Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๐-๔ หน้า ๑๒๕ - ๑๖๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค



พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย มหาวรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] ทรงเล่าเรื่องมาร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน
ตราบเท่าที่อุบาสกทั้งหลายผู้สาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน
ตราบเท่าที่อุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ
ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติ
ชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิด
ขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ อุบาสิกาทั้งหลาย
ผู้สาวิกาของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็น
พหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรม เรียน
กับอาจารย์ของตนแล้วก็บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรด
ปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน
ตราบเท่าที่พรหมจรรย์ของเรายังไม่บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก
มั่นคงดี กระทั่งเทพและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคบริบูรณ์ กว้างขวาง
แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทพและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้ ขอพระสุคตโปรด
ปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
[๑๗๗] อานนท์ เมื่อมารบอกอย่างนี้ เราได้ตอบมารผู้มีบาปดังนี้ว่า ‘มาร
ผู้มีบาป ท่านจงอย่ากังวลเลย อีกไม่นาน การปรินิพพานของตถาคตจะมี จากนี้
ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน’
อานนท์ วันนี้ เมื่อกี้นี้เอง เรามีสติสัมปชัญญะดี ปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๒๕ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
พระอานนท์กราบทูลอาราธนา

พระอานนท์กราบทูลอาราธนา
[๑๗๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพ
อยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คน
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย อานนท์ อย่ามาวิงวอนตถาคตเลย บัดนี้
ไม่ใช่เวลาที่จะวิงวอนตถาคต’
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต
โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า “อานนท์ เธอเชื่อความตรัสรู้ของตถาคตหรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “เชื่อ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ก็เมื่อเธอเชื่อ ไฉน ยังแค่นไค้ตถาคตถึง ๓ ครั้งเล่า”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า อานนท์ อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้น
เมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “เธอเชื่อหรือ อานนท์”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “เชื่อ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๒๖ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เหตุนั้นแล อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็นความบกพร่อง
ของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ๑ เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาสที่
ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป
เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะ
ห้ามเธอเพียง ๒ ครั้ง พอครั้งที่ ๓ ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนี้แหละ เรื่องนี้จึงเป็น
ความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ
ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการ
[๑๗๙] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล
เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงราชคฤห์น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิชฌกูฏน่ารื่นรมย์
อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป
หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง
พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป๒’ เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาส
ที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป
เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะ
ห้ามเธอเพียง ๒ ครั้ง พอครั้งที่ ๓ ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ อานนท์
เรื่องนี้จึงเป็นความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ

เชิงอรรถ :
๑ ที่ตรัสว่า เรื่องนี้จึงเป็นความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ มิใช่ตรัสเพื่อจะทรงตำหนิ
แต่ตรัสเพื่อเป็นเหตุบรรเทาความเศร้าโศกของพระอานนท์ (ที.ม.อ. ๑๗๙/๑๖๗)
๒ ดูเทียบ อภิ.ก. ๓๗/๖๒๓/๓๗๘-๓๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการ
[๑๘๐] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคตมนิโครธ เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ
เราอยู่ที่เหวทิ้งโจร เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่ถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ
เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่กาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ
เราอยู่ที่เงื้อมสัปปโสณฑิกะ ในสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่ตโปทาราม
เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่เวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ
เราอยู่ที่ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล เราได้เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงราชคฤห์น่ารื่นรมย์
ภูเขาคิชฌกูฏน่ารื่นรมย์ โคตมนิโครธน่ารื่นรมย์ เหวทิ้งโจรน่ารื่นรมย์ ถ้ำสัตตบรรณ
ข้างภูเขาเวภาระน่ารื่นรมย์ กาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิน่ารื่นรมย์ เงื้อมสัปปโสณฑิกะ
ในสีตวันน่ารื่มรมย์ ตโปทารามน่ารื่นรมย์ เวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแตน่ารื่นรมย์
ชีวกัมพวันน่ารื่นรมย์ มัททกุจฉิมฤคทายวันน่ารื่นรมย์ อานนท์ อิทธิบาท ๔ ผู้ใด
ผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว
สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป
อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป
หรือเกินกว่า ๑ กัป’ เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้
เธอก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพ
อยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ต่อไปตลอดกัป เพื่อประโยชน์
แก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะห้ามเธอเพียง
๒ ครั้ง พอครั้งที่ ๓ ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็น
ความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ
[๑๘๑] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่อุเทนเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล
เราได้เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้
เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้
๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการ
ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อ
มุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง
ทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่
ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต
ตถาคตจะห้ามเธอเพียง ๒ ครั้ง พอครั้งที่ ๓ ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ
อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็นความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ
[๑๘๒] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคตมกเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ เราอยู่
ที่สัตตัมพเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ เราอยู่ที่พหุปุตตเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ
เราอยู่ที่สารันททเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ เราอยู่ที่ปาวาลเจดีย์ วันนี้เมื่อกี้เอง
ณ ปาวาลเจดีย์ เราได้เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทน-
เจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์
น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์ อานนท์ อิทธิบาท ๔
ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว
สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป
อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป
หรือเกินกว่า ๑ กัป’ เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็
ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่
ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะห้ามเธอเพียง ๒ ครั้ง
พอครั้งที่ ๓ ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็นความ
บกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๒๙ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท ๔ ประการ
[๑๘๓] อานนท์ เราเคยบอกเธอไว้ก่อนมิใช่หรือว่า ความพลัดพราก ความ
ทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น
จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
มีความแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้ที่จะปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นจงอย่าแตก
สลายไปเลย ตถาคตสละ คลาย ปล่อย ละ วางสิ่งนั้นได้แล้ว ปลงอายุสังขารแล้ว
วาจาที่ตถาคตกล่าวไว้ว่า ‘อีกไม่นาน การปรินิพพานของตถาคตจะมี จากนี้ไปอีก
๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพานเป็นวาจาที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อีกแล้ว‘จึงเป็นไปไม่ได้
ที่ตถาคตจะกลับคืนคำเพราะต้องการมีอายุอยู่ต่อไป มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยัง
กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยท่านพระอานนท์เสด็จเข้าไปยังกูฏาคาร-
ศาลา ป่ามหาวันแล้ว จึงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “ไปเถิด อานนท์
เธอจงไปนิมนต์ให้ภิกษุเท่าที่อาศัยอยู่ในกรุงเวสาลีมาประชุมกัน ณ หอฉัน”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จึงนิมนต์ภิกษุทุกรูปเท่าที่อาศัยอยู่
ในกรุงเวสาลี มาประชุมกัน ณ หอฉันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงกำหนดเวลาที่สมควร
ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”๑
[๑๘๔] จากนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไป ณ หอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย(เพราะฉะนั้น)
ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง เธอทั้งหลายพึงเรียน เสพ เจริญ ทำให้มาก
ด้วยดีโดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไป
เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๔๐/๑๔๘-๑๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] สังเวชนียธรรม
ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง เธอทั้งหลายพึงเรียน เสพ เจริญ
ทำให้มากด้วยดีโดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้น
พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คืออะไร
คือ

๑. สติปัฏฐาน ๔___๒. สัมมัปปธาน ๔
๓. อิทธิบาท ๔___๔. อินทรีย์ ๕
๕. พละ ๕___๖. โพชฌงค์ ๗
๗. อริยมรรคมีองค์ ๘”

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือ ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง เธอทั้งหลาย
พึงเรียน เสพ เจริญ ทำให้มากด้วยดีโดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ได้นาน ดำรง
อยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
สังเวชนียธรรม
(ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช)
[๑๘๕] จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา เธอทั้งหลายจงทำหน้าที่ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด อีกไม่นาน
การปรินิพพานของตถาคตจะมี จากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“มนุษย์ทุกคนไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่
โง่ ฉลาด มั่งมี และยากจน ล้วนต้องตาย๑
ชีวิตของสัตว์เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๘๗/๓๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
การทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง
เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง สุกบ้าง ดิบบ้าง
ซึ่งล้วนมีความแตกสลายเป็นที่สุด”
พระสุคตศาสดาได้ตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“วัยของเราแก่หง่อม
ชีวิตของเราเหลือน้อย เราจะจากพวกเธอไป
เราทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว
พวกเธอจงอย่าประมาท มีสติ มีศีลบริสุทธิ์
มีความดำริมั่นคงดี รักษาจิตของตนไว้
ผู้ที่ไม่ประมาทอยู่ในธรรมวินัยนี้
ละการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”๑
ภาณวารที่ ๓ จบ

การทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง
[๑๘๖] ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เมื่อเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลัง
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง๒ รับสั่งเรียก
ท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ การเห็นกรุงเวสาลีครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายของ
ตถาคต มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังภัณฑุคามกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. ๒๕/๕๘๔/๔๕
๒ อย่างช้างมอง หมายถึงทรงหันพระองค์กลับหลังอย่างที่พญาช้างมอง คือ พญาช้างไม่อาจจะเอี้ยวคอ
มองข้างหลัง ต้องหันกลับทั้งตัวฉันใด พระผู้มีพระภาคก็ฉันนั้น เพราะพระอัฏฐิก้านพระศอเป็นชิ้นเดียวกัน
ไม่มีข้อต่อจึงไม่อาจจะเอี้ยวพระศอมองข้างหลังได้ แต่จะไม่เหมือนกับช้างมอง เพราะมีพุทธานุภาพ จึงทำ
ให้แผ่นดินนี้หมุนไปเหมือนกับแป้น (กุลาลจกฺกํ) โดยทำพระผู้มีพระภาคให้มีหน้าตรงต่อกรุงเวสาลี (ที.ม.อ.
๑๘๖/๑๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
การทอดพระเนตรกรุงเวสาลีอย่างช้างมอง
พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงภัณฑุคาม ประทับอยู่ที่
ภัณฑุคามนั้น รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและเธอทั้งหลาย
จึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราและเธอ
ทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริย-
ปัญญา เราและเธอทั้งหลายได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราและเธอทั้งหลายถอน
ภวตัณหาได้แล้ว ภวเนตติสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก๑”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ อันยอดเยี่ยม
ธรรมเหล่านี้ พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดา ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์
มีพระจักษุ ปรินิพพานแล้ว๒”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๑๕๕ หน้า ๙๙ ในเล่มนี้ และดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑/๑-๒
๒ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้สิ้นเชิง (ที.ม.อ. ๑๘๖/๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] มหาปเทส ๔ ประการ
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ที่ภัณฑุคาม ทรงแสดงธรรมีกถา
เป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะ
อย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจาก
อาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ”
มหาปเทส ๔ ประการ
(ข้ออ้างที่สำคัญ)
[๑๘๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในภัณฑุคาม
แล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยัง
หัตถีคามกัน” ... “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังอัมพคามกัน” ... “มาเถิด
อานนท์ เราจะเข้าไปยังชัมพุคามกัน” ... “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังโภค-
นครกัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนคร ประทับอยู่ที่อานันทเจดีย์ในโภคนคร รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมหาปเทส ๔ ประการนี้
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
[๑๘๘] ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับ
รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็น
วินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึง
คัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้น
ให้ดี๑แล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะ

เชิงอรรถ :
๑ พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี หมายถึงการเรียนที่สามารถรู้ว่า ตรงนี้แสดงบาลีไว้ ตรงนี้แสดง
อรรถาธิบายไว้ ตรงนี้แสดงอนุสนธิไว้ ตรงนี้แสดงเบื้องต้นและเบื้องปลายไว้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๐/๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] มหาปเทส ๔ ประการ
เหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลง
สันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
แน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด‘เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้า
ในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลาย
พึงจำมหาปเทสประการที่ ๑ นี้ไว้
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์
อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมา
เฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร
เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็
ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่พระดำรัส
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และสงฆ์นั้นรับมาผิด’
เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลง
ในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็น
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และสงฆ์นั้น
รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๒ นี้ไว้
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้
เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต เรียนคัมภีร์๑ ทรงธรรม๒
ทรงวินัย๓ ทรงมาติกา๔ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระ

เชิงอรรถ :
๑ คัมภีร์ หมายถึงนิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย
(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘)
๒ ธรรม หมายถึงพระสุตตันตปิฎกและอภิธัมมปิฎก (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๒๐/๑๑๓)
๓ วินัย หมายถึงพระวินัยปิฎก (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘)
๔ มาติกา หมายถึงมาติกา ๒ คือ ภิกขุวิภังค์ และภิกขุนีวิภังค์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] มหาปเทส ๔ ประการ
เหล่านั้นว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอ
ทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร
เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้
เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่พระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระเหล่านั้นรับมา
ผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า
“นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และ
พระเถระเหล่านั้นรับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทส
ประการที่ ๓ นี้ไว้
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้
เป็นเถระอยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า
‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่
พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและ
พยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าใน
วินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้นรับมาผิด’ เธอ
ทั้งหลายพึงทิ้งเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตร
ก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นพระดำรัส
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้นรับ
มาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๔ นี้ไว้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทส ๔ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร(บุตรช่างทอง)
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ที่อานันทเจดีย์ในโภคนคร ทรงแสดง
ธรรมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า “ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิ
มีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดย
ชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ”
เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร๑ (บุตรช่างทอง)
[๑๘๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ตามความพอพระทัยใน
โภคนครแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไป
ยังกรุงปาวากัน”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปถึงกรุงปาวา ประทับอยู่ที่อัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตร
เขตกรุงปาวา
เมื่อนายจุนทกัมมารบุตรได้ทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงปาวา
ประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของเรา’ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมารบุตรเห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น นายจุนทกัมมารบุตรผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจง
ให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลม
ใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์
ในวันพรุ่งนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.อุ. ๒๕/๗๕/๒๑๔-๒๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร(บุตรช่างทอง)
เมื่อนายจุนทกัมมารบุตร ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุก
จากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป นายจุนทกัมมารบุตรได้เตรียมของขบฉันอันประณีตและ
สูกรมัททวะ๑ จำนวนเพียงพอไว้ในนิเวศน์ของตน ให้คนไปกราบทูลเวลาแด่พระผู้มีพระภาค
ว่า “ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
ตอนเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกนายจุนทกัมมารบุตรมาตรัสว่า “จุนทะ ท่านจงประเคน
สูกรมัททวะที่เตรียมไว้แก่เรา ประเคนของขบฉันอย่างอื่นที่เตรียมไว้แก่ภิกษุสงฆ์
เขาทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ประเคนสูกรมัททวะที่เตรียมไว้แด่พระผู้มีพระภาค
ประเคนของขบฉันอย่างอื่นที่เตรียมไว้แด่ภิกษุสงฆ์
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกนายจุนทกัมมารบุตรมาตรัสว่า “จุนทะ
สูกรมัททวะที่เหลือเธอจงฝังลงในหลุม เรายังไม่เห็นใครในโลก พร้อมเทวโลก มารโลก
พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาหรือมนุษย์ ที่บริโภคสูกร-
มัททวะนั้นแล้วจะย่อยได้ด้วยดี นอกจากตถาคต”
นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ฝังสูกรมัททวะที่เหลือลงในหลุม
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมารบุตรเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
แล้วทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จจากไป

เชิงอรรถ :
๑ สูกรมัททวะ ความหมายตามมติของเกจิอาจารย์ ๓ พวก คือ
๑. หมายถึงปวัตตมังสะ เนื้อสุกรหนุ่ม
๒. หมายถึงข้าวสุกอ่อน ที่ปรุงด้วยนมสด นมส้ม เนยใส เปรียง เนยแข็ง และถั่ว
๓. หมายถึงวิธีปรุงอาหารชนิดหนึ่ง
(ที.ม.อ. ๑๘๙/๑๗๒, ขุ.อุ.อ. ๗๕/๔๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] รับสั่งขอน้ำดื่ม
[๑๙๐] หลังจากพระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารของนายจุนทกัมมารบุตร
ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรง ลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต๑ ทรงมีทุกข-
เวทนาอย่างแสนสาหัส จวนเจียนจะปรินิพพาน พระองค์ทรงมีสติสัมปชัญญะ
ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาเหล่านั้นไว้ไม่พรั่นพรึง รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า
“มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังกรุงกุสินารากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว
ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีพระปรีชา
เสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตรแล้ว
ทรงพระประชวรอย่างแสนสาหัส
จวนเจียนจะปรินิพพาน
เมื่อพระศาสดาเสวยสูกรมัททวะแล้ว
ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรง
ลงพระบังคนหนักตรัสว่า
‘เราจะไปยังกรุงกุสินารากัน’
รับสั่งขอน้ำดื่ม
[๑๙๑] ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงแวะลงข้างทางเสด็จเข้าไปยังควงไม้ต้นหนึ่ง
รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น
เราเหน็ดเหนื่อยจะนั่งพัก” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วปูสังฆาฏิซ้อนกัน
๔ ชั้น พระผู้มีพระภาคประทับบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูลาดถวายไว้ รับสั่งเรียก
ท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยไปนำน้ำดื่มมา เรากระหายจะดื่มน้ำ”
เมื่อพระผู้มีพระภาครับสั่งอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม เพิ่งข้ามไป เมื่อกี้นี้
น้ำนั้นมีน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม่น้ำ

