระนิพพาน (องฺปญฺจก.อ. ๓/๖๑-๖๒/๓๓, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๓. ปฐมวัฑฒิสูตร
๒. ทุติยสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๒
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา
๒. อนัตตสัญญา
๓. มรณสัญญา
๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๕. สัพพโลเก อนภิรติสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ทุติยสัญญาสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปฐมวัฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ สูตรที่ ๑
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็น
สาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)
๒. ศีล (การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย)
๓. สุตะ (การสดับฟังหาความรู้)
๔. จาคะ (การเสียสละ)
๕. ปัญญา (ความรอบรู้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๔. ทุติยวัฑฒิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาแต่สิ่งที่เป็น
สาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
อริยสาวกใด เจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
อริยสาวกนั้น เป็นสัตบุรุษ
มีปัญญาเห็นประจักษ์
ชื่อว่าถือเอาแต่สิ่งที่เป็นสาระสำหรับตนไว้ได้
ในโลกนี้ทีเดียว
ปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓ จบ
๔. ทุติยวัฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ สูตรที่ ๒
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็นสาระ
และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา ๒. ศีล
๓. สุตะ ๔. จาคะ
๕. ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็น
สาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๕. สากัจฉสูตร
อริยสาวิกาใด เจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
อริยสาวิกานั้น เป็นผู้มีศีล เป็นอุบาสิกา
ชื่อว่าถือเอาสิ่งที่เป็นสาระสำหรับตนไว้ได้
ในโลกนี้ทีเดียว
ทุติยวัฑฒิสูตรที่ ๔ จบ
๕. สากัจฉสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้สมควร
ที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะสนทนาด้วย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสมาธิ-
สัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และตอบปัญหาที่มาในเรื่องปัญญา-
สัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องวิมุตติ-
สัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่มา
ในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้สมควรที่
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะสนทนาด้วย
สากัจฉสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๖. สาชีวสูตร
๖. สาชีวสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่สาชีพ๑
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรแก่
สาชีพของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามในเรื่อง
สีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามในเรื่อง
สมาธิสัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามในเรื่อง
ปัญญาสัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามใน
เรื่องวิมุตติสัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่ตั้ง
ขึ้นถามในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่สาชีพ
ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
สาชีวสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สาชีพ ในที่นี้หมายถึงการถามปัญหา และการตอบปัญหา เพราะเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะอยู่ร่วมกันได้
ก็ด้วยอาศัยความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันมีข้อสงสัยก็ถามกัน แก้ปัญหาให้กัน (องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๖๖/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร
๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท สูตรที่ ๑
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งเจริญทำให้มากซึ่งธรรม
๕ ประการ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผล
ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญ
๑. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร๑
๒. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิและปธานสังขาร
๕. ความขะมักเขม้น๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งเจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ
นี้แล ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลใน
ปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ปฐมอิทธิปาทสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ
ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น วิริยสมาธิ จิตตสมาธิและวีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน
เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๘๙-๔๐๑/๔๔๕)
๒ ความขะมักเขม้น (อุสฺโสฬฺหิ) หมายถึงอธิมัตตวิริยะ (ความเพียรชั้นสูง) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๖๗-๗๐/๓๓)
และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๓/๑๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร
๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท สูตรที่ ๒
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ก่อนจะตรัสรู้ เราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้เจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
เราได้เจริญ
๑. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิและปธานสังขาร
๕. ความขะมักเขม้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญทำให้มากซึ่งธรรมมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ นี้
เราจึงได้น้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆเมื่อมีเหตุ๑
เราจึงบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าเรานั้นพึงหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ ฯลฯ๒ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เราจึง
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าเรานั้นพึงหวังว่า ฯลฯ เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เมื่อมีเหตุ เรา
จึงบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ๓
ทุติยอิทธิปาทสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้
๒ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘-๓๐ ในเล่มนี้
๓ ในสูตรนี้นอกจากพระองค์จะทรงแสดงอิทธิบาทที่เป็นเหตุให้พระองค์บรรลุปฏิเวธที่ควงไม้โพธิ์แล้ว ยังได้
ทรงแสดงอภิญญา ๔ ประการที่พระองค์บรรลุ เพิ่มเติมอีกด้วย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๖๗-๗๐/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๙. นิพพิทาสูตร
๙. นิพพิทาสูตร๑
ว่าด้วยความเบื่อหน่าย
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
นิพพิทาสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ นิพพิทาสูตร และอาสวักขยสูตร นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสมุ่งถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๖๗-
๗๐/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้สิ้นอาสวะ
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
สัญญาวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัญญาสูตร ๒. ทุติยสัญญาสูตร
๓. ปฐมวัฑฒิสูตร ๔. ทุติยวัฑฒิสูตร
๕. สากัจฉสูตร ๖. สาชีวสูตร
๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร ๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร
๙. นิพพิทาสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
๓. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยนักรบอาชีพ
๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ ๑
[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคล
เจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมี
ปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
เจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล
มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
เมื่อใด ภิกษุมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า
‘เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
เสาระเนียดขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอดกลอนออกได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ไกลจากข้าศึก
ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้๑ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ’ บ้าง
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละชาติสงสารซึ่งเป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละตัณหาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕
ประการได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้
เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ธง ในที่นี้หมายถึงมานะ(ความถือตัว) ภาระ ในที่นี้หมายถึงขันธมาร(มารคือขันธ์ ๕) อภิสังขารมาร(มารคือ
อภิสังขาร = เครื่องปรุงแต่งกรรม) และกิเลสมาร(มารคือกิเลส) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๑/๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอัสมิมานะ๑ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้
ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างนี้แล
ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ ๒
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล
มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)

เชิงอรรถ :
๑ อัสมิมานะ หมายถึงความถือตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มี ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า
เลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๔) เป็นผู้
เสมอเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
(๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๙) เป็นผู้ด้อยกว่า
เขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (ตามนัย องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๔/๔๗๓) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๘/๕๐๘, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๖๒/๖๑๖-๖๑๗
แต่ในที่นี้หมายถึงความสำคัญ ความพอใจ ความเข้าใจว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เป็น ‘เรา’ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๒/๓๔) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๘๓/๕๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๒. ทุติยเจโตวิมูตติผลสูตร
๔. ปหานสัญญา(กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๕. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
เจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผลานิสงส์
เมื่อใด ภิกษุมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้
ถอนลิ่มสลักขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอนเสาระ
เนียดขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอดกลอนออกได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ไกลจากข้าศึก
ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ’ บ้าง
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละชาติสงสารซึ่งเป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละตัณหาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอัสมิมานะได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างนี้แล
ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม สูตรที่ ๑
[๗๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้อยู่ด้วยธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม’ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยเหตุเท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอปล่อยให้
วันคืนล่วงเลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน
เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียน
ธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการ
หลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่
ด้วยธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้
เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการ
หลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการสาธยายธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้
อยู่ด้วยธรรม
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรม
ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เธอปล่อยให้วันคืนล่วง
เลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะ
การตรึกตามธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม
ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอไม่ปล่อย
ให้วันคืนล่วงเลยไป ไม่ละการหลีกเร้นอยู่ ตามประกอบความสงบใจ
ภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
อย่างนี้แล
เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเรียนธรรม ผู้มากด้วยการแสดงธรรม ผู้มากด้วย
การสาธยายธรรม ผู้มากด้วยการตรึกธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุ
กิจใดที่ศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล อนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงทำแก่สาวก
ทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑ เธอจง
เพ่ง๒ อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มีวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ)ในภายหลังเลย นี้เป็น
อนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
ปฐมธัมมวิหารีสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสมอบมรดก คือเสนาสนะ หรือสถานที่ที่สงัด
ปราศจากคน เหมาะแก่การบำเพ็ญความเพียรแก่ภิกษุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)
๒ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงเจริญสมถกัมมัฏฐานโดยเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ๓๘ ประการ และเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
โดยเพ่งขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๔. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
๔. ทุติยธัมมวิหารีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม สูตรที่ ๒
[๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้อยู่ด้วยธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม’ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยเหตุเท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอย่อมไม่
ทราบเนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุนี้เราเรียก
ว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียนธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
ฯลฯ๑
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอทราบ
เนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่
ด้วยธรรม อย่างนี้แล
ภิกษุ ฯลฯ นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
ทุติยธัมมวิหารีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๗๓ (ปฐมธัมมวิหารีสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ว่าด้วยนักรบอาชีพ สูตรที่ ๑
[๗๕] ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
นักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้
ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๒. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอ
เห็นยอดธงของข้าศึกเท่านั้นก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่
สมรภูมิได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนัก
รบอาชีพจำพวกที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๓. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น
ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก
เท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ นักรบ
อาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๔. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้
เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็
อดทนได้ แต่หวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก นักรบอาชีพ
บางคน แม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๕. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอด
ธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้
อดทนต่อการประหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้
พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางคน
แม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏ
อยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง๑ หวั่นไหว
ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นสำหรับเธอ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือ
หญิงสาวรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก เธอได้
ฟังดังนั้นแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้ชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นสำหรับเธอ
เรากล่าวว่า ภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธง
ของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
อะไรชื่อว่ายอดธงของข้าศึกสำหรับเธอ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือหญิงสาวรูปงาม
น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เธอได้เห็นด้วยตนเอง
ครั้นเห็นแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้ชื่อว่ายอดธงข้าศึกสำหรับเธอ

เชิงอรรถ :
๑ หยุดนิ่ง ในที่นี้หมายถึงจมดิ่งในมิจฉาวิตก(ความตรึกผิด) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๕/๓๗) และดู องฺ.ติก. (แปล)
๒๐/๑๒๕/๓๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอ
เห็นยอดธงของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคล
บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวก
ที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ใน
สิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่าเสียงกึกก้อง
ของข้าศึกสำหรับเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง แล้วยิ้มแย้ม ปราศรัย
กระซิกกระซี้ ยั่วยวน เธอถูกมาตุคามยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิก-
กระซี้ ยั่วยวนอยู่ ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ นี้
ชื่อว่าเสียงกึกก้องของข้าศึกสำหรับเธอ
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น
ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรมวินัยนี้
นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่
หวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก อะไรชื่อว่าการประหารสำหรับ
ข้าศึกของเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ไปสู่ป่า
ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง แล้วนั่งทับ๑ นอนทับ ข่มขืน เธอถูก
มาตุคามนั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผย

เชิงอรรถ :
๑ นั่งทับ ในที่นี้หมายถึงใช้ทวารหนักและทวารเบานั่งทับองคชาตของภิกษุ อรรถกถาอธิบายว่า อิตฺถิยา
วจฺจมคฺเคน ตสฺส ภิกฺขุโน องฺคชาตํ อภินิสีเทนฺติ แปลว่า ให้องคชาตของภิกษุนั้นสอดเข้าไปทางทวารหนัก
ของหญิง (วิ.อ.๑/๕๘/๒๘๐) และดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๘-๕๙/๔๕-๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ความท้อแท้๑ เสพเมถุนธรรม๒ นี้ชื่อว่าการประหารของข้าศึก
สำหรับเธอ
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้
เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่หวาด
สะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทน
ต่อการประหารของข้าศึกได้ ชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม
ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ อะไรชื่อว่าชัยชนะในสงครามสำหรับเธอ
คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือ
ไปสู่เรือนว่าง แล้วนั่งทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคามนั่งทับ
นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่พัวพัน แต่ปลดเปลื้อง หลีกออกได้ แล้วหลีก
ไปตามความประสงค์ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า
โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ๓ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอไปสู่ป่า
ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์๔ ตั้งกายตรง ดำรง
สติไว้เฉพาะหน้า๕ ละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)ในโลก๖
มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความ
มุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสรรพสัตว์
อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ
(ความหดหู่และความเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๕ (มาตาปุตตสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๕๕ (มาตาปุตตสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้
๓ ป่าทึบ หมายถึงป่าที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เลยเขตหมู่บ้านไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐)
๔ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง เรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๕ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๖ โลก ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ต้องแตกสลาย กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ ความถือมั่นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าเป็นอัตตาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ที.สี.อ. ๒๑๗/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ
ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น
เครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
อย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เมื่อเธอรู้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ
และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ นี้ชื่อว่าชัยชนะในสงคราม
สำหรับเธอ
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น
ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทนต่อการ
ประหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงคราม
นั้นไว้ได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบ
อาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลาย
ปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิเลส คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ท่านเรียกว่ากิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) เพราะยังจิตให้ลาดต่ำโน้มเอียง
ไปสู่ที่ต่ำเช่น ต้องย้อนกลับไปสู่จตุตถฌานอีกเป็นต้น ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๒๔/๕๗๘
๒ อยู่จบพรหมจรรย์ หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำ
เพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ ได้ชื่อว่า อเสขบุคคล (เทียบ ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
ว่าด้วยนักรบอาชีพ สูตรที่ ๒
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
นักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ฆ่าเขาตายทำลายเขาได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ใน
โลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๒. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ
เขากำลังถูกนำไปอยู่ ยังไม่ทันถึงหมู่ญาติ ก็เสียชีวิตในระหว่างทาง
นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวก
ที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๓. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ
หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่
แต่เสียชีวิตด้วยอาการบาดเจ็บนั้นนั่นเอง นักรบอาชีพบางคนแม้
เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ ซึ่งมีปรากฏ
อยู่ในโลก
๔. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ
หมู่ญาติพยาบาลรักษา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ก็หายจาก
อาการบาดเจ็บนั้น นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น
นักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
๕. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดค่าย
สงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น
นักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะ(ความกำหนัด) จึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูก
ราคะรบกวนจิตแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผยความท้อแท้ เสพ
เมถุนธรรม
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ
แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกฆ่าเขาตาย
ทำลายเขาได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีปรากฏอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้
เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลาเช้า
เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือนิคมนั้น
เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต มีสติไม่
ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ใน
หมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อยนั้น
ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้วจึงมีกายเร่าร้อน
มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี เราควรจะไปอาราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
บอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะกลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว
ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์” เธอกำลังเดินไปยังอาราม ยัง
ไม่ทันถึงอาราม ก็เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับ
มาเป็นคฤหัสถ์ในระหว่างทาง
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนู
และแล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ เขากำลังถูกนำ
ไปอยู่ ยังไม่ทันถึงหมู่ญาติ ก็เสียชีวิตในระหว่างทาง บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี
ปรากฏอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ ซึ่งมี
ปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้ว
จึงมีกายเร่าร้อน มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี
เราควรจะไปยังอารามบอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เธอจึงไปยังอารามแล้วบอกพวกภิกษุว่า “ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจึงกล่าวสอนพร่ำสอนเธอว่า “ผู้มีอายุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
กามทั้งหลาย๑มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
ขอผู้มีอายุจงยินดีในพรหมจรรย์ อย่าเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาป็นคฤหัสถ์เลย"
เธออันเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายกล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๓๐๖-๓๐๗, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓/๗-๘, ขุ.จู.(แปล) ๓๐/๑๔๗/๔๖๙-๔๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่ก็จริง ถึงกระนั้น ผมไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เธอจึงเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ
แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกทำร้ายเขา
ให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขามาส่งให้ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา
เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ก็เสียชีวิตด้วยอาการบาดเจ็บนั้นนั่นเอง บุคคล
บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อย ในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้ว
จึงมีกายเร่าร้อน มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี
เราควรจะไปยังอารามบอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุมแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เธอจึงไปยังอารามแล้ว บอกพวกภิกษุว่า “ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จึงกล่าวสอน พร่ำสอนเธอว่า “ผู้มี
อายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
ขอผู้มีอายุจงยินดีในพรหมจรรย์เถิด อย่าเปิดเผยความท้อแท้
ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์เลย” เธออันเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายกล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จึงกล่าวอย่างนี้
ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมจักขะมักเขม้นเพียรพยายามอย่างดียิ่ง
จักไม่เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา ไม่บอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์อีก”
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ
แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกทำร้าย
เขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขามาส่งให้ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติพยาบาลรักษาเขา
เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ก็หายจากอาการบาดเจ็บนั้น บุคคลบางคนแม้
เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมี
ปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต มีสติตั้งมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือไม่แยกถือปฏิบัติ
เพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาป
อกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทาง
จมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศล
ธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์
ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉัน
อาหารเสร็จแล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้
ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอไปสู่ป่า ไปสู่
โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌาในโลกได้แล้ว ฯลฯ ละนิวรณ์ ๕
ประการนี้ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญาแล้ว
สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ๑ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่
ผูกสอดธนูและแล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๗๕ (ปฐมโยธาชีวสูตร) หน้า ๑๓๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๗. ปฐมอนาคตภยสูตร
ผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี
อยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลาย
ทุติยโยธาชีวสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๑
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕
ประการนี้ ไม่ควรเป็นผู้ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึงต่อยเราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัด
เราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตราย๑นั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เราเมื่ออยู่ในป่าผู้เดียว พึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เรา

เชิงอรรถ :
๑ อันตราย ในที่นี้หมายถึงอันตรายต่อชีวิตและอันตรายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ แต่สำหรับผู้เป็นปุถุชน
เมื่อสิ้นชีวิตไปพึงมีอันตรายต่อสวรรค์ หรืออันตรายต่อมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๗/๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๗. ปฐมอนาคตภยสูตร
ฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้ เสมหะของเรา
พึงกำเริบก็ได้ หรือลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบก็ได้ เพราะ
เหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ เราจะปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพบสัตว์ร้ายคือราชสีห์ เสือโคร่ง
เสือเหลือง หมี หรือเสือดาวก็ได้ สัตว์เหล่านั้นพึงทำร้ายเราถึง
ตายก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว เราพึงพบคนร้ายผู้ก่อคดีแล้วหรือ
ยังไม่ได้ก่อคดีก็ได้ พวกคนร้ายนั้นพึงปลิดชีวิตเราเสียก็ได้ เพราะ
เหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ เราจะปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว ก็ในป่ามีพวกอมนุษย์๑ ดุร้าย พวกอมนุษย์นั้นพึงปลิดชีวิต
เราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเมื่อเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ปฐมอนาคตภยสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๒
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ควร
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรายังเป็นคนหนุ่มแน่น
มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ใน
ปฐมวัยก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่ชราจะถูกต้องกายนี้ได้ การ
ที่บุคคลผู้แก่ถูกชราครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ

เชิงอรรถ :
๑ อมนุษย์ หมายถึงยักษ์เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๗/๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ป่าโปร่ง๑ และป่าทึบ๒ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้แก่
ก็จักอยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย
มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ
ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรก็จริง
ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้องกายนี้ได้ การที่บุคคลผู้
เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และ
ป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้อาพาธก็จัก
อยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ มีภิกษาหาได้ง่าย
ข้าวกล้าดี บิณฑบาตได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพก็จริง

เชิงอรรถ :
๑ ป่าโปร่ง หมายถึงป่าอยู่นอกเสาเขตเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ลูกธนู (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๗๕ (ปฐมโยธาชีวสูตร) หน้า ๑๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ถึงกระนั้นก็ยังมีสมัยที่ภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑบาต
ได้ยาก จึงไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ เมื่อภิกษาหาได้ยาก
คนทั้งหลายจึงอพยพไปในที่มีอาหารดี ที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วย
หมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภ
ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว
แม้ในสมัยที่มีภิกษาหาได้ยากก็จักอยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ คนทั้งหลายพร้อม
เพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกัน
ด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่
มีภัย มีความปั่นป่วนในดง ประชาชนวุ่นวาย เมื่อมีภัย คนทั้งหลาย
จึงอพยพไปในที่ปลอดภัย ที่นั้นย่อมมีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
อยู่กันอย่างพลุกพล่าน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่กัน
อย่างพลุกพล่าน การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และ
ป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ใน
สมัยที่มีภัยก็จักอยู่สบาย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ สงฆ์พร้อมเพรียงกัน
ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่สวดร่วมกัน๑ อยู่ผาสุกก็จริง
ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกันแล้ว
การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย
ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ก็มิใช่
ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้น
จะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้
ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ในเมื่อสงฆ์แตกแยก
กันก็จักอยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ทุติยอนาคตภยสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๔ (สมยสูตร) หน้า ๙๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๙. ตติยอนาคตภยสูตร
๙. ตติยอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๓
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อ
ละภัยเหล่านั้นเสีย
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา ให้กุลบุตรเหล่าอื่นอุปสมบท ก็จักไม่สามารถแนะนำ
กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ แม้กุลบุตร
เหล่านั้นก็จักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
ให้กุลบุตรเหล่าอื่นอุปสมบทอีก ก็จักไม่สามารถแนะนำกุลบุตร
เหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ ถึงกุลบุตรเหล่านั้นก็
จักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา โดยนัย
นี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึงเลอะเลือน เพราะวินัย
เลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๒. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา ให้นิสสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่นก็จักไม่สามารถแนะนำ
กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ กุลบุตรเหล่านั้น
ก็จักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา เมื่อ
ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา ให้นิสสัย
แก่กุลบุตรเหล่าอื่นอีก ก็จักไม่สามารถแนะนำกุลบุตรเหล่านั้น
ในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ ถึงกุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่
เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา โดยนัยนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๙. ตติยอนาคตภยสูตร
เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึงเลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน
ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๓. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
แสดงอภิธัมมกถา๑ เวทัลลกถา๒ ถลำลงสู่ธรรมดำก็จักไม่รู้ตัว
โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึงเลอะเลือน เพราะวินัย
เลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๔. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตตรัสไว้ ล้ำลึก มีเนื้อความ
ลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นไม่
ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจใฝ่รู้ และไม่ให้ความสำคัญ
ธรรมว่าควรเรียนควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่าน
ผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้เป็นบทกวีมีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร
อยู่ภายนอก เป็นสาวกภาษิต๓ ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี
เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้ และให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน
ควรท่องจำให้ขึ้นใจ โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึง
เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย

เชิงอรรถ :
๑ อภิธัมมกถา หมายถึงกถาว่าด้วยธรรมอันยอดเยี่ยมเช่นกถาว่าด้วยศีล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๙/๔๐)
๒ เวทัลลกถา หมายถึงกถาที่เจือด้วยญาณประกอบด้วยเวท คือปีติและโสมนัสที่เกิดจากความเข้าใจธรรม
เทศนา ถึงกับแสดงความชื่นชม แล้วถามปัญหาต่อไปอีก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๙/๔๐, วิ.อ. ๑/๒๖, สารตฺถ.
