พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หรือ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ออนไลน์
นกุลบิดา “พ่อของนกุล”, คฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี ในแคว้นภัคคะ มีภรรยาชื่อ นกุลมารดา สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้า เสด็จมายังเมืองสุงสุมารคีรี ประทับที่ป่าเภสกลาวัน ท่านคฤหบดีและภรรยาไปเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่น ๆ พอได้ เห็นครั้งแรก ทั้งสองสามีภรรยาก็เกิดความรู้สึกสนิทหมายใจเหมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระ องค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรด ทั้งสองท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุล บิดาและนกุลมารดานี้ เป็นคู่สามีภรรยาตัวอย่าง ผู้มีความจงรักภักดีต่อกันอย่างบริสุทธิ์และมั่นคงยั่งยืนตราบเท่าชรา ทั้งยังปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เคยทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครอง รักกันยั่งยืนตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้า เมื่อท่านนกุลบิดาเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ที่ท่านประทับใจมากคือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะ ป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วย” ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิท สนมคุ้นเคย (วิสสาสิกะ) ท่านนกุลมารดาก็เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกาผู้สนิทสนมคุ้นเคยเช่นเดียวกัน
นขา เล็บ
นคร เมืองใหญ่, กรุง
นครโศภินี หญิงงามเมือง, หญิงขายตัว (พจนานุกรมเขียน นครโสภิณี, นครโสเภณี)
นที แม่น้ำ ในพระวินัย หมายเอาแม่น้ำ ที่มีกระแสน้ำไหลอยู่ ไม่ใช่แม่น้ำตัน
นทีกัสสป นักบวชชฎิลแห่งกัสสปโคตร น้องชายของอุรุเวลากัสสปะ พี่ชายของคยากัสสปะ ออกบวชตามพี่ชาย พร้อมด้วยชฎิลบริวาร ๓๐๐ คน สำเร็จอรหัตด้วยฟังอาทิตตปริยายสูตรเป็นมหา สาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก
นทีปารสีมา สีมาฝั่งน้ำ คือ สีมาที่สมมติคร่อมฝั่งน้ำทั้งสอง เปิดแม่น้ำไว้กลาง
นพเคราะห์ ดู ดาวพระเคราะห์
นมัสการ การไหว้, การเคารพ, นอบน้อม
นรก เหวแห่งความทุกข์, ที่อันไม่มีความสุขความเจริญ, ภาวะเร่าร้อนกระวนกระวาย, ที่ไปเกิดและเสวยความทุกข์ ของสัตว์ผู้ทำบาป เป็นอบายอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง คือ นรก ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย ดู นิรยะ
นวกะ 1. หมวด ๙ 2. ภิกษุใหม่, ภิกษุมีพรรษายังไม่ครบ ๕
นวกภูมิ ขั้น ชั้น หรือระดับพระนวกะ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่ายังเป็นผู้ใหญ่ คือ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ยัง ต้องถือนิสัย เป็นต้น เทียบ เถรภูมิ, มัชฌิมภูมิ
นวกรรม การก่อสร้าง
นวกัมมาธิฏฐายี ผู้อำนวยการก่อสร้าง เช่น ที่พระมหาโมคคัลลานะได้รับมอบหมายจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้ อำนวยการสร้างบุพพารามที่นางวิสาขาบริจาคทุนสร้างที่กรุงสาวัตถี
นวกัมมิกะ ผู้ดูแลนวกรรม, ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ ให้ทำหน้าที่ดูแลการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ใน อาราม
นวโกวาท คำสอนสำหรับผู้บวชใหม่,คำสอนสำหรับภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่, ชื่อหนังสือแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
นวรหคุณ คุณของพระอรหันต์ ๙ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ ได้แก่พุทธคุณ ๙ นั่น เอง เขียน นวารหคุณ ก็ได้ แต่เพี้ยนไปเป็น นวหรคุณ ก็มี
นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าคือ ๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) ๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด) ๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น) ๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น) ๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร) ๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร) ๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) ๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือ พระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ) ๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้วซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น); เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์ ดู ไตรปิฎก
นหารู เอ็น
นหุต ชื่อมาตรานับ เท่ากับหนึ่งหมื่น
นอนร่วม นอนในที่มุงที่บังอันเดียวกันและเห็นกันได้ในเวลานอน
น้อม ในประโยคว่า “ภิกษุน้อมลาภเช่นนั้นมาเพื่อตน” ขอหรือพูดเลียบเคียงชักจูงเพื่อจะให้เขาให้
นักบุญ ผู้ใฝ่บุญ, ผู้ถือศาสนาอย่างเคร่งครัด, ผู้ทำประโยชน์แก่พระศาสนา
นักปราชญ์ ผู้รู้, ผู้มีปัญญา
นักพรต คนถือบวช, ผู้ประพฤติพรต
นักษัตรฤกษ์ ดาวฤกษ์ซึ่งอยู่บนท้องฟ้ามีชื่อต่างๆ กัน เช่นดาวม้า ดาวลูกไก่ ดาวคางหมู คาวจระเข้ ดาวคันฉัตร เป็นต้น ดู ดาวนักษัตร
นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี เช่นเห็นว่าผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มีความดีความชั่วไม่มี เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง ดู ทิฏฐิ
นันทะ พระอนุชาของพระพุทธเจ้าแต่ต่างพระมารดา คือประสูติแต่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้ออกบวชในวัน มงคลสมรสกับนางชนปทกัลยาณี เบื้องแรกประพฤติพรหมจรรย์อยู่ด้วยความจำใจ แต่ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงสอน ด้วยอุบาย จนพระนันทะเปลี่ยนมาตั้งใจปฏิบัติธรรม และในที่สุดก็ได้บรรลุอรหัตตผล ได้รับยกยองเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์ พระนันทะมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายพระพุทธเจ้า แต่ต่ำกว่าพระพุทธองค์ ๔ นิ้ว
นันทกะ พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในตระกูลผู้ดีมีฐานะในพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ ศาสดา มีความเลื่อมใส ขอบวชเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้สำเร็จพระอรหัต ท่านมีความสามารถในการแสดงธรรม จนเป็นที่เลื่องลือ ครั้งหนึ่งท่านแสดงธรรมแก่นางภิกษุณีปรากฏว่านางภิกษุณีได้สำเร็จพระอรหัตถึง ๕๐๐ องค์ ท่าน ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่นางภิกษุณี