เชิงอรรถ :
๑ แปลจากคำว่า โลหิตปกฺขนฺทิกา ในอรรถกถาอธิบายว่า เป็นอาการของโรคที่ถ่ายเป็นเลือดตลอดเวลา
(ที.ม.อ. ๑๙๐/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] รับสั่งขอน้ำดื่ม
กกุธาอยู่ไม่ไกลแค่นี้เอง มีน้ำใส จืดสนิท เย็นสะอาด มีท่าเทียบน่ารื่นรมย์ ขอพระ
ผู้มีพระภาคเสด็จไปทรงดื่มและสรงสนานพระวรกายในแม่น้ำกกุธานี้เถิด”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เธอช่วยไปนำน้ำดื่มมา เรากระหายจะดื่มน้ำ” แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม
เพิ่งข้ามไป เมื่อกี้นี้ น้ำนั้นมีน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไป ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ แม่น้ำกกุธาอยู่ไม่ไกลแค่นี้เอง มีน้ำใส จืดสนิท เย็นสะอาด
มีท่าเทียบน่ารื่นรมย์ ขอพระผู้มีพระภาคเสด็จไปทรงดื่มและสรงสนานพระวรกาย
ในแม่น้ำกกุธานี้เถิด”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เธอช่วยไปนำน้ำดื่มมา เรากระหายจะดื่มน้ำ” ท่านพระอานนท์จึงทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว ถือบาตรเดินเข้าไปยังลำธารนั้น ขณะนั้น ลำธารนั้น มีน้ำน้อย
ถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไป แต่เมื่อท่านพระอานนท์เข้าไปใกล้ก็กลับใสสะอาด
ไม่ขุ่น ไหลไป ท่านพระอานนท์จึงคิดว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคต
ทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ลำธารนี้มีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำขุ่นเป็นตมไหลไป
เมื่อเราเข้ามาใกล้ ก็กลับใสสะอาด ไม่ขุ่น ไหลไป จึงใช้บาตรตักน้ำแล้วเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
เดี๋ยวนี้เอง ลำธารนั้นมีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไป เมื่อข้าพระองค์
เดินเข้าไปใกล้ ก็กลับใสสะอาด ไม่ขุ่น ไหลไป ขอพระผู้มีพระภาคทรงดื่มน้ำเถิด
ขอพระสุคตทรงดื่มน้ำเถิด” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดื่มน้ำแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร

เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร
[๑๙๒] ก็สมัยนั้น โอรสเจ้ามัลละพระนามว่าปุกกุสะ๑ เป็นสาวกของ
อาฬารดาบส กาลามโคตร เดินทางไกลจากกรุงกุสินาราไปกรุงปาวา เห็นพระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ที่ควงไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บรรพชิตทั้งหลายย่อมอยู่ด้วย
ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันสงบอย่างยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องมีอยู่ว่า อาฬารดาบส
กาลามโคตร เดินทางไกลแวะลงข้างทางที่ควงไม้ต้นหนึ่งในที่ไม่ไกล เวลานั้นเกวียน
ตั้ง ๕๐๐ เล่มได้ผ่านท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร ติด ๆ กันไป
ขณะนั้น บุรุษคนหนึ่งกำลังเดินตามหลังหมู่เกวียนมาเข้าไปหาท่านอาฬารดาบส
กาลามโคตรถึงที่อยู่แล้ว ได้ถามท่านอาฬารดาบสดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ท่านเห็นเกวียน ๕๐๐ เล่ม ผ่านไปบ้างหรือไม่’
ท่านอาฬารดาบสตอบว่า ‘เราไม่เห็นเลย ผู้มีอายุ’
‘ท่านได้ยินเสียงหรือไม่’
‘เราไม่ได้ยิน ผู้มีอายุ’
‘ท่านคงหลับกระมัง’
‘เราไม่ได้หลับ ผู้มีอายุ‘
‘ท่านยังมีสัญญาอยู่หรือ’
‘เรายังมีอยู่ ผู้มีอายุ’
‘ท่านยังมีสัญญาตื่นอยู่ (แต่) ไม่ได้เห็นเกวียนตั้ง ๕๐๐ เล่ม ที่ผ่านติด ๆ กันไป
ทั้งไม่ได้ยินเสียง ก็ผ้าทาบของท่านเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลีบ้างไหม’
‘เป็นอย่างนั้น ผู้มีอายุ’

