Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๓-๑๐ หน้า ๕๘๔ - ๖๔๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓-๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย
อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๒๔] ท่านจงบำเพ็ญศีลในภูมิทั้ง ๔๑
รักษาศีลให้บริบูรณ์ในกาลทุกเมื่อ
ดุจจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้น’
[๑๒๕] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๒๖] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นเนกขัมมบารมีเป็นข้อที่ ๓
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๒๗] ‘ท่านจงยึดเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านจงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีเถิด
[๑๒๘] คนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำ ได้รับทุกข์มานาน
ย่อมไม่เกิดความยินดีในเรือนจำนั้น
มีแต่จะหาช่องทางที่จะพ้นออกไป ฉันใด
[๑๒๙] ท่านจงเห็นภพทั้งปวงดุจเรือนจำ
จงมุ่งหน้าต่อเนกขัมมะเพื่อหลุดพ้นไปจากภพ ฉันนั้นเถิด’
[๑๓๐] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๓๑] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นปัญญาบารมีเป็นข้อที่ ๔
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า

เชิงอรรถ :
๑ ศีลในภูมิทั้ง ๔ ในที่นี้ ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจเวกขณศีล
(ขุ.พุทฺธ.อ.๑๒๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๓๒] ‘ท่านจงยึดปัญญาบารมีข้อที่ ๔ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านก็จงบำเพ็ญปัญญาบารมีเถิด
[๑๓๓] ภิกษุเมื่อเที่ยวบิณฑบาต
มิได้เว้นว่าจะเป็นตระกูลชั้นต่ำ ชั้นกลาง หรือชั้นสูง
ย่อมได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ฉันใด
[๑๓๔] ท่านเมื่อสอบถามคนมีความรู้ตลอดกาลทั้งปวง
บำเพ็ญปัญญาบารมีไปเถิด
แล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้น’
[๑๓๕] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๓๖] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นวิริยบารมีเป็นข้อที่ ๕
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๓๗] ‘ท่านจงยึดวิริยบารมีข้อที่ ๕ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านก็จงบำเพ็ญวิริยบารมีเถิด
[๑๓๘] ราชสีห์พญาเนื้อมีความเพียรไม่ย่อหย่อน
ทั้งในขณะหมอบ ยืน และเดิน ประคองใจไว้ทุกเมื่อ ฉันใด
[๑๓๙] ท่านจงประคองความเพียรให้มั่นคงทุกภพทุกชาติ
บำเพ็ญวิริยบารมีไปเกิด
แล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้น’
[๑๔๐] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๔๑] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นขันติบารมีเป็นข้อที่ ๖
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๔๒] ‘ท่านจงยึดขันติบารมีข้อที่ ๖ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ท่านมีใจแน่วแน่(ไม่เป็นสอง)ในขันติบารมีนั้น
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๔๓] ธรรมดาแผ่นดินย่อมทนทานต่อสิ่งที่เขาทิ้งลงทุกอย่าง
ทั้งที่สะอาดและไม่สะอาด
ไม่ทำความยินดีและความขัดเคือง แม้ฉันใด
[๑๔๔] ถึงท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน อดทนต่อการยกย่อง
และการดูหมิ่นของคนทั้งปวง
บำเพ็ญขันติบารมีแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้’
[๑๔๕] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๔๖] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นสัจจบารมีเป็นข้อที่ ๗
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๔๗] ‘ท่านจงยึดสัจจบารมีข้อที่ ๗ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ท่านมีคำพูดที่แน่นอน(ไม่เป็นสอง)ในสัจจบารมีนั้น
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๔๘] ธรรมดาว่าดาวประกายพรึก
เป็นดาวนพเคราะห์ที่เที่ยงตรงในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ย่อมไม่เคลื่อนไปจากวิถีโคจร ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อน
ฤดูหนาว หรือฤดูฝน แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๔๙] ถึงท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จงอย่าถอยกลับไปจากทาง(ที่ถูกต้องมั่นคง)
ในสัจจะทั้งหลาย บำเพ็ญสัจจบารมีแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้’
[๑๕๐] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๕๑] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นอธิษฐานบารมีเป็นข้อที่ ๘
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๕๒] ‘ท่านจงยึดอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้นแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๕๓] ภูผาไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นไม่สะเทือนเพราะลมแรง
คงตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง แม้ฉันใด
[๑๕๔] ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีทุกเมื่อ
บำเพ็ญอธิษฐานบารมีแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้’
[๑๕๕] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๕๖] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นเมตตาบารมีเป็นข้อที่ ๙
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๕๗] ‘ท่านจงยึดเมตตาบารมีข้อที่ ๙ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านก็จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอในเมตตาบารมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๕๘] ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็น
ชำระล้างมลทินคือธุลีเสมอกัน
ทั้งในคนดีและคนชั่ว แม้ฉันใด
[๑๕๙] ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญเมตตาให้เสมอกัน
ทั้งในคนที่เกื้อกูลกันและในคนที่ไม่ได้เกื้อกูลกัน
บำเพ็ญเมตตาบารมีแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๖๐] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๖๑] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นอุเบกขาบารมีเป็นข้อที่ ๑๐
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๖๒] ‘ท่านจงยึดอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ท่านเป็นผู้มีอุเบกขาเที่ยงตรง มั่นคง
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๖๓] ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉยในสิ่งที่เขาทิ้งลงทั้งสะอาด
และไม่สะอาด ทั้ง ๒ อย่าง เว้นความโกรธและความยินดี แม้ฉันใด
[๑๖๔] ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จงมีใจเที่ยงตรงในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ
บำเพ็ญอุเบกขาบารมีแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๖๕] ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ
มีอยู่ในโลกเพียงเท่านี้ นอกจากนี้ยิ่งกว่านั้นไม่มี
ท่านจงตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั้นเถิด’
[๑๖๖] เมื่อเราพิจารณาเห็นธรรมเหล่านี้
พร้อมทั้งกิจและลักษณะอันเป็นภาวะของตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
พื้นพสุธาโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล
ก็ไหวด้วยเดชแห่งธรรม
[๑๖๗] ปฐพีไหวสะเทือนเลื่อนลั่นเหมือนยนต์หีบอ้อย
เมทนีดลหวั่นไหวเหมือนล้อที่หีบน้ำมัน
[๑๖๘] บริษัทประมาณเท่าใด มีอยู่ในบริเวณรอบ ๆ พระพุทธเจ้า
บริษัทประมาณเท่านั้น สั่นเทานอนสลบอยู่บนภาคพื้นที่บริเวณนั้น
[๑๖๙] หม้อน้ำหลายพันหม้อ หม้อข้าวหลายร้อยหม้อ
หม้อใส่กระแจะและหม้อที่ใส่เปรียงในที่นั้น
ต่างก็กระทบกันและกัน
[๑๗๐] มหาชนหวาดเสียว สะดุ้งกลัว ตื่นตระหนก
มีใจหวาดหวั่น ประชุมกัน
พากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
[๑๗๑] ทูลถามว่า ‘อะไรจักมีแก่ชาวโลก
เป็นเหตุดีหรือเหตุร้าย
ชาวโลกทั้งปวงถูกเบียดเบียน
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
ขอพระองค์ได้โปรดบรรเทาภัยที่เบียดเบียนนั้นเถิด’
[๑๗๒] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นพระมหามุนี ทรงแจ้งให้มหาชนได้เข้าใจว่า
‘ในการที่พสุธาไหวครั้งนี้ ท่านทั้งหลายจงเบาใจเถิด
อย่าตกใจกลัวเลย
[๑๗๓] วันนี้เราพยากรณ์ผู้ใดว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก
ผู้นั้นพิจารณาเห็นธรรมที่พระชินเจ้าทรงอบรมสั่งสมมาก่อน
[๑๗๔] เมื่อผู้นั้นพิจารณาธรรมซึ่งเป็นพุทธภูมิโดยไม่มีเหลือ
เพราะเหตุนั้น ปฐพีโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกจึงไหวแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๗๕] ขณะนั้น มหาชนได้ฟังพระดำรัสแล้ว