นันทกุมาร พระราชบุตรของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางปชาบดีโคตมีต่อมาออกบวชมีชื่อว่าพระนันทะ คือองค์ ที่มีรูปพรรณสัณฐานคล้ายพระพุทธองค์นั่นเอง
นันทมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
นันทมารดา ชื่ออุบาสิกาคนหนึ่งเป็นอนาคามี เป็นผู้ชำนาญในฌาน ๔ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะทางบำเพ็ญฌาน ชื่อ เต็มว่า อุตตรา นันทมารดา
นันทาเถรี ชื่อภิกษุณี ผู้เป็นพระน้องนางของพระเจ้ากาลาโศก
นัย อุบาย, อาการ, วิธี, ข้อสำคัญ, เค้าความ, เค้าเงื่อน, แง่ความหมาย
นัยนา ดวงตา
นาค งูใหญ่ในนิกาย; ช้าง; ผู้ประเสริฐ; ใช้เป็นคำเรียกคนที่กำลังจะบวชด้วย
นาคเสน พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งสาคลประเทศ ดังมีคำโต้ตอบปัญหามาในคัมภีร์มิ ลินทปัญหา ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละในหิมวันตประเทศ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อ โสณุตตระ ท่านเป็นผู้ชำนาญในพระเวทและต่อมาได้อุปสมบท โดยมีพระโรหณะเป็นพระอุปัชฌาย์; ดู มิลินท์, มิลิ นทปัญหา
นาคาวโลก การเหลียวมองอย่างพญาช้าง, มองอย่างช้างเหลียวหลัง คือเหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมดเป็นกิริยา ของพระพุทธเจ้า; เป็นชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง ซึ่งทำกิริยาอย่างนั้น
นาคิตะ พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งเคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ มีพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ท่านเกี่ยวกับ เนกขัมมสุข ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ๒-๓ แห่ง
นางเร็ด ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำเป็นแผ่นกลมโรยน้ำตาล พจนานุกรมเขียน นางเล็ด
นาถ ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง
นาถกรณธรรม ธรรมทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้พึ่งตนได้ มี ๑๐ อย่างคือ ๑. ศีล มีความประพฤติดี ๒. พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก ๓. กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม ๔. โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล ๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ ๖ ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม ๗. วิริยะ ขยันหมั่นเพียร ๘. สันตุฏฐี มีความสันโดษ ๙. สติ มีสติ ๑๐. ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้ธาตุต่างๆ คือรู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์อายตนะ ธาตุต่าง ๆ (ข้อ ๔ ในทศพลญาณ)
นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ ที่โน้มเอียง เชื่อถือสนใจ พอใจต่าง ๆ กัน (ข้อ ๕ ในทศพลญาณ)
นานานิกาย นิกายต่าง ๆ คือหมู่แห่งสงฆ์ต่างหมู่ต่างคณะ
นานาภัณฑะ ทรัพย์ต่างกันคือหลายสิ่ง, ภัณฑะต่าง ๆ, สิ่งของต่างชนิด ต่างประเภท
นานาสังวาส มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม (คืออุโบสถและสังฆกรรมเป็นต้น) ที่ต่างกัน, สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือ ไม่ร่วม อุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน เหตุที่ทำให้เป็นนานาสังวาสมี ๒ คือ ภิกษุทำ ตนให้เป็นนานาสังวาสเอง เช่น อยู่ในนิกายหนึ่งไปขอเข้านิกายอื่น หรือแตกจากพวกเพราะเหตุวิวาทาธิกรณ์อย่าง หนึ่ง อีกอย่างหนึ่งถูกสงฆ์พร้อมกันยกออกจากสังวาส
นาบี, นบี ศาสดาผู้ประกาศศาสนาอิสลาม ทำหน้าที่แทนพระผู้เป็นเจ้า, ผู้เทศนา, ผู้ประกาศข่าว ชาวมุสลิมถือว่าพระ มะหะหมัดเป็นนาบีองค์สุดท้าย
นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของ จิตได้ 1. ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2. บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั้น และนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ) 3. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้ง หลาย เทียบ รูป
นามกาย กองแห่งนามธรรม หมายถึงเจตสิกทั้งหลาย
นามขันธ์ ขันธ์ที่เป็นฝ่ายนามธรรม มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
นามธรรม สภาวะที่น้อมไปหาอารมณ์,ใจและอารมณ์ที่เกิดกับใจ คือ จิตและเจตสิก, สิ่งของที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ ดู นาม
นามรูป นามธรรม และรูปธรรม นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้ แก่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปธรรม หมายถึงสิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด
นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป, ญาณหยั่งรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป และกำหนดจำแนก ได้ว่าสิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖)
นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป, ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) เรียกกันสั้นๆ ว่า ปัจจัยปริคคหญาณ)
นารายณ์ ชื่อเรียกพระวิษณุ ซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์
นารี ผู้หญิง, นาง
นาลกะ 1. หลานชายของอสิตดาบสออกบวชตามคำแนะนำของลุง และไปบำเพ็ญสมณธรรมรอการตรัสรู้ของพระ พุทธเจ้าอยู่ในป่าหิมพานต์ ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มาทูลถามเรื่องโมไนยปฏิปทา และกลับไปบำเพ็ญสมณ ธรรมในป่าหิมพานต์ ได้บรรลุอรหัตแล้ว ดำรงอายุอยู่อีก ๗ เดือน ก็ปรินิพพานในป่าหิมพานต์นั้นเอง; ท่านจัดเป็น มหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวกด้วย 2. ชื่อหมู่บ้านอันเป็นที่เกิดของพระสารีบุตร ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ บาง ทีเรียกนาลันทคาม
นาลันทะ ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์ เป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตร ดู นาลกะ 2