เชิงอรรถ :
๑ ขณะนั้นเจ้าปุกกุสะประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าเพชรพลอย ซึ่งถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของพวกเจ้ามัลละ
ที่มีการผลัดเปลี่ยนกันครองราชย์ตามวาระ ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงวาระจะประกอบอาชีพทางการค้า (ที.ม.อ.
๑๙๒/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร
บุรุษนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บรรพชิต
ทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันสงบอย่างยิ่ง ดังที่ท่านอาฬารดาบส ผู้ยังมี
สัญญาตื่นอยู่ (แต่) ไม่เห็นเกวียนตั้ง ๕๐๐ เล่ม ที่ผ่านติด ๆ กันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียง’
เขาประกาศความเลื่อมใสอย่างยิ่งในท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วจากไป”
[๑๙๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามปุกกุสะว่า “ปุกกุสะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่า
อย่างไร อย่างไหนทำได้ยากกว่ากัน เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน (ระหว่าง) ผู้ยังมีสัญญา
ตื่นอยู่ ไม่เห็นเกวียนตั้ง ๕๐๐ เล่มที่ผ่านติด ๆ กันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียง กับผู้ที่
ยังมีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ก็ไม่ได้เห็น
และไม่ได้ยินเสียง”
ปุกกุสะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียน ๕๐๐ เล่ม ๖๐๐ เล่ม
๗๐๐ เล่ม ๘๐๐ เล่ม ๙๐๐ เล่ม ๑,๐๐๐ เล่ม ฯลฯ เกวียน ๑๐๐,๐๐๐ เล่ม
จะเปรียบกันได้อย่างไร แท้จริง ผู้ที่ยังมีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก
ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ก็ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียง อย่างนี้แหละทำได้ยากกว่าและ
เกิดขึ้นได้ยากกว่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุกกุสะ คราวหนึ่ง เราพักอยู่ที่โรงกระเดื่อง เขตกรุง
อาตุมา เวลานั้น ฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ชาวนา ๒ คนพี่น้อง
และโคงาน ๔ ตัว ถูกฟ้าผ่าใกล้โรงกระเดื่อง ขณะนั้น หมู่มหาชนในกรุงอาตุมา
ออกไปมุงดูชาวนา ๒ คนพี่น้องและโคงาน ๔ ตัวที่ถูกฟ้าผ่า เราออกจากโรง
กระเดื่อง จงกรมอยู่ที่กลางแจ้งใกล้ประตูโรงกระเดื่อง บุรุษคนหนึ่งออกมาจากหมู่
มหาชนเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ได้ไหว้เรา ยืน ณ ที่สมควร เราได้ถามบุรุษนั้นดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุ หมู่มหาชนนั่นชุมนุมกันทำไม’
บุรุษนั้นตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เดี๋ยวนี้เอง ขณะที่ฝนกำลังตก
ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ชาวนา ๒ คนพี่น้องและโคงาน ๔ ตัวถูกฟ้าผ่า
หมู่มหาชนชุมนุมกันเพราะเหตุนี้ ท่านไปอยู่เสียที่ไหนเล่า’
เราตอบว่า ‘เราก็อยู่ที่นี้แหละ’
บุรุษนั้นถามว่า ‘ท่านเห็นหรือไม่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๔๒ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เรื่องปุกกุสะ มัลลบุตร
เราตอบว่า ‘เราไม่เห็นเลย ผู้มีอายุ’
บุรุษนั้นถามว่า ‘ท่านได้ยินเสียงหรือไม่’
เราตอบว่า ‘เราไม่ได้ยิน ผู้มีอายุ’
บุรุษนั้นถามว่า ‘ท่านคงหลับกระมัง’
เราตอบว่า ‘เราไม่ได้หลับ ผู้มีอายุ’
บุรุษนั้นถามว่า ‘ท่านยังมีสัญญาอยู่หรือ’
เราตอบว่า ‘เรายังมีอยู่ ผู้มีอายุ’
บุรุษนั้นถามว่า ‘ท่านยังมีสัญญาตื่นอยู่ ขณะฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก
ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียงเลยหรือ’
เราตอบว่า ‘เป็นอย่างนั้น ผู้มีอายุ’
บุรุษนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
บรรพชิตทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันสงบอย่างยิ่ง ดังที่ท่านสมณะ
ผู้ยังมีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกำลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ก็ไม่เห็นและ
ไม่ได้ยินเสียงเลย ‘ เขาประกาศความเลื่อมใสอย่างยิ่งในเรา กระทำประทักษิณแล้ว
จากไป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปุกกุสะ มัลลบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโปรยความเลื่อมใสที่มีในอาฬาร-
ดาบส กาลามโคตร ไปตามกระแสลมที่พัดแรง หรือลอยในแม่น้ำกระแสเชี่ยว พระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบ
เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมกับ
พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] ปุกกุสะ มัลลบุตร
[๑๙๔] ลำดับนั้น ปุกกุสะ มัลลบุตร รับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า
“พนาย เธอช่วยนำผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่หนึ่ง (๒ ผืน) ของเรามา” บุรุษนั้น
รับคำแล้ว นำคู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นั้นมาให้
จากนั้น ปุกกุสะ มัลลบุตร ได้น้อมคู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นั้นเข้าไป
ถวายพระผู้มีพระภาคพร้อมกับกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดรับคู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุกกุสะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้เราครองผืนหนึ่ง
อีกผืนหนึ่งให้อานนท์ครอง”
ปุกกุสะ มัลลบุตร ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ถวายให้พระผู้มีพระภาคทรง
ครองผืนหนึ่ง ถวายให้ท่านพระอานนท์ครองอีกผืนหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ปุกกุสะ มัลลบุตร เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น ปุกกุสะ มัลลบุตร ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป
[๑๙๕] เมื่อปุกกุสะ มัลลบุตรจากไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้น้อมคู่ผ้า
เนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นั้นเข้าไปคลุมพระวรกายของพระผู้มีพระภาค พอท่านพระ
อานนท์น้อมเข้าไปคลุมพระวรกายของพระผู้มีพระภาค ผ้านั้นปรากฏสีเปล่งปลั่ง
เหมือนถ่านไฟที่ปราศจากเปลว
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระฉวีวรรณของพระตถาคตบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ยิ่งนัก๑ คู่ผ้าเนื้อละเอียดสีทองน่าใช้คู่นี้ พอข้าพระองค์น้อมเข้าไปคลุมพระวรกาย
ของพระผู้มีพระภาค ปรากฏสีเปล่งปลั่งเหมือนถ่านไฟที่ปราศจากเปลว”

เชิงอรรถ :
๑ พระฉวีวรรณของพระตถาคตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งนัก หมายถึงพระฉวีวรรณผุดผ่องใน ๒ คราวนั้นเกิดจาก
เหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) อาหารพิเศษ (๒) โสมนัสอย่างแรงกล้า (ที.ม.อ. ๑๙๕/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] ปุกกุสะ มัลลบุตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่งอยู่ใน ๒ คราว
กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่งอยู่ใน ๒ คราว อะไรบ้าง คือ
๑. ในราตรีที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
๒. ในราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อานนท์ กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ผิวพรรณผุดผ่องอย่างยิ่งอยู่ใน ๒ คราวนี้แล
ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ตถาคตจะปรินิพพานในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในสาลวัน
ของมัลละ อันเป็นทางเข้า (ด้านทิศใต้) กรุงกุสินารา มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยัง
แม่น้ำกกุธากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ปุกกุสะน้อมถวายผ้าสีทองเนื้อละเอียดคู่หนึ่ง
พอพระศาสดาทรงครองผ้าคู่นั้น
มีพระฉวีวรรณดั่งทอง งดงามนัก
[๑๙๖] ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จเข้าไปยัง
แม่น้ำกกุธา เสด็จลงสรงในแม่น้ำกกุธา ทรงดื่มแล้วเสด็จขึ้นไปยังอัมพวัน รับสั่งเรียก
ท่านพระจุนทกะมาตรัสว่า “จุนทกะ เธอช่วยปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น เราเหน็ดเหนื่อย
จะนอนพัก”
ท่านพระจุนทกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น พระผู้มี
พระภาคทรงสำเร็จสีหไสยา๑ โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อม
พระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงกำหนดพระทัยพร้อมจะเสด็จลุกขึ้น ส่วนท่าน
พระจุนทกะนั่งเฝ้าอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคในที่นั้น

เชิงอรรถ :
๑ สีหไสยา หมายถึงนอนอย่างราชสีห์ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดใจถึง
การลุกขึ้น (ที.ม.ฏีกา ๑๙๘/๒๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] ปุกกุสะ มัลลบุตร
พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา
ผู้ทรงเข้าถึงสภาวะตามความเป็นจริง
หาผู้ใดในโลกเสมอเหมือนมิได้
เสด็จถึงแม่น้ำกกุธา ที่มีน้ำใส จืดสนิท สะอาด
ลงสรงแล้วจึงทรงคลายเหน็ดเหนื่อย
พระบรมศาสดาผู้ทรงพร่ำสอนแจกแจงธรรม
ในพระศาสนานี้ เป็นผู้แสวงหาคุณใหญ่
ครั้นสรงสนานและทรงดื่มน้ำแล้ว
ก็เสด็จนำหน้าหมู่ภิกษุไปยังอัมพวัน
รับสั่งภิกษุชื่อจุนทกะมาตรัสว่า
'เธอช่วยปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้นให้เป็นที่นอนพักแก่เรา'
ท่านพระจุนทกะรูปนั้น ผู้ได้รับการฝึกมาดีแล้ว
พอได้รับคำสั่งก็รีบปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น
พระศาสดาบรรทมแล้ว ทรงหายเหน็ดเหนื่อย
ฝ่ายท่านพระจุนทกะ ก็นั่งเฝ้าเฉพาะพระพักตร์อยู่ในที่นั้น
[๑๙๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า
"อานนท์ อาจมีใครทำให้นายจุนทกัมมารบุตรร้อนใจว่า 'จุนทะ การที่พระตถาคตเสวย
บิณฑบาตของท่านเป็นมื้อสุดท้ายแล้วปรินิพพาน ท่านจะไม่ได้อานิสงส์ ความดีงาม
ก็จะได้โดยยาก'
อานนท์ เธอพึงช่วยบรรเทาความร้อนใจของนายจุนทกัมมารบุตรอย่างนี้ว่า
'ผู้มีอายุจุนทะ การที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นมื้อสุดท้ายแล้วปรินิพพาน
ท่านจะได้รับอานิสงส์ ความดีงามก็จะได้โดยง่าย เรื่องนี้เราได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาค และจำได้ว่า 'บิณฑบาต ๒ คราว มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน
มีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๔๖ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เสด็จไปยังควงไม้สาละคู่
บิณฑบาต ๒ คราว อะไรบ้าง คือ
๑. บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
๒. บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ
บิณฑบาต ๒ คราวนี้มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลมากกว่า มีอานิสงส์
มากกว่า ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่น ๆ’
กรรมที่จุนทกัมมารบุตรสั่งสมไว้เป็นไปเพื่ออายุ เป็นไปเพื่อวรรณะ เป็นไปเพื่อสุขะ
เป็นไปเพื่อยศ เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อความเป็นใหญ่’
อานนท์ เธอพึงช่วยบรรเทาความร้อนใจของจุนทกัมมารบุตรอย่างนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า
“ผู้ให้ย่อมเพิ่มพูนบุญ
ผู้สำรวมย่อมไม่ก่อเวร
ส่วนผู้ฉลาดย่อมละกรรมชั่วได้
ผู้นั้นดับได้แล้วเพราะสิ้นราคะ โทสะ และโมหะ”๑
ภาณวารที่ ๔ จบ

