พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หรือ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ออนไลน์
ปกครอง คุ้มครอง, ดูแล, รักษา, ควบคุม
ปกตัตตะ ผู้เป็นภิกษุ โดยปกติ, ภิกษุผู้มีศีลและอาจาระเสมอกับภิกษุทั้งหลายตามปกติ คือ ไม่ต้องอาบัติปาราชิก หรือ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมรวมทั้งมิใช่ ภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธีเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสสและภิกษุที่ถูกสงฆ์ ลงนิคหกรรมอื่นๆ
ปกรณ์ คัมภีร์, ตำรา, หนังสือ
ปกิณณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด, ทุกข์เรี่ยราย, ทุกข์จร ได้แก่ โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาส
ปกิรณกะ ข้อเบ็ดเตล็ด, ข้อเล็กๆ น้อยๆ, ข้อปลีกย่อย
ปขาว ชาวผู้จำศีล
ปชาบดี 1. ภรรยา, เมีย 2. ดู มหาปชาบดีโคตมี
ปฏลิกา เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสัณฐานเป็นพวงดอกไม้
ปฏาจารา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถีได้รับวิปโยคทุกข์อย่างหนักเพราะสามีตายลูก ตาย พ่อแม่พี่น้องตายหมด ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีและติดต่อกัน ถึงกับเสียสติปล่อยผ้านุ่งผ้าห่มหลุดลุ่ย เดินบ่นเพ้อไปในที่ต่างๆ จนถึงพระเชตวัน พระศาสดาทรงแผ่พระเมตตา เปล่งพระวาจาให้นางกลับได้สติ แล้วแสดง พระธรรมเทศนานางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชเป็นพระภิกษุณี ไม่ช้าได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็น เอตทัคคะในทางทรงพระวินัย
ปฏิกโกสนา การกล่าวคัดค้านจริงๆ (ต่างจากทิฏฐาวิกัมม์ ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นแย้ง ชี้แจงความเห็นที่ไม่ร่วมด้วย เป็นส่วนตัว แต่ไม่ได้คัดค้าน)
ปฏิกัสสนา กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธีสำหรับอันตราบัติคือ ระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆา- ทิเสสสำหรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสขึ้นใหม่อีก ในเวลาใดเวลาหนึ่งตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาณ ทำให้เธอต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตตั้งแต่เริ่มต้นไปใหม่; สงฆ์จตุรวรรคให้ปฏิกัสสนาได้ ดู อันตราบัติ
ปฏิกา เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสีขาวล้วน
ปฏิการ การตอบแทน, การสนองคุณผู้อื่น
ปฏิกูล น่าเกลียด, น่ารักเกียจ
ปฏิคม ผู้ต้อนรับ, ผู้รับแขก, ผู้ดูแลต้อนรับ
ปฏิคาหก ผู้รับทาน, ผู้รับของถวาย
ปฏิฆะ ความขัด, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด, ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ
ปฏิจจสมุปบาท สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกานจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ต่อเนื่องกันมา มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้ ๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๒. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณี เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๓. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๗. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑๐. ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมีโสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมมัส อุปายาส จึงมีพร้อม เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้จึงมีด้วยประการฉะนี้
ปฏิจฉันนปริวาส ปริวาสเพื่อครุกาบัติที่ปิดไว้, ปริวาสที่ภิกษุผู้ปรารถนาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ใช้เพื่ออาบัติที่ ปิดไว้ ซึ่งนับวันได้เป็นจำนวนเดียว
ปฏิจฉันนาบัติ อาบัติ (สังฆาทิเสส) ที่ภิกษุต้องแล้วปิดได้
ปริญญา ให้คำมั่น, แสดงความยืนยัน, ให้การยอมรับ
ปฏิญญาตกรณะ ทำตามรับ ได้แก่ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ การแสดงอาบัติก็จัดเข้าในข้อนี้
ปฏิญาณ การให้คำมั่นโดยสุจริตใจ, การยืนยัน
ปฏิบัติ ประพฤติ, การทำ; บำรุง, เลี้ยงดู
ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติคือ ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน ,บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งที่ ดีงาม (ข้อ๒ ในบูชา ๒)
ปฏิบัติสัทธรรม ดู สัทธรรม
ปฏิปทา ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ
ปฏิปทา ๔ การปฏิบัติของท่านผู้ได้บรรลุธรรมพิเศษ มี ๔ ประเภท คือ ๑. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ๒. ทุกฺขา ปฏิปทา ขปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติยาก แต่รู้ได้เร็ว ๓. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ ช้า ๔. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติได้แก่ปัสสนาญาณ ๙ ข้อ (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)
ปฏิปทานุตตริย การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ได้แก่การปฏิบัติธรรมที่ได้เห็นแล้วในข้อทัสสนานุตตริยะ ทั้งส่วนที่จะพึงละ และพึงบำเพ็ญ ดู อนุตตริยะ
ปฏิปักข์, ปฏิปักษ์ ฝ่ายตรงกันข้าม, คู่ปรับ, ข้าศึก, ศัตรู
ปฏิปักขนัย นัยตรงกันข้าม
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับ ได้แก่ การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอริยผล เป็นการหลุดพ้นที่ยั่งยืนไม่ ต้องขวนขวายเพื่อละอีก เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๔ ในวิมุตติ ๕)
ปฏิพัทธ์ เนื่องกัน, ผูกพัน, รักใคร่
ปฏิภาค ส่วนเปรียบ, เทียบเคียง, เหมือน
ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน, นิมิตเทียบเคียง เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิตเกิดจากสัญญา สามารถนึกขยายหรือย่อส่วน ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามความปรารถนา
ปฏิภาณ โต้ตอบได้ทันทีทันควัน, ปัญญาแก้การณ์เฉพาะหน้า, ความคิดทันการ
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุ การณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔)
ปฏิมา รูปเปรียบ, รูปแทน, รูปเหมือน
ปฏิรูป สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร; ถ้าอยู่ท้ายในคำสมาสแปลว่า เทียม ปลอม ไม่แท้ เช่น สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า สัทธรรมเทียม หรือธรรมปลอม
ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร, อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม หมายถึงอยู่ในถิ่นเจริญ มีคนดี มีนักปราชญ์ (ข้อ ๑ ใน จักร ๔)
ปฏิโลม ทวมลำดับ, ย้อนจากปลายมาหาต้น เช่นว่า ตจปัญจกกัมมัฏฐาน จากคำท้ายมาหาคำต้นว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา (ตรงข้ามกับอนุโลมตามลำดับว่า เกสา โลมา………), สาวเรื่องทวนจากผลเข้าไปหาเหตุเช่น วิญญาณเป็น ผล มีเพราะสังขารเป็นเหตุ, สังขารเป็นผล มีเพราะอวิชาชาเป็นเหตุ เป็นต้น
ปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกกลัย, การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล
ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ
ปฏิเวธสัทธรรม ดู สัทธรรม
ปฏิสนธิ เกิด, เกิดใหม่, แรกเกิดขึ้นในครรภ์
ปฏิสนธิจิตต์ จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดที่แรกในภพใหม่
ปฏิสสวะ การฝืนคำรับ, รับแล้วไม่ทำตามรับ เช่น รับนิมนต์ว่าจะไปแล้วหาไปไม่ (พจนานุกรม เขียน ปฏิสวะ)
ปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมทำให้กลับดีเหมือนเดิม
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง, ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย ดู วิปัสสนาญาณ
ปฏิสันถาร การทักทายปราศรัย, การต้อนรับแขก มี ๒ อย่างคือ ๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ ๒. ธรรม ปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรมคือ กล่าวแนะนำในทางธรรม อีกนัยหนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ การต้อนรับที่ทำพอดี สมควรแก่ฐานะของแขก มีการลุกรับเป็นต้น หรือช่วยเหลือสังเคราะห์ขจัดปัญหาติดขัดทำกุศลกิจให้ลุล่วง
ปฏิสันถารคารวตา ดู คารวะ
ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน, ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ๔. ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทมามรรค ทางแห่งปฏิบัติสัมภิทา, ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความแตกฉาน; ชื่อคัมภีร์หนึ่งแห่งขุททกนิกาย ในพระ สุตตันตปิฎก เป็นภาษิตของพระสารีบุตร
ปฏิสารณียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป หมายถึงการที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์ กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเป็นทายกอุปฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็น ทางจะยังคนผู้ยังไม่เสื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังคนผู้เลื่อมในอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นไปเสีย; ปฏิสาราณียกรรม ก็เขียน
ปฏิเสธ การห้าม, การไม่รับ, การไม่ยอมรับ, การกีดกั้น
