Google Analytics 4




พจนานุกรมพุทธศาสน์ ผ-พ-ฟ-ภ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หรือ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ออนไลน์

ผทม นอน (สำหรับเจ้า)

ผนวช บวช (สำหรับเจ้า)

ผรณาปีติ ความอิ่มใจซาบซ่าน เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซาบซ่านทั่วสารพางค์ (ข้อ ๕ ในปีติ ๕)

ผรุสวาจา วาจาหยาบ, คำพูดเผ็ดร้อน, คำหยาบคาย (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ (ข้อ ๖ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

ผล สิ่งที่เกิดจากเหตุ, ประโยชน์ที่ได้; ชื่อแห่งโลกุตตรธรรมคู่กับมรรค และเป็นผลแห่งมรรค มี ๔ ชั้น คือโสดาปัตติ- ผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑

ผลญาณ ญาณในอริยผล, ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจากมัคคญาณและเป็นผลแห่งมัคคญาณนั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้วได้ชื่อ ว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มีโสดาบัน เป็นต้น ; ดู ญาณ ๑๖

ผลภาชกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกผลไม้

ผลเภสัช มีผลเป็นยา, ยาทำจากลูกไม้ เช่น ดีปลี พริก สมอไทย มะขามป้อม เป็นต้น

ผลเหตุสนธิ ต่อผลเข้ากับเหตุ หมายถึงเงื่อนต่อระหว่างผลในปัจจุบัน กับเหตุในปัจจุบัน ในวงจรปฏิจจสมุปบาท คือ ระหว่างวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ข้างหนึ่ง (ฝ่ายผล) กับตัณหา อุปาทาน ภพ อีกข้างหนึ่ง (ฝ่ายเหตุ)

ผลาสโว ผลาสวะ, น้ำดองผลไม้

ผะเดียง ดู เผดียง

ผัคคุณมาส เดือน ๔

ผัสสะ การถูกต้อง, การกระทบ; ผัสสะ ๖ ดู สัมผัส

ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ, ผัสสะเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดเวทนา ได้แก่ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณกระทบกัน ทำให้เกิดเวทนา คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นอุเบกขาบ้าง (ข้อ ๒ ในอาหาร ๔)

ผ้ากฐิน ผ้าผืนหนึ่งที่ใช้เป็นองค์กฐินสำหรับกราน แต่บางทีพูดคลุมๆ หมายถึงผ้าทั้งหมดที่ถวายพระในพิธีทอดกฐิน, เพื่อกันความสับสน จึงเรียกแยกเป็นองค์กฐิน หรือผ้าองค์กฐินอย่างหนึ่ง กับผ้าบริวารหรือผ้าบริวารกฐินอีกอย่างหนึ่ง ดู กฐิน

ผ้ากรองน้ำ ผ้าสำหรับกรองน้ำกันตัวสัตว์ ดู ธมกรก

ผ้ากาสายะ ดู กาสาวะ

ผ้ากาสาวะ ดู กาสาวะ

ผ้าจำนำพรรษา ผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล; เรียกเป็นคำศัพท์ ผ้าวัสสาวาสิกา วัสสาวาสิกสาฎก หรือ วัสสาวาสิกสาฏิกา; ดู อัจเจกจีวร

ผาณิต รสหวานเกิดแต่อ้อย, น้ำอ้อย (ข้อ ๕ ในเภสัช ๕)

ผาติกรรม การทำให้เจริญ หมายถึงการจำหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างหนึ่งอย่างใด โดยเอาของเลวแลก เปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทำของสงฆ์ชำรุดไป, รื้อของที่ไม่ดี ออกทำให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทำอย่างอื่นแล้ว สร้างวัดถวายให้ใหม่; การชดใช้, การทดแทน

ผ้าไตร, ผ้าไตรจีวร ดู ไตรจีวร

ผ้าทรงสะพัก ผ้าห่มเฉียงบ่า

ผ้าทิพย์ ผ้าห้อยหน้าตักพระพุทธรูป (โดยมากเป็นปูนปั้นมีลายต่างๆ)

ผ้านิสีทนะ ดู นิสีทนะ

ผ้าบริวาร ผ้าสมทบ ดู บริวาร

ผ้าบังสุกุล ดู บังสุกุล

ผ้าป่า ผ้าที่ทายกถวายแก่พระโดยวิธีปล่อยทิ้งให้พระมาชักเอาไปเอง อย่างเป็นผ้าบังสุกุล, ตามธรรมเนียมจะถวาย หลังเทศกาลกฐินออกไป; คำถวายผ้าป่าว่า “อิมานิ มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย” แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุ สงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้น กาลนานเทอญฯ

ผ้าวัสสาวาสิกสาฏิกา ดู ผ้าจำนำพรรษา

ผ้าวัสสิกสาฏิกา ดู ผ้าอาบน้ำฝน

ผ้าสาฏิกา ผ้าคลุม, ผ้าห่ม

ผาสุก ความสบาย, ความสำราญ

ผาสุวิหารธรรม ธรรมเป็นเครื่องอยู่สบาย

ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะ เวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และให้ทำนุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘; เรียกเป็นคำ ศัพท์ว่า วัสสิกสาฏิกา หรือ วัสสิกสาฎก; คำถวายผ้าอาบน้ำฝนเหมือนคำถวายผ้าป่า เปลี่ยนแต่ ปํสุกุลจีวรานิ เป็น วสฺสิก สาฏิกานิ และผ้าบังสุกุลจีวรเป็นผ้าอาบน้ำฝน

ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท

เผดียง บอกแจ้งให้รู้, บอกนิมนต์, บอกกล่าวหรือประกาศเชื้อเชิญเพื่อให้ร่วมทำกิจโดยพร้อมเพรียงกัน; ประเดียง ก็ ว่า ดู ญัตติ

แผ่เมตตา ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข; คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ แปลว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น, (จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด), อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด), อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย, (จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด), อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย, จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด. (ข้อ ความในวงเล็บเป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นไทย) ผู้เจริญเมตตาธรรมอยู่เสมอ จนจิตมั่นในเมตตา มีเมตตาเป็นคุณสมบัติประจำใจ จะได้รับอานิสงส์ คือผลดี ๑๑ ประการ คือ ๑. หลับก็เป็นสุข ๒. ตื่นก็เป็นสุข ๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๕. เป็นที่รักของ อมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาย่อมรักษา ๗. ไม่ต้องภัยจากไฟ ยาพิษหรือศัสตราอาวุธ ๘. จิตเป็นสมาธิง่าย ๙. สีหน้าผ่อง ใส ๑๐. เมื่อจะตาย ใจก็สงบ ไม่หลงใหลไร้สติ ๑๑. ถ้ายังไม่บรรลุคุณพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น (ข้อ ๕ ในอายตนะภาย นอก ๖ และในกามคุณ ๕)

พยัญชนะ อักษร, ตัวหนังสือที่ไม่ใช่สระ; กับข้าวนอกจากแกง คู่กับสูปะ; ลักษณะของร่างกาย

พยากรณ์ ทาย, ทำนาย, คาดการณ์; ทำให้แจ้งชัด, ตอบปัญหา

พยากรณศาสตร์ วิชาหรือตำราว่าด้วยการทำนาย

พยาธิ ความเจ็บไข้

พยาน ผู้รู้เห็นเหตุการณ์, คน เอกสาร หรือสิ่งของที่อ้างเป็นหลักฐาน

พยาบาท ความขัดเคืองแค้นใจ, ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย, ตรงข้ามกับเมตตา; ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิด แก้แค้น

พยาบาทวิตก ความตริตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น, ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา (ข้อ ๒ ใน อกุศลวิตก ๓)

พยุหแสนยากร กองทัพ

พร คำแสดงความปรารถนาดี, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์; ดู จตุรพิธพร

พรต ข้อปฏิบัติทางศาสนา, ธรรมเนียมความประพฤติของผู้ถือศาสนาที่คู่กันกับศีล, วัตร, ข้อปฏิบัติประจำ

พรรณนา เล่าความ, ขยายความ, กล่าวถ้อยคำให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ

พรรษกาล ฤดูฝน (พจนานุกรมเขียนพรรษากาล)

พรรษา ฤดูฝน, ปี, ปีของระยะเวลาที่บวช

พรรษาธิษฐาน อธิษฐานพรรษา, กำหนดใจว่าจะจำพรรษา ดู จำพรรษา

พรหม ผู้ประเสริฐ, เทพในพรหมโลกเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม มี ๒ พวก คือรูปพรหมมี ๑๖ ชั้น อรูปพรหมมี ๔ ชั้น ดู พรหมโลก; เทพสูงสุดหรือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์