เสด็จไปยังควงไม้สาละทั้งคู่
[๑๙๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า
“มาเถิด อานนท์ เราจะข้ามไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดี ตรงสาลวันของพวก
เจ้ามัลละอันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารากัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดี
ตรงสาลวันของพวกเจ้ามัลละ อันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารา แล้วรับสั่งเรียกท่าน
พระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอช่วยตั้งเตียง๒ ระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้าน
ศีรษะไปทางทิศเหนือ เราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพัก” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนอง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.อุ. ๒๕/๗๕/๒๑๗-๒๑๙
๒ เตียง ในที่นี้หมายถึงเตียงสำหรับพักผ่อนของพวกเจ้ามัลละ ที่มีอยู่ในสาลวันนั่นเอง (ที.ม.อ. ๑๙๘/๑๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เสด็จไปยังควงไม้สาละคู่
พระดำรัสแล้วตั้งเตียงระหว่างต้นสาละทั้งคู่หันด้านพระเศียรไปทางทิศเหนือ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อน
พระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ
เวลานั้น ต้นสาละทั้งคู่ผลิดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละ
เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต
ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องพระสรีระของ
พระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต จุรณแห่งจันทน์อันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศ
โปรยปรายตกต้องพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต ดนตรีทิพย์ก็บรรเลง
ในอากาศเพื่อบูชาพระตถาคต ทั้งสังคีตทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาพระตถาคต
[๑๙๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
ต้นสาละทั้งคู่ผลิดอกนอกฤดูกาลบานสะพรั่งเต็มต้น ดอกสาละเหล่านั้นร่วงหล่น
โปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต ดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ก็
ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชาตถาคต จุรณแห่ง
จันทน์อันเป็นทิพย์ก็ร่วงหล่นจากอากาศโปรยปรายตกต้องสรีระของตถาคตเพื่อบูชา
ตถาคต ดนตรีทิพย์ก็บรรเลงในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ทั้งสังคีตทิพย์ก็บรรเลง
ในอากาศเพื่อบูชาตถาคต ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะเพียงเท่านี้ก็หาไม่ ผู้ใดไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก หรืออุบาสิกา เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตาม
ธรรม๑อยู่ ผู้นั้นชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยการบูชาอย่าง
ยอดเยี่ยม ฉะนั้น อานนท์ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจะเป็นผู้ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่’ อานนท์ เธอทั้งหลายพึง
สำเหนียกอย่างนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงการปฏิบัติหลักเบื้องต้นมีศีลเป็นต้น ให้สอดคล้องกับโลกุตตรธรรม
ปฏิบัติชอบ หมายถึงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นเอง ปฏิบัติตามธรรม หมายถึงการประพฤติหลัก
เบื้องต้นให้สมบูรณ์ (ที.ม.อ. ๑๙๙/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เรื่องพระอุปวาณเถระ

เรื่องพระอุปวาณเถระ
[๒๐๐] เวลานั้น ท่านพระอุปวาณะยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคอยู่ตรง
พระพักตร์ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งท่านพระอุปวาณะให้ถอยไปด้วยพระดำรัสว่า
“ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา”
ท่านพระอานนท์มีความดำริดังนี้ว่า “ท่านพระอุปวาณะนี้เคยเป็นอุปัฏฐากเฝ้า
ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมานาน ถึงกระนั้น ในปัจฉิมกาลพระผู้มีพระภาคตรัสสั่งให้
ท่านพระอุปวาณะถอยไปด้วยพระดำรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา’
อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ท่านพระอุปวาณะ
ถอยไปด้วยพระดำรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ท่านพระอุปวาณะนี้เคยเป็นอุปัฏฐากเฝ้าใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมานาน
ถึงกระนั้น ในปัจฉิมกาลพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ท่านพระอุปวาณะถอยไปด้วย
พระดำรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา’ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไร
เป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ท่านอุปวาณะถอยไปด้วยพระดำรัสว่า ‘ภิกษุ
เธอจงหลบไป อย่ายืนตรงหน้าเรา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เทพโดยมากใน ๑๐ โลกธาตุ
มาประชุมกันเพื่อจะเยี่ยมตถาคต สวนสาลวันของพวกเจ้ามัลละอันเป็นทางเข้า
กรุงกุสินารานี้ มีเนื้อที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบที่ที่พวกเทพผู้มีศักดิ์ใหญ่ ไม่ได้เบียดเสียด
กันอยู่แม้เท่าปลายขนเนื้อทรายจดลงได้ก็ไม่มี พวกเทพจะโทษว่า พวกเรามาไกล
ก็เพื่อจะเห็นพระตถาคต มีเพียงครั้งคราวที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ พระตถาคตจะปรินิพพาน ภิกษุ
ผู้มีศักดิ์ใหญ่รูปนี้ยืนบังอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์พระผู้มีพระภาค (ทำให้) พวกเราไม่ได้
เฝ้าพระตถาคตในปัจฉิมกาล”
[๒๐๑] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเทวดาเป็นอย่างไร คิดกันอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๔๙ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กำหนดแผ่นดิน
ขึ้นบนอากาศ๑ สยายผมประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคน
เท้าขาด เพ้อรำพันว่า ‘พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย
จักษุของโลกจักด่วนอันตรธานไปแล้ว’
มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กำหนดแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดิน๒ สยายผมประคองแขน
ร้องไห้คร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด เพ้อรำพันว่า ‘พระผู้มี
พระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกจักด่วนอันตรธาน
ไปแล้ว’
ส่วนพวกเทวดาที่ไม่มีราคะ มีสติสัมปชัญญะก็อดกลั้นได้ว่า สังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยง เหล่าสัตว์จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้”
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
[๒๐๒] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน
ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในทิศทั้งหลายมาเฝ้าพระตถาคต ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ย่อมได้พบ ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จ
ล่วงลับไป ข้าพระองค์ทั้งหลายจะไม่ได้พบ ไม่ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่
เจริญใจ (อีก)”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้เป็นสถานที่ (เป็น
ศูนย์รวม) ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู
สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง อะไรบ้าง คือ
๑. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคต
ประสูติในที่นี้’

เชิงอรรถ :
๑ กำหนดแผ่นดินขึ้นบนอากาศ หมายถึงเนรมิตแผ่นดินขึ้นบนอากาศ (ที.ม.อ. ๒๐๑/๑๘๗)
๒ กำหนดแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดิน หมายถึงเนรมิตแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดินปกติ เพราะแผ่นดินปกติหยาบไม่
สามารถจะรองรับเทวดาซึ่งมีร่างกายละเอียดได้ (ที.ม.อ. ๒๐๑/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เรื่องคำถามพระอานนท์
๒. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคต
ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้’
๓. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคต
ทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้’
๔. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคต
ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้’
อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู๑
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาจะมาดู ด้วยระลึกว่า ‘ตถาคต
ประสูติ ในที่นี้’ ... ว่า ‘ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมสัมโพธิญาณในที่นี้’ ... ว่า ‘ตถาคต
ประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้’ ... ว่า ‘ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้’
อานนท์ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจาริกไปยังเจดีย์จักมีจิตเลื่อมใสตายไป ชนเหล่านั้น
ทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เรื่องคำถามพระอานนท์
[๒๐๓] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อสตรีอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าดู”
“เมื่อจำต้องดู จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“อย่าพูดด้วย”
“เมื่อจำต้องพูด จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ต้องตั้งสติ๒ ไว้”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๑๘/๑๘๐
๒ ตั้งสติ ในที่นี้หมายถึงการควบคุมจิตให้คิดต่อสตรีในทางที่ดีงาม เช่น รู้สึกว่าเป็นแม่ในสตรีที่อยู่ในวัยแม่
รู้สึกว่าเป็นพี่สาวน้องสาวในสตรีที่อยู่ในวัยพี่สาวน้องสาว รู้สึกว่าเป็นลูกสาวในสตรีที่อยู่ในวัยสาว (ที.ม.อ.
๒๐๓/๑๘๙-๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เรื่องคำถามพระอานนท์
[๒๐๔] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อพระสรีระ
ของพระตถาคตอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พวกเธออย่ากังวลเพื่อบูชาสรีระของตถาคต
จงพยายาม ขวนขวายทำหน้าที่ของตนเองเถิด อย่าประมาทในหน้าที่ของตน
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิต พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต
คหบดีผู้เป็นบัณฑิต ผู้เลื่อมใสในตถาคต จะทำการบูชาสรีระของตถาคตเอง”
[๒๐๕] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเขาพึงปฏิบัติต่อพระสรีระของพระ
ตถาคตอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงปฏิบัติต่อสรีระของตถาคตเหมือนอย่างที่
พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดินั่นแหละ”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพของพระเจ้า
จักรพรรดิอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พวกเขาใช้ผ้าใหม่ห่อพระบรมศพของพระเจ้า
จักรพรรดิเสร็จแล้วจึงห่อด้วยสำลีบริสุทธิ์ แล้วจึงห่อด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่ง ทำโดย
วิธีนี้จนห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักพรรดิด้วยผ้าและสำลีได้ ๑,๐๐๐ ชั้น แล้วอัญเชิญ
พระบรมศพลงในรางเหล็กเต็มด้วยน้ำมัน ใช้รางเหล็กอีกอันหนึ่งครอบแล้ว ทำ
จิตกาธานด้วยไม้หอมล้วน แล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าจักรพรรดิ สร้าง
สถูปของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง อานนท์ พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพ
ของพระเจ้าจักรพรรดิ อย่างนี้แล
พวกเขาพึงปฏิบัติต่อสรีระของตถาคตเหมือนอย่างที่พวกเขาปฏิบัติต่อพระบรมศพ
พระเจ้าจักรพรรดิ พึงสร้างสถูปของตถาคตไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง ชนเหล่าใดจักยก
ระเบียบดอกไม้ ของหอม หรือจุรณ จักอภิวาท หรือจักทำจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น
การกระทำนั้นจักเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๕๒ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] ถูปารหบุคคล