ปฐพี แผ่นดิน
ปฐพีมณฑล แผ่นดิน, ผืนแผ่นดิน
ปฐม ที่หนึ่ง, ที่แรก, เบื้องต้น
ปฐมฌาน ฌาณที่ ๑ มีองคื ๕ คือวิตก (ความตรึก) วิจาร (ตรอง) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตา (ความ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
ปฐมเทศนา เทศนาครั้งแรก หมายถึงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากวันตรัสรู้สองเดือน ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
ปฐมโพธิกาล เวลาแรกตรัสรู้, ระยะเวลาช่วงแรกหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว คือระยะประดิษฐานพระพุทธศาสนา นับคร่าวๆ ตั้งแต่ตรัสรู้ถึงได้พระอัครสาวก
ปฐมยาม ยามต้น, ยามที่หนึ่ง, ส่วนที่หนึ่งแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน
ปฐมวัย วัยต้น, วัยแรก, วัยซึ่งยังเป็นเด็ก ดู วัย
ปฐมสมโพธิกถา ชื่อคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต เทวดาอันเชิญให้มาอุบัติ ในมนุษยโลก แล้วออกบวชตรัสรู้ประกาศพระศาสนา ปรินิพพาน จนถึงแจกพระธาตุ ต่อท้ายด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกยก ย่องพระศาสนา และการอันตรธานแห่งพระศาสนาในที่สุด ปฐมสมโพธิกถาที่รู้จักกันมากและใช้ศึกษาอย่างเป็นวรรณคดีสำคัญนั้น คือฉบับที่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโรส วัดพระเชตุพนทรงรจนาถวายฉลองพระราชศรัทธาพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงอาราธนา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ฉบับที่ทรงรจนานี้ ทรงชำระปฐมสมโพธิกถาฉบับของเก่า ทรงตัดและเติม ขยายความสำคัญบางตอน เนื้อหามีคติทั้งทางมหายานและเถรวาทปนวันมาแต่เดิม และทรงจัดเป็นบท ตอนเพิ่มขึ้น รวมที่ ๒๙ ปริจเฉท มีทั้งฉบับภาษาบาลีและฉบับแปลเป็นภาษาไทย (ฉบับภาษาบาลีแบ่งเป็น ๓๐ ปริจ เฉทโดยแบ่งปริจเฉทที่ ๑ เป็น ๒ ตอน)
ปฐมสังคายนา การสังคายนาครั้งที่ ๑ ดู สังคายนาครั้งที่ ๑
ปฐมสังคีติ การสังคายนาครั้งแรก ดู สังคายนาครั้งที่ ๑
ปฐมสาวก สาวกองค์แรก คือพระอัญญาโกณฑัญญะ
ปฐมอุบาสก อุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ตปุสสะ กับภัลลิกะ ซึ่งถึงสรณะ ๒ คือพระพุทธเจ้าและพระ ธรรม; บิดาของพระยสะเป็นคนแรกที่ถึงสรณะครบ ๓
ปฐมอุบาสิกา อุบาสิกาคนแรก หมายถึงมารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ
ปฐมาปัตติกะ ให้ต้องอาบัติแต่แรกทำหมายถึง อาบัติสังฆาทิเสส ๙ สิกขาบทข้างต้นซึ่งภิกษุล่วงเข้าแล้ว ต้องอาบัติทัน ที สงฆ์ไม่ต้องสวดมนุภาสน์ คู่กับ ยาวตติยกะ
ปฐวีธาตุ ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า; อย่างนี้เป็นการกล่าว ถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐานแต่ในทางพระ อภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้อง ได้ด้วยกายสัมผัส
ปณามคาถา คาถาน้อมไหว้, คาถาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เรียกกันง่ายๆ ว่า คาถาไหว้ครู ซึ่งตามปกติ พระ อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ภาษาบาลี เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ถือเป็นธรรมเนียมที่เรียบเรียงไว้เป็นเบื้องต้น ก่อนขึ้นเนื้อ ความของคัมภีร์นั้นๆ ประกอบด้วยคำสรรเสริคุณพระรัตนตรัย คำบอกความมุ่งหมายในการแต่ง คำอ้างถึงบุคคลที่ เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อาราธนาให้แต่ง และข้อควรทราบอื่นๆ เป็นอย่างคำนำ หรือคำปรารภ
ปณิธาน การตั้งความปราถนา
ปติวัตร ความจงรักในสามี, ความซื่อสัตว์และภักดีต่อสามี, ข้อความปฏิบัติต่อสามี
ปทปรมะ "ผู้มีบท (คือถ้อยคำ) เป็นอย่างยิ่ง", บุคคลผู้ด้อยปัญญาเล่าเรียนได้อย่างมากที่สุดก็เพียงถ้อยคำ หรือข้อความ ไม่อาจเข้าใจความหมาย ไม่อาจเข้าใจธรรม ดู บุคคล ๔
ปทุม บัวหลวง
ปธาน ความเพียร, ความเพียรที่ของเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่างคือ ๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิ ให้เกิดขึ้น ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด ขึ้น ๔. อนุรักขนาปธานเพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์
ปปัญจะ กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่ทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร หมายถึงตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ปปัญจสูทนี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความในมัชฌิมนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียง จากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
ปมาณิกา ดู ประมาณ
ปมาทะ ความประมาท, ความเลินเล่อ, ความเผลอ, ความขาดสติ, ความปล่อยปละละเลย เทียบ อัปปมาทะ
ปมิตา เจ้าหญิงองค์หนึ่งในวงศ์ศากยะเป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสีหหนุเป็นพระเชฏฐภคินีของพระนางอมิตาเป็น พระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
ปรทาริกกรรม การประพฤติล่วงเมียคนอื่น, การเป็นชู้เมียเขา
ปรนปรือ บำรุงเลี้ยง, เลี้ยงดูอย่างถึงขนาด
ปรนิมมิตวสวัตดี สวรรค์ชั้นที่ ๖ มีท้าวปรมินมิตวสวัตดีปกครอง เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ต้องนิรมิตเอง มีเทวดาอื่นนิรมิตให้อีกต่อหนึ่ง
ปรภพ ภพหน้า, โลกหน้า
ปรมัตถ์ ๑. ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน ๒. ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถธรรม
ปรมัตถธรรม สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์, สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุดตามหลักอภิธรรมว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ปรมัตถบารมี บารมียอดเยี่ยม, บารมีระดับสูงสุด สูงกว่าอุปบารมี เช่นการสละชีวิต เป็นทานปรมัตบารมี เป็นต้น
ปรมัตถปฏิปทา ข้อปฏิบัติมีประโยชน์อันยิ่ง, ทางดำเนินให้ถึงปรมัตถ์, ข้อปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงประโยชน์สูงสุดคือ บรรลุนิพพาน
ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน; เป็นคำเรียกกันมา ติดปาก ความจริงคือ ปรมัตถะ แปลว่า ประโยชน์อย่างยิ่ง เหมือนทิฎฐธัมมิกัตตถะ แปลว่าประโยชน์ปัจจุบัน และสัมปรายิกัตถะ แปลว่าประโยชน์เบื้องหน้า ก็มักเรียกกันว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์และสัมปรายิกัตถประโยชน์
ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติเช่น สัตว์ ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นาง ข. เป็นต้น
ปรมัตถโชติกา ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ ธรรมบทสุตตนิบาต และชาดก แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษจารย์รจนาหรือเป็นหัวหน้าในการจัดเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
ปรมัตถทีปนี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความใน อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา และเถรีคาถา พระ ธรรมบาลรจนาขึ้นในสมัยภายหลังพระพุทธโฆษาจารย์ไม่นาน
ปรมัตถมัญชุสา ชื่อคัมภีร์ฎีกาที่พระธรรมบาลรจนาขึ้น เพื่ออธิบายความในคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์ ; นิยมเรียกว่า มหาฎีกา
ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรืออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือบรมอัตตาเป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุด ตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัว ตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจาก ปรมาตมันนั้นเองเมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไปสิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรื่องใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน แลเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้ กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป ; ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ หรหมัน นั่นเอง
ปรหิตปฏิบัติ ดู ปรัตถปฎิบัติ
ประคด ผ้าใช้คาดเอวหรือคาดอกสำหรับพระ (เรียกประคดอก ประคดเอว) มี ๒ อย่าง คือ ประคดแผ่น ๑ ประคดไส้ สุกร ๑
ประเคน ส่งของถวายพระภายในหัตถบาส, ส่งให้ถือมือ; องค์แห่งการประเคนมี ๕ คือ ๑. ของไม่ใหญ่โตหรือหนักเกิน ไป พอคนปานกลางคนเดียวยกได้ ๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส คือห่างประมาณศอกหนึ่ง ๓. เขาน้อมของนั้นเข้า มาให้ ๔. น้อมให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือโยนให้ก็ได้ ๕. ภิกษุรับด้วยการก็ได้ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ (ถ้าผู้หญิงประเคน ใช้ผ้ากราบหรือผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดรับ)
ประจักษ์ ชัดเจน, แจ่มแจ้ง, ต่อหน้าต่อตา
ประชวร เจ็บ,ป่วย
ประชวรพระครรภ์ ปวดท้องคลอดลูก
ประณต น้อมไหว้
ประณม ยกกระพุ่มมือแสดงความเคารพ, ยกมือไหว้ (พจนฯ = ประนม)
ประณาม ๑. การน้อมไหว้ ๒. การขับไล่ ๓. พูดว่ากดให้เสียหาย
ประณีต ดี, ดียิ่ง, ละเอียด
ประดิษฐ์ ตั้งขึ้น, จัดทำขึ้น, สร้างขึ้น, คิดทำขึ้น
ประดิษฐาน ตั้งไว้, แต่งตั้ง, การตั้งไว้, การแต่งตั้ง
ประเด็น ข้อความสำคัญ,ห้วข้อหลัก
ประถมวัย ดู ปฐมวัย
