Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๔-๙ หน้า ๓๔๕ - ๓๘๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔-๙ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี



พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมสังคณี
_________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
จตุตถฌานฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูปาวจร ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา
โลกุตตรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นอทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในจิตนี้แล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
เวทนา ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
๓. วิปากติกะ
[๑๓๙๐] สภาวธรรมที่เป็นวิบาก เป็นไฉน
วิบากในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นวิบาก
[๑๓๙๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ และอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้เกิดวิบาก
[๑๓๙๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน
อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
๔. อุปาทินนติกะ
[๑๓๙๓] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
วิบากในภูมิ ๓ และรูปอันกรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๑๓๙๔] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปอันกรรมไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
[๑๓๙๕] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๕. สังกิลิฏฐติกะ
[๑๓๙๖] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน
อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็น
อารมณ์ของกิเลส
[๑๓๙๗] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
[๑๓๙๘] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
๖. สวิตักกติกะ
[๑๓๙๙] สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร เป็นไฉน
กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๑ ฝ่าย
วิบากแห่งอกุศล ๒ ฝ่ายกิริยา ๑๑ รูปาวจรปฐมฌานฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา
โลกุตตรปฐมฌานฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นวิตกและวิจารที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีทั้งวิตกและวิจาร
[๑๔๐๐] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เป็นไฉน
ทุติยฌานในรูปาวจร ปัญจกนัยฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ทุติยฌานใน
โลกุตตรปัญจกนัย ฝ่ายกุศล และวิบาก และวิตก เว้นวิจารที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
[๑๔๐๑] สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร เป็นไฉน
ทวิปัญจวิญญาณทั้งหมด ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก
และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบากแห่งกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ฝ่ายที่เป็น
โลกุตตระฝ่ายกุศล วิบาก วิจารที่เกิดขึ้นในทุติยฌาน ในปัญจกนัย รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีทั้งวิตกและวิจาร วิจารที่เกิดพร้อมกับวิตกกล่าวไม่ได้ว่า
มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
๗. ปีติติกะ
[๑๔๐๒] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่าย
วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๕ ฝ่ายกิริยา ๕ ทุติยฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจร
ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศลและวิบาก
เว้นปีติที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยปีติ
[๑๔๐๓] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่าย
วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๖ ฝ่ายกิริยา ๕ ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่าย
กุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตตระกุศลและวิบาก เว้นสุข
ที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยสุข
[๑๔๐๔] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๖ ฝ่าย
วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๐ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๖ ฝ่ายกิริยา ๖ รูปาวจร-
จตุตถฌาน ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา
โลกุตตรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นอุเบกขาที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยอุเบกขา ปีติไม่สหรคตด้วยปีติ แต่สหรคตด้วย
สุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา สุขไม่สหรคตด้วยสุข แต่ที่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒
กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ อุเบกขาเวทนา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้
กล่าวไม่ได้ว่าสหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
๘. ทัสสนติกะ
[๑๔๐๕] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
[๑๔๐๖] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
[๑๔๐๗] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้อง
บน ๓ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
๙. ทัสสนเหตุติกะ
[๑๔๐๘] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เว้น
โมหะที่เกิดในจิตตุปบาทนี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรค
[๑๔๐๙] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้แล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโลภวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี มีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
[๑๔๑๐] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบาก
ในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
๑๐. อาจยคามิติกะ
[๑๔๑๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ และอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
[๑๔๑๒] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึง
นิพพาน
[๑๔๑๓] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน เป็นไฉน
วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน
๑๑. เสกขติกะ
[๑๔๑๔] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผลเบื้องต่ำ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นของเสขบุคคล
[๑๔๑๕] สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล เป็นไฉน
อรหัตตผลที่เป็นผลเบื้องบน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นของอเสขบุคคล
[๑๔๑๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
๑๒. ปริตตติกะ
[๑๔๑๗] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ เป็นไฉน
กามาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบากทั้งหมด กามาวจรอัพยากตกิริยา
และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นปริตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
[๑๔๑๘] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน
กุศลและอัพยากฤตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
มหัคคตะ
[๑๔๑๙] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัปปมาณะ
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ
[๑๔๒๐] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
กามาวจรวิบากทั้งหมด มโนธาตุที่เป็นกิริยา มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุก-
กิริยาซึ่งสหรคตด้วยโสมนัส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปริตตะเป็นอารมณ์
[๑๔๒๑] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
[๑๔๒๒] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ จิตตุปบาทที่เป็นญาณ-
วิปปยุตฝ่ายกิริยา ๔ อกุศลทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์แต่ไม่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะ
เป็นอารมณ์หรือมีมหัคคตะป็นอารมณ์ก็มี จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่าย
กามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายกิริยา ๔ รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและกิริยา มโน-
วิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกกิริยาซึ่งสหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามี
ปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ก็มี ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้
กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ รูปและนิพพานชื่อว่ารับรู้อารมณ์ไม่ได้
๑๔. หีนติกะ
[๑๔๒๓] สภาวธรรมชั้นต่ำ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นต่ำ
[๑๔๒๔] สภาวธรรมชั้นกลาง เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นกลาง
[๑๔๒๕] สภาวธรรมชั้นประณีต เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นประณีต
๑๕. มิจฉัตตติกะ
[๑๔๒๖] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
[๑๔๒๗] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีสภาวะชอบและ
ให้ผลแน่นอน
[๑๔๒๘] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓
อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
๑๖. มัคคารัมมณติกะ
[๑๔๒๙] สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายกิริยา ๔ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี แต่ไม่มีมรรคเป็นเหตุ ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
แต่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์หรือมีมรรคเป็นอธิบดี อริยมรรค ๔ ไม่มีมรรค
เป็นอารมณ์ แต่มีมรรคเป็นเหตุ ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรค
เป็นอธิบดีก็มี รูปาวจรจตุตถฌานที่เป็นฝ่ายกุศลและฝ่ายกิริยา มโนวิญญาณธาตุที่
เป็นอเหตุกกิริยาซึ่งสหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นอารมณ์
แต่ไม่มีมรรคเป็นเหตุ ที่ไม่มีมรรคเป็นอธิบดี แต่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์
ก็มี จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ อกุศลทั้งหมด วิบากแห่งกามาวจรทั้งหมด
จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา ๖ ฌาน ๓ ฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา
วิบากแห่งจตุตถฌาน อรูปฌาน ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก กิริยา และสามัญญผล ๔
สภาวธรรมเหล่านี้กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรค
เป็นอธิบดี รูปและนิพพานรับรู้อารมณ์ไม่ได้
๑๗. อุปปันนติกะ
[๑๔๓๐] สภาวธรรมที่เกิดขึ้น เป็นไฉน
วิบากในภูมิ ๔ รูปอันกรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเกิดขึ้นก็มี ที่จัก
เกิดแน่นอนก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิดขึ้น กุศลในภูมิ ๔ อกุศล อัพยากตกิริยา
ในภูมิ ๓ รูปอันกรรมไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเกิดขึ้นก็มี ยังไม่เกิดขึ้น
ก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่าจักเกิดขึ้นแน่นอน นิพพานกล่าวไม่ได้ว่าเกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้น
หรือจักเกิดขึ้นแน่นอน
๑๘. อตีตติกะ
[๑๔๓๑] เว้นนิพพานแล้ว สภาวธรรมทั้งหมดที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี
ที่เป็นปัจจุบันก็มี นิพพานกล่าวไม่ได้ว่าเป็นอดีต อนาคต หรือเป็นปัจจุบัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
๑๙. อตีตารัมมณติกะ
[๑๔๓๒] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
[๑๔๓๓] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารม์อย่างเดียว ไม่มี
[๑๔๓๔] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
ปัญจวิญญาณและมโนธาตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปัจจุบันธรรมเป็น
อารมณ์
จิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๐ มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วย
อุเบกขาฝ่ายอกุศลวิบาก มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกกิริยาซึ่งสหรคตด้วยโสมนัส
สภาวธรรมเหล่านี้ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา ๙
รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี และกล่าวไม่ได้
ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์หรือมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็น
รูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ สภาวธรรม
เหล่านี้กล่าวไม่ได้ว่ามีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ รูปและนิพพานชื่อว่ารับรู้อารมณ์ไม่ได้
๒๐. อัชฌัตตติกะ
[๑๔๓๕] เว้นรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์และนิพพานเแล้ว สภาวธรรมทั้งหมดที่
เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี รูปที่
ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์และนิพพานชื่อว่าเป็นภายนอกตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ
[๑๔๓๖] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์
[๑๔๓๗] สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา จตุตถฌานวิบาก
อากาสานัญจายตนะ มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และสามัญญผล ๔ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
เว้นรูปแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เป็นกามาวจร
ทั้งหมด รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ที่มีธรรมภายใน
ตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและ
ภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี อากิญจัญญายตนะกล่าวไม่ได้ว่ามีธรรมภายในเป็น
