Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๖ หน้า ๒๕๕ - ๓๐๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
๕. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า”
๖. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก”
๗. สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า”
๘. สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก”
๙. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า”
๑๐. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก”
๑๑. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า”
๑๒. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจออก”
๑๓. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า”
๑๔. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก”
๑๕. สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า”
๑๖. สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจออก”
๑๗. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า”
๑๘. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจออก”
๑๙. สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า”
๒๐. สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก”
๒๑. สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า”
๒๒. สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจออก”
๒๓. สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า”
๒๔. สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจออก”
๒๕. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า”
๒๖. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก”
๒๗. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า”
๒๘. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก”
๒๙. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า”
๓๐. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก”
๓๑. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า”
๓๒. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๖๔] คำว่า ในที่นี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ คือ ในความถูกใจนี้ ความ
พอใจนี้ ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้
สัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่นี้
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน พระเสขะ หรือเป็น
พระอรหันต์ ผู้มีธรรมไม่กำเริบ
คำว่า ป่า อธิบายว่า สถานที่ทุกแห่งนอกจากเสาเขื่อนออกไป สถานที่นั้น
ทั้งหมด ชื่อว่าป่า
คำว่า โคนไม้ อธิบายว่า อาสนะของภิกษุซึ่งจัดไว้ที่โคนไม้ คือ เตียง ตั่ง ฟูก
เสื่ออ่อน ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้ หรือเครื่องลาด
ทำด้วยฟาง ภิกษุยืน เดิน นั่ง หรือนอนที่อาสนะนั้น
คำว่า ว่าง อธิบายว่า เป็นสถานที่ไม่พลุกพล่านด้วยใคร ๆ จะเป็นคฤหัสถ์
หรือบรรพชิต
คำว่า เรือน อธิบายว่า วิหาร โรงที่มุงไว้ครึ่งหนึ่ง ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ
คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ อธิบายว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้นั่งคู้บัลลังก์
คำว่า ตั้งกายตรง อธิบายว่า กายเป็นกายที่ภิกษุนั้นตั้งไว้ตรง
คำว่า เฉพาะ ในคำว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีการกำหนดถือเอาเป็นอรรถ
คำว่า หน้า มีการนำออกเป็นอรรถ คำว่า สติ มีการเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
[๑๖๕] คำว่า มีสติ หายใจเข้า อธิบายว่า ภิกษุทำสติโดยอาการ ๓๒ อย่าง
คือ ภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว
สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็น
ผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
ออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อรู้ความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
สละคืนหายใจเข้า สติย่อมตั้งมั่น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่า
เป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
ปฐมจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๑
[๑๖๖] ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออก
ยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุหายใจเข้ายาวในกาลที่นับว่ายาว หายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้าหายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว ฉันทะเกิดขึ้นแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้า
หายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้ายาวที่ละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว หายใจ
ออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว เธอทั้งหายใจเข้า
หายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว ความปราโมทย์
เกิดขึ้นแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ
ในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ ในกาลที่นับว่ายาว
หายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว หาย
ใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว
จิตของเธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจเข้าหายใจออกยาว
อุเบกขาย่อมตั้งอยู่
กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกยาวด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๖๗] คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อม
คลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละ
อัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ(ความยินดี)ได้ เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ)ได้ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า
หายใจออกยาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป สัญญาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกจึง
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
เวทนาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้น
แห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไป
ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัย
ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะ
(ความว่าง) ย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
เวทนาจึงดับ” ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ
ไปแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้
สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด
สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะเกิด สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม
ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
สัญญาจึงดับ” ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะดับ สัญญาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ
ไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้
วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด
วิตกจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
สัญญาเกิด วิตกจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้นแห่ง
วิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม
ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้
ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
วิตกจึงดับ” ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
สัญญาดับ วิตกจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะความแปรผัน ความดับไปแห่งวิตกก็
ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น
ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๖๘] ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้าหายใจออกยาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้งธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์ทั้งหลาย
ประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ให้วิริยินทรีย์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สตินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้
สมาธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ปัญญินทรีย์ประชุมลง เพราะมี
สภาวะเห็น บุคคลนี้๑ให้อินทรีย์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร
แห่งธรรมนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น
คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา
คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความ
สงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ
คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี
กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น
ประโยชน์
คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้พละทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้พละทั้งหลายประชุมลง
อย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลนี้ หมายถึงพระโยคาวจรผู้ประกอบอานาปานสติภาวนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๘/๑๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คือ ภิกษุให้สัทธาพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มี
ศรัทธา ให้วิริยพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
ให้สติพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ให้สมาธิพละ
ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ให้ปัญญาพละประชุมลง
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา บุคคลนี้ให้พละเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้พละทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้โพชฌงค์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สติสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น ให้วิริยสัมโพชฌงค์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้ปีติสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะแผ่ซ่านไป
ให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะสงบ ให้สมาธิสัมโพชฌงค์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณา
บุคคลนี้ให้โพชฌงค์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้มรรคประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้มรรคประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัมมาทิฏฐิประชุมลง เพราะมีสภาวะเห็น ให้สัมมาสังกัปปะประชุม
ลง เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ให้สัมมาวาจาประชุมลง เพราะมีสภาวะกำหนด ให้
สัมมากัมมันตะประชุมลง เพราะมีสภาวะเกิดขึ้น ให้สัมมาอาชีวะประชุมลง เพราะมี
สภาวะผ่องแผ้ว ให้สัมมาวายามะประชุมลง เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สัมมาสติ
ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมาสมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน บุคคลนี้ให้มรรคนี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“ให้มรรคประชุมลง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้ธรรมทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้พละ
ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมเครื่องนำออก ให้มรรคประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ
ให้สติปัฏฐานประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมัปปธานประชุมลง
เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งความเพียร ให้อิทธิบาทประชุมลง เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ
ให้สัจจะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ ให้สมถะประชุมลง เพราะมีสภาวะ
ไม่ฟุ้งซ่าน ให้วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ให้สมถะและ
วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ให้ธรรมเป็นคู่กัน
ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ให้สีลวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะสำรวม
ให้จิตตวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ทิฏฐิวิสุทธิประชุมลง เพราะ
มีสภาวะเห็น ให้วิโมกข์ประชุมลง เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ให้วิชชาประชุมลง
เพราะมีสภาวะแทงตลอด ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะสละ ให้ญาณใน
ความสิ้นไปประชุมลง เพราะมีสภาวะตัดขาด ให้อนุปปาทญาณประชุมลง เพราะมี
สภาวะระงับ ให้ฉันทะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นมูล ให้มนสิการประชุมลง
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ให้ผัสสะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม
ให้เวทนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ให้สมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะ
เป็นประธาน ให้สติประชุมลงเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้สติสัมปชัญญะประชุมลง
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร
ให้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด บุคคลนี้
ให้ธรรมเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้ธรรม
ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร
ของบุคคลนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์ของบุคคลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา
คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็น
ความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ
คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี
กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น
ประโยชน์
คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๑)
[๑๖๙] ภิกษุเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออก
สั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น อย่างไร
คือ ภิกษุหายใจเข้าสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย หายใจออกสั้นในกาลที่นับได้
นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย ฉันทะเกิดขึ้นแก่
เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย
หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย หายใจ
ออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้า
หายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย ความ
ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะ
ในกาลที่นับได้นิดหน่อย
หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้
นิดหน่อย หายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้
นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ในกาลที่นับได้นิดหน่อย จิตของเธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียด
กว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้นิดหน่อย ย่อมหลีกออกจากการ
หายใจเข้า หายใจออกสั้น อุเบกขาย่อมตั้งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกสั้นด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า
หายใจออกสั้น เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้าหายใจออกสั้น ย่อมให้อินทรีย์
ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมี
ความสงบเป็นประโยชน์” (๒)
[๑๗๐] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก” อย่างไร
คำว่า กาย อธิบายว่า กายมี ๒ อย่าง คือ
๑. นามกาย
๒. รูปกาย
นามกาย เป็นอย่างไร
คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นาม นามกายและสิ่งที่เรียกว่า
จิตตสังขาร นี้ชื่อว่านามกาย
รูปกาย เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมหายใจเข้าหายใจออก นิมิต
และสิ่งที่เนื่องกันซึ่งเรียกว่า กายสังขาร นี้ชื่อว่ารูปกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อม
ตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้น
ย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น
เมื่อคำนึงถึง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อ
เห็น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อพิจารณา กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่ออธิษฐาน
จิต กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ
เมื่อประคองความเพียร กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อตั้งสติไว้มั่น กายเหล่านั้น
