Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๗-๓ หน้า ๙๑ - ๑๓๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร
วิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณ ๖ ประการนี้ ได้แก่

๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ
๓. ฆานวิญญาณ ๔. ชิวหาวิญญาณ
๕. กายวิญญาณ ๖. มโนวิญญาณ

นี้เรียกว่า วิญญาณ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจึงมี เพราะความ
ดับแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ สภาพที่
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
โทษแห่งวิญญาณ เครื่องสลัดออกจากวิญญาณอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
โทษแห่งวิญญาณ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณอย่างนี้แล้วเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๖.สัมมาสัมพุทธสูตร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
ภิกษุชื่อว่าผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างนี้
ภิกษุผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เพ่งพินิจเป็นธาตุ
๒. เพ่งพินิจเป็นอายตนะ
๓. เพ่งพินิจเป็นปฏิจจสมุปบาท
ภิกษุชื่อว่าผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เป็นอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เราเรียกว่า
‘อุดมบุรุษ ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้”
สัตตัฏฐานสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัมมาสัมพุทธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๕๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
หลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป
บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป เราก็เรียกว่า ‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๖.สัมมาสัมพุทธสูตร
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ
คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นเวทนา บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย ฯลฯ เราก็เรียกว่า
‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ
คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นสัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ เราก็เรียกว่า ‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’
ในเรื่องนั้นจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร คือ ระหว่างพระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญามีอะไรต่างกัน”
ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระ
ภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาค
เท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง ภิกษุทั้งหลายฟังต่อ
จากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ทำให้รู้จักทางที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้จักทาง รู้แจ้งทาง
ฉลาดในทาง ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเหล่าสาวกในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินไปตามทางอยู่
เป็นผู้ตามมาในภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๗. อนันตตลักขณสูตร
นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”
สัมมาสัมพุทธสูตรที่ ๖ จบ
๗. อนัตตลักขณสูตร๑
ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา
[๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกพระปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า
ฯลฯ แล้วได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ไม่พึงเป็น
ไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่า
ได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ
บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่พึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่อ
อาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ไม่พึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะสังขารเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๗. อนันตตลักขณสูตร
และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่า
ได้เป็นอย่างนั้น’
วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า ‘วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า ‘วิญญาณของ
เราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๘. มหาลิสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม สังขารทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนัตตลักขณสูตรนี้จบแล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี
ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิต
นี้อยู่ พระปัญจวัคคีย์ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
อนัตตลักขณสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๘. มหาลิสูตร

๘. มหาลิสูตร
ว่าด้วยเจ้ามหาลิ
[๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านปูรณะ กัสสปะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมอง
ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เศร้าหมอง
เอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มี
ปัจจัย บริสุทธิ์เอง’ ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาลิ ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย มีเหตุ
มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงบริสุทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
เป็นอย่างไร สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย เศร้าหมองอย่างไร”
“มหาลิ หากรูปนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความ
ทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในรูป แต่เพราะรูป
เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในรูป เพราะกำหนัดจึงถูกรูปผูกไว้ เพราะถูกรูปผูกไว้จึง
เศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากเวทนานี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในเวทนา แต่เพราะเวทนา
เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๙. อาทิตตสูตร
สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในเวทนา เพราะกำหนัดจึงถูกเวทนาผูกไว้ เพราะถูกเวทนา
ผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากสัญญานี้ ฯลฯ
หากสังขารนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในสังขาร แต่เพราะสังขาร
เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในสังขาร เพราะกำหนัดจึงถูกสังขารผูกไว้ เพราะถูกสังขาร
ผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากวิญญาณนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในวิญญาณ แต่เพราะ
วิญญาณเป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในวิญญาณ เพราะกำหนัดจึงถูกวิญญาณผูกไว้ เพราะ
ถูกวิญญาณผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ส่วนเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็น
อย่างไร สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยบริสุทธิ์อย่างไร”
“มหาลิ หากรูปนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข
ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะรูป
เป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๙. อาทิตตสูตร
หากเวทนานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากสัญญานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากสังขารนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากวิญญาณนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่
หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ แต่เพราะ
วิญญาณเป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้”
มหาลิสูตรที่ ๘ จบ

๙. อาทิตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน
[๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของร้อน
เวทนาเป็นของร้อน สัญญาเป็นของร้อน สังขารเป็นของร้อน วิญญาณเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในสังขาร ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อาทิตตสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑๐. นิรุตติปถสูตร