พรหมจรรย์ การศึกษาพระเวท, การบวชซึ่งละเว้นเมถุน, การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน, การประพฤติธรรมอัน ประเสริฐ, การครองชีวิตประเสริฐ, มรรค, พระศาสนา

พรหมจารี ผู้ประพฤติพรหมจารย์, นักเรียนพระเวท, ผู้ประพฤติธรรมมีเว้นจากเมถุน เป็นต้น

พรหมทัณฑ์ โทษอย่างสูง คือ สงฆ์ตกลงกันลงโทษภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยภิกษุทั้งหลายพร้อมใจกันไม่พูดด้วย ไม่ว่า กล่าวตักเตือน หรือสั่งสอนภิกษุรูปนั้น, พระฉันนะซึ่งเป็นพระเจ้าพยศ ถือตัวว่าเป็นคนเก่าใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามา ก่อนใครอื่น ใครว่าไม่ฟัง ภายหลังถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ถึงกับเป็นลมล้มสลบหายพยศได้

พรหมไทย ของอันพรหมประทาน, ของให้ที่ประเสริฐสุด หมายถึง ที่ดินหรือบ้านเมืองที่พระราชทานเป็นบำเหน็จ เช่น เมืองอุกกุฏฐะที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานแก่โปกขรสาติพราหมณ์ และนครจัมปาที่พระเจ้าพิมพิสารพระ ราชทานให้โสณทัณฑพราหมณ์ปกครอง

พรหมบุญ บุญอย่างสูง เป็นคำแสดงอานิสงส์ของผู้ชักนำให้สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน ได้พรหมบุญจักแช่มชื่นใน สวรรค์ตลอดกัลป์

พรหมโลก ที่อยู่ของพรหม ตามปกติหมายถึงรูปพรหม ซึ่งมี ๑๖ ชั้น (เรียกว่า รูปโลก) ตามลำดับดังนี้ ๑. พรหมปาริ สัชชา ๒. พรหมปุโรหิตา ๓. มหาพรหมา ๔. ปริตตาภา ๕. อัปปมาณาภา ๖. อาภัสสรา ๗. ปริตตสุภา ๘. อัปปมาณ สุภา ๙. สุภกิณหา ๑๐. อสัญญีสัตตา ๑๑. เวหัปผลา ๑๒. อวิหา ๑๓. อตัปปา ๑๔. สุทัสสา ๑๕. สุทัสสี ๑๖. อกนิฏฐา; นอกจากนี้ยังมี อรูปพรหม ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ชั้น (เรียกว่าอรูปโลก) คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ ๒. วิญญาณัญจายตนะ ๓. อากิญจัญญายตนะ ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

พรหมวิหาร ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ, ธรรมประจำใจของท่านผู้มีคุณความดียิ่ง ใหญ่มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

พรหมายุ ชื่อพราหมณ์คนหนึ่ง อายุ ๑๒๐ ปี เป็นผู้เชี่ยวชาญไตรเพท อยู่ ณ เมืองมิถิลา ในแคว้นวิเทหะ ได้ส่งศิษย์มา ตรวจดูมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธเจ้า ต่อมาได้พบกับพระพุทธเจ้า ทูลถามปัญหาต่างๆ มีความเลื่อมใส และได้บรรลุ ธรรมเป็นพระอนาคามี

พร้อมหน้าธรรมวินัย (ระงับอธิกรณ์) โดยนำเอาธรรมวินัย และสัตถุสาสน์ที่เป็นหลักสำหรับระงับอธิกรณ์นั้นมาใช้โดย ครบถ้วน คือวินิจฉัยถูกต้องโดยธรรมและถูกต้องโดยวินัย (ธัมมสัมมุขตา วินยสัมมุขตา)

พร้อมหน้าบุคคล บุคคลผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน เช่น คู่วิวาทหรือคู่ความพร้อมหน้ากันในวิวาทาธิกรณ์ และในอนุวาทาธิกรณ์ เป็นต้น (ปุคคลสัมมุขตา)

พร้อมหน้าวัตถุ ยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้นพิจารณาวินิจฉัย เช่น คำกล่าวโจทเพื่อเริ่มเรื่อง และข้อวิวาทที่ยกขึ้นแถลง เป็นต้น (วัตถุสัมมุขตา)

พร้อมหน้าสงฆ์ ต่อหน้าภิกษุเข้าประชุมครบองค์ และได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมาแล้ว (สังฆสัมมุขตา)

พระโคดม, พระโคตมะ พระนามของพระพุทธเจ้า เรียกตามพระโคตร

พระชนม์ อายุ, การเกิด, ระยะเวลาที่เกิดมา

พระชนมายุ อายุ

พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลักความจริงและหลักความประพฤติ

พระนม แม่นม

พระนาคปรก พระพุทธรูปปางหนึ่งมีรูปนาคแผ่พังพานอยู่ข้างบน ดู มุจจลินท์

พระบรมศาสดา พระผู้เป็นครูผู้ยิ่งใหญ่, พระผู้เป็นครูสูงสุด หมายถึงพระพุทธเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามของพระพุทธเจ้า

พระพรหม ดู พรหม

พระพุทธเจ้า พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม, ท่านผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ; พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุดและคัมภีร์กล่าวถึงบ่อยๆ คือพระวิปัส- สี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ พระกัสสป และพระโคดม; พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์แห่งภัทรกัป ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ พระกัสสปะ พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่าพระศรีอาริย์ หรือพระศรีอริยเมตไตรย); พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นับแต่พระองค์แรกที่พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าพระองค์ ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า (รวม ๒๔ พระองค์) จนถึงพระองค์เอง ด้วย คือ ๑. พระทีปังกร ๒. พระโกณฑัญญะ ๓. พระมังคละ ๔. พระสุมนะ ๕. พระเรวตะ ๖. พระโสภิตะ ๗. พระ อโน มทัสสี ๘. พระปทุมะ ๙. พระนารทะ ๑๐. พระปทุมุตตระ ๑๑. พระสุเมธะ ๑๒. พระสุชาตะ ๑๓. พระปิยทัสสี ๑๔. พระอัตถทัสสี ๑๕. พระธัมมทัสสี ๑๖. พระสิทธัตถะ ๑๗. พระติสสะ ๑๘. พระปุสสะ ๑๙. พระวิปัสสี ๒๐. พระ สิขี ๒๑. พระเวสสภู ๒๒. พระกกุสันธะ ๒๓. พระโกนาคมน์ ๒๔. พระกัสสปะ ๒๕. พระโคตมะ (เรื่องมาในคัมภีร์ พุทธวงส์ แห่งขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก); ดู พุทธะ ด้วย ข้อควรทราบบางประการเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ตามที่ตรัสไว้ในคัมภีร์พุทธวงส์ คือ พระองค์ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม (โคตมพุทธ) เจริญในศากยสกุล พระนครอันเป็นถิ่นกำเนิดชื่อกบิลพัสดุ์ พระบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดามีพระนามว่า มายาเทวี ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาท ๓ หลังชื่อ สุ- จันทะ โกกนุท และโกญจะ มเหสีพระนามว่ายโสธรา โอรสพระนามว่าราหุล ทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว เสด็จออกผนวชด้วยม้าเป็นราชยาน บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี ประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี พระอัครสาวกทั้งสอง คือ พระอุปติสสะ (พระสารีบุตร) และพระโกลิตะ (พระมหาโมคคัลลานะ) พุทธ อุปัฏฐากชื่อว่าพระอานนท์ พระอัครสาวิกาทั้งสองคือ พระเขมา และพระอุบลวรรณา อุบาสกสองผู้เป็นอัครอุปัฏฐาก คือ จิตตคฤหบดี และหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี อุบาสิกาสองผู้อัครอุปัฏฐายิกา คือ นันทมารดา และอุตราอุบาสิกา บรรลุสัมโพธิญาณที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ (คือต้นโพธิ์ได้แก่ไม้อัสสัตถะ) มีสาวกสันนิบาต (การประชุมพระสาวก) ครั้งใหญ่ ครั้งเดียว ภิกษุผู้เข้าร่วมประชุม ๑,๒๕๐ รูป คำสั่งสอนของพระองค์ผู้เป็นศากยมุนี เจริญแพร่หลายกว้างขวาง งอกงามเป็นอย่างดีบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เป็นประโยชน์แก่ประชาชนจำนวนมาก

พระยม ดู ยม

พระยศ ดู ยส

พระรัตนตรัย ดู รัตนตรัย

พระวินัย ดู วินัย

พระศาสดา ผู้สอน เป็นพระนามเรียกพระพุทธเจ้า ดู ศาสดา

พระสงฆ์ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย, หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ดู สงฆ์