ฏีกา ๑/๑๒๗) และดูสัมมาทิฏฐิสูตร (ม.มู. ๑๒/๙/๖๓) สักกปัญหสูตร (ที.ม. ๑๐/๘/๒๒๖) มหาเวทัลลสูตร
(ม.มู. ๑๒/๓/๔๐๑) จูฬเวทัลลสูตร (ม.มู. ๑๒/๔/๔๑๐) มหาปุณณมสูตร (ม.อุ. ๑๔/๘๕-๙๐/๖๗-๗๑)
๓ อยู่ภายนอก หมายถึงนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ.๒/๔๘/๕๕) เป็นสาวกภาษิต หมายถึงเป็นภาษิต
ของเหล่าสาวกของเจ้าลัทธินอกพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร
๕. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำ
ในโอกกมนธรรม๑ ทอดธุระในปวิเวก๒ จักไม่ปรารภความเพียรเพื่อ
ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังก็จักพากันตามอย่างพวกภิกษุเถระ
เหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้น ก็จักเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก จักไม่ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัย
จึงเลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จัก
เกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัย
เหล่านั้นเสีย
ตติยอนาคตภยสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๔
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้
แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อ
ละภัยเหล่านั้นเสีย

เชิงอรรถ :
๑ โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๒ ปวิเวก ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบที่จีวรสวยงาม เมื่อชอบจีวรที่
สวยงาม ก็จักละความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะ
อันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม
และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม
หลายอย่าง เพราะจีวรเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๒. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่มีรสอร่อย เมื่อชอบ
บิณฑบาตที่มีรสอร่อย ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
จักละเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่
หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสเลิศอร่อย
และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสมหลายอย่าง เพราะ
บิณฑบาตเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๓. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะที่สวยงาม เมื่อชอบ
เสนาสนะที่สวยงาม ก็จักละการอยู่ป่าเป็นวัตร จักละเสนาสนะอัน
เงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม
และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม
หลายอย่าง เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๔. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา๑ และ
เหล่าสามเณร เมื่ออยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา และเหล่า

เชิงอรรถ :
๑ นางสิกขมานา หมายถึงสามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีแล้วอีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์สวดให้
สิกขาสมมติ คือตกลงให้สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ ตั้งแต่ ปาณาติปาตา เวรมณี ถึง วิกาลโภชนา
เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดเลยตลอดเวลา ๒ ปีเต็ม (ถ้าล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทาน
ตั้งต้นไปใหม่อีก ๒ ปี) ในระหว่างที่สมาทานสิกขาบท ๖ ประการนี้ เรียกว่า นางสิกขมานา (วิ.ภิกฺขุนี.