อารมณ์ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ รูปและนิพพานชื่อว่ารับรู้อารมณ์ไม่ได้
๒๒. สนิทัสสนติกะ
[๑๔๓๘] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน
รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นได้และกระทบได้
[๑๔๓๙] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้แต่
กระทบได้
[๑๔๔๐] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้
กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่
ได้และกระทบไม่ได้
ติกอัตถุทธาระ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ เหตุโคจฉกะ
ทุกอัตถุทธาระ
๑. เหตุโคจฉกะ
๑. เหตุทุกะ
[๑๔๔๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุ เป็นไฉน
กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ อโลภกุศลเหตุ อโทสกุศลเหตุ เกิด
ขึ้นในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ อโมหกุศลเหตุเกิดขึ้นในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ เว้นจิตตุปบาทที่เป็น
ญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔
โลภะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ โทสะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโทมนัส ๒ โมหะเกิดขึ้นในอกุศลทั้งหมด
อโลภวิปากเหตุ อโทสวิปากเหตุเกิดขึ้นในวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุป-
บาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจร อโมหวิปากเหตุเกิดขึ้นในวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เว้น
อเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจรและจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔
อโลภกิริยาเหตุ อโทสกิริยาเหตุเกิดขึ้นในกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท
ฝ่ายกามาวจรกิริยา อโมหกิริยาเหตุเกิดขึ้นในกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท
ฝ่ายกามาวจรกิริยาและเว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ
ว่าเป็นเหตุ
[๑๔๔๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน
เว้นเหตุทั้งหมดแล้ว กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุ
๒. สเหตุทุกะ
[๑๔๔๓] สภาวธรรมที่มีเหตุ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
แล้ว กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจร
อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยาแล้ว สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ เหตุโคจฉกะ
[๑๔๔๔] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ เป็นไฉน
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ทวิปัญจ-
วิญญาณ มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุ
๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๔๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
กุศลในภูมิทั้ง ๔ วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจร
อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเหตุ
[๑๔๔๖] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ทวิปัญจวิญญาณ
มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
วิปปยุตจากเหตุ
๔. เหตุสเหตุกทุกะ
[๑๔๔๗] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน
เหตุ ๒ เหตุ ๓ เกิดขึ้นร่วมกันในสภาวธรรมใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
เหตุและมีเหตุ
[๑๔๔๘] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่ง
กามาวจร อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา เว้น
เหตุทั้งหมดที่เกิดในจิตตุปบาทนี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุ มีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
๕. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๔๙] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ จูฬันตรทุกะ
เหตุ ๒ เหตุ ๓ เกิดขึ้นร่วมกันในสภาวธรรมใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
เหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
[๑๔๕๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่ง
กามาวจร อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา และ
เว้นเหตุทั้งหมดที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเหตุแต่
ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากเหตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
๖. นเหตุสเหตุกทุกะ
[๑๔๕๑] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่ง
กามาวจร อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา และเว้น
เหตุทั้งหมดที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
[๑๔๕๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ เป็นไฉน
ทวิปัญจวิญญาณ มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุกล่าวไม่ได้ว่า
ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุหรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
เหตุโคจฉกะ จบ
๒. จูฬันตรทุกะ
๑. สัปปัจจยทุกะ
[๑๔๕๓] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปัจจัยปรุงแต่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ จูฬันตรทุกะ
[๑๔๕๔] สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน
นิพพาน สภาวธรรมนี้ชื่อว่าไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
๒. สังขตทุกะ
[๑๔๕๕] สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมนี้ชื่อว่าถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๑๔๕๖] สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน
นิพพาน สภาวธรรมนี้ชื่อว่าไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
๓. สนิทัสสนทุกะ
[๑๔๕๗] สภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นไฉน
รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นได้
[๑๔๕๘] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔
อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และ
นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้
๔. สัปปฏิฆทุกะ
[๑๔๕๙] สภาวธรรมที่กระทบได้ เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากระทบได้
[๑๔๖๐] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้
กระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากระทบ
ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ อาสวโคจฉะ
๕. รูปีทุกะ
[๑๔๖๑] สภาวธรรมที่เป็นรูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูป
[๑๔๖๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นรูป
๖. โลกิยทุกะ
[๑๔๖๓] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นโลกิยะ
[๑๔๖๔] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นโลกุตตระ
๗. เกนจิวิญเญยยทุกะ
สภาวธรรมทั้งหมดชื่อว่าจิตบางดวงรู้ได้ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