พระสมณโคดม คำที่คนภายนอกนิยมใช้เมื่อกล่าวถึงพระพุทธเจ้า

พระสัมพุทธเจ้า พระผู้ตรัสรู้เอง หมายถึง พระพุทธเจ้า

พระสาวก ผู้ฟังคำสอน, ศิษย์ของพระพุทธเจ้า ดู สาวก

พระสูตร ดู สูตร

พระเสขะ ดู เสขะ

พระอูรุ ดู อูรุ

พราหมณ์ คนวรรณะหนึ่งใน ๔ วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร; พราหมณ์เป็นวรรณะนักบวชและเป็นเจ้า พิธี ถือตนว่าเป็นวรรณะสูงสุด เกิดจากปากพระพรหม ดู วรรณะ

พราหมณสมัย ลัทธิพราหมณ์

พราหมณมหาศาล พราหมณ์ผู้มั่งคั่ง

พราหมณี นางพราหมณ์, พราหมณ์ผู้หญิง

พละ กำลัง 1. พละ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรมมี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์ 2. พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้อง หวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑. ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒. วิริยพละ กำลังความเพียร ๓. อนวัชชพละ กำลังคือการ กระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔. สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือ เกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม 3. พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหา กษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑. พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่ง พร้อม ๒. โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓. อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔. อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕. ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด

พลความ ข้อความที่ไม่ใช่สาระสำคัญ

พลี ทางพราหมณ์ คือ บวงสรวง, ทางพุทธ คือ สละเพื่อช่วยหรือบูชามี ๕ คือ ๑. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ ๒. อติถิพลี ต้อนรับแขก ๓. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ๔. ราชพลี ถวายเป็นหลวง เช่น เสียภาษีอากร ๕. เทวตาพลี ทำ บุญอุทิศให้เทวดา

พหุบท มีเท้ามาก หมายถึงสัตว์ดิรัจฉานที่มีเท้ามากกว่าสองเท้าและสี่เท้า เช่น ตะขาบ กิ้งกือ เป็นต้น

พหุปุตตเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้า เคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

พหุปุตตนิโครธ ต้นไทรอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าและขอบวชที่ต้น ไทรนี้

พหุพจน์, พหูพจน์ คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง คือตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป, เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์บาลีและไทยคู่กับ เอกพจน์ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งเดียว; แต่ในไวยากรณ์สันสกฤตจำนวนสองเป็นทวิพจน์หรือ ทวิวจนะ จำนวนสามขึ้นไป จึง จะเป็นพหุพจน์

พหุลกรรม กรรมทำมาก หรือกรรมชินได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำบ่อยๆ จนเคยชิน ย่อมให้ผลก่อน กรรมอื่นเว้นครุกรรม เรียกอีกอย่างว่าอาจิณณกรรม (ข้อ ๑๐ ในกรรม ๑๒)

พหุวจนะ ดู พหุพจน์

พหุสูต, พหูสูตร ผู้ได้ยินได้ฟังมามาก คือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก, ผู้เล่าเรียนมาก, ผู้ศึกษามาก, ผู้คงแก่เรียน; ดู พาหุสัจจะ ด้วย

พหูชน คนจำนวนมาก

พักมานัต ดู เก็บวัตร

พัทธสีมา แดนผูก ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง โดยจัดตั้งนิมิตคือสิ่งที่เป็นเครื่องหมายกำหนดเอาไว้ ดู สีมา

พันธุ์ เหล่ากอ, พวกพ้อง

พัสดุ สิ่งของ, ที่ดิน

พากุละ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองโกสัมพี มีเรื่องเล่าว่าเมื่อยังเป็นทารกขณะที่พี่เลี้ยงนำไปอาบน้ำ เล่นที่แม่น้ำ ท่านถูกปลาใหญ่กลืนลงไปอยู่ในท้อง ต่อมาปลานั้นถูกจับได้ที่เมืองพาราณสี และถูกขายให้แก่ภรรยา เศรษฐีเมืองพาราณสี ภรรยาเศรษฐีผ่าท้องปลาพบเด็กแล้วเลี้ยงไว้เป็นบุตร ฝ่ายมารดาเดิมทราบข่าวจึงขอบุตรคืน ตก ลงกันไม่ได้ จนพระราชาทรงตัดสินให้เด็กเป็นทายาทของทั้งสองตระกูล ท่านจึงได้ชื่อว่า “พากุละ” แปลว่า คนสอง ตระกูล หรือผู้ที่สองตระกูลเลี้ยง ท่านอยู่ครองเรือนมาจนอายุ ๘๐ ปี จึงได้ฟังพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีความเลื่อมใสขอบวชแล้วบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน ได้บรรลุพระอรหัตได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้มี อาพาธน้อย คือสุขภาพดี; พักกุละ ก็เรียก

พาณิช พ่อค้า

พาณิชย์ การค้าขาย

พาราณสี ชื่อเมืองหลวงของแคว้นกาสีอยู่ริมแม้น้ำคงคา ปัจจุบันเรียกพานาราสหรือเบนาเรส (Banaras, Benares) ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ อยู่ห่างจากตัวเมืองพาราณสี ปัจจุบันประมาณ ๖ ไมล์

พาวรี พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ ได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนไปถามปัญหาพระศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธะจริงหรือไม่ ภายหลัง ได้รับคำตอบแล้วศิษย์ชื่อปิงคิยะ ซึ่งเป็นหลานของท่านได้กลับมาเล่าเรื่องและแสดงคำตอบปัญหาของพระศาสดา ทำ ให้ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี

พาหิย ทารุจีริยะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในครอบครัวคนมีตระกูลในแคว้นพาหิยรัฐ ลงเรือเดินทะเลเพื่อจะไปค้า ขาย เรือแตกกลางทะเลรอดชีวิตไปได้ แต่หมดเนื้อหมดตัว ต้องแสดงตนเป็นผู้หมดกิเลสหลอกกลวงประชาชนเลี้ยง ชีวิต ต่อมาพบพระพุทธเจ้า ทูลขอให้ทรงแสดงธรรม พระองค์ทรงแสดงวิธีปฏิบัติต่ออารมณ์ที่รับรู้ทางอายตนะทั้ง หก พอจบพระธรรมเทศนาย่นย่อนั้น พาหิยะก็สำเร็จอรหัต แต่ไม่ทันได้อุปสมบท กำลังเที่ยวหาบาตรจีวร เผอิญถูก โคแม่ลูกอ่อนขวิดเอาสิ้นชีวิตเสียก่อน ได้รับยกย่องว่าเป็น เอตทัคคะในทางตรัสรู้ฉับพลัน

พาหิรทุกข์ ทุกข์ภายนอก

พาหิรลัทธิลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา

พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ ๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ ฟังมาก ๒. ธตา ทรงจำไว้ได้ ๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก ๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วย ทฤษฎี ดู พหูสูต

พิกัด กำหนด, กำหนดที่จะต้องเสียภาษี

พิณ เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีสายสำหรับดีด

พิทยาธร ดู วิทยาธร

พิทักษ์ ดูแลรักษา, คุ้มครอง, ป้องกัน

พินทุ จุด, วงกลมเล็กๆ ในที่นี้หมายถึงพินทุกัปปะ

พินทุกัปปะ การทำพินทุ, การทำจุดเป็นวงกลม อย่างใหญ่เท่าแววตานกยูง อย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด ที่มุมจีวรด้วยสี เขียวคราม โคลน หรือดำคล้ำ เพื่อทำจีวรให้เสียสีหรือมีตำหนิตามวินัยบัญญัติ และเป็นเครื่องหมายช่วยให้จำได้ด้วย; เขียนพินทุกัป ก็ได้, คำบาลีเดิมเป็นกัปปพินทุ, เรียกกันง่ายๆ ว่า พินทุ

พินัยกรรม หนังสือสำคัญที่เจ้าทรัพย์ทำไว้ก่อนตาย แสดงความประสงค์ว่าเมื่อตายแล้วขอมอบมรดกที่ระบุไว้ใน หนังสือสำคัญนั้น ให้แก่คนนั้นๆ, ตามพระวินัย ถ้าภิกษุทำเช่นนี้ไม่มีผล ต้องปลงบริขารจึงใช้ได้

พิพากษา ตัดสินอรรถคดี

พิมพา บางแห่งเรียก ยโสธรา เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะกรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะ เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานา หรือ ภัททา กัจจานา

พิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินมคธครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์ เป็นผู้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา ถูกพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์

