Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๔-๒ หน้า ๔๕ - ๘๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๐.ภัททวัคคิยวัตถุ
๑๑. ภัททวัคคิยวัตถุ
ว่าด้วยภิกษุภัททวัคคีย์
เรื่องทรงแสดงธรรมโปรดภัททวัคคีย์ ๓๐ คน
[๓๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสี ตามพระอัธยาศัย
แล้วได้เสด็จจาริกไปทางตำบลอุรุเวลา เสด็จหลีกจากทาง เข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง
ครั้นเสด็จถึงไพรสณฑ์แห่งนั้นแล้ว ได้ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้ต้นหนึ่ง
สมัยนั้น สหายภัททวัคคีย์ประมาณ ๓๐ คนพร้อมภรรยาบำเรอกันใน
ไพรสณฑ์แห่งนั้น สหายคนหนึ่งไม่มีภรรยา พวกสหายจึงนำหญิงแพศยามาเพื่อ
ประโยชน์แก่เขา ต่อมา หญิงแพศยาได้ขโมยของหนีไป ขณะพวกเขาเผอเรอมัวบำเรอ
กัน สหายเหล่านั้นเมื่อจะช่วยเหลือเขา จึงเที่ยวตามหาหญิงแพศยาจนไปถึงไพรสณฑ์
แห่งนั้น ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้ต้นหนึ่ง ครั้นเห็นแล้วจึงเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระองค์ทรงเห็นหญิงคนหนึ่งบ้างไหม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงย้อนถามว่า “กุมารทั้งหลาย พวกเธอมีความต้องการ
หญิงไปทำไม”
สหายภัททวัคคีย์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็น
สหายภัททวัคคีย์มีประมาณ ๓๐ คนในตำบลนี้ พร้อมภรรยาบำเรอกันในไพรสณฑ์
แห่งนี้ สหายคนหนึ่งไม่มีภรรยา พวกข้าพระองค์จึงได้นำหญิงแพศยามาเพื่อประโยชน์
แก่เขา ต่อมา หญิงแพศยาได้ขโมยของหนีไป ขณะพวกข้าพระองค์ เผอเรอมัวบำเรอ
กัน เพราะเหตุนั้น พวกข้าพระองค์เป็นสหายกัน เมื่อจะช่วยเหลือเขา จึงเที่ยวตามหา
หญิงแพศยาจนมาถึงไพรสณฑ์แห่งนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “กุมารทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร
การที่พวกเธอจะแสวงหาหญิงหรือแสวงหาตน อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๔๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๑. ภัททวัคคิยวัตถุ
“การที่พวกข้าพระองค์แสวงหาตนนี่แหละ ประเสริฐกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“กุมารทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นพวกเธอจงนั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่พวกเธอ”
สหายภัททวัคคีย์เหล่านั้นทูลรับว่า “ดีละ พระพุทธเจ้าข้า” ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ
๑. ทานกถา ๒. สีลกถา
๓. สัคคกถา ๔. กามาทีนวกถา
๕. เนกขัมมานิสังสกถา แก่พวกเขา
เมื่อทรงทราบว่าพวกเขามีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส
จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่พวกเขา ณ
ที่นั่งนั้นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไป
เป็นธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว๑ บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว
ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อ
ผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
พวกข้าพระองค์พึงได้การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พวกเธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” แล้วตรัสต่อไปว่า “ธรรม
อันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
พระวาจานั้น ได้เป็นการอุปสมบทของท่านเหล่านั้น
ภัททวัคคิยวัตถุ จบ
ภาณวารที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เห็นธรรม หมายถึงได้ธรรมจักษุ คือ บางพวกได้บรรลุโสดาปัตติมรรค บางพวกได้บรรลุสกทาคามิมรรค
บางพวกได้บรรลุอนาคามิมรรค มรรคทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า ธรรมจักษุ (วิ.อ. ๓/๓๖/๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๔๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
๑๒. อุรุเวลปาฏิหาริยกถา
ว่าด้วยปาฏิหาริย์ที่ตำบลอุรุเวลา
เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง
[๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ลุถึงตำบลอุรุเวลา
สมัยนั้น ชฎิล ๓ คน คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ อาศัยอยู่ที่
ตำบลอุรุเวลา
ในชฎิล ๓ คนนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะเป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึก เป็นเลิศ เป็นหัวหน้า
เป็นประธานของชฎิล ๕๐๐ คน
ชฎิลนทีกัสสปะเป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึก เป็นเลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน
ของชฎิล ๓๐๐ คน
ชฎิลคยากัสสปะเป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึก เป็นเลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน
ของชฎิล ๒๐๐ คน
ต่อมา พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปยังอาศรมของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ ครั้นถึงแล้ว
ได้ตรัสกับชฎิลอุรุเวลกัสสปะดังนี้ว่า “กัสสปะ ถ้าท่านไม่หนักใจ เราจะขอพัก
ในโรงไฟคืนหนึ่ง”
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะกราบทูลว่า “ท่านมหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย หากแต่ว่า
ในโรงไฟนั้น มีพญานาคที่ดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้าย มันอย่าได้
ทำร้ายท่าน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับชฎิลอุรุเวลกัสสปะ แม้ครั้งที่ ๒ ว่า “กัสสปะ
ถ้าท่านไม่หนักใจ คืนนี้ เราจะขอพักในโรงไฟ”
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะก็กราบทูลว่า “ท่านมหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย
หากแต่ว่า ในโรงไฟนั้น มีพญานาคที่ดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้าย มันอย่าได้
ทำร้ายท่าน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับชฎิลอุรุเวลกัสสปะ แม้ครั้งที่ ๓ ว่า “กัสสปะ
ถ้าท่าน ไม่หนักใจ คืนนี้ เราจะขอพักในโรงไฟ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๔๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะก็กราบทูลว่า “ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย
หากแต่ว่าในโรงไฟนั้น มีพญานาคที่ดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้าย
มันอย่าได้ทำร้ายท่าน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า “พญานาคไม่ทำร้ายเรา ท่านกัสสปะท่าน
โปรดอนุญาตโรงไฟเถิด”
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะก็กราบทูลว่า “ข้าแต่มหาสมณะ นิมนต์ท่านอยู่ตามสบาย
เถิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปสู่โรงไฟ ทรงปูเครื่องลาดหญ้า
ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ปาฏิหาริย์ที่ ๑
เรื่องโรงบูชาไฟ
[๓๘] ครั้งนั้น พญานาคนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไป ก็โกรธขึ้ง
ไม่พอใจ บังหวนควัน
ทันใดนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า “ถ้ากระไร เราพึงครอบงำเดช
ของพญานาคนี้ด้วยเดชของเรา ไม่ให้ระคายผิว หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และ
เยื่อกระดูก” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสำแดงอิทธาภิสังขารเช่นนั้นบังหวนควัน
พญานาคทนการลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟใส่ทันที
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคก็ทรงเข้าเตโชกสิณ แล้วโพลงไฟสู้บ้าง
เมื่อทั้งสองฝ่ายบันดาลให้เกิดไฟขึ้น เรือนไฟได้ลุกโพลงโชติช่วงดุจทะเลเพลิง
ลำดับนั้น ชฎิลเหล่านั้นพากันล้อมเรือนไฟกล่าวกันว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
มหาสมณะรูปงามคงจะถูกพญานาคทำร้ายเป็นแน่”
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคก็ทรงครอบงำเดชของพญานาคนั้นด้วย
เดชของพระองค์ ไม่ให้ระคายผิว หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และเยื่อกระดูกแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๔๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
ทรงจับพญานาคขดลงในบาตรแสดงแก่ชฎิลอุรุเวลกัสสปะว่า “ท่านกัสสปะ นี่พญานาค
ของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราได้แล้ว”
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดว่า “มหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากจริง
ถึงกับครอบงำเดชของพญานาคที่ดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายได้ด้วยเดช
ของพระองค์ แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่”
คาถาสรุป
[๓๙] ณ ที่แม่น้ำเนรัญชรา พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับชฎิลอุรุเวลกัสสปะว่า “กัสสปะ ถ้าท่านไม่หนักใจ
คืนนี้เราจะขอพักในโรงไฟ”
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะกราบทูลว่า
“ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย
ข้าพเจ้าหวังความผาสุก จึงห้ามท่านว่า ที่โรงไฟนี้
มีพญานาค เป็นสัตว์ดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้าย
มันอย่าได้ทำร้ายท่าน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“มันคงไม่ทำร้ายเรา กัสสปะ ท่านโปรดอนุญาตโรงไฟเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้อนุญาตให้แล้ว
ไม่ทรงครั่นคร้าม ทรงปราศจากความกลัว เสด็จเข้าไป
พญานาคเห็นพระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณเสด็จเข้าไป
ก็ไม่พอใจ จึงบังหวนควัน
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคทรงเป็นมนุสสนาคะ มีพระทัยชื่นบาน
มีพระทัยไม่ขัดเคือง ก็ทรงบังหวนควันในโรงไฟนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๔๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
ส่วนพญานาคทนการลบหลู่ไม่ไหว จึงพ่นไฟราวกับไฟไหม้ป่าสู้
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคทรงเป็นมนุสสนาคะทรงฉลาดในเตโชกสิณ
ทรงโพลงไฟสู้บ้าง
เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้น เรือนไฟก็ลุกโพลง
โชติช่วงดุจทะเลเพลิง พวกชฎิลกล่าวกันว่า
“แน่ะผู้เจริญ มหาสมณะรูปงามคงจะถูกพญานาค
ทำร้ายเป็นแน่”
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป เปลวไฟของพญานาคถูกทำลาย
ส่วนเปลวไฟหลากสีของพระผู้มีพระภาคผู้ทรงฤทธิ์ยังอยู่
พระรัศมีหลากสี คือ สีเขียว สีแดง สีแสด สีเหลือง
สีแก้วผลึก ปรากฏที่พระกายของพระอังคีรส
พระผู้มีพระภาค ทรงจับพญานาคขดลงในบาตรแล้ว
ทรงแสดงแก่ชฎิลอุรุเวลกัสสปะว่า “ท่านกัสสปะ นี่พญานาค
ของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราได้แล้ว”
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์นี้ของพระผู้มีพระภาค
ยิ่งนักแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่มหาสมณะ โปรดประทับอยู่ที่
นี่แหละ ข้าพเจ้าจักบำรุงพระองค์ด้วยภัตตาหารประจำ”
ปาฏิหาริย์ที่ ๑ จบ
ปาฏิหาริย์ที่ ๒
เรื่องท้าวมหาราชทั้ง ๔
[๔๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ไม่ไกลจาก
อาศรมของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๕๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว๑ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เปล่งรัศมีงามยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้น
ให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วได้ยืนเฝ้าทั้ง ๔ ทิศ ดุจกองไฟใหญ่ฉะนั้น
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่มหาสมณะ ได้เวลาแล้ว
ภัตตาหารเสร็จแล้ว ท่านพระมหาสมณะ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว พวกนั้นคือใครกันหนอ
เปล่งรัศมีงามยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาเฝ้าพระองค์ ถวายอภิวาทแล้ว
ได้ยืนเฝ้าทั้ง ๔ ทิศ ดุจกองไฟใหญ่ฉะนั้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัสสปะ พวกนั้น คือ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้ามาหา
เราเพื่อฟังธรรม”
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากจริง ถึงกับท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้ามาเฝ้าเพื่อฟังธรรม แต่ไม่เป็น
พระอรหันต์เหมือนเราแน่”
พระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ แล้วประทับอยู่ที่
ไพรสณฑ์แห่งนั้น
ปาฏิหาริย์ที่ ๒ จบ
ปาฏิหาริย์ที่ ๓
เรื่องท้าวสักกะ
[๔๑] ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เปล่งรัศมีงาม
ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับยืน ณ ที่สมควร ดุจกองไฟใหญ่ที่งาม
และประณีตกว่ารัศมีก่อน