นาลันทา ชื่อเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ ณ เมืองนี้มีสวน มะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้งคัมภีร์ฝ่าย มหายานกล่าวว่า พระสารีบุตร อัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของ พระสารีบุตรว่า หมู่ บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม ภายหลังพุทธกาล ชื่อเมืองนาลันทาเงียบหายไประยะหนึ่ง หลวงจีนฟาเหียนซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพู ทวีป ราว พ.ศ. ๙๔๔-๙๕๓ บันทึกไว้ว่าได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ พระองค์หนึ่งพระนามว่าศักราทิตย์ หรือกุมารคุปตะที่ ๑ ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๙๕๘-๙๙๘ ได้ทรงสร้างวัดอัน เป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา และกษัตริย์พระองค์ ต่อ ๆ มาในราชวงศ์นี้ก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นใน โอกาสต่าง ๆ จนมีถึง ๖ วัด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำให้วัดทั้ง ๖ รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญ ยิ่ง ที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า “มหาวิทยาลัยนาลันทา” พระเจ้าหรรษาวรรธนะ มหาราชพระ องค์หนึ่งของอินเดีย ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๔๙-๑๑๙๑ ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยนาลันทา หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ในช่วง พ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๘๗ ได้มา ศึกษาที่นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม ท่านเล่า ถึงกิจกรรมทางการศึกษา ที่รุ่งเรืองยิ่ง นักศึกษามีประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และมีอาจารย์ประมาณ ๑,๕๐๐ คน พระมหา กษัตริย์พระราชทานหมู่บ้าน ๒๐๐ หมู่โดยรอบถวาย โดยทรงยกภาษีที่เก็บได้ให้เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น วิชาที่สอนมีทั้งปรัชญา โยคะ ศัพทศาสตร์ เวชชศาสตร์ ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ตลอดจนโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ และตันตระ แต่ที่เด่นชัดก็คือนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธ ศาสนาฝ่ายมหายาน และเพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีมีนักศึกษาเดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น อาเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมงโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตมากและมีชื่อเสียง ไปทั่วโลก เมื่อคราวที่ถูกเผาทำลายในสมัยต่อมา มีบันทึกกล่าวว่าหอสมุดนี้ไหม้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน หลวงจีนอี้จิง ซึ่งจาริกมาในระยะประมาณ พ.ศ. ๑๒๒๓ ก็ได้มาศึกษาที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก นาลันทารุ่งเรืองสืบ มาช้านานจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. ๑๓๐๓-๑๖๘๕) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียว กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ อย่างไรก็ดี ในระยะหลัง ๆ นาลันทาได้หัน ไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ และทำให้พุทธ ศาสนากลมกลืนกับศาสนฮินดูมากขึ้น เป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งแห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา ครั้นถึง ประมาณ พ.ศ. ๑๗๔๒ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และเข้าครอบ ครองดินแดงโดยลำดับ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้เผาผลาญทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนาลงแทบทั้งหมด และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญทำลายลงในช่วงระยะเวลานั้นด้วย มีบันทึก ของนักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมเล่าว่า ที่นาลันทา พระภิกษุถูกสังหารแทบหมดสิ้น และมหาวิทยาลัยนาลันทาก็ได้ถึง ความพินาศสูญสิ้นลงแต่บัดนั้นมา ซากของนาลันทาที่ถูกขุดค้นพบในภายหลัง ยังประกาศยืนยันอย่างชัดเจนถึงความ ยิ่งใหญ่ของนาลันทาในอดีต ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ อินเดีย ได้เริ่มตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ได้มี บทบาทอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์อารยธรรมของชมพูทวีป รวมทั้งบทบาทของมหาวิทยาลัยนาลันทานี้ด้วย และ ใน พ.ศ. ๒๔๙๔ ก็ได้มีการจัดตั้งสถาบันบาลีนาลันทา ชื่อว่า “นวนาลันทามหาวิหาร” (นาลันทามหาวิหารแห่งใหม่) ขึ้น เพื่อแสดงความรำลึกคุณและยกย่องเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นาลันทามหาวิหาร มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ในอดีตสมัย
นาสนะ ดู นาสนา
นาสนา ให้ฉิบหายเสีย คือ การลงโทษบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศ มี ๓ อย่าง คือ ลิงคนาสนา ให้ฉิบหายจากเพศคือให้ สึกเสีย ๑ ทัณฑกรรมนาสนาให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ ๑ สังวาสนาสนา ให้ฉิบหายจากสังวาส ๑
นาสิก จมูก
นาฬี ชื่อมาตราตวง แปลว่า ทะนาน ดู มาตรา
น้ำทิพย์ น้ำที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย หมายถึงน้ำอมฤต หรือน้ำสุรามฤต
น้ำอมฤต ดู อมฤต
นิกร หมู่ พวก
นิกรสัตว์ หมู่สัตว์
นิกาย พวก, หมวด, หมู่, ชุมนุม, กอง; 1. หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งแยกเป็น ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย ดู ไตรปิฎก 2. คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนา เดียวกันนี้แยกเป็นพวกๆ; ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒ นิกาย คือ มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตรนิกาย) พวกหนึ่ง และเถรวาท หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ที่บางทีเรียก หีน- ยาน พวกหนึ่ง; ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน แยกออกเป็น ๒ นิกาย แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์ มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช) ได้แก่ มหานิกาย และ ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียง เป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และคณะธรรมยุต
นิคคหะ ดู นิคหะ
นิคคหกรรม ดู นิคหกรรม
นิคคหวิธี วิธีข่ม, วิธีทำนิคหะ, วิธีลงโทษ ดู นิคหกรรม
