Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๗-๑ หน้า ๑ - ๕๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑. อปัณณกวรรค

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. เอกกนิบาต
๑. อปัณณกวรรค
หมวดว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด
๑. อปัณณกชาดก (๑)
ว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภพ่อค้าเกวียนสองคน คนหนึ่งปฏิบัติผิด
คนหนึ่งปฏิบัติถูก ตรัสพระคาถาว่า)
[๑] คนฉลาดพวกหนึ่งกล่าวฐานะที่ไม่ผิด๑
นักคาดคะเนทั้งหลายกล่าวฐานะที่ ๒ (ที่ผิด)
ผู้มีปัญญารู้จักฐานะที่ไม่ผิดและฐานะที่ผิดนั้นแล้ว
ควรถือฐานะที่ไม่ผิดไว้เถิด
อปัณณกชาดกที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะที่ไม่ผิด ในที่นี้หมายถึงฐานะหรือเหตุที่เป็นจริงโดยส่วนเดียว ไม่ผิดพลาด นำออกจากทุกข์ภัยได้
ได้แก่ ไตรสรณคมน์ ศีล ๕ ศีล ๑๐ ความสำรวมในปาติโมกข์ ความสำรวมอินทรีย์ ความสำรวมใน
การเลี้ยงชีพ การใช้สอยปัจจัยโดยอุบายที่ชอบ จตุปาริสุทธิศีลแม้ทั้งหมด ความเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความเพียรของผู้ตื่นอยู่ ฌาน วิปัสสนา อภิญญา
สมาบัติ อริยมรรค อริยผล ทั้งหมดนี้เรียกว่า ฐานะที่ไม่ผิด ทางดำเนินที่ไม่ผิด หรือทางดำเนินที่นำ
ออกจากทุกข์ (ขุ.ชา.อ. ๑/๑/๑๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑. อปัณณกวรรค ๔. จูฬเสฏฐิชาดก (๔)
๒. วัณณุปถชาดก (๒)
ว่าด้วยการบำเพ็ญความเพียรเหมือนขุดหาน้ำกลางทะเลทราย
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภพ่อค้าเดินทางกลางทะเลทรายขุดหาน้ำได้ด้วย
ความเพียร เปรียบเทียบกับมุนีผู้ทำความเพียรย่อมได้ความสงบใจ ตรัสพระคาถาว่า)
[๒] ชนทั้งหลายผู้ไม่เกียจคร้าน
ขุดภาคพื้นที่หนทางกลางทะเลทราย
ได้พบน้ำที่กลางทะเลทรายอันราบเรียบ ฉันใด
มุนีผู้ประกอบด้วยความเพียรและกำลัง ไม่เกียจคร้าน
พึงประสบความสงบใจ ฉันนั้น
วัณณุปถชาดกที่ ๒ จบ
๓. เสริววาณิชชาดก (๓)
ว่าด้วยพ่อค้าชื่อเสริวะ
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภภิกษุผู้ละความเพียร ตรัสพระคาถาว่า)
[๓] ถ้าเธอพลาดจากสภาวะอันแน่นอนแห่งพระสัทธรรม
ในศาสนานี้แล้ว เธอจะต้องเดือดร้อนตลอดกาลนาน
เหมือนพ่อค้าชื่อว่าเสริวะนี้
เสริววาณิชชาดกที่ ๓ จบ
๔. จูฬเสฏฐิชาดก (๔)
ว่าด้วยจูฬเศรษฐี
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภการตั้งตัวได้ด้วยทรัพย์เพียงเล็กน้อย ตรัส
พระคาถาว่า)
[๔] ผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นโดยประจักษ์
ย่อมตั้งตัวได้ด้วยสิ่งของอันมีมูลค่าน้อย
เหมือนคนก่อไฟกองเล็ก ๆ ทำให้เป็นกองใหญ่ได้
จูฬเสฏฐิชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑. อปัณณกวรรค ๗. กัฏฐหาริชาดก (๗)
๕. ตัณฑุลนาฬิชาดก (๕)
ว่าด้วยมูลค่าข้าวสารทะนานหนึ่ง
(อำมาตย์ทูลถามพระราชาว่า)
[๕] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ตรัสว่า ข้าวสาร ๑ ทะนาน
มีราคาเท่ามูลค่าม้า ๕๐๐ ตัวหรือ
และข้าวสาร ๑ ทะนานนี้มีค่าเท่ากับกรุงพาราณสี
ทั้งภายในภายนอกเชียวหรือ
ตัณฑุลนาฬิชาดกที่ ๕ จบ
๖. เทวธัมมชาดก (๖)
ว่าด้วยธรรมของเทวดา
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๖] บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ
ตั้งมั่นอยู่ในสุกกธรรม (กุศลธรรม)
เป็นผู้สงบระงับ เป็นคนดีงาม
ท่านเรียกว่า ผู้มีเทวธรรมในโลก
เทวธัมมชาดกที่ ๖ จบ
๗. กัฏฐหาริชาดก (๗)
ว่าด้วยหญิงหาฟืน
(พระโพธิสัตว์กล่าวธรรมแก่พระราชบิดาว่า)
[๗] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันเป็นโอรสของพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีของหมู่ชน
ขอพระองค์ทรงเลี้ยงหม่อมฉัน
แม้คนเหล่าอื่นพระองค์ยังทรงเลี้ยงได้
ทำไมจะไม่ทรงเลี้ยงโอรสของพระองค์เล่า
กัฏฐหาริชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑. อปัณณกวรรค ๑๐. สุขวิหาริชาดก (๑๐)
๘. คามณิชาดก (๘)
ว่าด้วยคามณิกุมาร
(คามณิกุมารเปล่งอุทานว่า)
[๘] เออก็ ผลที่หวังจะสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้
เรามีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว
ท่านจงเข้าใจดังนี้เถิด พ่อคามณิ
คามณิชาดกที่ ๘ จบ
๙. มฆเทวชาดก (๙)
ว่าด้วยพระเจ้ามฆเทวะ
(พระราชาทรงจับพระเกสาหงอกแล้ว ตรัสแก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า)
[๙] เมื่อวัยล่วงเลยไป ผมบนศีรษะของเราก็หงอก
เทวทูตก็ปรากฏชัด บัดนี้เป็นเวลาที่เราควรจะบวช
มฆเทวชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. สุขวิหาริชาดก (๑๐)
ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข
(ฤๅษีโพธิสัตว์แสดงธรรมถวายพระราชาว่า)
[๑๐] บุคคลเหล่าอื่นไม่ต้องรักษาคุ้มครองผู้ใด
และผู้ใดก็ไม่ต้องรักษาคุ้มครองบุคคลเหล่าอื่น
มหาบพิตร ผู้นั้นแหละไม่เยื่อใยในกามทั้งหลาย
ย่อมอยู่เป็นสุข
สุขวิหาริชาดกที่ ๑๐ จบ
อปัณณกวรรคที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๒. สีลวรรค ๒. นิโครธมิคชาดก (๑๒)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อปัณณกชาดก ๒. วัณณุปถชาดก
๓. เสริววาณิชชาดก ๔. จูฬเสฏฐิชาดก
๕. ตัณฑุลนาฬิชาดก ๖. เทวธัมมชาดก
๗. กัฏฐหาริชาดก ๘. คามณิชาดก
๙. มฆเทวชาดก ๑๐. สุขวิหาริชาดก
๒. สีลวรรค
หมวดว่าด้วยศีล
๑. ลักขณชาดก (๑๑)
ว่าด้วยเนื้อชื่อลักขณะ
(พญาเนื้อโพธิสัตว์เห็นลูกทั้ง ๒ กำลังมา จึงกล่าวกับหมู่ญาติว่า)
[๑๑] ประโยชน์๑ย่อมมีแก่ผู้มีศีล ผู้กระทำการต้อนรับเป็นปกติ
เธอจงดูลูกเนื้อชื่อลักขณะ ที่หมู่ญาติแวดล้อมกลับมา
และจงดูลูกเนื้อชื่อกาฬะนี้ที่เสื่อมจากหมู่ญาติ
ลักขณชาดกที่ ๑ จบ
๒. นิโครธมิคชาดก (๑๒)
ว่าด้วยพญาเนื้อชื่อนิโครธ
(แม่เนื้อเห็นลูกกำลังจะไปยังที่อยู่ของเนื้อสาขะ จึงกล่าวสอนว่า)

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความเจริญ (ขุ.ชา.อ. ๑/๑๑/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๒. สีลวรรค ๕.ขราทิยชาดก (๑๕)
[๑๒] ลูกหรือผู้อื่นควรคบหาเนื้อชื่อนิโครธเท่านั้น
ไม่ควรเข้าไปคบหาเนื้อชื่อสาขะ
การตายในสำนักของเนื้อชื่อนิโครธยังประเสริฐกว่า
การมีชีวิตในสำนักของเนื้อชื่อสาขะจะประเสริฐอะไร
นิโครธมิคชาดกที่ ๒ จบ
๓. กัณฑิชาดก (๑๓)
ว่าด้วยเรื่องที่น่าตำหนิคนมีลูกศรเป็นอาวุธเป็นต้น
(เทวดาโพธิสัตว์ตำหนิเรื่องที่ควรตำหนิ ๓ อย่าง จึงกล่าวว่า)
[๑๓] น่าตำหนิ คนที่มีลูกศรเป็นอาวุธ ยิงไปเต็มกำลัง
น่าตำหนิ ชนบทที่มีสตรีเป็นผู้นำ
อนึ่ง แม้ชายผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ก็น่าตำหนิ
กัณฑิชาดกที่ ๓ จบ
๔. วาตมิคชาดก (๑๔)
ว่าด้วยเนื้อสมัน
(พระราชาทรงดำริว่า สภาวะที่เลวกว่าความอยากในรสไม่มี จึงตรัสว่า)
[๑๔] ได้ยินว่า สภาวะอย่างอื่นที่จะเลวยิ่งกว่ารสทั้งหลายไม่มี
รสเป็นสภาวะที่เลวกว่าที่อยู่อาศัย กว่าความสนิทสนม
คนเฝ้าสวนชื่อสัญชัยนำเนื้อสมันที่อาศัยอยู่ในป่าทึบ
มาสู่อำนาจได้ก็เพราะรส
วาตมิคชาดกที่ ๔ จบ
๕. ขราทิยชาดก (๑๕)
ว่าด้วยลูกของแม่เนื้อที่ชื่อขราทิยา
(พญาเนื้อโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาจะสอนลูกของน้องสาว จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๒. สีลวรรค ๗. มาลุตชาดก (๑๗)
[๑๕] แม่ขราทิยา เราไม่สามารถจะสั่งสอนเนื้อ
ที่มีกีบเท้า ๘ กีบ มีเขาคดตั้งแต่โคนจรดปลาย
ที่ละเลยโอวาทตลอด ๗ วันตัวนั้นได้
ขราทิยชาดกที่ ๕ จบ
๖. ติปัลลัตถมิคชาดก (๑๖)
ว่าด้วยเนื้อลวงนายพรานด้วยการนอน ๓ ท่า
(พญาเนื้อโพธิสัตว์กล่าวแก่น้องสาวว่า)
[๑๖] น้องหญิง พี่ให้เนื้อ(หลานชาย)ที่มีกีบเท้า ๘ กีบ
เรียนท่านอน ๓ ท่า เรียนเล่ห์กลมายาหลายอย่าง
และการดื่มน้ำในเวลาเที่ยงคืน
เนื้อนั้น เมื่อหายใจทางจมูกข้างที่แนบติดอยู่กับพื้นดิน
ก็จะลวงนายพรานได้ด้วยอุบาย ๖ ประการ๑