เชิงอรรถ :
๑ เมื่อราตรีผ่านไป ในที่นี้หมายถึงราตรีในช่วงแห่งปฐมยาม(ยามที่ ๑)ผ่านไป เพราะเวลาเที่ยงคืน เป็นช่วง
ที่เทวดาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า (ขุ.ขุ.อ. ๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๕๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่มหาสมณะ ได้เวลาแล้ว
ภัตตาหารเสร็จแล้ว ข้าแต่พระมหาสมณะ ผู้นั้น คือใครกันหนอ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว
เปล่งรัศมีงามยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาเฝ้าพระองค์ ถวายอภิวาทแล้ว
ได้ยืน ณ ที่สมควร ดุจกองไฟใหญ่ที่งามและประณีตกว่ารัศมีก่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัสสปะ ผู้นั้น คือท้าวสักกะจอมเทพ เข้ามาหาเรา
เพื่อฟังธรรม”
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากจริง ถึงกับท้าวสักกะจอมเทพเข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ไม่เป็นพระ
อรหันต์เหมือนเราแน่”
พระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ แล้วประทับอยู่ที่
ไพรสณฑ์แห่งนั้น
ปาฏิหาริย์ที่ ๓ จบ
ปาฏิหาริย์ที่ ๔
เรื่องท้าวสหัมบดีพรหม
[๔๒] ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม เปล่งรัศมีงามยัง
ไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับยืน ณ ที่ควร ดุจกองไฟใหญ่ที่งามและ
ประณีตกว่ารัศมีก่อน
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่มหาสมณะ ได้เวลาแล้ว
ภัตตาหารเสร็จแล้ว ข้าแต่มหาสมณะ ผู้นั้นคือใครกันหนอ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว
เปล่งรัศมีงามยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาเฝ้าพระองค์ ถวายอภิวาทแล้ว
ได้ยืน ณ ที่สมควร ดุจกองไฟใหญ่ที่งามและประณีตกว่ารัศมีก่อน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๕๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัสสปะ ผู้นั้น คือท้าวสหัมบดีพรหม เข้ามาหาเรา
เพื่อฟังธรรม”
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากจริง ถึงกับท้าวสหัมบดีพรหมเข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ไม่เป็นพระ
อรหันต์เหมือนเราแน่”
พระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ แล้วประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์
แห่งนั้น
ปาฏิหาริย์ที่ ๔ จบ
ปาฏิหาริย์ที่ ๕
เรื่องชาวอังคะและมคธ
[๔๓] สมัยนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้ตระเตรียมการบูชายัญอันยิ่งใหญ่
ประชาชนชาวอังคะและชาวมคธทั้งสิ้น ต่างถือของเคี้ยวของบริโภคเป็นอันมากมุ่ง
หน้าไปหา
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดว่า “บัดนี้ เราได้ตระเตรียมการบูชายัญอันยิ่งใหญ่
ประชาชนชาวอังคะและมคธทั้งสิ้นจักถือของเคี้ยวของบริโภคเป็นอันมากมุ่งหน้ามาหา
ถ้าพระมหาสมณะจักทำอิทธิปาฏิหาริย์ในหมู่มหาชนไซร้ ลาภสักการะจักเจริญยิ่งแก่
พระมหาสมณะ ลาภสักการะของเราจักเสื่อม ทำไฉน วันพรุ่งนี้ พระมหาสมณะ
จึงจะไม่เสด็จมาฉัน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความรำพึงในใจของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ
ด้วยพระทัย จึงเสด็จไปยังอุตตรกุรุทวีป ทรงนำบิณฑบาตจากทวีปนั้นมาเสวยที่ริม
สระอโนดาต๑ ประทับพักกลางวัน ณ ที่นั้น