ก็เกิดความสบายใจขึ้น
ทุกคนพากันมาหาเราแล้วอภิวาทอีก
[๑๗๖] ครั้งนั้น เรายึดพระพุทธคุณ ทำใจให้มั่นคง
นมัสการพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรแล้วลุกจากอาสนะ
[๑๗๗] ชน ๒ ฝ่าย คือ เทพถือดอกไม้ทิพย์
หมู่มนุษย์ถือดอกไม้ที่เป็นของมนุษย์
ต่างโปรยปรายดอกไม้ทั้งหลายเพื่อเราผู้ลุกจากอาสนะ
[๑๗๘] อนึ่ง เทพและมนุษย์ทั้ง ๒ ฝ่ายเหล่านั้น
ต่างก็ประกาศความสวัสดีว่า
‘ท่านปรารถนาตำแหน่งอันใหญ่หลวง
ขอท่านได้ตำแหน่งนั้นตามความปรารถนาเถิด
[๑๗๙] เสนียดจัญไรทั้งปวงจงอย่ามี
ความโศกและโรคจงอย่ามี
อันตรายจงอย่ามีแก่ท่าน
ขอให้ท่านได้บรรลุพระโพธิญาณ๑อันประเสริฐเร็วพลันเถิด
[๑๘๐] เมื่อถึงฤดู (ที่ต้นไม้ผลิดอก) หมู่ไม้จำพวกที่มีดอก
ก็ผลิดอก ฉันใด
ท่านผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
ขอท่านจงผลิด้วยพระพุทธญาณ๒ ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
ก็ได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการมาแล้วฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ โพธิญาณ ในที่นี้ ได้แก่ อรหัตตมรรคญาณ หรือสัพพัญญุตญาณ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๗๙/๑๗๗)
๒ พุทธญาณ ได้แก่ พุทธญาณ ๑๘ (ขุ.พุทธ.อ. ๑๘๐/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
ท่านผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
ก็ได้ตรัสรู้ที่โพธิมัณฑ์ ฉันใด
ท่านผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
ขอท่านจงตรัสรู้ที่ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระชินเจ้า
ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
ก็ทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว ฉันใด
ท่านผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
ขอท่านจงประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๔] ดวงจันทร์ในวันเพ็ญเต็มดวงส่องสว่าง ฉันใด
ขอท่านผู้มีใจปรารถนาที่เต็มเปี่ยมแล้ว
จงรุ่งโรจน์(สว่างไสว)ในหมื่นจักรวาล
ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๕] ดวงอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว
ย่อมไพโรจน์แจ่มจ้าด้วยแสงสว่าง ฉันใด
ขอท่านจงพ้นจากโลกธรรมแล้ว
แจ่มจ้าด้วยสิริ(แห่งพระพุทธเจ้า) ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๖] แม่น้ำทุกสายไหลไปสู่ทะเลหลวง ฉันใด
ขอชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาทั้งหลาย
จงพากันหลั่งไหลไปในสำนักของท่าน ฉันนั้นเหมือนกันเถิด’
[๑๘๗] ครั้งนั้น สุเมธดาบสนั้น อันทวยเทพและหมู่มนุษย์เหล่านั้น
ชมเชย สรรเสริญแล้ว สมาทานธรรม ๑๐ ประการ(บารมี ๑๐)
เมื่อจะบำเพ็ญธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึงเข้าไปยังป่าใหญ่
สุเมธกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. ทีปังกรพุทธวงศ์
๓. พุทธวงศ์
๑. ทีปังกรพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระทีปังกรพุทธเจ้า
[๑] ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นทูลนิมนต์พุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ให้เสวยและฉันแล้ว
ได้ถึงพระศาสดาพระนามว่าทีปังกรพระองค์นั้นเป็นสรณะ
[๒] พระตถาคตให้คนบางคนตั้งอยู่ในสรณคมน์
ให้คนบางคนตั้งอยู่ในศีล ๕ ให้คนบางคนตั้งอยู่ในศีล ๑๐
[๓] ทรงประทานสามัญผล๑ ๔ อันสูงสุดให้แก่คนบางคน
ทรงประทานธรรมที่ไม่มีธรรมอย่างอื่นเสมอเหมือน
คือปฏิสัมภิทาให้แก่คนบางคน
[๔] พระตถาคตผู้องอาจกว่านรชน
ทรงประทานสมาบัติที่ประเสริฐ ๘ ประการ๒ให้แก่คนบางคน
ทรงประทานวิชชา ๓ อภิญญา ๖ ให้แก่คนบางคน
[๕] พระมหามุนีย่อมตรัสสอนหมู่ชนตามลำดับนั้น
เพราะเหตุนั้นศาสนาของพระโลกนาถ
จึงแผ่ไปอย่างกว้างขวาง
[๖] พระศาสดาพระนามว่าทีปังกร
ผู้ทรงมีพระหนุใหญ่ และพระวรกายงดงาม
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
ทรงปลดเปลื้องจากทุคติ

เชิงอรรถ :
๑ สามัญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๑/๒๘๗)
๒ ดูเทียบ ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๖๐/๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. ทีปังกรพุทธวงศ์
[๗] พระมหามุนีทรงเห็นชนที่ควรแนะนำให้ตรัสรู้ได้
แม้ในที่ไกลถึง ๑๐๐,๐๐๐ โยชน์
ก็เสด็จไปเพียงชั่วขณะเดียว ทรงช่วยผู้นั้นให้ตรัสรู้
[๘] ในการบรรลุธรรม(การตรัสรู้ธรรม) ครั้งที่ ๑
พระพุทธเจ้าทรงช่วยเทวดาและมนุษย์ ๑๐๐ โกฏิให้บรรลุธรรม
ในการบรรลุธรรมครั้งที่ ๒ พระผู้เป็นที่พึ่ง
ทรงช่วยเทวดาและมนุษย์ ๙๐ โกฏิให้บรรลุธรรม
[๙] และในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในเทพพิภพ
ได้มีเทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๑๐] พระศาสดาพระนามว่าทีปังกร
ได้มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
สาวกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกันเป็นครั้งที่ ๑
[๑๑] เมื่อพระชินเจ้าประทับอยู่ในสถานที่อันสงัด ที่ยอดภูเขานารทะ
พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินประมาณ ๑๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๑๒] ในกาลใด พระมหาวีรเจ้าผู้ทรงเป็นพระมหามุนี
ทรงปวารณาออกพรรษา
พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ ที่ยอดเขาสุทัสสนะ
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะแก่กล้า
สำเร็จอภิญญา ๕๑ เหาะไปในอากาศได้
[๑๓] เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม
การบรรลุธรรมครั้งละองค์สององค์นับจำนวนไม่ถ้วน
[๑๔] ครั้งนั้น พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าทีปังกร
แผ่ไพศาล มีคนรู้มาก เจริญแพร่หลาย สะอาด บริสุทธิ์

เชิงอรรถ :
๑ อภิญญา ๕ ได้แก่ อภิญญาที่เป็นโลกิยะ (ขุ.อป.อ. ๒/๖-๗/๒๓๙, ที.สี. (แปล) ๙/๔๗๔-๘/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. ทีปังกรพุทธวงศ์
[๑๕] ภิกษุประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ รูป ล้วนได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก
แวดล้อมพระผู้มีพระภาคพระนามว่าทีปังกร
ผู้ทรงรู้แจ้งโลกในกาลทั้งปวง
[๑๖] สมัยนั้น ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ไม่ได้บรรลุอรหัตตผล เป็นพระเสขะละมนุษยภูมิไป
ชนเหล่านั้นย่อมถูกติเตียน
[๑๗] ศาสนาแพร่หลาย งดงามด้วยพระอรหันตขีณาสพ
ผู้คงที่ ปราศจากมลทิน ในกาลทั้งปวง
[๑๘] เมืองชื่อว่ารัมมวดี กษัตริย์พระนามว่าสุเทพ เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุเมธาเป็นพระชนนี
ของพระศาสดาพระนามว่าทีปังกร
[๑๙] พระชินเจ้าทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
ทรงมีฝูงหงส์ นกกระเรียน นกยูงมากมาย
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
[๒๐] มีนางสนมกำนัล ๓๐๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าปทุมา
พระราชโอรสพระนามว่าอุสภขันธกุมาร
[๒๑] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔๑ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๒] ครั้นทรงบำเพ็ญความเพียรเสร็จแล้ว
ก็ได้ตรัสรู้สัมโพธิญาณ
พระมหามุนีพระนามว่าทีปังกร ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ นิมิต ๔ ได้แก่ (๑) คนแก่ (๒) คนเจ็บ (๓) คนตาย (๔) บรรพชิต (ที.ม. (แปล) ๑๐/๔๓-๕๒/๒๒-๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. ทีปังกรพุทธวงศ์
[๒๓] พระมหาวีรชินเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักร
แล้วประทับอยู่ในนันทาราม ประทับนั่งที่โคนต้นซึก
ทรงปราบปรามเดียรถีย์
[๒๔] พระสุมังคลเถระและพระติสสเถระเป็นพระอัครสาวก
พระสาคตเถระเป็นอุปัฏฐากของพระศาสดาพระนามว่าทีปังกร
[๒๕] พระนันทาเถรีและพระสุนันทาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นเลียบ
[๒๖] ตปุสสอุบาสกและภัลลิกอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
สิริมาอุบาสิกาและโสณาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๗] พระมหามุนีพระนามว่าทีปังกร
ทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก
ทรงงดงามดังต้นพฤกษาประทีป
ดังต้นพญาไม้สาละที่มีดอกบานสะพรั่ง
พระองค์ทรงมีพระรัศมีแผ่ซ่านออก ๑๐ โยชน์โดยรอบ
[๒๘] พระองค์ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ทรงมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
ทรงดำรงอยู่นานเพียงนั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้น(สังสารวัฏ)ได้เป็นจำนวนมาก
[๒๙] พระองค์พร้อมทั้งสาวกประกาศพระสัทธรรมให้รุ่งเรือง
ช่วยมหาชนให้ข้ามพ้นได้
แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพานเหมือนกองไฟที่ลุกโพลงแล้วดับไป