จูฬันตรทุกะ จบ
๓. อาสวโคจฉกะ
๑. อาสวทุกะ
[๑๔๖๕] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
อาสวะ ๔ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ อาสวโคจฉกะ
๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. ทิฏฐาสวะ
๔. อวิชชาสวะ
กามาสวะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ภวาสวะเกิดขึ้นใน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ทิฏฐาสวะ เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่
สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ อวิชชาสวะเกิดขึ้นในอกุศลทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอาสวะ
[๑๔๖๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นอาสวะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอาสวะ
๒. สาสวทุกะ
[๑๔๖๗] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอาสวะ
[๑๔๖๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
๓. อาสวสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๖๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ เว้นโมหเจตสิกที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้แล้ว
อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะแล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ อาสวโคจฉกะ
[๑๔๗๐] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน
โมหะที่เกิดในจิตตุปบาท ที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยา
ในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอาสวะ
๔. อาสวสาสวทุกะ
[๑๔๗๑] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน
อาสวะเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
[๑๔๗๒] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นอาสวะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะ สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็น
อารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
๕. อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๗๓] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน
อาสวะ ๒ อาสวะ ๓ เกิดขึ้นร่วมกันในสภาวธรรมใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ
[๑๔๗๔] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นอาสวะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่
เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุต
ด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
๖. อาสววิปปยุตตสาสวทุกะ
[๑๔๗๕] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
ไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ สัญโญชนโคจฉกะ
โมหะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ โมหะที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉาและโมหะที่สหรคตด้วยอุจธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยา
ในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ
[๑๔๗๖] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอาสวะกล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อาสวโคจฉกะ จบ
๔. สัญโญชนโคจฉกะ
๑. สัญโญชนทุกะ
[๑๔๗๗] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
สังโยชน์ ๑๐ คือ

๑. กามราคสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์
๓. มานสังโยชน์ ๔. ทิฏฐิสังโยชน์
๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
๗. ภวราคสังโยชน์ ๘. อิสสาสังโยชน์
๙. มัจฉริยสังโยชน์ ๑๐. อวิชชาสังโยชน์

กามราคสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ปฏิฆสังโยชน์เกิดขึ้น
ในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ มานสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคต
ด้วยโลภะ วิปปยุตตจากทิฏฐิ ๔ ทิฏฐิสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ สัญโญชนโคจฉกะ
ทิฏฐิ ๔ วิจิกิจฉาสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ๑ สีลัพพต-
ปรามาสสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ภวราคสังโยชน์เกิดขึ้นใน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ อิสสาสังโยชน์และมัจฉริย-
สังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ อวิชชาสังโยชน์เกิดขึ้นในอกุศล
ทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสังโยชน์
[๑๔๗๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นสังโยชน์ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ รูปทั้งหมด และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นสังโยชน์
๒. สัญโญชนิยทุกะ
[๑๔๗๙] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์
[๑๔๘๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
๓. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๘๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสังโยชน์
[๑๔๘๒] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ เป็นไฉน
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์
๔. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ
[๑๔๘๓] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
สังโยชน์เหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ สัญโญชนโคจฉกะ
[๑๔๘๔] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นสังโยชน์ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ
๓ รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์
ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
๕. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๘๕] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน
สังโยชน์ ๒ สังโยชน์ ๓ เกิดร่วมกันในสภาวธรรมเหล่าใด สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์
[๑๔๘๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นสังโยชน์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่
ไม่เป็นสังโยชน์ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ
สัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
๖. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ
[๑๔๘๗] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
เป็นไฉน
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์
ของสังโยชน์
[๑๔๘๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยสังโยชน์กล่าวไม่ได้ว่าวิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
หรือวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
สัญโญชนโคจฉกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ คันถโคจฉกะ
๕. คันถโคจฉกะ
๑. คันถทุกะ
[๑๔๘๙] สภาวธรรมที่เป็นคันถะ เป็นไฉน
คันถะ ๔ คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ
๒. พยาปาทกายคันถะ
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
อภิชฌากายคันถะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ พยาปาทกาย-
คันถะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สีลัพพตปรามาสกายคันถะและ
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นคันถะ
[๑๔๙๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นคันถะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นคันถะ
๒. คันถนิยทุกะ
[๑๔๙๑] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของคันถะ
[๑๔๙๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
๓. คันถสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๙๓] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ คันถโคจฉกะ
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ และจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุต
จากทิฏฐิ ๔ เว้นโลภะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒
เว้นปฏิฆะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยคันถะ
[๑๔๙๔] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน
โลภะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ปฏิฆะ
เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะ
๔. คันถคันถนิยทุกะ
[๑๔๙๕] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน
คันถะเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
[๑๔๙๖] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นคันถะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
๕. คันถคันถสัมปยุตตทุกะ
[๑๔๙๗] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน
ทิฏฐิและโลภะเกิดขึ้นร่วมกัน ในสภาวธรรมเหล่าใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ
[๑๔๙๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ เว้น
คันถะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือ
สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ โยคโคจฉกะ
๖. คันถวิปปยุตตคันถนิยทุกะ
[๑๔๙๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน
โลภะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ปฏิฆะ
เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของ
คันถะ
[๑๕๐๐] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยคันถะกล่าวไม่ได้ว่าวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจาก
คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
คันถโคจฉกะ จบ
๖. โอฆโคจฉกะ
๑. โอฆทุกะ
[๑๕๐๑] สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ เป็นไฉน ฯลฯ
๗. โยคโคจฉกะ
๑. โยคทุกะ
[๑๕๐๒] สภาวธรรมที่เป็นโยคะ เป็นไฉน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ นีวรณโคจฉกะ
๘. นีวรณโคจฉกะ
๑. นีวรณทุกะ
[๑๕๐๓] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
นิวรณ์ ๖ คือ

๑. กามฉันทนิวรณ์ ๒. พยาปาทนิวรณ์
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ๖. อวิชชานิวรณ์

กามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ พยาปาทนิวรณ์
เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ถีนมิทธนิวรณ์เกิดขึ้นในอกุศลที่เป็น
สสังขาริก อุทธัจจนิวรณ์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุกกุจจนิวรณ์
เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ วิจิกิจฉานิวรณ์เกิดขึ้นในจิตตุปบาท
ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา อวิชชานิวรณ์เกิดขึ้นในอกุศลทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นนิวรณ์
[๑๕๐๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นนิวรณ์ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นนิวรณ์
๒. นีวรณิยทุกะ
[๑๕๐๕] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของนิวรณ์
[๑๕๐๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ นีวรณโคจฉกะ
๓. นีวรณสัมปยุตตทุกะ
[๑๕๐๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยนิวรณ์
[๑๕๐๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์
๔. นีวรณนีวรณิยทุกะ
[๑๕๐๙] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน
นิวรณ์เหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์
[๑๕๑๐] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นนิวรณ์ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ
๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
๕. นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ
[๑๕๑๑] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน
นิวรณ์ ๒ นิวรณ์ ๓ เกิดขึ้นร่วมกันในสภาวธรรมเหล่าใด สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์
[๑๕๑๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นนิวรณ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็น
นิวรณ์ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์
หรือสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
๖. นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยทุกะ
[๑๕๑๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ ปรามาสโคจฉกะ
กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
[๑๕๑๔] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยนิวรณ์กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุต
จากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
นีวรณโคจฉกะ จบ
๙. ปรามาสโคจฉกะ
๑. ปรามาสทุกะ
[๑๕๑๕] สภาวธรรมที่เป็นปรามาส เป็นไฉน
ทิฏฐิปรามาสเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ
ว่าเป็นปรามาส
[๑๕๑๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นปรามาส กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นปรามาส
๒. ปรามัฏฐทุกะ
[๑๕๑๗] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของปรามาส
[๑๕๑๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ ปรามาสโคจฉกะ
๓. ปรามาสสัมปยุตตทุกะ
[๑๕๑๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ เว้นปรามาสที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยปรามาส
[๑๕๒๐] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย
โทมนัส ๒ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สรหคตด้วยอุทธัจจะ กุศล
ในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากปรามาส ปรามาสกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยปรามาส หรือ
วิปปยุตจากปรามาส
๔. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ
[๑๕๒๑] สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นไฉน
ปรามาสนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส
[๑๕๒๒] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นปรามาส กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็น
ปรามาส สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสกล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและ
เป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส
๕. ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ
[๑๕๒๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย
โทมนัส ๒ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศล
ในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าวิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ มหันตรทุกะ
[๑๕๒๔] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส สภาวธรรมที่เป็น
ปรามาสและสัมปยุตด้วยปรามาสกล่าวไม่ได้ว่าวิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์
ของปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
ปรามาสโคจฉกะ จบ
๑๐. มหันตรทุกะ
๑. สารัมมณทุกะ
[๑๕๒๕] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ และอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ารับรู้อารมณ์ได้
[๑๕๒๖] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นไฉน
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ารับรู้อารมณ์ไม่ได้
๒. จิตตทุกะ
[๑๕๒๗] สภาวธรรมที่เป็นจิต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นจิต
[๑๕๒๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ไม่เป็นจิต
๓. เจตสิกทุกะ
[๑๕๒๙] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเจตสิก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ มหันตรทุกะ
[๑๕๓๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเจตสิก
๔. จิตตสัมปยุตตทุกะ
[๑๕๓๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยจิต
[๑๕๓๒] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต เป็นไฉน
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากจิต จิตกล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
๕. จิตตสังสัฏฐทุกะ
[๑๕๓๓] สภาวธรรมที่ระคนกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
[๑๕๓๔] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิต เป็นไฉน
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคนกับจิต จิตกล่าวไม่ได้ว่า
ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต
๖. จิตตสมุฏฐานทุกะ
[๑๕๓๕] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ หรือรูป
แม้อื่นที่เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป
กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามี
จิตเป็นสมุฏฐาน
[๑๕๓๖] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ มหันตรทุกะ
๗. จิตตสหภูทุกะ
[๑๕๓๗] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต
[๑๕๓๘] สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต
๘. จิตตานุปริวัตติทุกะ
[๑๕๓๙] สภาวธรรมที่เป็นไปตามจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นไปตามจิต
[๑๕๔๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นไปตามจิต เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นไปตามจิต
๙. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ
[๑๕๔๑] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
และมีจิตเป็นสมุฏฐาน
[๑๕๔๒] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็น
สมุฏฐาน
๑๐. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูทุกะ
[๑๕๔๓] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ มหันตรทุกะ
[๑๕๔๔] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
เป็นไฉน
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน
และเกิดพร้อมกับจิต
๑๑. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติทุกะ
[๑๕๔๕] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิตมี
จิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
[๑๕๔๖] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
เป็นไฉน
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน
และเป็นไปตามจิต
๑๒. อัชฌัตติกทุกะ
[๑๕๔๗] สภาวธรรมที่เป็นภายใน เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายใน
[๑๕๔๘] สภาวธรรมที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายนอก
๑๓. อุปาทาทุกะ
[๑๕๔๙] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
[๑๕๕๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ มหาภูตรูป ๔
และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ อุปาทานโคจฉกะ
๑๔. อุปาทินนทุกะ
[๑๕๕๑] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นไฉน
วิบากในภูมิ ๓ และรูปอันกรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
[๑๕๕๒] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็น
ไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูปอันกรรมไม่ได้ปรุงแต่ง
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
มหันตรทุกะ จบ
๑๑. อุปาทานโคจฉกะ
๑. อุปาทานทุกะ
[๑๕๕๓] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน
อุปาทาน ๔ คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
กามุปาทานเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทานเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุปาทาน
[๑๕๕๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นอุปาทาน กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ อุปาทานโคจฉกะ
๒. อุปาทานิยทุกะ
[๑๕๕๕] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๑๕๕๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๓. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[๑๕๕๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย
โลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ เว้นโลภะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
สัมปยุตด้วยอุปาทาน
[๑๕๕๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน
โลภะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาท
ที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอุปาทาน
๔. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
[๑๕๕๙] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
อุปาทานเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๑๕๖๐] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็น
ไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นอุปาทาน กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓
และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์
ของอุปาทาน หรือเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ อุปาทานโคจฉกะ
