Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๑๓ หน้า ๗๕๗ - ๘๑๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๑๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)
สก. หากทิฏฐิมีผลมีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทษทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง”๑
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโทษทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วัจฉะ มิจฉาทิฏฐิแลเป็นอกุศล
สัมมาทิฏฐิเป็นกุศล”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๓๑๐/๔๑
๒ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๙๔/๒๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุณณะ เรากล่าวว่าคติของคนผู้
เป็นมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
[๗๐๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วัจฉะ คำว่า โลกเที่ยง นี้เราไม่
พยากรณ์๒ คำว่า โลกไม่เที่ยง นี้เราไม่พยากรณ์ คำว่า โลกมีที่สุด ฯลฯ คำว่า
โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ คำว่า ชีวะ๓กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ฯลฯ คำว่า ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคต๔เกิดอีก ฯลฯ คำว่า
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายไป ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เราไม่พยากรณ์” ๕ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ทิฏฐิจึงเป็นอัพยากฤต
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๗๙/๗๖-๗๗
๒ คำนี้ แปลมาจากคำว่า อพฺยากต หรือ อพฺยากฺฤต ในภาษาสันสกฤต
๓ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙), ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล)
๒๔/๒๐/๓๙-๔๑
๔ คำว่า ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ใช่
หมายถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่าหมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๑๕/๑๐๘, ม.ม.อ. ๒/๑๒๒/๑๐๕)
๕ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๘๗-๑๘๙/๒๑๙-๒๒๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๙. อปริยาปันนกถา (๑๔๔)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่
ทิฏฐิ ฯลฯ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความ
ปรารถนา ความตั้งใจและสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมด
นั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
อัพยากตกถา จบ
๙. อปริยาปันนกถา (๑๔๔)
ว่าด้วยธรรมที่ไม่นับเนื่อง(ในโลกิยะ)
[๗๐๙] สก. ทิฏฐิเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่องใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ทิฏฐิเป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๑๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่อง” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๓๐๖/๓๙
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๙/๒๗๗-๒๗๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานเรียกว่าผู้ละกามราคะได้ แต่ไม่เรียกว่าผู้ละทิฏฐิได้ ดังนั้น ทิฏฐิ
จึงไม่นับเนื่องในโลกิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๙/๒๗๗-๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ปร. ปุถุชน ท่านยอมรับว่า “ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านยอมรับว่า “ปราศจากทิฏฐิ” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ทิฏฐิจึงเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่อง
อปริยาปันนกถา จบ
จุททสมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา ๒. สฬายตนุปปัตติกถา
๓. อนันตรปัจจยกถา ๔. อริยรูปกถา
๕. อัญโญอนุสโยติกถา ๖. ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา
๗. ปริยาปันนกถา ๘. อัพยากตกถา
๙. อปริยาปันนกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
๑๕. ปัณณรสมวรรค
๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
ว่าด้วยความเป็นปัจจัย
[๗๑๑] สก. ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิมังสาเป็นเหตุและเป็นอธิบดีมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาเป็นเหตุและเป็นอธิบดี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิมังสาเป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย”
สก. ฉันทาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากฉันทาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
[๗๑๒] สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๑-๗๑๗/๒๗๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมเหล่าใดมีเหตุปัจจัย(ชื่อปัจจัยหนึ่งในปัจจัย ๒๔ ดูในคัมภีร์ปัฏฐาน)
สภาวธรรมเหล่านั้นก็ต้องเป็นเหตุปัจจัยเท่านั้น จะเป็นปัจจัยอื่นไม่ได้ กล่าวคือในธรรมหนึ่ง ๆ จะต้องมี
ปัจจยสัตติ(แรงหรือพลังของปัจจัย)เดียวเท่านั้น เกินกว่านั้นไม่มี ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
สภาวธรรมหนึ่งมีปัจจัยได้หลายปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๑-๗๑๗/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
อินทรียปัจจัย”
สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรค ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย”
[๗๑๓] สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอาหารมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอาหาร ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหาร-
ปัจจัย”
สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย”
[๗๑๔] สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
อินทรียปัจจัย”
สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรค ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคค-
ปัจจัย”
[๗๑๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา๑ ทำอริยธรรมให้หนักแน่นแล้ว
เกิดขึ้นและทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา หมายถึงกามาวจรกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ มหากิริยาจิตที่
สัมปยุตด้วยญาณ ๔ (วิภาวินี. ปริจเฉทที่ ๙ ข้อ ๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๒. อัญญมัญญปัจจยกถา (๑๔๖)
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา ทำอริยธรรมให้หนักแน่นแล้วเกิดขึ้น
และทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่
เป็นเครื่องพิจารณาเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย”