ประทม นอน
ประทมอนุฏฐานไสยา นอนชนิดไม่ลุกขึ้นอีก
ประทักษิณ เบื้อขวา, การเวียนขวาคือ เวียนเลี้ยวไปทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา เป็นอาการแสดงความเคารพ
ประทับ อยู่ เช่นประทับแรม (สำหรับเจ้านาย), แนบอยู่เช่นเอาปืนประทับบ่า, กดลง เช่น ประทับตรา
ประทาน ให้
ประทีป ตะเกียง, โคม, ไฟที่มีเปลวสว่าง
ประทุม บัวหลวง
ประทุษร้ายสกุล ดู กุลทูสก
ประเทศบัญญัติ บัญญัติจำเพาะถิ่น, สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เฉพาะสำหรับมัธยมประเทศ คือ จังหวัดกลาง แห่งชมพูทวีป เช่น สิกขาบทที่ ๗ แห่งสุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ไม่ให้ภิกษุอาบน้ำในเวลาห่างกันหย่อนกว่ากึ่ง เดือน เว้นแต่สมัย
ประเทศราช เมืองอิสระที่สังกัดประเทศอื่น
ประธาน หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่ในหมู่บ้าน
ประธานาธิบดี หัวหน้าผู้ปกครองบ้านเมืองแบบสาธารณรัฐ
ประนม ยกกระพุ่มมือ
ประนีประนอม ปรองดองกัน,ยอมกัน,ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย
ประพฤติ ความเป็นไปที่เกี่ยวด้วยการกระทำหรือปฏิบัติตน; กระทำ, ทำตาม, ปฏิบัติตน; กระทำ, ทำตาม, ปฏิบัติ, ปฏิบัติตน, ดำเนินชีวิต
ประพฤติในคณะอันพร่อง เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือเหตุขาดราตรีแห่งมานัต ๔ ประการ หมายถึงประพฤติ มานัตในถิ่นเช่นอาวาสที่มีปกตัตตภิกษุไม่ครบจำนวนสงฆ์ คือหย่อน ๔
ประพาส ไปเที่ยว, เที่ยวเล่น, อยู่แรม
ประเพณี ขนบธรรมเนียม, แบบแผน, เชื้อสาย
ประมาณ การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์; บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณคือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัด ในการที่จะเกิดความเชื่อถือหรือความนิยมเลื่อมสน ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ ๑. รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้ ถือรูปร่าง ๒. โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียงเป็นประมาณ ๓. ลูขประมาณ หรือ ลูขัปปมา ณิกา ผู้ถือความคร่ำหรือปอนๆ เป็นประมาณ ๔. ธรรมประมาณ หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรมคือเอาเนื้อหาสาระเหตุ ผลหลักการและความถูกต้องเป็นประมาณ
ประมาท ดู ปมาทะ
ประมุข ผู้เป็นหัวหน้า
ประโยค การประกอบ, การกระทำ ,การพยายาม
ประโยชน์ (เกิดแต่การถือเอาโภคทรัพย์) ๕ ดู โภคอาทิยะ ๕
ประลัย ความตาย, ความย่อยยับ, ความป่นปี้
ประวัติ ความเป็นไป, เรื่องราว
ประศาสนวิธี วิธีการปกครอง,ระเบียบแห่งการปกครองหมู่คณะ
ประสก เป็นคำเลือนมาจาก อุบาสกพระสงฆ์ครั้งก่อนมักใช้เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย คู่กับ สีกา แต่บัดนี้ได้ยินใช้น้อย
ประสาท ๑. เครื่องนำความรู้สึกสำหรับคนและสัตว์ เรียกประสาทรูปก็ได้ ๒. ความเลื่อมใส ดู ปสาท ๓. ยินดีให้,โปรดให้
ประสาทรูป รูปคือประสาท
ประสาธน์ ทำให้สำเร็จ, เครื่องประดับ
ประสิทธิ์ ความสำเร็จ, ทำให้สำเร็จ, ให้
ประสิทธิ์พร ให้พร, ทำพรให้สำเร็จ
ประสูติ เกิด, การเกิด, การคลอด
ประเสริฐ ดีที่สุด , ดีเลิศ, วิเศษ,
ประหาน ละ, กำจัด; การละ, การกำจัด; ตามหลักภาษาควรเขียน ปทาน หรือ ประหาณ
ประหาร การตี, การทุบตี,การฟัน, การล้างผลาญ; ฆ่า, ทำลาย
ประหาร การตี, การทุบตี, การฟัน, การล้างผลาญ; ฆ่า, ทำลาย
ปรัตถปฏิบัติ การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์แก่ สัตว์ทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของชาวโลก (โลกนาถ) ซึ่งสำเร็จด้วยพระมหากรุณาคุณเป็นสำคัญ มักเขียนเป็นปรหิตปฎิบัติ ซึ่งแปลเหมือนกัน ; เป็นคู่กันกับ อัตตัตถสมบัติ หรือ อัตตหิตสมบัติ
ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น, ประโยชน์เพื่อคนอื่น อันพึงบำเพ็ญด้วยการช่วยให้เขาเป็นอยู่ด้วยดี พึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น ทิฏฐธัมมิกัตถะหรือสัมปรายิกัตถะ หรือปรมัตถะก็ตาม; เทียบ อัตตัตถะ
ปรัปวาท (ปะรับประวาด) คำกล่าวของคนพวกอื่นหรือลัทธิอื่น, คำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของคนพวกอื่น, หลักการ ของฝ่ายอื่น, ลักทธิภายนอก
ปรัมปรโภชน์ โภชนะทีหลัง คือ ภิกษุรักนิมนต์ในที่แห่งหนึ่งด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ปไฉันในที่ นิมนต์นั้น ไปฉันเสียในที่อื่นที่เขานิมนต์ทีหลังซึ่งพ้องเวลากัน
ปราการ กำแพง, เครื่องล้อมกั้น
ปราชญ์ ผู้รู้, ผู้มีปัญญา
ปรามาส๑ (ปฺรามาด) ดูถูก, ดูหมิ่น
ปรามาส๒ (ปะรามาด) การจับต้อง, การยึดฉวย, การจัดไว้มั่น, การลูบหรือเสียดสีไปมา, ความยึดมั่น; มักแปลกันว่า การลูบคลำ
ปราโมทย์ ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ
ปรารภ ตั้งต้น, ดำริ, กล่าวถึง
ปรารมภ์ เริ่ม, ปรารภ, เริ่มแรก, วิตก, รำพึง,ครุ่นคิด
ปราศรัย พูด้วยความเอ็นดู, กล่าว
ปราสาท เรือนหลวง, เรือนชั้น
ปริกถา คำพูดหว่านล้อม, การพูดให้รู้โดยปริยาย, การพูดอ้อมไปอ้อมมาเพื่อให้เขาถวายปัจจัย ๔ เป็นการกระทำที่ไม่ สมควรแก่ภิกษุ ถ้าทำปริกถาเพื่อให้เขาถวายจีวรและบิณฑบาต ชื่อว่ามีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ แต่ท่านว่าทำปริกถาในเรื่อง เสนาสนะได้อยู่ เช่น พูดว่าในเรื่องเสนาสนะได้อยู่ เช่น พูดว่า "เสนาสนะของสงฆ์คับแคบ" อย่างไรก็ตาม ถ้าถือธุดงค์ ไม่พึงทำปริกถาอย่างหนึ่งอย่างใดเลย
ปริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม, นิมิตขี้นตระเตรียมหรือเริ่มเจริญสมถกรรมฐานได้แก่สิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกว่าอยู่ในใจเป็นต้น (ข้อ ๑ ในนิมิต ๓)
ปริกัป ๑. ความตรึก, ความดำริ, ความคำนึง, ความกำหนดในใจ ๒. การกำหนดด้วยเงื่อนไข, ข้อแม้
ปริกัมม ดู บริกรรม
ปริจเฉท กำหนดตัด, ข้อความที่กำหนดไว้เป็นตอนๆ , ข้อความที่รวบรวมเอามาจัดเป็นหมวดๆ, บท,ตอน; การกำหนด แยก, การพิจารณาตัดแยกออกให้เห็นแต่ละส่วน (พจนานุกรมเขียน ปริเฉท)
ปริจเฉทรูป รูปที่กำหนดเทศะ ได้แก่อากาสธาตุ หรืออากาศ คือช่องว่าง เช่น ช่องว่างในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ปริญญา การกำหนดรู้, การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน มี ๓ คือ ๑. ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก ๒. ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา ๓. ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้
ปริณายก ผู้นำ, ผู้เป็นหัวหน้า
ปริเทวะ ความร่ำไรรำพัน, ความคร่ำครวญ, ความรำพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ
ปริเทวนาการ ดู ปริเทวะ
ปรินิพพาน การดับรอบ, การดับสนิท, ตาย (สำหรับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์) ดู นิพพาน
ปรินิพานบริกรรม การกระทำขั้นต้นก่อนที่จะปรินิพพาน, การเตรียมปรินิพพาน ในพุทธประวัติ ได้แก่ การทรงเข้าอนุ ปุพพวิหารสมาบัติก่อนแล้วเสด็จปรินิพพาน
ปรินิพพานสมัย เวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน
ปริปุจฉา การสอบถาม, การค้นคว้า, การสืบค้นหาความรู้
ปริพาชก นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาพวกหนึ่งในชมพูทวีปชอบสัญจรไปในที่ต่างๆ สำแดงทรรศนะทาง ศาสนาปรัชญาของตน
ปริพาชิกา ปริพาชกเพศหญิง
ปริภัณฑ์ ดู สัตตบริภัณฑ์
ปริมณฑล วงรอบ, วงกลม ; เรียบร้อย
ปริยัติ พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน (โดยเฉพาะหมายเอาพระบาลีคือพระไตรปิฎก พุทธพจน์หรือพระ ธรรมวินัย) ; การเล่าเรียนพระธรรมวินัย
ปริยัติสัทธรรม ดู สัทธรรม
ปริยาย การเล่าเรื่อง, บรรยาย ; อย่าง, ทาง, นัยอ้อม, แง่
ปริยายสุทธิ ความบริสุทธิ์โดยปริยาย คือ จัดเป็นความบริสุทธิ์ได้บางแง่บางด้าน ยังไม่บริสุทธิ์สิ้นเชิง ยังมีการละ และการ บำเพ็ญอยู่ ตรงข้ามกับนิปปริยายสุทธิ ดู สุทธิ
ปริเยสนา การแสวงหา มี ๒ คือ ๑. อนริยปริเยสนา แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐตนยังมีทุกข์ ก็ยังแสวงหาสภาพที่มีทุกข์ ๒. อริยปริเยสนา แสวงหาอย่างประเสริฐ ตนมีทุกข์แต่แสวงหาสภาพที่ไม่มีทุกข์ ได้แก่นิพพาน ; สำหรับคนทั่วไปท่านอธิบาย ว่า มิจฉาอาชีวะ เป็น อนริยปริเยสนา สัมมาอาชีวะ เป็น อริยปริเยสนา
ปริโยสาน ที่สุดลงโดยรอบ, จบ, จบอย่างสมบูรณ์
ปริวัฎฎ์ หมุนเวียน, รอบ ; ญาณทัสสนะมีปริวัฏฏ์ ๓ หรือเวียนรอบ ๓ ในอริยสัจจ์ ๔ หมายถึง รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละข้อโดย สัจจญาณ กิจจญาณและกตญาณ รวม ๔ ข้อเป็น ๑๒ เรียกว่ามีอาการ ๑๒
ปริวาส การอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่าอยู่กรรม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ) อย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติ ก่อนที่ จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป, ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้ สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตนและประจานตัวเป็นต้น ; ปริวาส มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาส สโมธานปริวาส และ สุท ธันตปริวาส ; มีปริวาสอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักบวชนออกศาสนา จะต้องประพฤติก่อนที่จะบวชในพระธรรมวินัย เรียกว่า ติตถิยปริวาส ซึ่งท่านจัดเป็น อปฏิจฉันนปริวาส