ติปัลลัตถมิคชาดกที่ ๖ จบ
๗. มาลุตชาดก (๑๗)
ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม
(ฤาษีโพธิสัตว์ถูกเสือและราชสีห์ถาม จึงกล่าวว่า)
[๑๗] สมัยใดลมพัดมา สมัยนั้นจะเป็นข้างแรมก็ตาม
ข้างขึ้นก็ตาม ย่อมมีความหนาวอันเกิดแต่ลม
ในปัญหาข้อนี้ เธอทั้ง ๒ จึงไม่มีใครเป็นผู้แพ้
มาลุตชาดกที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุบาย ๖ ประการ คือ (๑) นอนตะแคงข้างเหยียดเท้าทั้ง ๔ (๒) ใช้กีบเท้าคุ้ยหญ้าและฝุ่น (๓) แลบลิ้น
ออกให้น้อยลง (๔) ทำให้ท้องพองนูน (๕) ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ (๖) กลั้นลมหายใจเข้าออกไว้
เมื่อนายพรานเห็นเข้าใจว่าตายแล้วจะแก้บ่วงออก เนื้อก็จะรีบหนีไป (ขุ.ชา.อ. ๑/๑๖/๒๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๒. สีลวรรค ๑๐.นฬปานชาดก (๒๐)
๘. มตกภัตตชาดก (๑๘)
ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่มหาชนว่า)
[๑๘] ถ้าเหล่าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า
การเกิดและสมภพ๑นี้เป็นทุกข์
สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก
มตกภัตตชาดกที่ ๘ จบ
๙. อายาจิตภัตตชาดก (๑๙)
ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ทำพลีกรรม
(รุกขเทวดาอยู่ที่ค่าคบต้นไม้กล่าวกับกุฎุมพีผู้ฆ่าสัตว์แก้บนว่า)
[๑๙] ถ้าท่านต้องการจะเปลื้องตนให้หลุดพ้น
จงเปลื้องตนให้หลุดพ้นโดยวิธีที่จะไม่ติดแน่นเถิด
เมื่อท่านเปลื้องตนอย่างนี้ ชื่อว่ายังติดแน่นอยู่
เพราะนักปราชญ์ไม่เปลื้องตนให้หลุดพ้นด้วยวิธีอย่างนี้
การเปลื้องตนให้หลุดพ้นอย่างนี้ กลับเป็นการผูกมัดคนพาล
อายาจิตภัตตชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. นฬปานชาดก (๒๐)
ว่าด้วยอุบายดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ
(พระศาสดาทรงทราบความที่พระโพธิสัตว์กับรากษสโต้ตอบกัน จึงได้ตรัสพระ
คาถานี้ว่า)

เชิงอรรถ :
๑ สมภพ ในที่นี้หมายถึงความเจริญโดยลำดับแห่งสัตว์ผู้บังเกิดแล้ว (ขุ.ชา.อ. ๑/๑๘/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๓. กุรุงควรรค ๑. กุรุงคมิคชาดก (๒๑)
[๒๐] พญาวานรไม่เห็นรอยเท้าที่ขึ้นมา
เห็นแต่รอยเท้าที่ลงไป จึงกล่าวว่า
พวกเราจักดื่มน้ำด้วยหลอดไม้อ้อ
ท่านจักฆ่าเราไม่ได้
นฬปานชาดกที่ ๑๐ จบ
สีลวรรคที่ ๒ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑.ลักขณชาดก ๒. นิโครธมิคชาดก
๓.กัณฑิชาดก ๔. วาตมิคชาดก/l
๕.ขราทิยชาดก ๖. ติปัลลัตถมิคชาดก/r
๗.มาลุตชาดก ๘. มตกภัตตชาดก
๙.อายาจิตภัตตชาดก ๑๐ นฬปานชาดก
๓. กุรุงควรรค
หมวดว่าด้วยกวาง
๑. กุรุงคมิคชาดก (๒๑)
ว่าด้วยกวาง
(กวางโพธิสัตว์แสร้งกล่าวกับต้นไม้กระทบนายพรานว่า)
[๒๑] นี่ไม้มะรื่น การที่ท่านปล่อยผลมะรื่นให้หล่นกลิ้งมานั้น
กวางรู้แล้ว เราจะไปยังไม้มะรื่นต้นอื่น
เราไม่ชอบใจผลของท่าน
กุรุงคมิคชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๓. กุรุงควรรค ๔. อาชัญญชาดก (๒๔)
๒. กุกกุรชาดก (๒๒)
ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า
(สุนัขโพธิสัตว์แสดงธรรมถวายพระราชาผู้ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า)
[๒๒] พวกลูกสุนัขที่เขาเลี้ยงจนเจริญเติบโตแล้วในราชตระกูล
เป็นสัตว์มีตระกูล สมบูรณ์ด้วยสีสันและกำลัง กลับไม่ถูกฆ่า
พวกเราซิกลับถูกฆ่า นี้ชื่อว่าการฆ่าที่แปลก
ชื่อว่าเป็นการฆ่าผู้ที่มีกำลังอ่อนแอ
กุกกุรชาดกที่ ๒ จบ
๓. โภชาชานียชาดก (๒๓)
ว่าด้วยม้าสินธพชาติอาชาไนย
(ม้าสินธพชาติอาชาไนยโพธิสัตว์ กล่าวกับหมู่ญาติว่า)
[๒๓] ม้าสินธพชาติอาชาไนยที่ถูกยิงด้วยลูกศร
แม้นอนตะแคงอยู่ ก็ยังประเสริฐกว่าม้ากระจอก
พ่อสารถี ท่านจงตระเตรียมเราออกรบอีกเถิด
โภชาชานียชาดกที่ ๓ จบ
๔. อาชัญญชาดก (๒๔)
ว่าด้วยม้าอาชาไนยกับม้ากระจอก
(ม้าอาชาไนยโพธิสัตว์ถูกฟันหมอบอยู่ กล่าวกับพลรถว่า)
[๒๔] ไม่ว่าในกาลใด สถานที่ใด ขณะใด
สนามรบใด หรือเวลาใด
ม้าอาชาไนยก็เร่งความเร็ว
ส่วนม้ากระจอกย่อมล้าหลัง
อาชัญญชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๓. กุรุงควรรค ๗. อภิณหชาดก (๒๗)
๕. ติตถชาดก (๒๕)
ว่าด้วยการรังเกียจท่าน้ำ
(อำมาตย์โพธิสัตว์กล่าวกับคนเลี้ยงม้าว่า)
[๒๕] นายสารถี ท่านจงให้ม้าดื่มน้ำที่ท่าอื่น ๆ บ้าง
แม้ข้าวปายาสที่รับประทานบ่อย ๆ คนก็ยังเบื่อได้
ติตถชาดกที่ ๕ จบ
๖. มหิฬามุขชาดก (๒๖)
ว่าด้วยพญาช้างมหิฬามุข
(อำมาตย์โพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๒๖] พญาช้างต้นชื่อมหิฬามุขได้เที่ยวทำร้ายคน
เพราะสำเหนียกคำของพวกโจรมาก่อน
พญามงคลหัตถีได้ตั้งอยู่ในคุณธรรมทั้งปวง
เพราะสำเหนียกคำของนักบวชผู้สำรวมดี
มหิฬามุขชาดกที่ ๖ จบ
๗. อภิณหชาดก (๒๗)
ว่าด้วยการได้เห็นกันเนือง ๆ
(อำมาตย์โพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๒๗] พญาช้างต้นไม่สามารถจะรับคำข้าว ไม่สามารถจะรับก้อนข้าว
ไม่สามารถจะรับหญ้า และไม่สามารถจะขัดสีร่างกายได้
ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าพญาช้างตัวประเสริฐ
มีความเยื่อใยในลูกสุนัข เพราะได้เห็นกันเนือง ๆ พระเจ้าข้า
อภิณหชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๓. กุรุงควรรค ๑๐. มุนิกชาดก (๓๐)
๘. นันทิวิสาลชาดก (๒๘)
ว่าด้วยโคนันทิวิสาล
(พระศาสดาทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้พูดคำหยาบคาย ตรัสนันทิวิสาล-
ชาดกนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๒๘] บุคคลควรพูดแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น
ไม่ควรพูดคำที่ไม่น่าพอใจในเวลาไหน ๆ
เมื่อพราหมณ์พูดคำที่น่าพอใจ
โคนันทิวิสาลจึงลากสัมภาระอันหนักไปได้
ทั้งยังทำให้พราหมณ์ได้ทรัพย์อีกด้วย
ส่วนตนเองก็ปลื้มใจ เพราะการช่วยเหลือนั้น
นันทิวิสาลชาดกที่ ๘ จบ
๙. กัณหชาดก (๒๙)
ว่าด้วยโคกัณหะ
(พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า พระตถาคตหาผู้เสมอเหมือนมิได้ทั้งใน
อดีตทั้งในปัจจุบัน จึงตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๒๙] ในที่ใด ๆ มีธุระหนัก ในที่ใดหนทางเป็นร่องลึก ขรุขระ
ในเวลานั้นแหละ ชนทั้งหลายจะเทียมโคกัณหะ
โคกัณหะนั้นแหละจะนำธุระอันนั้นไปได้
กัณหชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. มุนิกชาดก (๓๐)
ว่าด้วยหมูชื่อมุนิกะ
(โคโพธิสัตว์พูดกับน้องซึ่งมีความน้อยใจว่า เขาเลี้ยงด้วยหญ้าและฟาง เลี้ยง
สุกรด้วยข้าวต้มและข้าวสวย จึงกล่าวคาถานี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๔. กุลาวกวรรค ๑. กุลาวกชาดก (๓๑)
[๓๐] เธออย่าปรารถนาเป็นอย่างหมูมุนิกะเลย
หมูมุนิกะกินอาหารอันเป็นเหตุให้เดือดร้อน
เธอจงเป็นผู้ขวนขวายน้อย กินข้าวลีบเถิด
การกินข้าวลีบนี้เป็นเหตุให้มีอายุยืน
มุนิกชาดกที่ ๑๐ จบ
กุรุงควรรคที่ ๓ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้คือ
๑. กุรุงคมิคชาดก ๒. กุกกุรชาดก/r
๓. โภชาชานียชาดก ๔. อาชัญญชาดก/r
๕. ติตถชาดก ๖. มหิฬามุขชาดก/r
๗. อภิณหชาดก ๘. นันทิวิสาลชาดก/r
๙. กัณหชาดก ๑๐. มุนิกชาดก/r
๔. กุลาวกวรรค
หมวดว่าด้วยลูกนกครุฑ
๑. กุลาวกชาดก (๓๑)
ว่าด้วยลูกนกครุฑ
(ท้าวสักกะโพธิสัตว์ยอมสละชีวิตให้พวกอสูร ตรัสสั่งให้มาตลีเทพสารถีหันรถ
กลับเพราะกลัวลูกนกจะตายว่า)
[๓๑] มาตลีเทพบุตร ที่ต้นงิ้วมีลูกนกครุฑอยู่
เธอจงหันงอนรถกลับ เราประสงค์จะสละชีวิตให้พวกอสูร
ลูกนกพวกนี้อย่าได้แหลกลาญเลย
กุลาวกชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๔. กุลาวกวรรค ๔. มัจฉชาดก (๓๔)
๒. นัจจชาดก (๓๒)
ว่าด้วยนกยูงรำแพน
(พญาหงส์ทองไม่ยอมยกลูกสาวให้นกยูงที่ขาดหิริและโอตตัปปะ จึงกล่าวคาถา
นี้ในท่ามกลางฝูงนกว่า)
[๓๒] เสียงของเธอช่างไพเราะจับใจ แผ่นหลังก็สวยงาม
สร้อยคอก็เปรียบประดุจดังสีแก้วไพฑูรย์ และกำหางก็ยาวตั้งวา
เราจะไม่ให้ลูกสาวแก่เธอ เพราะการรำแพนหางร่ายรำ
นัจจชาดกที่ ๒ จบ