เชิงอรรถ :
๑ สระอโนดาต มีขนาดยาว กว้าง และลึก ๕๐ โยชน์ มีอาณาบริเวณโดยรอบ ๑๕๐ โยชน์ ตั้งอยู่
ในป่าหิมพานต์แวดล้อมด้วยยอดเขาทั้ง ๕ คือ สุทัสสนกูฏ จิตรกูฏ กาฬกูฏ คันธมาทนกูฏ และเกลาสกูฏ
(ม.ม.อ. ๒/๓๑/๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๕๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
กราบทูลว่า “ข้าแต่มหาสมณะ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว ข้าแต่มหา
สมณะ ทำไมหนอ วานนี้พระองค์จึงไม่เสด็จมา อีกอย่างหนึ่ง พวกข้าพเจ้า
ระลึกถึงพระองค์ว่า ทำไมหนอ พระมหาสมณะจึงไม่เสด็จมา แต่ส่วนแห่งของเคี้ยว
ของฉัน ข้าพเจ้าได้จัดไว้เพื่อพระองค์แล้ว”
พระผู้มีพระภาคทรงย้อนถามว่า “กัสสปะ ท่านได้ดำริไว้มิใช่หรือว่า บัดนี้เราได้
ตระเตรียมการบูชายัญอันยิ่งใหญ่ ประชาชนชาวอังคะและมคธทั้งสิ้นจักถือของ
เคี้ยวของฉันเป็นอันมากมุ่งหน้ามาหา ถ้าพระมหาสมณะจักทำอิทธิปาฏิหาริย์ใน
หมู่มหาชนไซร้ ลาภสักการะจักเจริญยิ่งแก่พระมหาสมณะ ลาภสักการะของเราจัก
เสื่อม ทำไฉน วันพรุ่งนี้ พระมหาสมณะจึงจะไม่เสด็จมาฉัน กัสสปะ เราได้ทราบ
ด้วยใจถึงความรำพึงในใจของท่าน จึงไปยังอุตตรกุรุทวีป นำบิณฑบาตจากทวีปนั้น
มาฉันที่ริมสระอโนดาต พักกลางวัน ณ ที่นั้น”
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากจริง ถึงกับทรงทราบความนึกคิดแม้ด้วยใจได้ แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือน
เราแน่”
พระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ แล้วประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์
แห่งนั้น
ปาฏิหาริย์ครั้งที่ ๕ จบ
เรื่องผ้าบังสุกุล
[๔๔] สมัยนั้น ผ้าบังสุกุลเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค พระองค์ได้ทรงพระดำริ
ดังนี้ว่า “เราจะพึงซักผ้าบังสุกุลที่ไหนหนอ”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบพระดำริในพระทัยของพระผู้มีพระภาค
ด้วยพระทัย จึงทรงใช้ฝ่าพระหัตถ์ขุดสระโบกขรณีแล้วทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระองค์โปรดทรงซักผ้าบังสุกุลในสระนี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๕๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริดังนี้ว่า “เราจะพึงขยำผ้าบังสุกุลที่ไหนหนอ”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบพระดำริในพระทัยของพระผู้มีพระภาค
ด้วยพระทัย จึงทรงยกศิลาแผ่นใหญ่มาวางไว้ทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระ
องค์โปรดทรงขยำผ้าบังสุกุลบนศิลานี้เถิด”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริดังนี้ว่า “เราจะพึงพาดผ้าบังสุกุลไว้ที่ไหน
หนอ”
ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นกุ่มทราบพระดำริในพระทัยของพระผู้มี
พระภาคด้วยใจ จึงได้น้อมกิ่งกุ่มลงมา กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์
โปรดทรงพาดผ้าบังสุกุล ที่กิ่งกุ่มนี้เถิด”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริดังนี้ว่า “เราจะพึงผึ่งผ้าบังสุกุลไว้ที่ไหนหนอ”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบพระดำริในพระทัยของพระผู้มีพระภาค
ด้วยพระทัย จึงทรงยกศิลาแผ่นใหญ่มาวางไว้ทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระ
องค์โปรดทรงผึ่งผ้าบังสุกุลไว้บนศิลานี้เถิด”
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระมหาสมณะ ได้เวลาแล้ว
ภัตตาหารเสร็จแล้ว ข้าแต่พระมหาสมณะ เมื่อก่อนสระโบกขรณีนี้ไม่มีที่ตรงนี้ ทำไม
ที่ตรงนี้จึงมีสระโบกขรณีอยู่ เมื่อก่อนศิลาเหล่านี้ไม่มีวางอยู่ ศิลาเหล่านี้ ใครยกมา
วางไว้ เมื่อก่อนกิ่งกุ่มต้นนี้ไม่น้อมลง(เดี๋ยวนี้)กิ่งกุ่มต้นนี้กลับน้อมลง”
เรื่องสระโบกขรณี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัสสปะ ผ้าบังสุกุลเกิดขึ้นแก่เราที่นี่ เราได้คิดดังนี้ว่า
จะพึงซักผ้าบังสุกุลที่ไหนหนอ ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความรำพึง
ในใจของเราด้วยพระทัย จึงทรงใช้พระหัตถ์ขุดสระโบกขรณีแล้วทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๕๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงซักผ้าบังสุกุลในสระนี้เถิด’ สระโบกขรณีนี้
อันผู้ที่มิใช่มนุษย์ใช้มือขุด
เรื่องขยำผ้าบังสุกุลบนแผ่นศิลา
กัสสปะ เราได้ดำริ(ต่อไป)ว่า ‘จะพึงขยำผ้าบังสุกุลที่ไหนหนอ’ ลำดับนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความดำริในใจของเราด้วยพระทัย จึงยกศิลาแผ่นใหญ่
มาวางไว้ทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดทรงขยำผ้าบังสุกุลบนแผ่น
ศิลานี้เถิด’ ศิลานี้อันผู้ที่มิใช่มนุษย์ได้ยกมาวางไว้
เรื่องพาดผ้าบังสุกุลบนต้นกุ่ม
กัสสปะ เราได้ดำริ(ต่อไป)ว่า ‘จะพึงพาดผ้าบังสุกุลไว้ที่ไหนหนอ’ ลำดับนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นกุ่มทราบความดำริในใจของเราด้วยใจ จึงได้น้อมกิ่งกุ่มลงมา
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงพาดผ้าบังสุกุลไว้
ที่กิ่งกุ่มนี้เถิด’ ต้นกุ่มนี้ได้น้อมลงดุจจะกราบทูลว่า ‘โปรดทรงเอื้อมพระหัตถ์มาเถิด’
เรื่องผึ่งผ้าบังสุกุลบนแผ่นศิลา
กัสสปะ เราได้ดำริ(ต่อไป)ว่า ‘จะพึงผึ่งผ้าบังสุกุลไว้ที่ไหนหนอ’ ลำดับนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบความดำริในใจของเราด้วยพระทัย จึงยกศิลาแผ่นใหญ่
มาวางไว้ทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงผึ่งผ้าบังสุกุลไว้
บนแผ่นศิลานี้เถิด’ ศิลานี้อันผู้ที่มิใช่มนุษย์ได้ยกมาวางไว้
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากจริง ถึงกับท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงทำการช่วยเหลือ แต่ไม่เป็นพระอรหันต์
เหมือนเราแน่”
พระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ แล้วประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์
แห่งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๕๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
ปาฏิหาริย์เก็บผลหว้า
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้ว
จึงกราบทูลบอกภัตตกาลว่า “ข้าแต่พระมหาสมณะ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ไปเถิด กัสสปะ เราจะตามไป” ทรงส่งชฎิลอุรุเวล
กัสสปะไป ทรงเก็บผลหว้าจากต้นหว้าที่มีอยู่ในชมพูทวีป แล้วเสด็จมาประทับ
นั่งในโรงไฟก่อน
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะเห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งในโรงไฟ ครั้นเห็นแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่มหาสมณะ พระองค์เสด็จมาทางไหน ข้าพเจ้า
กลับมาก่อนพระองค์ แต่พระองค์เสด็จมาประทับนั่งในโรงไฟก่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัสสปะ เราส่งท่านไปแล้วก็เก็บผลหว้าจากต้นหว้าที่
มีอยู่ในชมพูทวีป แล้วมานั่งในโรงไฟนี้ก่อน กัสสปะ ผลหว้านี้แลสมบูรณ์ด้วยสี
กลิ่น และรส ถ้าท่านต้องการ ก็เชิญบริโภคผลหว้าเถิด”
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะทูลว่า “อย่าเลย มหาสมณะ, พระองค์นั่นแหละย่อมควรกับ
ผลหว้านั้น โปรดเสวยผลหว้านั้นเถิด”
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
จริง ถึงกับส่งเรากลับมาก่อน ทรงเก็บผลหว้าจากต้นหว้าที่มีอยู่ในชมพูทวีปแล้ว
เสด็จมาประทับนั่งในโรงไฟก่อน แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่”
พระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ แล้วประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์
แห่งนั้น
ปาฏิหาริย์เก็บผลมะม่วง ผลมะขามป้อม ดอกปาริฉัตร
[๔๕] ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงกราบทูลบอกภัตตกาลว่า “ข้าแต่มหาสมณะ ได้เวลาแล้ว
ภัตตาหารเสร็จแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๕๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ไปเถิด กัสสปะ เราจะตามไป” ทรงส่งชฎิลอุรุเวล
กัสสปะไป ทรงเก็บผลมะม่วง ฯลฯ ผลมะขามป้อม ฯลฯ ผลสมอ ณ ที่อันไม่
ไกลจากต้นหว้าที่มีอยู่ในชมพูทวีป ฯลฯ เสด็จไปสู่ภพดาวดึงส์ ทรงเก็บดอก
ปาริฉัตรแล้วเสด็จลงมาประทับนั่งในโรงไฟก่อน
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะเห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งในโรงไฟ จึงทูลถามว่า
“ข้าแต่มหาสมณะ พระองค์เสด็จมาทางไหน ข้าพเจ้ากลับมาก่อนพระองค์ แต่
พระองค์เสด็จมาประทับนั่งในโรงไฟก่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัสสปะ เราส่งท่านไปแล้วก็ไปยังภพดาวดึงส์ เก็บ
ดอกปาริฉัตร แล้วลงมานั่งในโรงไฟก่อน กัสสปะ ดอกปาริฉัตรนี้สมบูรณ์ด้วยสี
และกลิ่น”
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากจริง ถึงกับส่งเรากลับมาก่อน เสด็จไปยังภพดาวดึงส์ทรงเก็บดอกปาริฉัตร
แล้วเสด็จลงมาประทับนั่งในโรงไฟก่อน แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่”
เรื่องพวกชฎิลผ่าฟืน
[๔๖] สมัยนั้น ชฎิลเหล่านั้นต้องการจะบำเรอไฟ แต่ไม่อาจจะผ่าฟืนได้
ครั้งนั้น ชฎิลเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “การที่พวกเราไม่อาจจะผ่าฟืนได้ คง
เป็นอิทธานุภาพของพระมหาสมณะโดยไม่ต้องสงสัยเลย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับชฎิลอุรุเวลกัสสปะว่า “กัสสปะ พวก
ชฎิลจงผ่าฟืนเถิด”
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะทูลรับพระดำรัสว่า “ข้าแต่มหาสมณะ พวกชฎิลจงผ่าฟืน”
ชฎิลทั้งหลายได้ผ่าฟืน ๕๐๐ ท่อน โดยการผ่าครั้งเดียวเท่านั้น
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากจริง ถึงกับให้พวกชฎิลผ่าฟืนได้ แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๕๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
เรื่องพวกชฎิลก่อไฟ
[๔๗] สมัยนั้น ชฎิลเหล่านั้นต้องการจะบูชาไฟ แต่ไม่อาจจะก่อไฟให้ลุกได้
ครั้งนั้น ชฎิลเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “การที่พวกเราไม่อาจจะก่อไฟให้ลุกได้
คงเป็นอิทธานุภาพของพระมหาสมณะโดยไม่ต้องสงสัยเลย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับชฎิลอุรุเวลกัสสปะว่า “กัสสปะ พวกชฎิล
จงก่อไฟให้ลุกขึ้นเถิด”
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะทูลรับพระดำรัสว่า “ข้าแต่มหาสมณะ พวกชฎิลจงก่อไฟ
ให้ลุกขึ้น”
ไฟทั้ง ๕๐๐ กอง ได้ลุกขึ้นพร้อมกันทีเดียว
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
จริงถึงกับให้ไฟลุกขึ้นได้ แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่”
เรื่องพวกชฎิลดับไฟ
[๔๘] สมัยนั้น ชฎิลเหล่านั้นบูชาไฟกันแล้ว แต่ไม่อาจจะดับไฟได้ ลำดับนั้น
ชฎิลเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “การที่พวกเราไม่อาจจะดับไฟได้ คงเป็น
อิทธานุภาพของพระมหาสมณะโดยไม่ต้องสงสัยเลย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับชฎิลอุรุเวลกัสสปะว่า “กัสสปะ พวกชฎิล
จงดับไฟเถิด”
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะทูลรับพระดำรัสว่า “ข้าแต่มหาสมณะ พวกชฎิลจงดับไฟ”
ไฟทั้ง ๕๐๐ กอง ได้ดับพร้อมกันทีเดียว
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
จริงถึงกับให้พวกชฎิลดับไฟได้ แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่”
เรื่องพวกชฎิลดำน้ำ
[๔๙] สมัยนั้น ชฎิลเหล่านั้นพากันดำลงบ้าง ผุดขึ้นบ้าง ทั้งดำทั้งผุดบ้าง
ในแม่น้ำเนรัญชรา ในราตรีเหมันตฤดูอันหนาวเย็นคราวหิมะตก อยู่ในระหว่างปลาย
เดือน ๓ กับต้นเดือน ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๕๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
เรื่องภาชนะใส่ไฟ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเนรมิตภาชนะใส่ไฟไว้ ๕๐๐ ชุด สำหรับให้
ชฎิลเหล่านั้นขึ้นจากน้ำจะได้ผิง
ลำดับนั้น ชฎิลเหล่านั้นมีความคิดดังนี้ว่า “การที่ภาชนะใส่ไฟเหล่านี้ได้ถูก
เนรมิตไว้ คงเป็นเพราะอิทธานุภาพของพระมหาสมณะโดยไม่ต้องสงสัยเลย”
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดดังนี้ว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากจริง ถึงกับเนรมิตภาชนะใส่ไฟไว้มากมายถึงเพียงนั้น แต่ไม่เป็นพระอรหันต์
เหมือนเราแน่”
เรื่องฝนตกน้ำท่วม
[๕๐] สมัยนั้น ฝนใหญ่นอกฤดูกาลตกลง เกิดห้วงน้ำใหญ่ สถานที่ที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ก็ถูกน้ำท่วม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า “ถ้ากระไร เราพึงขับน้ำให้ออกไป
โดยรอบ แล้วจงกรมบนพื้นดินที่มีฝุ่นฟุ้งขึ้นตรงกลาง” ทรงขับน้ำให้ออกไปโดยรอบ
เสด็จจงกรมบนพื้นดินที่มีฝุ่นฟุ้งขึ้นตรงกลาง
ลำดับนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะกล่าวว่า “พระมหาสมณะอย่าได้ถูกน้ำพัดไปเลย”
พร้อมด้วยชฎิลเป็นอันมาก ลงเรือไปยังสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้เห็น
พระผู้มีพระภาคทรงขับน้ำให้ออกไปโดยรอบ เสด็จจงกรมบนพื้นที่มีฝุ่นฟุ้งขึ้นตรง
กลางจึงทูลถามว่า “ข้าแต่พระมหาสมณะ พระองค์ยังประทับอยู่ที่นี่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ถูกละ กัสสปะ เรายังอยู่ที่นี่” แล้วเสด็จเหาะขึ้นไป
ปรากฏอยู่บนเรือ
ขณะนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะคิดว่า “พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากจริง ถึงกับทรงบันดาลไม่ให้น้ำไหลไปได้ แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๖๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
ชฎิล ๓ พี่น้องทูลขอการบรรพชาอุปสมบท
[๕๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริดังนี้ว่า “โมฆบุรุษนี้คงจักมีความคิด
อย่างนี้ไปอีกนานว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากจริง แต่ไม่เป็น
พระอรหันต์เหมือนเราแน่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงให้ชฎิลนี้สลดใจ” จึงได้ตรัสกับ
ชฎิลอุรุเวลกัสสปะว่า “กัสสปะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์แน่ ทั้งยังไม่ถึงอรหัตตมรรค
แม้ปฏิปทาของท่านอันจะเป็นเหตุให้เป็นพระอรหันต์หรือถึงอรหัตตมรรคก็ยังไม่มี”
ลำดับนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้ซบศีรษะลงแทบพระบาทพระผู้มีพระภาค
กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพเจ้าพึงได้การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทใน
สำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัสสปะ ท่านเป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึก เป็นเลิศ เป็น
หัวหน้า เป็นประธานของชฎิล ๕๐๐ คน ท่านจงบอกลาพวกเขาก่อน ให้พวก
เขาทำตามที่พวกเขาเข้าใจ”
ต่อมา ชฎิลอุรุเวลกัสสปะได้เข้าไปหาชฎิลเหล่านั้นถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า
“ผู้เจริญทั้งหลาย เราต้องการจะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระมหาสมณะ ท่าน
ทั้งหลาย จงทำตามที่พวกท่านเข้าใจ”
ชฎิลเหล่านั้นกราบเรียนว่า “พวกกระผมเลื่อมใสยิ่งในสำนักพระมหาสมณะ
มานานแล้ว ขอรับ ถ้าท่านจักประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระมหาสมณะ
พวกกระผมทั้งหมดก็จักประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระมหาสมณะเช่นกัน” จึงเอา
ผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชาไฟลอยน้ำ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ แล้วซบศีรษะแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พึงได้การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พวกเธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” แล้วตรัสต่อไปว่า
“ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
พระวาจานั้นแล ได้เป็นการอุปสมบทของท่านเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๖๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
[๕๒] ชฎิลนทีกัสสปะได้เห็นผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชาไฟลอย
น้ำมาแล้วคิดว่า “อุปสรรคอย่าได้มีแก่พี่ชายของเราเลย” จึงส่งชฎิลทั้งหลายไป
ด้วยสั่งว่า “พวกเธอจงไป จงรู้ความเป็นไปของพี่ชายของเรา” และตนเอง
พร้อมชฎิล ๓๐๐ คน ได้เข้าไปหาท่านพระอุรุเวลกัสสปะถึงที่อยู่แล้วเรียนถามว่า
“ข้าแต่พี่กัสสปะ พรหมจรรย์นี้ประเสริฐกว่าหรือ”
ท่านพระอุรุเวลกัสสปะตอบว่า “ถูกละ ผู้มีอายุ พรหมจรรย์นี้ประเสริฐกว่า”
หลังจากนั้น ชฎิลเหล่านั้นจึงเอาผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชาไฟ
ลอยน้ำ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซบศีรษะแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค กราบทูล
ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พึงได้การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทใน
สำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พวกเธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” แล้วตรัสต่อไปว่า
“ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดย
ชอบเถิด”
พระวาจานั้นแล ได้เป็นการอุปสมบทของท่านเหล่านั้น
[๕๓] ชฎิลคยากัสสปะได้เห็นผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชาไฟ
ลอยน้ำมาแล้วคิดว่า “อุปสรรคอย่าได้มีแก่พี่ชายทั้งสองของเราเลย” จึงส่งชฎิล
ทั้งหลายไปด้วยสั่งว่า “พวกเธอจงไป จงรู้ความเป็นไปของพี่ชายทั้งสองของเรา”
และตนเอง พร้อมชฎิล ๒๐๐ คน ได้เข้าไปหาท่านพระอุรุเวลกัสสปะถึงที่อยู่แล้ว
เรียนถามว่า “ข้าแต่พี่กัสสปะ พรหมจรรย์นี้ประเสริฐกว่าหรือ”
ท่านพระอุรุเวลกัสสปะตอบว่า “ถูกละ ผู้มีอายุ พรหมจรรย์นี้ประเสริฐกว่า”
หลังจากนั้น ชฎิลเหล่านั้นจึงเอาผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชาไฟ
ลอยน้ำ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซบศีรษะแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
กราบทูล ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พึงได้การบรรพชา พึงได้การ
อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”