พิรุธ ไม่ปรกติ, มีลักษณะน่าสงสัย

พิโรธ โกรธ, เคือง

พีชคาม พืชพันธุ์อันถูกพรากจากที่แล้วแต่ยังจะเป็นได้อีก

พุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว, ผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ อย่างถ่องแท้ ตามอรรถกถาท่านแบ่งเป็น ๓ คือ ๑. พระพุทธเจ้า ท่านผู้ตรัสรู้เอง และสอนผู้อื่นให้รู้ตาม (บางทีเรียกพระสัมมาสัมพุทธะ) ๒. พระปัจเจกพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว ๓. พระ อนุพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า (เรียกอีกอย่างว่าสาวกพุทธะ); บางแห่งจัดเป็น ๔ คือ สัพพัญญูพุทธะ ปัจเจกพุทธะ จตุสัจจพุทธะ (= พระอรหันต์) และสุตพุทธะ (= ผู้เป็นพหูสูต)

พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ตามปกติหมายถึง บารมี ๑๐ นั่นเอง (ในคาถาบางทีเรียกสั้นๆ ว่า พุทธธรรม)

พุทธกาล ครั้งพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่

พุทธกิจ กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ, การงานที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ

พุทธกิจประจำวัน ๕ พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำในแต่ละวันมี ๕ อย่าง คือ ๑. ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาต ญฺจ เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต ๒. สายณฺเห ธมฺมเทสนํ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม ๓. ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ เวลาค่ำประทาน โอวาทแก่เหล่าภิกษุ ๔. อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา ๕. ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่ (สรุปท้ายว่า เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ วิโสเธติ มุนิปุงฺคโว พระพุทธเจ้าองค์พระมุนีเป็นผู้ประเสริฐทรงยังกิจ ๕ ประการนี้ให้ หมดจด)

พุทธกิจ ๔๕ พรรษา ในระหว่างเวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ สถานที่ต่างๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกต ดังนี้ พรรษาที่ ๑ ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี (โปรดพระเบญจวัคคีย์) พ. ๒-๓-๔ พระเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ (ระยะประดิษฐานพระ ศาสนา เริ่มแต่โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ได้อัครสาวก ฯลฯ เสด็จนครกบิลพัสดุ์ครั้งแรก ฯลฯ อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็น อุบาสกถวายพระเชตวัน; ถ้าถือตามพระวินัยปิฎก พรรษาที่ ๓ น่าจะประทับที่พระเชตวัน นครสาวัตถี) พ.๕ กูฏาคาร ในป่ามหาวัน นครเวสาลี (โปรดพุทธบิดาปรินิพพานที่กรุงกบิลพัสดุ์โปรดพระญาติที่วิวาทเรื่องแม่น้ำโรหิณี มหาปชา บดีผนวช เกิดภิกษุณีสงฆ์) พ.๖ มกุลบรรพต (ภายหลังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถี) พ.๗ ดาวดึงสเทวโลก (แสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา) พ.๘ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ (พบนกุลบิดาและนกุล มารดา) พ.๙ โฆสิตาราม เมืองโกสัมพี พ.๑๐ ป่าตำบลปาริเลยยกะ ใกล้เมืองโกสัมพี (ในคราวที่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ทะเลาะกัน) พ.๑๑ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา พ.๑๒ เมืองเวรัญชา พ.๑๓ จาลิยบรรพต พ. ๑๔ พระเชตวัน (พระ ราหุลอุปสมบทคราวนี้) พ.๑๕ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์ พ.๑๖ เมืองอาฬวี (ทรมานอาฬวกยักษ์) พ.๑๗ พระเวฬุวัน นครราชคฤห์ พ. ๑๘-๑๙ จาลิยบรรพต พ. ๒๐ พระเวฬุวัน นครราชคฤห์ (โปรดมหาโจรองคุลิมาล, พระอานนท์ได้รับ หน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ) พ. ๒๑-๔๕ ประทับสลับไปมา ณ พระเชตวัน กับบุพพาราม พระนครสาววัตถี (รวม ทั้งคราวก่อนนี้ด้วยอรรถกถาว่า พระพุทธเจ้าประทับที่เชตวนาราม ๑๙ พรรษา ณ บุพพาราม ๖ พรรษา) พ. ๔๕ เวฬุว- คาม ใกล้นครเวสาลี

พุทธคารวตา ดู คารวะ

พุทธคุณ คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์ ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ ๓. วิชฺชา จรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว ๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก ๖. อนุตฺตโร ปุ ริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้ง หลาย ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดย่อมี ๒ คือ ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา ๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือ พระมหากรุณา หรือตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา ๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์ ๓. พระมหากรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

พุทธโฆษาจารย์ ดู วิสุทธิมรรค; พุทธโฆสาจารย์ ก็เขียน

พุทธจริยา พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า, การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า มี ๓ คือ ๑. โลกัตถจริยา การ บำเพ็ญประโยชน์แก่โลก ๒. ญาตัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ ๓. พุทธัตถจริยา การบำเพ็ญ ประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า

พุทธจักขุ จักษุของพระพุทธเจ้า ได้แก่ญาณที่หยั่งรู้อัธยาศัย อุปนิสัยและอินทรีย์ที่ยิ่งหย่อนต่าง ๆ กันของเวไนยสัตว์ (ข้อ ๔ ในจักขุ ๕)

พุทธจักร วงการพระพุทธศาสนา

พุทธจาริก การเสด็จจาริกคือเที่ยวไปประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้า

พุทธเจ้า ๕, ๗, ๒๕ ดู พระพุทธเจ้า และ พุทธะ

พุทธธรรม 1. ธรรมของพระพุทธเจ้า, พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า คัมภีร์มหานิทเทสระบุจำนวนไว้ว่ามี ๖ ประการ แต่ไม่ได้จำแนกข้อไว้ อรรถกถาโยงความให้ว่าได้แก่ ๑. กายกรรมทุกอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามพระ ญาณ (จะทำอะไรทำด้วยปัญญา ด้วยความรู้เข้าใจ) ๒. วจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๓. มโนกรรมทุกอย่าง เป็นไปตามพระญาณ ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณ ไม่ติดขัดในปัจจุบัน; คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาแห่งทีฆนิกาย จำแนกพุทธธรรมว่ามี ๑๘ อย่าง คือ ๑. พระ ตถาคตไม่ทรงมีกายทุจริต ๒. ไม่ทรงมีวจีทุจริต ๓. ไม่ทรงมีมโนทุจริต ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕. ทรงมี พระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน ๗. ทรงมีกายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระ ญาณ ๘. ทรงมีวจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๙. ทรงมีมโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๑๐. ไม่มี ความเสื่อมฉันทะ (ฉันทะไม่ลดถอย) ๑๑. ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียรไม่ลดถอย) ๑๒. ไม่มีความเสื่อมสติ (สติ ไม่ลดถอย) ๑๓. ไม่มีการเล่น ๑๔. ไม่มีการพูดพลาด ๑๕. ไม่มีการทำพลาด ๑๖. ไม่มีความผลุนผลัน ๑๗. ไม่มีพระ ทัยที่ไม่ขวนขวาย ๑๘. ไม่มีอกุศลจิต 2. ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่พุทธการกธรรม คือ บารมี ๑๐ 3. ธรรมที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ มรรคมีองค์ ๘ ขันธ์ ๕ ปัจจัย ๒๔ เป็นอาทิ

พุทธบริวาร บริวารของพระพุทธเจ้า, ผู้เป็นบริวารของพระพุทธเจ้า

พุทธบริษัท หมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนามี ๔ จำพวกคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

พุทธบัญญัติ ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้, วินัยสำหรับพระ

พุทธบาท รอยเท้าของพระพุทธเจ้า อรรถกถาว่าทรงประทับแห่งแรกที่บนหาดชายฝั่งแม่น้ำนัมมทา แห่งที่สองที่ภูเขา สัจจพันธคีรี นอกจากนี้ตำนานสมัยต่อ ๆ มาว่ามีที่ภูเขาสุมนกูฏ (ลังกาทวีป) สุวรรณบรรพต (สระบุรีประเทศไทย) และเมืองโยนก รวมเป็น ๕ สถาน

พุทธปฏิมา รูปเปรียบของพระพุทธเจ้า, พระพุทธรูป

พุทธประวัติ ประวัติของพระพุทธเจ้า

พุทธปรินิพพาน การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, การตายของพระพุทธเจ้า

พุทธพจน์ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า

พุทธภาษิต ภาษิตของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า, ถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าพูด