[๓๐] พระองค์ทรงมีพระฤทธิ์ มีพระยศ
พร้อมทั้งจักรรัตนะที่พระยุคลบาท
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
[๓๑] พระชินศาสดาพระนามว่าทีปังกรเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ณ นันทาราม พระสถูปอันประเสริฐของพระชินเจ้าพระองค์นั้น
สูง ๓๖ โยชน์ ณ นันทารามนั้น
พระสถูปบรรจุบาตร จีวร บริขาร และเครื่องบริโภค
ของพระองค์ผู้ศาสดา ที่โคนต้นโพธิ์ในกาลนั้นสูง ๓ โยชน์
ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑ จบ
๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำ ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้
มีพระยศประมาณมิได้ มีพระคุณประมาณมิได้
และยากที่จะกระทบกระทั่งได้
[๒] พระองค์ทรงเปรียบดังแผ่นดินโดยขันติธรรม
เปรียบดังสาครโดยศีล
เปรียบดังภูเขาสิเนรุโดยสมาธิ
เปรียบดังท้องฟ้าโดยปัญญา
[๓] ทรงประกาศธรรมที่ควรประกาศคืออินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค
อริยสัจ ในกาลทุกเมื่อ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
[๔] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๕] จากนั้น เมื่อทรงแสดงพระธรรมในสมาคมของเทวดาและมนุษย์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
[๖] ในคราวที่พระองค์เมื่อทรงแสดงธรรมย่ำยีพวกเดียรถีย์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมพระสาวกผู้เป็นขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๘] พระขีณาสพจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน ครั้งที่ ๑
พระขีณาสพจำนวน ๑,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน ครั้งที่ ๒
พระขีณาสพจำนวน ๙๐ โกฏิ มาประชุมกัน ครั้งที่ ๓
[๙] ครั้งนั้น เราเป็นพระมหากษัตริย์มีนามว่าวิชิตาวี
แผ่ความเป็นใหญ่ไปโดยมีมหาสมุทรสาครเป็นขอบเขต
[๑๐] เราได้อังคาสภิกษุประมาณ ๑๐,๐๐๐ โกฏิ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ปราศจากมลทิน
พร้อมด้วยพระผู้ทรงเป็นที่พึ่งอันเลิศของสัตว์โลก
ให้อิ่มหนำด้วยอาหารอันประณีต
[๑๑] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันนับประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
เขาจักเป็นพุทธเจ้าในโลก
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๒] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๑๓] พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
[๑๔] พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
[๑๕] พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๑๖] จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
[๑๗] เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
[๑๘] สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
[๑๙] ‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
[๒๐] มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
[๒๑] เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๒๒] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เราเมื่อจะทำประโยชน์นั้นให้สำเร็จ
จึงได้ถวายราชสมบัติอันใหญ่หลวงแก่พระชินเจ้า
ครั้นแล้วก็ออกบวชในสำนักของพระองค์
[๒๓] เราได้เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวง
แล้วช่วยประกาศศาสนาของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง
[๒๔] เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในคำสั่งสอนนั้นทั้งในเวลานั่ง
ยืนและเดิน ถึงความสำเร็จอภิญญาแล้ว ได้ไปเกิดยังพรหมโลก
[๒๕] กรุงชื่อว่ารัมมวดี กษัตริย์พระนามว่าสุนันทะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุชาดา เป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๖] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุจิปราสาท สุรุจิปราสาท และสุภปราสาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
[๒๗] มีนางสนมกำนัล ๓๐๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่ารุจิเทวี
พระราชโอรสพระนามว่าวิชิตเสนะ
[๒๘] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๙] พระมหาวีระพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ณ ป่ามหาวัน
[๓๐] พระภัททเถระและพระสุภัททเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอนุรุทธะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๓๑] พระติสสาเถรีและพระอุปติสสาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นขานางเป็นต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๓๒] โสณอุบาสกและอุปโสณอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทาอุบาสิกาและสิริมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๓๓] พระมหามุนีพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก
ทรงงดงามดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
และดังดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงวัน
[๓๔] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
[๓๕] เมทนีดลงามวิจิตรด้วยพระขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน
เมทนีนั้นงามเหมือนท้องฟ้าที่วิจิตรไปด้วยหมู่ดาว
[๓๖] พระอรหันต์ผู้ประเสริฐแม้เหล่านั้น
มีคุณหาประมาณมิได้ ไม่กำเริบ หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
ท่านผู้มียศเหล่านั้น แสดงประดุจสายฟ้าฟาด ปรินิพพานแล้ว
[๓๗] ฤทธิ์ของพระชินเจ้าไม่มีที่เปรียบ
สมาธิอันปัญญาอบรมดีแล้ว
ทุกอย่างอันตรธานไปพร้อมกันแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๘] พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ ผู้ทรงพระสิริ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ นันทาราม
พระเจดีย์ของพระองค์สูง ๗ โยชน์
ณ นันทารามนั้น ฉะนี้แล
โกณฑัญญพุทธวงศ์ที่ ๒ จบ
๓. มังคลพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระมังคลพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ทรงชูคบเพลิงคือพระธรรม กำจัดความมืดในโลก
[๒] รัศมีของพระองค์ไม่มีที่เปรียบ
ยิ่งกว่าพระชินเจ้าองค์อื่น ๆ
ข่มรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
รุ่งโรจน์ไปทั่วหมื่นจักรวาล
[๓] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทรงประกาศอริยสัจ ๔ ที่ประเสริฐสุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
เทวดาและมนุษย์ต่างก็ได้ดื่มรสแห่งอริยสัจ
แล้วย่อมบรรเทาความมืดมนเสียได้
[๔] เมื่อพระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันไม่มีที่เปรียบแล้ว
ทรงแสดงธรรมครั้งแรก
เหล่าสัตว์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๕] พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม
ที่ภพของเทวดาผู้เป็นจอมเทพ
ครั้งนั้น เทพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๖] ในกาลเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าสุนันทะ
เสด็จเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงลั่นธรรมเภรี(กลองคือธรรม)
อันประเสริฐยอดเยี่ยม
[๗] และครั้งนั้น บริวารของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าสุนันทะ
มีประมาณ ๙๐ โกฏิ ทั้งหมดนั้น ไม่เหลือเลย
ได้บวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
[๘] พระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
สาวกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๙] สาวกจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
สาวกจำนวน ๙๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
การประชุมครั้งนั้น ล้วนแต่พระสาวก
ผู้พระขีณาสพปราศจากมลทินเท่านั้น
[๑๐] สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามว่าสุรุจิ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ จบไตรเพท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
[๑๑] เราได้เข้าเฝ้าพระศาสดาพระองค์นั้น
ได้ถึงพระองค์เป็นสรณะ และได้บูชาพระสงฆ์
ซึ่งมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยของหอมและดอกไม้
ครั้นแล้วได้อังคาสให้อิ่มหนำด้วยน้ำนมโค
[๑๒] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละพระองค์นั้น
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
“พราหมณ์ชื่อสุรุจินี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๓] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
[๑๕] ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
จึงถวายเรือนของเราในพระพุทธเจ้าแล้ว
บวชในสำนักของพระพุทธองค์
[๑๖] เราได้เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวง
แล้วช่วยประกาศศาสนาของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง
[๑๗] เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในคำสั่งสอนนั้น
เจริญพรหมวิหารภาวนา
ถึงความสำเร็จอภิญญาแล้ว ได้ไปเกิดยังพรหมโลก
[๑๘] กรุงชื่อว่าอุตตระ กษัตริย์พระนามว่าอุตตระเป็นพระชนก
พระเทวีนามว่าอุตตราเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๙] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือยสวาปราสาท สุจิมาปราสาท และสิริมาปราสาท
[๒๐] มีนางสนมกำนัล ๓๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่ายสวดี
พระราชโอรสพระนามว่าสีวละ
[๒๑] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๒] พระมหาวีระพระนามว่ามังคละทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรเสด็จจาริกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
[๒๓] พระสุเทวเถระและพระธรรมเสนเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าปาลิตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๔] พระสีลวาเถรีและพระอโสกาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นกากะทิง
[๒๕] นันทอุบาสกและวิสาขอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
อนุฬาอุบาสิกาและสุมนาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๖] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก
มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกาย
ของพระองค์นั้นไปไกลหลายแสนจักรวาล
[๒๗] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๘] สาวกของพระองค์ใคร ๆ ไม่สามารถจะนับได้
เหมือนคลื่นในสมุทรสาครที่ใคร ๆ ไม่อาจนับได้
[๒๙] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เพียงใด
ในศาสนาของพระองค์ไม่มีการตายอย่างคนมีกิเลสเพียงนั้น
[๓๐] พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงชูคบเพลิงคือพระธรรม
ทรงช่วยมหาชนให้ข้ามพ้น
ทรงรุ่งเรืองเหมือนเปลวไฟ เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๓๑] ทรงแสดงอรรถแห่งสภาวะของสังขาร
ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ทรงรุ่งเรืองดังกองเพลิง เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ดังดวงอาทิตย์อัสดง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
[๓๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระราชอุทยานชื่อเวสสระ
พระสถูปของพระชินเจ้านั้นสูง ๓๐ โยชน์
ณ พระราชอุทยานชื่อเวสสระนั้น” ฉะนี้แล
มังคลพุทธวงศ์ที่ ๓ จบ
๔. สุมนพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุมนพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
ได้มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำพระนามว่าสุมนะ
ไม่มีใครเสมอโดยธรรมทั้งปวง
ทรงสูงสุดแห่งสัตว์ทั้งปวง
[๒] ครั้งนั้น พระศาสดาทรงลั่นอมตเภรี๑ในเมขลบุรี
คำสอนของพระชินเจ้ามีองค์ ๙ ประกอบด้วยธรรมฝ่ายขาว
[๓] พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงชำนะกิเลสแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐสุด
ทรงสร้างนครคือพระสัทธรรมซึ่งเป็นเมืองประเสริฐที่สุด
[๔] พระองค์ทรงสร้างถนนใหญ่คือสติปัฏฐาน อันล้ำเลิศ
ไม่มีอะไรคั่น ไม่คด เป็นถนนตรง ไพบูลย์ กว้างขวาง
[๕] ทรงแผ่สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖
และสมาบัติ ๘ ไว้บนถนน๒นั้น
[๖] ชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่มีกิเลสเพียงดังตะปูตรึงใจ๓
ประกอบด้วยหิริและความเพียร
ชนเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถือเอาคุณอันประเสริฐนี้ได้อย่างสบาย

เชิงอรรถ :
๑ ลั่นอมตเภรี ได้แก่ บรรลุนิพพาน (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๒๒๗)
๒ ถนน หมายถึงมหาสติปัฏฐาน ๔ (ขุ.พุทธ.อ. ๔/๒๒๘)
๓ กิเลสเพียงดังตะปูตรึงใจ ได้แก่ เคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขาและ
โกรธ (องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
[๗] พระศาสดาทรงช่วยเหลือมหาชนด้วยความเพียรนั้นอย่างนี้
ทรงช่วยเทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ให้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๘] พระมหาวีระตรัสสอนหมู่เดียรถีย์ในกาลใด
ในกาลนั้นทรงช่วยเหล่าสัตว์ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ให้บรรลุธรรมในกาลแสดงธรรมครั้งที่ ๒
[๙] ในกาลเมื่อเทวดาและมนุษย์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ร่วมใจกันมาทูลถามนิโรธปัญหาและความสงสัยทางใจ
[๑๐] ในกาลทรงแสดงธรรมเป็นเครื่องแสดงนิโรธ
แม้ครั้งนั้นเหล่าสัตว์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๑๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๑๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาแล้ว
เมื่อสงฆ์ประกาศปวารณา พระตถาคตทรงปวารณา
พร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
[๑๓] จากนั้น ในการประชุมกันที่สุวรรณบรรพตอันสุกปลั่ง
พระขีณาสพประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๑๔] ในกาลเมื่อท้าวสักกเทวราชเสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
พระขีณาสพจำนวน ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๑๕] สมัยนั้น เราเป็นพญานาค ผู้มีฤทธิ์มาก
มีชื่อว่าอตุละ เป็นผู้สร้างกุศลให้เจริญขึ้น
[๑๖] ครั้งนั้น เราพร้อมด้วยหมู่ญาติออกจากนาคพิภพ
บำรุงพระชินเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ด้วยดนตรีทิพย์ของพวกนาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
[๑๗] จัดอังคาสพระสงฆ์สาวก ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำแล้ว ถวายผ้ารูปละหนึ่งคู่
ได้ถึงพระชินเจ้าพระองค์นั้นเป็นสรณะ
[๑๘] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
อตุลพญานาคนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๙] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
[๒๐] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป
[๒๑] กรุงชื่อว่าเมขละ กษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะเป็นพระชนก
พระนางสิริมาเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๒] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือจันทปราสาท สุจันทปราสาท และวฏังสปราสาท
[๒๓] มีนางสนมกำนัล ๖,๓๐๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าฏังสกี
พระราชโอรสพระนามว่าอนูปมะ
[๒๔] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๕] พระมหาวีระเจ้าพระนามว่าสุมนะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ เมขลบุรีซึ่งเป็นเมืองประเสริฐที่สุด
[๒๖] พระสรณเถระและพระภาวิตัตตเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอุเทนเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๗] พระโสณาเถรีและพระอุปโสณาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้น
ได้ตรัสรู้ที่โคนต้นกากะทิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
[๒๘] วรุณอุบาสกและสรณอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
จาลาอุบาสิกาและอุปจาลาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๙] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๙๐ ศอก
ทรงงดงามดังทองคำที่ล้ำค่า
รุ่งเรืองไปทั่วหมื่นจักรวาล
[๓๐] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้จำนวนมาก
[๓๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงช่วยคนที่ควรข้ามให้ข้าม
ทรงช่วยคนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้
แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงจันทร์ดับไป
[๓๒] ภิกษุผู้ขีณาสพเหล่านั้น ผู้มียศยิ่งใหญ่
และพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเปรียบได้พระองค์นั้น
แสดงพระรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไป
[๓๓] พระสัพพัญญุตญาณและพระรัตนตรัย
ที่ไม่มีอะไรเทียบเคียงเหล่านั้น
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๔] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ ผู้ทรงพระยศ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่อังคาราม
พระสถูปของพระชินเจ้านั้นสูงที่อังคารามนั้นสูงถึง ๔ โยชน์ ฉะนี้แล
สุมนพุทธวงศ์ที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๕. เรวตพุทธวงศ์
๕. เรวตพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระเรวตพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ
ได้มีพระชินเจ้าทรงเป็นผู้นำพระนามว่าเรวตะ
ไม่มีผู้เปรียบปาน ไม่มีผู้เทียมเท่า ผู้สูงสุด