{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๖๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พวกเธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” แล้วตรัสต่อไปว่า
“ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดย
ชอบเถิด”
พระวาจานั้น ได้เป็นการอุปสมบทของท่านเหล่านั้น
ชฎิลเหล่านั้นผ่าฟืน ๕๐๐ ท่อนไม่ได้ กลับผ่าได้ ก่อไฟไม่ติด กลับก่อไฟติด
ดับไฟไม่ได้ กลับดับได้ ด้วยการอธิษฐานของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงเนรมิตภาชนะใส่ไฟไว้ ๕๐๐ ชุด ปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ วิธี
ย่อมมีโดยนัยนี้
อาทิตตปริยายสูตร๑
[๕๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ตามพระอัธยาศัยได้เสด็จจาริกไปยังตำบลคยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ราว
๑,๐๐๐ รูป ล้วนเคยเป็นชฎิลทั้งนั้น ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ตำบล
คยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งหลายเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสเป็นของร้อน
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะ
ไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะ
ความแก่ เพราะความตาย เพราะความโศก เพราะความคร่ำครวญ เพราะทุกข์
เพราะโทมนัส เพราะความคับแค้นใจ

เชิงอรรถ :
๑ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๘/๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๖๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๒. อุรุเวลปาฏิหาริยกถา
โสตะ(หู)เป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ
ฆานะ(จมูก)เป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ
ชิวหา(ลิ้น)เป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ
กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะ(สิ่งที่กายสัมผัสถูกต้อง)ทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ
มนะ(ใจ)เป็นของร้อน ธรรม(อารมณ์)ทั้งหลายเป็นของร้อน มโนวิญญาณ
(ความรู้ทางใจ)เป็นของร้อน มโนสัมผัส(การกระทบทางใจ)เป็นของร้อน แม้ความ
เสวยอารมณ์ ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ
เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่เพราะ
ความตาย เพราะความโศก เพราะความคร่ำครวญ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส
เพราะความคับแค้นใจ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือที่มิ
ใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว อริยสาวกย่อมรู้ชัดว่า ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี”
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณ์นี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ก็
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
อาทิตตปริยายสูตร จบ
อุรุเวลปาฏิหาริยกถา จบ
ภาณวารที่ ๓ จบ
๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา
ว่าด้วยสมาคมของพระเจ้าพิมพิสาร
เรื่องสวนตาลหนุ่ม
[๕๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะตามพระ
อัธยาศัยแล้วได้เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ๑,๐๐๐ รูป
ล้วนเคยเป็นชฎิลทั้งนั้น เสด็จจาริกไปตามลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ต้นไทรต้นหนึ่งชื่อว่าสุประดิษฐเจดีย์ในสวนตาลหนุ่ม
เขตกรุงราชคฤห์นั้น
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงสดับข่าวว่า “ท่านพระสมณโคดม เป็น
ศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ประทับอยู่
ณ ควงต้นไทรต้นหนึ่งชื่อสุประดิษฐเจดีย์ในสวนตาลหนุ่ม เขตกรุงราชคฤห์ ท่าน
พระโคดมผู้เจริญนั้น มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วย
วิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูพระวินัยปิฎกมหาวิภังค์แปล เล่ม ๑ ข้อ ๑ หน้า ๑-๒ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๖๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา
พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงประกาศให้
ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริบูรณ์บริสุทธิ์
ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง
เรื่องพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทรงแวดล้อมด้วยพราหมณ์คหบดี
ชาวมคธ ๑๒ นหุต๑ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ฝ่ายพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุตเหล่านั้น บางพวกถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็ได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มี
พระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันและกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกก็ประคองอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกก็ประกาศนามและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกก็นั่งนิ่ง ณ ที่สมควร
ขณะนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุตเหล่านั้นได้มีความคิด
ดังนี้ว่า “พระมหาสมณะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระอุรุเวลกัสสปะ หรือพระ
อุรุเวลกัสสปะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระมหาสมณะหนอ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความรำพึงในใจของพราหมณ์คหบดี
ชาวมคธ ๑๒ นหุตเหล่านั้นด้วยพระทัย จึงตรัสเชื้อเชิญท่านพระอุรุเวลกัสสปะ
ด้วยคาถาว่า
“ท่านอยู่อุรุเวลามานาน เคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิลผู้ผอม๒
ท่านเห็นอุบายอะไร จึงได้ละไฟเสีย