๑๐. นิรุตติปถสูตร
ว่าด้วยหลักภาษา
[๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓
ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ไม่ได้
ถูกทอดทิ้ง ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนคัดค้านแล้ว
หลักการ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ
๑.รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
ตั้งชื่อรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่
เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’
เวทนาใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกเวทนานั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติเวทนานั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า
‘จักมี’
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกสังขารนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อสังขารนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติสังขารเหล่านั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกสังขาร
เหล่านั้นว่า ‘จักมี’
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติวิญญาณนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกวิญญาณ
นั้นว่า ‘จักมี’
๒. รูปยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
‘จักมี’ และบัญญัติรูปนั้นว่า ‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’
ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑๐. นิรุตติปถสูตร
เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’
ตั้งชื่อเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ (แต่)
ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกสังขารเหล่านั้นว่า
‘จักมี’ ตั้งชื่อสังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติสังขารเหล่านั้นว่า
‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกสังขาร
เหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’
ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ (แต่)
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีแล้ว’
๓. รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
‘มีอยู่’ และบัญญัติรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้ง
ชื่อเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่
เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกสังขารเหล่านั้นว่า
‘มีอยู่’ ตั้งชื่อสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติสังขารเหล่านั้น
ว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียก
สังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’
ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่)
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ
(๓) หลักการบัญญัติ ไม่ได้ถูกทอดทิ้ง ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จัก
ไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนคัดค้านแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบท กับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง ๒ พวก
นั้นเป็นผู้มีอเหตุกวาทะ๑ เป็นผู้มีอกิริยวาทะ๒ เป็นผู้มีนัตถิกวาทะ๓ ก็ได้สำคัญว่า
หลักการ ๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ
ไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษ
และถูกคัดค้าน”
นิรุตติปถสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปยวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุปยสูตร ๒. พีชสูตร
๓. อุทานสูต ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
๕. สัตตัฏฐานสูตร ๖. สัมมาสัมพุทธสูตร
๗. อนัตตลักขณสูต ๘. มหาลิสูตร
๙. อาทิตตสูตร ๑๐. นิรุตติปถสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๑. อุปาทิยมานสูตร

๒. อรหันตวรรค
หมวดว่าด้วยพระอรหันต์
๑. อุปาทิยมานสูตร
ว่าด้วยผู้ยึดมั่นขันธ์
[๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่
ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อยึดมั่น๑ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อ
ไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อยึดมั่นรูปก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่น
ก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อยึดมั่นเวทนาก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจาก
มารผู้มีบาป เมื่อยึดมั่นสัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ เมื่อยึดมั่นวิญญาณก็ถูกมาร
ผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่ง
พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๒. มัญญมานสูตร
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว บุคคลเมื่อยึดมั่นรูปก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็
พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อยึดมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร เมื่อยึดมั่น
วิญญาณก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ภิกษุนั้นก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อุปาทิยมานสูตรที่ ๑ จบ

๒. มัญญมานสูตร
ว่าด้วยผู้กำหนดหมายขันธ์
[๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อกำหนดหมาย๑ ก็ถูกมารผูกมัดไว้
เมื่อไม่กำหนดหมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๓. อภินันทมานสูตร
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อกำหนดหมายรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อ
ไม่กำหนดหมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อกำหนดหมายเวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... เมื่อกำหนดหมายวิญญาณก็ถูกมารผูดมัดไว้ เมื่อไม่กำหนดหมายก็พ้น
จากมารผู้มีบาป ... ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว บุคคลเมื่อกำหนดหมายรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อ
ไม่กำหนดหมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อกำหนดหมายเวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... เมื่อกำหนดหมายวิญญาณก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่กำหนดหมาย ก็
พ้นจากมารผู้มีบาป
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
มัญญมานสูตรที่ ๒ จบ