ถูปารหบุคคล๑
[๒๐๖] อานนท์ ถูปารหบุคคล (ผู้ควรสร้างสถูปถวาย) ๔ จำพวกนี้
ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล
๒. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล
๓. พระสาวกของพระตถาคตเป็นถูปารหบุคคล
๔. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ อะไร
คือ ชนเป็นอันมากทำจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า ‘นี้เป็นสถูปของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น’ พวกเขาทำจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น
ถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ อะไร
คือ ชนเป็นอันมากทำจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า ‘นี้เป็นสถูปของพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขาทำจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ข้อนี้แล
พระสาวกของพระตถาคตเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์
อะไร
คือ ชนเป็นอันมากทำจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่านี้เป็นสถูปของพระสาวกของ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขาทำจิตให้เลื่อมใสใน
สถูปนั้น หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระสาวกของพระตถาคตนั้น
เป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อง.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๔๗/๓๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์
พระเจ้าจักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ อะไร
คือ ชนเป็นอันมากทำจิตให้เลื่อมใสด้วยคิดว่า นี้เป็นพระสถูปของพระธรรม-
ราชาผู้ทรงธรรมพระองค์นั้น พวกเขาทำจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้น หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พระเจ้าจักรพรรดิเป็นถูปารหบุคคล เพราะอาศัย
อำนาจประโยชน์ข้อนี้แล
อานนท์ ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกนี้แล”
เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์
[๒๐๗] เวลานั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปสู่พระวิหาร๑ ยืนเหนี่ยวไม้สลักเพชร
ร้องไห้อยู่ว่า “เรายังเป็นเสขบุคคล มีกิจที่จะต้องทำ แต่พระศาสดาผู้ทรงอนุเคราะห์
เราจะปรินิพพานเสียแล้ว”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “อานนท์ไปไหน”
พวกภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์เข้าไปยังพระ
วิหาร ยืนเหนี่ยวไม้สลักเพชรร้องไห้อยู่ว่า ‘เรายังเป็นเสขบุคคล มีกิจที่จะต้องทำ
แต่พระศาสดาผู้ทรงอนุเคราะห์เราจะปรินิพพานเสียแล้ว”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอจงไป
บอกอานนท์ตามคำเราว่า ‘ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน”
ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่
บอกว่า “ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน”
ท่านพระอานนท์รับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร

เชิงอรรถ :
๑ วิหาร ในที่นี้หมายถึงพลับพลา (มณฺฑลมาล) (ที.ม.อ. ๒๐๗/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระอานนท์ดังนี้ว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่า
เศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย เราบอกไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ‘ความพลัดพราก
ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจทุกอย่างจะต้องมี
ฉะนั้น จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้ที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลาย
ไปเลย’ เธออุปัฏฐากตถาคตมาช้านาน ด้วยเมตตากายกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุข
เสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีประมาณ ด้วยเมตตาวจีกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุข
เสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีประมาณ ด้วยเมตตามโนกรรม อันเกื้อกูล ให้เกิดสุข
เสมอต้นเสมอปลาย ไม่มีประมาณ อานนท์ เธอได้ทำบุญไว้แล้ว จงประกอบ
ความเพียรเข้าเถิด เธอจะเป็นผู้สิ้นอาสวะโดยเร็ว”
[๒๐๘] จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใน
อดีตกาล ที่จัดว่าเป็นผู้อุปัฏฐากผู้ยอดเยี่ยมก็เหมือนอานนท์ของเรานี้เอง
ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใน
อนาคตกาล ที่จัดว่าเป็นอุปัฏฐากผู้ยอดเยี่ยมก็เหมือนอานนท์ของเรานี้เอง
อานนท์เป็นบัณฑิต อานนท์มีปัญญาหลักแหลม ย่อมรู้ว่า ‘นี้เป็นเวลา
ของภิกษุที่จะเข้าเฝ้าพระตถาคต นี้เป็นเวลาของภิกษุณี นี้เป็นเวลาของอุบาสก
นี้เป็นเวลาของอุบาสิกา นี้เป็นเวลาของพระราชา นี้เป็นเวลาของราชมหาอำมาตย์
นี้เป็นเวลาของเดียรถีย์ นี้เป็นเวลาของสาวกเดียรถีย์’
[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะ ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ มีอยู่
ในอานนท์
ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าภิกษุบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์
แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี
ภิกษุบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์
๒. ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า
อานนท์แสดงธรรมในภิกษุณีบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจ
ยินดี ภิกษุณีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๓. ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์
แสดงธรรมในอุบาสกบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี
อุบาสกบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๔. ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี
ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกาบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรม
ก็มีใจยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แล มีอยู่ใน
อานนท์๑
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้มีอยู่ในพระเจ้า
จักรพรรดิ
ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าขัตติยบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจ
ยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในขัตติยบริษัทนั้น
แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี ขัตติยบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม
เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง
๒. ถ้าพราหมณบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็
มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในพราหมณ-
บริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี พราหมณบริษัท
ยังไม่เต็มอิ่ม เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง
๓. ถ้าคหบดีบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มี
ใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในคหบดีบริษัทนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๒๙/๑๙๗-๑๙๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
เรื่องความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์
แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี คหบดีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม
เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง
๔. ถ้าสมณบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจ
ยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในสมณบริษัทนั้น
แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี สมณบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม
เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แล มีอยู่ในพระเจ้า
จักรพรรดิ
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีอยู่ในอานนท์
ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าภิกษุบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า
อานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจ
ยินดี ภิกษุบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๒. ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า
อานนท์แสดงธรรมในภิกษุณีบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจ
ยินดี ภิกษุณีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๓. ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า
อานนท์แสดงธรรมในอุบาสกบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มี
ใจยินดี อุบาสกบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๔. ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า
อานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกาบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มี
ใจยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะ ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แล มีอยู่ใน
อานนท์”๑

เชิงอรรถ :
๑ดู องฺ.จตุกฺก (แปล) ๒๑/๑๓๐/๑๙๘-๑๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] ทรงแสดงมหาสุทัสสนสูตร