เชิงอรรถ :
๑ นหุต เป็นมาตรานับ ๑ นหุต เท่ากับ ๑๐,๐๐๐ คน ๑๒ นหุต เท่ากับ ๑๒๐,๐๐๐ คน
๒ หมายถึงเป็นผู้อบรมสั่งสอนหมู่ดาบสที่ได้นามว่า “ผู้ผอม” เนื่องจากเป็นผู้ที่ร่างกายผอม เพราะบำเพ็ญ
ตนเป็นดาบส (วิ.อ. ๓/๕๕/๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา
กัสสปะ เราถามข้อความนี้กะท่าน
ไฉนท่านจึงละการบูชาไฟของท่านเสียเล่า”
พระอุรุเวลกัสสปะทูลตอบว่า
“ยัญทั้งหลายกล่าวสรรเสริญกามทั้งหลาย
คือ รูป เสียง รสและสตรีทั้งหลาย
ข้าพระองค์ได้รู้ในอุปธิ๑ว่า นั่นเป็นมลทิน
เพราะฉะนั้น จึงมิได้ยินดีในการเซ่นสรวง มิได้ยินดีในการบูชา”
“กัสสปะ ใจของท่านไม่ยินดีในรูป เสียงและรสเหล่านั้นแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจของท่านยินดีในสิ่งไรเล่า
ในเทวโลกหรือมนุษยโลก กัสสปะ ท่านจงบอกสิ่งนั้นแก่เรา”
“ข้าพระองค์ได้เห็นบทอันสงบ๒ ไม่มีอุปธิ ไม่มีกังวล
ไม่ข้องอยู่ในกามภพ มีอันไม่แปรเป็นอย่างอื่น
ไม่ใช่ธรรมที่ผู้อื่นจะพึงแนะให้ได้
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมิได้ยินดีในการเซ่นสรวงมิได้ยินดีใน
การบูชา”
[๕๖] ลำดับนั้น ท่านพระอุรุเวลกัสสปะลุกขึ้นจากอาสนะห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ซบศีรษะแทบพระบาทพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ขณะนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธทั้ง ๑๒ นหุตเหล่านั้นก็ทราบว่า “พระ
อุรุเวลกัสสปะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระมหาสมณะ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความรำพึงในใจของพราหมณ์คหบดีชาว
มคธ ๑๒ นหุตเหล่านั้นด้วยพระทัย จึงได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ

เชิงอรรถ :
๑ อุปธิ ในที่นี้หมายถึงขันธุปธิ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์อันมีขันธ์เป็นมูล (สารตฺถ.ฎีกา ๓/๕๕/๒๖๐)
๒ บทอันสงบ ในที่นี้หมายถึงบทคือพระนิพพานที่มีสภาพสงบ ที่ชื่อว่า ไม่แปรเป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีชาติ
ชรา และมรณะ (วิ.อ.๓/๕๕/๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๖๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา
๑. ทานกถา ๒. สีลกถา
๓. สัคคกถา ๔. กามาทีนวกถา
๕. เนกขัมมานิสังสกถา
เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบว่าพวกเขามีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน
ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดแก่พราหมณ์
คหบดีชาวมคธ ๑๑ นหุต ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ณ ที่นั่งนั้นแลว่า
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”
เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
พราหมณ์คหบดีอีก ๑ นหุต ได้แสดงตนเป็นอุบาสก
เรื่องความปรารถนา ๕ ประการ
ของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
[๕๗] ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว
รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ
ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “เมื่อก่อนหม่อมฉันยังเป็นพระกุมาร ได้มีความปรารถนา ๕ ประการ
พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนา ๕ ประการเหล่านั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว
คือ
๑. เมื่อก่อนหม่อมฉันยังเป็นพระกุมารได้มีความปรารถนาว่า ไฉนหนอ
พสกนิกรพึงอภิเษกเราในราชสมบัติ นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๑
พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนานั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว
๒. ขอพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพึงเสด็จมาสู่แว่นแคว้นของหม่อม
ฉันนั้น นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๒ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความ
ปรารถนานั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา
๓. ขอหม่อมฉันพึงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นี้เป็น
ความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๓ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนานั้น
ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว
๔. ขอพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพึงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน นี้เป็น
ความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๔ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนานั้น
ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว
๕. ขอหม่อมฉันพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นี้เป็น
ความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๕ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนานั้น
ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว
เมื่อก่อนหม่อมฉันยังเป็นพระกุมาร ได้มีความปรารถนา ๕ ประการเหล่านี้
พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ความปรารถนา ๕ ประการเหล่านั้นของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว
พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือ
ตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป พระองค์ผู้เจริญหม่อมฉันนี้
ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต และ
ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์ทรงรับคำอาราธนาของหม่อมฉันเพื่อเจริญ
กุศลในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพแล้ว
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐทรงทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับ
นิมนต์แล้ว จึงเสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำ
ประทักษิณแล้วเสด็จกลับ ผ่านราตรีนั้นไป รับสั่งให้ตระเตรียมของเคี้ยวของฉัน
อันประณีตไว้ แล้วให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตตกาลว่า “ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
ภัตตาหารเสร็จแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๖๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา
[๕๘] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ราว ๑,๐๐๐ รูป ล้วนเคย
เป็นชฎิลทั้งนั้น
ขณะนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงเนรมิตเพศเป็นมาณพเสด็จพระดำเนินนำอยู่
เบื้องหน้าภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงขับคาถาเหล่านี้ไปพลางว่า
คาถาสดุดีพระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคทรงมีพระฉวีวรรณเสมอด้วยสีลิ่มทองสิงคี
ทรงฝึกอินทรีย์แล้วทรงพ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยเหล่าภิกษุที่เคยเป็นชฎิล ผู้ฝึกอินทรีย์แล้ว พ้นวิเศษแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงมีพระฉวีวรรณเสมอด้วยสีลิ่มทองสิงคี
ทรงพ้นแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยเหล่าภิกษุที่เคยเป็นชฎิลผู้พ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงมีพระฉวีวรรณเสมอด้วยสีลิ่มทองสิงคี
ทรงข้ามแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยเหล่าภิกษุที่เคยเป็นชฎิลผู้ข้ามแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงมีพระฉวีวรรณเสมอด้วยสีลิ่มทองสิงคี
ทรงสงบแล้ว ทรงพ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยเหล่าภิกษุที่เคยเป็นชฎิลผู้สงบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงอยู่จบธรรม ๑๐ ประการ
ทรงมีทสพลญาณ ทรงทราบธรรม ๑๐ ประการ และทรงประกอบ
ด้วยธรรม ๑๐ ประการ๑ มีภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร
ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์

เชิงอรรถ :
๑ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ คือ ประกอบด้วยอเสขธรรม ๑๐ (วิ.อ. ๓/๕๘/๒๘) ได้แก่ สัมมัตตะ
๑๐ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๕๘/๒๗๑) ดู ที.ปา ๑๑/๓๔๘,๓๖๐/๒๔๐,๒๘๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๓. พิมพิสารสมาคมกถา
คนทั้งหลายได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพแล้วพากันกล่าวว่า “มาณพนี้มีรูปงามหนอ
มาณพนี้น่าดูหนอ มาณพนี้น่าชมหนอ มาณพนี้เป็นผู้รับใช้ของใครหนอ”
เมื่อคนทั้งหลายกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสตอบคนเหล่านั้น
เป็นคาถาว่า
“พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ทรงเป็นนักปราชญ์
ทรงฝึกในอินทรีย์ทั้งปวง เป็นผู้ผุดผ่อง ไม่มีผู้ใดเปรียบ
ทรงไกลจากกิเลส เสด็จไปดีในโลก
ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
เรื่องทรงรับพระเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรก
[๕๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร
จอมทัพมคธรัฐ ครั้นถึงแล้วจึงประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทรงนำของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยพระองค์เอง กระทั่งพระผู้มีพระภาค
เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงประทับนั่ง ณ
ที่สมควร ท้าวเธอทรงดำริว่า “พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนหนอ ที่แห่งใดอยู่
ไม่ไกลและไม่ใกล้จากหมู่บ้านนัก คมนาคมสะดวก ผู้ประสงค์พึงเข้าเฝ้าได้ กลางวัน
ไม่พลุกพล่าน กลางคืนสงัด เสียงไม่อึกทึก เว้นจากคนสัญจรไปมา เป็นที่กระทำ
กรรมลับของหมู่มนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น” จึงมีพระราชดำริว่า “อุทยานเวฬุวัน
ของเรานี้ไม่ไกลและไม่ใกล้จากหมู่บ้านนัก คมนาคมสะดวก ผู้ประสงค์พึงเข้าเฝ้าได้
กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนสงัด เสียงไม่อึกทึก เว้นจากคนสัญจรไปมา เป็นที่
กระทำกรรมลับของหมู่มนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น อย่ากระนั้นเลย เราพึงถวาย
อุทยานเวฬุวันแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข” แล้วทรงจับพระสุวรรณภิงคาร
หลั่งน้ำน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคด้วยพระราชดำรัสว่า “หม่อมฉันขอถวาย
อุทยานเวฬุวันนั้นแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๗๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๔. สารีปุตตโมคคัลลานปัพพัชชากถา
พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว ทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ
มคธรัฐเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชะโลม
ใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับเสด็จกลับ ต่อมา
พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนั้นเป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาราม”
พิมพิสารสมาคมกถา จบ
๑๔. สารีปุตตโมคคัลลานปัพพัชชากถา
ว่าด้วยสารีบุตรและโมคคัลลานะบรรพชา
[๖๐] สมัยนั้น สัญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยบริษัท
ปริพาชกหมู่ใหญ่จำนวน ๒๕๐ ท่าน ครั้งนั้น สารีบุตรและโมคคัลลานะประพฤติ
พรหมจรรย์อยู่ในสำนักสัญชัยปริพาชก ได้ตั้งกติกากันไว้ว่า “ผู้ใดบรรลุอมตธรรม
ก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง”
ขณะนั้นเวลาเช้า ท่านพระอัสสชิครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ มีกิริยาที่ก้าวไป ถอยกลับ แลดู เหลียวดู คู้เข้า
เหยียดออก น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ
สารีบุตรปริพาชกได้เห็นท่านพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์
มีกิริยาก้าวไป ถอยกลับ แลดู เหลียวดู คู้เข้า เหยียดออก น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง
ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถแล้วคิดว่า “ภิกษุรูปนี้คงเป็นองค์ใดองค์หนึ่ง บรรดาพระ
อรหันต์หรือท่านผู้ดำเนินสู่หนทางแห่งความเป็นพระอรหันต์ในโลกเป็นแน่ ถ้ากระไร
เราพึงเข้าไปหาภิกษุนี้ถามว่า ผู้มีอายุ ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร” แล้วคิดว่า “บัดนี้ ยังเป็นกาลไม่สมควรที่จะถาม
ภิกษุนี้ เพราะท่านกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ถ้ากระไร เราควรติดตาม
ภิกษุนี้ไปข้างหลัง เพราะการติดตามไปข้างหลังนี้เป็นหนทางที่ผู้มีความต้องการรู้แล้ว”
ต่อมา ท่านพระอัสสชิได้เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ รับบิณฑบาตแล้วกลับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๔. สารีปุตตโมคคัลลานปัพพัชชากถา
ลำดับนั้น สารีบุตรปริพาชกจึงเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ แล้วได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกกันแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร เรียนถามว่า
“ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผู้มีอายุ ท่านบวช
อุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร”
พระอัสสชิกล่าวตอบว่า “ท่าน มีพระมหาสมณะผู้เป็นศากยบุตร เสด็จออก
ผนวชจากศากยตระกูล เราบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นศาสดาของเรา และเราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์
นั้น”
“ก็พระศาสดาของท่านตรัสอย่างไร สอนอย่างไร”
“ท่าน เราเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่สามารถแสดง
ธรรมโดยพิสดารแก่ท่านได้ แต่จักกล่าวแต่ใจความโดยย่อแก่ท่าน”
ทีนั้น สารีบุตรปริพาชกกราบเรียนท่านพระอัสสชิว่า
“เอาเถอะ ผู้มีอายุ จะน้อยหรือมากก็ตาม จงกล่าวเถิด
จงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าต้องการแต่ใจความเท่านั้น
ท่านจักทำพยัญชนะให้มากไปทำไม”
พระอัสสชิแสดงธรรม
ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชกว่า
“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้”๑