นิคคหิต อักขระที่ว่ากดเสียง, อักขระที่ว่าหุบปากกดกรณ์ไว้ไม่ปล่อย มีรูปเป็นพินทุ เช่น สงฺฆํ อุปสมฺปทํ; บัดนี้นิยม เขียน นิคหิต
นิคม 1. หมู่บ้านใหญ่, เมืองขนาดเล็ก, ย่านการค้า 2. คำลงท้ายของเรื่อง
นิคมสีมา แดนนิคม, อพัทธสีมาที่สงฆ์กำหนดด้วยเขตนิคมที่ตนอาศัยอยู่
นิครนถ์ นักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตร, นักบวชในศาสนาเชน
นิครนถนาฏบุตร คณาจารย์เจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง ๖ มีคนนับถือมาก มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมาน บ้าง พระมหาวีระบ้าง เป็นต้น ศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย
นิคหะ การข่ม, การกำราบ, การลงโทษ
นิคหกรรม การลงโทษตามพระธรรมวินัย, สังฆกรรมประเภทลงโทษผู้ทำความผิด ท่านแสดงไว้ ๖ อย่างคือ ตัชชนีย- กรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรม และตัสสปาปิยสิกากรรม
นิคัณฐนาฏบุตร ดู นิครถนาฏบุตร
นิโครธ ต้นไทร
นิโครธาราม อารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
นิจศีล ศีลที่พึงรักษาเป็นประจำ, ศีลประจำตัวของอุบาสกอุบาสิกา ได้แก่ศีล ๕
นิตย์ เที่ยง, ยั่งยืน, เสมอ, เป็นประจำ
นิตยกาล ตลอดเวลา, ตลอดกาลเป็นนิตย์
นิตยภัต อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายแก่ภิกษุสามเณรเป็นประจำ
นิทเทส คำแสดง, คำจำแนกอธิบาย, คำไขความ (พจนานุกรม เขียน นิเทศ)
นิทัศนะ, นิทัสน์ ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์ (พจนานุกรม เขียนนิทัศน์)
นิทาน เหตุ, ต้นเรื่อง
นิทานวจนะ คำแถลงเรื่องเดิม, บทนำ
นิบาต ศัพท์ภาษาบาลีที่วางไว้ระหว่างข้อความในประโยคเพื่อเชื่อมข้อความหรือเสริมความเป็นอัพยยศัพท์อย่างหนึ่ง
นิปปริยาย ไม่อ้อมค้อม, ตรง, สิ้นเชิง (พจนานุกรมเขียน นิปริยาย)
นิปปริยายสุทธิ ความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง ไม่มีการละและการบำเพ็ญอีกได้แก่ ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ ดู สุทธิ
นิปัจจการ การเคารพ, การอ่อนน้อม, การยอมเชื่อฟัง
นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ดู นิพพานธาตุ
นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน; นิพพาน หรือนิพพานธาตุ ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ๑
นิพพิทา ความหน่าย หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่าย กัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา; ความเบื่อหน่าย ในกองทุกข์
นิพพิทาญาณ ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขารด้วยความหน่าย ดู วิปัสสนาญาณ
นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะ เบื่อสังขาร เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ
นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์, ทุกข์ประจำ, ทุกข์เป็นเจ้าเรือน ได้แก่หนาวร้อน หิวกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
นิมนต์ เชิญ หมายถึงเชิญพระ เชิญนักบวช
นิมมานรดี สวรรค์ชั้นที่ ๕ มีท้าว สุนิมมิตเทวราชปกครอง เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใด นิรมิตเอาได้
นิมันตนะ การนิมนต์ หรืออาหารที่ได้ในที่นิมนต์ หมายเอาการนิมนต์ ของทายกเพื่อไปฉันที่บ้านเรือนของเขา
นิมิต 1. เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม้น้ำ น้ำ 2. (ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอ ตรง ๆ 3. เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็น อารมณ์กรรมฐานมี ๓ คือ ๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่ สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึก เป็นอารมณ์กรรมฐาน ๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น ๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่ เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา 4. สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็น ก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง ดู เทวทูต
นิมิตขาด (ในคำว่าสีมามีนิมิตขาด) สีมามีนิมิตแนวเดียว ชักแนวบรรจบไม่ถึงกัน; ตามนัยอรรถกถาว่า ทักนิมิตไม่ ครบรอบถึงจุดเดิมที่เริ่มต้น
นิมิตต์ ดู นิมิต
นิมิตต์โอภาส ตรัสข้อความเป็นเชิงเปิดโอกาสให้อาราธนาเพื่อดำรงพระชนม์อยู่ต่อไป
นิยม กำหนด, ชอบ, นับถือ
นิยยานิกะ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกไปจากกองทุกข์
นิยสกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้ไร้ยศ ได้แก่การถอดยศ, เป็นชื่อนิคหกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้มีอาบัติมาก หรือคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร โดยปรับให้ถือนิสัยใหม่อีก ดู นิคหกรรม
นิยาย เรื่องที่เล่ากันมา นิทานที่เล่าเปรียบเทียบเพื่อได้ใจความเป็นสุภาษิต
นิรยะ นรก, ภูมิที่เสวยทุกข์ของคนผู้ทำบาปตายแล้วไปเกิด เป็นอบายอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ ปิตติวิสัย อสุรกาย ดู นรก
นิรยบาล ผู้คุมนรก, ผู้ลงโทษสัตว์นรก
นิรฺวาณมฺ ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า “นิพพาน” นั่นเอง
นิรันดร ติดต่อกัน, เสมอมา, ไม่มีระหว่างคั่น, ไม่เว้นว่าง
นิรันตราย ปราศจากอันตราย
นิรามิษ, นิรามิส หาเหยื่อมิได้, ไม่มีอามิษคือเหยื่อที่เป็นเครื่องล่อใจ, ไม่ต้องอาศัยวัตถุ
นิรามิสสุข สุขไม่เจืออามิส, สุขไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อหรือกามคุณ ได้แก่สุขที่อิงเนกขัมมะ ดู สุข
นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ (ข้อ ๓ ในปฏิสัมภิทา ๔)
นิโรธ ความดับทุกข์ คือดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึงพระนิพพาน
นิโรธสมาบัติ การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาการเสวยอารมณ์ เรียกเต็มว่าเข้าสัญญาเวทยิต นิโรธ, พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ แล้วจึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้ (ข้อ ๙ ในอนุปุพพวิหาร ๙)
นิโรธสัญญา ความสำคัญหมายในนิโรธ คือ กำหนดหมายการดับตัณหาอันเป็นอริยผลว่า เป็นธรรมละเอียดประณีต ดู สัญญา