๓. สัมโมทมานชาดก (๓๓)
ว่าด้วยความร่าเริงบันเทิงใจ
(นายพรานนกจับนกกระจาบไม่ได้ถูกภรรยาต่อว่า จึงกล่าวว่า)
[๓๓] นกกระจาบทั้งหลายร่าเริงบันเทิงใจ
ช่วยกันบินพาเอาข่ายไปได้
เมื่อใดพวกมันทะเลาะกัน
เมื่อนั้นพวกมันจักมาสู่เงื้อมมือของเรา
สัมโมทมานชาดกที่ ๓ จบ
๔. มัจฉชาดก (๓๔)
ว่าด้วยพญาปลา
(พญาปลาติดข่ายกลัวภรรยาจะเข้าใจผิดและเบียดเบียนเอาจึงคร่ำครวญอยู่ จึง
กล่าวว่า)
[๓๔] ความเย็น ความร้อน และการติดอยู่ในข่าย
ไม่ได้เบียดเบียนให้เราได้รับทุกข์
เหมือนเรื่องที่นางปลาเข้าใจเราว่า ไปยินดีนางปลาตัวอื่นเลย
มัจฉชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๔. กุลาวกวรรค ๗. ติตติรชาดก (๓๑)
๕. วัฏฏกชาดก (๓๕)
ว่าด้วยนกคุ่มโพธิสัตว์
(นกคุ่มโพธิสัตว์เมื่อจะห้ามไฟป่า ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าในอดีต
ปรารภสัจจะที่มีอยู่ในตน เมื่อจะทำสัจจกิริยา จึงกล่าวว่า)
[๓๕] ปีกของเรามีอยู่แต่ยังบินไม่ได้
เท้าทั้ง ๒ ข้างของเรามีอยู่ก็ยังเดินไม่ได้
และมารดาบิดาของเราก็หนีภัยออกไปแล้ว
นี่ไฟป่า เจ้าจงถอยกลับไปเถิด
วัฏฏกชาดกที่ ๕ จบ
๖. สกุณชาดก (๓๖)
ว่าด้วยนกโพธิสัตว์
(นกโพธิสัตว์เห็นกิ่งไม้เสียดสีกันเกิดไฟป่า จึงกล่าวแก่นกยูงว่า)
[๓๖] นกทั้งหลายอาศัยต้นไม้ใด
ต้นไม้นั้นปล่อยไฟออกมา
นี่นกทั้งหลาย พวกเธอจงหนีไปยังทิศทั้งหลายเถิด
ภัยได้เกิดมีแต่ต้นไม้อันเป็นที่พึ่งของพวกเรา
สกุณชาดกที่ ๖ จบ
๗. ติตติรชาดก (๓๗)
ว่าด้วยนกกระทา
(พระศาสดาทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ไม่มีความเคารพยำเกรงต่อภิกษุผู้
แก่กว่า จึงตรัสว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๔. กุลาวกวรรค ๙. นันทชาดก (๓๙)
[๓๗] นรชนเหล่าใดฉลาดในธรรม๑
ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้เจริญ๒ทั้งหลาย
นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน
และมีสุคติภพในเบื้องหน้า
ติตติรชาดกที่ ๗ จบ
๘. พกชาดก (๓๘)
ว่าด้วยนกยาง
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์สถิตอยู่ที่ต้นกุ่ม ได้เห็นเหตุอัศจรรย์ที่นกยางถูกปูหนีบ
คอจมน้ำตาย เมื่อจะให้สาธุการ จึงกล่าวว่า)
[๓๘] ผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงผู้อื่น
จะพบความสุขอยู่ได้ไม่นาน
ผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงผู้อื่นนั้น
ต้องประสบบาปกรรมที่ตนทำไว้
เหมือนนกยางที่ถูกปูหนีบตาย
พกชาดกที่ ๘ จบ
๙. นันทชาดก (๓๙)
ว่าด้วยนายนันททาส
(กุฎุมพีโพธิสัตว์เมื่อจะบอกขุมทรัพย์แก่กุมารผู้เป็นลูกของเพื่อน จึงกล่าวว่า)
[๓๙] ทาสชื่อนันทะ เกิดจากนางทาสี ยืนพูดคำหยาบอยู่ที่ใด
เรารู้ว่ามีกองรัตนะและมาลัยทองอยู่ที่นั้น
นันทชาดกที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงความประพฤติยำเกรงต่อบุคคลผู้เจริญ (ขุ.ชา.อ. ๑/๓๗/๓๐๑)
๒ ผู้เจริญมี ๓ ประเภท คือ ( ๑) เจริญโดยชาติ (๒) เจริญโดยวัย (๓) เจริญโดยคุณ (ขุ.ชา.อ. ๑/๓๗/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัตถกามวรรค ๑. โลสกชาดก (๔๑)
๑๐. ขทิรังคารชาดก (๔๐)
ว่าด้วยหลุมถ่านเพลิงไม้ตะเคียน
(เศรษฐีโพธิสัตว์เมื่อจะให้มารผู้ประสงค์จะทำลายชีวิตพระปัจเจกพุทธเจ้า และ
ทำลายโรงทานทราบว่า ตัวท่านหรือมารมีกำลังมีอานุภาพมากกว่ากัน จึงกล่าว
คาถานี้กับพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า)
[๔๐] ข้าพเจ้าจะตกหลุมถ่านเพลิงมีเท้าชี้ขึ้น มีศีรษะปักลงก็ตามที
ข้าพเจ้าจะไม่ทำความชั่วอันเป็นกรรมไม่ประเสริฐอีก
ขอนิมนต์พระคุณเจ้ารับบิณฑบาตนี้เถิด
ขทิรังคารชาดกที่ ๑๐ จบ
กุลาวกวรรคที่ ๔ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุลาวกชาดก ๒. นัจจชาดก
๓. สัมโมทมานชาดก ๔. มัจฉชาดก
๕. วัฏฏกชาดก ๖. สกุณชาดก
๗. ติตติรชาดก ๘. พกชาดก
๙. นันทชาดก ๑๐. ขทิรังคารชาดก
๕. อัตถกามวรรค
หมวดว่าด้วยผู้ใคร่ประโยชน์
๑. โลสกชาดก (๔๑)
ว่าด้วยคนโลเลต้องเศร้าโศก
(พระโพธิสัตว์เล่าเรื่องนายมิตตวินทุกะที่ไม่ทำตามคำสอนของผู้หวังความเจริญ
จึงได้รับทุกข์แล้ว ได้กล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัตถกามวรรค ๓. เวฬุกชาดก (๔๓)
[๔๑] ผู้ใดที่คนอื่นผู้มีจิตเกื้อกูล อ่อนโยน กล่าวสอนอยู่
ไม่กระทำตามคำสอนของบุคคลผู้หวังความเจริญ
ผู้อนุเคราะห์ด้วยเหตุอันเป็นประโยชน์
ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก เหมือนมิตตวินทุกะจับขาแพะแล้วเศร้าโศกอยู่
โลสกชาดกที่ ๑ จบ
๒. กโปตกชาดก (๔๒)
ว่าด้วยนกพิราบเตือนกา
(นกพิราบโพธิสัตว์เห็นกาประสบความพินาศ จึงกล่าวว่า)
[๔๒] ผู้ใดอันบุคคลผู้หวังความเจริญ
อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล
กล่าวสอนอยู่ ก็ไม่ทำตามคำสั่งสอน
ผู้นั้นย่อมเศร้าโศกอยู่ร่ำไป
เหมือนกาไม่ทำตามคำของนกพิราบตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู
กโปตกชาดกที่ ๒ จบ
๓. เวฬุกชาดก (๔๓)
ว่าด้วยงูเวฬุกะ
(ดาบสโพธิสัตว์สั่งให้ทำการเผาดาบสที่ถูกงูกัดตายแล้ว จึงกล่าวสอนหมู่ฤๅษีว่า)
[๔๓] ผู้ใดที่คนอื่นผู้มีจิตเกื้อกูล อ่อนโยน กล่าวสอนอยู่
ไม่กระทำตามคำสอนของบุคคลผู้หวังความเจริญ
ผู้อนุเคราะห์ด้วยเหตุอันเป็นประโยชน์
ผู้นั้นย่อมถูกกำจัดนอนตายอยู่ เหมือนฤๅษีผู้เป็นบิดาของงูเวฬุกะ๑
เวฬุกชาดกที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า เวฬุก เป็นชื่อของไม้ไผ่ งูที่ได้ชื่อว่า เวฬุกะ เพราะนอนอยู่ในปล้องไม้ไผ่ (ขุ.ชา.อ. ๒/๔๓/๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัตถกามวรรค ๖. อารามทูสกชาดก (๔๖)
๔. มกสชาดก (๔๔)
ว่าด้วยลูกชายโง่ฆ่ายุง
(พ่อค้าโพธิสัตว์เห็นการกระทำของช่างไม้ผู้โง่เขลา จึงกล่าวว่า)
[๔๔] มีศัตรูผู้มีความรู้ยังประเสริฐกว่า
ส่วนมิตรผู้ไร้ปัญญาไม่ประเสริฐเลย
เพราะว่าลูกชายผู้โง่เขลาคิดว่า เราจักฆ่ายุง
ได้ทุบหัวของพ่อเสียแล้ว
มกสชาดกที่ ๔ จบ
๕. โรหิณีชาดก (๔๕)
ว่าด้วยนางโรหิณี
(พระโพธิสัตว์ทราบเรื่องที่สาวใช้ซี่งมารดาใช้ให้ไล่แมลงวันกลับใช้สากตีมารดา
จนสิ้นชีวิต จึงกล่าวว่า)
[๔๕] มีศัตรูผู้มีปัญญายังดีกว่ามีคนอนุเคราะห์ที่โง่
เธอจงดูนางโรหิณีชาติชั่ว ฆ่าแม่แล้วเศร้าโศกอยู่
โรหิณีชาดกที่ ๕ จบ
๖. อารามทูสกชาดก (๔๖)
ว่าด้วยลิงทำลายสวน
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตได้ฟังคำของลิง จึงกล่าวว่า)
[๔๖] ผู้ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถึงจะบำเพ็ญประโยชน์
ก็ไม่สามารถจะนำความสุขมาได้เลย
คนมีปัญญาทรามทำประโยชน์ให้เสียหาย เหมือนลิงเฝ้าสวน
อารามทูสกชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัตถกามวรรค ๙. นักขัตตชาดก (๔๙)
๗. วารุณิทูสกชาดก (๔๗)
ว่าด้วยผู้มีปัญญาทรามทำสุราให้เสีย
(พระโพธิสัตว์เล่าเรื่องคนโง่ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงกล่าวว่า)
[๔๗] ผู้ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถึงจะบำเพ็ญประโยชน์
ก็ไม่สามารถจะนำความสุขมาได้เลย
คนมีปัญญาทรามย่อมทำประโยชน์ให้เสียหาย
เหมือนนายโกณฑัญญะทำสุราให้เสีย
วารุณิทูสกชาดกที่ ๗ จบ
๘. เวทัพพชาดก (๔๘)
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อเวทัพพะ
(พระโพธิสัตว์คิดถึงเรื่องคนที่ปรารถนาความเจริญโดยวิธีที่ไม่สมควร ได้ประสบ
ความพินาศใหญ่หลวง จึงกล่าวว่า)
[๔๘] ผู้ใดปรารถนาประโยชน์โดยอุบายอันไม่แยบยล
ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน เหมือนโจรชาวแคว้นเจตะ
ฆ่าเวทัพพพราหมณ์แล้วถึงความพินาศทั้งหมด
เวทัพพชาดกที่ ๘ จบ
๙. นักขัตตชาดก (๔๙)
ว่าด้วยการถือฤกษ์ถือยาม
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเห็นชาวพระนครทะเลาะกันเรื่องฤกษ์ จึงกล่าวว่า)
[๔๙] ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลาที่มัวรอคอยฤกษ์ยามอยู่
ประโยชน์นั่นแหละเป็นฤกษ์ของประโยชน์