ทรงแสดงมหาสุทัสสนสูตร๑
[๒๑๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคอย่าได้ปรินิพพานใน
เมืองเล็ก เมืองดอน เมืองกิ่งเช่นนี้ เมืองใหญ่เหล่าอื่นยังมีอยู่ เช่น กรุงจัมปา
กรุงราชคฤห์ กรุงสาวัตถี เมืองสาเกต กรุงโกสัมพี กรุงพาราณสี ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล
คหบดีมหาศาล๒ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระตถาคต มีอยู่มากในเมืองเหล่านั้น ท่าน
เหล่านั้นจะทำการบูชาพระสรีระของพระตถาคต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น อย่าพูดอย่างนั้นว่า
‘กุสินาราเป็นเมืองเล็ก เมืองดอน เมืองกิ่ง’
อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่ามหาสุทัสสนะ
ผู้ทรงธรรม ครองราชย์โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็น
ขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ
กรุงกุสินารานี้มีนามว่ากรุงกุสาวดี ได้เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ด้านทิศ
ตะวันออกและทิศตะวันตกยาว ๑๒ โยชน์ ด้านทิศเหนือและทิศใต้กว้าง ๗ โยชน์
กรุงกุสาวดีเป็นราชธานีที่เจริญรุ่งเรือง มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น เศรษฐกิจดี
เหมือนกับกรุงอาฬกมันทา ซึ่งเป็นราชธานีของทวยเทพที่เจริญรุ่งเรือง มีประชากรมาก
มียักษ์หนาแน่น เศรษฐกิจดี อานนท์ กรุงกุสาวดีเป็นราชธานีที่อึกทึกครึกโครม
เพราะเสียง ๑๐ ชนิด ทั้งวันทั้งคืน ได้แก่ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง
เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคมดนตรี และเสียงว่า
‘ท่านทั้งหลายโปรดบริโภค ดื่ม เคี้ยวกิน’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๒๔๑-๒๔๒ หน้า ๑๘๑ ในเล่มนี้
๒ มหาศาล หมายถึงผู้มีทรัพย์มาก ขัตติยมหาศาลมีพระราชทรัพย์ ๑๐๐-๑,๐๐๐ โกฏิ พราหมณมหาศาล
มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ คหบดีมหาศาลมีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ (ที.ม.อ. ๒๑๐/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
การถวายอภิวาทของเจ้ามัลละ
ไปเถิด อานนท์ เธอจงเข้าไปกรุงกุสินาราแจ้งแก่เจ้ามัลละทั้งหลายผู้ครอง
กรุงกุสินาราว่า ‘วาเสฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรี
วันนี้ ท่านทั้งหลายจงรีบออกไป จงรีบออกไป จะได้ไม่เสียใจในภายหลังว่า
‘พระตถาคตปรินิพพานในเขตบ้านเมืองของพวกเรา พวกเรา (กลับ) ไม่ได้เฝ้าพระตถาคต
เป็นครั้งสุดท้าย” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ครองอันตรวาสกถือ
บาตรและจีวรเข้าไปยังกรุงกุสินาราเพียงผู้เดียว
การถวายอภิวาทของเจ้ามัลละ
[๒๑๑] ขณะนั้น พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารา กำลังประชุมกันอยู่ที่
สัณฐาคารด้วยราชกิจบางอย่าง ท่านพระอานนท์เข้าไปที่สัณฐาคารของพวกเจ้ามัลละ
ถวายพระพรว่า “วาเสฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่ง
ราตรีวันนี้ ท่านทั้งหลายจงรีบออกไป จงรีบออกไป จะได้ไม่เสียพระทัยในภายหลังว่า
‘พระตถาคตปรินิพพานในเขตบ้านเมืองของพวกเรา พวกเรา(กลับ)ไม่ได้เฝ้าพระ
ตถาคตเป็นครั้งสุดท้าย’
พวกเจ้ามัลละ โอรส๑ สุณิสา และปชาบดีของพวกเจ้ามัลละพอสดับคำของ
ท่านพระอานนท์ ทรงเศร้าเสียพระทัย เปี่ยมไปด้วยโทมนัส บางพวกสยายพระเกศา
ทรงประคองพระพาหา กันแสงคร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด
ทรงเพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย
จักษุของโลกจักด่วนอันตรธานไป’
จากนั้น พวกเจ้ามัลละ โอรส สุณิสา และปชาบดีของพวกเจ้ามัลละ ทรงเศร้า
เสียพระทัย เปี่ยมไปด้วยโทมนัสต่างพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ที่สาลวันซึ่งเป็น
ทางเข้ากรุงกุสินาราของพวกเจ้ามัลละ
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดดังนี้ว่า “ถ้าเราจะให้เจ้ามัลละทั้งหลายผู้ครองกรุง
กุสินาราถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทีละองค์ ๆ จะถวายอภิวาทไม่ทั่วกัน ราตรี
จะสว่างก่อน ทางที่ดี เราควรให้ได้ถวายอภิวาทตามลำดับตระกูล โดยกราบทูลว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้ามัลละมีชื่อนี้พร้อมโอรส ชายา บริษัท และอำมาตย์

เชิงอรรถ :
๑โอรส หมายถึงบุตรที่มารดาเลี้ยงดูให้เจริญอยู่บนอก (เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด) (ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เรื่องสุภัททปริพาชก
ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร” แล้วจึงจัดให้เจ้า
มัลละทั้งหลายผู้ครองกรุงกุสินาราถวายอภิวาทตามลำดับตระกูล โดยกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้ามัลละมีชื่อนี้พร้อมโอรส ชายา บริษัท และอำมาตย์
ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร” ด้วยวิธีนี้ ท่าน
พระอานนท์สามารถจัดให้เจ้ามัลละทั้งหลายถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคได้เสร็จชั่ว
เวลาปฐมยามเท่านั้น
เรื่องสุภัททปริพาชก
[๒๑๒] สมัยนั้น สุภัททปริพาชกอาศัยอยู่ในกรุงกุสินารา ได้ทราบว่า
“พระสมณโคดมจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้” เขาคิดดังนี้ว่า “เราได้ฟัง
คำของพวกปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า
‘พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งคราว’ พระสมณ-
โคดมจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ก็เรายังมีความสงสัยอยู่ เราเลื่อมใส
ท่านพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมจะแสดงธรรมให้เราละความสงสัย
นี้ได้’ จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ที่สาลวันซึ่งเป็นทางเข้ากรุงกุสินาราของพวกเจ้า
มัลละได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพวก
ปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์พูดกันว่า ‘พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งคราว’ พระสมณโคดมจะ
ปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ข้าพเจ้ายังมีความสงสัยอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใส
พระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมจะแสดงธรรมให้ข้าพเจ้าละความสงสัยนี้ได้’
ขอโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เฝ้าพระสมณโคดมเถิด”
เมื่อสุภัททปริพาชกกล่าวอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ตอบว่า “อย่าเลย สุภัททะ
ผู้มีอายุ ท่านอย่ารบกวนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงเหน็ดเหนื่อย”
แม้ครั้งที่ ๒ สุภัททปริพาชกก็กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๖๐ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เรื่องสุภัททปริพาชก
แม้ครั้งที่ ๓ สุภัททปริพาชกก็กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์
ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพวกปริพาชกผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์
พูดกันว่า ‘พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งคราว’
พระสมณโคดมจะปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้ ข้าพเจ้ายังมีความสงสัยอยู่
ข้าพเจ้าเลื่อมใสพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมจะแสดงธรรมให้ข้าพเจ้า
ละความสงสัยนี้ได้’ ขอโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เฝ้าพระสมณโคดมเถิด”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็กล่าวกับสุภัททปริพาชกดังนี้ว่า “อย่าเลย
สุภัททะผู้มีอายุ ท่านอย่ารบกวนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงเหน็ดเหนื่อย”
[๒๑๓] พระผู้มีพระภาคทรงได้ยินถ้อยคำของท่านพระอานนท์เจรจากับ
สุภัททปริพาชก จึงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อย่าห้ามสุภัททะเลย
อานนท์ ให้สุภัททะเข้ามาหาตถาคต เขาจะถามปัญหาบางอย่างกับเรา เขาจะถาม
เพื่อหวังความรู้เท่านั้น ไม่หวังรบกวนเรา อนึ่ง เมื่อเราตอบสิ่งที่ถาม เขาจะรู้ได้ทันที”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับสุภัททปริพาชกดังนี้ว่า “ไปเถิดสุภัททะ
ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคประทานโอกาสแก่ท่าน”
สุภัททปริพาชกจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ
เป็นอาจารย์ มีชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ประชาชนยกย่องกันว่าเป็นคนดี
ได้แก่ ปูรณะ กัสสปะ มักขลิ โคศาล อชิตะ เกสกัมพล ปกุธะ กัจจายนะ สัญชัย
เวลัฏฐบุตร นิครนถ์ นาฏบุตร เจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดรู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือ
ไม่ได้รู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สุภัททะ อย่าเลย เรื่องที่เธอถามว่า ‘เจ้าลัทธิ
เหล่านั้นทั้งหมดรู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือไม่รู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง หรือบางพวกรู้
บางพวกไม่รู้’ อย่าได้สนใจเลย เราจะแสดงธรรมแก่เธอ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจะกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๖๑ }