[๒] แม้พระองค์อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ก็ทรงประกาศพระธรรม อันกำหนดด้วยขันธ์และธาตุ
ไม่เป็นไปในภพน้อยภพใหญ่
[๓] ในกาลที่พระองค์ทรงแสดงธรรม
การบรรลุธรรมมี ๓ ครั้ง
ผู้ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑ จะคำนวณนับไม่ได้เลย
[๔] ในกาลเมื่อพระมุนีพระนามว่าเรวตะ
ทรงแนะนำพระเจ้าอรินทมะ
เทวดาและมนุษย์จำนวน ๑,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๒
[๕] พระผู้องอาจกว่านรชนเสด็จออกจากนิโรธสมาบัติในวันที่ ๗
ทรงแนะนำเทวดาและมนุษย์ในอรหัตตผลจำนวน ๑๐๐ โกฏิ
[๖] พระชินเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระนามว่าเรวตะ
ได้มีการประชุมพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน หลุดพ้นดี คงที่ ๓ ครั้ง
[๗] ครั้งที่ ๑ มีพระขีณาสพมาประชุมกันมากจนเกินกว่าที่จะนับ
ครั้งที่ ๒ มีพระขีณาสพจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๘] ในกาลเมื่อพระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยพระปัญญาของพระองค์
ทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว
ทรงพระประชวรจวนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๕. เรวตพุทธวงศ์
[๙] ครั้งที่ ๓ มีพระขีณาสพที่มาเข้าเฝ้าพระมุนี
เพื่อทูลถามพระอาการประชวรของพระองค์
ครั้งนั้นมีเทวดาและมนุษย์จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๑๐] สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามว่าอติเทพ
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ
แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ
[๑๑] ได้กล่าวสดุดีศีลคุณ สมาธิคุณ และปัญญาคุณ
อันยอดเยี่ยมของพระองค์
แล้วได้ทูลถวายผ้าห่มแด่พระองค์ตามกำลัง
[๑๒] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ พระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
พราหมณ์นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๓] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๕. เรวตพุทธวงศ์
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๕. เรวตพุทธวงศ์
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๕] แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธการกธรรมนั้นแล้ว
เพิ่มพูนให้เจริญขึ้นด้วยหวังว่า ‘เราจักนำมาซึ่งธรรมนั้น
อันเป็นธรรมที่เราปรารถนาอย่างยิ่ง’
[๑๖] กรุงชื่อว่าสุธัญญกะ กษัตริย์พระนามว่าวิปุละเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าวิปุลาเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๗] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๖,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุทัสสนปราสาท รัตนัคฆิปราสาท และอาเวฬปราสาท
ตกแต่งสวยงาม บังเกิดเพราะบุญกรรม
[๑๘] มีนางสนมกำนัล ๓,๓๐๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุทัสสนา
พระราชโอรสพระนามว่าวรุณะ
[๑๙] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๐] พระมหาวีรชินเจ้าพระนามว่าเรวตะทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ประทับอยู่ที่วรุณาราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๕. เรวตพุทธวงศ์
[๒๑] พระวรุณเถระและพระพรหมเทพเถระเป็นพระอัครสาวก
พระสัมภวเถระเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๒] พระภัททาเถรีและพระสุภัททาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้น
ก็ได้ตรัสรู้ที่โคนต้นกากะทิง
[๒๓] วรุณอุบาสกและสรภอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
ปาลาอุบาสิกาและอุปปาลาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก
ทรงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ ดังดวงอาทิตย์อุทัย
[๒๕] วงพระรัศมี อันยอดเยี่ยม
ที่เกิดในพระสรีระของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางวันกลางคืน
[๒๖] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๗] ทรงแสดงพุทธพลังแล้ว
ประกาศอมตธรรมในโลก
ไม่ทรงมีอุปาทานเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
เพราะสิ้นความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นผู้เลิศ
[๒๘] พระวรกายมีพระรัศมีดังทอง
พระธรรมก็ไม่มีอะไรเหมือน
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๖. โสภิตพุทธวงศ์
[๒๙] พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีพระยศ
ผู้เป็นมหามุนีเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
เรวตพุทธวงศ์ที่ ๕ จบ
๖. โสภิตพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระโสภิตพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะทรงเป็นผู้นำ
มีพระทัยสงบมั่นคงไม่มีใครเสมอเหมือน ไม่มีบุคคลเปรียบ
[๒] พระชินเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงยินดีในพระราชวังของพระองค์
ทรงบรรลุพระโพธิญาณโดยสิ้นเชิง ประกาศพระธรรมจักรแล้ว
[๓] จากเบื้องบนจรดอเวจีมหานรก จากเบื้องล่างจรดภวัคคพรหม
ในระหว่างนี้ มีบริษัทเป็นหนึ่งเดียวกัน ในการแสดงธรรม
[๔] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรแก่บริษัทนั้น
ผู้ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑ จะคำนวณนับมิได้เลย
[๕] ถัดจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม
ในสมาคมของเทวดาและมนุษย์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๒
[๖] ในกาลนั้น พระราชบุตรผู้เป็นกษัตริย์พระนามว่าชัยเสน
ทรงรับสั่งให้สร้างพระอารามอีกแห่งหนึ่งน้อมถวายพระพุทธเจ้า
[๗] พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระจักษุ
ทรงแสดงธรรมประกาศการบูชาของกษัตริย์พระองค์นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๖. โสภิตพุทธวงศ์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๓
[๘] พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระนามว่าโสภิตะ
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๙] พระราชาทรงพระนามว่าอุคคตะพระองค์นั้น
ทรงถวายทานแด่พระพุทธเจ้าเป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
ในทานนั้น พระอรหันต์ประมาณ ๑๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๑๐] ครั้งนั้น มีหมู่คณะมาถวายทานแด่พระพุทธเจ้า
เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
พระอรหันต์ประมาณ ๙๐ โกฏิ มาประชุมกัน ครั้งที่ ๒
[๑๑] ในกาลเมื่อพระชินเจ้าทรงเสด็จจำพรรษาในเทวโลกแล้วเสด็จลง
พระอรหันต์ประมาณ ๘๐ โกฏิ มาประชุมกัน ครั้งที่ ๓
[๑๒] สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามว่าสุชาตะ
เราได้อังคาสพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งสาวกให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
[๑๓] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันประมาณมิได้จากกัปนี้ไป
สุชาตพราหมณ์นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๔] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๖. โสภิตพุทธวงศ์
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๖. โสภิตพุทธวงศ์
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้น
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๕] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ทั้งยินดี ทั้งตื้นตันใจ ได้บำเพ็ญความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป
เพื่อบรรลุประโยชน์นั้น
[๑๖] กรุงชื่อว่าสุธรรม กษัตริย์พระนามว่าสุธรรม เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุธรรมา เป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโสภิตะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๗] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือกุมุทปราสาท นฬินีปราสาท และปทุมปราสาท
[๑๘] มีนางสนมกำนัล ๔๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่ามกิลา
พระราชโอรสพระนามว่าสีหะ
[๑๙] พระองค์ผู้เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงเสด็จออกจากปราสาทไปผนวช
ทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ๗ วัน(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๖. โสภิตพุทธวงศ์
[๒๐] พระมหาวีระพระนามว่าโสภิตะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ พระอุทยานสุธรรมาอันประเสริฐ
[๒๑] พระอสมเถระและพระสุเนตตเถระเป็นพระอัครสาวก
พระอโนมเถระเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๒] พระนกุลาเถรีและพระสุชาตาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
และพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อตรัสรู้