๓. อภินันทมานสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินขันธ์
[๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อเพลิดเพลิน๑ ก็ถูกมารผูกมัดไว้
เมื่อไม่เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๔. อนิจจสูตร
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อเพลิดเพลินรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่
เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อเพลิดเพลินเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เมื่อเพลิดเพลินวิญญาณ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว บุคคลเมื่อเพลิดเพลินรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่
เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อเพลิดเพลินเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เมื่อเพลิดเพลินวิญญาณ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อภินันทมานสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
[๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
“ภิกษุ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ๑ ในสิ่งนั้น”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๕. ทุกขสูตร
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปไม่เที่ยง ข้าพระองค์พึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ...สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง ข้าพระองค์พึงละความพอใจ
ในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อนิจจสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์
[๖๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๖. อนัตตสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปเป็นทุกข์ ข้าพระองค์พึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นทุกข์ ข้าพระองค์พึงละความพอใจ
ในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจใน
สิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปเป็นอนัตตา ข้าพระองค์พึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา ข้าพระองค์พึงละความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๗. อนัตตนิยสูตร
พอใจในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อนัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตนิยสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอัตตา
[๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดไม่เนื่องด้วยอัตตา เธอพึงละความ
พอใจในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ข้าพระองค์พึงละความ
พอใจในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ข้าพระองค์พึงละความพอใจในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๘. รชนียสัณฐิตสูตร
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เธอพึงละความพอใจ
ในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อนัตตนิยสูตรที่ ๗ จบ

๘. รชนียสัณฐิตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่จูงใจให้กำหนัด
[๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละความพอใจ
ในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด ข้าพระองค์พึงละความ
พอใจในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด
ข้าพระองค์พึงละความพอใจในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๙. ราธสูตร
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละ
ความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
รชนียสัณฐิตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ราธสูตร
ว่าด้วยพระราธะ
[๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไรจึงจะไม่มี
อหังการ๑ มมังการ๒ และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงใน
ภายนอก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๑๐. สุราธสูตร
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ราธะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”
ฯลฯ
อนึ่ง ท่านพระราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ราธสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สุราธสูตร
ว่าด้วยพระสุราธะ
[๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระสุราธะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ
หลุดพ้นดีแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สุราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณา
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
สุราธะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และ
มานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
ฯลฯ
อนึ่ง ท่านพระสุราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
สุราธสูตรที่ ๑๐ จบ
อรหันตวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุปาทิยมานสูตร ๒. มัญญมานสูตร
๓. อภินันทมานสูตร ๔. อนิจจสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. อนัตตสูตร
๗. อนัตตนิยสูตร ๘. รชนียสัณฐิตสูตร
๙. ราธสูตร ๑๐. สุราธสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๒. สมุทยสูตร

๓. ขัชชนียวรรค
หมวดว่าด้วยผู้ถูกเคี้ยวกิน
๑. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์
[๗๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดคุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
ไม่รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง”
อัสสาทสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์
[๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้น
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิดขึ้น
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง”
สมุทยสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๔. อรหันตสูตร

๓. ทุติยสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ สูตรที่ ๒
[๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิดขึ้น
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง”
ทุติยสมุทยสูตรที่ ๓ จบ

๔. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์
[๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๔. อรหันตสูตร
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุด
พ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุดในโลกกว่าสัตว์
ในสัตตาวาสและภวัคคภพ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“พระอรหันต์ทั้งหลายมีความสุข๑หนอ
เพราะท่านไม่มีตัณหา ตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด
ทำลายข่ายคือโมหะได้แล้ว
พระอรหันต์เหล่านั้นถึงความไม่หวั่นไหว๒
มีจิตไม่ขุ่นมัว ไม่แปดเปื้อนในโลก
เป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีอาสวะ เป็นสัตบุรุษ
เป็นพุทธบุตร พุทธโอรส กำหนดรู้ขันธ์ ๕
มีสัทธรรม ๗ ประการเป็นโคจร๓ ควรสรรเสริญ
ท่านเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ๔
สำเหนียกแล้วในไตรสิกขา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๕. ทุติยอรหันตสูตร
ละความกลัวและความสะดุ้งกลัวได้เด็ดขาดแล้ว
ย่อมเที่ยวไปโดยลำดับ
ท่านมหานาคผู้สมบูรณ์ด้วยองค์ ๑๐
มีจิตตั้งมั่น๑ ประเสริฐที่สุดในโลก
เพราะท่านเหล่านั้นไม่มีตัณหา มีอเสขญาณ๒ เกิดขึ้นแล้ว
มีร่างกายนี้เป็นร่างสุดท้าย
ไม่ต้องอาศัยผู้อื่นในคุณที่เป็นแก่นสารแห่งพรหมจรรย์
ท่านเหล่านั้นไม่หวั่นไหวในส่วนทั้งหลาย๓
พ้นจากภพใหม่ถึงทันตภูมิ๔ ชนะเด็ดขาดแล้วในโลก
ท่านเหล่านั้นไม่มีความเพลิดเพลินอยู่
ในส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง
เป็นพุทธะผู้ยอดเยี่ยมในโลก ย่อมบันลือสีหนาท”
อรหันตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์ สูตรที่ ๒
[๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๖. สีหสูตร
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุดในโลกกว่าสัตว์
ในสัตตาวาสและภวัคคภพ”
ทุติยอรหันตสูตรที่ ๕ จบ

