Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๗-๕ หน้า ๑๘๒ - ๒๒๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๓. เผณปิณฑูปมสูตร
ภิกษุเห็น เพ่ง พิจารณาวิญญาณนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง พิจารณา
วิญญาณนั้นโดยแยบคาย วิญญาณก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย
สาระในวิญญาณจะมีได้อย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อม
หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ฯลฯ ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
ทรงแสดงแล้วว่า ‘รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ
เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด
สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยมายากล
ภิกษุเพ่งพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ นั้นโดยแยบคายด้วยประการใด ๆ
ขันธ์ ๕ นั้น ก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่าด้วยประการนั้นๆ
การละธรรม ๓ ประการซึ่งพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีปัญญาดุจแผ่นดิน ทรงปรารภกายนี้ แสดงไว้แล้ว
ท่านทั้งหลาย จงดูรูปที่บุคคลทิ้งแล้ว
เมื่อใด อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้
เมื่อนั้น กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนเป็นเหยื่อของสัตว์อื่น
ปราศจากเจตนา ความสืบต่อเป็นเช่นนี้
นี้เป็นมายากลสำหรับหลอกลวงคนโง่
ขันธ์ ๕ เปรียบเหมือนเพชฌฆาต
เราบอกแล้ว สาระในขันธ์ ๕ นี้ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๔. โคมยปิณฑสูตร
ภิกษุผู้ปรารภความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ
พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ทั้งกลางวันและกลางคืน
ภิกษุเมื่อปรารถนาบทอันไม่จุติ๑
พึงละสังโยชน์๒ทั้งปวง ทำที่พึ่งแก่ตน
ประพฤติดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะฉะนั้น”
เผณปิณฑูปมสูตรที่ ๓ จบ