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่เกิดแต่เหตุ คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ตัวทุกข์
เหตุแห่งธรรม คือ สมุทัย
ความดับแห่งธรรมเหล่านั้น คือ นิโรธและมรรคมีองค์ ๘ (วิ.อ. ๓/๖๐/๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๔. สารีปุตตโมคคัลลานปัพพัชชากถา
สารีบุตรปริพาชกได้ธรรมจักษุ
เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้ ธรรมจักษุ อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่สารีบุตรปริพาชกว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” สารีบุตรปริพาชกกล่าวว่า
“ถ้าธรรมนี้ มีเพียงเท่านี้
ท่านก็ได้รู้แจ้งแทงตลอดทางอันหาความโศกมิได้แล้ว
อันเป็นทางที่พวกข้าพเจ้ายังไม่ได้เห็น
ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัป”
สารีบุตรปริพาชกเปลื้องคำสัญญา
[๖๑] ครั้งนั้น สารีบุตรปริพาชกได้กลับไปหาโมคคัลลานปริพาชกถึงที่พัก
โมคคัลลานปริพาชก ได้เห็นสารีบุตรปริพาชกเดินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วจึงได้
กล่าวกับสารีบุตรปริพาชก ดังนี้ว่า “ท่าน อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณ
บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ท่านได้บรรลุอมตธรรมแล้วหรือ”
สารีบุตรปริพาชกตอบว่า “ใช่แล้วท่าน เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว”
“ท่าน ท่านได้บรรลุอมตธรรมได้อย่างไร”
“ท่าน เราได้เห็นท่านพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์
มีกิริยาก้าวไป ถอยกลับ แลดู เหลียวดู คู้เข้า เหยียดออก น่าเลื่อมใส
มีจักษุทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถแล้วคิดว่า ‘ภิกษุรูปนี้คงเป็นองค์ใดองค์หนึ่ง
บรรดาพระอรหันต์หรือท่านผู้ดำเนินสู่หนทางแห่งความเป็นพระอรหันต์ในโลกเป็นแน่
ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุนี้ถามว่า ผู้มีอายุ ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็น
ศาสดาของท่าน หรือท่านชอบธรรมของใคร’ แล้วคิดว่า ‘บัดนี้ ยังเป็นกาลไม่
สมควรที่จะถามภิกษุนี้ เพราะท่านกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ถ้ากระไร
เราควรติดตามภิกษุนี้ไปข้างหลัง เพราะการติดตามไปข้างหลังนี้ เป็นหนทางที่ผู้มี
ความต้องการรู้แล้ว’
ต่อมา ท่านพระอัสสชิได้เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ รับบิณฑบาตแล้วกลับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๔. สารีปุตตโมคคัลลานปัพพัชชากถา
ลำดับนั้น เราจึงเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกกันและกันแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร เรียนถามว่า
‘ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผู้มีอายุ ท่านบวช
อุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร’
พระอัสสชิกล่าวตอบว่า “ท่าน มีพระมหาสมณะผู้เป็นศากยบุตร เสด็จออก
ผนวชจากศากยตระกูล เราบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
เราจึงถามว่า ‘ก็พระศาสดาของท่านตรัสอย่างไร สอนอย่างไร’
ท่านพระอัสสชิกล่าวว่า ‘ท่าน เราเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่
พระธรรมวินัยนี้ ไม่สามารถแสดงธรรมโดยพิสดารแก่ท่านได้ แต่จักกล่าวแต่ใจ
ความโดยย่อแก่ท่าน’
ทีนั้น เราจึงกราบเรียนท่านพระอัสสชิว่า
“เอาเถอะ ผู้มีอายุจะน้อยหรือมากก็ตาม จงกล่าวเถิด
จงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าต้องการแต่ใจความเท่านั้น
ท่านจักทำพยัญชนะให้มากไปทำไม”
ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิได้กล่าวธรรมปริยายนี้ว่า
“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้”
โมคคัลลานปริพาชกได้ธรรมจักษุ
เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้ ธรรมจักษุ อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่โมคคัลลานปริพาชกว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” โมคคัลลานปริพาชกกล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๗๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๔. สารีปุตตโมคคัลลานปัพพัชชากถา
“ถ้าธรรมนี้ มีเพียงเท่านี้
ท่านก็ได้รู้แจ้งแทงตลอดทางอันหาความโศกมิได้แล้ว
อันเป็นทางที่พวกเรายังไม่ได้เห็น
ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัป”
สองสหายไปอำลาอาจารย์
[๖๒] ครั้งนั้น โมคคัลลานปริพาชกได้กล่าวกับสารีบุตรปริพาชกว่า “ท่าน
เราไปสำนักพระผู้มีพระภาคกันเถิด เพราะพระองค์เป็นศาสดาของเรา”
สารีบุตรปริพาชกกล่าวว่า “ท่าน ปริพาชก ๒๕๐ คนเหล่านี้ อาศัยเรา
เห็นแก่เรา จึงอยู่ในสำนักนี้ เราบอกลาปริพาชกเหล่านั้นก่อน พวกเขาจักทำ
ตามที่เขาเข้าใจ”
ต่อมา สารีบุตรและโมคคัลลานะพากันเข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้
กล่าวดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเราจะไปสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระองค์
เป็นศาสดาของพวกเรา”
พวกปริพาชกกล่าวว่า “ข้าพเจ้าทั้งหลายอาศัยพวกท่าน เห็นแก่พวกท่าน
จึงอยู่ในสำนักนี้ ถ้าท่านทั้งสองจักประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระมหาสมณะ
ข้าพเจ้าทั้งหมดก็จักประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระมหาสมณะด้วย”
ต่อมา สารีบุตรและโมคคัลลานะพากันเข้าไปหาสัญชัยปริพาชกกราบเรียนว่า
“ท่านขอรับ พวกกระผมจะไปสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระองค์เป็นศาสดา
ของพวกกระผม”
สัญชัยปริพาชกกล่าวห้ามว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลายอย่าไป เราทั้งหมด
๓ คน จักช่วยกันบริหารคณะนี้”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ สารีบุตรและโมคคัลลานะ ก็กราบเรียนสัญชัยปริพาชกดังนี้ว่า
“ท่านขอรับ พวกกระผมจะไปสำนักพระผู้มีพระภาค เพราะพระองค์เป็นศาสดา
ของพวกกระผม”
สัญชัยปริพาชกก็ยังกล่าวห้ามว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลายอย่าไป เรา
ทั้งหมด ๓ คน จักช่วยกันบริหารคณะนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๗๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๔. สารีปุตตโมคคัลลานปัพพัชชากถา
หลังจากนั้น สารีบุตรและโมคคัลลานะได้พาปริพาชก ๒๕๐ คนนั้น มุ่งหน้าไป
ทางพระเวฬุวัน โลหิตร้อนก็พุ่งออกจากปากของสัญชัยปริพาชก ณ ที่นั้นเอง
ทรงพยากรณ์พระอัครสาวก
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นสารีบุตรและโมคคัลลานะเดินมาแต่ไกล
แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย สหายทั้ง ๒ คนนั้น คือโกลิตะ
และอุปติสสะกำลังมา นั่นจักเป็นคู่สาวกชั้นยอด เป็นคู่ที่เจริญของเรา”
ท่านสารีบุตรและท่านโมคคัลลานะ ผู้น้อมจิตไปในธรรม
อันยอดเยี่ยม ลึกซึ้ง เป็นวิสัยแห่งญาณ เป็นที่สิ้นอุปธิ
ยังมาไม่ถึงพระเวฬุวัน พระศาสดาก็ทรงพยากรณ์แล้วว่า
“สหายทั้ง ๒ คนนั้น คือโกลิตะและอุปติสสะ
กำลังมา นั่นจักเป็นคู่สาวกชั้นยอด เป็นคู่ที่เจริญของเรา”
ทูลขอการบรรพชาอุปสมบท
ต่อมา สารีบุตรและโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วซบ
ศีรษะแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวก
ข้าพระองค์พึงได้การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พวกเธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” แล้วตรัสต่อไปว่า
“ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
พระวาจานั้นแล ได้เป็นการอุปสมบทของท่านเหล่านั้น๑