ปริวิตก ความคิดนึก, คำนึง ; ไทยใช้หมายความว่านึกเป็นทุกข์หนักใจ, นึกห่วงใย
ปริสะ บริษัท, ที่ประชุมสงฆ์ผู้ทำกรรม
ปริสทูสโก ผู้ประทุษร้ายบริษัท เป็นคนพวกหนึ่งที่ถูกห้ามบรรพชา หมายถึงผู้มีรูปร่างแปลกเพื่อน เช่น สูงหรือเตี้ยจน ประหลาด ศีรษะโต หรือ หลิมเหลือเกิน เป็นต้น
ปริสวับัติ เสียเพราะบริษัท, วิบัติโดยบริษัท, บกพร่องเพราะบริษัทหมายถึงเมื่อสงฆ์จะทำสังฆกรรม ภิกษุเข้าประชุมไม่ ครบองค์กำหนด, หรือครบแต่ไม่ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมา, หรือมีผู้คัดค้านกรรมที่สงฆ์ทำ
ปริสสมบัติ ความพร้อมมูลแห่งบริษัท, ถึงพร้อมด้วยบริษัท, ความสมบูรณ์ของที่ประชุม คือ ไม่เป็นปริสวิบัติ (ตัวอย่าง ประชุมภิกษุให้ครบองค์กำหนด เช่น จะทำกฐินกรรม ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป จะให้อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๑๐ รูป เป็นต้น)
ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องปฏิบัติต่อประชุมชนนั้นๆ เช่นรู้จักว่า ประชุมชนนี้ เมื่อเข้าไป จะต้องทำกิริยาอย่างนี้จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสัปปุริสธรรม ๗)
ปริสุปัฏฐาปกะ ภิกษุผู้เป็นนิสัยมุตก์ คือ พ้นจากการถือนิสัยแล้ว มีคุณสมบัติสมควรเป็นผู้ปกครองหมู่ สงเคราะห์ บริษัทได้
ปรีชา ความรอบรู้, ความหยั่งรู้, ความกำหนดรู้
ปฤษฎางค์ อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ข้างหลัง
ปลงตก พิจารณาเห็นจริงตามสภาพของสังขาร แล้ววางใจเป็นปกติได้
ปลงบริขาร มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย เป็นการให้อย่างขาดกรรมสิทธิ์ไปทีเดียวตั้งแต่เวลานั้น (ใช้ สำหรับภิกษุผู้จะถึงมรณภาพเพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัย)
ปลงผม โกนผม (สำหรับบรรพชิต)
ปลงพระชนมายุสังขาร ดู ปลงอายุสังขาร
ปลงศพ เผาผี, จัดการเผาฝังให้เสร็จสิ้นไป
ปลงสังขาร ทอดอาลัยในกายของตนว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว
ปลงอาบัติ แสดงอาบัติเพื่อให้พ้นจากอาบัติ, ทำตนให้พ้นจากอาบัติด้วยการเปิดเผยอาบัติของตนแก่สงฆ์หรือแก่ภิกษุ อื่น, แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย, ใช้สำหรับอาบัติที่แสดงแล้วพ้นได้ คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทส นียะ ทุกกฎ และทุพภาสิต
ปลงอายุสังขาร "สลัดลงซึ่งปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ", ตกลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ, ตกลงพระทัยว่าจะปรินิพพาน, กำหนดพระทัยเกี่ยวกับที่จะปรินิพพาน (ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน)
ปละ (ปะละ) ชื่อมาตราสำหรับชั่งน้ำหนักประมาณ ๕ ชั่ง มีดังนี้
๔ เมล็ดข้าวเปลือก | ๑ กุญชา (กล่อม) | ||
๒ กุญชา | ๑ มาสก (กล่ำ) | ||
๕ มาสก | ๒ อักขะ | ||
๘ อักขะ | ๑ ธรณะ | ||
๑๐ ธรณะ | ๑ ปละ | ||
๑๐๐ ปละ | ๑ ตุลา | ||
๒๐ ตุลา | ๑ ภาระ |
หนังสือเก่าเขียนปะละ
ปลา ในโภชนะ ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑ ปลาในที่นี้หมายความรวมไปถึง หอย กุ้ง และสัตว์น้ำเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร
ปลาสะ ตีเสมอ คือยกตนเทียมท่าน (ข้อ ๖ ในอุปกิเลส ๑๖)
ปลิโพธ เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิด ความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดีมี ๑๐ อย่าง คือ ๑ อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัด หรือที่อยู่ ๒. กุลปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฎฐาก ๓. ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ ๔. คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ ๕. กรรมปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง ๖. อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื้อด้วยกิจธุระ ๗. ญาติปลิโพธ ความกังวล เกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น ๘. อาพาธปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ้ฐ ไข้ของตนเอง ๙. คันถปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ๑๐. อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของ ปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื้อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนา เท่านั้น) ในทางพระวินัยเกี่ยวกับการกรานกฐิน ปลิโพธ หมายถึงความกังวลที่เป็นเหตุให้กฐินยังไม่เดาะ (คือยังรักษา อนิสงส์กฐินและเขตแห่งจีวรกาลตามกำหนดไว้ได้) มี ๒ อย่าง คือ ๑. อาวาสปลิโพธ ความกังวลในอาวาส (ยังอยู่ในวัด นั้นหรือหลีกไปแต่ยังผูกใจว่าจะกลับมา) ๒. จีวรปลิโพธ ความกังวลในจีวร (ยังไม่ได้ทำจีวรหรือคำค้างอยู่ หรือหาย เสียในเวลาทำแต่ยังไม่สิ้นหวังว่าจะได้จีวรอีก) ถ้าสิ้นปลิโพธครบทั้งสองอย่าง จึงเป็นอันเดาะกฐิน (หมดอานิสงส์และ สิ้นเขตจีวรกาลก่อนกำหนด)
ปวัตตมังสะ เนื้อที่มีอยู่แล้ว คือเนื้อสัตว์ที่เขาขายอยู่ตามปกติสำหรับคนทั่วๆ ไป ไม่ใช่ฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาถวายพระ; ตรง ข้ามกับ อุทิสสมังสะ
ปวัตตินี คำเรียกผู้ทำหน้าที่อุปัชฌาย์ในผ่ายภิกษุณี
ปวารณา 1.ผมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ขอ 2. ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน, ชื่อสังฆกรรมที่ พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า วันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะ ก่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือน ได้ดังนี้ "สงฺฆมฺภนฺเต ปวาเรมิ, ทิฏฺเฐนวา สุเตน วา ปริสงฺ กาย วา ; วทนฺตุ มํ, อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปทาย ; ปสฺสนฺโต ปฏกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,.... ตติยมฺปิ ภนฺ เตสงฺฆิ ปวาเรมิ,...." แปลว่า "ข้าพเจ้าขอปวารณากะสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตามด้วยได้ยินก็ตามด้วยได้ยินก็ตาม ด้วยน่า ระแวงสงสัยก็ตาม, ขอท่านผู้มีอายุทั้งหายจงว่าก่าวกะข้าพเจ้าด้วยอาศัยความหวังดีเอ็นดู, เมื่อข้าพเจ้ามองเห็น จักแก้ไข แม้ครั้งที่สอง … แม้ครั้งที่สาม …" (ภิกษุผู้มีพรรษาสูงสุดในที่ประชุมว่า อาวุโส แทน ภนฺเต) ปวารณาเป็นสังฆกรรมประเภทญัตติกรรม คือ ทำโดยตั้งญัตติ (คำเผดียงสงฆ์) อย่างเดียว ไม่ต้องสวดอนุสา วนา (คำขอมติ) ; เป็นกรรมที่ต้องทำโดยสงฆ์ปัญจวรรค คือ มีภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ปวารณา ถ้าเรียกชื่อตามวันที่ทำแบ่งได้เป็น ๓ อย่าง คือ ๑. ปัณณรสิกา ปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยปกติในวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ คือวันออกพรรษา) ๒. จาตุททสิกา ปวารณา (ในกรณีที่มีเหตุสมควร ท่านอนุญาติให้เลื่อน ปวารณาออกไปปักษ์หนึ่งหนึ่งเดือนหนึ่งโดยประกาศให้สงฆ์ทราบ ถ้าเลื่อนออกไปปักษ์หนึ่งก็ตกในแรม ๑๔ ค่ำ เป็น จาตุททสิกา แต่ถ้าเลื่อนไปเดือนหนึ่งก็เป็นปัณณรสิกาอย่างข้อแรก) ๓. สามัคคีปวารณา (ปวารณาที่ทำในวันสามัคคี คือ ในวันที่สงฆ์ซึ่งแตกกันแล้วกลับปรองดองเข้ากันได้ อันเป็นกรณีพิเศษ) ถ้าแบ่งโดยการก คือ ผู้ทำปวารณาแบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ ๑. สังฆปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยสงฆ์คือ มีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป) ๒. คณปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยคณะคือมีภิกษุ ๒-๔ รูป) ๓. ปุคคลปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยบุคคลคือ มีภิกษุรูปเดียว) และโดยนัยนี้อาการที่ทำปวารณาจึงมี ๓ อย่าง คือ ๑. ปวารณาต่อที่ชุมนุม (ได้แก่ สัง)ปวารณา) ๒. ปวารณากันเอง (ได้แก่ คณปวารณา) ๓. อธิษฐานใจ (ได้แก่ ปุคคลปวารณา) ในการทำสังฆปวารณา ต้องตั้งญัตติคือ ประกาศแก่สงฆ์ก่อน แล้วภิกษุทั้งหลายจึงจะกล่าวคำปวารณาอย่างที่ แสดงไว้ข้างต้น ตามธรรมเนียมท่านให้ปวารณารูปละ ๓ หน แต่ถ้ามีอันตรายคือเหตุฉุกเฉินขัดข้องจะทำอย่างนั้นไม่ ได้ตลอด (เช่น แม้แต่ทายกมาทำบุญ) จะปวารณารูปละ ๒ ปน หรือ ๑ หน หรือ พรรษาเท่ากันว่าพร้อมกันก็ได้ ทั้งนี้ จะ ปวารณาอย่างไรก็พึงประกาศให้สงฆ์รู้ด้วยญัตติก่อนโดยนัยนี้ การตั้งญัตติในสังฆปวารณาจึงมีต่างๆ กัน ดังมีอนุญาติ ไว้ดังนี้ ๑. เตวาจิกา ญัตติ คือ จะปวารณา ๓ หน พึงตั้งญัตติว่า : สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ เตวาจิกํ ปวาเรยฺย แปลว่า ท่านเจ้าข้า ขอสง)จงฟังข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพรั่ง พร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณาอย่างกล่าววาจา ๓ หน (ถ้าเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ หรือวันสามัคคีก็พึงเปลี่ยน ปณฺณรสี เป็น จาตุทฺทสี หรือ สามคฺคี ตามลำดับ) ๒. เทฺววาจิกา ญัตติ คือจะปวารณา ๒ หน ตั้งญัตติอย่างเดียวกัน แต่ เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น เทฺววาจิกํ ๓. เอกวาจิกา ญัตติ คือ จะปวารณาหนเดียว ตั้งญัตติอย่างเดียวกันนั้น แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น เอกวาจิกํ ๔. สมานวัสสิกา ญัตติ คือ จัดให้ภิกษุที่มีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกันตั้งญัตติก็เหมือน แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น สมานวสฺสิกํ (จะว่า ๓ หน ๒ หน หรือ หนเดียวได้ทั้งนั้น) ๕. สัพพสังคาหิกา ญัตติ คือ แบบตั้งครอบทั่ว ไป ไม่ระบุว่ากี่หน ตั้งญัตติคลุมๆ โดยลงท้ายว่า …..