ย่อมปรากฏ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา กาย
เหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อกำหนดรู้
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อละธรรมที่ควรละ กายเหล่านั้น
ย่อมปรากฏ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้
กายคือความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออกย่อมปรากฏ ความ
ปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏ
ด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้รู้ชัดกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจ
เข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิ-
วิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่า
ศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วย
ศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่า
ศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ยิ่งธรรม
ที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละธรรม
ที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็น
ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง
ลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓)
[๑๗๑] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราระงับกายสังขารหายใจออก” อย่างไร
กายสังขาร เป็นอย่างไร
คือ ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกาย-
สังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลม
หายใจออกยาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุ
เมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลมหายใจเข้าสั้น
ฯลฯ ลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ
ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่อง
ด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่า
สำเหนียกอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความ
ดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด ภิกษุ
สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารเห็นปานนั้นหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับ
กายสังขารเห็นปานนั้นหายใจออก” ความไม่อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป
ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลงแห่ง
กายมีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขาร
ที่ละเอียดสุขุมเห็นปานนั้นหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารที่ละเอียด
สุขุมเห็นปานนั้นหายใจออก” ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก” ตามนัยที่ว่ามานี้
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ไม่ปรากฏ
อานาปานสติก็ไม่ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ไม่ปรากฏ และ
ภิกษุผู้ฉลาดจะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ไม่ได้ ภิกษุสำเหนียกว่า “เรา
ระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก”
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ปรากฏ
อานาปานสติก็ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ปรากฏ และภิกษุ
ผู้ฉลาดจะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ได้ ข้อนั้นเหมือนอะไร
เหมือนเมื่อบุคคลเคาะกังสดาล เสียงดังย่อมเป็นไปก่อน เพราะกำหนด ใส่ใจ
จดจำนิมิตแห่งเสียงดังได้ดีแล้ว เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาภายหลัง เสียงค่อยย่อม
เป็นไป เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งเสียงดังได้ดีแล้ว เมื่อเสียงค่อยเบา
ลงอีก ต่อมาภายหลัง จิตจึงเป็นไปได้ แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์
ลมหายใจเข้าหายใจออกที่หยาบ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นไปก่อน เพราะกำหนด
ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างหยาบได้ดีแล้ว เมื่อลมหายใจ
เข้าหายใจออกอย่างหยาบเบาลง ต่อมาภายหลัง ลมหายใจเข้าหายใจออกอย่าง
ละเอียดจึงเป็นไป เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออก
อย่างละเอียดได้ดีแล้ว เมื่อลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างละเอียดเบาลงอีก ต่อมา
ภายหลัง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน แม้เพราะนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออก
อย่างละเอียดเป็นอารมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ปรากฏ
อานาปานสติก็ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ปรากฏ และภิกษุ
ผู้ฉลาดจะเข้าหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ได้ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขาร
หายใจเข้าหายใจออก กายย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็น
เป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ระงับกายสังขารระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ
เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความ
เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย-
สังขารหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานุสสติ ๘ และสุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นกายในกาย
ภาณวารจบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ทุติยจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๒
[๑๗๒] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก” อย่างไร
ปีติ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ด้วย
อำนาจลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง
ลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจออก ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์คือความเบิกบานใจ
ความบันเทิง ความหรรษา ความรื่นเริงจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ความพอใจ
นี้ชื่อว่าปีติ
ปีตินั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้าหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติ
ย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย
สังขารหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำนึงถึง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ ฯลฯ เมื่อเห็น ฯลฯ เมื่อพิจารณา ฯลฯ เมื่อ
อธิษฐานจิต ฯลฯ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยสัทธา ฯลฯ เมื่อประคองความเพียร ฯลฯ
เมื่อตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมื่อรู้ยิ่งธรรม
ที่ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เมื่อละธรรมที่ควรละ ฯลฯ
เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมปรากฏ
ปีตินั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้ชัดปีติหายใจเข้าหายใจออก
ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนา”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้ปีติระวังลมหายใจเข้าหาย
ใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์” (๑)
[๑๗๓] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้สุขหายใจออก” อย่างไร
คำว่า สุข อธิบายว่า สุขมี ๒ อย่าง คือ
๑. กายิกสุข
๒. เจตสิกสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
กายิกสุข เป็นอย่างไร
คือ ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญ
ซึ่งเกิดจากกายสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากกายสัมผัส นี้เป็น
กายิกสุข
เจตสิกสุข เป็นอย่างไร
คือ ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญ
ซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส นี้เป็น
เจตสิกสุข
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้าหายใจออกย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การ
พิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึก
ด้วย ภิกษุพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้สุขระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์” (๒)
[๑๗๔] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก” อย่างไร
จิตตสังขาร เป็นอย่างไร
คือ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้าหายใจ
ออกยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ฯลฯ สัญญาและ
เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ฯลฯ สัญญาและเวทนา
ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต
นี้ชื่อว่า จิตตสังขาร
จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว
สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ จิตตสังขารเหล่านั้น
ย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้าหายใจ
ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อม
ปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้น
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารระวังลมหาย
ใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์
ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์” (๓)
[๑๗๕] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราระงับจิตตสังขารหายใจออก” อย่างไร
จิตตสังขาร เป็นอย่างไร
คือ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่า
สำเหนียกอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว เป็นเจตสิก ธรรม
เหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้น
ให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้
จิตตสังขารหายใจ ฯลฯ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตต-
สังขารหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุ
เมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ เวทนาด้วย
อำนาจความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความ
ปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้น ด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ระงับจิตตสังขารระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นเวทนา
ภาณวาร จบ
ตติยจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๓
[๑๗๖] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้จิตหายใจออก” อย่างไร
จิตนั้น เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาวเป็นจิต จิต คือ มโน มานัส หทัย
ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอัน
ควรแก่จิตนั้นใด นี้ชื่อว่าจิต วิญญาณด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ วิญญาณด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับ
จิตตสังขารหายใจออกเป็นจิต จิต คือ มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ
มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันควรแก่จิตนั้นใด นี้ชื่อว่าจิต
จิตนั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
รู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อม
ตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ วิญญาณด้วยอำนาจความ
เป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การ
พิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้จิตระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์” (๑)
[๑๗๗] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก” อย่างไร
ความเบิกบานแห่งจิต เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้ายาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง ความ
หรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด นี้เป็นความ
เบิกบานแห่งจิต ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ลมหายใจออกยาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความหรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด ฯลฯ เมื่อรู้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้า
ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้
จิตหายใจออก ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง ความ
หรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด นี้เป็นความ
เบิกบานแห่งจิต วิญญาณด้วยอำนาจความเป็นผู้ให้จิตเบิกบานหายใจเข้าหายใจ
ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณา
เห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์” (๒)
[๑๗๘] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราตั้งจิตไว้หายใจออก” อย่างไร
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็น
สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว เป็น
สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้า เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
สมาธิ ความตั้งอยู่ ความตั้งอยู่ดี ความตั้งอยู่เฉพาะ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่
ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความมีจิตไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิใด นี้เป็นสมาธินทรีย์ วิญญาณด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้าเป็นจิต
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ตั้งจิตไว้ระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ตั้งมั่นหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓)
[๑๗๙] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราเปลื้องจิตหายใจออก” อย่างไร
คือ ภิกษุสำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากราคะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราเปลื้องจิตจากราคะหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโทสะหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโทสะหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
โมหะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโมหะหายใจออก” สำเหนียก
ว่า “เราเปลื้องจิตจากมานะ ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากทิฏฐิ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจาก
วิจิกิจฉา” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากถีนมิทธะ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากอุทธัจจะ” ฯลฯ
“เราเปลื้องจิตจากอหิริกะ (ความไม่ละอาย)” ฯลฯ สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป) หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
อโนตตัปปะหายใจออก” วิญญาณด้วยอำนาจการเปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก
ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้เปลื้องจิตระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความ
เป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นจิตในจิต
ภาณวาร จบ
จตุตถจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๔
[๑๘๐] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก” อย่างไร
คือ คำว่า ไม่เที่ยง อธิบายว่า อะไรไม่เที่ยง คือเบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง
เพราะมีสภาวะเป็นอย่างไร คือไม่เที่ยงเพราะมีสภาวะเกิดขึ้นและเสื่อมไป
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
เมื่อเห็นความเสื่อมไป (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อมไป (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ฯลฯ๑
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ นี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๕๐ หน้า ๗๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในรูปหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่า
ไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ
ในจักขุ ฯลฯ สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในชราและมรณะ
หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในชราและมรณะหายใจออก”
ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก
ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนา
คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ระวัง
ลมหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้
อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอัน
มีความสงบเป็นประโยชน์” (๑)
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก” อย่างไร
คือ ภิกษุเห็นโทษในรูปแล้วเกิดฉันทะในความคลายออกได้ในรูป น้อมใจเชื่อด้วย
สัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้
ในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ในรูปหายใจออก
ภิกษุเห็นโทษในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ในจักขุ ฯลฯ เห็นโทษในชราและมรณะแล้วเกิดฉันทะในความคลายออกได้ในชรา
และมรณะน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี” สำเหนียกว่า “เราพิจารณา
เห็นความคลายออกได้ในชราและมรณะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความ
คลายออกได้ในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นผู้
พิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏ
เป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายออกได้
ระวังลมหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่
ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้าหายใจ
ออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๒)
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราพิจารณาเห็นความดับหายใจออก” อย่างไร
คือ ภิกษุเห็นโทษในรูปแล้วเกิดฉันทะในความดับแห่งรูป น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในรูปหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในรูปหายใจออก” ภิกษุเห็นโทษในเวทนา
ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ เห็นโทษ
ในชราและมรณะแล้วเกิดฉันทะในความดับแห่งชราและมรณะ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะ
หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจออก”
[๑๘๑] โทษในอวิชชามี เพราะอาการเท่าไร อวิชชาดับ เพราะอาการเท่าไร
คือ โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่าง อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง
โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๒. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๓. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๔. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อน
๕. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะแปรผัน
โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่างนี้
อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อวิชชาดับ เพราะต้นเหตุดับ
๒. อวิชชาดับ เพราะสมุทัยดับ
๓. อวิชชาดับ เพราะชาติดับ
๔. อวิชชาดับ เพราะอาหารดับ
๕. อวิชชาดับ เพราะเหตุดับ
๖. อวิชชาดับ เพราะปัจจัยดับ
๗. อวิชชาดับ เพราะญาณเกิดขึ้น
๘. อวิชชาดับ เพราะนิโรธปรากฏ
อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้
ภิกษุเห็นโทษในอวิชชา เพราะอาการ ๕ อย่างนี้แล้ว เกิดฉันทะในความดับ
อวิชชา เพราะอาการ ๘ อย่างนี้ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับแห่งอวิชชาหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เรา
พิจารณาเห็นความดับแห่งอวิชชาหายใจออก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

โทษในสังขารมี เพราะอาการเท่าไร สังขารดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในวิญญาณมี เพราะอาการเท่าไร วิญญาณดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในนามรูปมี เพราะอาการเท่าไร นามรูปดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในสฬายตนะมี เพราะอาการเท่าไร สฬายตนะดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในผัสสะมี เพราะอาการเท่าไร ผัสสะดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในเวทนามี เพราะอาการเท่าไร เวทนาดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในตัณหามี เพราะอาการเท่าไร ตัณหาดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในอุปาทานมี เพราะอาการเท่าไร อุปาทานดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในภพมี เพราะอาการเท่าไร ภพดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในชาติมี เพราะอาการเท่าไร ชาติดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ

โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการเท่าไร ชราและมรณะดับ เพราะอาการเท่าไร
คือ โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่าง ชราและมรณะดับ เพราะอาการ
๘ อย่าง
โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โทษในชราและมรณะมี เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๒. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๓. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๔. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อน
๕. โทษในชราและมรณะมี เพราะมีสภาวะแปรผัน

โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่างนี้
ชราและมรณะดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. ชราและมรณะดับ เพราะต้นเหตุดับ
๒. ฯลฯ เพราะสมุทัยดับ
๓. ฯลฯ เพราะชาติดับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

๔. ชราและมรณะดับ เพราะภพดับ
๕. ฯลฯ เพราะเหตุดับ
๖. ฯลฯ เพราะปัจจัยดับ
๗. ฯลฯ เพราะญาณเกิดขึ้น
๘. ชราและมรณะดับ เพราะนิโรธปรากฏ

ชราและมรณะดับ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้
ภิกษุเห็นโทษในชราและมรณะ เพราะอาการ ๕ อย่างนี้แล้ว เกิดฉันทะ
ในความดับแห่งชราและมรณะ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมี
จิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลาย
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับระวังลมหายใจ
เข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้
อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๘๒] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก” อย่างไร
คำว่า ความสละคืน อธิบายว่า ความสละคืนมี ๒ อย่าง คือ
๑. ความสละคืนด้วยการบริจาค
๒. ความสละคืนด้วยความแล่นไป
จิตสละรูป เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปใน
นิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยความแล่นไป
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปหายใจออก” จิตสละเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ จิตสละชราและมรณะ เพราะฉะนั้น จึงเป็น
ความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งชราและมรณะ
เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยความแล่นไป ภิกษุสำเหนียกว่า “เรา
พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณา
เห็นความสละคืนในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏ
เป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ
สละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ
เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนระวัง
ลมหายใจเข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้าหายใจออก เวทนา
ย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิต
เป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์
ทั้งหลายประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร
และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ญาณในการทำสติ ๓๒ ประการเหล่านี้
สโตการิญาณนิทเทสที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
แสดงหมวด ๖ แห่งกองญาณ
[๑๘๓] ญาณด้วยอำนาจแห่งสมาธิ ๒๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว
เป็นสมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ
ออกยาว เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง
ความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก เป็นสมาธิ ฯลฯ ญาณด้วยอำนาจแห่ง
สมาธิ ๒๔ นี้ (๑)
ญาณด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ๗๒ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความ
ไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความ
เป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความเป็นอนัตตา
ฯลฯ
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า
โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความเป็นอนัตตา
ญาณด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ๗๒ นี้ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
นิพพิทาญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้ารู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๒. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก
รู้เห็นตามความเป็นจริง
๓. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า
รู้เห็นตามความเป็นจริง
๔. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก
รู้เห็นตามความเป็นจริง
๕. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้ารู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๖. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออกรู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๗. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้ารู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๘. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
รู้เห็นตามความเป็นจริง
นิพพิทาญาณ ๘ ประการนี้ (๓)
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ
๒. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ
ฯลฯ
๗. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
๘. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ ประการนี้ (๔)
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่ของบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ
๒. ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่ของบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงหายใจออก ชื่อว่านิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ
ฯลฯ
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ประการนี้ (๕)
ญาณในวิมุตติ ๒๑ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ด้วยโสดาปัตติมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดสักกาย-
ทิฏฐิ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดวิจิกิจฉา ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น
เพราะละ ตัดขาดสีลัพพตปรามาส ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาด
ทิฏฐานุสัย ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดวิจิกิจฉานุสัย
ด้วยสกทาคามิมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราค-
สังโยชน์อย่างหยาบ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดปฏิฆสังโยชน์
อย่างหยาบ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราคานุสัยอย่างหยาบ
ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ
ด้วยอนาคามิมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราค-
สังโยชน์อย่างละเอียด ... ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด ... กามราคานุสัยอย่างละเอียด
... ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด
ด้วยอรหัตตมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดรูปราคะ ...
อรูปราคะ ... มานะ ... อุทธัจจะ ... อวิชชา ... มานานุสัย ... ภวราคานุสัย... อวิชชานุสัย
ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ ประการนี้แล เมื่อบุคคลเจริญสมาธิที่ประกอบด้วย
อานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ญาณเกินกว่า ๒๐๐ นี้ย่อมเกิดขึ้น (๖)
อานาปานัสสติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๔. อินทริยกถา
ว่าด้วยอินทรีย์
๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๑
[๑๘๔] ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล
[๑๘๕] อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ อย่าง ได้แก่
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา (และ)
พิจารณาพระสูตรที่เป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ
๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีความเพียร
(และ) พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
(และ) พิจารณาสติปัฏฐาน สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
(และ) พิจารณาฌานวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญาดี
(และ) พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคล ๕ จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก (และ)
พิจารณาจำนวนพระสูตร ๕ ประการดังกล่าวมานี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจด
ด้วยอาการ ๑๕ อย่างนี้
อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญ ด้วยอาการเท่าไร การเจริญอินทรีย์ ๕มีได้
ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๑๐ อย่าง การเจริญอินทรีย์ ๕
มีได้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง บุคคลเมื่อละความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์
เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความไม่มีศรัทธา เมื่อละความเกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญ
วิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ ชื่อว่าละความเกียจคร้าน เมื่อละความประมาท
ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่าละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ
ชื่อว่าเจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่า
เจริญปัญญินทรีย์ เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา อินทรีย์ ๕ อันบุคคล
ย่อมเจริญด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้ การเจริญอินทรีย์ ๕ มีได้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอาการ ๑๐ อย่าง ได้แก่
๑. สัทธินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
ความไม่มีศรัทธาดีแล้ว
๒. ความไม่มีศรัทธาเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สัทธินทรีย์ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๓. วิริยินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละความ
เกียจคร้านดีแล้ว
๔. ความเกียจคร้านเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
วิริยินทรีย์ดีแล้ว
๕. สตินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละความ
ประมาทดีแล้ว
๖. ความประมาทเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สตินทรีย์ดีแล้ว
๗. สมาธินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
อุทธัจจะดีแล้ว
๘. อุทธัจจะเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สมาธินทรีย์ดีแล้ว
๙. ปัญญินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
อวิชชาดีแล้ว
๑๐. อวิชชาเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
ปัญญินทรีย์ดีแล้ว
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
[๑๘๖] อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ อย่าง อินทรีย์ ๕ เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่าง
อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งสกทาคามิผล อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งอนาคามิมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งอนาคามิผล อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งอรหัตตมรรค
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว ระงับดีแล้วในขณะ
แห่งอรหัตตผล
มัคควิสุทธิ ๔ ผลวิสุทธิ ๔ สมุจเฉทวิสุทธิ ๔ ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ ๔ ด้วย
ประการดังนี้ อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ อินทรีย์ ๕
เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
บุคคลกี่จำพวก ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคลกี่จำพวก ชื่อว่าเจริญ
อินทรีย์แล้ว
คือ บุคคล ๘ จำพวกชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ จำพวกชื่อว่า
เจริญอินทรีย์แล้ว
บุคคล ๘ จำพวกไหน ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์
คือ พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑ บุคคล ๘ จำพวกนี้ชื่อว่ากำลัง
เจริญอินทรีย์
บุคคล ๓ จำพวกไหน ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว คือ
๑. พระขีณาสพสาวกของพระตถาคต ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว เพราะ
รู้ด้วยอำนาจความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว เพราะมีสภาวะตรัสรู้เอง
๓. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
