Google Analytics 4




สังโยชน์ 10

ธัมมโชติ รวมธรรมะน่าสนใจจากพระไตรปิฎกด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อคนรุ่นใหม่

สังโยชน์ หรือสัญโยชน์ หรือสัญโญชน์ (พระไตรปิฎกแต่ละฉบับ รวมถึงตำราแต่ละเล่มเรียกต่างกันออกไปนะครับ) คือเครื่องผูกจิตเอาไว้ให้ติดอยู่กับสิ่งต่างๆ รวมถึงภพภูมิต่างๆ และวัฏสงสาร ทำให้จิตไม่เป็นอิสระ ต้องตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น สิ่งเหล่านั้นจึงสามารถฉุดกระชากลากจูงจิต ให้ต้องทนทุกข์ทรมานต่างๆ นานา ไม่อาจพ้นจากทุกข์ไปได้ครับ

เปรียบเหมือนเชลยที่ถูกข้าศึกเอาเชือกล่าม แล้วใช้ม้าลากให้เชลยนั้นถูลู่ถูกังไปกับพื้น ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสโดยไม่ปรานี

สังโยชน์ 10 นี้มีอวิชชาเป็นแม่ทัพที่คอยบงการให้เสนาทั้ง 9 ลากจูงจิตไปในทิศทางต่างๆ เมื่อเสนาใดมีกำลังมากกว่าก็จะฉุดกระชากจิตให้ถูลู่ถูกังไปในทิศทางของตน (ดูภาพด้านล่างประกอบนะครับ)


แผนภูมิแสดงสังโยชน์ 10


สังโยชน์ 10 ประกอบด้วย

  1. สักกายทิฏฐิ : ความเห็นว่ารูปนี้นามนี้หรือกายนี้ใจนี้เป็นอัตตา เป็นตัวเป็นตนของเรา ควรแก่การยึดมั่นถือมั่น ผูกจิตไว้กับความเห็นแก่ตัวอย่างเหนียวแน่นครับ

  2. วิจิกิจฉา : ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ ไม่ปักใจเชื่อในสิ่งเหล่านี้คือ
    • สงสัยว่าพระพุทธเจ้าผู้รู้ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงและปฏิบัติตามทางนั้นจนสำเร็จด้วยตัวพระองค์เองมาแล้วมีจริงหรือไม่ (สงสัยในพระพุทธเจ้า)

    • สงสัยว่าสภาวะที่พ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงและทางปฏิบัติเพื่อเข้าสู่สภาวะนั้น มีจริงหรือไม่ และทางไหนกันแน่ที่ถูกต้องแท้จริง (สงสัยในพระธรรม)

    • สงสัยว่าผู้ปฏิบัติตามทางที่พระพุทธเจ้าแนะนำจนพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงแล้วมีจริงหรือไม่ (สงสัยในพระสงฆ์)
    ความไม่แน่ใจนี้ผูกจิตเอาไว้กับความไม่แน่วแน่หรือความไม่จริงจังในการปฏิบัติในทางที่ถูกครับ
  3. สีลพตปรามาส : การถือศีลพรตด้วยจุดมุ่งหมายที่ผิดทาง ทำให้ไม่ได้ประโยชน์จากศีลหรือพรตนั้นอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจถึงขั้นได้รับโทษจากการถือศีลพรตนั้นเลยก็ได้ครับ เช่น กิเลสหรือมานะ (ความถือตัว) งอกเงยขึ้น กลายเป็นคนหลงงมงายหรือเป็นทุกข์ไปโดยเปล่าประโยชน์
    สีลพตปรามาสนี้ผูกจิตไว้กับการปฏิบัติที่ผิดทางหรือการปฏิบัติอย่างงมงายครับ

  4. กามฉันทะ : ความยินดี เพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย หรือเพลิดเพลินในความคิด อันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายนั้น
    กามฉันทะนี้ผูกจิตไว้ให้ต้องตกเป็นทาสของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย เหมือนปลาที่ติดเบ็ดเพราะหลงใหลในเหยื่อที่ล่อเอาไว้ และผูกจิตไว้กับกามภูมิครับ