๖. สีหสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพญาราชสีห์
[๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่
อาศัยบิดกายชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วหลีกไปหา
เหยื่อ โดยมากพวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาราชสีห์บันลือสีหนาท
ย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้ง สัตว์พวกที่อาศัยอยู่ในโพรงก็หลบเข้า
โพรง พวกที่อาศัยอยู่ในน้ำก็ดำลงในน้ำ พวกที่อาศัยอยู่ในป่าก็หนีเข้าป่า พวก
สัตว์ปีกก็บินขึ้นสู่อากาศ แม้พญาช้างของพระมหากษัตริย์ ซึ่งผูกไว้ด้วยเชือกอย่าง
มั่นคงในหมู่บ้าน ตำบล และเมืองหลวง ก็ตัดทำลายเครื่องผูกเหล่านั้นจนขาด
ตกใจกลัว ถ่ายมูตรคูถ หนีไปทางใดทางหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย พญาราชสีห์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ
มากอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๖. สีหสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ตถาคต๑ อุบัติขึ้นในโลกเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
ตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่
ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๒ แสดงธรรมว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ...
สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’
เมื่อนั้น แม้เทพทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะงดงาม มีความสุขมาก สถิตอยู่
ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ได้สดับธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมากต่าง
ก็ถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้งว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเรา
เป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’
เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ถึงพวก
เราก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ๓
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มาก
อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้กว่าโลกพร้อมทั้งเทวโลก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร
“เมื่อใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา
หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้๑ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว
ทรงประกาศธรรมจักร๒ คือ สักกายะ
ความดับแห่งสักกายะ และอริยมรรคมีองค์ ๘
ที่ให้ถึงความดับทุกข์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก

เมื่อนั้น แม้พวกเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะ มียศ
ฟังคำของตถาคตผู้เป็นอรหันต์ หลุดพ้นแล้ว ผู้คงที่
ต่างก็หวาดหวั่นถึงความสะดุ้ง ดุจเนื้อกลัวราชสีห์ด้วยคิดว่า
‘ท่านผู้เจริญ ทราบว่าพวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ยังไม่ก้าวล่วงสักกายะ”
สีหสูตรที่ ๖ จบ