[๗๑๖] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลนั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลนั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”
สก. สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
นั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
นั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
[๗๑๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัยก็ได้ เป็น
ปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัยก็ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้”
ปัจจยตากถา จบ
๒. อัญญมัญญปัจจยกถา (๑๔๖)
ว่าด้วยอัญญมัญญปัจจัย
[๗๑๘] สก. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อวิชชาเกิดพร้อมกับสังขารมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอวิชชาเกิดพร้อมกับสังขาร ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี”
สก. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทานมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อัญญมัญญปัจจัยไม่มี เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยให้สังขารเกิดได้ แต่สังขารจะเป็นปัจจัย
ให้อวิชชาเกิดไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มีอัญญมัญญปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-
๗๑๙/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. หากตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทาน ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
[๗๑๙] ปร. พระสูตรที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะชรามรณะเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ภพจึงมี”๑ มีอยู่หรือ
สก. ไม่มี
ปร. ดังนั้น ท่านไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
สก. พระสูตรที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น จึงควรยอมรับว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
อัญญมัญญปัจจยกถา จบ
๓. อัทธากถา (๑๔๗)
ว่าด้วยกาล
[๗๒๐] สก. กาลเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๙๖-๙๘/๕๗-๕๙
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า กาลเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ (ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที
ที่เห็นว่า กาลไม่จัดเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ เป็นเพียงคำบัญญัติเรียก แต่คำบัญญัติว่า “รูป”
เป็นต้นจัดเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๐-๗๒๑/๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กาลที่เป็นอดีตเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กาลที่เป็นอนาคตเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กาลที่เป็นปัจจุบันเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. กาลที่เป็นอดีตมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นกาลที่เป็น
อนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลที่เป็นอนาคตมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลที่เป็นปัจจุบันมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต ขันธ์ ๕ ที่เป็นอนาคต
เป็นกาลที่เป็นอนาคต ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๑๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต อายตนะ ๑๒ ที่เป็น
อนาคต เป็นกาลที่เป็นอนาคต อายตนะ ๑๒ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๓๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอนาคต
เป็นกาลที่เป็นอนาคต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๕๔ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอนาคต
เป็นกาลที่เป็นอนาคต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๖๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กาลเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ๑ ๓ ประการนี้
กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีมาแล้วอย่างนี้
๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้
๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลมีอยู่
อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ กถาวัตถุ หมายถึงเรื่องที่นำมาอภิปรายหรือเสวนากัน (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๔. ขณลยมุหุตตกถา (๑๔๘)
ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ ประการนี้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น กาลจึงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
อัทธากถา จบ
๔. ขณลยมุหุตตกถา (๑๔๘)
ว่าด้วยขณะ ลยะ และมุหุตตะ
[๗๒๒] สก. ขณะหนึ่ง๒ เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว ลยะหนึ่งเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
มุหุตตะหนึ่งก็เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร.๓ ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มุหุตตะหนึ่งเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓
ประการนี้
กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๘/๒๗๐
๒ ขณะหนึ่ง หมายถึงชั่วระยะเวลาดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง, ๑๐ ขณะเป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะเป็น ๑ ขณลยะ,
๑๐ ขณลยะเป็น ๑ มุหุตตะ, ๑๐ มุหุตตะ เป็น ๑ ขณมุหุตตะ (อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๖๖-๖๗)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๕. อาสวกถา (๑๔๙)
๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีมาแล้วอย่างนี้
๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้
๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลมีอยู่
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ ประการนี้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ขณะหนึ่งจึงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
ขณลยมุหุตตกถา จบ
๕. อาสวกถา (๑๔๙)
ว่าด้วยอาสวะ
[๗๒๔] สก. อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ
โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๘/๒๗๐
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๔/๒๘๐)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อาสวะมี ๔ อย่างเท่านั้น ไม่อาจเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๔/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๖. ชรามรณกถา (๑๕๐)
ปร. อาสวะเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะ ด้วยอาสวะเหล่าใด อาสวะเหล่านั้น
มีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อาสวะ ๔ จึงไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อาสวกถา จบ