ดวงดาวทั้งหลายจักทำอะไรได้
นักขัตตชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัตถกามวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
๑๐. ทุมเมธชาดก (๕๐)
ว่าด้วยคนโง่
(พรหมทัตตกุมารโพธิสัตว์เมื่อจะประกาศเรื่องให้ควักหัวใจคนโง่ทำการบวงสรวง
เทวดา จึงกล่าวว่า)
[๕๐] การบูชายัญข้าพเจ้าได้บนไว้แล้วด้วยคนโง่ ๑,๐๐๐ คน
บัดนี้ คนที่ไม่ประพฤติธรรมมีอยู่เป็นจำนวนมาก
เราจักบูชายัญ
ทุมเมธชาดกที่ ๑๐ จบ
อัตถกามวรรคที่ ๕ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โลสกชาดก ๒. กโปตกชาดก
๓. เวฬุกชาดก ๔. มกสชาดก
๕. โรหิณีชาดก ๖. อารามทูสกชาดก
๗. วารุณิทูสกชาดก ๘. เวทัพพชาดก
๙. นักขัตตชาดก ๑๐. ทุมเมธชาดก
ปฐมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๖. อาสิงสวรรค ๓. ปุณณปาติชาดก (๕๓)
๖. อาสิงสวรรค
หมวดว่าด้วยความหวัง
๑. มหาสีลวชาดก (๕๑)
ว่าด้วยพระเจ้ามหาสีลวะ
(พระเจ้าสีลวมหาราชทรงดำริถึงผลของความเพียร จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[๕๑] เป็นคนต้องหวังร่ำไป คนฉลาดไม่ควรท้อแท้
เราเห็นตัวเองเป็นตัวอย่าง
ปรารถนาอย่างใดก็ได้อย่างนั้น
มหาสีลวชาดกที่ ๑ จบ
๒. จูฬชนกชาดก (๕๒)
ว่าด้วยพระจูฬชนก
(พระมหาชนกทรงดำริถึงผลของความเพียร จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[๕๒] เป็นคนต้องพยายามร่ำไป คนฉลาดไม่ควรท้อแท้
เราเห็นตัวเองเป็นตัวอย่าง
ถูกเขาช่วยให้ขึ้นจากน้ำมาบนบกได้
จูฬชนกชาดกที่ ๒ จบ
๓. ปุณณปาติชาดก (๕๓)
ว่าด้วยการลวงด้วยสุราเต็มไห
(เศรษฐีโพธิสัตว์เมื่อจะทำลายความพอใจของพวกนักเลง จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[๕๓] ไหเหล้ายังคงเต็มอยู่เช่นเดิม
การกล่าวยกย่องคงเป็นคำไม่จริง
เพราะอาการอย่างนี้ เราจึงรู้ว่า เหล้านี้ไม่ดีจริง
ปุณณปาติชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๖. อาสิงสวรรค ๕. ปัญจาวุธชาดก (๕๕)
๔. ผลชาดก (๕๔)
ว่าด้วยการรู้จักผลไม้
(พ่อค้าเกวียนโพธิสัตว์เล่าเรื่องที่ตนทราบว่าต้นไม้นั้นไม่ใช่ต้นมะม่วงด้วยเหตุ ๒
ประการ จึงกล่าวว่า)
[๕๔] ต้นไม้นี้คนขึ้นได้ไม่ยาก ทั้งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน
เพราะเหตุ ๒ ประการนี้ เราจึงรู้ได้ว่า ต้นไม้นี้มีผลไม่ดี
ผลชาดกที่ ๔ จบ
๕. ปัญจาวุธชาดก (๕๕)
ว่าด้วยพระกุมารผู้มีอาวุธ ๕ อย่าง
(พระศาสดาทรงประมวลพระธรรมเทศนา๑มาตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๕๕] นรชนใดมีจิตไม่ย่อท้อ มีใจไม่หดหู่
บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ๒
นรชนนั้นพึงบรรลุความสิ้นไปแห่งสังโยชน์๓ทั้งปวงได้โดยลำดับ
ปัญจาวุธชาดกที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ (ขุ.ชา.อ. ๒/๕๕/๕๒)
๒ โยคะ หมายถึงสภาวะที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ มี ๔ ประการ คือ
(๑) กามโยคะ โยคะคือกาม (๒) ภวโยคะ โยคะคือภพ
(๓) ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฏฐิ (๔) อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา
(ที.ปา. ๑๑/๓๕๔/๒๔๖, องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๑๐/๑๖)
๓ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ มี ๑๐ ประการ คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน (๒) วิจิกิจฉา ความสงสัย
(๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและพรต (๔) กามฉันทะ ความพอใจในกาม
(๕) พยาบาท ความคิดร้าย (๖) รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน
(๗) อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน (๘) มานะ ความถือตน
(๙) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (๑๐) อวิชชา ความไม่รู้จริง
(สํ.ม. ๑๙/๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๖. อาสิงสวรรค ๘. ตโยธัมมชาดก (๕๘)
๖. กัญจนักขันธชาดก (๕๖)
ว่าด้วยพระโพธิสัตว์แบ่งแท่งทอง
(พระผู้มีพระภาคทรงประมวลธรรมเทศนามาตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๕๖] นรชนใดมีจิตร่าเริง มีใจเบิกบาน
บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ
นรชนนั้นพึงบรรลุความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงได้โดยลำดับ
กัญจนักขันธชาดกที่ ๖ จบ
๗. วานรินทชาดก (๕๗)
ว่าด้วยพญาวานรพ้นศัตรู
(จระเข้กล่าวถึงบุคคลที่ประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ จึงปราบศัตรูได้ว่า)
[๕๗] พญาวานร ผู้ใดมีธรรม ๔ ประการนี้ คือ
(๑) สัจจะ (๒) ธรรมะ (๓) ธิติ (๔) จาคะ๑ เช่นกับท่าน
ผู้นั้นย่อมครอบงำศัตรูที่ตนพบเห็นได้
วานรินทชาดกที่ ๗ จบ
๘. ตโยธัมมชาดก (๕๘)
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการของพญาวานร
(รากษสชมเชยพระโพธิสัตว์ว่า)
[๕๘] พญาวานร ผู้ใดมีธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ
(๑) ความขยัน (๒) ความแกล้วกล้า (๓) ปัญญา
เช่นกับท่าน ผู้นั้นย่อมครอบงำศัตรูที่ตนพบเห็นได้
ตโยธัมมชาดกที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัจจะ หมายถึงวจีสัจจะ (พูดจริง) ธรรมะ หมายถึงปัญญาที่ใช้พิจารณาเหตุผล ธิติ หมายถึงความเพียร
ไม่ย่อหย่อน ไม่ขาดตอน จาคะ หมายถึงสละตน (ขุ.ชา.อ. ๒/๕๗/๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๖. อาสิงสวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
๙. เภริวาทกชาดก (๕๙)
ว่าด้วยการตีกลองเกินประมาณทำให้เสียทรัพย์
(ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในสกุลคนตีกลองได้กล่าวถึงวิธีตีกลองว่า)
[๕๙] เมื่อจะตีกลองก็ตีเถิด แต่อย่าตีให้เกินไป
เพราะการตีเกินไปเป็นความเสียหาย
ทรัพย์ตั้งร้อยที่เราได้มาเพราะการตีกลอง
ได้สูญเสียไปเพราะเจ้าตีเกินไป
เภริวาทกชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. สังขธมชาดก (๖๐)
ว่าด้วยการเป่าสังข์เกินประมาณทำให้เสียทรัพย์
(พระโพธิสัตว์เกิดในสกุลคนเป่าสังข์ เมื่อจะห้ามบิดาผู้เป่าสังข์ไม่หยุด จึงกล่าวว่า)
[๖๐] เมื่อจะเป่าสังข์ก็เป่าเถิด แต่อย่าเป่าให้เกินไป
เพราะการเป่ามากเกินไปเป็นความเสียหาย
พ่อเมื่อเป่าเกินไปจักทำสมบัติที่ได้มาเพราะการเป่าสังข์ให้พินาศไป
สังขธมชาดกที่ ๑๐ จบ
อาสิงสวรรคที่ ๖ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหาสีลวชาดก ๒. จูฬชนกชาดก
๓. ปุณณปาติชาดก ๔. ผลชาดก
๕. ปัญจาวุธชาดก ๖. กัญจนักขันธชาดก
๗. วานรินทชาดก ๘. ตโยธัมมชาดก
๙. เภริวาทกชาดก ๑๐. สังขธมชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๗. อิตถีวรรค ๓. ตักกปัณฑิตชาดก (๖๓)
๗. อิตถีวรรค
หมวดว่าด้วยหญิง
๑. อสาตมันตชาดก (๖๑)
ว่าด้วยอสาตมนต์
(มาณพผู้เป็นศิษย์ของพระโพธิสัตว์เห็นโทษของหญิง จึงประกาศความประสงค์
ของตนที่จะออกบวชว่า)
[๖๑] ขึ้นชื่อว่าหญิงในโลกนี้ไม่น่ายินดี
เพราะหญิงเหล่านั้นไม่มีขอบเขต มีแต่ความกำหนัด คะนอง
เหมือนเปลวไฟไหม้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้าพเจ้าจักละทิ้งหญิงทั้งหลายเหล่านั้นไปบวชเพิ่มพูนวิเวก
อสาตมันตชาดกที่ ๑ จบ
๒. อัณฑภูตชาดก (๖๒)
ว่าด้วยการไว้ใจภรรยาที่เลี้ยงมาตั้งแต่เกิด
(พระราชาโพธิสัตว์ตรัสกับพราหมณ์ปุโรหิตถึงหญิงผู้ปรารถนาชายคนเดียวไม่
มีว่า)
[๖๒] พราหมณ์ไม่รู้อุบายที่ภรรยาใช้ผ้าผูกหน้าแล้วใช้ให้ดีดพิณอยู่
ภรรยาที่เลี้ยงมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์(ยังทำได้เช่นนี้)
ใครจะพึงไว้ใจในภรรยาเหล่านั้นได้
อัณฑภูตชาดกที่ ๒ จบ
๓. ตักกปัณฑิตชาดก (๖๓)
ว่าด้วยตักกบัณฑิต
(พระศาสดาครั้นตรัสเล่าอดีตนิทานแล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๗. อิตถีวรรค ๖. มุทุลักขณชาดก (๖๖)
[๖๓] ธรรมดาหญิงมีนิสัยมักโกรธ อกตัญญู
มักพูดส่อเสียด ชอบทำลายมิตร
ภิกษุ เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ จักไม่เสื่อมจากสุข