ก็ได้ตรัสรู้ที่โคนต้นกากะทิง
[๒๓] รัมมอุบาสกและสุเนตตอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
นกุลาอุบาสิกาและจิตตาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๔] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
ทรงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ ดังดวงอาทิตย์อุทัย
[๒๕] คำสั่งสอนของพระองค์อบไปด้วยกลิ่นศีล
เปรียบเหมือนป่าไม้ที่มีดอกบานสะพรั่งอบไปด้วยกลิ่นต่าง ๆ
[๒๖] คำสอนของพระองค์ใคร ๆ ไม่เบื่อจะฟัง
เหมือนสาครที่ใคร ๆ ไม่เบื่อที่จะเห็น
[๒๗] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๘] พระองค์พร้อมกับสาวกนั้น
ทรงประทานพระโอวาทและการพร่ำสอน
ทรงสั่งสอนหมู่ชนที่เหลือให้เผากิเลสแล้ว
ปรินิพพานดังเปลวไฟไหม้เชื้อแล้วดับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
[๒๙] พระพุทธเจ้าผู้หาใครเสมอเหมือนมิได้
และสาวกผู้บรรลุพลธรรม
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๐] พระโสภิตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่สีหาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
โสภิตพุทธวงศ์ที่ ๖ จบ
๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ มีพระยศหาประมาณมิได้
ทรงมีพระเดชยากที่จะล่วงได้
[๒] พระองค์ทรงตัดกิเลสเครื่องผูกได้ทุกอย่าง๑
ทรงทำลายภพทั้ง ๓๒ แล้ว
ทรงแสดงทางที่มีการไปไม่หวนกลับ๓
แก่หมู่เทวดาและมนุษย์
[๓] พระองค์ทรงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวดังมหาสมุทร
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยากดังภูเขา

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตัดกิเลสเครื่องผูกคือสังโยชน์ ๑๐ ได้ทั้งหมด (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๒๕๓)
๒ ภพ ๓ ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๕)
๓ ทางที่ไปแล้วไม่หวนกลับในที่นี้ได้แก่ นิพพาน (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
ทรงมีพระคุณหาที่สุดมิได้ดังอากาศ
ทรงงดงาม(ด้วยมหาปุริสลักษณะและพระอนุพยัญชนะ)
ดังต้นพญาไม้สาละที่มีดอกบานสะพรั่ง
[๔] สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีแม้ด้วยการเห็นพระพุทธองค์
สัตว์เหล่านั้นได้สดับพระดำรัสที่กำลังตรัสแล้ว
ย่อมบรรลุอมตธรรม
[๕] ครั้งนั้น ในการแสดงธรรมครั้งแรกของพระองค์
การบรรลุธรรมเจริญรุ่งเรืองแผ่ไปอย่างกว้างขวาง
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม
[๖] สมัยต่อมา ในการตรัสพระธรรมเทศนาครั้งที่ ๒ นี้
เมื่อพระพุทธเจ้ายังฝนคือธรรมให้ตกอยู่
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐ โกฏิได้บรรลุธรรม
[๗] สมัยต่อมา เมื่อพระพุทธองค์ยังธารน้ำคือธรรมให้หลั่งไหล
ทำหมู่สัตว์ให้อิ่มหนำ
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๗๘ โกฏิได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๘] เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสีพระองค์นั้น
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมพระภิกษุสงฆ์สาวกผู้บรรลุอภิญญา
และพลธรรม ผู้เบิกบานด้วยการหลุดพ้น ๓ ครั้ง
[๙] ครั้งนั้น พระขีณาสพผู้ละความมัวเมาและความหลง
ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน
[๑๐] พระขีณาสพผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ จำนวน ๗๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๑๑] พระขีณาสพผู้บรรลุอภิญญาและพลธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
มีตบะ ประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
[๑๒] สมัยนั้น เราเกิดเป็นยักษ์ผู้มีฤทธิ์มาก วางอำนาจ
เป็นใหญ่กว่ายักษ์หลายโกฏิ
[๑๓] แม้ครั้งนั้น เราก็ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ได้อังคาสพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
[๑๔] ครั้งนั้น แม้พระมุนีผู้มีนัยนาบริสุทธิ์พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
ยักษ์ตนนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๕] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้น ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
[๑๖] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ทั้งยินดี ทั้งตื้นตันใจ
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๗] กรุงชื่อว่าจันทวดี กษัตริย์พระนามว่ายสวาเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่ายโสธราเป็นพระชนนี
ของพระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี
[๑๘] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสิริปราสาท อุปสิริปราสาท และวัฑฒปราสาท
[๑๙] มีนางสนมกำนัล ๒๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสิริมา
พระราชโอรสพระนามว่าอุปสาละ
[๒๐] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงวอทองออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๑] พระมหาวีรมหามุนีพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ พระอุทยานสุทัสสนะอันประเสริฐ
[๒๒] พระนิสภเถระและพระอโนมเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าวรณะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี
[๒๓] พระสุนทราเถรีและพระสุมนาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่าต้นรกฟ้า
[๒๔] นันทิวัฑฒอุบาสกและสิริวัฑฒอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
อุปปลาอุบาสิกาและปทุมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๘. ปทุมพุทธวงศ์
[๒๕] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
พระองค์มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกสว่างไสว ดังดวงอาทิตย์อุทัย
[๒๖] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๗] ศาสนาของพระชินเจ้าบานสะพรั่ง
งดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้คงที่
ปราศจากราคะและไม่มีมลทิน
[๒๘] พระศาสดาพระองค์นั้นผู้มีพระยศหาประมาณมิได้
และคู่พระอัครสาวกผู้ไม่มีบุคคลเสมอเหมือน
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๒๙] พระชินศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่ธรรมาราม
พระสถูปของพระชินเจ้านั้น
ที่ธรรมารามนั้น สูง ๒๕ โยชน์ ฉะนี้แล
อโนมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๗ จบ
๘. ปทุมพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติพระปทุมพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะตามพระโคตร
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ ไม่มีใครเสมอเหมือน
ไม่มีบุคคลเปรียบ
[๒] แม้ศีลของพระองค์ก็ไม่มีสิ่งไรเสมอ แม้สมาธิก็ไม่มีที่สุด
พระญาณอันประเสริฐนับไม่ถ้วน และแม้วิมุตติก็ไม่มีอะไรเปรียบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๘. ปทุมพุทธวงศ์
[๓] แม้ในคราวที่พระองค์ผู้มีเดชหาอะไรเทียบมิได้
ทรงประกาศพระธรรมจักร
การบรรลุธรรม กำจัดความมืดใหญ่ได้มี ๓ ครั้ง
[๔] ในการบรรลุธรรม ครั้งที่ ๑ พระพุทธธีรเจ้า
ทรงช่วยเทวดาและมนุษย์ ประมาณ ๑๐๐ โกฏิ ให้บรรลุ
ในการบรรลุธรรม ครั้งที่ ๒ ทรงช่วยเทวดาและมนุษย์
ประมาณ ๙๐ โกฏิ ให้บรรลุ
[๕] และในคราวเมื่อพระปทุมพุทธเจ้า
ตรัสสอนพระราชโอรสของพระองค์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๓
[๖] พระปทุมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
ภิกษุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๗] เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้นในสมัยกรานกฐิน
ภิกษุทั้งหลายช่วยกันเย็บจีวรเพื่อประโยชน์แก่พระธรรมเสนาบดี
[๘] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นล้วนปราศจากมลทิน
ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก
ผู้ไม่พ่ายแพ้ ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน
[๙] สมัยต่อมา ในคราวที่พระปทุมพุทธเจ้า
ผู้องอาจกว่านรชนทรงเข้าจำพรรษาในป่าใหญ่
ครั้งนั้น ภิกษุประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน
[๑๐] สมัยนั้น ข้าพเจ้าเกิดเป็นราชสีห์
เป็นเจ้าแห่งฝูงเนื้อได้เห็นพระชินเจ้า
ซึ่งกำลังเจริญวิเวกธรรมอยู่ในป่าใหญ่
[๑๑] ข้าพเจ้ากราบพระยุคลบาทด้วยศีรษะ
กระทำประทักษิณพระองค์ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง
บำรุงพระชินเจ้าอยู่ตลอด ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๘. ปทุมพุทธวงศ์
[๑๒] ครบ ๗ วันแล้ว พระตถาคตเสด็จออกจากสมาบัติอันประเสริฐ
ทรงมีหทัยดำริให้ภิกษุจำนวน ๑ โกฏิ มาประชุมกัน