๔. โคมยปิณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนโคมัย
[๙๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน
ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๔. โคมยปิณฑสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน
คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบก้อนโคมัย (มูลโค) เล็ก ๆ ขึ้นมาแล้ว
ตรัสว่า “ภิกษุ การได้อัตภาพแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่
ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าแม้การได้อัตภาพประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปรแล้วไซร้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้น
ทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ แต่เพราะการได้อัตภาพแม้ประมาณเท่านี้ที่จัก
เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
ภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว เราได้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก
มีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง ซึ่งมีกุสาวดีราชธานีเป็นเมืองหลวง
มีปราสาท ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งมีธรรมปราสาทเป็นปราสาทหลวง
มีเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ หลัง ซึ่งมีเรือนยอดมหาพยูหะเป็นเรือนยอดหลวง
มีบัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ บัลลังก์ ทำด้วยงา ทำด้วยแก่นจันทน์แดง ประดับ
ด้วยทองและเงิน ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยผ้ากำพลขาว ลาดด้วยเครื่องลาด
ทำด้วยขนแกะ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานสีแดง มีหมอน
สีแดงทั้ง ๒ ข้าง
มีช้างต้น ๘๔,๐๐๐ ช้าง ซึ่งมีเครื่องประดับทำด้วยทอง มีธงทำด้วยทอง
คลุมด้วยข่ายทอง มีพญาช้างอุโบสถเป็นหัวหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๔. โคมยปิณฑสูตร
มีม้าต้น ๘๔,๐๐๐ ม้า ซึ่งมีเครื่องประดับทำด้วยทอง คลุมด้วยข่ายทอง
มีม้าวลาหกอัศวราชเป็นหัวหน้า
มีรถทรง ๘๔,๐๐๐ คัน มีเครื่องประดับทำด้วยทอง มีธงทำด้วยทอง คลุม
ด้วยข่ายทอง มีเวชยันตราชรถเป็นประธาน
มีแก้ว ๘๔,๐๐๐ ดวง มีแก้วมณีเป็นประธาน
มีพระสนม ๘๔,๐๐๐ นาง มีพระนางสุภัททาเทวีเป็นหัวหน้า
มีกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์ตามเสด็จ มีขุนพลแก้วเป็นประมุข
มีแม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว ผูกด้วยเชือกป่าน แขวนกระดิ่งสำริด
มีผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ คือผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหมเนื้อละเอียด
ผ้าขนสัตว์เนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด
มีภาชนะทอง ๘๔,๐๐๐ สำรับ ซึ่งชนทั้งหลายใส่อาหารนำมาทั้งในเวลาเย็น
และในเวลาเช้า
ภิกษุ ก็บรรดาเมือง ๘๔,๐๐๐ เมืองนั้น เมืองที่เราครองในสมัยนั้นมีเมือง
เดียวเท่านั้น คือกุสาวดีราชธานี
บรรดาปราสาท ๘๔,๐๐๐ องค์นั้น ปราสาทที่เราครองในสมัยนั้นมีหลัง
เดียวเท่านั้น คือธรรมปราสาท
บรรดาเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ หลังนั้น เรือนยอดที่เราครองในสมัยนั้นมีหลัง
เดียวเท่านั้น คือเรือนยอดมหาพยูหะ
บรรดาบัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ บัลลังก์นั้น บัลลังก์ที่เรานั่งในสมัยนั้นมีบัลลังก์
เดียวเท่านั้น คือบัลลังก์ที่ทำด้วยงา ทำด้วยแก่นจันทน์แดง ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน
บรรดาช้างต้น ๘๔,๐๐๐ ช้างนั้น ช้างที่เราทรงในสมัยนั้นมีช้างเดียวเท่านั้น
คือพญาช้างอุโบสถ
บรรดาม้าต้น ๘๔,๐๐๐ ม้านั้น ม้าที่เราทรงในสมัยนั้นมีม้าเดียวเท่านั้น
คือม้าวลาหกอัศวราช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๕. นขสิขาสูตร
บรรดาราชรถ ๘๔,๐๐๐ คันนั้น ราชรถที่เราทรงในสมัยนั้นมีคันเดียวเท่านั้น
คือเวชยันตราชรถ
บรรดาพระสนม ๘๔,๐๐๐ นางนั้น พระสนมที่เรายกย่องในสมัยนั้นมีนาง
เดียวเท่านั้น คือนางขัตติยานีหรือนางเวลามิกา๑
บรรดาผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏินั้น ผ้าที่เราทรงในสมัยนั้นมีคู่เดียวเท่านั้น คือ
ผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหมเนื้อละเอียด ผ้าขนสัตว์เนื้อละเอียด หรือผ้าฝ้าย
เนื้อละเอียด
บรรดาภาชนะทอง ๘๔,๐๐๐ สำรับนั้น ภาชนะทองซึ่งใส่ข้าวสุกที่หุงจาก
ข้าวสาร ๑ ทะนานเป็นอย่างมากและแกงกับอันพอเหมาะแก่ข้าวนั้นที่เราบริโภคมี
สำรับเดียวเท่านั้น
ภิกษุ สังขารทั้งปวงนั้น ล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ด้วยประการดังนี้
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่
น่าเบาใจอย่างนี้ ก็สังขารทั้งปวงมีลักษณะที่ไม่เที่ยงอย่างนี้ ควรทีเดียวที่จะ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด พ้นไปจากสังขารทั้งปวง”
โคมยปิณฑสูตรที่ ๔ จบ

๕. นขสิขาสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยฝุ่นที่ปลายเล็บ
[๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๕. นขสิขาสูตร
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน
คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นนิดหน่อยด้วยปลายพระนขาแล้ว ตรัส
กับภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ รูปแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน
ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้ารูปแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปรแล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดย
ชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ แต่เพราะรูปแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน
คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบจึงปรากฏ
เวทนาแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าเวทนาแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่
ผันแปรแล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึง
ปรากฏ แต่เพราะเวทนาแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร
ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
สัญญาแม้ประมาณเท่านี้ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๖. สุทธิกสูตร
สังขารแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าสังขารแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร
แล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ
แต่เพราะสังขารแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
วิญญาณแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าวิญญาณแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน
ไม่ผันแปรแล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึง
ปรากฏ แต่เพราะวิญญาณแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร
ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
ภิกษุ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
นขสิขาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยขันธ์ล้วนๆ
[๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๗. คัททูลพัทธสูตร
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน
คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย”
สุทธิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. คัททูลพัทธสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสุนัขถูกล่าม
[๙๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด) นี้
มีเบื้องต้นเบื้องปลายที่ใคร ๆ รู้ไม่ได้ เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไป
มหาสมุทรยังมีเวลาเหือดแห้งไป มีอยู่ไม่ได้ แต่เราก็มิได้กล่าวว่า สัตว์
ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปอยู่
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ขุนเขาสิเนรุยังมีเวลาถูกไฟเผาพินาศไป มีอยู่ไม่ได้ แต่เราก็มิได้กล่าวว่า
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยว
ไปอยู่ จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๗. คัททูลพัทธสูตร
แผ่นดินใหญ่ยังมีเวลาถูกไฟเผาพินาศไป มีอยู่ไม่ได้ แต่เราก็มิได้กล่าวว่า
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยว
ไปอยู่ จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ล่ามไว้ที่หลักหรือเสาที่แข็งแรง วิ่งวนเวียนหลัก
หรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ได้เห็นพระอริยะ ...
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ... สัญญา ... พิจารณาเห็นสังขารโดยความ
เป็นอัตตา ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ปุถุชนนั้นแล่นวนเวียนอยู่กับรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร แล่นวนเวียน
อยู่กับวิญญาณ เมื่อเขาแล่นวนเวียนอยู่กับรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
เมื่อแล่นวนเวียนอยู่กับวิญญาณ เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากรูป ไม่พ้นจากเวทนา ไม่
พ้นจากสัญญา ไม่พ้นจากสังขาร ไม่พ้นจากวิญญาณ ไม่พ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ... ได้รับการ
แนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ... ไม่
พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ อริยสาวก
นั้นไม่แล่นวนเวียนอยู่กับรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ไม่แล่นวนเวียน
อยู่กับวิญญาณ เมื่อเธอไม่แล่นวนเวียนอยู่กับรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
ไม่แล่นวนเวียนอยู่กับวิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้นจาก
สัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”
คัททูลพัทธสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๘. ทุติยคัททูลพัทธสูตร

๘. ทุติยคัททูลพัทธสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสุนัขถูกล่าม สูตรที่ ๒
[๑๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นเบื้องปลายที่ใคร ๆ
รู้ไม่ได้ เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไป
สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ล่ามไว้ที่หลักหรือเสาที่แข็งแรง ถ้าแม้สุนัขนั้นเดิน
ก็เดินใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้สุนัขนั้นยืน ก็ยืนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้า
แม้สุนัขนั้นหมอบ ก็หมอบใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้สุนัขนั้นนอน ก็นอนใกล้
หลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็น
รูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เขาเดินก็เดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง ถ้าแม้เขายืนก็
ยืนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง ถ้าแม้เขานั่งก็นั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้เอง ถ้าแม้เขานอนก็นอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง
ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายควรพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ
ว่า ‘จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นเวลานาน’ สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เพราะจิตผ่องแผ้ว ภาพ
จิตรกรรมที่เขาเขียนไว้ เธอทั้งหลายเห็นแล้วหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็นแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย แม้ภาพจิตรกรรมที่เขาเขียนไว้นั้น จิตรกรก็คิดด้วยจิตนั่นเอง
จิตนั่นเองวิจิตรกว่าภาพจิตรกรรมที่เขาเขียนไว้นั้น เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย
ควรพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ ว่า ‘จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๙. วาสิชฏิสูตร
เป็นเวลานาน’ สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์
เพราะจิตผ่องแผ้ว
เราไม่พิจารณาเห็นสัตว์อื่นแม้เพียงหมู่เดียวซึ่งวิจิตรเหมือนอย่างสัตว์ดิรัจฉาน
นี้เลย สัตว์ดิรัจฉานแม้เหล่านั้นจิตรกรก็คิดด้วยจิตนั่นเอง จิตนั่นเองวิจิตรกว่า
สัตว์ดิรัจฉานแม้เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายควรพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ
ว่า ‘จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นเวลานาน’ สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เพราะจิตผ่องแผ้ว
ภิกษุทั้งหลาย ช่างย้อมหรือจิตรกร เมื่อมีเครื่องย้อมก็ดี ครั่งก็ดี ขมิ้นก็ดี
สีเขียวก็ดี สีแดงก็ดี พึงเขียนรูปสตรีหรือรูปบุรุษมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกส่วน
ลงบนแผ่นกระดาน ฝา หรือแผ่นผ้าที่เกลี้ยงเกลา แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจะให้เกิด ก็ให้รูปนั่นเองเกิด ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
... เมื่อจะให้เกิด ก็ให้วิญญาณนั่นเองเกิด
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ทุติยคัททูลพัทธสูตรที่ ๘ จบ