สงฺโฆ ปวาเรยฺย (ตัดคำว่า เตวาจิกํ ออกเสีย และไม่ใส่คำใดอื่นแทน ลงไปอย่างนี้จะปวารณากี่หนก็ได้) ; ธรรมเนียมคงนิยมแต่แบบที่ ๑, ๒ และ ๔ และท่านเรียกชื่อปวารณาตามนั้นด้วยว่า เตวาจิกา ปวารณา, เทฺววาจิกา ปวารณา, สมานวัสสิกา ปวารณา ตามลำดับ ในการทำ คณปวารณา ถ้ามีภิกษุ ๓-๔ รูป พึงตั้งญัตติก่อนว่า : สุณนฺตุเม อายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, มยํ อญฺญมญฺ ญํ ปวาเรยฺยาม แปลว่า ท่านเจ้าข้า ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่ แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด (ถ้า ๓ รูปว่า อายุสฺมนฺตา แทน อายสฺมนฺโต) จากนั้นแต่ละรูปปวารณา ๓ ปน ตาม ลำดับพรรษา ดังนี้ : มี ๓ รูปว่า อหํ อาวุโสอายสฺมนฺเต ปวาเรมิ ฯเปฯ วทนฺตฺ มํอายุสมนฺเต อนุกมฺปํ อุปาทาย, ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ อาวุโส ฯเปฯ ตติยมฺปิ อาวุโส ฯเปฯ ปฏิกฺกริสฺสามิ. (ถ้ารูปอ่อนกว่าว่า เปลี่ยน อาวุโส เป็น ภนฺ เต) ; มี ๔ รูป เปลี่ยน อายุสฺมนฺเต และ อายสฺมนฺตา เป็น อายสฺมนฺโต อย่างเดียว ; ถ้ามี ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ คำปวารณา ก็เหมือนอย่างนั้น เปลี่ยนแต่ อายสฺมนฺเต เป็น อายสฺมนฺต์, อายสฺมนฺตา เป็น อายสฺมา และ วทนุตฺ เป็น วทตุ. ถ้าภิกษุอยู่รูปเดียว เธอพึงตระเตรียมสถานที่ไว้ และคอบภิกษุอื่นจนสิ้นเวลา เมื่อเห็นว่าไม่มีใครอื่นแล้วพึงทำ ปุคคลปวารณา โดยอธิษฐาน คือ กำหนดใจว่า อชฺช เม ปวารณา แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้ เหตุที่จะอ้างเพื่อเลื่อนวันปวารณาได้ คือจะมีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบปวารณาด้วย โดยหมายจะคัดค้านผู้นั้นผู้นี้ ให้เกิดอธิกรณ์ขึ้น หรืออยู่ด้วยผาสุก ถ้าปวารณาแล้วต่างก็จะจาริกจากกันไปเสีย
ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ (ข้อ ๓ ในกถาวัตถุ ๑๐)
ปสาทะ ความเลื่อมใส, ความชื่นบาน ผ่องใส, อาการที่จิดเกิดความแจ่มใสโปร่งโล่งเบิกบานปราศจากความอึดอัดขุ่นมัว ต่อ บุคคลหรือสิ่งที่พบเห็นสดับฟังหรือระลึกถึง ; มักใช้คู่กับ ศรัทธา
ปสุสัตว์, ปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง เช่นเป็ด ไก่ แพะ แกะ สุกร เป็นต้น
ปเสนทิ พระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศลครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครสาวัตถี
ปหานะ การละ, การกำจัด หมายถึง กำจัดกิเลส, ละตัณหา, กำจัดบาปอกุศลธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ข้อ ๒ ในปธาน ๔)
ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้ คือ กำหนดรู้สังขารว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนถึงขั้นละนิจจสัญญา เป็นต้น ใน สังขารนั้นได้ (ข้อ ๓ ใน ปริญญา ๓)
ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก และบาปธรรมทั้งปวง (ข้อ ๕ ในสัญญา ๑๐)
ปะละ ดู ปละ
ปกฺขหตตา ความเป็นผู้ชาไปซีกหนึ่ง ได้แก่โรคอัมพาต
ปักขคณนา, ปักษคณนา "การนับปักษ์". วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรกกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำตรงตามการโคจร ของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔ - ๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔ - ๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ คำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้น จริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกันหลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจาก ปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี +๔ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วัน เดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว) ; ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจาอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธี คำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิกา รักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติขอคณะธรรมยุตสืบมา
ปักขันทิกาพาธ โรคท้องร่วง พระสารีบุตรนิพพานด้วยโรคนี้
ปักขิกะ อาหารที่เขาถวายปักษ์ละครั้ง คือ สิบห้าวันครั้งหนึ่ง
ปักขิกภัต ดู ปักขิกะ
ปักษ์ ปีก, ฝ่าย, ข้าง, กึ่งของเดือนทางจันทรคติ คือเดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาวหมายเอาแสงเดือน สว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (ฝ่ายดำ หมายเอาเดือนมืด) ; ชุณหปักษ์ และกัณหปักษ์ก็เรียก
ปัคคหะ การยกย่อง (พจนฯ = ปัคหะ)
ปังสุกูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุล คือ ไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลมา เย็บย้อมทำจีวรเอง
ปัจจยาการ อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท
ปัจจเวรขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน, ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และ นิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) ; ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ ; ดู ญาณ ๑๖
ปัจจัตตลักษณะ ลักษณะเฉพาะตน, ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำได้ เป็นต้น, คู่กับ สามัญลักษณะ
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ พระธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ผู้อื่นไม่พลอยตามรู้ตามเห็นด้วย เหมือนรสอาหาร ผู้บริโภค เท่านั้นจึงจะรู้รสผู้ไม่ได้บริโภคจะพลอยรู้รสด้วยไม่ได้
ปัจจัตถรณะ ผ้าปูนอน, บรรจถรณ์ก็ใช้
ปัจจันตชนบท เมืองชายแดนนอก มัชฌิมชนบท ออกไป
ปัจจันตประเทศ ประเทศปลายแดน, ประเทศชายแดน, หัวเมืองชั้นนอก, ถิ่นที่ยังไม่เจริญ คือ นอกมัธยมประเทศ หรือ มัช ฌิมชนบท
ปัจจัย 1. เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุ, เครื่องหนุนให้เกิด 2. ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)
ปัจจัยปริคคหญาณ ดู นามรูปัจจัย ปริคคหญาณ
ปัจจัยปัจจเวกขณะ การพิจารณาปัจจัย, พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจับ ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภค ด้วยตัณหา (ข้อ ๔ ในปาริสุทธิศีล ๔)
ปัจจามิตร ข้าศึก, ศัตรู
ปัจจุทธรณ์ ถอนคืน คือถอนคืนผ้าที่อธิษฐานไว้ เช่น อธิษฐานสบงคือ ตั้งใจกำหนดไว้ให้เป็นสบงครอง ก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง, ตัวอย่าง ปัจจุทธรณ์สบงว่า "อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ" (เปลี่ยน อนฺตรวาสกํ เป็น สงฺฆาฏิ เป็น อุ ตฺตราสงฺคํ เป็นต้น สุดแต่ว่าจะถอนอะไร)
ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน, ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไรในเมื่อมีเหตุ หรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นต้น (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)
ปัจเจกพุทธะ พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งซึ่งตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น ดู พุทธะ
ปัจฉาสมณะ พระตามหลัง, พระผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามักทรงมีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ (คู่กับปุเรสมณะพระนำ หน้า)
ปัจฉาภัต ทีหลังฉัน, เวลาหลังอาหารหมายถึงเวลาเที่ยงไปแล้ว
ปัจฉิมกิจ ธุระที่พึงทำภายหลัง, กิจที่พึงทำตอนท้าย เช่น ปัจฉิมกิจแห่งอุปสมบทมี ๖ ได้แก่ วัดเงาแดด, บอกประมาณแห่ง ฤดู, บอกส่วนแห่งวัน, บอกสังคีติ (บอกรวบหรือบอกประมวล เช่น วัดที่บวช อุปัชฌาย์ กรรมวาจาจารย์ และจำนวนสงฆ์ เป็นต้น) บอกนิสัย ๔ และบอกอกรณียกิจ๔ (ที่รวมเรียกอนุศาสน์)
ปัจฉิมชาติ ชาติหลัง คือ ชาติสุดท้าย ไม่มีชาติใหม่หลังจากนี้อีกเพราะดับกิเลสได้สิ้นเชิงแล้ว
ปัจฉิมทัสสนะ ดูครั้งสุดท้าย, เห็นครั้งสุดท้าย
ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง หมายถึง บุตรภรรยา ดู ทิศหก
ปัจฉิมโพธิกาล โพธิกาลช่วงหลัง, ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจตอนท้ายคือ ช่วงใกล้จนถึงปรินิพพาน กำหนดคร่าวๆ ตามมหา ปรินิพพานสูตรตั้งแต่ปลงพระชนมายุสังขารถึงปรินิพพาน
ปัจฉิมภพ ภพหลัง, ภพสุดท้าย ดู ปัจฉิมชาติ
ปัจฉิมภวิกสัตว์ สัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้าย, ท่านผู้เกิดในชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย คือผู้ที่ได้บรรลุอรหัตตผลในชาตินี้
ปัจฉิมยาม ยามสุดท้าย, ช่วงสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน
ปัจฉิมวัย วัยหลัง (มีอายุระยะ ๖๗ ปี ล่วงไปแล้ว) ดู วัย
ปัจฉิมวาจา ดู ปัจฉิมโอวาท
ปัจฉิมสักขิสาวก สาวกผู้เป็นพยานการตรัสรู้องค์สุดท้าย, สาวกที่ทันเห็นองค์สุดท้าย ได้แก่ พระสุภัททะ