  5. ปฏิฆะ : ความกระทบกระทั่งภายในใจ ความขัดเคืองใจ ความโกรธ ความไม่สบายใจ ความเศร้าโศกเสียใจ
    ปฏิฆะนี้ผูกจิตไว้กับความทุกข์ทางใจต่างๆ นานาครับ

  6. รูปราคะ : ความยินดี เพลิดเพลินในสมาธิขั้นรูปสมาบัติ หรือรูปฌาน คือสมาธิที่ใช้รูปธรรมเป็นเครื่องยึดเพื่อทำให้เกิดสมาธิ ตัวอย่างรูปธรรมเช่น ดิน น้ำ ไฟ อาการเคลื่อนไหว (ลม) ร่างกาย อวัยวะต่างๆ แสงสว่าง สีต่างๆ สิ่งต่างๆ ที่เห็นในนิมิต (ภาพที่เกิดขึ้นขณะหลับตาทำสมาธิ)
    รูปราคะนี้ผูกจิตไว้กับรูปภูมิ คือภูมิที่ผู้ได้สมาธิขั้นรูปฌานจะไปเกิดเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วนะครับ ในภูมินี้จะมีความสุขจากสมาธิเป็นหลัก ไม่สนใจในกามคุณทั้งหลาย

  7. อรูปราคะ : ความยินดี เพลิดเพลินในสมาธิขั้นอรูปสมาบัติ หรืออรูปฌาน อันพ้นจากความยินดีพอใจในรูปทั้งปวง คือสมาธิที่ใช้อรูปคือสิ่งที่ไม่ใช่รูปเป็นเครื่องยึดเพื่อทำให้เกิดสมาธิ ตัวอย่างของอรูปเช่น ช่องว่าง (อากาศ) สิ่งที่รับรู้ความรู้สึก (วิญญาณ) ความไม่มีอะไรเลย (อากิญจัญญายตนสมาบัติ) ความรู้สึกที่เหลืออยู่น้อยมาก จนแทบไม่มีความรู้สึกตัวเลย (เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ) คนที่ได้อรูปฌานนั้น จะไม่ยินดีในรูปใดๆ เลยครับ จะยินดีพอใจในการไม่มีรูปเท่านั้น ไม่ยินดีแม้กระทั่งการมีร่างกาย เพราะมองเห็นแต่ทุกข์ และโทษที่เกิดจากการมีร่างกาย เมื่อตายแล้วจึงไปเกิดในภูมิที่ไม่มีร่างกาย คือมีเฉพาะจิตเพลิดเพลินอารมณ์อันเกิดจากสมาธิอยู่ ที่เรียกว่าอรูปภูมิ
    อรูปราคะนี้ผูกจิตไว้กับอรูปภูมิครับ

  8. มานะ : ความถือตัว ความรู้สึกว่ารูปนี้นามนี้หรือกายนี้ใจนี้เป็นเรา ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับผู้อื่น ว่าเราเหนือกว่าเขา เราเสมอกับเขา หรือเราด้อยกว่าเขา
    มานะนี้ผูกจิตไว้กับการเปรียบเทียบกับผู้อื่น ความชิงดีชิงเด่น ความถือตัวครับ

  9. อุทธัจจะ : ความฟุ้งซ่านของจิต เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นของจิตคิดว่าสิ่งต่างๆ มีสาระ จิตจึงซัดส่ายไปหาสิ่งต่างๆ เหล่านั้นอยู่เนืองๆ ไม่อาจตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแนบแน่นเป็นเวลานานๆ ได้
    อุทธัจจะนี้ผูกจิตไว้กับความซัดส่ายรับอารมณ์ไม่มั่นครับ