พุทธมามกะ “ผู้ถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา”, ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน, ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระ พุทธศาสนา; พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบ เรียงตั้งเป็นแบบไว้ ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดจะส่งเจ้านายคณะหนึ่ง ออกไปศึกษาในทวีปยุโรป ทรงถือตามคำแสดงตนเป็นอุบาสกของเดิมแต่แก้บท “อุบาสก” ที่เฉพาะผู้ใหญ่ผู้ได้ ศรัทธาเลื่อมใสด้วยตนเองเป็น “พุทธมามกะ” และได้เกิดเป็นประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะสืบต่อกันมา โดยจัดทำในกรณีต่างๆ โดยเฉพาะ ๑. เมื่อบุตรหลานพ้นวัยทารก อายุ ๑๒-๑๕ ปี ๒. เมื่อจะส่งบุตรหลานไปอยู่ในถิ่น ที่มิใช่ดินแดนของพระพุทธศาสนา ๓. โรงเรียนประกอบพิธีให้นักเรียนที่เข้าศึกษาใหม่แต่ละปีเป็นหมู่ ๔. เมื่อบุคคล ผู้เคยนับถือศาสนาอื่นต้องการประกาศตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา; ท่านวางระเบียบพิธีไว้สรุปได้ดังนี้ ก. มอบ ตัว (ถ้าเป็นเด็กให้ผู้ปกครองนำตัวหรือครูนำรายชื่อไป) โดยนำดอกไม้ธูปเทียนใส่พานไปถวายพระอาจารย์ที่จะให้ เป็นประธานสงฆ์ในพิธี พร้อมทั้งเผดียงสงฆ์รวมทั้งพระอาจารย์เป็นอย่างน้อย ๔ รูป ข. จัดสถานที่ ในอุโบสถ หรือ วิหาร ศาลาการเปรียญ หรือหอประชุมที่มีโต๊ะบูชามีพระพุทธรูปประธาน และจัดอาสนะสงฆ์ให้เหมาะสม ค. พิธีการ ให้ผู้แสดงตน จุดธูปเทียนเปล่งวาจาบูชาพระรัตนตรัยว่า อิมินา สกฺกาเรน, พุทฺธํ ปูเชมิ. ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ) ……ธมฺมํ….พระธรรม………(กราบ) ……สงฺฆํ……พระสงฆ์…… (กราบ) จากนั้นเข้าไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ ถวายพานเครื่องสักการะแก่พระอาจารย์กราบ ๓ ครั้งแล้ว คงนั่งคุกเข่า กล่าวคำ ปฏิญาณว่า : นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน) ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น (๓ หน) เอสาหํ ภนฺเต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ, พุทฺธมามโกติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ. ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนาน แล้ว ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นพุทธมามกะ ผู้รับเอา พระพุทธเจ้าเป็นของตน คือผู้นับถือพระพุทธเจ้า (ถ้าเป็นหญิงคนเดียวเปลี่ยน พุทฺธมามโกติ เป็น พุทฺธมามกาติ; ถ้า ปฏิญาณพร้อมกันหลายคน ชายเปลี่ยน เอสาหํ เป็น เอเต มยํ หญิงเป็น เอตา มยํ; และทั้งชายและหญิงเปลี่ยน คจฺฉามิ เป็นคจฺฉาม, พุทฺธมามโกติ เป็น พุทฺธมามกาติ, มํ เป็น โน) จากนั้นฟังพระอาจารย์ให้โอวาท จบแล้วรับคำว่า “สาธุ” ครั้นแล้วกล่าวคำอาราธนาเบญจศีลและสมาทานศีลพร้อมทั้งคำแปล จบแล้วกราบ ๓ หน ถวายไทยธรรม (ถ้ามี) แล้ว กรวดน้ำเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา รับพรเสร็จแล้วคุกเข่ากราบพระสงฆ์ ๓ ครั้ง เป็นเสร็จพิธี

พุทธรูป รูปพระพุทธเจ้า

พุทธฤทธานุภาพ ฤทธิ์และอานุภาพของพระพุทธเจ้า

พุทธเวไนย ผู้ที่พระพุทธเจ้าควรแนะนำสั่งสอน, ผู้ที่พระพุทธเจ้าพอแนะนำสั่งสอนได้

พุทธศักราช ปีนับแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

พุทธศาสนา คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า, อย่างกว้างในบัดนี้ หมายถึง ความเชื่อถือ การประพฤติปฏิบัติและกิจการทั้ง หมดของหมู่ชนผู้กล่าวว่าตนนับถือพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนิก ผู้นับถือพระพุทธศาสนา, ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

พุทธศาสนิกมณฑล วงการของผู้นับถือพระพุทธศาสนา

พุทธสรีระ ร่างกายของพระพุทธเจ้า

พุทธสาวก สาวกของพระพุทธเจ้า, ศิษย์ของพระพุทธเจ้า

พุทธอาณา อำนาจปกครองของพระพุทธเจ้า, อำนาจปกครองฝ่ายพุทธจักร

พุทธอาสน์ ที่ประทับนั่งของพระพุทธเจ้า

พุทธอิทธานุภาพ ฤทธิ์และอานุภาพของพระพุทธเจ้า

พุทธอุปฐาก ผู้คอยรับใช้พระพุทธเจ้าในครั้งพุทธกาล มี พระอานนท์ พุทธอนุชาเป็นผู้เลิศในเรื่องนี้

พุทธโอวาท คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีหลักใหญ่ ๓ ข้อ คือ ๑. สพฺพปาปสฺส อกรณํ ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๒. กุสล สฺสูปสมฺปทา ทำความดีให้เพียบพร้อม ๓. สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์

พุทธัตถจริยา ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตว์โลก โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า เช่น ทรงแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์ และบัญญัติวินัยขึ้นบริหารหมู่คณะทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนมาตราบเท่าทุกวันนี้

พุทธาณัติ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

พุทธาณัติพจน์ พระดำรัสสั่งของพระพุทธเจ้า, คำสั่งของพระพุทธเจ้า

พุทธาทิบัณฑิต บัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (พุทธ+อาทิ+บัณฑิต)

พุทธาธิบาย พระประสงค์ของพระพุทธเจ้า, พระดำรัสชี้แจงของพระพุทธเจ้า

พุทธานุญาต ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต

พุทธานุพุทธประวัติ ประวัติของพระพุทธเจ้าและพระสาวก

พุทธานุสติ ตามระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า (ข้อ ๑ ในอนุสติ ๑๐)

พุทธิจริต พื้นนิสัยที่หนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ (ข้อ ๕ ในจริต ๖)

พุทธุปบาทกาล กาลเป็นที่อุบัติของพระพุทธเจ้า, เวลาที่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก

พุทฺโธ ทรงเป็นผู้ตื่น ไม่หลงงมงายเองด้วย และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นพ้นจากความหลงงมงายนั้นด้วย ทรงเป็นผู้เบิก บาน มีพระทัยผ่องแผ้ว บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์

เพ็ญ เต็ม หมายถึง พระจันทร์เต็มดวงคือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ

เพทางค์ วิชาประกอบกับการศึกษาพระเวท มี ๖ อย่าง คือ ๑. ศึกษาวิธีออกเสียงคำในพระเวทให้ถูกต้อง ๒. ไวยา- กรณ์ ๓. ฉันท์ ๔. โชยติส ดาราศาสตร์ ๕. นิรุกติ กำเนิดของคำ ๖. กัลป วิธีจัดทำพิธี

เพลิงทิพย์ ไฟเทวดา, ไฟที่เป็นของเทวดา, เพลิงคราวถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

เพศ ลักษณะที่ให้รู้ว่าหญิงหรือชาย, เครื่องหมายว่าเป็นชายหรือเป็นหญิง, ลักษณะและอาการที่ปรากฏให้เห็นว่า เป็นบุคคลประเภทนี้ ประเภทนี้ เช่น โดยเพศแห่งฤาษี เพศบรรพชิต เพศแห่งช่างไม้ เป็นต้น, ขนบธรรมเนียม

เพียรชอบ เพียรในที่ ๔ สถาน ดู ปธาน

เพื่อน ผู้ร่วมธุระร่วมกิจร่วมการหรือร่วมอยู่ในสภาพอย่างเดียวกัน, ผู้ชอบพอรักใคร่คบหากัน, ในทางธรรม เนื้อแท้ ของความเป็นเพื่อน อยู่ที่ความมีใจหวังดีปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือ เมตตาหรือไมตรี เพื่อนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ท่าน เรียกว่า มิตร การคบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความพินาศ หรือสู่ความเจริญงอก งาม พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียม และเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้ ดู มิตตปฏิรูป, มิตรแท้ บุคคลที่ช่วยชี้แนะแนวทาง ชักจูงตลอดจนแนะนำสั่งสอน ชักนำผู้อื่นให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ให้ประสบผลดี และความสุข ให้เจริญก้าวหน้า ให้พัฒนาในธรรม แม้จะเป็นบุคคลเสมอกัน หรือเป็นมารดาบิดาครูอาจารย์ ตลอดทั้ง พระสงฆ์ จนถึงพระพุทธเจ้า ก็นับว่าเป็นเพื่อน แต่เป็นเพื่อนใจดี หรือเพื่อนมีธรรม เรียกว่า กัลยาณมิตร แปลว่ามิตรดี งาม กัลยาณมิตรมีคุณสมบัติที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม หรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการคือ ๑. ปิโย น่ารัก ด้วยมี เมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนให้อยากเข้าไปหา ๒. ครุ น่าเคารพ ด้วยความประพฤติหนักแน่นเป็นที่พึ่งอาศัยได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ ๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตน ควรเอาอย่าง ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วย ซาบซึ้งภูมิใจ ๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงแนะนำเป็นที่ปรึกษาที่ดี ๕. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะ รับฟังคำปรึกษาซักถาม ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากย์วิจารณ์ ๖. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถ อธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำ ในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร

แพศย์ คนวรรณะที่สาม ในวรรณะสี่ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ หมายถึงพวกชาวนาและพ่อค้า

แพศยา หญิงหากินในทางกาม, หญิงหาเงินในทางร่วมประเวณี

โพชฌงค์ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี ๗ อย่างคือ ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือก เฟ้นธรรม) ๓. วิริยะ ๔. ปีติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา

โพธิญาณ ญาณคือความตรัสรู้, ญาณคือปัญญาตรัสรู้, มรรคญาณทั้งสี่มีโสตาปัตติมัคคญาณ เป็นต้น

โพธิ์, โพธิพฤกษ์ ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้น ไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยาได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐีและเรียกชื่อว่าอา นันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิที่ คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่า แก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมาในสมัย ร.๕ ประเทศ ไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎาง คนิมิตร

โพธิปักขิยธรรม ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรคมี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘

โพธิมัณฑะ ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณ, บริเวณต้นโพธิ์เป็นที่ตรัสรู้

โพธิราชกุมาร เจ้าชายโพธิ พระราชโอรสของพระเจ้าอุเทน พระเจ้าแผ่นดินแคว้นวังสะ

โพธิสมภาร บุญบารมีของพระมหากษัตริย์

โพธิสัตว์ ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา

โพนทนา กล่าวโทษ, ติเตียน, พูดกล่าวโทษท่านต่อหน้าผู้อื่น (พจนานุกรมเขียน โพนทะนา)

ไพบูลย์ ความเต็มเปี่ยม, ความเจริญเต็มที่ มี ๒ คือ ๑. อามิสไพบูลย์ ความไพบูลย์แห่งอามิส ๒. ธรรมไพบูลย์ ความ ไพบูลย์แห่งธรรม ดู เวปุลละ

ไพศาลี ดู เวสาลี

ฟั่นเฝือ เคลือบคลุม, พัวพันกัน, ปนคละกัน, ยุ่ง

ฟูมฟาย มากมาย, ล้นเหลือ, สุรุ่ยสุร่าย, น้ำตาอาบหน้า

ภควา พระผู้มีพระภาค, พระนามพระพุทธเจ้า แปลว่า ทรงเป็นผู้มีโชค คือหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ประกาศ พระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้; อีกนัยหนึ่งว่าทรงเป็นผู้จำแนก แจกธรรม

ภคันทลา โรคริดสีดวงทวารหนัก

ภคินี พี่หญิง น้องหญิง

ภคุ ดู ภัคคุ

ภพ โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์, ภาวะชีวิตของสัตว์มี ๓ คือ ๑. กามภพ ภพของผู้ยังเสวยกามคุณ ๒. รูปภพ ภพของผู้เข้าถึง รูปฌาณ ๓. อรูปภพ ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาณ

ภพหลัง โลกที่สัตว์เกิดมาแล้วในชาติที่ผ่านมา, ภพก่อน, ชาติก่อน ตรงข้ามกับภพหน้า

ภยตูปัฏฐานญาณ ปรีชาหยั่งเห็นสังขาร ปรากฏโดยอาการเป็นของน่ากลัว เพราะสังขารทั้งปวงนั้นล้วนแต่จะต้อง แตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น (ข้อ ๓ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

ภยันตราย ภัยและอันตราย, อันตรายที่น่ากลัว

ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว (ข้อ ๔ ในอคติ ๔)

ภวตัณหา ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่หรืออยากเกิดอยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป, ความทะยานอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิ หรือสัสสตทิฏฐิ (ข้อ ๒ ในตัณหา ๓)

ภวทิฏฐิ ความเห็นเนื่องด้วยภพ, ความเห็นว่าอัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ

ภวังค์ ดู ภวังคจิต

ภวังคจิต จิตที่เป็นองค์แห่งภพ, ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตขึ้นแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม

ภวาสวะ อาสวะ คือภพ, กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้อยากเป็นอยากเกิดอยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป (ข้อ ๒ ในอาสวะ ๓ และ ๔)

ภักษา, ภักษาหาร เหยื่อ, อาหาร

ภัคคะ ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล นครหลวงชื่อ สุงสุมารคีระ

ภัคคุ เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ที่ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ ได้บรรลุพระอรหัต และเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง เขียน ภคุ ก็มี

ภังคะ ผ้าทำด้วยของเจือกัน คือ ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ฝ้ายไหม ขนสัตว์ เปลือกป่าน ๕ อย่างนี้ อย่างใดก็ได้ปนกัน เช่น ผ้าด้ายแกมไหม เป็นต้น

ภังคญาณ ปัญญาหยั่งเห็นความย่อยยับคือ เห็นความดับแห่งสังขาร ภังคานุปัสสนาญาณ ก็เรียก

ภงฺคํ ดู ภังคะ

ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลาย, ปรีชาหยั่งเห็นเฉพาะความดับของสังขารเด่นชัดขึ้นมาว่าสังขารทั้ง ปวงล้วนจะต้องแตกสลายไปทั้งหมด (ข้อ ๒ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

ภัณฑไทย ของที่จะต้องให้ (คืน) แก่เขา, สินใช้, การที่จะต้องชดใช้ทรัพย์ที่เขาเสียไป

ภัณฑาคาริก ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่รักษาเรือนคลังเก็บพัสดุของสงฆ์, ผู้รักษาคลังสิ่งของ

ภัณฑูกรรม ดู ภัณฑูกัมม์

ภัณฑูกัมม์ การปลงผม, การบอกขออนุญาตกะสงฆ์เพื่อปลงผมคนผู้จะบวชในกรณีที่ภิกษุจะปลงให้เอง เป็นอป- โลกนกรรมอย่างหนึ่ง

ภัต,ภัตร อาหาร, ของกิน, ของฉัน, อาหารที่รับประทาน (หรือฉัน) เป็นมื้อๆ

ภัตกาล เวลาฉันอาหาร, เวลารับประทานอาหาร เดิมเขียน ภัตตกาล

ภัตกิจ การบริโภคอาหาร เดิมเขียนภัตตกิจ

ภัตตัคควัตร ข้อควรปฏิบัติในหอฉัน, ธรรมเนียมในโรงอาหาร ท่านจัดเข้าเป็นกิจวัตรประเภทหนึ่ง กล่าวย่อ มี ๑๑ ข้อ คือ นุ่งห่มให้เรียบร้อย, รู้จักอาสนะอันสมควรแก่ตน, ไม่นั่งทับผ้าสังฆาฏิในบ้าน, รับน้ำและโภชนะของถวายจากทายก โดยเอื้อเฟื้อ และคอยระวังให้ได้รับทั่วถึงกัน, ถ้าพอจะแลเห็นทั่วกัน พระสังฆเถระพึงลงมือฉันเมื่อภิกษุทั้งหมดได้รับ โภชนะทั่วกันแล้ว, ฉันด้วยอาการเรียบร้อยตามหลักเสขิยวัตร, อิ่มพร้อมกัน (หัวหน้ารอยังไม่บ้วนปากและล้างมือ), บ้วนปากและล้างมือระวังไม่ให้น้ำกระเซ็น, ฉันในที่มีทายกจัดถวาย เสร็จแล้วอนุโมทนา, เมื่อกลับอย่าเบียดเสียดกัน ออกมา, ไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวหรือของเป็นเดนในบ้านเขา

ภัตตาหาร อาหารคือข้าวของฉัน, อาหารที่สำหรับฉันเป็นมื้อๆ

ภัตตุทเทสกะ ผู้แจกภัต, ภิกษุที่สงฆ์สมมติคือแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจกภัต นิยมเขียน ภัตตุเทศก์

ภัตตุเทศก์ ดู ภัตตุทเทสกะ

ภัตร ดู ภัต

ภัททกาปิลานี พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาพราหมณ์โกสิยโคตรในสาคลนครแห่งมัททรัฐ (คัมภีร์อปทานว่าไว้ ชัดดังนี้ แต่อรรถกถาอังคุตตรนิกายคลาดเคลื่อนเป็นแคว้นมคธ) พออายุ ๑๖ ปี ได้สมรสกับปิปผลิมาณพ (พระมหา กัสสปะ) ต่อมามีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงออกบวชเป็นปริพาชิกา เมื่อพระมหาปชาบดีผนวชเป็นภิกษุณีแล้ว นางได้มาบวชอยู่ในสำนักของพระมหาปชาบดี เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยความไม่ประมาท ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปุพเพนิวาสนานุสสติ เรียกภัททากาปิลานี บ้าง ภัททากปิลานีบ้าง