นิวรณ์, นิวรณธรรม ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรมมี ๕ อย่าง คือ ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้ง ซ่านและรำคาญ ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
นิวรณุปกิเลส โทษเครื่องเศร้าหมองคือนิวรณ์
นิเวศน์ ที่อยู่
นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสัย
นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยออกไปเสีย หรือสลัดออกได้ เป็นการพ้นที่ยั่งยืนตลอดไป ได้แก่นิพพาน, เป็นโลกุต- ตรวิมุตติ (ข้อ ๕ ในวิมุตติ ๕)
นิสสัคคิยะ “ทำให้สละสิ่งของ” เป็นคุณบทแห่งอาบัติปาจิตตีย์หมวดหนึ่ง ที่เรียกว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์
นิสสัคคิยกัณฑ์ ตอน หรือ ส่วนอันว่าด้วยอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์อันทำให้ต้องสละสิ่งของ ภิกษุต้องอาบัติประเภทนี้ต้องสละสิ่งของที่ทำให้ต้องอาบัติ ก่อน จึงจะปลงอาบัติตก
นิสสัคคิยวัตถุ ของที่เป็นนิสสัคคีย์, ของที่ต้องสละ, ของที่ทำให้ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จำต้องสละก่อนจึง จะปลงอาบัติตก
นิสสารณา การไล่ออก, การขับออกจากหมู่ เช่น นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกไปเสียจากหมู่ (อยู่ใน อปโลกนกัมม์ ประกาศถอนธรรมกถึกผู้ไม่แตกฉานในธรรม ในอรรถ คัดค้านคดีโดยหาหลักฐานมิได้ ออกเสียจากการ ระงับอธิกรณ์ (อยู่ในญัตติกัมม์) คู่กับ โอสารณา
นิสัย 1. ที่พึ่ง, ที่อาศัย เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท (คือกล่าวคำขอร้องต่ออุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท ขอให้ท่านเป็นที่ พึ่ง ที่อาศัยของตน ทำหน้าที่ปกครองสั่งสอนให้การศึกษาอบรมต่อไป) อาจารย์ผู้ให้นิสัย (อาจารย์ผู้รับที่จะทำหน้าที่ เป็นที่พึ่ง ที่อาศัย ปกครองแนะนำในการศึกษาอบรม)
2. ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช
3. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย
การขอนิสัย (ขออยู่ในปกครอง หรือขอให้เป็นที่พึ่งในการศึกษา) สำเร็จด้วยการถืออุปัชฌาย์ (ขอให้เป็นอุปัชฌาย์) นั่นเอง ในพิธีอุปสมบทอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ การขอนิสัยถืออุปัชฌาย์เป็นบุพกิจตอนหนึ่งของการอุปสมบท ก่อนจะทำการสอนซ้อมถามตอบอันตรายิก ธรรม ผู้ขออุปสมบทเปล่งวาจาขอนิสัยถืออุปัชฌาย์ดังนี้ (เฉพาะข้อความในเครื่องหมาย “....” เท่านั้นเป็นวินัยบัญญัติ นอกนั้นท่านเสริมเข้ามาเพื่อให้หนักแน่น): อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ, ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ, ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ, “อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต โหหิ, อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต โหหิ, อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต โหหิ” ลำดับนั้นผู้จะเป็นอุปัชฌายะกล่าวตอบว่า “สาหุ” (ดีละ) “ลหุ” (เบาใจดอก) “โอปา ยิกํ” (ชอบแก่อุบาย) “ปฏิรูปํ” (สมควรอยู่) “ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ” (จงให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด) คำ ใดคำหนึ่ง หรือให้รู้เข้าใจด้วยอาการทางกายก็ตาม ก็เป็นอันได้ถืออุปัชฌาย์แล้ว แต่นิยมกันมาให้ผู้ขอกล่าวรับคำ ของท่านแต่ละคำว่า สาธุ ภนฺเต หรือ สมฺปฏิจฺฉามิ แล้วกล่าวต่อไปอีกว่า อชฺชตคฺเคทานิ เถโร มยฺหํ ภาโร, อหมฺปี เถรสฺ ส ภาโร (ว่า ๓ หน) (= ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปพระเถระเป็นภาระของข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็เป็นภาระของพระเถระ) ภิกษุนวกะถ้าไม่ได้อยู่ในปกครองของอุปัชฌาย์ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้นิสัยระงับ เช่น อุปัชฌาย์ไป อยู่เสียที่อื่น ต้องถือภิกษุอื่นเป็นอาจารย์และอาศัยท่านแทน วิธีถืออาจารย์ก็เหมือนกับวิธีถืออุปัชฌาย์เปลี่ยนแต่คำขอ ว่า “อาจริโย เม ภนฺเต โหหิ, อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ” (ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าๆ จักอยู่อาศัยท่าน)
นิสัยมุตตกะ ภิกษุผู้พ้นการถือนิสัยหมายถึงภิกษุมีพรรษาพ้น ๕ แล้ว มีความรู้ธรรมวินัยพอรักษาตัวได้แล้ว ไม่ต้อง ถือนิสัยในอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์ต่อไป; เรียกง่ายว่า นิสัยมุตก์
นิสัยสีมา คามสีมาเป็นที่อาศัยของพัทธสีมา
นิสิต ศิษย์ผู้เล่าเรียนอยู่ในสำนัก, ผู้อาศัย, ผู้ถือนิสัย
นิสิตสีมา พัทธสีมาอาศัยคามสีมา
นิสีทนะ ผ้าปูนั่งสำหรับภิกษุ
เนกขัมมะ การออกจากกาม, การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน (พจนานุกรม เขียน เนกขัม)
เนกขัมมวิตก ความตรึกที่จะออกจากกาม หรือตรึกที่จะออกบวช, ความดำริ หรือความคิดที่ปลอดจากความโลภ (ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)
เนตติ แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม (พจนานุกรม เขียน เนติ)
เนตร ตา, ดวงตา
เนปาล ชื่อประเทศอันเคยเป็นที่ตั้งของแคว้นศากยะบางส่วน รวมทั้งลุมพินีอันเป็นที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้ง อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดียและทางใต้ของประเทศจีน มีเนื้อที่ ๑๔๐,๗๙๗ ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองประมาณ ๑๓,๔๒๐,๐๐๐ คน (พ.ศ. ๒๕๒๑); หนังสือเก่าเขียน เนปอล
เนยยะ ผู้พอแนะนำได้ คือพอจะฝึกสอนอบรมให้เข้าใจธรรมได้ต่อไป (ข้อ ๓ ในบุคคล ๔ เหล่า)
เนรเทศ ขับไล่ออกจากถิ่นเดิม, ให้ออกไปเสียจากประเทศ
เนรัญชรา ชื่อแม่น้ำสำคัญ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ภายใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสาย นี้ และก่อนหน้านั้นในวันตรัสรู้ ทรงลอยถาดข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายในแม่น้ำสายนี้
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นชื่ออรูปฌาน หรืออรูปภพที่ ๔
เนวสัญญีนาสัญญี มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เนสัชชิกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือ ถือ นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น ไม่นอน (ข้อ ๑๓ ในธุดงค์ ๑๓)
เนา เอาผ้าทาบกันเข้า เอาเข็มเย็บเป็นช่วงยาว ๆ พอกันผ้าเคลื่อนจากกันครั้นเย็บแล้วก็เลาะเนานั้นออกเสีย
บทภาชนะ บทไขความ, บทขยาย ความ