๖. ชรามรณกถา (๑๕๐)
ว่าด้วยชรามรณะ
[๗๒๖] สก. ชรามรณะแห่งโลกุตตรธรรมเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ
โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติมรรคเป็นโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติมรรคเป็นโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติผลเป็นโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๖/๒๘๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ชรา (ความแก่) และมรณะ (ความตาย) ของโลกุตตรธรรมจัดเป็นโลกุตตระ ซึ่งต่าง
กับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ชรามรณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ จึงไม่อาจจัดเป็นโลกิยะหรือ
โลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๖/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๖. ชรามรณกถา (๑๕๐)
สก. ชรามรณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิ-
มรรค ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ ชรามรณะแห่งอรหัตตมรรคเป็นอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งอรหัตตมรรคเป็นอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งอรหัตตผลเป็นอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ
อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ ชรามรณะแห่งโพชฌงค์ เป็นโพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ชรามรณะแห่งโลกุตตรธรรมเป็นโลกุตตระ”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นโลกิยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ชรามรณะจึงเป็นโลกุตตระ
ชรามรณกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๗. สัญญาเวทยิตกถา (๑๕๑)
๗. สัญญาเวทยิตกถา (๑๕๑)
ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ๑
[๗๒๘] สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ
โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกุตตระ”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นโลกิยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงเป็นโลกุตตระ
สัญญาเวทยิตกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มี ๒ อย่าง คือ (๑) อสัญญสมาบัติ ซึ่งเป็นเหตุให้ปุถุชนเกิดในภพแห่ง
อสัญญสัตว์ (๒) นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติของพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๘-๗๒๙/๒๘๐-๒๘๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่ใช่โลกิยะจึงจัดเป็นโลกุตตระ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเพียงความดับแห่งขันธ์ ๔ เท่านั้น จึงไม่เป็น
ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๘-๗๒๙/๒๘๐-๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๒)
๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๒)
ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ที่ ๒
[๗๓๐] สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นกามาวจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นรูปาวจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นอรูปาวจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นโลกุตตระใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงเป็นโลกิยะ
ทุติยสัญญาเวทยิตกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๐/๒๘๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่ใช่โลกุตตระ จึงจัดเป็นโลกิยะ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเพียงความดับแห่งขันธ์ ๔ เท่านั้น จึงไม่เป็น
ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๐-๗๓๑/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๓
[๗๓๒] สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ที่เกิดในขณะใกล้จะตายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ที่เกิดในขณะใกล้จะตายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ที่เกิดในขณะใกล้ตาย ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้”
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติมีผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๒/๒๘๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะเข้านิโรธสมาบัติ บุคคลก็อาจตายได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๒/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
สก. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ฯลฯ ไม่มีจิต ตายได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ตายได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ตายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้”
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคล
ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ๊บุคคลผู้เข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ ๋
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอาจตายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
สก. ไม่ได้เข้านิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๓] ปร. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่อาจตายใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด
นิยาม นั้นมีอยู่หรือ
สก. ไม่มี
ปร. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่อาจตายแน่นอนด้วย
นิยามใด นิยามนั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติไม่อาจตาย”
[๗๓๔] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด นิยามนั้น
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. หากบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด
นิยามนั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตาย”
ตติยสัญญาเวทยิตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา (๑๕๔)
๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา (๑๕๔)
ว่าด้วยสมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์
[๗๓๕] สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ๑เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์๒
ได้ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีกุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ อโมหะ
มีสัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีกุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ
ฯลฯ ไม่มีปัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีกุศลมูลคืออโลภะ
อโทสะ อโมหะ ไม่มีสัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้”
สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มี ๒ อย่าง คือ (๑) อสัญญสมาบัติ ซึ่งเป็นเหตุให้ปุถุชนเกิดในภพแห่ง
อสัญญสัตว์ (๒) นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติของพระอริยะ ในที่นี้ปรวาทีถือรวม ๆ โดยไม่แยกว่าอสัญญ-
สมาบัติหรือนิโรธสมาบัติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)
๒ ภพแห่งอสัญญสัตว์ หมายถึงภพแห่งสัตว์ไม่มีสัญญา ซึ่งเป็นภพหรือภูมิที่นักบวชในลัทธิเดียรถีย์ เป็นต้น
เมื่อเจริญวาโยกสิณจนบรรลุจตุตถฌานแล้วได้เจริญภาวนาบนแนวทางที่เบื่อหน่ายในนามธรรมมีสัญญา
เป็นต้นเป็นนิจ ครั้นละจากอัตภาพนั้นแล้วก็จะไปบังเกิดที่อสัญญสัตตภพอันเป็นภพที่ปราศจากจิต
วิญญาณหรือความรู้สึกใด ๆ (ที.สี.อ. ๖๘-๗๓/๑๐๘-๑๐๙)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา (๑๕๔)
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้ไม่มีจิตมีการเจริญมรรคได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้มิใช่
หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้”
สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าชนผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติทั้งหมดนั้นเป็นผู้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึง
ภพแห่งอสัญญสัตว์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
ปร. บุคคลไม่มีสัญญาแม้ในโลกนี้ก็เป็นผู้ไม่มีสัญญาแม้ในภพแห่งอสัญญ-
สัตว์นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลไม่มีสัญญาแม้ในโลกนี้ก็เป็นผู้ไม่มีสัญญาแม้ในภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุ
ให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้”
อสัญญสัตตูปิกากถา จบ
๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
ว่าด้วยกรรมที่สั่งสม
[๗๓๗] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผัสสะกับผัสสะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน เวทนากับเวทนาที่สั่งสมเป็น
คนละอย่างกัน สัญญากับสัญญาที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน เจตนากับเจตนาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน จิตกับจิตที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน สัทธากับสัทธาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน วิริยะกับวิริยะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน สติกับสติที่สั่งสมเป็น
คนละอย่างกัน สมาธิกับสมาธิที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน ปัญญากับปัญญาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน ราคะกับราคะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ อโนตตัปปะกับ
อโนตตัปปะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๗/๒๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน กรรมที่สั่งสม วิปปยุตจากจิต เป็น
อัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า กรรมและกรรมที่สั่งสมเป็น
ไวพจน์กัน สัมปยุตด้วยจิต และรับรู้อารมณ์ได้ ต่างกันในเวลาให้ผลเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๗/๒๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
[๗๓๘] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกุศลกรรมเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกุศลกรรมเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๙] สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับอกุศลกรรมเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับอกุศลกรรมเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๐] สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต กรรมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต กรรมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมก็แตกสลายไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมที่สั่งสมก็แตก
สลายไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมที่สั่งสมไม่แตก
สลายไปใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมไม่แตกสลายไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๑] สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมเป็นแดนเกิดแห่งวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นอย่างเดียวกัน วิบากกรรมก็เป็นอย่างเดียวกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมเป็นแดนเกิดแห่งวิบาก วิบากรับรู้อารมณ์
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากไม่มีอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๒] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้
ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่ง
วจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
เขาครั้นปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
ปรุงแต่งวจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้างแล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน
บ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคล
ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน เหมือน
มนุษย์ เทวดาบางพวก๑ และวินิปาติกะ๒บางพวก ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล
ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูก
ต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เรากล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลแห่งกรรม”๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละ
อย่างกัน”
กัมมูปจยกถา จบ
ปัณณรสมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาบางพวก หมายถึงกามาวจรเทวดา ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ
ปรนิมมิตวสวัตดี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๓/๔๔๐)
๒ วินิปาติกะ หมายถึงเวมานิกเปรต ได้แก่ เปรตผู้อยู่ในวิมานเสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรม
เสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมานมีร่างกาย
เป็นทิพย์ สวยงาม แต่เวลาจะเสวยทุกข์ก็ต้องออกจากวิมานนี้ไปและร่างกายกลายเป็นร่างกายที่น่าเกลียด
น่ากลัว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๓/๔๔๑)
๓ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๘๑/๗๙-๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปัจจยตากถา ๒. อัญญมัญญปัจจยกถา
๓. อัทธากถา ๔. ขณลยมุหุตตกถา
๕. อาสวกถา ๖. ชรามรณกถา
๗. สัญญาเวทยิตกถา ๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา
๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา ๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา
๑๑. กัมมูปจยกถา

ตติยปัณณาสก์ จบ
รวมวรรคที่มีในตติยปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑๑ เริ่มด้วยติสโสปิอนุสยกถา
วรรคที่ ๑๒ เริ่มด้วยสังวโรกัมมันติกถา
วรรคที่ ๑๓ เริ่มด้วยกัปปัฏฐกถา
วรรคที่ ๑๔ เริ่มด้วยกุสลากุสลปฏิสันทหนกถา
วรรคที่ ๑๕ เริ่มด้วยปัจจยตากถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑. นิคคหกถา (๑๕๖)
๑๖. โสฬสมวรรค
๑. นิคคหกถา (๑๕๖)
ว่าด้วยการข่มจิต
[๗๔๓] สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นว่า “อย่ากำหนัด อย่าขัดเคือง อย่าหลง
อย่าเศร้าหมองได้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นข่มได้ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มได้ว่า “เวทนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ สัญญาที่เกิดขึ้น ฯลฯ
เจตนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ จิตที่เกิดขึ้น ฯลฯ สัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ วิริยะที่เกิดขึ้น ฯลฯ
สติที่เกิดขึ้น ฯลฯ สมาธิที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๓/๒๘๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่มีความชำนาญในฌานอภิญญาย่อมสามารถข่มจิตของคนอื่นได้ ซึ่งต่างกับความ
เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า บุคคลไม่สามารถใช้จิตของตนข่มจิตของคนอื่นได้โดยตรง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๓/๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑. นิคคหกถา (๑๕๖)
สก. บุคคลอื่นละราคะ โทสะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นเจริญมรรค สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค เพื่อ
ประโยชน์แก่คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลทำบาปเองก็เศร้าหมองเอง
ไม่ทำบาปเองก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
บุคคลอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้”
[๗๔๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้”
นิคคหกถา จบ
๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
ว่าด้วยการบังคับจิต
[๗๔๕] สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นว่า “อย่ากำหนัด อย่าขัดเคือง อย่าหลง
อย่าเศร้าหมองได้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๑๖๕/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นให้กุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ อโมหะ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
ปัญญาเกิดแก่คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นบังคับว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับว่า “เวทนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแก่คนอื่น
อย่าได้ดับไปเลย” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นละราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นเจริญมรรค สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรค เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลทำบาปเอง ฯลฯ บุคคล
อื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้”
[๗๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ คนผู้มีอำนาจก็มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้”
ปัคคหกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๑๖๕/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๓. สุขานุปปทานกถา (๑๕๘)
๓. สุขานุปปทานกถา (๑๕๘)
ว่าด้วยการมอบสุข
[๗๔๗] สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลอื่นมอบทุกข์ให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นมอบทุกข์ให้คนอื่นไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นมอบสุขของตน สุขของคนเหล่าอื่น สุขของผู้รับนั้นให้คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นมอบสุขของตน สุขของคนเหล่าอื่น สุขของผู้รับนั้นให้คนอื่น
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๗/๒๘๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลหนึ่งย่อมสามารถบันดาลสุขให้แก่อีกคนหนึ่งได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๗/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๓. สุขานุปปทานกถา (๑๕๘)
สก. หากบุคคลอื่นมอบสุขของตน สุขของคนเหล่าอื่น สุขของผู้รับนั้นให้คน
อื่นไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้”
สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระอุทายีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มี
พระภาคทรงกำจัด สภาวธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้
พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้
พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย”๑ มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลอื่นจึงมอบสุขให้คนอื่นได้
สุขานุปปทานกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๔๙/๑๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
ว่าด้วยมนสิการรวบยอด
[๗๔๙] สก. บุคคลมนสิการรวบยอด๑ได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า “เป็นจิต” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า “เป็นจิต” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น ฯลฯ
จำสัญญานั้นด้วยสัญญานั้น ฯลฯ จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น ฯลฯ คิดจิตนั้น

เชิงอรรถ :
๑ มนสิการรวบยอด หมายถึงพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ในขณะเดียวกัน
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๙-๗๕๓/๒๘๕-๒๘๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในการพิจารณาอารมณ์ทั้งหลาย บุคคลสามารถพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ใน
ขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า บุคคลไม่สามารถพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ใน
ขณะเดียวกัน แต่สามารถพิจารณาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ส่วนอารมณ์อื่น ๆ ที่เหลือสามารถ
พิจารณาได้โดยนัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๙-๗๕๓/๒๘๕-๒๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
ด้วยจิตนั้น ฯลฯ ตรึกถึงวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ฯลฯ ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น ฯลฯ
เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น ฯลฯ ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น ฯลฯ รู้ชัดปัญญานั้นด้วย
ปัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๐] สก. บุคคลเมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อม
มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๑] สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อม
มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๒] สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อม
มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็น
อนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็น
อนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลมนสิการรวบยอด” ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญา๑ว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า

เชิงอรรถ :
๑ เห็นด้วยปัญญา หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญา (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)
สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงมนสิการรวบยอดได้
อธิคัยหมนสิการกถา จบ
๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)
ว่าด้วยรูปเป็นเหตุ
[๗๕๔] สก. รูปเป็นเหตุใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อโลภะเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๗๗-๒๗๙/๑๑๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า รูปสามารถเป็นเหตุให้แก่รูปได้ เช่น มหาภูตรูป ๔ ชื่อว่าเป็นเหตุให้แก่อุปาทายรูปได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)
สก. รูปเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นเหตุ”
[๗๕๕] สก. อโลภะเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
สก. รูปเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นเหตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มหาภูตรูปเป็นเหตุ โดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทายรูปมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากมหาภูตรูปเป็นเหตุโดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทายรูป ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นเหตุ”
รูปังเหตูติกถา จบ
๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
ว่าด้วยรูปมีเหตุ
[๗๕๗] สก. รูปมีเหตุ๑ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. รูปมีอโลภเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ มี ๒ อย่าง คือ (๑) สัมปยุตตเหตุ (๒) ปัจจยเหตุ ในที่นี้ปรวาทีไม่ได้แยกแยะเหตุเป็น ๒ อย่าง
แต่ใช้รวม ๆ กัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
สก. รูปมีเหตุโดยเหตุคืออโทสะ ฯลฯ โดยเหตุคืออโมหะ ฯลฯ โดยเหตุ
คือโลภะ ฯลฯ โดยเหตุคือโทสะ ฯลฯ โดยเหตุคือโมหะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปมีเหตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปมีเหตุ”
[๗๕๘] สก. อโลภะมีเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปมีเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นไปกับเหตุ ฯลฯ อโมหะ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ มีเหตุ
รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปมีเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
สก. รูปมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโทสะมีเหตุ ฯลฯ อโนตตัปปะมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปมีเหตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปมีปัจจัยมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากรูปมีปัจจัย ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปมีเหตุ”
รูปังสเหตุกันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
ว่าด้วยรูปเป็นกุศลและอกุศล
[๗๖๐] สก. รูปเป็นกุศลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกุศล”
[๗๖๑] สก. อโลภะเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญาเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๐-๗๖๔/๒๘๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปเป็นทั้งกุศลและอกุศล ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูปเป็นอัพยากฤต
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๐-๗๖๔/๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
สก. รูปเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ ปัญญาเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๖๒] สก. รูปเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นอกุศล ฯลฯ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
[๗๖๓] สก. โลภะเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะเป็นอกุศล ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศล
รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะเป็นอกุศล ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศล
รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)
[๗๖๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
รูปังกุสลากุสลันติกถา จบ
๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)
ว่าด้วยรูปเป็นวิบาก
[๗๖๕] สก. รูปเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ ฯลฯ
สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความ
นึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๕-๗๖๘/๒๘๗-๒๘๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กัมมชรูป(รูปที่เกิดจากกรรม) ก็เรียกว่าวิบากได้ เหมือนกับที่เรียกจิตที่เป็นผลของ
กรรมว่าวิบากจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๕-๗๖๘/๒๘๗-๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)
สก. หากรูปไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นวิบาก”
[๗๖๖] สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นวิบาก มีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มี
ความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้ เป็นวิบาก
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสภาวธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเพราะคนได้มีการทำกรรมไว้ จึง
เป็นวิบาก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปที่เกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้
เป็นวิบาก”
รูปังวิปาโกติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา (๑๖๔)
๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา (๑๖๔)
ว่าด้วยรูปเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร
[๗๖๘] สก. รูปที่เป็นรูปาวจรมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ
ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับ
พร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่อง
แสวงหาสมาบัติ ดวงที่แสวงหาอุบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็น
เครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นรูปาวจรมีอยู่”
[๗๖๙] สก. รูปเป็นอรูปาวจรมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๘-๗๗๐/๒๘๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปใดเกิดเพราะกรรมอันเป็นส่วนกามาวจร รูปนั้นก็เป็นกามาวจร รูปใดเกิดเพราะ
กรรมอันเป็นส่วนรูปาวจรและอรูปาวจร รูปนั้นก็เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า รูปทั้งหมดเป็นกามาวจร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๘-๗๗๐/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา (๑๖๔)
สก. รูปเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ
ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่อง
แสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ฯลฯ
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“รูปเป็นอรูปาวจรมีอยู่”
[๗๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นรูปาวจรก็มี เป็นอรูปาวจรก็มี” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปชื่อว่าเป็นกามาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่เป็นกามาวจรไว้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากรูปชื่อว่าเป็นกามาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่เป็นกามาวจรไว้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปชื่อว่าเป็นรูปาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่
เป็นรูปาวจรไว้ รูปชื่อว่าเป็นอรูปาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่เป็นอรูปาวจรไว้”
รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
ว่าด้วยรูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ เป็นต้น
[๗๗๑] สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปราคะเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ
ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่าง
เดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. รูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ
ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่าง
เดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ”
[๗๗๒] สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททราคะนับเนื่องในสัททธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๑/๒๘๘-๒๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปราคะจัดเข้าในรูปธาตุ ส่วนอรูปราคะจัดเข้าในอรูปธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๑/
๒๘๘-๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสัททธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า
“นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๓] สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่อง
แสวงหาสมาบัติ ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
สก. อรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียว
กันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ
ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็น
เครื่องแสวงหาสมาบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุ”
[๗๗๔] สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททราคะนับเนื่องในสัททธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสัททธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า
“นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนับเนื่อง
ในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กามราคะนับเนื่องในกามธาตุมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกามราคะนับเนื่องในกามธาตุ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปราคะ นับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุ”
รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา จบ
โสฬสมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นิคคหกถา ๒. ปัคคหกถา
๓. สุขานุปปทานกถา ๔. อธิคัยหมนสิการกถา
๕. รูปังเหตูติกถา ๖. รูปังสเหตุกันติกถา
๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา ๘. รูปังวิปาโกติกถา
๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติ-
อาทิกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา (๑๖๖)
๑๗. สัตตรสมวรรค
๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา (๑๖๖)
ว่าด้วยพระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ
[๗๗๖] สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบาปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบาปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๗] สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์สร้างสมปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร ทำกรรมที่เป็น
ไปเพื่อคติ เพื่อภพ เพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ เพื่อความเป็นใหญ่(ในแผ่นดิน)
เพื่อมีสมบัติมาก เพื่อมีบริวารมาก เพื่อความงามในหมู่เทพ เพื่อความงามใน
มนุษย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๘] สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๖-๗๗๙/๒๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ก็ยังสั่งสมบุญอยู่ เช่น ให้ทานและไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระอรหันต์เป็นผู้ละทั้งบุญและบาปได้แล้ว การกระทำเช่นนั้นไม่จัดเป็นการ
สั่งสมบุญ เป็นเพียงกิริยาไม่ก่อให้เกิดวิบาก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๖-๗๗๙/๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา (๑๖๖)
สก. พระอรหันต์ยังสั่งสมอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่สั่งสมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละ ฯลฯ พระอรหันต์ยังยึดมั่น ฯลฯ พระอรหันต์ยัง
กำจัดอยู่ ฯลฯ พระอรหันต์ยังก่ออยู่ ฯลฯ พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ ฯลฯ
พระอรหันต์ยังปรับปรุงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสมแล้ว
ดำรงอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสม
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ”
สก. พระอรหันต์ละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ละแล้วดำรงอยู่ ...
กำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ... ทำลายอยู่ก็มิใช่
ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลายแล้วดำรงอยู่ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลาย
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ”
[๗๗๙] ปร. พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ยังให้ทานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ยังให้ทาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์ไม่มี
การสั่งสมบุญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (๑๖๗)
ปร. พระอรหันต์ยังถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่ม ฯลฯ
ยังไหว้พระเจดีย์ ฯลฯ ยังยกดอกไม้ ฯลฯ ของหอม ฯลฯ เครื่องลูบไล้ขึ้นไว้
บนพระเจดีย์ ฯลฯ ยังทำประทักษิณพระเจดีย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ยังทำประทักษิณพระเจดีย์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญ”
อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา จบ
๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (๑๖๗)
ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ
[๗๘๐] สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อกาลมรณะ ในที่นี้หมายถึงการปรินิพพานในเวลาอันไม่สมควร
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๐/๒๙๐)
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์จะต้องเสวยผลกรรมให้หมดก่อนจึงจะปรินิพพานได้ ฉะนั้น จึงไม่มีการ
ปรินิพพานภายในเวลาอันไม่สมควร ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระอรหันต์ก็อาจ
ปรินิพพานในเวลาอันไม่สมควรได้ ถึงแม้ผลกรรมจะยังเหลืออยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๐/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (๑๖๗)
สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลปลงชีวิตพระอรหันต์ได้เมื่อยังมีอายุ๑เหลืออยู่ หรือปลงชีวิตได้
เมื่อหมดอายุใช่ไหม
ปร. ปลงชีวิตได้เมื่อยังมีอายุเหลืออยู่
สก. หากบุคคลปลงชีวิตได้เมื่อยังมีอายุเหลืออยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ”
สก. บุคคลปลงชีวิตพระอรหันต์ได้เมื่อหมดอายุ เพราะเหตุนั้น ผู้ฆ่าพระ
อรหันต์จึงไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๑] สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์ได้
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์ได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ”
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๒๑ หน้า ๖๗๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
[๗๘๒] ปร. พระอรหันต์มีอกาลมรณะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจะไม่กล่าว
กรรมที่สัตว์มีเจตนาทำไว้ สั่งสมไว้ว่า สิ้นสุด เพราะยังไม่เสวยผล ก็ผลนั้นแล สัตว์
ต้องเสวยในอัตภาพนี้ ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น พระอรหันต์จึงไม่มีอกาลมรณะ
นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา จบ
๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรม
[๗๘๓] สก. สิ่งทั้งปวง๒ นี้เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. แม้แต่กรรมเองก็เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะเหตุที่ทำไว้ก่อนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๗/๓๕๗
๒ สิ่งทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะคือกิเลส กรรม และวิบาก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๓/๒๙๑)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๓/๒๙๑)
๔ เพราะมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงคือกัมมวัฏฏะ กิเลสวัฏฏะ และวิปากวัฏฏะเกิดขึ้นเพราะกรรมเท่านั้น
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า วิปากวัฏฏะเท่านั้นที่เกิดขึ้นเพราะกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๓/๒๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น