ตักกปัณฑิตชาดกที่ ๓ จบ
๔. ทุราชานชาดก (๖๔)
ว่าด้วยภาวะของหญิงรู้ได้ยาก
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์หวังจะสอนพราหมณ์มาณพผู้เป็นศิษย์ จึงกล่าวว่า)
[๖๔] อย่าดีใจเลยว่าหญิงนี้ต้องการเรา
อย่าเสียใจไปเลยว่าหญิงนี้ไม่ต้องการเรา
ภาวะของหญิงรู้ได้ยาก เหมือนปลาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ
ทุราชานชาดกที่ ๔ จบ
๕. อนภิรติชาดก (๖๕)
ว่าด้วยบุรุษไม่ควรถือโกรธหญิง
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์หวังจะสอนศิษย์ จึงกล่าวว่า)
[๖๕] แม่น้ำ หนทาง โรงสุรา สภา
และบ่อน้ำดื่มเป็นฉันใด
ธรรมดาหญิงในโลกก็ฉันนั้น
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ถือโกรธเธอ
อนภิรติชาดกที่ ๕ จบ
๖. มุทุลักขณชาดก (๖๖)
ว่าด้วยพระโพธิสัตว์ปรารถนานางมุทุลักขณา
(ดาบสโพธิสัตว์เสื่อมจากฌานเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลแล้ว จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๗. อิตถีวรรค ๘. สาเกตชาดก (๖๘)
[๖๖] ครั้งก่อน เรายังไม่ได้พระนางมุทุลักขณา
ความปรารถนามีอยู่อย่างเดียว
เมื่อได้พระนางมุทุลักขณาผู้มีพระเนตรโตงดงาม
ความปรารถนาช่วยให้เกิดความต้องการขึ้นหลายอย่าง
มุทุลักขณชาดกที่ ๖ จบ
๗. อุจฉังคชาดก (๖๗)
ว่าด้วยหญิงหาบุตรหาสามีได้ง่ายเหมือนหาของที่ชายพก
(หญิงที่สามี บุตร และพี่ชายถูกราชบุรุษจับไปถวายพระราชา ทูลขอพี่ชาย
กลับคืน ถูกพระราชาตรัสถาม กราบทูลถึงเหตุที่บุตรและสามีหาได้ง่าย ส่วนพี่ชาย
หาได้ยากว่า)
[๖๗] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
บุตรหม่อมฉันหาได้ง่ายเหมือนเมี่ยงที่ชายพก
เมื่อหม่อมฉันเดินไปตามทาง สามีก็ยังหาได้ง่าย
แต่หม่อมฉันยังไม่เห็นสถานที่ที่จะนำพี่ชายผู้ร่วมอุทรมาได้เลย
อุจฉังคชาดกที่ ๗ จบ
๘. สาเกตชาดก (๖๘)
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าครั้งเสวยพระชาติเป็นบุตรพราหมณ์ชาวเมืองสาเกต
(พระศาสดาทรงเล่าเรื่องที่พระองค์ทรงเติบโตในมือของพราหมณ์และพราหมณี
๓,๐๐๐ ชาติ ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๖๘] บุคคลมีจิตเลื่อมใสและมีใจฝังแน่นอยู่ในบุคคลใด
บุคคลพึงสนิทสนมคุ้นเคยในบุคคลนั้น
แม้ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยพบเห็นกันเลย
สาเกตชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๗. อิตถีวรรค รวมชาดกที่มีในวรรคนี้
๙. วิสวันตชาดก (๖๙)
ว่าด้วยตายเสียดีกว่าดูดพิษกลับคืนเข้าไป
(งูถูกหมองูบังคับ ตอบหมองูแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๖๙] พิษที่คายออกแล้วนั้น น่าขยะแขยงเหลือเกิน
เราตายเสียยังดีกว่าการที่เราจะต้องดูดพิษ
ที่คายออกแล้วกลับคืนมาเพราะเหตุมีชีวิต
วิสวันตชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. กุททาลชาดก (๗๐)
ว่าด้วยกุททาลบัณฑิต
(ฤๅษีโพธิสัตว์ชื่อกุททาลบัณฑิตแสดงธรรมโปรดพระราชาว่า)
[๗๐] ความชนะใดที่บุคคลชนะแล้วกลับแพ้อีก
ความชนะนั้นไม่เป็นการชนะที่ดีเลย
ส่วนความชนะใดที่บุคคลชนะแล้วไม่กลับแพ้อีก
ความชนะนั้นเป็นการชนะที่ดี
กุททาลชาดกที่ ๑๐ จบ
อิตถีวรรคที่ ๗ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อสาตมันตชาดก ๒. อัณฑภูตชาดก
๓. ตักกปัณฑิตชาดก ๔. ทุราชานชาดก
๕. อนภิรติชาดก ๖. มุทุลักขณชาดก
๗. อุจฉังคชาดก ๘. สาเกตชาดก
๙. วิสวันตชาดก ๑๐. กุททาลชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๘. วรุณวรรค ๓. สัจจังกิรชาดก (๗๓)
๘. วรุณวรรค
หมวดว่าด้วยไม้กุ่ม
๑. วรุณชาดก (๗๑)
ว่าด้วยมาณพหักไม้กุ่ม
(พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ฟังการงานที่มาณพกระทำ จึงบอก
ถึงเหตุแห่งความเสื่อมว่า)
[๗๑] งานซึ่งควรทำก่อนเขาทำทีหลัง
เขาจะเดือดร้อนในภายหลัง เหมือนมาณพหักไม้กุ่ม
วรุณชาดกที่ ๑ จบ
๒. สีลวนาคชาดก (๗๒)
ว่าด้วยพญาช้างสีลวะ
(รุกขเทวดาสถิตอยู่ในไพรสณฑ์นั้นในเวลาที่คนชั่วถูกแผ่นดินสูบจึงกล่าวว่า)
[๗๒] คนอกตัญญูคอยจับผิดอยู่เป็นนิตย์
ถึงจะให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ทำให้เขาพึงพอใจไม่ได้
สีลวนาคชาดกที่ ๒ จบ
๓. สัจจังกิรชาดก (๗๓)
ว่าด้วยความจริงที่ได้ยินมา
(พระฤๅษีโพธิสัตว์ไม่คร่ำครวญไม่สะทกสะท้านในที่ตนถูกตีจึงกล่าวว่า)
[๗๓] ได้ยินว่า คนบางพวกในโลกนี้
ได้กล่าวความจริงไว้อย่างนี้ว่า ไม้ลอยน้ำยังดีกว่า
ส่วนคนบางคนที่ประทุษร้ายมิตรไม่ดีเลย
สัจจังกิรชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๘. วรุณวรรค ๖. อสังกิยชาดก (๗๖)
๔. รุกขธัมมชาดก (๗๔)
ว่าด้วยธรรมสำหรับต้นไม้
(พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่เหล่าเทวดาว่า)
[๗๔] ญาติยิ่งมีมากยิ่งดี
แม้ต้นไม้ที่เกิดในป่ายิ่งมีมากก็ยิ่งดี
ต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่โดดเดี่ยว
ถึงจะใหญ่โต ลมย่อมพัดให้หักโค่นได้
รุกขธัมมชาดกที่ ๔ จบ
๕. มัจฉชาดก (๗๕)
ว่าด้วยปลาอ้อนวอนขอฝน
(ปลาโพธิสัตว์เรียกพระเจ้าปัชชุนนเทพว่า)
[๗๕] ปัชชุนนเทพ ท่านจงร้องคำรามให้ฝนตกมา
ทำลายขุมทรัพย์ของฝูงกา ทำฝูงกาให้ได้รับความเศร้าโศก
และช่วยปลดเปลื้องข้าพเจ้าและหมู่ญาติ
ให้พ้นจากความเศร้าโศกเถิด
มัจฉชาดกที่ ๕ จบ
๖. อสังกิยชาดก (๗๖)
ว่าด้วยความไม่หวาดระแวง
(ฤๅษีโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่พวกพ่อค้าเกวียนว่า)
[๗๖] เราไม่มีความหวาดระแวงในหมู่บ้าน
ทั้งไม่มีความกลัวในป่า
เรามุ่งขึ้นสู่ทางตรงด้วยเมตตาและกรุณา
อสังกิยชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๘. วรุณวรรค ๙. ขรัสสรชาดก (๗๙)
๗. มหาสุปินชาดก (๗๗)
ว่าด้วยมหาสุบิน
(พระเจ้าพรหมทัตตรัสเล่าพระสุบินให้ดาบสโพธิสัตว์ฟังตามที่ได้ทรงสุบินว่า)
[๗๗] พญาโคอุสภะ หมู่ไม้ แม่โค โคผู้
ม้า ถาดทองคำ สุนัขจิ้งจอก หม้อน้ำ
สระโบกขรณี ข้าวไม่สุก แก่นจันทน์
น้ำเต้าจมน้ำ หินลอยน้ำ กบกลืนกินงูเห่า
หงส์ทองทั้งหลายแวดล้อมกา
เสือเหลืองกลัวแพะ
ความฝันเป็นไปโดยวิปริต
แต่ความฝันนั้นยังไม่เป็นจริงในยุคนี้
มหาสุปินชาดกที่ ๗ จบ
๘. อิลลิสชาดก (๗๘)
ว่าด้วยอิลลีสเศรษฐี
(ช่างตัดผมโพธิสัตว์ถูกพระราชาตรัสสั่งให้หาอิลลีสเศรษฐี เมื่อไม่สามารถจะ
นำอิลลีสเศรษฐีมาได้ จึงกราบทูลว่า)
[๗๘] คนทั้ง ๒ เป็นคนกระจอก เป็นคนง่อยเปลี้ย
เป็นคนตาเหล่ มีปมงอกที่ศีรษะ
ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้จักว่า คนไหนคืออิลลีสเศรษฐี
อิลลิสชาดกที่ ๘ จบ
๙. ขรัสสรชาดก (๗๙)
ว่าด้วยเสียงดังอึกทึกครึกโครม
(พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้ตำหนิกำนันผู้ร่วมมือกับพวกโจรปล้นชาวบ้านว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๘. วรุณวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
[๗๙] คราวใด ชาวบ้านถูกปล้น ฝูงโคถูกเชือด
บ้านเรือนถูกเผาวอดวาย ผู้คนถูกเกณฑ์ไป
คราวนั้น ลูกที่ถูกแม่ทอดทิ้ง๑
จึงมาตีกลองจนอึกทึกครึกโครม
ขรัสสรชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. ภีมเสนชาดก (๘๐)
ว่าด้วยท่านภีมเสนชอบคุยโวโอ้อวด
(จูฬธนุคคหบัณฑิตโพธิสัตว์กล่าวตำหนิภีมเสนผู้คุยโวโอ้อวดว่า)
[๘๐] ภีมเสน คำที่ท่านข่มขู่คุยโวไว้ในตอนแรก
แต่ภายหลังท่านถึงกับปัสสาวะราด
คำคุยโวถึงการรบและความกระสับกระส่ายของท่าน
ทั้ง ๒ อย่างนี้ช่างไม่สมกันเลย
ภีมเสนชาดกที่ ๑๐ จบ
วรุณวรรคที่ ๘ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วรุณชาดก ๒. สีลวนาคชาดก
๓. สัจจังกิรชาดก ๔. รุกขธัมมชาดก
๕. มัจฉชาดก ๖. อสังกิยชาดก
๗. มหาสุปินชาดก ๘. อิลลิสชาดก
๙. ขรัสสรชาดก ๑๐. ภีมเสนชาดก

เชิงอรรถ :
๑ ลูกที่ถูกแม่ทอดทิ้ง หมายถึงลูกที่ทำชั่ว เป็นคนหน้าด้าน เพราะขาดหิริโอตตัปปะ ชื่อว่าไม่มีแม่ ถึงแม่