  10. อวิชชา : ความไม่รู้สภาวะที่แท้จริงของสรรพสิ่ง คือไม่รู้ในทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) สภาวะที่พ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิง (นิโรธ-นิพพาน) ทางปฏิบัติเพื่อพ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิง (มรรค) ไม่รู้ในกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ไม่รู้ในหลักปฏิจจสมุปบาท (การที่สิ่งต่างๆ อิงอาศัยสิ่งอื่นๆ จึงเกิดขึ้นได้) ไม่รู้เรื่องเหตุปัจจัย ไม่รู้ว่าสิ่งทั้งปวงล้วนไม่ควรค่าแก่การยึดมั่นถือมั่น
    อวิชชานี้ผูกจิตไว้กับวัฏสงสาร ภพภูมิทั้งปวง ความทุกข์ทั้งปวง และผูกจิตไว้กับสังโยชน์ทั้งปวงครับ

ผู้รวบรวม
ธัมมโชติ

10 ความคิดเห็น :

  1. คุณธัมมโชติ คุณเขียนดีมาก แต่ขออนุญาตเสนอแนะ ดังนี้ เขียนเสร็จ ควรเขียนอ้างอิงด้วยจากพระไตรปิฎกเล่ม/ ข้อ / และหน้าใด ? บทความ/ ข้อเขียนของคุณจะเป็นประโยชน์ และเป็นการประหยัดเวลา สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาพระไตรปิฎกมากค่ะ ไหนๆคุณก็เขียนแล้ว อ้างอิงเพิ่มอีกสักหน่อย เป็นธรรมทาน และวิทยาทาน ชาตินี้คุณเขียนเก่งอยู่แล้ว ชาติหน้าคุณจะเขียนเก่งกว่าเดิมอีกค่ะ /ขอบพระคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ

    1. ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์พระไตรปิฎกออนไลน์ http://tripitaka-online.blogspot.com

      ขอน้อมรับและขอบคุณในคำแนะนำด้วยครับ

      ขอให้มีความสุขความเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ
      ธัมมโชติ

      ลบ
    2. 🙏🙏🙏น้อมกราบขอบพระคุณจ้าค่ะ มีประโยชน์มากๆเจ้าค่ะ

      ลบ
  2. ๑.สักกายทิฏฐิ : ความเห็นว่ารูปนี้นามนี้หรือกายนี้ใจนี้เป็นอัตตา เป็นตัวเป็นตนของเรา ควรแก่การยึดมั่นถือมั่น ผูกจิตไว้กับความเห็นแก่ตัวอย่างเหนียวแน่นครับ ละด้วยอะไรพร้อมอ้างอิง


    ๒.วิจิกิจฉา : ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ ไม่ปักใจเชื่อในสิ่งเหล่านี้คือ
    สงสัยว่าพระพุทธเจ้าผู้รู้ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงและปฏิบัติตามทางนั้นจนสำเร็จด้วยตัวพระองค์เองมาแล้วมีจริงหรือไม่ (สงสัยในพระพุทธเจ้า) ละด้วยอะไรด้วยอ้างอิง

    สงสัยว่าสภาวะที่พ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงและทางปฏิบัติเพื่อเข้าสู่สภาวะนั้น มีจริงหรือไม่ และทางไหนกันแน่ที่ถูกต้องแท้จริง (สงสัยในพระธรรม) ละด้วยอะไรพร้องอ้างอิง

    สงสัยว่าผู้ปฏิบัติตามทางที่พระพุทธเจ้าแนะนำจนพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงแล้วมีจริงหรือไม่ (สงสัยในพระสงฆ์)
    ความไม่แน่ใจนี้ผูกจิตเอาไว้กับความไม่แน่วแน่หรือความไม่จริงจังในการปฏิบัติในทางที่ถูกครับ ละด้วยอะไรพร้อมอ้างอิง

    ๓.สีลพตปรามาส : การถือศีลพรตด้วยจุดมุ่งหมายที่ผิดทาง ทำให้ไม่ได้ประโยชน์จากศีลหรือพรตนั้นอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจถึงขั้นได้รับโทษจากการถือศีลพรตนั้นเลยก็ได้ครับ เช่น กิเลสหรือมานะ (ความถือตัว) งอกเงยขึ้น กลายเป็นคนหลงงมงายหรือเป็นทุกข์ไปโดยเปล่าประโยชน์
    สีลพตปรามาสนี้ผูกจิตไว้กับการปฏิบัติที่ผิดทางหรือการปฏิบัติอย่างงมงายครับ ละด้วยอะไรพร้อมอ้างอิง