(แปล) ๓/๑๐๗๘-๑๐๗๙/๒๙๗-๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘เธอเหล่านั้นจักไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์’
ภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๕. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร
เมื่ออยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
‘เธอเหล่านั้นจักบริโภคของที่สะสมไว้หลายอย่าง จักทำนิมิตอย่าง
หยาบไว้ที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง๑’
ภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จัก
เกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัย
เหล่านั้นเสีย
จตุตถอนาคตภยสูตรที่ ๑๐ จบ
โยธาชีววรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร ๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร ๔. ทุติยธัมมวิหารีสูตร
๕. ปฐมโยธาชีวสูตร ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
๗. อนาคตภยสูตร ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
๙. ตติยอนาคตภยสูตร ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร


เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงการสั่งให้ขุดดิน ให้ตัดต้นไม้ กิ่งไม้ และใบหญ้า ซึ่งจะเป็นเหตุให้ต้องอาบัติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๐/
๔๐-๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑. รชนียสูตร
๔. เถรวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมของพระเถระ
๑. รชนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัด
[๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม
๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำหนัดในสิ่ง๑ที่เป็นเหตุให้กำหนัด
๒. ขัดเคืองในสิ่งที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง
๓. หลงในสิ่งที่เป็นเหตุให้หลง
๔. โกรธในสิ่งที่เป็นเหตุให้โกรธ
๕. มัวเมาในสิ่งที่เป็นเหตุให้มัวเมา
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่กำหนัดในสิ่งที่เป็นเหตุให้กำหนัด
๒. ไม่ขัดเคืองในสิ่งที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง
๓. ไม่หลงในสิ่งที่เป็นเหตุให้หลง

เชิงอรรถ :
๑ สิ่ง ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยให้เกิดกำหนัด ขัดเคือง หลง โกรธ และมัวเมา (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๘๑/๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๒. วีตราคสูตร
๔. ไม่โกรธในสิ่งที่เป็นเหตุให้โกรธ
๕. ไม่มัวเมาในสิ่งที่เป็นเหตุให้มัวเมา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
รชนียสูตรที่ ๑ จบ
๒. วีตราคสูตร
ว่าด้วยธรรมของผู้ปราศจากราคะ
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ
๒. เป็นผู้ไม่ปราศจากโทสะ
๓. เป็นผู้ไม่ปราศจากโมหะ
๔. เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน
๕. เป็นผู้ตีเสมอ
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ปราศจากราคะ
๒. เป็นผู้ปราศจากโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๓. กุหกสูตร
๓. เป็นผู้ปราศจากโมหะ
๔. เป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน
๕. เป็นผู้ไม่ตีเสมอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
วีตราคสูตรที่ ๒ จบ
๓. กุหกสูตร
ว่าด้วยผู้หลอกลวง
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้หลอกลวง๑
๒. เป็นผู้พูดป้อยอ๒
๓. เป็นผู้ทำนิมิต๓
๔. เป็นผู้พูดบีบบังคับ๔
๕. เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ๕

เชิงอรรถ :
๑ หลอกลวง หมายถึงหลอกลวงด้วยอาการ ๓ คือ (๑) พูดเลียบเคียง (๒) แสร้งแสดงอิริยาบถคือยืน เดิน
นั่ง นอนให้น่าเลื่อมใส (๓) แสร้งปฏิเสธปัจจัย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๓/๘๓/๔๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๘๓/๔๓,
วิสุทธิ. ๑/๑๖/๒๔) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๑/๕๕๓
๒ พูดป้อยอ หมายถึงพูดป้อยอมุ่งหวังลาภสักการะ และชื่อเสียง (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๘๓/๔๑, วิสุทธิ. ๑/๑๖/๒๔)
ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๒/๕๕๓ ประกอบ
๓ ทำนิมิต หมายถึงการกระทำทางกายวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน เช่นการพูดเป็นเลศนัย พูดเลียบเคียง
(อภิ.วิ.อ.๘๖๓/๕๒๓,วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔)
๔ พูดบีบบังคับ หมายถึงการด่า การพูดข่ม พูดนินทาตำหนิโทษ พูดเหยียดหยาม และการนำเรื่องไป
ประจาน ตลอดถึงการพูดสรรเสริญต่อหน้า นินทาลับหลัง (ปุรโต มธุรํ ภณิตฺวา ปรมฺมุเข อวณฺณภาสิตา)
(อภิ.วิ.อ.๘๖๔/๕๒๔, วิสุทธิ. ๑/๑๖/๒๔-๒๕)
๕ แสวงหาลาภด้วยลาภ หมายถึงได้อะไรเอามาฝากเขา ทำให้เขาเกรงใจ ต้องให้ตอบแทน (วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๔. อัสสัทธสูตร
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่หลอกลวง
๒. เป็นผู้ไม่พูดป้อยอ
๓. เป็นผู้ไม่ทำนิมิต
๔. เป็นผู้ไม่พูดบีบบังคับ
๕. เป็นผู้ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
กุหกสูตรที่ ๓ จบ
๔. อัสสัทธสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. อักขมสูตร
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
อัสสัทธสูตรที่ ๔ จบ
๕. อักขมสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่อดทน
[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๖. ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร
๔. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
อักขมสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร๑
ว่าด้วยภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๑๘-๗๕๐/๔๕๙-๔๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. สีลวันตสูตร
๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำ ทั้งงานสูง
และงานต่ำ๑ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญา
เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น
สามารถทำได้ สามารถจัดได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปฏิสัมภิทาปัตตสูตรที่ ๖ จบ
๗. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้มีศีล
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
๑ งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ
เรือนพระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อยมีล้างเท้า และนวดเท้าเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร
๓. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
สีลวันตสูตรที่ ๗ จบ
๘. เถรสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเถระ
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นรัตตัญญู๑ บวชมานาน
๒. เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และ