ยังมีชีวิตอยู่ เขาก็ไม่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นลูก(ถูกตัดแม่ตัดลูก) (ขุ.ชา.อ. ๒/๗๙/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๙. อปายิมหวรรค ๓. กาฬกัณณิชาดก (๘๓)
๙. อปายิมหวรรค
หมวดว่าด้วยการดื่มสุรา
๑. สุราปานชาดก (๘๑)
ว่าด้วยโทษของการดื่มสุรา
(เหล่าดาบสถูกพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นอาจารย์ถาม จึงบอกเรื่องที่พวกตนดื่มสุรา
เมาแล้วพากันฟ้อนรำขับร้องว่า)
[๘๑] พวกกระผมได้พากันดื่ม พากันฟ้อนรำ พากันขับร้องแล้ว
ก็พากันร้องไห้ เพราะดื่มสุราที่ทำให้สัญญาวิปริต๑
แต่ยังดีที่ไม่ได้กลายเป็นลิงให้เห็น
สุราปานชาดกที่ ๑ จบ
๒. มิตตวินทชาดก (๘๒)
ว่าด้วยนายมิตตวินทะถูกจักรหินบดขยี้
(เทพบุตรโพธิสัตว์เห็นนายมิตตวินทะตกนรกจึงกล่าวว่า)
[๘๒] ท่านล่วงเลยปราสาทแก้วผลึก
ปราสาทเงิน และปราสาทแก้วมณีไปแล้ว
มาถูกจักรหินบดขยี้อยู่
ท่านจักไม่พ้นจากจักรหินตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่
มิตตวินทชาดกที่ ๒ จบ
๓. กาฬกัณณิชาดก (๘๓)
ว่าด้วยมิตรชื่อกาฬกัณณี
(เศรษฐีโพธิสัตว์พูดทัดทานพวกคนที่ให้ไล่มิตรออกจากเรือนว่า)

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาวิปริต หมายถึงความจำแปรปรวนจนลืมนึกถึงกิริยาอาการของตน (ขุ.ชา.อ. ๒/๘๑/๑๖๕-๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๙. อปายิมหวรรค ๕. กิมปักกชาดก (๘๕)
[๘๓] บุคคลชื่อว่าเป็นมิตรเพราะเดินร่วมกัน ๗ ก้าวเท่านั้น
ชื่อว่าเป็นสหายเพราะเดินร่วมกัน ๑๒ ก้าว
ชื่อว่าเป็นญาติเพราะอยู่ร่วมกัน ๑ เดือนหรือครึ่งเดือน
ชื่อว่าเสมอกับตนก็เพราะอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น
ข้าพเจ้านั้นจะพึงละทิ้งมิตรที่ชื่อกาฬกัณณีซึ่งสนิทสนมกันมานาน
เพราะเหตุแห่งความสุขส่วนตัวได้อย่างไร
กาฬกัณณิชาดกที่ ๓ จบ
๔. อัตถัสสทวารชาดก (๘๔)
ว่าด้วยช่องทางแห่งประโยชน์
(เศรษฐีโพธิสัตว์แก้ปัญหาของบุตรชายถามถึงช่องทางแห่งประโยชน์ว่า)
[๘๔] บุคคลควรปรารถนาลาภอย่างยิ่ง คือ
(๑) ความไม่มีโรค (๒) ศีล
(๓) การคล้อยตามความรู้ของท่านผู้ฉลาด (๔) การสดับตรับฟัง
(๕) การประพฤติสมควรแก่ธรรม (๖) ความที่จิตไม่หดหู่
คุณธรรม ๖ ประการนี้เป็นช่องทางหลักแห่งประโยชน์
อัตถัสสทวารชาดกที่ ๔ จบ
๕. กิมปักกชาดก (๘๕)
ว่าด้วยกามเปรียบเหมือนผลไม้มีพิษชื่อกิมปักกะ
(พระศาสดาตรัสเปรียบการบริโภคกามคุณเหมือนการบริโภคผลไม้มีพิษแก่
กุลบุตรผู้บวชถวายชีวิตว่า)
[๘๕] บุคคลใดไม่รู้จักโทษในอนาคตแล้วมัวแต่เสพกามอยู่
ในที่สุด กามทั้งหลายในคราวให้ผลย่อมขจัดบุคคลนั้น
เช่นเดียวกับผลไม้มีพิษชื่อกิมปักกะ๑ขจัดผู้บริโภค
กิมปักกชาดกที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิมปักกะ คือ ผลไม้มีพิษชนิดหนึ่งมีสีกลิ่นและรสน่ารับประทาน (ขุ.ชา.อ. ๒/๘๕/๑๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๙. อปายิมหวรรค ๗. มังคลชาดก (๘๗)
๖. สีลวีมังสกชาดก (๘๖)
ว่าด้วยการพิจารณาอานิสงส์ของศีล
(พระโพธิสัตว์ครั้งเสวยพระชาติเป็นปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต สรรเสริญศีล
ว่า)
[๘๖] ได้ยินว่า ศีลเป็นสิ่งที่ดีงาม
ศีลเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมในโลก
ดูเถิด นาคที่มีพิษร้ายแรงยังไม่เบียดเบียนใคร ๆ
เพราะสำนึกอยู่ว่า ตนมีศีล
สีลวีมังสกชาดกที่ ๖ จบ
๗. มังคลชาดก (๘๗)
ว่าด้วยการถอนมงคล
(พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ว่า)
[๘๗] ผู้ใดถอนทิฏฐิเรื่องมงคล
อุบาต๑ ความฝันและลักษณะได้แล้ว
ผู้นั้นล่วงพ้น
สิ่งอันเป็นมงคลและโทษทั้งปวง
ครอบงำกิเลสเป็นคู่ ๆ๒ และโยคะทั้ง ๒ ประการได้แล้ว
ไม่กลับมาเกิดอีก
มังคลชาดกที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุบาต ในที่นี้ หมายถึงมหาอุบาต ๕ ประการ คือ (๑) จันทคราส (ราหูอมพระจันทร์) (๒) สุริยคราส
(ราหูอมพระอาทิตย์) (๓) นักษัตรคราส (ราหูอมกลุ่มดาวหรือดวงชะตา) (๔) อุกกาบาต (๕) ราหู
จับลำขาว(ทางช้างเผือก)ในท้องฟ้า (ขุ.ชา.อ. ๒/๘๗/๑๘๑)
๒ กิเลสเป็นคู่ ๆ เช่น ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอเป็นต้น (ขุ.ชา.อ. ๒/๘๗/๑๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๙. อปายิมหวรรค ๑๐. อกตัญญุชาดก (๙๐)
๘. สารัมภชาดก (๘๘)
ว่าด้วยโคชื่อสารัมภะ
(พระศาสดาตรัสสารัมภชาดกแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๘๘] บุคคลควรพูดคำที่ดีงามเท่านั้น
ไม่ควรพูดคำที่ชั่วหยาบเลย
การพูดคำที่ดีงามเป็นการดี
บุคคลย่อมเดือดร้อนเพราะพูดคำชั่วหยาบ
สารัมภชาดกที่ ๘ จบ
๙. กุหกชาดก (๘๙)
ว่าด้วยดาบสโกหก
(พระโพธิสัตว์ติเตียนดาบสโกหกว่า)
[๘๙] ถ้อยคำของท่านช่างไพเราะอ่อนหวานเสียนี่กระไร
ท่านรังเกียจกระทั่งหญ้าเส้นเดียว
แต่เมื่อขโมยทองคำไปตั้ง ๑๐๐ แท่ง กลับไม่รังเกียจเลย
กุหกชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. อกตัญ�ุชาดก (๙๐)
ว่าด้วยคนอกตัญ�ู
(เศรษฐีโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่บริษัทว่า)
[๙๐] ผู้ใดไม่รู้จักคุณความดีและประโยชน์ที่ผู้อื่นกระทำไว้ก่อน
ผู้นั้นเมื่อกิจการงานเกิดขึ้นในภายหลังย่อมหาผู้ช่วยเหลือไม่ได้
อกตัญ�ุชาดกที่ ๑๐ จบ
อปายิมหวรรคที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ลิตตวรรค ๒. มหาสารชาดก (๙๒)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุราปานชาดก ๒. มิตตวินทชาดก
๓. กาฬกัณณิชาดก ๔. อัตถัสสทวารชาดก
๕. กิมปักกชาดก ๖. สีลวีมังสกชาดก
๗. มังคลชาดก ๘. สารัมภชาดก
๙. กุหกชาดก ๑๐. อกตัญ�ุชาดก
๑๐. ลิตตวรรค
หมวดว่าด้วยลูกสกาเคลือบยาพิษ
๑. ลิตตชาดก (๙๑)
ว่าด้วยลูกสกาเคลือบยาพิษ
(นักสกาโพธิสัตว์เตือนนักเลงสกาโกงว่า)
[๙๑] บุรุษกลืนลูกสกาที่เคลือบยาพิษอย่างแรงกล้าก็ยังไม่รู้ตัว
เฮ้ย เจ้านักเลงชั่ว เจ้าจงกลืนเข้าไป
พิษร้ายแรงจักออกฤทธิ์แก่เจ้าในภายหลัง
ลิตตชาดกที่ ๑ จบ
๒. มหาสารชาดก (๙๒)
ว่าด้วยต้องการคนที่เหมาะสมกับเหตุการณ์
(พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์ผู้เป็นอำมาตย์ว่า)
[๙๒] เมื่อถึงยามคับขันประชาชนต้องการผู้กล้าหาญ
เมื่อถึงคราวปรึกษางานต้องการผู้ที่ไม่พูดพล่าม
ยามมีข้าวน้ำต้องการผู้เป็นที่รัก
ยามเกิดปัญหาต้องการบัณฑิต
มหาสารชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ลิตตวรรค ๕. มหาสุทัสสนชาดก (๙๕)
๓. วิสสาสโภชนชาดก (๙๓)
ว่าด้วยภัยเกิดจากคนผู้คุ้นเคยกัน
(เศรษฐีโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่บริษัทว่า)
[๙๓] บุคคลไม่ควรไว้วางใจในบุคคลที่ไม่คุ้นเคยกัน
แม้ในบุคคลที่คุ้นเคยกันก็ไม่พึงไว้วางใจ
ภัยย่อมมีมาจากบุคคลผู้คุ้นเคยกัน
เหมือนภัยจากแม่เนื้อมาถึงสีหะ
วิสสาสโภชนชาดกที่ ๓ จบ
๔. โลมหังสชาดก (๙๔)
ว่าด้วยการอยู่ในป่าที่น่าสะพรึงกลัว
(คาถานี้ได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่นักบวชชีเปลือยโพธิสัตว์ว่า)
[๙๔] เราเร่าร้อนแล้วเปียกชุ่มอยู่ในป่าอันน่าสะพรึงกลัวผู้เดียว
เปลือยกายไม่ได้ผิงไฟ เป็นมุนีขวนขวายในการแสวงหาพรหมจรรย์
โลมหังสชาดกที่ ๔ จบ
๕. มหาสุทัสสนชาดก (๙๕)
ว่าด้วยพระเจ้ามหาสุทัศนะ
(พระราชาโพธิสัตว์ทรงพระนามว่ามหาสุทัศนะเมื่อจะสอนสุภัททาเทวี จึงตรัส
คาถานี้ว่า)
[๙๕] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
การเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข
มหาสุทัสสนชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ลิตตวรรค ๘. กูฏวาณิชชาดก (๙๘)
๖. เตลปัตตชาดก (๙๖)
ว่าด้วยการรักษาจิตเหมือนการรักษาภาชนะน้ำมัน
(พระศาสดาทรงประมวลเรื่องในอดีตมาสาธก ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๙๖] บุคคลเมื่อปรารถนาจะไปสู่ทิศทางที่ยังไม่เคยไป
พึงตามรักษาจิตของตนด้วยสติ
เหมือนบุคคลประคับประคองภาชนะ
ที่มีน้ำมันเต็มเปี่ยมไม่ให้หก
เตลปัตตชาดกที่ ๖ จบ
๗. นามสิทธิชาดก (๙๗)