๗. ขัชชนียสูตร
ว่าด้วยผู้ถูกเคี้ยวกิน
[๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง เมื่อระลึกก็ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดระลึกถึงอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการ หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงรูปอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีรูปอย่างนี้’ เมื่อระลึก
ก็ระลึกถึงเวทนาอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีเวทนาอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร
สัญญาอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีสัญญาอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงสังขาร
อย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีสังขารอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงวิญญาณอย่างนี้ว่า
‘ในอดีตกาล เรามีวิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป เพราะสลายไปจึงเรียกว่า ‘รูป’
สลายไปเพราะอะไร สลายไปเพราะหนาวบ้าง ร้อนบ้าง หิวบ้าง กระหายบ้าง
เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง เพราะสลายไป
จึงเรียกว่า ‘รูป’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าเวทนา เพราะเสวยจึงเรียกว่า ‘เวทนา’ เสวยอะไร เสวย
อารมณ์สุขบ้าง ทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เพราะเสวยจึงเรียกว่า ‘เวทนา’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าสัญญา เพราะจำได้หมายรู้จึงเรียกว่า ‘สัญญา’ จำได้
หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง เพราะ
จำได้หมายรู้จึงเรียกว่า ‘สัญญา’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าสังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า ‘สังขาร’
ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูปโดยความเป็นรูป เวทนา
โดยความเป็นเวทนา สัญญาโดยความเป็นสัญญา สังขารโดยความเป็นสังขาร
วิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า ‘สังขาร’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าวิญญาณ เพราะรู้แจ้งจึงเรียกว่า ‘วิญญาณ’ รู้แจ้งอะไร
รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง
รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง เพราะรู้แจ้งจึงเรียกว่า ‘วิญญาณ’
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้
เราถูกรูปเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูป
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมรูปที่เป็นอนาคต แม้ใน
อนาคตกาล เราก็พึงถูกรูปเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกรูปที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ใน
เวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมรูป
ที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร
บัดนี้ เราถูกเวทนาเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกเวทนาเคี้ยวกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกเวทนาที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมเวทนาที่
เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกเวทนาเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกเวทนา
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัย
ในเวทนาที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมเวทนาที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนาที่เป็นปัจจุบัน
บัดนี้ เราถูกสัญญาเคี้ยวกินอยู่ ฯลฯ
บัดนี้ เราถูกสังขารเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกสังขารเคี้ยวกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกสังขารที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมสังขารที่
เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกสังขารเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกสังขาร
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัย
ในสังขารที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมสังขารที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขารที่เป็นปัจจุบัน
บัดนี้ เราถูกวิญญาณเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณเคี้ยวกิน
แล้ว เหมือนกับที่ถูกวิญญาณที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชม
วิญญาณที่เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกวิญญาณเคี้ยวกิน เหมือน
กับที่ถูกวิญญาณที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว
ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ทำให้พินาศ ไม่ก่อ ละทิ้ง ไม่ถือมั่น
เรี่ยราย ไม่รวบรวมไว้ ทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร
อริยสาวกทำอะไรให้พินาศ ไม่ก่ออะไร
คือ ทำรูปให้พินาศ ไม่ก่อรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ทำ
วิญญาณให้พินาศ ไม่ก่อวิญญาณ
ละทิ้งอะไร ไม่ถือมั่นอะไร
คือ ละทิ้งรูป ไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ละทิ้งวิญญาณ
ไม่ถือมั่นวิญญาณ
เรี่ยรายอะไร ไม่รวบรวมอะไรไว้
คือ เรี่ยรายรูป ไม่รวบรวมรูปไว้ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เรี่ยรายวิญญาณ ไม่รวบรวมวิญญาณไว้
ทำอะไรให้มอด ไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น
คือ ทำรูปให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้ลุกโพลงขึ้น ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... ทำวิญญาณให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้ลุกโพลงขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ไม่ก่อ ไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้
พินาศได้แล้วดำรงอยู่ ไม่ละทิ้ง ไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่ ไม่เรี่ยราย
ไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่ ไม่ทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น
แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
อริยสาวกไม่ก่ออะไร ไม่ทำอะไรให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้ว
ดำรงอยู่
คือ ไม่ก่อรูป ไม่ทำรูปให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... ไม่ก่อวิญญาณ ไม่ทำวิญญาณให้พินาศ แต่เป็นผู้
ทำให้พินาศได้แล้วดำรงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร
ไม่ละทิ้ง ไม่ถือมั่นอะไร แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่ละทิ้งรูป ไม่ถือมั่นรูป แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ไม่ละทิ้งวิญญาณ ไม่ถือมั่นวิญญาณ แต่เป็นผู้ละทิ้งได้
แล้วดำรงอยู่
ไม่เรี่ยรายอะไร ไม่รวบรวมอะไรไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่เรี่ยรายรูป ไม่รวบรวมรูปไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... ไม่เรี่ยรายวิญญาณ ไม่รวบรวมวิญญาณไว้ แต่เป็นผู้
เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่
ไม่ทำอะไรให้มอด ไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้
แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่ทำรูปให้มอด ไม่ก่อรูปให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่ทำวิญญาณให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้
ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เทพทั้งหลายพร้อมทั้งอินทร์ พรหม และท้าวปชาบดี
ย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
‘ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ที่พวกเราไม่รู้ว่า ท่านอาศัยอารมณ์อะไรเล่า ถึงเข้าฌานอยู่”
ขัชชนียสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปิณโฑลยสูตร
ว่าด้วยการเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพ
[๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์เพราะ
เหตุบางอย่างแล้ว เวลาเช้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร
บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหาร
เสร็จแล้ว เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อประทับพักผ่อนกลางวัน ครั้นเสด็จถึงแล้ว ได้
ประทับนั่ง ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงว่า
“เราเองได้ขับไล่ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ในภิกษุเหล่านี้ มีพวกภิกษุใหม่บวชยังไม่นาน
เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นเราก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไป
เหมือนลูกโคน้อย ๆ เมื่อไม่เห็นแม่ก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไปฉะนั้น และ
เหมือนพืชที่ยังอ่อน ๆ ขาดน้ำพึงเหี่ยวเฉาไปฉะนั้น ทางที่ดี เราพึงอนุเคราะห์
ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยอนุเคราะห์มาแล้วในครั้งก่อน ๆ เถิด”
ขณะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ
ของตนแล้วจึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้า
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางพระผู้มีพระภาคกราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ใน
ภิกษุเหล่านี้ มีพวกภิกษุใหม่บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ เมื่อภิกษุ
เหล่านั้น ไม่เห็นพระผู้มีพระภาคก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไป เหมือนลูกโคน้อย ๆ
เมื่อไม่เห็นแม่ก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไปฉะนั้น และเหมือนพืชที่ยังอ่อน ๆ
ขาดน้ำพึงเหี่ยวเฉาไปฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคโปรดชื่นชมภิกษุสงฆ์ โปรดพร่ำสอน
ภิกษุสงฆ์ โปรดอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยอนุเคราะห์มาแล้ว
ในครั้งก่อน ๆ เถิด พระพุทธเจ้าข้า”๑
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม
ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาแล้วจึงถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ
แล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นนั่นเอง
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น ได้เสด็จเข้าไปยัง
นิโครธาราม ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ทรงบันดาลด้วยอิทธาภิสังขาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร
ให้ภิกษุเหล่านั้นเกรงกลัวเข้าไปเฝ้าทีละรูปบ้าง สองรูปบ้าง ต่างถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้น
ดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุทุศีลเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพนี้เป็นการกระทำที่
ต่ำทราม การที่ภิกษุทุศีลประพฤติเช่นนี้ ย่อมถูกชาวโลกด่าว่า ‘เจ้าคนนี้อุ้มบาตร
เที่ยวขอชาวโลกมาเลี้ยงชีพ’
กุลบุตรต่างเป็นผู้ตระหนักในเหตุ อาศัยความตระหนักในเหตุจึงเข้ามาใช้ชีวิต
เที่ยวขอก้อนข้าวนี้ มิใช่ถูกพระราชารับสั่งให้นำไปจองจำ มิใช่ถูกพวกโจรนำไปกักขัง
มิใช่เป็นลูกหนี้ มิใช่ตกอยู่ในห้วงอันตราย มิใช่จะยึดเป็นอาชีพ แท้ที่จริง กุลบุตร
เหล่านั้นเข้ามาบวชด้วยเหตุผลว่า ‘พวกเราต่างถูกชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่)
มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ทับถม
ครอบงำ จมปลักอยู่ในทุกข์ สาละวนอยู่กับทุกข์ ทำอย่างไรเล่า การทำที่สุดแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏได้’
กุลบุตรนี้เป็นผู้บวชด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมาแล้วนี้ แต่แล้วกุลบุตรนั้นกลับ
เกิดความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตพยาบาท คิดประทุษร้าย
ลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกระสับกระส่าย ไม่สำรวมอินทรีย์
บุคคลผู้เสื่อมจากโภคะของคฤหัสถ์ และไม่สามารถบำเพ็ญประโยชน์สำหรับ
ความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ได้ เราเรียกว่า เป็นเหมือนท่อนไม้ที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า
ไฟไหม้ทั้ง ๒ ข้าง ตรงกลางเปื้อนคูถ ย่อมไม่อำนวยประโยชน์เป็นเครื่องเรือน๑
ทั้งไม่อำนวยประโยชน์เป็นอุปกรณ์ในป่า๒
ภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการ คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียน)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร
อกุศลวิตก ๓ ประการนี้ดับไม่เหลือที่ไหน
คือ เมื่อบุคคลมีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ประการ หรือเจริญอนิมิตต-
สมาธิ อกุศลวิตก ๓ ประการ ย่อมดับโดยไม่เหลือ อนิมิตตสมาธิควรแท้ที่
บุคคลจะเจริญ อนิมิตตสมาธิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ ๒ ประการนี้ คือ
๑. ภวทิฏฐิ (ความเห็นในภพ)
๒. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นในวิภพ)
อริยสาวกผู้ได้สดับพิจารณาเห็นในทิฏฐิ ๒ ประการนั้นเช่นนี้ว่า ‘เรายึดถือ
สิ่งใดอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นมีอยู่ในโลกบ้างไหม’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยึดถือสิ่งใดอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นไม่มีในโลกเลย ก็เราเมื่อยึดถือ พึงยึดถือรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั่นเอง เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จึงมีด้วย
ประการอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยง หรือไม่เที่ยง” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ปิณโฑลยสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปาลิเลยยสูตร
ว่าด้วยป่าปาลิเลยยกะ
[๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้นในเวลาเช้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยัง
กรุงโกสัมพี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรง
เก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับสั่งพวกอุปัฏฐาก
ไม่ได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม
ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ได้เข้าไป
หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์
พระผู้มีพระภาคทรงเก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับ
สั่งพวกอุปัฏฐาก ไม่ได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม”
ท่านพระอานนท์ได้ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ สมัยใด พระผู้มีพระภาคทรงเก็บงำ
เสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับสั่งพวกอุปัฏฐาก ไม่ได้
ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม สมัยนั้น พระผู้มี
พระภาคมีพระประสงค์จะประทับอยู่เพียงลำพัง จึงไม่ควรที่ใคร ๆ จะพึงติดตาม”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าปาลิเลยยกะ ทราบว่า
ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้รังอันงาม
ต่อมา ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้พากันกล่าวกับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร
ท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ นานมาแล้วที่พวกผมได้ฟังธรรมีกถาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาค ท่านอานนท์ พวกผมปรารถนาที่จะฟังธรรมีกถาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาค”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาค ณ โคนไม้รังอันงามในป่าปาลิเลยยกะ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร
อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ”
พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของภิกษุนั้นด้วยพระทัยจึงรับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรมโดยการวิจัย (การเลือกเฟ้น) แสดง
สติปัฏฐาน ๔ ประการโดยการวิจัย แสดงสัมมัปปธาน ๔ ประการโดยการวิจัย
แสดงอิทธิบาท ๔ ประการโดยการวิจัย แสดงอินทรีย์ ๕ ประการโดยการวิจัย
แสดงพละ ๕ ประการโดยการวิจัย แสดงโพชฌงค์ ๗ ประการโดยการวิจัย
แสดงอริยมรรคมีองค์ ๘ โดยการวิจัย ภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรมโดยการ
วิจัยเช่นนี้ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยการวิจัยเช่นนี้ แต่ก็มีภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้ยังเกิดความคิดคำนึงว่า ‘เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดย
ลำดับ’
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น ... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา แต่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
แต่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา แต่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัด
เป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป แต่พิจารณาเห็นเวทนา
โดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร พิจารณา
เห็นสังขารในอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความ
เป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่
พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา แต่มีทิฏฐิ (ความเห็น) อย่างนี้ว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน
เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร’ ก็สัสสตทิฏฐิ
(ความเห็นว่าเที่ยง) นั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่
พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้น
ละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร’ แต่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเรา
ก็จักไม่มี’ ก็อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) นั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ฯลฯ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่
พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร
คงทน ไม่ผันแปร’ ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี
ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’ แต่ยังมีความสงสัย เคลือบแคลง
ไม่แน่ใจในสัทธรรม ก็ความเป็นผู้สงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในสัทธรรมนั้นจัด
เป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ”
ปาลิเลยยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง
[๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขา-
มิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้น
ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์เต็มดวง พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์
แวดล้อม ประทับนั่งในที่แจ้ง
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าประนมมือไปทางที่
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทูลถามเหตุอย่างหนึ่งกับพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรง
ประทานวโรกาสที่จะตอบปัญหาแก่ข้าพระองค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนั่งบนอาสนะของตน
แล้วถามปัญหาที่เธอต้องการจะถามเถิด”
ภิกษุนั้นทูลรับพระดำรัสแล้วนั่งบนอาสนะของตนได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ใช่ไหม คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)”

“ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์”
มูลเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
มีอะไรเป็นมูลเหตุ”
“ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีฉันทะเป็นมูลเหตุ” ฯลฯ
“อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าอุปาทาน
เป็นอย่างอื่นนอกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการเป็นอย่างเดียวกันก็มิใช่ ทั้ง
อุปาทานเป็นอย่างอื่นนอกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการก็มิใช่ แต่ฉันทราคะใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นตัวอุปาทาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร
ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
ภิกษุนั้น ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จะพึงมีได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงมีได้ ภิกษุ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีรูปเช่นนี้
มีเวทนาเช่นนี้ มีสัญญาเช่นนี้ มีสังขารเช่นนี้ มีวิญญาณเช่นนี้’
ภิกษุ ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จะพึงมีได้อย่างนี้แล”
เหตุที่เรียกว่าขันธ์
ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขันธ์
จึงชื่อว่าขันธ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์”
เหตุปัจจัยแห่งขันธ์
ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น