บทภาชนีย์ บทที่ตั้งไว้เพื่อขยายความ, บทที่ต้องอธิบาย
บรม อย่างยิ่ง, ที่สุด
บรมธาตุ กระดูกพระพุทธเจ้า
บรมพุทโธบาย อุบาย คือ วิธีของพระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม จากศัพท์ว่าบรม (ปรม) + พุทธ (พุทฺธ) + อุบาย (อุปาย)
บรมศาสดา ศาสดาที่ยอดเยี่ยม, พระผู้เป็นครูที่สูงสุด, พระบรมครู หมายถึงพระพุทธเจ้า
บรมสุข สุขอย่างยิ่ง ได้แก่ พระนิพพาน
บรมอัฏฐิ กระดูกกษัตริย์
บรรจบ ครบ, ถ้วน, จดกัน, ประสมเข้า, ติดต่อกัน, สมบท
บรรทม นอน
บรรเทา ทำให้สงบ. คลาย, เบาลง, ทำให้เบาลง, ทุเลา
บรรพ ข้อ, เล่ม, หมวด, ตอน, กัณฑ์ ดังคำว่า กายานุปัสสนา พิจารณาเห็นซึ่งกาย โดยบรรพ ๑๔ ข้อ มีอานาปาน- บรรพ ข้อที่ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นต้น
บรรพชา การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่ง อุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่าบวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชา อัคร สาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้ คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้ควบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)
บรรพชิต ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุ สมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี) มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์ (ในภาษาไทยปัจจุบันให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธ ศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน)
บรรพต ภูเขา
บรรยาย การสอน, การแสดง, การชี้แจง; นัยโดยอ้อม, อย่าง, ทาง
บรรลุ ถึง, สำเร็จ
บริกรรม 1. (ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จดีอยู่”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว
2. สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือ ชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มน้ำลาย หรือนั่งพิง
3. การนวดฟั้นประคบ หรือถูตัว
4. การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถ กรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้ สงบ
5. เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า
บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆ คุณ เป็นต้น ซ้ำ ๆ อยู่ในใจ
บริขาร เครื่องใช้สอยของนักพรต, เครื่องใช้สอยของพระในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สงบ จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ นิยมเรียกรวมว่า อัฐบริขาร (บริขาร ๘)
บริขารโจล ท่อนผ้าใช้เป็นบริขาร เช่น ผ้ากรองน้ำ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่อของ
บริจาค สละให้, เสียสละ บัดนี้มักหมายเฉพาะการร่วมให้หรือการสละเพื่อการบุญ
บริภัณฑ์ ดู สัตตบริภัณฑ์
บริโภค กิน, ใช้สอย, เสพ; ในประโยคว่า “ภิกษุใดรู้อยู่ บริโภคน้ำ มีตัวสัตว์ เป็นปาจิตติยะ” หมายถึง ดื่ม อาบ และใช้ สอยอย่างอื่น
บริโภคเจดีย์ เจดีย์คือสิ่งของหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอยเกี่ยวข้อง ได้แก่ ตุมพสตูป อังคารสตูป และ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตลอดถึงบาตร จีวร เตียง ตั่ง กุฎี วิหาร ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย
บริวาร 1. ผู้แวดล้อม, ผู้ห้อมล้อมติดตาม, ผู้รับใช้ 2. สิ่งแวดล้อม, ของสมทบ, สิ่งประกอบร่วม เช่น ผ้าบริวาร บริวาร กฐิน เป็นต้น 3. ชื่อคัมภีร์พระวินัยปิฎก หมวดสุดท้ายใน ๕ หมวด คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร
บริษัท หมู่เหล่า, ที่ประชุม, คนรวมกัน, กลุ่มชน
บริษัท ๔ ชุมชนชาวพุทธ ๔ พวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
บริสุทธ์, บริสุทธิ์ สะอาด, หมดจด, ปราศจากมลทิน, ผุดผ่อง; ครบถ้วน, ถูกต้องตามระเบียบอย่างบริบูรณ์
บริหาร ดูแล, รักษา, ปกครอง
บริหารคณะ ปกครองหมู่, ดูแลหมู่
บวงสรวง บูชา (สำหรับผีสาง เทวดา)
บ่วงแห่งมาร ได้แก่ วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่น่าพอใจ
บวช การเว้นทั่ว คือเว้นความชั่วทุกอย่าง (ออกมาจากคำว่า ป + วช) หมายถึงการถือเพศเป็นนักพรตทั่วไป; บวชพระ คือบวชเป็นภิกษุเรียกว่า อุปสมบท, บวชเณร คือ บวชเป็นสามเณรเรียกว่า บรรพชา
บอก ในประโยคว่า “ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน ก้าวล่วงธรณีเข้าไป” ไม่ได้รับบอก คือยังไม่ได้รับอนุญาต
บอกวัตร บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกัน ไปทีละรูป ข้อความที่บอกว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึงปฏิบัติบูชา คาถาโอวาทปาฎิโมกข์ คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม คำ เตือนให้ใส่ใจในธรรม ในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ความไม่ประมาท เร่งเพียรพยายามใน ทางธรรมเพื่อน้อมไปสู่พระนิพพาน และพ้นจากทุคติ แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ ลำดับกาลในพระ พุทธประวัติ สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน ชื่อวัน เดือน ปี และดาวนักษัตร ๒๗ จบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกียะ และโลกุตตระ; ธรรมเนียมนี้ บัดนี้ เลือนลางไปแล้ว
บอกศักราช เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณ มีการบอกกาล เวลา เรียกว่าบอกศักราช ตอนท้ายสวดมนต์ และก่อนจะแสดงพระธรรมเทศนา (หลังจากให้ศีลจบแล้ว) ว่าทั้งภาษาบาลีและคำแปลเป็นภาษาไทยการบอกอย่าง เก่าบอกปี ฤดู เดือน วัน ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต และอนาคต คือบอกว่าล่วงไปแล้วเท่าใด และยังจะมีมาอีกเท่าใด จึงจะ ครบจำนวนอายุพระพุทธศาสนา ๕ พันปี แต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่รัฐบาลประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้น ปีใหม่ เป็นต้นมา ได้มีวิธีบอกศักราชอย่างใหม่ขึ้นใช้แทน บอกเฉพาะปี พ.ศ. เดือน วันที่ และวันในปัจจุบัน ทั้งบาลี และคำแปล บัดนี้ไม่นิยมกันแล้ว คงเป็นเพราะมีปฏิทินและเครื่องบอกเวลาอย่างอื่นใช้กันดื่นทั่วไป
บังคม ไหว้
บังสุกุล ผ้าบังสุกุล หรือ บังสุกุลจีวร; ในภาษาไทยปัจจุบัน มักใช้เป็นคำกริยา หมายถึงการที่พระสงฆ์ชักเอาผ้าซึ่งเขา ทอดวางไว้ที่ศพ ที่หีบศพหรือที่สายโยงศพ