ว่าด้วยชื่อไม่เป็นของสำคัญ
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์เปรียบเทียบเรื่องที่นายปาปกะผู้เป็นศิษย์ต้องการ
เปลี่ยนชื่อเพราะเป็นอัปปมงคลที่เขาเห็นมาและกรรมที่เขาทำ จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[๙๗] เพราะเห็นคนชื่อเป็นได้ตายไป หญิงชื่อมีทรัพย์กลับตกยาก
และคนชื่อว่านักเดินทางแต่กลับหลงทางอยู่ในป่า
นายปาปกะจึงได้กลับมา
นามสิทธิชาดกที่ ๗ จบ
๘. กูฏวาณิชชาดก (๙๘)
ว่าด้วยพ่อค้าโกงถูกไฟคลอก
(บิดาของอติบัณฑิตถูกไฟเผาจึงทะลึ่งขึ้นข้างบน คว้ากิ่งไม้โหนแล้วกระโจนลง
ดิน พลางกล่าวว่า)
[๙๘] ธรรมดาบัณฑิต(คนฉลาด)เป็นคนดี
ส่วนคนชื่ออติบัณฑิต(แสนฉลาด)ไม่ดีเลย
เราถูกไฟคลอกหน่อยหนึ่ง เพราะบุตรของเราที่ชื่ออติบัณฑิต
กูฏวาณิชชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ลิตตวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
๙. ปโรสหัสสชาดก (๙๙)
ว่าด้วยคนมีปัญญาคนเดียวประเสริฐกว่าคนโง่ตั้ง ๑,๐๐๐
(ฤๅษีโพธิสัตว์ทราบเหตุที่พวกอันธพาลไม่เชื่อศิษย์หัวหน้า จึงกล่าวบรรยาย
อานุภาพของตนว่า)
[๙๙] บรรดาพวกที่มาประชุมกัน ๑,๐๐๐ กว่าคน
พวกเขาเป็นคนไม่มีปัญญา พึงคร่ำครวญตลอด ๑๐๐ ปี
คนมีปัญญารู้แจ้งเนื้อความที่เรากล่าวแล้ว
เพียงคนเดียวเท่านั้นยังประเสริฐกว่า
ปโรสหัสสชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. อสาตรูปชาดก (๑๐๐)
ว่าด้วยสิ่งที่ครอบงำคนขาดสติ
(พระศาสดาทรงประมวลเรื่องในอดีตมา ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๑๐๐] สิ่งที่ไม่น่ายินดีย่อมครอบงำคนประมาทด้วยอาการที่น่ายินดี
สิ่งที่ไม่น่ารักย่อมครอบงำคนประมาทด้วยอาการที่น่ารัก
สิ่งที่เป็นทุกข์ย่อมครอบงำคนที่ประมาทด้วยอาการแห่งความสุข
อสาตรูปชาดกที่ ๑๐ จบ
ลิตตวรรคที่ ๑๐ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ลิตตชาดก ๒. มหาสารชาดก
๓. วิสสาสโภชนชาดก ๔. โลมหังสชาดก
๕. มหาสุทัสสนชาดก ๖. เตลปัตตชาดก
๗. นามสิทธิชาดก ๘. กูฏวาณิชชาดก
๙. ปโรสหัสสชาดก ๑๐. อสาตรูปชาดก
มัชฌิมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. ปโรสตวรรค ๓. เวริชาดก (๑๐๓)
๑๑. ปโรสตวรรค
หมวดว่าด้วยคนเกินร้อย
๑. ปโรสตชาดก (๑๐๑)
ว่าด้วยคนมีปัญญาคนเดียวประเสริฐกว่าคนไม่มีปัญญา ๑๐๐ กว่าคน
(พระศาสดาทรงประมวลเรื่องในอดีตมา ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๑๐๑] บรรดาพวกที่มาประชุมกัน ๑๐๐ กว่าคน
พวกเขาเป็นคนไม่มีปัญญา ถึงจะเพ่งพินิจอยู่ตลอด ๑๐๐ ปี
คนมีปัญญารู้แจ้งเนื้อความที่เรากล่าวแล้ว
เพียงคนเดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า
ปโรสตชาดกที่ ๑ จบ
๒. ปัณณิกชาดก (๑๐๒)
ว่าด้วยอุบาสกชื่อปัณณิกะ
(ลูกสาวของอุบาสกชาวกรุงพาราณสีพอถูกบิดาจับมือเพื่อลองใจก็ร่ำไห้ พลาง
กล่าวว่า)
[๑๐๒] ยามเมื่อฉันมีความทุกข์
คนที่เป็นที่พึ่งคือบิดาของฉันเอง แต่กลับประทุษร้ายฉันในป่า
ฉันจะคร่ำครวญหาใครเล่าในท่ามกลางป่า
คนที่จะช่วยเหลือฉันได้กลับทำกรรมที่น่าบัดสีเสียเอง
ปัณณิกชาดกที่ ๒ จบ
๓. เวริชาดก (๑๐๓)
ว่าด้วยการอยู่ร่วมกับคนเป็นคู่เวรกันเป็นทุกข์
(มหาเศรษฐีโพธิสัตว์หนีพวกโจรได้อย่างปลอดภัย จึงกล่าวอุทานว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. ปโรสตวรรค ๕. ทุพพลกัฏฐชาดก (๑๐๕)
[๑๐๓] บัณฑิตไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่คนคู่เวรกันอยู่
เพราะบุคคลเมื่ออยู่ในระหว่างคนเป็นคู่เวรกัน
คืนหนึ่งหรือสองคืนก็ตามย่อมอยู่เป็นทุกข์
เวริชาดกที่ ๓ จบ
๔. มิตตวินทชาดก (๑๐๔)
ว่าด้วยนายมิตตวินทะตกนรกเพราะความโลภ
(พระโพธิสัตว์เห็นนายมิตตวินทะตกนรก จึงกล่าวพระคาถานี้ว่า)
[๑๐๔] ท่านเมื่อมีความปรารถนามากเกินไป
ได้ครอบครองนารี ๔ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๔
ได้ครอบครองนารี ๘ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๘
ได้ครอบครองนารี ๑๖ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๑๖
ได้ครอบครองนารี ๓๒ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๓๒
จึงได้ประสบจักร
จักรจึงพัดผันอยู่ที่ศีรษะของท่าน
ผู้ถูกความปรารถนามากเกินไปขจัดแล้ว
มิตตวินทชาดกที่ ๔ จบ
๕. ทุพพลกัฏฐชาดก (๑๐๕)
ว่าด้วยช้างกลัวต้นไม้แห้ง
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์เห็นช้างกลัวตายได้ยินเสียงลมพัดใบไม้แห้งก็วิ่งหนี จึง
กล่าวว่า)
[๑๐๕] ลมพัดต้นไม้แห้งที่ผุกร่อนในป่าให้หักลงเป็นจำนวนมาก
นี่ช้าง ถ้าเธอยังมัวแต่กลัวต้นไม้แห้งนั้น
ก็จักซูบผอมเป็นแน่
ทุพพลกัฏฐชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. ปโรสตวรรค ๘. พาหิยชาดก (๑๐๘)
๖. อุทัญจนีชาดก (๑๐๖)
ว่าด้วยนางอุทัญจนี
(ดาบสผู้เป็นบุตรของพระโพธิสัตว์อดทนต่อการเคี่ยวเข็ญของนางอุทัญจนีไม่
ไหวหนีไปหาบิดาแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๐๖] นางโจรชื่ออุทัญจนีเบียดเบียนข้าพเจ้า
ผู้อยู่อย่างสบายให้เดือดร้อน
เพราะเรียกตนเองว่าเป็นภรรยาจึงร้องขอน้ำมันและเกลือ
อุทัญจนีชาดกที่ ๖ จบ
๗. สาลิตตกชาดก (๑๐๗)
ว่าด้วยศิลปะในการดีดก้อนกรวด
(อำมาตย์โพธิสัตว์เข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลลาไปเรียนศิลปะว่า)
[๑๐๗] ขึ้นชื่อว่าศิลปะแม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
ก็สามารถให้สำเร็จประโยชน์ได้โดยแท้
ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรหมู่บ้านในทิศทั้ง ๔
ที่คนง่อยได้แล้วเพราะการดีดมูลแพะ
สาลิตตกชาดกที่ ๗ จบ
๘. พาหิยชาดก (๑๐๘)
ว่าด้วยศิลปะของหญิงสาวบ้านนอก
(พระโพธิสัตว์กราบทูลคุณค่าแห่งศิลปะที่ควรศึกษาว่า)
[๑๐๘] บุคคลควรศึกษาศิลปะทั้งหลายที่ควรศึกษา
ชนทั้งหลายที่พอใจในศิลปะเหล่านั้นยังมีอยู่
เพราะว่าหญิงสาวบ้านนอกก็ยังทำพระราชาให้พอพระทัย
ด้วยความเอียงอายของเธอ
พาหิยชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. ปโรสตวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
๙. กุณฑปูวชาดก (๑๐๙)
ว่าด้วยเทวดากินพลีกรรมที่ทำจากรำข้าว
(เทวดาโพธิสัตว์สถิตเหนือค่าคบไม้พูดกับคนยากจนคนหนึ่งผู้มาทำพลีกรรมว่า)
[๑๐๙] คนบริโภคอย่างไร เทวดาของเขาก็บริโภคอย่างนั้น
ท่านจงนำขนมที่ทำด้วยรำข้าวมา
อย่าให้ส่วนของข้าพเจ้าเสียหายเลย
กุณฑปูวชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. สัพพสังหารกปัญหชาดก (๑๑๐)
ว่าด้วยการพูดของหญิง ๒ ประเภท
(พระโพธิสัตว์ขัดสีเครื่องประดับอยู่เมื่อรู้ว่าดอกประยงค์บานแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๑๐] กลิ่นเครื่องอบทั้งปวงไม่มี
มีแต่กลิ่นดอกประยงค์ล้วน ๆ ฟุ้งไป
หญิงนักเลงคนนี้พูดแต่คำเหลาะแหละ
ส่วนหญิงผู้ใหญ่พูดแต่คำสัตย์
สัพพสังหารกปัญหชาดกที่ ๑๐ จบ
ปโรสตวรรคที่ ๑๑ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปโรสตชาดก ๒. ปัณณิกชาดก
๓. เวริชาดก ๔. มิตตวินทชาดก
๕. ทุพพลกัฏฐชาดก ๖. อุทัญจนีชาดก
๗. สาลิตตกชาดก ๘. พาหิยชาดก
๙. กุณฑปูวชาดก ๑๐. สัพพสังหารกปัญหชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. หังสิวรรค ๕. อนุสาสิกชาดก (๑๑๕)
๑๒. หังสิวรรค
หมวดว่าด้วยการเยาะเย้ย
๑. คัทรภปัญหชาดก (๑๑๑)
ว่าด้วยปัญหาเรื่องลากับม้าอัสดร
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลพระราชาว่า)
[๑๑๑] ขอเดชะ พระมหาราชผู้ประเสริฐ
ถ้าพระองค์ทรงสำคัญว่าบิดาประเสริฐกว่าบุตร
ลาตัวนี้ก็ประเสริฐกว่าม้าอัสดร
เพราะว่า ลาเป็นพ่อม้าอัสดรของพระองค์
คัทรภปัญหชาดกที่ ๑ จบ
๒. อมราเทวีปัญหชาดก (๑๑๒)
ว่าด้วยพระนางอมราเทวี
(พระนางอมราเทวีบอกใบ้ทางไปบ้านแก่พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตว่า)
[๑๑๒] ร้านขายข้าวสัตตุ ร้านขายน้ำส้มสายชู
และต้นทองหลางใบซ้อนที่มีดอกบานสะพรั่งมีอยู่ ณ ที่ใด
ท่านจงไป ณ ที่นั้น
ดิฉันถือภาชนะข้าวยาคูด้วยมือใด ดิฉันบอกทางด้วยมือนั้น