    ๔.กามฉันทะ : ความยินดี เพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย หรือเพลิดเพลินในความคิด อันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายนั้น
    กามฉันทะนี้ผูกจิตไว้ให้ต้องตกเป็นทาสของรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย เหมือนปลาที่ติดเบ็ดเพราะหลงใหลในเหยื่อที่ล่อเอาไว้ และผูกจิตไว้กับกามภูมิครับ ละด้วยอะไรพร้อมอ้างอิง


    ๕.ปฏิฆะ : ความกระทบกระทั่งภายในใจ ความขัดเคืองใจ ความโกรธ ความไม่สบายใจ ความเศร้าโศกเสียใจ
    ปฏิฆะนี้ผูกจิตไว้กับความทุกข์ทางใจต่างๆ นานาครับ ละด้วยอะไรด้วยอ้างอิง

    ๖.รูปราคะ : ความยินดี เพลิดเพลินในสมาธิขั้นรูปสมาบัติ หรือรูปฌาน คือสมาธิที่ใช้รูปธรรมเป็นเครื่องยึดเพื่อทำให้เกิดสมาธิ ตัวอย่างรูปธรรมเช่น ดิน น้ำ ไฟ อาการเคลื่อนไหว (ลม) ร่างกาย อวัยวะต่างๆ แสงสว่าง สีต่างๆ สิ่งต่างๆ ที่เห็นในนิมิต (ภาพที่เกิดขึ้นขณะหลับตาทำสมาธิ)
    รูปราคะนี้ผูกจิตไว้กับรูปภูมิ คือภูมิที่ผู้ได้สมาธิขั้นรูปฌานจะไปเกิดเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วนะครับ ในภูมินี้จะมีความสุขจากสมาธิเป็นหลัก ไม่สนใจในกามคุณทั้งหลาย ละด้วยอะไรพร้อมอ้างอิง


    ๗.อรูปราคะ : ความยินดี เพลิดเพลินในสมาธิขั้นอรูปสมาบัติ หรืออรูปฌาน อันพ้นจากความยินดีพอใจในรูปทั้งปวง คือสมาธิที่ใช้อรูปคือสิ่งที่ไม่ใช่รูปเป็นเครื่องยึดเพื่อทำให้เกิดสมาธิ ตัวอย่างของอรูปเช่น ช่องว่าง (อากาศ) สิ่งที่รับรู้ความรู้สึก (วิญญาณ) ความไม่มีอะไรเลย (อากิญจัญญายตนสมาบัติ) ความรู้สึกที่เหลืออยู่น้อยมาก จนแทบไม่มีความรู้สึกตัวเลย (เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ) คนที่ได้อรูปฌานนั้น จะไม่ยินดีในรูปใดๆ เลยครับ จะยินดีพอใจในการไม่มีรูปเท่านั้น ไม่ยินดีแม้กระทั่งการมีร่างกาย เพราะมองเห็นแต่ทุกข์ และโทษที่เกิดจากการมีร่างกาย เมื่อตายแล้วจึงไปเกิดในภูมิที่ไม่มีร่างกาย คือมีเฉพาะจิตเพลิดเพลินอารมณ์อันเกิดจากสมาธิอยู่ ที่เรียกว่าอรูปภูมิ
    อรูปราคะนี้ผูกจิตไว้กับอรูปภูมิครับ ละด้วยอะไรพร้อมอ้างอิง

    ๘.มานะ : ความถือตัว ความรู้สึกว่ารูปนี้นามนี้หรือกายนี้ใจนี้เป็นเรา ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับผู้อื่น ว่าเราเหนือกว่าเขา เราเสมอกับเขา หรือเราด้อยกว่าเขา
    มานะนี้ผูกจิตไว้กับการเปรียบเทียบกับผู้อื่น ความชิงดีชิงเด่น ความถือตัวครับ ละด้วยอะไรพร้อมอ้างอิง