ปัจฉิมโอวาท คำสอนครั้งสุดท้าย หมายถึง ปัฉิมวาจา คือ พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพานว่า "วยธมฺมา สงฺยารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ" แปลว่า "สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดาท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษาหลัง ได้แก่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน๙ ; อีกนัยหนึ่งท่านสันนิษฐานว่า เป็นวันเข้าพรรษาในปีที่มีอธิกมาส (เดือน ๘ สองหน) เทียบ ปุริมิกา
ปัจฉิมิกาวัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษาหลัง ดู ปัจฉิมิกา
ปัญจกะ หมวด ๕
ปัญจกัชฌาน ฌานหมวด ๕ หมายถึง รูปฌานที่ตามปกติอย่างในพระสูตรแบ่งเป็น ๔ ขั้น แต่ในพระอภิธรรมนิยมแบ่งซอย ละเอียดออกไปเป็น ๕ ขั้น (ท่านว่าที่แบ่ง ๕ นี้ เป็นการแบ่งในกรณีที่ผู้เจริญฌานมีญาณไม่แก่กล้าจึงละวิตกและวิจารได้ทีละ องค์) ดู ฌาน ๕
ปัญจขันธ์ ขันธ์ห้า คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ปัญจพิธกามคุณ กามคุณ ๕ อย่าง คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะที่น่ารักใคร่น่าชอบใจ
ปัญจพิธพันธนะ เครื่องตรึง ๕ อย่างคือ ตรึงเหล็กอันร้อนที่มือทั้ง ๒ ข้างที่เท้าทั้ง ๒ ข้าง และที่กลางอก ซึ่งเป็นการลงโทษที่ นายนิรยบาลกระทำต่อสัตว์นรก
ปัญจเภสัช เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย
ปัญจมฌาน ฌานที่ ๕ ตามแบบที่นิยมในอภิธรรม ตรงกับฌานที่ ๔ แบบ ทั่วไป หรือแบบพระสูตร มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ดู ฌาน ๕
ปัญจมหาบริจาค ดู มหาบริจาค
ปัญจมหาวิโลกนะ ดู มหาวิโลกนะ
ปัญจมหาสุบิน ดู มหาสุบิน
ปัญจวรรค สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๕ รูป จึงจะถือว่าครบองค์ เช่นที่ใช้ในการกรานกฐิน และการอุปสมบทในปัจจันต ชนบท เป็นต้น
ปัญจวัคคีย์ พระพวก ๕ คือ อัญญาโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานาม อัสสชิ เป็นพระอรหันตสาวกรุ่นแรกของพระพุทธ เจ้า
ปัญจสติกขันธกะ ชื่อชันธกะที่ ๑๑ แห่งจุลวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องการสังคายนาครั้งที่ ๑
ปัญจังคะ เก้าอี้มีพนักด้านเดียว, เก้าอี้ไม่มีแขน
ปัญจาละ ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาลตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของแคว้นกุรุ มีแม่น้ำ ภาคีรถีซึ่งเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนไหลผ่าน นครหลวงชื่อกัมปิลละ
ปัญญา ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง ดู ไตรสิกขา, สิกขา
ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา (ข้อ ๘ ในกถาวัตถุ ๑๐)
ปัญญาขันธ์ กองปัญญา, หมวดธรรมว่าด้วยปัญญา เช่น ธรรมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม กัมมัสสกตาญาณ ความรู้ว่าสัตว์มี กรรมเป็นของตัวเป็นต้น (ข้อ ๓ ในธรรมขันธ์ ๕)
ปัญญาจักขุ, ปัญญาจักษุ จักษุคือปัญญา, ตาปัญญา ; เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณด้วยปัญญาจักขุ (ข้อ ๓ ในจักขุ ๕)
ปัญญาภาวนา ดู ภาวนา
ปัญญาวิมุต "ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา" หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน
ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผลและทำให้เจโต วิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป เทียบ เจโตวิมุตติ
ปัญญาสมวาร วันที่ ๕๐, วันที่ครอบ ๕๐
ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ และเข้าใจชีวิตนี้ตามความ เป็นจริง ที่จะไม่ให้ลุ่มหลงมักเมา (ข้อ ๔ ในธรรมที่เป็นไปเพื่อสัมปรายิกัตถะ ๔)
ปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจเหตุผล รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ตลอดจนรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ที่ถูกต้องเขียน อธิปัญญาสิกขา
ปัญหา คำถาม, ข้อสงสัย, ข้อติดขัดอัดอั้น, ข้อที่ต้องคิดต้องแก้ไข
ปัณฑกะ บัณเฑาะก์, กะเทย
ปัณฑุกะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในพวกภิกษุเหลวไหลทั้ง ๖ ที่เรียกว่า ฉัพพัคคีย์ (พระพวก ๖ ที่ชอบก่อเรื่องเสียหายทำให้พระ พุทธเจ้าต้องทรงบัญญัติสิกขาบทหลายข้อ)
ปัณฑุปลาส ใบไม้เหลือง (ใบไม้เก่า) ; คนเตรียมบวช, คนจะขอบวช
ปัณณเภสัช พืชมีใบเป็นยา, ยาทำจากใบพืช เช่น ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพรา เป็นต้น
ปัณณัตติวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือคนสามัญทำเข้าไม่เป็นความผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุ โดยฐาน ละเมิดพระบัญญํติ เช่น แนอาหารในเวลาวิกาล ขุดดินใช้จีวรที่ไม่ได้พินทุ นั่งนอนบนเตียงตั่งที่ไม่ได้ตรึงเท้าให้แน่นเป็นต้น
ปณามคาถา คาถาน้อมไหว้, คาถาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เรียกกันง่ายๆ ว่า คาถาไหว้ครู ซึ่งตามปกติ พระอาจารย์ผู้ แต่งคัมภีร์ภาษาบาลี เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ถือเป็นธรรมเนียมที่เรียบเรียงไว้เป็นเบื้องต้น ก่อนขึ้นเนื้อความของคัมภีร์ นั้นๆ ประกอบด้วยคำสรรเสริคุณพระรัตนตรัย คำบอกความมุ่งหมายในการแต่ง คำอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อาราธนา ให้แต่ง และข้อควรทราบอื่นๆ เป็นอย่างคำนำ หรือคำปรารภ
ปัตตคาหาปกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้แจกบาตร
ปัตตปิณฑิกังคะ องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ถือการฉันเฉพาะในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น (ข้อ ๖ ในธุดงค์ ๑๓)
ปัตตวรรค หมวดอาบัติกำหนดด้วยบาตร, ชื่อวรรคที่ ๓ แห่งนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยนการอนุโมทนาส่วนบุญ, ทำบุญด้วยการยินดีในการทำดีของผู้อื่น (ข้อ ๗ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)
ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ, ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (ข้อ ๖ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)
ปัปผาสะ ปอด
ปัพพชาจารย์ อาจารย์ผู้ให้บรรพชา ; เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาจารย์ จะเขียน บรรพชาจารย์ ก็ได้
ปัพพชาเปกขะ กุลบุตรผู้เพ่งบรรพชา, ผู้ตั้งใจจะบวชเป็นสามเณร, ผู้ขอบวชเป็นสามเณร ; เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชา เปกขะ
ปัพพัชชา การถือบวช, บรรพชาเป็นอุบายฝึกอบรมตนในทางสงบ เว้นจากความชั่วมีการเบียดเบียนกันและกัน เป็นต้น (ข้อ ๒ ในสัปปุรสบัญญัติ ๓)
ปัพพาชนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงจะไล่เสีย, การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด, กรรมนี้สงฆ์ทำ แก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลและประพฤติเลวทรามเป็นข่าวเซ็งแซ่หรือแก่ภิกษุผู้เล่นคะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้างพระ บัญญัติ ๑ มิจฉาชีพ ๑ (ข้อ ๓ ในนิคหกรรม ๖)
ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ (ข้อ ๕ ในโพชฌงค์ ๗)
ปัสสาวะ เบา, เยี่ยว, มูตร
ปัสสาสะ ลมหายใจออก
ปาจิตติยุทเทส หมวดแห่งปาจิตติยสิกขาบท ที่ยกขึ้นแสดง คือที่สวดในปาฏิโมกข์
ปาจิตตีย์ แปลตามตัวอักษะว่า การละเมิดอันยังกุศลให้ตก, ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่ง จัดไว้ในจำพวกอาบัติเบาเรียก ลหุกาบัติ พ้นได้ด้วยการแสดง ; เป็นชื่อสิกขาบท ได้แก่ นิสสัคคิบปาจิตตีย์ ๓๐ และสุทธิกปาจิตตีย์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า ปาจิตตีย์ อีก ๙๒ ภิกษุล่วงละเมิด สิกขาบท ๑๒๒ ข้อเหล่านี้ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เช่น ภิกษุพูดปด ฆ่าสัตว์ ดิรัจฉาน ว่ายน้ำเล่น เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดู อาบัติ
ปาจีน ทางทิศตะวันออก, ชาวตะวันออก ดู ชาวปาจีน
ปาจีนทิศ ทิศตะวันออก
ปาฐา ชื่อเมืองหนึ่งในมัธยมประเทศครั้งพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองนี้คณะหนึ่ง เป็นเหตุปรารภให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการ กรานกฐิน ; พระไตรปิฎกบางฉบับเขียนเป็น ปาวา
ปาฎลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ปาฏิเทศนีย "จะพึงแสดงคืน", อาบัติที่จะพึงแสดงคืน เป็นชื่อลหุกาบัติ คือ อาบัติเบาอย่างหนึ่งถัดรองมาจากปาจิตตีย์ และ เป็นชื่อสิกขาบท ๔ ข้อซึ่งแปลได้ว่า พึงปรับด้วยอาบัติปาฏิเทศนียะ เช่น ภิกษุรับของเคี้ยวของฉัน จากมือของภิกษุรับของ เคี้ยวของฉัน จากมือของภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ด้วยมือของตน มาบริโภค ต้องอาบัติปาฏิเทศนียะ ดู อาบัติ
ปาฏิบท วันขึ้นค่ำหนึ่ง หรือวันแรมค่ำหนึ่ง แต่มักหมายถึงอย่างหลัง คือแรมค่ำหนึ่ง
ปาฏิบุคลิก ดู ปาฏิปุคคลิก
ปาฏิปทิกะ อาหารถวายในวันปาฏิบท
ปาฏิปุคคลิก เฉพาะบุคคล, ไม่ทั่วไป, ถวายเป็นส่วนปาฏิปุคคลิก คือ ถวายเจาะจงบุคคลไม่ใช่ถวายแก่สงฆ์
ปาฏิโมกข์ ชื่อคัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณาได้แก่อาทิพรหมจรยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาต ให้ สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า พระสงฆ์ทำอุโบสถ, คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ (พจจนานุกรมเขียน ปาติโมกข์)