ไม่ได้ถือภาชนะข้าวยาคูด้วยมือใด ไม่ได้บอกทางด้วยมือนั้น
หนทางนั้นเป็นหนทางไปสู่บ้านของดิฉัน
ซึ่งตั้งอยู่ในบ้านอุตตรยวมัชฌคาม
ขอท่านจงทราบหนทางที่ดิฉันกล่าวเป็นปริศนานั้นเองเถิด
อมราเทวีปัญหชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. หังสิวรรค ๕. อนุสาสิกชาดก (๑๑๕)
๓. สิงคาลชาดก (๑๑๓)
ว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัขจิ้งจอก
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์ยืนอยู่ที่ค่าคบต้นไม้แล้วกล่าวว่า)
[๑๑๓] นี่พ่อพราหมณ์ ท่านเชื่อสุนัขจิ้งจอกที่ดื่มสุราหรือ
คนมีศิลปะหาสัก ๑๐๐ กหาปณะยังไม่มี
สุนัขจิ้งจอกที่ไหนจะมีถึง ๒๐๐ กหาปณะเล่า
สิงคาลชาดกที่ ๓ จบ
๔. มิตจินติชาดก (๑๑๔)
ว่าด้วยปลามิตจินตีช่วยปลาให้พ้นข่าย
(พระศาสดาทรงประมวลเรื่องอดีตมา ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๑๑๔] ปลาชื่อพหุจินตีและปลาชื่ออัปปจินตี
ทั้ง ๒ ตัวติดอยู่ในข่าย
ปลาชื่อมิตจินตีได้ช่วยให้หลุดพ้นจากข่าย
ปลาทั้ง ๒ ตัวจึงได้มาพร้อมกันกับปลามิตจินตีในน่านน้ำนั้น
มิตจินติชาดกที่ ๔ จบ
๕. อนุสาสิกชาดก (๑๑๕)
ว่าด้วยดีแต่สอนคนอื่น
(หัวหน้านกโพธิสัตว์กล่าวตำหนินางนกป่าว่า)
[๑๑๕] นางนกป่าชื่ออนุสาสิกา
พร่ำสอนนกเหล่าอื่นอยู่เนืองนิตย์
แต่ตนเองกลับโลภจัด
จึงถูกล้อรถบดขยี้ขาดเป็น ๒ ท่อนนอนอยู่ที่หนทางใหญ่
อนุสาสิกชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. หังสิวรรค ๘. วัฏฏกชาดก (๑๑๘)
๖. ทุพพจชาดก (๑๑๖)
ว่าด้วยคนที่ว่ากล่าวได้ยาก
(นักระบำโพธิสัตว์กล่าวกับอาจารย์ผู้ไม่เชื่อคำของบัณฑิตว่า)
[๑๑๖] ท่านอาจารย์ ท่านทำการเกินกว่าที่จะทำได้
การกระทำนั้นไม่เป็นที่พอใจผมเลย
ท่านกระโดดข้ามพ้นหอกเล่มที่ ๔ ได้แล้ว
ถูกหอกเล่มที่ ๕ ทิ่มแทง
ทุพพจชาดกที่ ๖ จบ
๗. ติตติรชาดก (๑๑๗)
ว่าด้วยนกกระทา
(ดาบสโพธิสัตว์ชี้เหตุ ๒ ประการที่ทำให้นกกระทาถูกฆ่าว่า)
[๑๑๗] คำพูดที่ดังเกินไป รุนแรงเกินไป และพูดเกินเวลา
ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
เหมือนเสียงฆ่านกกระทาที่ขันดังเกินไป
ติตติรชาดกที่ ๗ จบ
๘. วัฏฏกชาดก (๑๑๘)
ว่าด้วยนกกระจาบ
(นกกระจาบโพธิสัตว์บอกอุบายที่รอดชีวิตมาได้ว่า)
[๑๑๘] คนเมื่อไม่คิดก็ไม่ได้บรรลุคุณธรรมวิเศษ
ท่านจงดูผลกรรมที่เราคิดแล้ว
เราพ้นแล้วจากการถูกฆ่า
และการจองจำด้วยอุบายนั้น
วัฏฏกชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. หังสิวรรค ๑๐. พันธนโมกขชาดก (๑๒๐)
๙. อกาลราวิชาดก (๑๑๙)
ว่าด้วยไก่ที่ขันไม่ถูกเวลา
(ปุโรหิตโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๑๙] ไก่ตัวนี้มิได้เจริญเติบโตอยู่กับพ่อแม่
มิได้อยู่ศึกษาในสำนักของอาจารย์
จึงไม่รู้เวลาที่ควรขันและไม่ควรขัน
อกาลราวิชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. พันธนโมกขชาดก (๑๒๐)
ว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องจองจำ
(ปุโรหิตโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๒๐] สถานที่ที่คนพาลเอ่ยปากขึ้น
คนที่ไม่ควรถูกจองจำก็ถูกจองจำ
สถานที่ที่นักปราชญ์เอ่ยปากขึ้น
แม้คนที่ถูกจองจำก็รอดพ้น
พันธนโมกขชาดกที่ ๑๐ จบ
หังสิวรรคที่ ๑๒ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. คัทรภปัญหชาดก ๒. อมราเทวีปัญหชาดก
๓. สิงคาลชาดก ๔. มิตจินติชาดก
๕. อนุสาสิกชาดก ๖. ทุพพจชาดก
๗. ติตติรชาดก ๘. วัฏฏกชาดก
๙. อกาลราวิชาดก ๑๐. พันธนโมกขชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๓. กุสนาฬิวรรค ๓. นังคลีสชาดก (๑๒๓)
๑๓. กุสนาฬิวรรค
หมวดว่าด้วยกอหญ้า
๑. กุสนาฬิชาดก (๑๒๑)
ว่าด้วยเทวดาที่ต้นรุจาผูกมิตรกับเทวดาที่กอหญ้า
(รุกขเทวดาสรรเสริญมิตตธรรมของพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๒๑] บุคคลเสมอกัน ประเสริฐกว่ากัน
หรือเลวกว่ากันก็ตาม ก็ควรทำมิตรไมตรีกันไว้
เพราะว่า มิตรเหล่านั้นเมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น
ก็พึงทำประโยชน์อันอุดมให้ได้
เหมือนเราผู้เป็นเทวดาสถิตอยู่ที่ต้นรุจา
กับเทวดาผู้สถิตอยู่ที่กอหญ้าทำมิตรไมตรีกัน
กุสนาฬิชาดกที่ ๑ จบ
๒. ทุมเมธชาดก (๑๒๒)
ว่าด้วยคนมีปัญญาทราม
(นายควาญช้างกราบทูลพระราชาว่า)
[๑๒๒] คนมีปัญญาทรามได้ยศแล้ว
ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
ปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ทุมเมธชาดกที่ ๒ จบ
๓. นังคลีสชาดก (๑๒๓)
ว่าด้วยคนโง่สำคัญนมส้มว่าเหมือนงอนไถ
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์คิดถึงเหตุที่ไม่อาจให้คนมีปัญญาอ่อนศึกษาได้ จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๓. กุสนาฬิวรรค ๕. กฏาหกชาดก (๑๒๕)
[๑๒๓] คนโง่กล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว
ในเหตุการณ์ทุกอย่าง ในที่ทุกสถาน
เขาไม่รู้จักนมส้มและงอนไถ
สำคัญนมส้มและนมสดว่าเหมือนงอนไถ
นังคลีสชาดกที่ ๓ จบ
๔. อัมพชาดก (๑๒๔)
ว่าด้วยดาบสฉันมะม่วง
(ฤๅษีโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุที่ดาบส ๕๐๐ อาศัยดาบสผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรเป็นอยู่
จึงกล่าวว่า)
[๑๒๔] คนฉลาดควรพยายามร่ำไป
ไม่ควรเบื่อหน่าย
ท่านจงดูผลแห่งความพยายาม
ผลไม้มีมะม่วงเป็นต้นที่พวกฤาษีได้ฉัน
โดยมิได้ออกปากเนือง ๆ
อัมพชาดกที่ ๔ จบ
๕. กฏาหกชาดก (๑๒๕)
ว่าด้วยทาสชื่อกฏาหกะ
(ธิดาเศรษฐีกล่าวคาถานี้โดยทำนองที่เรียนมาในสำนักพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๒๕] บุคคลไปยังชนบทอื่นแล้ว
กล่าวข่มขู่โอ้อวดไว้มากมาย
เจ้ากฏาหกะ นายของเจ้าจะติดตามมาประทุษร้าย
เจ้าจงใช้สอยสมบัติเถิด
กฏาหกชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๓. กุสนาฬิวรรค ๘. พิฬารวตชาดก (๑๒๘)
๖. อสิลักขณชาดก (๑๒๖)
ว่าด้วยผู้รู้ลักษณะดาบ
(พระราชาทรงพระสรวลต่อพราหมณ์ ได้ตรัสบอกเหตุที่พระองค์ทรงจามแล้ว
ได้พระราชธิดาและได้ราชสมบัติว่า)
[๑๒๖] เหตุการณ์อย่างเดียวกันนั้นนั่นแหละเป็นผลดีแก่คนหนึ่ง
แต่กลับเป็นผลร้ายแก่อีกคนหนึ่ง
เพราะฉะนั้น เหตุการณ์อย่างเดียวกันนั้นนั่นแหละ
มิใช่จะเป็นผลดีไปทั้งหมด หรือมิใช่จะเป็นผลร้ายไปทั้งหมด
อสิลักขณชาดกที่ ๖ จบ
๗. กลัณฑุกชาดก (๑๒๗)
ว่าด้วยชาติกำเนิดของนายกลัณฑุกะ
(ลูกนกแขกเต้าโพธิสัตว์กล่าวเตือนทาสกลัณฑุกะว่า)
[๑๒๗] เราเที่ยวอยู่ในป่ายังรู้ชาติกำเนิดของเจ้าได้
นายของเจ้าทราบแน่ชัดแล้วต้องจับเจ้าไป
เจ้ากลัณฑุกะ เจ้าจงดื่มนมสดเสียเถิด
กลัณฑุกชาดกที่ ๗ จบ
๘. พิฬารวตชาดก (๑๒๘)
ว่าด้วยวัตรของแมว
(พญาหนูโพธิสัตว์กล่าวตำหนิสุนัขจิ้งจอกว่า)
[๑๒๘] ผู้ใดกล่าวเชิดชูธรรมให้เป็นธงชัย
ล่อลวงให้เหล่าสัตว์ตายใจแล้วซ่อนตนประพฤติชั่ว
ความประพฤติของผู้นั้นชื่อว่าเป็นความประพฤติของแมว
พิฬารวตชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๓. กุสนาฬิวรรค ๑๐. โกสิยชาดก (๑๓๐)
๙. อัคคิกชาดก (๑๒๙)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกชื่ออัคคิกะ
(พญาหนูโพธิสัตว์กล่าวติเตียนสุนัขจิ้งจอกว่า)
[๑๒๙] ปอยผมนี้มิได้มีไว้เพราะเหตุแห่งบุญ
มีไว้เพราะเป็นเลสอ้างเพื่อการหากิน
หมู่หนูมีไม่ครบตามจำนวนหาง
อัคคิกะ พอกันทีเถิดสำหรับท่าน
อัคคิกชาดกที่ ๙ จบ
๑๐. โกสิยชาดก (๑๓๐)
ว่าด้วยนางพราหมณีชื่อโกสิยา
(มาณพกล่าวเตือนนางพราหมณีว่า)
[๑๓๐] นี่นางโกสิยา เธอจงกินยาให้สมกับที่อ้างว่าป่วย
และจงพูดให้สมกับอาหารที่กินเข้าไป
คำพูดกับอาหารที่เธอกินทั้ง ๒ อย่างไม่สมกันเลย
โกสิยชาดกที่ ๑๐ จบ
กุสนาฬิวรรคที่ ๑๓ จบ
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุสนาฬิชาดก ๒. ทุมเมธชาดก
๓. นังคลีสชาดก ๔. อัมพชาดก
๕. กฏาหกชาดก ๖. อสิลักขณชาดก
๗. กลัณฑุกชาดก ๘. พิฬารวตชาดก
๙. อัคคิกชาดก ๑๐. โกสิยชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น