บังสุกุลจีวร ผ้าที่เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น, ผ้าที่ได้มาจาก กองฝุ่น กองหยากเยื่อซึ่งเขาทิ้งแล้ว ตลอดถึงผ้าห่อคลุมศพที่เขา ทิ้งไว้ในป่าช้า ไม่ใช่ผ้าที่ชาวบ้านถวาย, ปัจจุบันมักหมายถึงผ้าที่พระชักจากศพโดยตรงก็ตาม จากสายโยงศพก็ตาม
บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ
บัณฑิต ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา
บัณฑิตชาติ เผ่าพันธุ์บัณฑิต, เหล่านักปราชญ์, เชื่อนักปราชญ์
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่ประทับของพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (อรรถกถา ว่า สีแดง)
บัณเฑาะก์ กะเทย, คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่กะเทยโดยกำเนิด ๑ ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ๑ ชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑
บัณเฑาะว์ (อ่านว่าบันเดาะ) กลองเล็กชนิดหนึ่งมีหนังสองหน้าตรงกลางคอด ริมทั้งสองใหญ่ พราหมณ์ใช้ในพิธี ต่างๆ ขับโดยใช้ลูกตุ้มกระทบหน้ากลองทั้งสองข้าง; สีมามีสัณฐานดุจบัณเฑาะว์ คือมีลักษณะทรวดทรงเหมือน บัณเฑาะว์
บันดาล ให้เกิดมีขึ้นหรือให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยฤทธิ์ หรือด้วยแรงอำนาจ
บัลลังก์ ในคำว่า “นั่งขัดบัลลังก์” หรือ “นั่งคู้บัลลังก์” คือ นั่งขัดสมาธิ; ความหมายทั่วไปว่า แท่น, พระแท่น, ที่นั่งผู้ พิพากษาเมื่อพิจารณาคดีในศาล, ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่นเหนือคอระฆัง
บัว ๔ เหล่า ดู บุคคล ๔ จำพวก
บาตร ภาชนะของนักบวชสำหรับรับอาหาร เป็นอย่างหนึ่งในบริขาร ๘ ของภิกษุ
บาตรอธิษฐาน บาตรที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวหนึ่งใบ
บาทยุคล คู่แห่งบาท, พระบาททั้งสอง (เท้าสองข้าง)
บ้าน ที่อยู่ของคนครัวเดียวกัน มีเรือนหลังเดียว สองหลัง สามหลัง หรือมากกว่านั้น หรือรวมบ้านเหล่านั้นเข้าเป็นหมู่ ก็เรียกว่าบ้าน คำว่า คามสีมา หมายถึงแดนบ้านตามนัยหลังนี้
บาป ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก, อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง
บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง มี ๑๐ คือ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา
บาลี 1. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์”, ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระ พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ
2. คัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิมที่เป็นพระพุทธวจนะ อันพระ สังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือคัมภีร์พระไตรปิฎกที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ ในคราวปฐมสังคายนา, พระพุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก
บาลีประเทศ ข้อความตอนหนึ่งแห่งบาลี, ข้อความจากพระไตรปิฎก
บาลีพุทธอุทาน คำอุทานที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งเป็นบาลี เช่นที่ว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ฯ เป ฯ (ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้เพียรเพ่งพิจารณา ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป......)
บำบวง บนบาน, เซ่นสรวง, บูชา
บำเพ็ญ ทำ, ทำด้วยความตั้งใจ, ปฏิบัติ, ทำให้เต็ม, ทำให้มีขึ้น, ทำให้สำเร็จผล (ใช้กับสิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล)
บิณฑจาริกวัตร วัตรของผู้เที่ยวบิณฑบาต, ธรรมเนียมหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับภิกษุที่จะไปรับบิณฑบาต เช่น นุ่งห่มให้ เรียบร้อย สำรวมกิริยาอาการ ถือบาตรภายในจีวรเอาออกเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาต กำหนดทางเข้าออกแห่งบ้านและ อาการของชาวบ้านที่จะให้ภิกขาหรือไม่ รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม รูปที่กลับมาก่อนจัดที่ฉัน รูปที่มาทีหลัง ฉัน แล้วเก็บกวาด
บิณฑบาต อาหารที่ใส่ลงในบาตรพระ, อาหารถวายพระ; ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า รับของใส่บาตร เช่นที่ว่า พระไปบิณฑบาต คือไปรับอาหารที่เขาจะใส่ลงในบาตร
บุคคล ๔ จำพวก คือ ๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๒. วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อ ท่านขยายความ ๓. เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้ ๔. ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจ ความหมาย พระอรรถกถาจารย์เปรียบบุคคล ๔ จำพวกนี้กับบัว ๔ เหล่าตามลำดับ คือ ๑. ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ รอสัมผัส แสดงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้ ๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้ ๓. ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้น น้ำจักบานในวันต่อๆ ไป ๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า (ในพระบาลี ตรัสถึงแต่บัว ๓ เหล่าต้นเท่านั้น) บุคคล ๔ จำพวก ที่แบ่งตามประมาณ ได้แก่ รูปัปปมาณิกา โฆสัปปมาณิกา ลูขัปปมาณิกา และธัมมัปปมาณิ กา ดู ประมาณ
บุคคลหาได้ยาก ๒ คือ ๑. บุพการี ๒. กตัญญูกตเวที
บุคคลาธิษฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคคลขึ้นตั้ง คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้าง คู่กับธรรมาธิษฐาน
บุคลิก เนื่องด้วยบุคคล, จำเพาะคน ( = ปุคคลิก)
บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข, ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ, กุศลธรรม
บุญกิริยาวัตถุ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี, หมวด ๓ คือ ๑. ทานมัย ทำบุญ ด้วยการให้ ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา; หมวด ๑๐ คือ ๑. ทานมัย ๒. สีลมัย ๓. ภาวนามัย ๔. อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม ๕. เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวาย รับใช้ ๖. ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น ๗. ปัตตานุโมทนามัย ด้วยความยินดีความดีของผู้อื่น ๘. ธัม- มัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม ๙. ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง
บุญเขต เนื้อนาบุญ ดู สังฆคุณ
บุญญาภิสังขาร ดู ปุญญาภิสังขาร
บุญนิธิ ขุมทรัพย์คือบุญ
บุญราศี กองบุญ
บุญฤทธิ์ ความสำเร็จด้วยบุญ, อำนาจบุญ
บุณฑริก บัวขาว
บุปผวิกัติ ดอกไม้ที่ทำให้แปลก, ดอกไม้ที่ทำให้วิจิตรประดิษฐ์เป็นรูปต่าง ๆ
บุพกรณ์ ธุระอันจะพึงทำในเบื้องต้น, งานที่จะต้องกระทำทีแรก, เรื่องที่ควรตระเตรียมให้เสร็จก่อน เช่น บุพกรณ์ของ การทำอุโบสถ ได้แก่เมื่อถึงวันอุโบสถ พระเถระลงอุโบสถก่อน สั่งภิกษุให้ปัดกวาดโรงอุโบสถตามไฟ ตั้งน้ำฉันน้ำ ใช้ ตั้งหรือปูลาดอาสนะไว้; บุพกรณ์แห่งการกรานกฐิน คือ ซักผ้า ๑ กะผ้า ๑ ตัดผ้า ๑ เนา หรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว ๑ เย็บ เป็นจีวร ๑ ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว ๑ ทำกัปปะคือพินทุ ๑ ดังนี้เป็นต้น
บุพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน คือ ผู้มีพระคุณ ได้แก่ มารดาบิดา ครู อาจารย์ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในบุคคลหาได้ยาก ๒)
บุพกิจ กิจอันจะพึงทำก่อน, กิจเบื้องต้น เช่น บุพกิจในการทำอุโบสถ ได้แก่ก่อนสวดปาฎิโมกข์ต้องนำปาริสุทธิของ ภิกษุอาพาธมาแจ้งให้สงฆ์ทราบ นำฉันทะของภิกษุอาพาธมา บอกฤดู นับภิกษุ ให้โอวาทนางภิกษุณี; บุพกิจแห่งการ อุปสมบทมี การให้บรรพชา ขอนิสัย ถืออุปัชฌาย์ จนถึงสมมติภิกษุ ผู้สอบถามอันตรายิกธรรมกะอุปสัมปทาเปกขะ ท่ามกลางสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น
บุพประโยค อาการหรือการทำความพยายามเบื้องต้น, การกระทำทีแรก
บุพเปตพลี บุญที่อุทิศให้แก่ญาติผู้ตายไปก่อน, การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย
บุพพสิกขาวัณณนา หนังสืออธิบายพระวินัย พระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) วัดบรมนิวาส เป็นผู้แต่ง
บุพพัณณะ ของที่ควรกินก่อน ได้แก่ข้าวทุกชนิดเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง เป็นต้น; เทียบ อปรัณณะ
บุพพัณหสมัย เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า
บุพพาจารย์ 1. อาจารย์ก่อนๆ, อาจารย์รุ่นก่อน, อาจารย์ปางก่อน 2. อาจารย์ต้น, อาจารย์คนแรก คือ มารดาบิดา
บุพพาราม วัดที่นางวิสาขาสร้างถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าประทับที่วัดนี้ รวมทั้งสิ้น ๖ พรรษา ดู วิสาขา
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้ ดู วิชชา, อภิญญา
บุพเพสันนิวาส การเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน เช่น เคยเป็นพ่อแม่ลูกพี่น้อง เพื่อนผัวเมียกันในภพอดีต (ดู ชาดกที่ ๖๘ และ ๒๓๗ เป็นต้น)
บุพภาค ส่วนเบื้องต้น, ตอนต้น
บุรณะ, บูรณะ ทำให้เต็ม, ซ่อมแซม
บุรณมี วันเพ็ญ, วันกลางเดือน, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
บุรพทิศ ทิศตะวันออก
บุรพนิมิตต์ เครื่องหมายให้รู้ล่วงหน้า, ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน บัดนี้ เขียนบุพนิมิต
บุรพบุรุษ คนก่อนๆ, คนรุ่นก่อน, คนเก่าก่อน, คนผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูล, บรรพบุรุษ
บุรพประโยค ดู บุพประโยค
บุรพาจารย์ ดู บุพพาจารย์
บุรพาราม ดู บุพพาราม
บูชนียสถาน สถานที่ควรบูชา
บูชา ให้ด้วยความนับถือ, แสดงความเคารพเทิดทูน มี ๒ คือ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา
บูชามยบุญราศี กองบุญที่สำเร็จด้วยการบูชา
บูชายัญ การเซ่นสรวงเทพเจ้าของพราหมณ์ ด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา
บูร ทิศตะวันออก
บูรณะ ดู บุรณะ
เบญจกัลยาณี หญิงมีลักษณะงาม ๕ อย่าง คือ ผมงาม เนื้องาม (คือเหงือกและริมฝีปากแดงงาม) ฟันงาม ผิวงาม วัย งาม (คือดูงามทุกวัย)
เบญจกามคุณ สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
เบญจขันธ์ ขันธ์ ๕, กองหรือหมวดทั้ง ๕ แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ ๑. รูปขันธ์ กอง รูป ๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร ๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ
เบญจโครส โครส (รสแห่งโค หรือ รสเกิดแต่โค คือ ผลผลิตจากนมโค) ๕ อย่าง ได้แก่ นมสด (ขีระ) นมส้ม (ทธิ) เปรียง (ตักกะ) เนยใส (สัปปิ) เนยข้น (นวนีตะ)
เบญจธรรม ธรรม ๕ ประการ, ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อ ดังนี้ ๑. เมตตากรุณา ๒. สัมมาอาชีวะ ๓. กามสังวร (สำรวมในกาม) ๔. สัจจะ ๕. สติสัมปชัญญะ; บางตำราว่าแปลกไปบาง ข้อคือ ๒. ทาน ๓. สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน ๕ อัปปมาทะ = ไม่ประมาท; เบญจกัลยาณธรรมก็ เรียก
เบญจวัคคีย์ ดู ปัญจวัคคีย์
เบญจศีล ศีล ๕ เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม เว้นพูดปด เว้นของเมา มีคำสมาทานว่า ๑. ปาณา ติปาตา ๒. อทินนาทานา ๓. กาเมสุมิจฺฉาจารา ๔. มุสาวาทา ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ต่อท้ายด้วยเวรมณีสิกฺ ขาปทํ สมาทิยามิ ทุกข้อ
เบญจางค์ อวัยวะทั้ง ๕ คือ ศีรษะ ๑ มือทั้ง ๒ เท้าทั้ง ๒
เบญจางคประดิษฐ์ การกราบด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ อย่างลงกับพื้น คือกราบเอาเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง และศีรษะ (หน้า ผาก) จดลงกับพื้น
เบียดบัง การถือเอาเศษ เช่นท่านให้เก็บเงินค่าเช่าต่าง ๆ เก็บได้มากแต่ให้ท่านแต่น้อย ให้ไม่ครบจำนวนที่เก็บได้
โบกขรณี สระบัว
โบราณ มีในกาลก่อน, เป็นของเก่าแก่
ใบฎีกา 1. หนังสือนิมนต์พระ ตัวอย่าง “ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดนี้อีก......รูป) เจริญพระ พุทธมนต์ (หรือสวดมนต์ หรือแสดงพระธรรมเทศนา) ในงาน............ที่บ้าน เลขที่.......ตำบล............อำเภอ...........ใน วันที่.....เดือน...................พ.ศ............... เวลา.........น.” (หากจะอาราธนาให้รับอาหารบิณฑบาตเช้าหรือเพลหรือมีการ ตักบาตรใช้ปิ่นโต ก็ให้ระบุไว้ด้วย) 2. ตำแหน่งพระฐานานุกรมรองจากสมุห์ลงมา
ใบปวารณา ใบแจ้งแก่พระว่าให้ขอได้ตัวอย่าง “ข้าพเจ้าขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แด่พระคุณเจ้าเป็น มูลค่า...............บาท..........สต. หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้อง จากกัปปิยการก ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ”
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น