บรรพชิต
๓. เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร

เชิงอรรถ :
๑ รัตตัญญู เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีความหมายว่ารู้
ราตรีนาน คือบวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อนพระสาวกทั้งหลาย (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒)
แต่ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ผ่านมาหลายราตรี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๘/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร
๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
๕. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออก
จากสัทธรรมให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๒ คนหมู่มากพากันตามอย่างเธอ
ด้วยคิดว่า ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน’ บ้าง ‘เป็น
ภิกษุเถระ มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์
และบรรพชิต’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นพหูสูต
ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ’ บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) คือ (๑) สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย
รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (๒) เคยยะ (ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่พระสูตรที่มีคาถา
ทั้งหมด) (๓) เวยยากรณะ (ความร้อยแก้ว) (๔) คาถา (ข้อความร้อยกรอง) (๕) อุทาน (พระคาถาพุทธอุทาน)
(๖) อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง) (๗) ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) (๘) อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์)
(๙) เวทัลละ (พระสูตรแบบถาม-ตอบ) (องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๙-๑๑)
๒ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
อสัทธรรม ในที่นี้หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๘/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นรัตตัญญู บวชมานาน
๒. เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต
๓. เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
๕. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มาก
ออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม คนหมู่มากพากันตาม
อย่างเธอด้วยคิดว่า ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน’ บ้าง
‘เป็นภิกษุเถระ มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวก
คฤหัสถ์และบรรพชิต’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ’ บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เถรสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. ปฐมเสขสูตร
๙. ปฐมเสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเสขะ๑ สูตรที่ ๑
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๒
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว๓
ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ปฐมเสขสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑ หน้า ๑ ในเล่มนี้
๒ การงาน ในที่นี้หมายถึงการกะจีวร ทำจีวร เย็บปะจีวร ทำถลกบาตร อังสะ ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ
ทำเชิงรองบาตร ผ้าเช็ดเท้า ไม้กวาด เป็นต้นตลอดวัน (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๘๙/๔๔)
๓ ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว หมายถึงไม่พิจารณาโทษที่ตนละ และคุณที่ตนได้ ตามที่จิตหลุด
พ้นแล้ว พยายามเพื่อให้ได้คุณเบื้องสูงขึ้นไป (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๙/๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑๐. ทุติยเสขสูตร
๑๐. ทุติยเสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเสขะ สูตรที่ ๒
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียกิจมาก ไม่
ฉลาดในกิจน้อยใหญ่ ละการหลีกเร้น ไม่ตามประกอบความสงบใจ๑
ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
๒. ภิกษุผู้เป็นเสขะให้วันเวลาล่วงไปเพราะการงานเล็กน้อย ละการ
หลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๓. ภิกษุผู้เป็นเสขะคลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการ
คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบ
ความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อความ
เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๔. ภิกษุผู้เป็นเสขะเข้าไปยังหมู่บ้านในเวลาเช้านัก กลับมาในเวลาสายนัก
ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๔ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๕. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลา เป็นสัปปายะแห่งความ
เป็นไปของจิต๒ คืออัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา
(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา

เชิงอรรถ :
๑ ความสงบใจ (เจโตสมถะ) ในที่นี้หมายถึงสมาธิกัมมัฏฐาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๐/๔๓)
๒ เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ
และวิปัสสนา คือความปลอดโปร่งแห่งจิต (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๐/๔๓, องฺ.นวก.อ.๓/๑/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑๐. ทุติยเสขสูตร
(เรื่องความไม่คลุกคลี) วีริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร)
สีลกถา (เรื่องศีล) สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา (เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้
ความเห็นในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก
ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๕ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการต่อไปนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีกิจมาก ไม่มีกรณียกิจมาก
ฉลาดในกิจน้อยใหญ่ ไม่ละการหลีกเร้น ตามประกอบความสงบใจ
ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
๒. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่ให้วันเวลาล่วงไป เพราะการงานเล็กน้อย ไม่ละ
การหลีกเร้น ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๓. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการ
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความ
สงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๔. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่เข้าไปยังหมู่บ้านในเวลาเช้านัก ไม่กลับในเวลาสายนัก
ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๔ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๑ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น