[๑๓] แม้ครั้งนั้น พระมหาวีระพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์ในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้นว่า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
พญาราชสีห์นี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๔] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว
เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดีจักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๘. ปทุมพุทธวงศ์
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและขุชชุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๕] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๘. ปทุมพุทธวงศ์
[๑๖] กรุงชื่อว่าจัมปกะ กษัตริย์พระนามว่าอสมะ เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าอสมา เป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๗] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือนันทปราสาท วสุปราสาท และยสุตตรปราสาท
[๑๘] มีนางสนมกำนัล ๓๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าอุตตรา
พระราชโอรสพระนามว่ารัมมะ
[๑๙] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๐] พระมหาวีระพระนามว่าปทุมะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ พระอุทยานธนัญชะอันประเสริฐ
[๒๑] พระสาลเถระและพระอุปสาลเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าวรณะเป็นพระอุปัฏฐากของพระปทุมพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๒] พระราธาเถรีและพระสุราธาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอ้อยช้างใหญ่
[๒๓] สภิยอุบาสกและอสมอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
รุจิอุบาสิกาและนันทรามาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๔] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
พระองค์มีพระรัศมีหาอะไรเสมอมิได้ ซึ่งแผ่ซ่านออกทั่วทิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
[๒๕] แสงดวงจันทร์ แสงดวงอาทิตย์ แสงรัตนะ แสงไฟ
และแสงแก้วมณีจินดาแม้ทุกอย่างนั้น
ครั้นมาถึงรัศมีอันสูงสุดของพระชินเจ้าแล้วย่อมอันตรธานไป
[๒๖] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๗] พระองค์พร้อมกับสาวกนั้น ทรงช่วยเหล่าสัตว์
ที่มีญาณแก่กล้าให้ตรัสรู้ได้โดยไม่เหลือ
ทรงพร่ำสอนชนที่เหลืออื่น ๆ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๒๘] พระองค์ทรงละทิ้งสังขารทั้งปวงเหมือนงูลอกคราบเก่า
ดังรุกขชาติสลัดใบเก่า แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนเปลวเพลิงดับไป
[๒๙] พระปทุมชินศาสดาผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่ธรรมาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
ปทุมพุทธวงศ์ที่ ๘ จบ
๙. นารทพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระนารทพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะ
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ ตามพระโคตร
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ไม่มีใครเสมอเหมือน ไม่มีบุคคลเปรียบ
[๒] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระเชษฐโอรส
ที่ทรงโปรดปรานของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงสวมใส่อาภรณ์แก้วมุกดา เสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
[๓] ในพระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้ใหญ่
แผ่กิ่งก้านสาขาร่มครึ้มสวยงาม
พระองค์เสด็จถึงท่ามกลางพระราชอุทยานนั้นแล้ว
ประทับนั่งภายใต้ต้นอ้อยช้างใหญ่
[๔] ณ ที่นั้น เกิดพระญาณอันประเสริฐหาที่สุดมิได้
เปรียบด้วยเพชร ทรงพิจารณาสังขาร
และพิจารณาสังขารว่าเป็นสภาวะที่เปิดเผย
และที่ปกปิด ด้วยพระญาณนั้น
[๕] ทรงลอยกิเลสทั้งปวงได้โดยไม่เหลือในที่นั้นเอง
ทรงบรรลุพระโพธิญาณทั้งสิ้นและพระพุทธญาณ ๑๔๑
[๖] ครั้นทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๗] ในกาลนั้นพระมหามุนีทรงกำราบพญานาค
ผู้มีลำตัวเท่าเรือโกลนขนาดใหญ่
ได้ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ให้มนุษยโลก
พร้อมทั้งเทวโลกได้เห็นพร้อมกัน
[๘] ในกาลที่ทรงประกาศพระธรรมแก่เทวดาและมนุษย์
ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ข้ามความสงสัยทั้งปวงได้
[๙] ในกาลเมื่อพระมหาวีระตรัสสอนพระราชโอรสของพระองค์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓

เชิงอรรถ :
๑ พุทธญาณ ๑๔ ได้แก่ มรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ (ขุ.พุทธ.อ. ๕/๒๖๘-๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
[๑๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
สาวกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๑๑] ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธคุณ
พร้อมด้วยเหตุ สาวกผู้ปราศจากมลทิน
ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๑๒] ในกาลที่เวโรจนนาคราชถวายทานแด่พระศาสดา
สาวกของพระชินเจ้าประมาณ ๘๐ ล้าน มาประชุมกัน
[๑๓] สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะแก่กล้า
สำเร็จอภิญญา ๕ เหาะไปในอากาศได้
[๑๔] แม้ครั้งนั้น เราก็ได้อังคาสพระศาสดา
หาผู้เสมอเหมือนมิได้พร้อมทั้งพระสงฆ์
และบริวารชนให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำแล้ว
ได้บูชาด้วยไม้จันทน์หอม
[๑๕] ครั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ
พระองค์นั้น ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก’
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๖] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๗] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำใจให้ยินดีอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๘] กรุงชื่อว่าธัญญวดี กษัตริย์พระนามว่าสุเทพ เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าอโนมา เป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๙] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือชิตปราสาท วิชิตปราสาท และอภิรามปราสาท
[๒๐] มีนางสนมกำนัล ๔๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าวิชิตเสนา
พระราชโอรสพระนามว่านันทุตตระ
[๒๑] พระองค์ผู้เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงเสด็จออกผนวชด้วยการเดินเท้า
บำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
[๒๒] พระมหาวีระพระนามว่านารทะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ พระอุทยานธนัญชะอันประเสริฐ
[๒๓] พระภัททสาลเถระและพระชิตมิตตเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าวาเสฏฐะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๔] พระอุตตราเถรีและพระผัคคุนีเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอ้อยช้างใหญ่
[๒๕] อุคครินทอุบาสกและวสภอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
อินทวรีอุบาสิกาและคัณฑีอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๖] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก
ทรงงดงามดังทองคำที่ล้ำค่า ทำหมื่นจักรวาลให้สว่างไสว
[๒๗] พระองค์ทรงมีพระวรกายมีรัศมีวาหนึ่ง
พระรัศมี(นั้น) แผ่ซ่านไปทั่วทิศ ติดกันไปตลอดโยชน์หนึ่ง
ทั้งกลางวันและกลางคืนทุกเมื่อ(ที่ต้องการ)
[๒๘] ขณะนั้น ในระยะโยชน์หนึ่งโดยรอบ
ใคร ๆ ไม่ต้องจุดคบเพลิงหรือประทีป(เพราะ)พระพุทธรัศมีแผ่ไปทั่ว
[๒๙] สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๐] ศาสนาของพระองค์งดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
เหมือนท้องฟ้างามวิจิตรด้วยหมู่ดาว
[๓๑] พระผู้องอาจกว่านรชนพระองค์นั้น
ทรงสร้างสะพานคือธรรมไว้อย่างมั่นคง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
สำหรับให้คนผู้ปฏิบัติที่เหลือ๑เดินข้ามกระแสสังสารวัฏแล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๓๒] แม้พระพุทธเจ้าหาผู้เสมอเหมือนมิได้พระองค์นั้น
และพระขีณาสพผู้มีเดชหาอะไรเทียบมิได้เหล่านั้น
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๓] พระนารทชินเจ้าผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่สุทัสสนนคร
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่สุทัศนนครนั้นสูง ๔ โยชน์ ฉะนี้แล
นารทพุทธวงศ์ที่ ๙ จบ
๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ
ได้มีพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้สูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์
ไม่หวั่นไหว เปรียบด้วยสมุทรสาคร
[๒] ก็กัปที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นนั้น