ภัททปทมาส เดือน ๑๐ เรียกง่ายว่าภัทรบท

ภัททวัคคีย์ พวกเจริญ, เป็นชื่อคณะสหาย ๓๐ คนที่พากันเข้ามาในไร่ฝ้ายแห่งหนึ่งเพื่อเที่ยวตามหาหญิงแพศยาผู้ลัก ห่อเครื่องประดับหนีไป และได้พบพระพุทธเจ้าซึ่งพอดีเสด็จแวะเข้าไปประทับพักอยู่ที่ไร่ฝ้ายนั้น ได้ฟังเทศนาอนุ- ปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขออุปสมบท

ภัททา กัจจานา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกลิยวงศ์ พระนามเดิมว่า ยโสธรา หรือ พิมพา เป็นพระมารดาของพระราหุลพุทธชิโนรส ได้นามว่า ภัททากัจจานา เพราะทรงมีฉวีวรรณดุจทองคำเนื้อเกลี้ยง บวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัตได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะ ในทางบรรลุมหาภิญญา เรียกภัททกัจจานา ก็มี

ภัททา กุณฑลเกสา มหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ เคยเป็นภรรยาโจรผู้เป็นนักโทษ ประหารชีวิต โจรคิดจะฆ่านางเพื่อเอาทรัพย์สมบัติ แต่นางใช้ปัญญาคิดแก้ไขกำจัดโจรได้ แล้วบวชในสำนักนิครนถ์ ต่อมาได้พบกับพระสารีบุตร ได้ถามปัญหากันและกัน จนนางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้ฟังพระ ธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงได้สำเร็จพระอรหัต แล้วบวชในสำนักนางภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะใน ทางขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้ฉับพลัน

ภัททิยะ 1. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก 2. กษัตริย์ศากยวงศ์ โอรสของนางกาฬิโคธา สละราชสมบัติที่มาถึงตามวาระแล้วออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ สำเร็จอรหัตตผล ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง และจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐

ภัททิยศากยะ ดู ภัททิยะ ๒

ภัทเทกรัตตสูตร ชื่อสูตรหนึ่งในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียว เจริญ คือ คนที่เวลาวันคืนหนึ่งๆ มีแต่ความดีงามความเจริญก้าวหน้าได้แก่ ผู้ที่ไม่มัวครุ่นคำนึงอดีต ไม่เพ้อหวัง อนาคต ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ทำความดีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยไป มีความเพียร พยายาม ทำกิจที่ควรทำเสียแต่วันนี้ไม่รอวันพรุ่ง

ภัทราวุธมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

ภันเต “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ” เป็นคำที่ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าเรียกภิกษุผู้แก่พรรษากว่า (ผู้น้อยเรียกผู้ใหญ่) หรือคฤหัสถ์ กล่าวเรียกพระภิกษุ, คู่กับคำว่า “อาวุโส”; บัดนี้ใช้เกลื่อนกันไปกลายเป็นคำแทนตัวบุคคลไป ก็มี

ภัพพบุคคล คนที่ควรบรรลุธรรมพิเศษได้ เทียบ อภัพบุคคล

ภัลลิกะ พ่อค้าที่มาจากอุกกลชนบทคู่กับ ตปุสสะ พบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะได้ถวาย เสบียงเดินทาง คือ ข้าวสัตตุผง ข้าวสัตตุก้อน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นสรณะ นับ เป็นปฐมอุบาสก

ภาชกะ ผู้แจก, ผู้จัดแบ่ง

ภาณวาร “วาระแห่งการสวด”, ข้อความในคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น ในพระสูตรขนาดยาวที่ท่านจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหนึ่ง ๆ สำหรับสาธยายเป็นคราว ๆ หรือเป็นตอน ๆ

ภาระ “สิ่งที่ต้องนำพา”, ธุระหนัก, การงานที่หนัก, หน้าที่ที่ต้องรับเอา, เรื่องที่พึงรับผิดชอบ, เรื่องหนักที่จะต้องเอาใจ ใส่หรือจัดทำ

ภารทวาชโคตร ตระกูลภารทวาชะเป็นตระกูลพราหมณ์เก่าแก่ ปรากฏตั้งแต่สมัยร้อยกรองพระเวท แต่ในพุทธกาล ปรากฏตามคัมภีร์วินัยปิฎกว่าเป็นตระกูลต่ำ

ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ 1. การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่างคือ ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตาม เป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มี ความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใสพร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒. ปัญญาภาวนา การฝึกอบรม เจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความ ทุกข์ 2. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิมี ๓ ขั้น คือ ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือ กำหนด อารมณ์กรรมฐาน ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ ๓. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ เกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาณ 3. ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำ ๆ ให้ขลัง ก็มี

ภาวนาปธาน เพียรเจริญ, เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่มียังไม่เกิด ให้เกิดให้มีขึ้น (ข้อ ๓ ในปธาน ๔)

ภาวนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา, ความดีที่ทำด้วยการฝึกอบรมจิตใจให้สุขสงบมีคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา (จิตตภาวนา) และฝึกอบรมเจริญปัญญาให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง (ปัญญาภาวนา) ดู ภาวนา (ข้อ ๓ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)

ภาวรูป รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ มี ๒ คือ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย

ภาษา เสียงหรือกิริยาอาการซึ่งทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้, ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน, คำพูด

ภาษามคธ ภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ, ภาษาของชาวแคว้นมคธ หมายถึงภาษาบาลี

ภาษิต คำกล่าว, คำหรือข้อความที่พูดไว้

ภาษี ค่าสิ่งของที่เก็บตามจำนวนสินค้าเข้าออก

ภิกขาจาร เที่ยวไปเพื่อภิกษา, เที่ยวไปเพื่อขอ, เที่ยวบิณฑบาต

ภิกขุนีปาฎิโมกข์ ประมวลสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุณีมี ๓๑๑ ข้อ

ภิกขุนีวิภังค์ คัมภีร์ที่จำแนกความแห่งสิกขาบททั้งหลายในภิกขุนีปาฏิโมกข์ อยู่ในพระวินัยปิฎก

ภิกขุนูปัสสยะ สำนักนางภิกษุณี, เขตที่อยู่อาศัยของภิกษุณีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในวัด

ภิกขุปาฎิโมกข์ ประมวลสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุ มี ๒๒๗ ข้อ

ภิกขุวิภังค์ คัมภีร์จำแนกความแห่งสิกขาบทในภิกขุปาฏิโมกข์ อยู่ในพระวินัยปิฎกมักเรียกว่า มหาวิภังค์

ภิกษาจารกาล เวลาเป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา, เวลาบิณฑบาต

ภิกษุ ชายผู้ได้อุปสมบทแล้ว, ชายที่บวชเป็นพระ, พระผู้ชาย; แปลตามรูปศัพท์ว่า ผู้ขอ หรือ ผู้มองเห็นภัยในสังขาร หรือ ผู้ทำลายกิเลส ดู บริษัท ๔, สหธรรมิก, บรรพชิต, อุปสัมบัน ภิกษุสาวกรูปแรก ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ

ภิกษุณี หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุธศาสนา เทียบ ภิกษุ