๕. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[๑๕๖๑] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน
ทิฏฐิและโลภะเกิดขึ้นร่วมกันในสภาวธรรมเหล่าใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน
[๑๕๖๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ เว้นอุปาทานที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน สภาวธรรมที่
วิปปยุตจากอุปาทานกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือ
สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน
๖. อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยทุกะ
[๑๕๖๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน
โลภะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาท
ที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๑๕๖๔] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอุปาทานกล่าวไม่ได้ว่าวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
หรือวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อุปาทานโคจฉกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ กิเลสโคจฉกะ
๑๒. กิเลสโคจฉกะ
๑. กิเลสทุกะ
[๑๕๖๕] สภาวธรรมที่เป็นกิเลส เป็นไฉน
กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ

๑. โลภะ ๒. โทสะ
๓. โมหะ ๔. มานะ
๕. ทิฏฐิ ๖. วิจิกิจฉา
๗. ถีนะ ๘. อุทธัจจะ
๙. อหิริกะ ๑๐. อโนตตัปปะ

โลภะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ โทสะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโทมนัส ๒ โมหะเกิดขึ้นในอกุศลทั้งหมด มานะเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ทิฏฐิเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ
๔ วิจิกิจฉาเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ถีนะเกิดขึ้นในอกุศลที่เป็น
สสังขาริก ๕ อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ เกิดขึ้นในอกุศลทั้งหมด สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกิเลส
[๑๕๖๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นกิเลส กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นกิเลส
๒. สังกิเลสิกทุกะ
[๑๕๖๗] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกิเลส
[๑๕๖๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ กิเลสโคจฉกะ
๓. สังกิลิฏฐทุกะ
[๑๕๖๙] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสทำให้เศร้าหมอง
[๑๕๗๐] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง
๔. กิเลสสัมปยุตตทุกะ
[๑๕๗๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยกิเลส
[๑๕๗๒] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลส เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากกิเลส
๕. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ
[๑๕๗๓] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน
กิเลสเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส
[๑๕๗๔] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นกิเลส กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ
๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของ
กิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส
๖. กิเลสสังกิลิฏฐทุกะ
[๑๕๗๕] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง เป็นไฉน
กิเลสเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ กิเลสโคจฉกะ
[๑๕๗๖] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นกิเลส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่
เป็นกิเลส สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลส
ทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส
๗. กิเลสกิเลสสัมปยุตตทุกะ
[๑๕๗๗] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน
กิเลส ๒ กิเลส ๓ เกิดขึ้นร่วมกันในสภาวธรรมเหล่าใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ
ว่าเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
[๑๕๗๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นกิเลส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือ
สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส
๘. กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกทุกะ
[๑๕๗๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
[๑๕๘๐] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กิเลสกล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจาก
กิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
กิเลสโคจฉกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ
๑๓. ปิฏฐิทุกะ
๑. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ
[๑๕๘๑] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ
วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
[๑๕๘๒] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากต-
กิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรค
๒. ภาวนายปหาตัพพทุกะ
[๑๕๘๓] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาท
ที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ก็มี ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
[๑๕๘๔] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา กุศลใน
ภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
๓. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
[๑๕๘๕] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เว้นโมหะ
ที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรค จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคต
ด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
[๑๕๘๖] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔
วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
๔. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ
[๑๕๘๗] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย
โลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี
[๑๕๘๘] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่
สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และ
นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
๕. สวิตักกทุกะ
[๑๕๘๙] สภาวธรรมที่มีวิตก เป็นไฉน
กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๑ ฝ่าย
วิบากแห่งอกุศล ๒ ฝ่ายกิริยา ๑๑ รูปาวจรปฐมฌานฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา
โลกุตตรปฐมฌานฝ่ายกุศล และวิบาก เว้นวิตกที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้แล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีวิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ
[๑๕๙๐] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก เป็นไฉน