เป็นมัณฑกัป(กัปที่มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ๒ พระองค์)
หมู่ชนผู้มีกุศลมากได้เกิดขึ้นในกัปนั้น
[๓] ในคราวที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงแสดงธรรมครั้งแรก
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม

เชิงอรรถ :
๑ คนผู้ปฏิบัติที่เหลือ ในที่นี้ได้แก่ เสกขบุคคลกับกัลยาณปุถุชน (ขุ.พุทธ.อ. ๓๑/๒๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
[๔] จากนั้น เมื่อพระองค์ทำฝนคือธรรมให้ตก
ช่วยเหล่าสัตว์ให้อิ่มหนำ(ด้วยฝนคืออมตะ)
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๓๗,๐๐๐(โกฏิ) ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๒
[๕] ในกาลที่พระมหาวีรเจ้า
ได้เสด็จเข้าไปหาพระเจ้าอานันทะ(ผู้เป็นพระราชบิดา)
ครั้นเข้าไปสำนักของพระราชบิดาแล้ว ได้ทรงลั่นอมตเภรี
[๖] เมื่อพระพุทธเจ้าทรงลั่นอมตเภรี
บันดาลสายฝนคือธรรมให้ตกลง
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ (โกฏิ)
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๗] พระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในเทศนา ผู้ทรงประทานโอวาท
ผู้ทำเหล่าสัตว์ให้รู้แจ้งทรงช่วยสัตว์ทั้งปวงให้ข้าม
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๘] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
มีสาวกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๙] ในกาลที่พระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน ประทับอยู่ที่เวภารบรรพต
สาวกประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๑๐] เมื่อพระองค์เสด็จจากคามนิคมและแว่นแคว้นหลีกจาริกไป
สาวกประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๑๑] สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีชื่อว่ารัฏฐิกะ
ได้ถวายผ้าพร้อมภัตตาหารแด่พระสงฆ์
มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน
[๑๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ประทับนั่งท่ามกลางพระสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
จากนี้ไปอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ชฎิลนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๓] ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา
จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็อธิษฐานวัตรให้ยิ่งขึ้นไป เราได้บำเพ็ญเพียร
อย่างมั่นคงเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๕] ครั้งนั้น เดียรถีย์ทั้งปวงถูกขจัดไป จึงพากันโทมนัสเสียใจ
ใคร ๆ ก็ไม่บำรุงเดียรถีย์เหล่านั้น
ขับไล่พวกเขาไปจากแว่นแคว้น
[๑๖] พวกเดียรถีย์ประชุมกันในที่นั้นทั้งหมด
เข้าไปสำนักของพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ
ขอพระองค์เป็นที่พึ่งที่ระลึกของพวกข้าพระองค์เถิด’
[๑๗] พระองค์ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในเบญจศีล
[๑๘] เมื่อเป็นเช่นนี้ พุทธศาสนานั้นหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๑๙] กรุงชื่อว่าหงสวดี กษัตริย์พระนามว่าอานนท์เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุชาดาเป็นพระชนนี
ของพระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
[๒๐] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือนารีปราสาท พาหนปราสาท และยสวดีปราสาท
[๒๑] มีนางสนมกำนัล ๔๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าวสุลทัตตา
พระราชโอรสพระนามว่าอุตตระ
[๒๒] พระองค์เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงเสด็จออกจากปราสาทไปผนวช
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๓] พระมหาวีระพระนามว่าปทุมุตตระทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ พระอุทยานมิถิลา อันประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
[๒๔] พระเทวิลเถระและพระสุชาตเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสุมนะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
[๒๕] พระอมิตาเถรีและพระอสมาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นสน
[๒๖] อมิตอุบาสกและติสสอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
หัตถาอุบาสิกาและสุจิตตาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๗] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
ทรงงดงามดังทองคำที่ล้ำค่า
ทรงมีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๒๘] กำแพง บานประตู ฝาเรือน ต้นไม้ และภูผาสูง
ก็กำบังพระรัศมีของพระองค์นั้น ในที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบไม่ได้
[๒๙] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๐] พระองค์พร้อมกับสาวกนั้น ทรงช่วยหมู่ชน
ให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
ทรงตัดความสงสัยของชนทั้งปวงแล้ว
ทรงรุ่งเรือง ดับไปเหมือนกองไฟไม่มีเชื้อดับไป
[๓๑] พระชินพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นันทาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่นันทารามนั้นสูง ๑๒ โยชน์ ฉะนี้แล
ปทุมุตตรพุทธวงศ์ที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุเมธพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ได้มีพระชินเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก ทรงมีพระเดชรุ่งเรือง
ทรงประเสริฐสุดในบรรดาสัตว์โลกทั้งปวง
[๒] ทรงมีพระเนตรสุกใส มีพระพักตร์ชื่นบาน
มีพระวรกายสูงสง่า ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ทรงเปลื้องสัตว์เป็นจำนวนมากให้หลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการ
[๓] พระพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณอันอุดม
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่สุทัสสนนคร
[๔] แม้ในการที่พระองค์ทรงแสดงธรรม
ได้มีการบรรลุธรรม ๓ ครั้ง
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๑
[๕] อีกเรื่องหนึ่ง พระชินเจ้าทรงทรมานยักษ์ชื่อว่ากุมภกรรณ์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๒
[๖] อีกเรื่องหนึ่ง พระองค์ผู้มีพระยศนับไม่ได้
ทรงประกาศอริยสัจ ๔
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๓
[๗] พระชินเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๘] ในกาลที่พระชินเจ้าเสด็จเข้าไปยังสุทัศนนคร
พระขีณาสพจำนวน ๑๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๙] อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายกรานกฐิน ณ เทวกูฏบรรพต
พระขีณาสพประมาณ ๙๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
[๑๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่พระทศพลเสด็จจาริกไป
พระขีณาสพประมาณ ๘๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๑๑] สมัยนั้น เราเป็นมาณพมีชื่อว่าอุตตระ
มีทรัพย์ที่เก็บสะสมไว้ในเรือนถึง ๘๐ โกฏิ
[๑๒] เราได้ถวายทรัพย์สมบัติทั้งสิ้นแด่พระชินเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพร้อมทั้งพระสงฆ์
ถึงพระองค์เป็นสรณะแล้ว พอใจการบรรพชา
[๑๓] ครั้นนั้น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนา
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ใน ๓๐,๐๐๐ กัป มาณพนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๔] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
[๑๕] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๖] เราได้เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว
ช่วยประกาศศาสนาของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง
[๑๗] เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในคำสั่งสอนนั้น
ทั้งในเวลานั่ง ยืน และเดิน
ถึงความสำเร็จอภิญญาแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก
[๑๘] กรุงชื่อว่าสุทัสสนะ กษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุทัตตาเป็นพระชนนี
ของพระชินเจ้าพระนามว่าสุเมธะผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๙] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุจันทปราสาท กัญจนปราสาท และสิริวัฑฒปราสาท
[๒๐] มีนางสนมกำนัล ๔๘,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุมนา
พระราชโอรสพระนามว่าปุนัพพะ
[๒๑] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๒] พระมหาวีระพระนามว่าสุเมธะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ที่พระอุทยานสุทัศนอันประเสริฐ
[๒๓] พระสรณเถระและพระสัพพกามเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสาคระเป็นพระอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น