ปาฏิโมกข์ย่อ มีพุทธานุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้ ในเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ไม่มีภิกษุ จำปาฏิโมกข์ได้จนจบ (พึ่งสวดเท่าอุเทศที่จำได้) ๒. เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่าอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้ง ๑๐ (กำลังสวดอุเทศใดค้างอยู่เลิกอุเทศนั้นกลางคันได้ และพึ่งย่อตั้งแต่อุเทศนั้นไปด้วยสุตบท คือ คำว่า "สุต" ที่ประกอบรูป เป็น สุตา ตามไวยากรณ์ ทั้งนี้ยกเว้นนิทานุทเทสซึ่งต้องสวดให้จบ) สมมติว่าสวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว ถ้าสวดย่อตามแบบที่ท่านวางไว้จะได้ดังนี้ : สุตา โข อายุสฺมนฺเตหิ เตรส สงฺฆาทิ เสสา ธมฺมา, สุตา โข อายุสฺมนฺเตหิ เทฺว อนิยตา ธมฺมา, ฯเปฯ ลงท้ายว่า เอตฺตกํ ตสฺส ภควโต ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ แบบที่วางไว้เดิมนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไม่ทรงเห็นด้วยในบางประการและทรงมี พระมติว่าควรสวดย่อดังนี้ (สวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว สวดคำท้ายที่เดียว) : อุทฺทิฏฺฐํ โข อายสฺมนฺโต นิทานํ, อุทฺทิฏฺฐา จตฺตา โร ปาราชิกา ธมฺมา, สุตา เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา, ฯเปฯ สุตา สตฺตาธิกรณสมถา ธมฺมา, เอกตฺตกํ ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ. ดู อันตราย ๑๐
ปาฎิโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์อนุญาต (ข้อ ๑ ในปาริสุทธิศีล ๔)
ปาฏิหาริย์ สิ่งที่น่าอัศจรรย์, เรื่องที่น่าอัศจรรย์ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์มี ๓ คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ ได้เป็นอัศจรรย์ ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ทายใจได้เป็นอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์ ใน ๓ อย่างนี้ข้อสุดท้ายดีเยี่ยมเป็นประเสริฐ
ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป, ฆ่าสัตว์
ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง, เว้นจากการฆ่าสัตว์ (ข้อ ๑ ในศีล ๕ ฯลฯ)
ปาตลีบุตร ชื่อเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช ; เขียนปาฏลีบุตร ก็มี
ปาตาละ นรก, บาดาล (เป็นคำที่พวกพราหมณ์ใช้เรียกนรก)
ปาติโมกข์ ดู ปาฏิโมกข์
ปาทุกา รองเท้าประเภทหนึ่ง แปลกันมาว่า เขียงเท้า เป็นรองเท้าที่ต้องห้ามทางพระวินัย อันภิกษุไม่พึงใช้ ดู รองเท้า
ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ ๑. อมฺพปานํ น้ำ มะม่วง ๒. ชมฺพุหานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด ๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร) ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น ๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง) วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุด เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลง ไปพอให้ได้รสดีข้อจำกัดที่พึงทราบคือ ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ (ข้อนี้พระมิตสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรฐาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ) ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล (ถ้าภิกษุทำถือ เป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล) ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้ มาใช้ (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)
ปาปโรโค คนเป็นโรคเลวร้าย, บางที่แปลว่า โรคเป็นผลแห่งบาป อรรถกถาว่าได้แก่โรคเรื้อรัง เช่น ริดสีดวงกล่อน เป็นต้น เป็นโรคที่ห้ามไม่ให้รับบรรพชา
ปาปสมาจาร ความประพฤติเหลวไหลเลวทราม ชอบสมคบกับคฤหัสถ์ด้วยการอันมิชอบ ที่เรียกว่าประทุษร้าย สกุล ดู กุลทูสก
ปาพจน์ คำเป็นประธาน หมายถึงพระพุทธพจน์ ซึ่งได้แก่ธรรมและวินัย
ปายาส ข้าวสุกที่หุงด้วยนมโค นางสุชาดาถวายแก่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าของวันที่พระองค์จะได้ตรัสรู้
ปาราชิก เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่า มนุษย์อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน
ปาริจริยานุตตริยะ การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคตและตถาคตสาวกอันประเสริฐกว่า การที่จะบูชาไฟ หรือบำรุงบำเรออย่างอื่น เพราะช่วยให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง (ข้อ ๕ ในอนุตตริยะ ๖)
ปาริฉัตตก์ "ต้นทองหลาง" ,ชื่อต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในส่วนนันทวันของพระอินทร์; ปาริฉัตร หรือ ปาริชาต
ปาริเลยยกะ ชื่อแดนบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองโกส้มพีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวันด้วยทรงปลีกพระองค์ จากพระสงฆ์ผู้แตกกันในกรุงโกสัมพี; ช้างที่ปฏิบัติพระพุทธเจ้าที่ป่านั้น ก็ชื่อ ปาริเลยยกะ; เราเรียกกันในภาษาไทยว่า ปาเล ไลยก์ก็มีป่าเลไลยก์ ก็มี ควรเขียน ปาริไลยก์ หรือปาเรไลยก์
ปาริวาสิกขันธก ชื่อขันธกะที่ ๒ แห่งจุลวรรค ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องภิกษุอยู่ปริวาส
ปาริวาสิกภิกษุ ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ดู ปริวาส
ปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์ของภิกษุ; เป็นธรรมเนียมว่า ถ้ามีภิกษุอาพาธอยู่ในสีมาเดียวกัน เมื่อถึงวันอุโบสถไม่สามารถไปร่วม ประชุมได้ ภิกษุผู้อาพาธต้องมอบปาริสุทธิแก่ภิกษุรูปหนึ่งมาแจ้งแก่สงฆ์ คือให้นำความมาแจ้งแก่สงฆ์ว่าตนมีความบริสุทธ์ ทางพระวินัยไม่มีอาบัติติดค้าง หรือในวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่เพียงสองหรือสามรูป (คือเป็นเพียงคณะ) ไม่ครบองค์สงฆ์ที่จะ สวดปาฏิโมกข์ได้ ก็ให้ภิกษุสองหรือสามรูปนั้นบอกความบริสุทธิ์แก่กันแทนการสวดปาฏิโมกข์
ปาริสุทธิศีล ศีลเป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์, ศีลเป็นเหตุให้บริสุทธิ์ หรือความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีลมี ๔ อย่างคือ ๑. ปาฏิ โมกขสังวรศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๒. อินทรียสังวรศีล สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๓. อาชีวปาริสุทธ ศีล เลี้ยงชีพโดยทางที่ชอบธรรม ๔. ปัจจัยสันนิสิตศีล พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช
ปาริสุทธิอุโบสถ อุโบสถที่ภิกษุทำปาริสุทธิ คือแจ้งแต่ความบริสุทธิ์ของกันและกัน ไม่ต้องสวดปาฏิโมกข์ปาริสุทธิอุโบสถนี้ กระทำเมื่อมีภิกษุปาริสุทธิอุโบสถนี้ กระทำเมื่อมีภิกษุอยู่ในวันเพียงเป็นคณะ คือ ๒-๓ รูปไม่ครบองค์สงฆ์ ๔ รูป
ถ้ามีภิกษุ ๓ รูปพึงประชุมกันในโรงอุโบสถแล้ว รูปหนึ่งตั้งญัตติดังนี้ : สุณนฺตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา, อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, มยํ อญฺมญฺยํ ปาริสุทฺธิ อุโปสถํ กเรยฺยาม. แปลว่า : ท่านทั้งหลาย อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านถึงที่แล้ว เราทั้งหลายถึงทำปาริสุทธิอุโบสถด้วยกัน (ถ้ารูปที่ตั้งญัตติแก่กว่าเพื่อนว่า อาวุโส แทน ภนเต,ฺ ถ้าเป็นวัน ๑๔ ค่ำ ว่า จาตุทฺโธ อหํ อาวุโส, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ (๓ หน) แปลว่า : ฉันบริสุทธิ์แล้วเธอ ขอเธอทั้งหลายจงจำฉันว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว อีก ๒ รูปพึงทำอย่างเดียวกันนั้นตามลำดับพรรษาคำ บอกเปลี่ยนเฉพาะ อาวุโส เป็น ภนฺเต แปลว่า ผมบริสุทธิ์แล้วขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว ถ้ามี ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติพึงบอกปาริสุทธิแก่กัน ผู้แก่ว่า : ปริสุทฺโธ อหํ อาวุโส, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ (๓หน) ดู อุโบสถ
ปาวา นครหลวงของแคว้นมัลละ คู่กับกุสินารา คือนครหลวงเดิมของแคว้นมัลละชื่อกุสาวดี แต่ภายหลังแยกเป็นกุสินารา กับ ปาวา
ปาวาริกัมพวัน ดู นาลันทา
ปาวาลเจดีย์ ชื่อเจดียสถานอยู่ที่เมืองเวสาลี พระพุทธเจ้าทรงทำนมิตตํโอภาสครั้งสุดท้ายและทรงปลงพระชนมายุสังขาร ณ เจดีย์นี้ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน
ปาสราสิสูตร ชื่อสูตรที่ ๒๖ ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก; เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อริยปริเยสนสูตร เพราะว่าด้วย อริยปริเยสนา
ปาสาณเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นมคธ มาณพ ๑๖ คนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ได้เฝ้าพระศาสดาและทูล ถามปัญหา ณ ที่นี้
ปาสาทิกสูตร ชื่อสูตรที่ ๖ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก
ปาหุเนยฺโย ผู้ควรแก่ของต้อนรับ, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับของต้อนรับคือของสำหรับรับแขกที่ควรถวายเมื่อไปถึงเบ้านเช่น น้ำดื่ม อาหาร เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสังฆคุณ ๙)
ปิงคิยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
