ธัมมโชติ รวมธรรมะน่าสนใจจากพระไตรปิฎกด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อคนรุ่นใหม่
เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของพระอรหันต์ที่ยอมสละชีวิตของท่านเพื่อไม่ให้ผู้อื่นต้องถูกฆ่าตายทั้งที่ท่านไม่ได้ทำอะไรผิดนะครับ ฝากไว้เป็นกำลังใจสำหรับท่านที่มุ่งมั่นในการทำความดี อย่าได้ย่อท้อนะครับ บุคคลผู้ประเสริฐอย่างพระอรหันต์นั้นท่านยอมสละได้แม้ชีวิตของท่านเองเพื่อความดีเลยครับ
อรรถกถาธรรมบท : ปาปวรรควรรณนา เรื่องพระติสสเถระผู้เข้าถึงสกุลนายช่างแก้ว
(เนื้อเรื่องที่เป็นเรื่องราวรายละเอียดนี้นำมาจากคัมภีร์ชั้นอรรถกถาซึ่งขยายความพระไตรปิฎกอีกทีนะครับ ในพระไตรปิฎกจะมีเฉพาะข้อธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ตอนท้ายเรื่องเท่านั้น ซึ่งสามารถดูเปรียบเทียบกับพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ที่ เล่ม : ๒๕ หน้า :๗๐ ข้อ : ๑๒๖)
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระชื่อติสสะ ผู้เข้าถึงสกุลนายช่างเเก้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "คพฺภเมเก อุปฺปชฺชนฺติ" เป็นต้น.พระเจ้าปเสนทิโกศลส่งแก้วให้นายช่างเจียระไน
ได้ยินว่า พระเถระนั้นฉัน (ภัต) อยู่ในสกุลของนายมณีการ (นายช่างแก้ว - ธัมมโชติ) ผู้หนึ่ง สิ้น ๑๒ ปี. ภรรยาและสามีในสกุลนั้นตั้งอยู่ในฐานะเพียงมารดาและบิดา ปฏิบัติพระเถระแล้ว.อยู่มาวันหนึ่ง นายมณีการกำลังนั่งหั่นเนื้อข้างหน้าพระเถระ. ในขณะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงส่งแก้วมณีดวงหนึ่งไป ด้วยรับสั่งว่า "นายช่างจงจัดและเจียระไนแก้วมณีนี้แล้วส่งมา." นายมณีการรับแก้วนั้นด้วยมือทั้งเปื้อนโลหิต วางไว้บนเขียงแล้วก็เข้าไปข้างในเพื่อล้างมือ.
แก้วมณีหายนายช่างสืบหาคนเอาไป
ก็ในเรือนนั้น นกกะเรียนที่เขาเลี้ยงไว้มีอยู่. นกนั้นกลืนกินแก้วมณีนั้น ด้วยสำคัญว่าเนื้อเพราะกลิ่นโลหิต เมื่อพระเถระกำลังเห็นอยู่เทียว. นายมณีการมาแล้ว เมื่อไม่เห็นแก้วมณีจึงถามภริยา ธิดา และบุตร โดยลำดับว่า "พวกเจ้าเอาแก้วมณีไปหรือ?" เมื่อชนเหล่านั้นกล่าวว่า "มิได้เอาไป" จึงคิดว่า "(ชะรอย) พระเถระจักเอาไป จึงปรึกษากับภริยาว่า "แก้วมณี (ชะรอย) พระเถระจักเอาไป"ภริยาบอกว่า "แน่ะนาย นายอย่ากล่าวอย่างนั้น. ดิฉันไม่เคยเห็นโทษอะไรๆ ของพระเถระเลยตลอดกาลประมาณเท่านี้. ท่านย่อมไม่ถือเอาแก้วมณี (แน่นอน)."
นายมณีการถามพระเถระว่า "ท่านขอรับ ท่านเอาแก้วมณีในที่นี้ไปหรือ?"
พระเถระ. "เราไม่ได้ถือเอาดอก อุบาสก."
นายมณีการ. "ท่านขอรับ ในที่นี้ไม่มีคนอื่น. ท่านต้องเอาไปเป็นแน่, ขอท่านจงให้แก้วมณีแก่ผมเถิด."
เมื่อพระเถระนั้นไม่รับ, เขาจึงพูดกะภริยาว่า "พระเถระเอาแก้วมณี ไปแน่, เราจักบีบคั้นถามท่าน."
ภริยาตอบว่า "แน่ะนาย นายอย่าให้พวกเราฉิบหายเลย, พวกเราเข้าถึงความเป็นทาสเสียยังประเสริฐกว่า, ก็การกล่าวหาพระเถระผู้เห็นปานนี้ไม่ประเสริฐเลย."