เชิงอรรถ :
๑ ท่านโกลิตะหรือพระโมคคัลลานะหลังจากบวชได้ ๗ วัน ไปพักอาศัยอยู่ ณ บ้านกัลลวาฬคาม
(กัลล วาฬมุตตคาม) บำเพ็ญสมณธรรม ฟังธรรมว่าด้วยธาตุกัมมัฏฐานจากพระพุทธเจ้า บรรลุพระอรหัตตผล
ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณตามที่ตั้งความปรารถนาไว้
ส่วนท่านอุปติสสะ หรือพระสารีบุตร หลังจากบวชได้ ๑๕ วัน ไปพักอาศัยอยู่ ณ ถ้ำสูกรขาตา
เขตกรุงราชคฤห์ พร้อมกับพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตรแก่หลานชายของ
ท่านชื่อทีฆนขปริพาชก พระสารีบุตรส่งญาณไปตามแนวพระสูตร บรรลุพระอรหัตตผล ถึงที่สุดแห่งสาวก
บารมีญาณตามที่ตั้งความปรารถนาไว้ (สารตฺถ.ฏีกา. ๓/๖๒/๒๗๗-๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๗๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๔. สารีปุตตโมคคัลลานปัพพัชชากถา
เรื่องกุลบุตรชาวมคธมีชื่อเสียงบรรพชา
[๖๓] สมัยนั้น พวกกุลบุตรชาวมคธที่มีชื่อเสียง พากันประพฤติพรหมจรรย์
ในสำนักพระผู้มีพระภาค คนทั้งหลายจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“พระสมณโคดมปฏิบัติเพื่อให้ชายไม่มีบุตร เพื่อให้หญิงเป็นม่าย และเพื่อความ
ขาดสูญแห่งตระกูล บัดนี้ พระสมณโคดมบวชชฎิล ๑,๐๐๐ คนแล้ว และบวช
ปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของสัญชัย ๒๕๐ คนแล้ว และพวกกุลบุตรชาวมคธเหล่านี้ที่
มีชื่อเสียง ก็พากันประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระสมณโคดม”
อนึ่ง คนทั้งหลายเห็นพวกภิกษุก็พากันโจทด้วยคาถานี้ว่า
“พระมหาสมณะเสด็จมาสู่พระคิริพชนคร๑ของชาวมคธ
ทรงนำปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของสัญชัยไปหมดแล้ว
บัดนี้ยังจักทรงนำใครไปอีกเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เสียงนั้นคงอยู่ไม่นาน จักมีเพียง ๗
วันเท่านั้น พ้น ๗ วัน จักหายไป ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ชนเหล่าใดโจท
พวกเธอด้วยคาถานี้ว่า
“พระมหาสมณะเสด็จมาสู่พระคิริพชนครของชาวมคธ
ทรงนำปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของสัญชัยไปหมดแล้ว
บัดนี้จักทรงนำใครไปอีกเล่า”
พวกเธอจงโจทตอบพวกนั้นด้วยคาถานี้ว่า
“พระตถาคตทั้งหลาย ทรงมีความเพียรมาก
ทรงแนะนำด้วยพระสัทธรรม เมื่อรู้ชัด(อย่างนี้)
จะต้องริษยาพระตถาคตผู้ทรงแนะนำโดยธรรมไปทำไมเล่า”

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงกรุงราชคฤห์ บางทีเรียกว่า เบญจคิรีนคร ที่ชื่อว่าคิริพชนคร เพราะเป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วย
ภูเขา ๕ ลูก คือ ปัณฑวะ คิชฌกูฏ เวภาระ อสิคิลิ เวปุลละ (สารตฺถ. ฏีกา ๓/๖๓/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๗๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๕. อุปัชฌายวัตตกถา
สมัยนั้น คนทั้งหลายเห็นพวกภิกษุก็พากันโจทด้วยคาถานี้ว่า
“พระมหาสมณะเสด็จมาสู่คิริพชนครของชาวมคธ
ทรงนำปริพาชกผู้เป็นศิษย์ของสัญชัยไปหมดแล้ว
บัดนี้จักทรงนำใครไปอีกเล่า”
ภิกษุทั้งหลายก็โจทตอบคนพวกนั้นด้วยคาถานี้ว่า
“พระตถาคตทั้งหลายทรงมีความเพียรมาก
ทรงแนะนำด้วยพระสัทธรรม เมื่อรู้ชัด(อย่างนี้)
จะต้องริษยาพระตถาคตผู้ทรงแนะนำโดยธรรมไปทำไมเล่า”
คนทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า “ได้ยินว่า พระสมณะผู้เป็นเชื้อสายศากยบุตร
ทั้งหลาย ย่อมแนะนำโดยธรรม ย่อมไม่แนะนำโดยอธรรม”
เสียงนั้นมีอยู่เพียง ๗ วันเท่านั้น พ้น ๗ วันก็หายไป
สารีปุตตโมคคัลลานปัพพัชชากถา จบ
ภาณวารที่ ๔ จบ
๑๕. อุปัชฌายวัตตกถา๑
ว่าด้วยอุปัชฌายวัตร
เรื่องภิกษุนุ่งห่มไม่เรียบร้อย
[๖๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยังไม่มีพระอุปัชฌาย์ ไม่มีผู้คอยตักเตือน
พร่ำสอน จึงนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมารยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต เมื่อคน
ทั้งหลายกำลังบริโภค ก็ยื่นบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาต๒ เข้าไปบนของบริโภคบ้าง

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. ๗/๓๗๕-๓๗๖/๑๗๔-๑๘๐
๒ บาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาต (อุตฺติฏฺ�ปตฺตนฺติ ปิณฺฑาย จรณกปตฺตํ -วิ.อ. ๓/๖๔-๕/๓๒), พวกมนุษย์
สำคัญบาตรนั้นว่าเป็นเดน (วิ.อ. ๓/๖๔-๕/๓๒), ดู สารตฺถ.ฏีกา ๓/๖๔/๒๘๑,วิมติ.ฏีกา ๒/๖๔/๑๓๐-๑๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๗๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๕. อุปัชฌายวัตตกถา
บนของเคี้ยวบ้าง บนของลิ้มบ้าง บนน้ำดื่ม ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง
ด้วยตนเองมาแน ส่งเสียงดังในโรงฉันบ้าง
คนทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตร ทั้งหลายจึงนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมารยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต
เมื่อคนทั้งหลาย กำลังบริโภค ก็ยื่นบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปบนของ
บริโภคบ้าง บนของเคี้ยวบ้าง บนของลิ้มบ้าง บนน้ำดื่มบ้าง ออกปากขอแกงบ้าง
ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน ส่งเสียงดังในโรงฉันบ้าง เหมือนพวกพราหมณ์ใน
สถานที่เลี้ยงพราหมณ์ฉะนั้นเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นกล่าวตำหนิอ ประณาม โพนทะนา บรรดา
ภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึง
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มี
มารยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต เมื่อคนทั้งหลายกำลังบริโภค ก็ยื่นบาตร
สำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปบนของบริโภคบ้าง บนของเคี้ยวบ้าง บนของ
ลิ้มบ้าง บนน้ำดื่มบ้าง ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน
ส่งเสียงดังในโรงฉันบ้างเล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุนุ่งห่มไม่เรียบร้อย
มีมารยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต เมื่อคนทั้งหลายกำลังบริโภค ก็ยื่นบาตร
สำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปบนของบริโภคบ้าง บนของเคี้ยวบ้าง บนของลิ้มบ้าง
บนน้ำดื่มบ้าง ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน ส่งเสียงดัง
แม้ในโรงฉันบ้าง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลาย ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำเลย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมารยาทไม่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๘๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๕. อุปัชฌายวัตตกถา
เที่ยวบิณฑบาต เมื่อคนทั้งหลายกำลังบริโภค ก็ยื่นบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาต
เข้าไปบนของบริโภคบ้าง บนของเคี้ยวบ้าง บนของลิ้มบ้าง บนน้ำดื่มบ้าง
ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน ส่งเสียงดังแม้ในโรงฉันบ้างเล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั่น มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่
เลื่อมใสให้ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวก ก็จะกลายเป็นอื่นไป”
ทรงอนุญาตอุปัชฌาย์
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว ได้ตรัส
โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยประการต่าง ๆ ทรงแสดงธรรมีกถาให้เหมาะสม ให้คล้อยตาม
กับเรื่องนั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์จักเข้าไปตั้งจิตสนิท
สนมในสัทธิวิหาริกฉันบุตร สัทธิวิหาริก๑จักเข้าไปตั้งจิตสนิทสนมในอุปัชฌาย์ฉันบิดา
เมื่อเป็นเช่นนี้ อุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริกจักมีความเคารพ ยำเกรงประพฤติ
กลมเกลียวกัน จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
วิธีถืออุปัชฌาย์
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงถืออุปัชฌาย์อย่างนี้
สัทธิวิหาริกพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า นั่งกระโหย่ง
ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านจงเป็นอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิด

เชิงอรรถ :
๑ สัทธิวิหาริก แปลว่า ผู้อยู่ด้วยกัน เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์รูปใด
ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์รูปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๘๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๕. อุปัชฌายวัตตกถา
ท่านผู้เจริญ ท่านจงเป็นอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิด ท่านผู้เจริญ ท่านจงเป็น
อุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิด”
อุปัชฌาย์ให้สัทธิวิหาริกรู้ด้วยกาย ให้รู้ด้วยวาจา หรือให้รู้ด้วยกายและวาจา
ว่า “ดีละ” ว่า “เบาใจละ” ว่า “ชอบแก่อุบายละ” ว่า “สมควรละ” หรือว่า
“จงประพฤติปฏิบัติให้น่าเลื่อมใส” อุปัชฌาย์ชื่อว่าเป็นผู้ที่สัทธิวิหาริกถือแล้ว
อุปัชฌาย์ไม่ให้สัทธิวิหาริกรู้ด้วยกาย ไม่ให้รู้ด้วยวาจา หรือไม่ให้รู้ด้วยกาย
และวาจา อุปัชฌาย์ชื่อว่าเป็นผู้ที่สัทธิวิหาริกยังมิได้ถือ
อุปัชฌายวัตร
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติโดยชอบในอุปัชฌาย์ วิธีประพฤติ
โดยชอบในอุปัชฌาย์นั้นมีดังนี้
สัทธิวิหาริกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออุปัชฌาย์ฉันข้าวต้มเสร็จแล้ว
พึงถวายน้ำรับภาชนะมา ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด๑ ล้างแล้วเก็บงำไว้
เมื่ออุปัชฌาย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวาย
ประคดเอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ
ถ้าอุปัชฌาย์หวังจะให้เป็นปัจฉาสมณะ ถึงนุ่งให้เรียบร้อยปกปิดได้มณฑล ๓๒
คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน กลัดลูกดุม ล้างบาตรถือไป เป็นปัจฉา
สมณะของอุปัชฌาย์ พึงเดินไม่ให้ห่างนัก ไม่ให้ชิดนัก พึงรับบาตรที่มีของบรรจุอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ให้ครูดพื้น (วิ.อ. ๓/๖๖/๓๖)
๒ มณฑล ๓ คือ ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) ต้องห่มปิดหลุมคอและทำชายจีวรทั้ง ๒ ข้างให้เสมอกัน
ถ้าเป็นอ้นตรวาสก ต้องนุ่งปิดสะดือ และปิดเข่าทั้ง ๒ ข้าง (ดู วิ.มหา.(แปล) ๒/๕๗๖-๕๗๗/๖๕๐-๖๕๑
และ วิ.อ. ๒/๕๗๖-๕๗๗/๔๔๗-๔๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๘๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๕. อุปัชฌายวัตตกถา
เมื่ออุปัชฌาย์กำลังกล่าว ไม่พึงกล่าวสอดขึ้นในระหว่าง อุปัชฌาย์กล่าวถ้อยคำ
ใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย
เมื่ออุปัชฌาย์จะกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย
รับผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร
เมื่อจะพับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ
พึงม้วนประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌาย์ต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาต
เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออุปัชฌาย์ฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา
ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่ง
ทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือ
ข้างหนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
เมื่ออุปัชฌาย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟเดินตามหลังอุปัชฌาย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ
ที่สมควร พึงถวายจุรณและดิน
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้า
และหลัง จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดพระเถระ ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๘๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๕. อุปัชฌายวัตตกถา
พึงทำบริกรรม๑แก่อุปัชฌาย์ในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟปิดหน้าและหลัง จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรม๒แก่อุปัชฌาย์แม้ในน้ำ ตนสรงน้ำเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัว
ให้แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอุปัชฌาย์ ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉัน
มาถวายอุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้สอบถามอรรถ พึงสอบถาม
อุปัชฌาย์อยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด
เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อน วางไว้ ณ ที่สมควร
พึงขนผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน
พนักพิง พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม
ค่อยขนออกมาวาง ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด
เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน

เชิงอรรถ :
๑ ทำบริกรรมในเรือนไฟ หมายถึงการถวายขี้เถ้า ดินเหนียว และน้ำร้อนเป็นต้น (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘)
๒ ทำบริกรรมในน้ำ หมายถึงการขัดถูร่างกาย (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๘๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๕. อุปัชฌายวัตตกถา
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือ
ข้างหนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎีรก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความไม่ยินดี สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความรำคาญ สัทธิวิหาริกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความเห็นผิด สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องอาบัติหนัก๑ ควรแก่ปริวาส สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อุปัชฌาย์”

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติหนัก ในที่นี้หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๕. อุปัชฌายวัตตกถา
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอุปัชฌาย์เข้าหาอาบัติเดิม”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่มานัต๑ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อุปัชฌาย์”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่อัพภาน๒ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอุปัชฌาย์”
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม๓ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม๔แก่อุปัชฌาย์ สัทธิวิหาริกพึงทำการ
ขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌาย์หรือ
พึงเปลี่ยนไปเป็นโทษเบา” หรือว่าอุปัชฌาย์ได้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว สัทธิวิหาริกพึง
ทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌาย์พึงกลับประพฤติชอบ
พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย”

เชิงอรรถ :
๑ มานัต เป็นชื่อวุฏฐานวิธี คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส แปลว่า นับ หมายถึงนับ
ราตรี ๖ ราตรี ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าปกปิดไว้ ต้องอยู่ปริวาสเท่าวันที่ปกปิดก่อน จึงจะขอ
มานัตได้ แต่ถ้าไม่ได้ปกปิดไว้ สามารถขอมานัตได้ แล้วประพฤติมานัต ๖ ราตรี (กงฺขา.อ. ๑๗๘)
๒ อัพภาน เป็นชื่อวุฏฐานวิธีที่เป็นขั้นตอนสุดท้าย ภิกษุผู้ประพฤติมานัตครบ ๖ ราตรีแล้ว ขออัพภาน
จากสงฆ์ ๒๐ รูป เมื่อสงฆ์สวดอัพภานแล้ว ถือว่าภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสนั้นบริสุทธิ์ สมควรอยู่
ร่วมกับภิกษุสงฆ์ต่อไป (กงฺขา.อ. ๑๗๘-๑๗๙)
๓ ทำกรรม หมายถึงลงโทษ
๔ ตัชชนียกรรม คือ การขู่, การปราม (วิ.ม. ๕/๔๐๗-๔๐๘/๒๐๔-๒๐๕)
นิยสกรรม คือ การถอดยศ, การปลดออกจากตำแหน่ง (วิ.ม. ๕/๔๑๒/๒๐๗,๔๒๓/๒๑๒)
ปัพพาชนียกรรม คือ การไล่ออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด (วิ.ม. ๕/๔๑๓/๒๐๘)
ปฏิสารณียกรรม คือ การให้ระลึกความผิด (วิ.ม. ๕/๔๑๔/๒๐๘)
อุกเขปนียกรรม คือ การกันออกจากหมู่, การยกออกจากหมู่ (วิ.ม. ๕/๔๑๕/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๘๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๕. อุปัชฌายวัตตกถา
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอุปัชฌาย์”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องตัดเย็บ สัทธิวิหาริกพึงตัดเย็บ หรือพึงทำการ
ขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของอุปัชฌาย์”
ถ้าน้ำย้อมของอุปัชฌาย์จะต้องต้ม สัทธิวิหาริกพึงต้ม หรือพึงทำการ
ขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอุปัชฌาย์”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องย้อม สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึงทำการขวน
ขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอุปัชฌาย์” เมื่อจะ
ย้อมจีวร พึงย้อม พลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย
ไม่พึงหลีกไป
สัทธิวิหาริกไม่บอกอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตร
ของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุบางรูป ไม่
พึงให้บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงปลงผมให้
ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำการขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึง
สั่งภิกษุบางรูปให้ทำการขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป ไม่พึง
พาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปถวายภิกษุบางรูป ไม่พึง
สั่งภิกษุบางรูปให้นำบิณฑบาตไปถวาย
สัทธิวิหาริกไม่บอกลาอุปัชฌาย์ ไม่พึงเข้าหมู่บ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงออกไป
ต่างถิ่น๑ ถ้าอุปัชฌาย์เป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าอุปัชฌาย์นั้น
จะหาย
อุปัชฌายวัตตกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงไปอยู่ที่อื่น (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๓/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๘๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๑๖. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
๑๖. สัทธิวิหาริกวัตตกถา๑
ว่าด้วยสัทธิวิหาริกวัตร
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก วิธีประพฤติ
ชอบในสัทธิวิหาริกนั้นมีดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงสงเคราะห์อนุเคราะห์สัทธิวิหาริก ด้วยอุทเทส
ปริปุจฉา โอวาท และอนุศาสน์
ถ้าอุปัชฌาย์มีบาตร สัทธิวิหาริกไม่มีบาตร อุปัชฌาย์พึงถวายบาตรแก่
สัทธิวิหาริก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงเกิดขึ้น
แก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าอุปัชฌาย์มีจีวร สัทธิวิหาริกไม่มีจีวร อุปัชฌาย์พึงถวายจีวรแก่สัทธิวิหาริก
หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงเกิดขึ้นแก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าอุปัชฌาย์มีบริขาร สัทธิวิหาริกไม่มีบริขาร อุปัชฌาย์พึงถวายบริขารแก่
สัทธิวิหาริก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงเกิดขึ้น
แก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าสัทธิวิหาริกเป็นไข้ อุปัชฌาย์พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้าง
หน้า ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่อสัทธิวิหาริกฉันข้าวต้ม
เสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเก็บงำไว้
เมื่อสัทธิวิหาริกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าสัทธิวิหาริก ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวาย
ประคดเอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ ปูอาสนะ
ไว้โดยกำหนดว่า “เวลาเพียงเท่านี้ สัทธิวิหาริกจักกลับมา” พึงเตรียมน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย
รับผ้านุ่งมา

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. ๗/๓๗๗-๓๗๘/๑๘๐-๑๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๘๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น