    ๙.อุทธัจจะ : ความฟุ้งซ่านของจิต เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นของจิตคิดว่าสิ่งต่างๆ มีสาระ จิตจึงซัดส่ายไปหาสิ่งต่างๆ เหล่านั้นอยู่เนืองๆ ไม่อาจตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแนบแน่นเป็นเวลานานๆ ได้
    อุทธัจจะนี้ผูกจิตไว้กับความซัดส่ายรับอารมณ์ไม่มั่นครับ ละด้วยอะไรพร้อมอ้างอิง


    ๑๐.อวิชชา : ความไม่รู้สภาวะที่แท้จริงของสรรพสิ่ง คือไม่รู้ในทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) สภาวะที่พ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิง (นิโรธ-นิพพาน) ทางปฏิบัติเพื่อพ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิง (มรรค) ไม่รู้ในกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ไม่รู้ในหลักปฏิจจสมุปบาท (การที่สิ่งต่างๆ อิงอาศัยสิ่งอื่นๆ จึงเกิดขึ้นได้) ไม่รู้เรื่องเหตุปัจจัย ไม่รู้ว่าสิ่งทั้งปวงล้วนไม่ควรค่าแก่การยึดมั่นถือมั่นอวิชชานี้ผูกจิตไว้กับวัฏสงสาร ภพภูมิทั้งปวง ความทุกข์ทั้งปวง และผูกจิตไว้กับสังโยชน์ทั้งปวงครับ ละด้วยอะไรพร้อมอ้างอิง

    ตอบลบ
    คำตอบ

    1. สวัสดีครับ

      ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์พระไตรปิฎกออนไลน์ https://tripitaka-online.blogspot.com

      จากคำถามที่ถามมา คำตอบอยู่ในเรื่อง อริยบุคคล 8 ประเภทและการละกิเลส นะครับ

      อ้างอิงจาก พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖
      หน้า : ๑๕๖ ข้อ ๔๑ - ๔๔ ครับ

      ธัมมโชติ

      ลบ
  3. ขอบคุณครับ สาธุ

    ตอบลบ
  4. ขออนุญาติครับ
    ท่านเอา กามฉันทะ ในนิวรณ์ ๕
    มาอธิบาย แทน กามราคะ ในสังโยชน์

    (ในสังโยชน์ ข้อที่๔
    บาลีลงใว้ว่า กามราคะ ไม่ใช่กามฉันทะครับ

    บทผิด พยัญชนะผิด
    การตีความผิดความหมายผิด ครับ
    พิจารณาใหม่ครับ

    นิวรณ์ ๕
    กับสังโยชน์ ๑๐ คนละอย่างกันครับ

    ขอทำความเคารพครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ

    1. สวัสดีครับ

      ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์พระไตรปิฎกออนไลน์ https://tripitaka-online.blogspot.com

      และขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างสูงที่กรุณาชี้จุดบกพร่องให้ทราบนะครับ

      ขอเรียนชี้แจงดังนี้ครับ

      สังโยชน์ ข้อที่ ๔ นั้น พระบาลี (พระไตรปิฎก) ลงไว้ว่า กามราคะ (ไม่ใช่กามฉันทะ) จริงครับ แต่ไม่ใช่ในทุกพระสูตร

      พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็น กามฉันทะ ก็มีครับ เช่น

      พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

      พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สติปัฏฐานวรรค ๕. โอรัมภาคิยสูตร

      พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๕๒

      ๕. โอรัมภาคิยสูตร
      ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์

      [๖๗] ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการนี้
      โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
      ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
      ๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
      ๓. สีลัพพตปรามาส (ความยึดมั่นศีลพรต)
      ๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
      ๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)
      ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
      ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละโอรัมภาคิย-
      สังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
      ฯลฯ
      โอรัมภาคิยสูตรที่ ๕ จบ

      อ่านได้โดยตรงที่ลิ้งค์นี้นะครับ

      ธัมมโชติ

      ลบ
    2. ขออภัยนะครับ
      จากข้างบน
      ผมเจอ อีกที่แล้วครับ
      ใช้คำว่า กามมัจฉันโท

      ลบ
  5. ขอบคุณครับท่านพระอ

    ตอบลบ