ทวิปัญจวิญญาณ ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และ
กิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตตระ
ฝ่ายกุศล และวิบาก วิตก รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิตก
๖. สวิจารทุกะ
[๑๕๙๑] สภาวธรรมที่มีวิจาร เป็นไฉน
กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๑ ฝ่าย
วิบากแห่งอกุศล ๒ ฝ่ายกิริยา ๑๑ ฌาน ๑ และฌาน ๒ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล
วิบาก และกิริยา ฌาน ๑ และฌาน ๒ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นวิจาร
ที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีวิจาร
[๑๕๙๒] สภาวธรรมที่ไม่มีวิจาร เป็นไฉน
ทวิปัญจวิญญาณ ฌาน ๓ และฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และ
กิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตตระ
ฝ่ายกุศลและวิบาก วิจาร รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิจาร
๗. สัปปีติกทุกะ
[๑๕๙๓] สภาวธรรมที่มีปีติ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่ายวิบาก
แห่งกามาวจรกุศล ๕ ฝ่ายกิริยา ๕ ฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล
วิบาก และกิริยา ฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศล และวิบาก เว้นปีติ
ที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปีติ
[๑๕๙๔] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๘ ฝ่าย
วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๑ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๗ ฝ่ายกิริยา ๖ ฌาน ๒ และ
ฌาน ๒ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และ
กิริยา ฌาน ๒ และฌาน ๒ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศลและวิบาก ปีติ รูป และ
นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีปีติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ
๘. ปีติสหคตทุกะ
[๑๕๙๕] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่าย
วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๕ ฝ่ายกิริยา ๕ ฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจร
ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศล และ
วิบาก เว้นปีติที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยปีติ
[๑๕๙๖] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๘ ฝ่าย
วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๑ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๗ ฝ่ายกิริยา ๖ ฌาน ๒ และ
ฌาน ๒ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และ
กิริยา ฌาน ๒ และฌาน ๒ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศลและวิบาก ปีติ รูป และ
นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่สหรคตด้วยปีติ
๙. สุขสหคตทุกะ
[๑๕๙๗] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่ายวิบาก
แห่งกามาวจรกุศล ๖ ฝ่ายกิริยา ๕ ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล
วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นสุขที่
เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยสุข
[๑๕๙๘] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๘ ฝ่าย
วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๐ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๗ ฝ่ายกิริยา ๖ รูปาวจรจตุตถ-
ฌานฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา โลกุตตร-
จตุตถฌานฝ่ายกุศลและวิบาก สุข รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ไม่สหรคตด้วยสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ
๑๐. อุเปกขาสหคตทุกะ
[๑๕๙๙] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๖ ฝ่าย
วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๐ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๖ ฝ่ายกิริยา ๖ รูปาวจร-
จตุตถฌาน ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา
โลกุตตรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นอุเบกขาที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยอุเบกขา
[๑๖๐๐] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๖ ฝ่ายวิบาก
แห่งกามาวจรกุศล ๖ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๑ ฝ่ายกิริยา ๕ ฌาน ๓ และฌาน ๔
ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตตระ
ฝ่ายกุศลและวิบาก อุเบกขา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่สหรคต
ด้วยอุเบกขา
๑๑. กามาวจรทุกะ
[๑๖๐๑] สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร เป็นไฉน
กามาวจรกุศล อกุศล วิบากแห่งกามาวจรทั้งหมด อัพยากตกิริยาที่เป็น
กามาวจรและรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกามาวจร
[๑๖๐๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นกามาวจร
๑๒. รูปาวจรทุกะ
[๑๖๐๓] สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน
ฌาน ๔ และฌาน ๕ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูปาวจร
[๑๖๐๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปาวจร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ
๑๓. อรูปาวจรทุกะ
[๑๖๐๕] สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน
อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอรูปาวจร
[๑๖๐๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอรูปาวจร
๑๔. ปริยาปันนทุกะ
[๑๖๐๗] สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่านับเนื่องในวัฏฏทุกข์
[๑๖๐๘] สภาวธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
๑๕. นิยยานิกทุกะ
[๑๖๐๙] สภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุนำออก
จากวัฏฏทุกข์
[๑๖๑๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
๑๖. นิยตทุกะ
[๑๖๑๑] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี มรรค ๔ ที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าให้ผลแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ ปิฏฐิทุกะ
[๑๖๑๒] สภาวธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากต-
กิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าให้ผลไม่แน่นอน
๑๗. สอุตตรทุกะ
[๑๖๑๓] สภาวธรรมที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมอื่นยิ่งกว่า
[๑๖๑๔] สภาวธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน
มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
๑๘. สรณทุกะ
[๑๖๑๕] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
[๑๖๑๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปิฏฐิทุกะ จบ
ทุกอัตถุทธาระ จบ
อัฏฐกถากัณฑ์ จบ
ธัมมสังคณีปกรณ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๘๘ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น