ปิฎก ตามศัพท์แปลว่า กระจาด หรือตระกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของต่างๆ เอามาใช้ในความหมายเห็นที่รวบรวมคำ สอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว มี ๓ คือ ๑. วินัยปิฏก รวบรวมพระวินัย ๒. สุตตันตปิฏก รวบรวมพระสูตร ๓. อภิธรรมปิฏก รวบรวมพระอภิธรรม เรียกรวมกันว่าพระไตรปิฎก (ปิฎก ๓) ดู ไตรปิฏก
ปิณฑปาติกธุดงค์ องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสแห่งภิกษุเป็นต้นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร หมายถึง ปิณฑปาติกังคะนั่นเอง
ปิณฑปาติกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์ หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่ บิณฑบาตมาได้ (ข้อ ๓ ในธุดงค์ ๑๓)
ปิณโฑล ภารทวาชะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลภารทวาชโคตร ในพระนครราชคฤห์ เรียนจบไตร เพท ออกบวชในพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จพระอรหัต เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา มักเปล่งวาจาว่า "ผู้ใดมีความ เคลือบแคลงสงสัยในมรรคก็ดี ผลก็ดี ขอผู้นั้นจงมาถามข้างเจ้าเถิด" พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางบันลึกสี หนาท
ปิตฺตสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้มีดีเป็นสมุฏฐาน
ปิตตะ น้ำดี, น้ำจากต่อมตับ, โรคดีเดือด
ปิตุฆาต ฆ่าบิดา (ข้อ ๒ ในอนันตริยกรรม ๕)
ปิปผลิ, ปิปผลิมาณพ ชื่อของพระมหากัสสปเถระ เมื่อก่อนออกบวช ส่วนกัสสปะ เป็นชื่อที่เรียกตามโคตร
ปิปาสวินโย ความนำออกไปเสียซึ่งความกระหาย, กำจัดความกระหาย คือ ตัณหาได้ (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)
ปิยรูป สาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจมุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหามี ๑๐ หมวดๆ ละ ๖ อย่าง คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะ ภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนา เป็นต้น ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น
ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก, พูดจากน่ารักน่านิยมนับถือ, วาจาน่ารัก, วาจาที่กล่าวด้วยจิตเมตตา, คำที่พูดด้วยความรักความ ปรารถนาดี เช่น คำพูดสุภาพอ่อนโยน คำแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี ดู สังคหวัตถุ
ปิยารมณ์ อารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่น่าปรารถนา น่าชอบใจ เช่น รูปที่สวยงาม เป็นต้น
ปิลินทวัจฉะ พระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในตระกูลพรามหมณ์วัจฉโคตร ในเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ พุทธเจ้า มีศรัทธาเลื่อมใสออกบวชในพระพุทธศาสนา เจริญวิปัสสนาแล้วได้บรรลุอรหัตตผล ต่อมาได้รับยกย่องว่าเป็น เอตทัคคะในทางเป็นที่รักของพวกเทวดา
ปิลินทวัจฉคาม ชื่อหมู่บ้านของคนงานวัดจำนวน ๕๐๐ ที่พระเจ้าพิมพิสาร พระราชทานให้เป็นผู้ช่วยทำที่อยู่ของพระปิลินท วัจฉะ
ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด, เว้นจากพูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ข้อ ๕ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)
ปิสุณาวาจา วาจาส่อเสียด, พูดส่อเสียด, พูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ข้อ ๕ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
ปิหกะ ไต
ปีติ ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ ๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล ๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึก แปลบๆ ดุจฟ้าแลบ ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง ๔. อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบา หรืออุทานออกมา ๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ
ปีฬก พุพอง, ฝี. ต่อม
ปุกกุสะ บุตรของกษัตริย์มัลละ เป็นศิษย์ของอาฬารดาบส กาลามโคตรได้ถวายผ้าสิงคิวรรณแด่พระพุทธเจ้าในวันปรินิพพาน
ปุคคลสัมมุขตา ความเป็นต่อหน้าบุคคล, ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่าคู่วิวาทอยู่พร้อมหน้ากัน
ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ รู้ความแตกต่างแห่งบุคคล ว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เป็น อย่างไร ควรคบควรใช้ควรสอนอย่างไร (ข้อ ๗ ในสัปปุริสธรรม ๗)
ปุคคลิก ดู บุคลิก
ปุจฉา ถาม, คำถาม
ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่กุศลเจตนา (เฉพาะที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร) (ข้อ ๑ ในอภิสังขาร ๓)
ปุณณกมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
ปุณณชิ บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีเป็นสหายของยสกุลบุตจร ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตามพร้อมด้วย สหายอีก ๓ คน คือ วิมละ สุพาหุ และควัมปติ ได้เป็นองค์หนึ่ง ในอสีติมหาสาวก
ปุณณมันตานีบุตร พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ได้ชื่อย่างนี้ เพราะเดิมชื่อปุณณะเป็นบุตรของนางมันตานี ท่านเกิดในตระกูล พราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นหลานของพระอัญญาโกณทัญญะ ได้ บรรพชาเมื่อพระเถระผู้เป็นลุงเดินทางมายังเมืองกบิลพัสดุ์ บวชแล้วไม่นานก็บรรลุอรหัตตผลเป็นผู้ปฏิบัติตนตามหลักกถา วัตถุ ๑๐ และสอนศิษย์ของตนให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาพระธรรมกถึก หลักธรรม เรื่องวิสุทธิ ๗ ก็เป็นภาษิตของท่าน
ปุณณมาณพ คือพระปุณณมันตานีบุตรเมื่อก่อนบวช
ปุตตะ เป็นชื่อนรกขุมหนึ่งของลัทธิพราหมณ์ พวกพราหมณ์ถือว่าชายใดไม่มีลูกชาย ชายนั้นตายไปต้องตกนรกขุม "ปุตตะ" ถ้ามีลูกชาย ลูกชายนั้นช่วยป้องกันไม่ให้ตกนรกขุมนั้นได้ศัพท์ว่า บุตร จึงใช้เป็นคำเรียกลูกชายสืบมา แปลว่า ลูกผู้ป้องกัน พ่อจากขุมนรก ปุตตะ
ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆ ไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคล หรือ พระอริยะ
ปุนัพพสุกะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งอยุ่ในภิกษุเหลวไห ๖ รูป ที่เรียกว่าพระฉัพพัคคีย์คู่กับพระอัสสชิ
ปุปผวิกัติ ดอกไม้ที่แต่งเป็นชนิดต่างๆ เช่น ร้อยตรึง ร้อยคุม ร้อยเสียบ ร้อยผูก ร้อยลง ร้อยกรอง เป็นต้น
ปุพพเปตพลี การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย (ข้อ ๓ ในพลี ๕ แห่งโภคอาทิยะ ๕)
ปุพพัณณะ ดู บุพพัณณะ
ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในก่อน, ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนแล้ว (ข้อ ๔ ในจักร ๔)
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓, ข้อ๔ ใน อภิญญา ๖, ข้อ ๖ ในวิชชา ๘, ข้อ ๘ ในทศพลญาณ)
ปุรณมี วันเพ็ญ, วันพระจันทร์เต็มดวง, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
ปุรัตถิมทิศ ทิศเบื้องหน้า หมายถึงมารดาบิดา ดู ทิศหก
ปุราณจีวร จีวรเก่า
ปุราณชฎิล พระเถระสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวาร คือ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป ซึ่งเคยเป็นชฏิลมาก่อน
ปุริมกาล เรื่องราวในพุทธประวัติที่มีขึ้นในกาลก่อนแต่บำเพ็ญพุทธกิจ
ปุริมพรรษา พรรษาต้น เริ่มแต่วันแรมค่ำหนึ่งเดือนแปด ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป เป็นเวลา ๓ เดือนคือถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
ปุริมิกา วันเข้าพรรษาต้น ได้แก่วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ เทียบ ปัจฉิมิกา
ปุริสภาวะ ความเป็นบุรุษ หมายถึง ภาวะอันให้ปรากฎมีลักษณะอาการต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นเพศชาย
ปุริสเมธ ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่งของผู้ปกครอง บ้านเมือง
ปุริสสัพพนาม คำทางไวยากรณ์ หมายถึงคำแทนชื่อเพื่อกันความซ้ำซาก ในภาษาบาลีหมายถึง ต, ตุมฺห, อมฺห, ศัพท์ในภาษา ไทย เช่น ฉัน, ผม, ท่าน, เธอ, เขา, มัน เป็นต้น
ปุเรสมณะ พระนำหน้า คู่กับปัจฉาสมณะ พระตามหลัง
ปุเรภัต ก่อนภัต, ก่อนอาหาร หมายถึงเวลาก่อนฉันของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้แกต่เมื่อพูดอย่างกว้าง หมายถึง ก่อนหมดเวลา ฉัน คือ เวลาเช้าจนถึงเที่ยง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ภิกษุฉันอาหารได้
ปุโรหิต พราหมณ์ผู้เป็นที่ปรึกษาของพระราชา,
ปุสสมาส เดือน ๒, เดือนยี่
ปูชนียบุคคล บุคคลที่ควรบูชา
ปูชนียวัตถุ วัตถุที่ควรบูชา
ปูชนียสถาน สถานที่ควรบูชา
เปรต 1. ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว, คนที่ตายไปแล้ว 2. สัตว์จำพวกหนึ่งซึ่งเกิดอยู่ในอบายชั้นที่เรียกว่า ปิติวิสัยหรือเปตติวิสัย ได้รับ ความทุกข์ทรมาน เพราะไม่มีอาหารจะกิน แม้เมื่อมีก็กินไม่ได้ หรือกินได้โดยยาก
เปลี่ยวดำ หนาวอย่างใหญ่, โรคอย่างหนึ่งเกิดจากความเย็นมาก
เปสละ ภิกษุผัมีศีลเป็นที่รัก, ภิกษุผู้มีความประพฤติดีน่านิยมนับถือ
เปสุญญวาท ถ้อยคำส่อเสียด ดู ปิสุณาวาจา
โปตลิ นครหลวงของแคว้นอัสสกะ อยู่ลุ่มน้ำโคธาวรี ทิศเหนือแห่งแคว้นอวันดี
โปสาลมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์
ทดสอบระบบค้นข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น