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เรื่องสุภัททปริพาชก
สุภัททปริพาชกทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
[๒๑๔] “สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑
ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๔๑ ในธรรมวินัยที่มี
อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีสมณะที่ ๑ ย่อมมีสมณะที่ ๒ ย่อมมีสมณะที่ ๓ ย่อมมี
สมณะที่ ๔ สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรคมีองค์ ๘ สมณะที่ ๑ มีอยู่ในธรรม
วินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๓ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้
เท่านั้น สมณะที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้
ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์
ทั้งหลาย
สุภัททะ เราบวชขณะอายุ ๒๙ ปี
แสวงหาว่าอะไร คือกุศล
เราบวชมาได้ ๕๐ ปีกว่า
ยังไม่มีแม้สมณะที่ ๑ ภายนอกธรรมวินัยนี้
ผู้อาจแสดงธรรมเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้
ไม่มีสมณะที่ ๒ ไม่มีสมณะที่ ๓ ไม่มีสมณะที่ ๔ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลาย
ผู้รู้ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์
ทั้งหลาย”
[๒๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ สุภัททปริพาชกได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์

เชิงอรรถ :
๑ สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ ในที่นี้ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
และพระอรหันต์ ตามลำดับ (ที.ม.อ. ๒๑๔/๑๙๖) และดูเทียบ อภิ.ก. ๓๗/๘๗๕/๔๙๗-๔๙๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร] เรื่องสุภัททปริพาชก
ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิด
ของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจัก
เห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ และข้าพระองค์พึงได้การบรรพชา พึงได้การอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี
พระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุภัททะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์จะบรรพชา
ประสงค์จะอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไป
เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชา จะให้อุปสมบทเป็นภิกษุได้ อนึ่ง ในเรื่องนี้เราคำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย”
สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า “หากผู้ที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา
ประสงค์จะอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน
ล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชา จะให้อุปสมบทเป็นภิกษุได้ ข้าพระองค์จัก
ขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไป เมื่อภิกษุพอใจ ก็จงให้บรรพชา จงให้
อุปสมบทเป็นภิกษุเถิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้สุภัททะบวช”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ในขณะนั้น สุภัททปริพาชกจึง
กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระอานนท์ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว
ที่พระศาสดาทรงแต่งตั้งท่านโดยมอบหมายให้บรรพชาอันเตวาสิก๑ ในที่เฉพาะพระ
พักตร์”

เชิงอรรถ :
๑ ความนี้แปลมาจากคำว่า อนฺเตวาสิกาภิเสเกน อภิสิตฺตา หมายถึงการที่อาจารย์แต่งตั้งศิษย์ในสำนักให้
บวชลูกศิษย์แทนตน ซึ่งเป็นจารีตของลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา ถือเป็นเกียรติยศที่ใคร ๆ ก็อยากได้
สุภัททะ ถือตามจารีตนี้กล่าวยกย่องท่านพระอานนท์ (ที.ม.อ. ๒๑๕/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
พระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต
สุภัททปริพาชก ได้การบรรพชาได้การอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค
แล้วแล เมื่อท่านสุภัททะได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว
ไม่ประมาทมีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่๑ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
จึงเป็นอันว่าท่านสุภัททะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ท่านได้เป็นสักขิสาวก๒ องค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค
ภาณวารที่ ๕ จบ

พระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต
[๒๑๖] ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
บางทีพวกเธออาจจะคิดว่า ‘ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’
ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอ
ทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไป ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย
อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุไม่ควรเรียกกันและกันด้วยวาทะว่า ‘อาวุโส‘๓
เหมือนดังที่เรียกกันตอนนี้ ภิกษุผู้แก่กว่าพึงเรียกภิกษุผู้อ่อนกว่า โดยชื่อหรือตระกูล
โดยวาทะว่า ‘อาวุโส’ ก็ได้ ภิกษุผู้อ่อนกว่าพึงเรียกภิกษุผู้แก่กว่าว่า ‘ภันเต’ หรือ

เชิงอรรถ :
๑ อุทิศกายและใจอยู ในที่นี้หมายถึงมุ่งที่จะบรรลุอรหัตตผล โดยไม่ห่วงอาลัยต่อร่างกายและชีวิตของตน
(ที.ม.อ. ๒๐๔/๑๙๐, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๔๓/๓๕๓)
๒ สักขิสาวก แปลว่า พระสาวกที่ทันเห็นองค์พระพุทธเจ้า มี ๓ พวก คือ (๑) ผู้บรรพชาอุปสมบท เรียน
กัมมัฏฐาน บรรลุอรหัตตผลเมื่อพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์อยู่ (๒) ผู้ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ
พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ต่อมาได้เรียนกัมมัฏฐานและบรรลุอรหัตตผล (๓) ผู้ได้เรียนกัมมัฏฐาน
เมื่อพระผู้มีพระภาคยังทรงพระชนม์อยู่ พระสุภัททะจัดอยู่ในพวกที่ ๑ (ที.ม.อ. ๒๑๕/๑๙๘) ดูเทียบ ที.สี.
(แปล) ๙/๔๐๕/๑๗๔, ม.ม. ๑๓/๒๒๒/๑๙๕-๑๙๖, สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๙๖/๒๘๑
๓ อาวุโส แปลว่า ผู้มีอายุ เดิมใช้เป็นคำเรียกกันเป็นสามัญ คือ ภิกษุผู้แก่กว่าใช้เรียกภิกษุผู้อ่อนกว่าหรือ
ภิกษุผู้อ่อนกว่า ใช้เรียกภิกษุผู้แก่กว่าก็ได้ (ที.ม.อ. ๓๑๖/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]
พระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต
‘อายัสมา’ ก็ได้ อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไป ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบท
เล็กน้อย๑เสียบ้างก็ถอนได้ อานนท์ เมื่อเราล่วงลับไป สงฆ์พึงลงพรหมทัณฑ์แก่
ภิกษุฉันนะ”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “พรหมทัณฑ์ เป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุฉันนะพึงพูดได้ตามต้องการ
แต่ภิกษุไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนพร่ำสอนเธอ”
[๒๑๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าภิกษุแม้เพียงรูปเดียวพึงมีความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) เธอทั้งหลายจงถามเถิด
จะได้ไม่เสียใจในภายหลังว่า ‘พระศาสดายังอยู่ต่อหน้า เราไม่กล้าทูลถามในที่เฉพาะ
พระพักตร์” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายตรัสว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุแม้เพียงรูปเดียวพึงมีความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถามเถิด จะได้ไม่เสียใจในภายหลังว่า
พระศาสดายังอยู่ต่อหน้า เราไม่กล้าทูลถามในที่เฉพาะพระพักตร์”

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาบทเล็กน้อย พระสังคีติกาจารย์ในที่ประชุมสังคายนาครั้งแรกมีความเห็นต่างกันเป็น ๕ พวก คือ
พวกที่ ๑ เห็นว่า นอกจากปาราชิก ๔ สิกขาบทอื่นจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
พวกที่ ๒ เห็นว่า นอกจากปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ สิกขาบทอื่นจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
พวกที่ ๓ เห็นว่า นอกจากปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท
อื่นจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
พวกที่ ๔ เห็นว่า นอกจากปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒
สิกขาบทอื่นจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
พวกที่ ๕ เห็นว่า นอกจากปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทอื่นจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
ในบรรดาความเห็นเหล่านี้ ไม่มีความเห็นใดได้รับการยอมรับเป็นเอกฉันท์ ฉะนั้น ที่ประชุมจึงมีมติ
ไม่ให้ถอน (วิ.จู. (แปล) ๗/๔๔๑/๓๘๒, ที.ม.อ. ๒๑๖/๒๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า :๑๖๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น