เพราะมีสภาวะมีพระคุณหาประมาณมิได้
บุคคล ๓ จำพวกนี้ ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
เพราะฉะนั้น บุคคล ๘ จำพวกนี้ ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ จำพวกนี้
ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
สุตตันตนิทเทสที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๒
[๑๘๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งอินทรีย์ ๕ นี้และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ นี้ตามความ
เป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น หาได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ
หรือได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้นหาได้ทำให้
แจ้งสามัญญผล๑และพรหมัญญผล๒ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันไม่
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งอินทรีย์ ๕ นี้ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ นี้ตาม
ความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่
สมณะ ได้รับยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมทำ
ให้แจ้งสามัญญผลและพรหมัญญผล ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ สามัญญผล หมายถึงประโยชน์ของความเป็นสมณะ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงผลเบื้องต่ำ ๓ ประการ (ขุ.ป.อ.
๒/๑๘๗/๑๕๕)
๒ พรหมัญญผล หมายถึงประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงอรหัตตผล (ขุ.ป.อ.
๒/๑๘๗/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
[๑๘๘] อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิด ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีความดับ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดความดับแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีคุณ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีโทษ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออก ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ อย่าง บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีความดับด้วยอาการ ๔๐ อย่าง บุคคลรู้ชัดความดับแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ อย่าง บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๕ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ อย่าง บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๕ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัดออก
จากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุ
เกิดแห่งสัทธินทรีย์
๒. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สัทธินทรีย์
๓. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๔. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียว๑ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสัทธินทรีย์
๕. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็นเหตุ
เกิดแห่งวิริยินทรีย์
๖. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๗. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่ง
วิริยินทรีย์
๘. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งวิริยินทรีย์
๙. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิด
แห่งสตินทรีย์
๑๐. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๑๑. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๑๒. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สตินทรีย์
๑๓. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุ
เกิดแห่งสมาธินทรีย์
๑๔. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๕. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๖. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสมาธินทรีย์
๑๗. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
๑๘. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะเดียว หมายถึงอารมณ์เดียว (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘๘/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๑๙. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่ง
ปัญญินทรีย์
๒๐. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
๒๑. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
เหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๒๒. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็น
เหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๒๓. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิด
แห่งสตินทรีย์
๒๔. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุ
เกิดแห่งสมาธินทรีย์
๒๕. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
๒๖. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๒๗. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๒๘. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๒๙. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์
๓๐. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์
๓๑. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๓๒. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๓๓. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๓๔. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์
๓๕. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์
๓๖. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๓๗. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๓๘. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สตินทรีย์
๓๙. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๔๐. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้
อินทรีย์ ๕ มีความดับ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดความดับ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
ความดับแห่งสัทธินทรีย์
๒. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๓. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๔. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสัทธินทรีย์
๕. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็น
ความดับแห่งวิริยินทรีย์
๖. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับแห่ง
วิริยินทรีย์
๗. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับแห่ง
วิริยินทรีย์
๘. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งวิริยินทรีย์
๙. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นความ
ดับแห่งสตินทรีย์
๑๐. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์
๑๑. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่ง
สตินทรีย์
๑๒. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๑๓. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
ความดับแห่งสมาธินทรีย์
๑๔. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๕. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๖. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสมาธินทรีย์
๑๗. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความดับ
แห่งปัญญินทรีย์
๑๘. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์
๑๙. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์
๒๐. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์
๒๑. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
ความดับแห่งสัทธินทรีย์
๒๒. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็นความ
ดับแห่งวิริยินทรีย์
๒๓. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นความ
ดับแห่งสตินทรีย์
๒๔. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
ความดับแห่งสมาธินทรีย์
๒๕. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์
๒๖. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๒๗. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับแห่ง
วิริยินทรีย์
๒๘. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่ง
สตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๒๙. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๓๐. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์
๓๑. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๓๒. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับ
แห่งวิริยินทรีย์
๓๓. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่ง
สตินทรีย์
๓๔. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๓๕. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์
๓๖. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งสัทธินทรีย์
๓๗. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งวิริยินทรีย์
๓๘. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสตินทรีย์
๓๙. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งสมาธินทรีย์
๔๐. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ มีความดับด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดความดับแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ก. อัสสาทนิทเทส
แสดงคุณ (แห่งอินทรีย์ ๕)
[๑๘๙] อินทรีย์ ๕ มีคุณ ด้วยอาการ ๒๕ อย่าง อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดคุณ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่ปรากฏแห่งความไม่มีศรัทธา เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
๒. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความไม่มีศรัทธา เป็นคุณ
แห่งสัทธินทรีย์
๓. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความน้อมใจเชื่อ เป็นคุณแห่ง
สัทธินทรีย์
๔. ความสงบ๑และการบรรลุสุขวิหารธรรม๒ เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
๕. สุขโสมนัสที่อาศัยสัทธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
๖. ความไม่ปรากฏแห่งความเกียจคร้าน เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
๗. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความไม่เกียจคร้าน เป็น
คุณแห่งวิริยินทรีย์
๘. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยการประคองไว้ เป็นคุณแห่ง
วิริยินทรีย์
๙. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
๑๐. สุขโสมนัสที่อาศัยวิริยินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
๑๑. ความไม่ปรากฏแห่งความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
๑๒. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะเหตุแห่งความประมาท เป็น
คุณแห่งสตินทรีย์
๑๓. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความตั้งมั่น เป็นคุณแห่ง
สตินทรีย์
๑๔. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสตินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ ความสงบ หมายถึงสมถะ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘๙/๑๕๗)
๒ สุขวิหารธรรม หมายถึงวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘๙/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๑๕. สุขโสมนัสที่อาศัยสตินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
๑๖. ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๑๗. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๑๘. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นคุณแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๙. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๒๐. สุขโสมนัสที่อาศัยสมาธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๒๑. ความไม่ปรากฏแห่งอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๒. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๓. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความเห็น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๔. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๕. สุขโสมนัสที่อาศัยปัญญินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๕ อย่างนี้
ข. อาทีนวนิทเทส
แสดงโทษ (แห่งอินทรีย์ ๕)
[๑๙๐] อินทรีย์ ๕ มีโทษ เพราะอาการ ๒๕ อย่าง เป็นอย่างไร บุคคล
รู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕ เพราะอาการ ๒๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ
๑. ความปรากฏแห่งความไม่มีศรัทธา เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์
๒. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา เป็นโทษ
แห่งสัทธินทรีย์
๓. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๔. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๕. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๖. ความปรากฏแห่งความเกียจคร้าน เป็นโทษแห่งวิริยินทรีย์
๗. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน เป็นโทษ
แห่งวิริยินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๘. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๙. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๑๐. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๑๑. ความปรากฏแห่งความประมาท เป็นโทษแห่งสตินทรีย์
๑๒. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความประมาท เป็นโทษแห่ง
สตินทรีย์
๑๓. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๑๔. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๑๕. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๑๖. ความปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์
๑๗. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นโทษแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๘. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๑๙. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๒๐. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๒๑. ความปรากฏแห่งอวิชชา เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์
๒๒. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์
๒๓. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๒๔. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๒๕. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
อินทรีย์ ๕ มีโทษ เพราะอาการ ๒๕ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕
เพราะอาการ ๒๕ อย่างนี้
ค. นิสสรณนิทเทส
แสดงเครื่องสลัดออก (จากอินทรีย์ ๕)
[๑๙๑] อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง เป็นอย่างไร
บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากความไม่มีศรัทธา
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความไม่มีศรัทธาและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากสัทธินทรีย์ที่มีอยู่ก่อนแต่การได้สัทธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะประคองไว้ วิริยินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากความเกียจคร้าน
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความเกียจคร้านและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากวิริยินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้วิริยินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น สตินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากความประมาท
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะความประมาท
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความประมาทและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากสตินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สตินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากอุทธัจจะ
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามอุทธัจจะนั้นและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากสมาธินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สมาธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะเห็น ปัญญินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากอวิชชา
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะอวิชชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น