ช่างแก้วทำโทษพระติสสเถระเพราะเข้าใจผิด
นายช่างแก้วนั้นกล่าวว่า "พวกเราทั้งหมดด้วยกัน เข้าถึงความเป็นทาส ยังไม่เท่าค่าแก้วมณี" ดังนี้แล้ว จึงถือเอาเชือกพันศีรษะพระเถระ ขันด้วยท่อนไม้. โลหิตไหลออกจากศีรษะ หู และจมูกของพระเถระ. หน่วยตาทั้งสองได้ถึงอาการทะเล้นออก, ท่านเจ็บปวดมาก ก็ล้มลง ณ ภาคพื้น. นกกะเรียนมาด้วยกลืนโลหิต ดื่มกินโลหิต.ช่างแก้วเตะนกกะเรียนตายแล้วจึงทราบความจริง
ขณะนั้น นายมณีการจึงเตะมันด้วยเท้าแล้วเขี่ยไป พลางกล่าวว่า "มึงจะทำอะไรหรือ?" ด้วยกำลังความโกรธที่เกิดขึ้นในพระเถระ. นกกะเรียนนั้นล้มกลิ้งตายด้วยการเตะทีเดียวเท่านั้น.พระเถระเห็นนกนั้น จึงกล่าวว่า "อุบาสก ท่านจงผ่อนเชือกพันศีรษะของเราให้หย่อนก่อน แล้วจงพิจารณาดูนกกะเรียนนี้ (ว่า) มันตายแล้วหรือยัง?"
ลำดับนั้น นายช่างแก้วจึงกล่าวกะท่านว่า "แม้ท่านก็จักตายเช่นนกนั่น."
พระเถระตอบว่า "อุบาสก แก้วมณีนั้น อันนกนี้กลืนกินแล้ว. หากนกนี้จักไม่ตายไซร้, ข้าพเจ้าแม้จะตาย ก็จักไม่บอกแก้วมณีแก่ท่าน."
ช่างแก้วได้แก้วมณีคืนแล้วขอขมาพระติสสเถระ
เขาแหวะท้องนกนั้นพบแก้วมณีแล้ว งกงันอยู่ มีใจสลด หมอบลงใกล้เท้าของพระเถระ กล่าวว่า "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอดโทษแก่ผม, ผมไม่รู้อยู่ ทำไปแล้ว."พระเถระ. "อุบาสก โทษของท่านไม่มี. ของเราก็ไม่มี มีแต่โทษของวัฏฏะเท่านั้น. เราอดโทษแก่ท่าน."
นายมณีการ. "ท่านขอรับ หากท่านอดโทษแก่ผมไซร้. ท่านจงนั่งรับภิกษาในเรือนของผมตามทำนองเถิด."
พระเถระเห็นโทษของการเข้าชายคาเรือน
พระเถระกล่าวว่า "อุบาสก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจักไม่เข้าไปภายในชายคาเรือนของผู้อื่น เพราะว่านี้เป็นโทษแห่งการเข้าไปภายในเรือนโดยตรง. ตั้งแต่นี้ไป เมื่อเท้าทั้งสองยังเดินไปได้ เราจักยืนที่ประตูเรือนเท่านั้น รับภิกษา" ดังนี้แล้ว สมาทานธุดงค์กล่าวคาถานี้ว่า
"ภัตในทุกสกุลๆ
ละนิดหน่อย อันเขาหุงไว้เพื่อมุนี
เราจักเที่ยวไปด้วยปลีแข้ง, กำลังแข้งของเรายังมีอยู่."
ก็แล พระเถระครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ต่อกาลไม่นานนักก็ปรินิพพาน ด้วยพยาธินั้นนั่นเอง.
(คือปรินิพพานเพราะความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการถูกทรมานในครั้งนั้น - ธัมมโชติ)เราจักเที่ยวไปด้วยปลีแข้ง, กำลังแข้งของเรายังมีอยู่."
คนทำบาปกับคนทำบุญมีคติต่างกัน
นกกะเรียนได้ถือปฏิสนธิในท้องแห่งภริยาของนายช่างแก้ว. นายช่างแก้วทำกาละแล้ว (เสียชีวิตแล้ว - ธัมมโชติ) ก็บังเกิดในนรก. ภริยาของนายช่างแก้วทำกาละแล้ว เกิดในเทวโลก เพราะความเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนในพระเถระ.ภิกษุทั้งหลายทูลถามอภิสัมปรายภพของชนเหล่านั้น กะพระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ ย่อมเกิดในครรภ์. บางจำพวกทำกรรมลามก ย่อมเกิดในนรก. บางจำพวกทำกรรมดีแล้ว ย่อมเกิดในเทวโลก. ส่วนผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" (อาสวะ คือกิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน - ธัมมโชติ)
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
๑๐. คพฺภเมเก อุปฺปชฺชนฺติ
นิรยํ ปาปกมฺมิโน
สคฺคํ สุคติโน ยนฺติ
ปรินิพฺพนฺติ อนาสวา.
"ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์,
ผู้มีกรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก,
ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่งสุคติ ย่อมไปสวรรค์
ผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน."
นิรยํ ปาปกมฺมิโน
สคฺคํ สุคติโน ยนฺติ
ปรินิพฺพนฺติ อนาสวา.
"ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์,
ผู้มีกรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก,
ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่งสุคติ ย่อมไปสวรรค์
ผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน."
ผู้รวบรวม
ธัมมโชติ
ธัมมโชติ
ถ้าเราเห็นการทำผิดกฎหมายที่มีโทษถึงประหารชีวิต ถ้าตำรวจมาสอบสวนเรา เราจะต้องทำยังไงดีครับ หรือว่าต้องเฉยไว้
ตอบลบ
ลบสวัสดีครับ
ลองอ่าน จูฬราหุโลวาทสูตร พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๑๗ - ๑๒๔ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] แล้วพิจารณาดูนะครับ
โดยเฉพาะเรื่องการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ และเรื่องวจีกรรมที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น
จากประเด็นคำถาม ทางเลือกหลักๆ ที่เป็นไปได้น่าจะมีอยู่ 3 ทางนะครับ คือ 1. เฉยไว้ไม่พูด 2. พูดตามความจริงเท่าที่รู้ 3. พูดเท็จทั้งที่รู้
ทางเลือกที่ 3. พูดเท็จทั้งที่รู้ ย่อมจะไม่สมควรอยู่แล้วนะครับ
ทางเลือกที่ 1 และ 2 คงต้องพิจารณาให้ดีนะครับว่าทางไหนจะเป็นการไม่เบียดเบียนใคร หรือเบียดเบียนมากน้อยกว่ากัน
ยกตัวอย่างนะครับ เช่น มีอาชญากรฆาตกรรมต่อเนื่อง ถ้าเราเฉยไว้ไม่พูด ทำให้คนร้ายลอยนวล แล้วไปฆ่าคนอื่นต่อไปอีกเรื่อยๆ กับการพูดความจริงเท่าที่รู้ ทำให้คนอื่นไม่ถูกฆ่าต่อไปอีก อย่างไหนจะเป็นการเบียดเบียนมากกว่ากัน
กรณีนี้การพูดความจริงด้วยความเมตตา ทั้งต่อฆาตกรเองที่จะไม่ก่อกรรมเพิ่มอีก และต่อผู้อื่นที่จะตกเป็นเหยื่อรายต่อๆ ไป น่าจะเป็นทางเลือกที่มีการเบียดเบียนน้อยที่สุดนะครับ
นอกจากว่า ถึงเราไม่พูดตำรวจก็จับฆาตกรนั้นได้อยู่ดี ทำให้ไม่มีคนถูกฆาตกรรมเพิ่ม อย่างนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ไม่เบียดเบียนนะครับ
แต่การพูดด้วยความรู้สึกว่าอยากให้คนร้ายถูกประหารชีวิต (เป็นอกุศลจิตประเภทโทสะ) ก็ย่อมไม่สมควรเช่นกันนะครับ
แต่ถ้าเป็นกรณีอย่างในเรื่อง "ผู้ยอมตายเพื่อรักษาชีวิตผู้อื่น" นี้ การไม่พูดนั้นไม่ได้ทำให้นกไปทำร้ายใครเลย ดังนั้นทางเลือกย่อมแตกต่างไปนะครับ
สรุปคือต้องพิจารณารายละเอียดเป็นกรณีไปนะครับ ว่าจะทำอย่างไรถึงจะเหมาะสม
ธัมมโชติ
ครับ ผมเข้าใจว่า ในอรรถกถาอาจไม่ได้อธิบายละเอียด อาจเป็นไปได้ที่โทษทำของพระราชาหาย โทษอาจไม่ถึงตาย พระอรหันต์อาจเห็นตามนี้ จึงไม่บอกความจริง เพราะนกอาจต้องตายโดนควักแก้วออกมา จึงใช้วิธีไม่พูด ทำให้มีการเบียดเบียนน้อยกว่า ไม่รู้ว่า คิดถูกต้องไหมครับ
ตอบลบ
ลบก็เป็นไปได้ครับ
อีกอย่างคือการที่พระเถระถูกทำร้ายก็เหมือนเป็นการทำโทษผู้ทำความผิดแล้ว (ตามความรู้สึกของผู้ที่คิดว่าพระเถระเอาแก้วมณีไป) ดังนั้น พระราชาคงไม่ลงโทษช่างแก้วรุนแรงมากนะครับ
ทั้งหมดก็เป็นเพียงการวิเคราะห์นะครับ ไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วพระเถระคิดอย่างไรกันแน่
ธัมมโชติ
ขอบพระคุณที่รวบรวมให้อ่านนะคะ เป็นธรรมทาน ที่ไพเราะมากค่ะ
ตอบลบ