ภิกษุณีสงฆ์ หมู่แห่งภิกษุณี, ประดาภิกษุณีทั้งหมดกล่าวโดยส่วนรวมหรือโดยฐานเป็นชุมนุมหนึ่ง, ภิกษุณีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ประชุมกันเนื่องในกิจพิธี; ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในพรรษาที่ ๕ แห่งกาบำเพ็ญพุทธกิจโดยมีพระมหาปชาบดี โคตมี พระมาตุจฉาซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระภิกษุณีรูปแรกดังเรื่องปรากฏในภิกษุณีขันธ กะและในอรรถกถา สรุปได้ความว่า หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพานแล้ว วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับ อยู่ที่นิโครธารามในเมืองกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าและทูลขออนุญาตให้สตรีสละเรือน ออกบวชในพระธรรมวินัย แต่การณ์นั้นมิใช่ง่าย พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสียถึง ๓ ครั้ง ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จไปยัง เมืองเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ละความพยายาม ถึงกับปลงผมนุงห่ม ผ้ากาสาวะเอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะจำนวนมาก (อรรถกถาว่า ๕๐๐ นาง) ไปยังเมืองเวสาลีและได้มา ยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา พระบาทบวมพระวรกายเปรอะเปื้อนธุลี พระอานนท์มาพบเข้า สอบถาม ทราบความแล้วรีบช่วยไปกราบทูลขออนุญาตให้ แต่เมื่อพระอานนท์กราบทูลต่อพระพุทธเจ้าก็ถูกพระองค์ตรัสห้าม เสียถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดพระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลถามว่าสตรีออกบวชในพระธรรมวินัยแล้วจะสามารถ บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตตผลได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าได้ พระอานนท์จึงอ้างเหตุผลนั้นพร้อมทั้งการที่ พระนางมหาปชาบดีเป็นพระมาตุจฉาและเป็นพระมารดาเลี้ยงมีอุปการะมากต่อพระองค์ แล้วขอให้ทรงอนุญาตให้สตรี ออกบวช พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า พระนางจะต้องรับปฏิบัติตามครุธรรม ๘ ประการ พระนางยอมรับ ตามพุทธานุญาตที่ให้ถือว่า การรับครุธรรมนั้นเป็นการอุปสมบทของพระนาง ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมด พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้ ในคราวนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่าการให้สตรีบวช จะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ คือพระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่ยั่งยืน จะมีอายุสั้นเข้า เปรียบเหมือนตระกูลที่มี บุรุษน้อยมีสตรีมาก ถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่าย หรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง หรือเหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง ยอม อยู่ได้ไม่ยืนนาน พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการกำกับไว้ก็เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระศาสนา เหมือนสร้างคันกั้น สระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลท้นออกไป (พระศาสนาจักอยู่ได้ยั่งยืนเช่นเดิม) และได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ ภิกษุไหว้ภิกษุณี ให้ภิกษุณีไหว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนาอื่นทั้งหลายไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย กล่าว โดยสรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคมศาสนาแล้ว จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเลย แต่ด้วยเหตุผลในด้านความ สามารถโดยธรรมชาติจึงทรงยอมให้สตรีบวชได้ เมื่อภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นแล้ว สตรีที่จะบวชต่อมาต้องเป็น สิกขมานารักษา สิกขาบท ๖ (คือ ๖ ข้อแรกในศีล ๑๐) ไม่ให้ขาดเลยตลอด ๒ ปีก่อน จึงขออุปสมบทได้ และต้องรับการอุปสมบทโดยสงฆ์ สองฝ่าย คือบวชโดยภิกษุณีสงฆ์แล้ว ต้องบวชโดยภิกษุสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง เมื่อเป็นภิกษุณีแล้วต้องรักษาสิกขาบท ๓๑๑ ข้อ (ศีล ๓๑๑) ภิกษุณีสงฆ์เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน เป็นแหล่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีปในรัชกาลของพระเจ้าเทวานิมปิยติสสะ โดยพระสังฆมิตตาเถรี พระราช ธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางจากชมพูทวีปมาประกอบอุปสมบทกรรมแก่พระนางอนุฬาเทวี ชายาของเจ้า มหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑ พันคน ภิกษุณีสงฆ์เจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีป ยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญสิ้นไป ด้วยเหตุใดและกาลใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในประเทศไทยไม่ ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์

ภิกษุบริษัท ชุมนุมภิกษุ, ชุมชนชาวพุทธฝ่ายภิกษุ (ข้อ ๑ ในบริษัท ๔)

ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ดู มูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ

ภิกษุสงฆ์ หมู่ภิกษุ, หมู่พระ ดู สงฆ์

ภุมมชกภิกษุ ชื่อภิกษุผู้โจทพระทัพพมัลลบุตร คู่กับพระเมตติยะ

ภุมมเทวะ เทวดาผู้อาศัยอยู่บนแผ่นดิน เช่น พระภูมิ เป็นต้น

ภูต, ภูตะ 1. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว, นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีก นัยหนึ่งหมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือ สัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ ระหว่างจะเกิด 2. ผี, อมนุษย์ 3. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต

ภูตกสิณ กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม

ภูตคาม ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่มี ๕ ชนิด ๑. พืชเกิดจากเหง้า คือใช้เหง้าเพาะ เช่น ขมิ้น ๒. พืชเกิด จากต้น คือตอนออกได้จากไม้ต้นทั้งหลาย เช่น ต้นโพธิ์ ๓. พืชเกิดจากข้อ คือใช้ข้อปลูก ได้แก่ไม้ลำ เช่นอ้อย ไม้ไผ่ ๔. พืชเกิดจากยอดคือ ใช้ยอดปักก็เป็น ได้แก่ผักต่างๆ มีผักชีล้อม ผักบุ้ง เป็นต้น ๕. พืชเกิดจากเมล็ด คือใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่ ถั่ว งา ข้าว, แปลตามรูปศัพท์ว่า บ้านของภูต, คู่กับ พีชคาม

ภูตคามวรรค หมวดที่ว่าด้วยภูตคามเป็นวรรคที่ ๒ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก

ภูตรูป ดู มหาภูต

ภูมิ 1. พื้นเพ, พื้น, ชั้น, ที่ดิน, แผ่นดิน 2. ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิตมี ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ชั้นที่ยังท่องเที่ยว อยู่ในกาม ๒. รูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป หรือชั้นของพวกที่ได้รูปฌาน ๓. อรูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยว อยู่ในอรูปหรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน ๔ โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นโลกหรือระดับพระอริยบุคคล

ภูษา เครื่องนุ่งห่ม, ผ้าทรง

ภูษามาลา ช่างแต่งผม

เภทกรวัตถุ เรื่องทำความแตกกัน, เรื่องที่จะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความแตกแยกในสงฆ์, เหตุให้สงฆ์แตกกันท่านแสดงไว้ ๑๘ อย่าง ดู อัฏฐารสเภทกรวัตถุ

เภทนกปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องทำลายสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ได้แก่ สิกขาบทที่ ๔ แห่งตนวรรคที่ ๙ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ (ปาจิตตีย์ ข้อที่ ๘๖ ทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์)

เภริ, เภรี กลอง

เภสัช ยา, ยารักษาโรค, ยาแก้โรค เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔, เภสัช ๕ ที่เป็นสัตตาหกาลิก รับไว้ฉันได้ตลอด ๗ วัน คือ ๑. สัปปิ เนยใส ๒. นวนีตะ เนยข้น ๓. เตละ น้ำมัน ๔. มธุ น้ำผึ้ง ๕. ผาณิต น้ำอ้อย; ส่วนยาแก้โรคที่ทำจากรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ เป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก คือรับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต

เภสัชชขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งคัมภีร์มหาวรรควินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเภสัชคือ ยาบำบัดโรค ตลอดจนเรื่องยาคู อุทิสสมังสะ กับปิยะอกัปปิยะ และกาลิก ๔

โภคอาทิยะ ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์มี ๕ คือ ๑. เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข ๒. เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข ๓. บำบัดป้องกันภยันตราย ๔. ทำ พลี ๕ อย่าง ๕. ทำทานในสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ

โภชชยาคู ข้าวต้มสำหรับฉันให้อิ่ม เช่น ข้าวต้มหมู เป็นต้น มีคติอย่างเดียวกันกับอาหารหนัก เช่น ข้าวสวยต่างจาก ยาคูที่กล่าวถึงตามปกติในพระวินัย ซึ่งเป็นของเหลวใช้สำหรับดื่ม ภิกษารับนิมนต์ในที่แห่งหนึ่งไว้ฉันยาคูสามัญไป ก่อนได้ แต่จะฉันโภชชยาคูไปก่อนไม่ได้ ดู ยาคู

โภชนะ ของมัน, ของกิน, โภชนทั้ง ๕ ได้แก่ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ

โภชนปฏิสังยุต ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับโภชนะ, ข้อที่ภิกษุสามเณรควรประพฤติปฏิบัติเที่ยวกับการรับบิณฑบาตและฉัน อาหาร, เป็นหมวดที่ ๒ แห่งเสขิยวัตร มี ๓๐ สิกขาบท

โภชนวรรค หมวดที่ว่าด้วยเรื่องอาหารเป็นวรรคที่ ๔ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ แห่งพระวินัยปิฎก

โภชนะทีหลัง ดู ปรัมปรโภชน์

โภชนะเป็นของสมณะ (ในสิกขาบทที่ ๒ แห่งโภชนวรรค) พวกสมณะด้วยกันนิมนต์ฉัน (ฉันเป็นหมู่ได้ ไม่ต้อง อาบัติปาจิตตีย์)

โภชนะอันประณีต เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม

โภชนาหาร อาหารคือของกิน

โภชนียะ ของควรบริโภค, ของสำหรับฉัน ได้แก่ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ

โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร, รู้จักประมาณในการกิน คือ กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่าง กายให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (ข้อ ๒ ในอปัณณกปฏิปทา ๓)

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น