๙. วาสิชฏสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยด้ามมีด
[๑๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๙. วาสิชฏิสูตร
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี
คือ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ...
วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็น
ดังนี้’
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ถึงจะมีความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะ
ไม่ถือมั่น’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้
เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอไม่ได้เจริญ’
เพราะเธอไม่ได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน
๔ ประการ ไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ
ไม่ได้เจริญพละ ๕ ประการ ไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ไม่ได้เจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘
ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่ไม่ทับ ไม่กก
ไม่ฟักให้ดี แม่ไก่นั้นถึงจะมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ ลูกของเรา
จึงจะทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยความ
สวัสดี’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ไม่สามารถทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลาย
เล็บเท้าหรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยความสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น แม่ไก่ไม่ทับ ไม่กก ไม่ฟักให้ดี แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ถึงจะมีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้เลย ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอไม่ได้เจริญ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๙. วาสิชฏิสูตร
เพราะเธอไม่ได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔
ประการ ไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ไม่
ได้เจริญพละ ๕ ประการ ไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ไม่ได้เจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ถึงจะไม่มีความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่
ถือมั่น’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอได้เจริญ’
เพราะเธอได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ได้เจริญสัมมัปปธาน
๔ ประการ ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ได้เจริญ
พละ ๕ ประการ ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่ทับ กก ฟักไว้ดี
แม่ไก่นั้นถึงจะไม่มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ ลูกของเราจึงจะ
ทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดี’
ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า
หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่ไก่
๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น แม่ไก่ทับ กก ฟักไว้ดีแล้ว แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อภิกษุประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ถึงจะไม่มีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอได้เจริญ’
เพราะเธอได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔
ประการ ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ได้เจริญ
พละ ๕ ประการ ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๑๐. อนิจจสัญญาสูตร
รอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือปรากฏอยู่ที่ด้ามมีดของช่างไม้หรือลูกมือ
ของช่างไม้ แต่ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้นั้น หารู้ไม่ว่า ‘วันนี้ ด้ามมีดของเรา
สึกไปประมาณเท่านี้ เมื่อวานนี้ สึกไปประมาณเท่านี้ วันก่อน ๆ สึกไปประมาณ
เท่านี้’ ที่แท้เมื่อด้ามมีดสึกไปแล้ว ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้นั้น ก็รู้ว่า ‘สึกไปแล้ว’
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ หารู้ไม่ว่า ‘วันนี้
อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปประมาณเท่านี้ เมื่อวานนี้ สิ้นไปประมาณเท่านี้
วันก่อน ๆ สิ้นไปประมาณเท่านี้’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็รู้ว่า
‘สิ้นไปแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วยเครื่องผูกคือหวายจอดอยู่ในน้ำ
ตลอดฤดูฝน พอถึงฤดูหนาวเขาก็เข็นขึ้นบก เครื่องผูกเหล่านั้นต้องลมและแดด
ถูกฝนตกรด ย่อมผุเปื่อยไปโดยง่าย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ
ประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ สังโยชน์ทั้งหลาย ก็เสื่อมสิ้นไปโดยง่ายเช่นกัน”๑
วาสิชฏสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อนิจจสัญญาสูตร
ว่าด้วยอนิจจสัญญา
[๑๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่า
ไม่เที่ยง) ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะ (ความติดใจใน
กามคุณ) รูปราคะ (ความติดใจในรูปธรรม) ภวราคะ (ความติดใจในภพ) และอวิชชา
(ความไม่รู้จริง) ทั้งปวงได้ ถอนอัสมิมานะ (ความถือตัวว่าเป็นเรา) ทั้งปวงได้
ในสารทฤดู ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายราก (หญ้า) ที่
เกี่ยวเนื่องทุกชนิด แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมครอบงำกามราคะ รูปราคะ ภวราคะ และอวิชชาทั้งปวงได้
ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๑๐. อนิจจสัญญาสูตร
คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวเสร็จแล้ว จับปลาย เขย่า ฟาด สลัดออก
แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
เมื่อพวงมะม่วงขาดจากขั้ว บรรดามะม่วงเหล่านั้น มะม่วงที่ยังติดอยู่ที่ขั้ว
ทั้งหมดก็หลุดไปตามพวงมะม่วงนั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
กลอนของเรือนยอดทั้งหมดทอดไปถึงยอด รวมลงที่ยอด ยอดเรือนชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
กลิ่นหอมที่เกิดจากรากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณาชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
กลิ่นหอมที่เกิดจากรากเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดงชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
กลิ่นหอมที่เกิดจากดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกมะลิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
กลิ่นหอมที่เกิดจากดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
พระราชาผู้มีอำนาจน้อยทั้งปวง ย่อมคล้อยตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้า
จักรพรรดิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าพระราชาผู้มีอำนาจน้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด
อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิ-
มานะทั้งปวงได้
แสงสว่างของดวงดาวทั้งหมด ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์
แสงสว่างของดวงจันทร์ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าแสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น แม้
ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
ในสารทฤดู เมื่อฝนขาดหาย ปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นสู่ท้องฟ้า
กำจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งหมด ย่อมส่องแสง แผดแสง และแจ่มกระจ่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
ครอบงำกามราคะ รูปราคะ ภวราคะ และอวิชชาทั้งปวงได้ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงครอบงำกามราคะ
ทั้งปวงได้ ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
คือ อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ว่า ‘รูปเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้
... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อม
ครอบงำกามราคะ รูปราคะ ภวราคะ และอวิชชาทั้งปวงได้ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้”
อนิจจสัญญาสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุปผวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นทีสูตร ๒. ปุปผสูตร
๓. เผณปิณฑูปมสูตร ๔. โคมยปิณฑสูตร
๕. นขสิขาสูตร ๖. สุทธิกสูตร
๗. คัททูลพัทธสูตร ๘. ทุติยคัททูลพัทธสูตร
๙. วาสิชฏสูตร ๑๐. อนิจจสัญญาสูตร

มัชฌิมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในมัชฌิมปัณณาสก์นี้ คือ

๑. อุปยวรรค ๒. อรหันตวรรค
๓. ขัชชนียวรรค ๔. เถรวรรค
๕. ปุปผวรรค

รวม ๕ วรรค เรียกว่า ทุติยปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๑. อันตสูตร

จูฬปัณณาสก์
๑. อันตวรรค
หมวดว่าด้วยที่สุด
๑. อันตสูตร
ว่าด้วยที่สุด
[๑๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๔ อย่าง คือ
๑. ที่สุดคือสักกายะ (กายของตน)
๒. ที่สุดคือเหตุเกิดแห่งสักกายะ
๓. ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ
๔. ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ
ที่สุดคือสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ‘ที่สุดคือสักกายะนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ’
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
นี้เรียกว่า ที่สุดคือสักกายะ
ที่สุดคือเหตุเกิดแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความกำหนัด
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๒. ทุกขสูตร
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
นี้เรียกว่า ที่สุดคือเหตุเกิดแห่งสักกายะ
ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ
ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้เรียกว่า ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ
ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๔ อย่าง เหล่านี้แล”
อันตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุกขสูตร
ว่าด้วยทุกข์
[๑๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ ทุกขสมุทัย
(เหตุเกิดทุกข์) ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติ
ที่ให้ถึงความดับทุกข์) เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๒. ทุกขสูตร
ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ‘ทุกข์นั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ’
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขสมุทัย เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกขนิโรธ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ทุกขสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๓. สักกายสูตร

๓. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะ
[๑๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสักกายะ เหตุเกิดแห่ง
สักกายะ ความดับแห่งสักกายะ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
สักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ‘สักกายะนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ’
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
นี้เรียกว่า สักกายะ
เหตุเกิดแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ คือ
๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า เหตุเกิดแห่งสักกายะ
ความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า ความดับแห่งสักกายะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๔. ปริญเญยยสูตร
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ”
สักกายสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
[๑๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ความกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้
บุคคลผู้กำหนดรู้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๕. สมณสูตร
คือ ควรกล่าวได้ว่า บุคคลผู้กำหนดรู้นั้น คือพระอรหันต์ ได้แก่ ท่าน
ผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้”
ปริญเญยยสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ
[๑๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดคุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือ
ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดคุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือ
ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”๑
สมณสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๗. โสตาปันนสูตร

๖. ทุติยสมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ สูตรที่ ๒
[๑๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัด ... ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ทุติยสมณสูตรที่ ๖ จบ

๗. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน
[๑๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๘. อรหันตสูตร
อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นโสดาบัน๑ ไม่มีทางตกต่ำ๒ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิ๓ในวันข้างหน้า”
โสตาปันนสูตรที่ ๗ จบ

๘. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์
[๑๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้น
เพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๔ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”
อรหันตสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๑๐. ทุติยฉันทปหานสูตร

๙. ฉันทปหานสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจ
[๑๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปนั้นก็
จักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ... ในสังขาร ... เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลินเพลิน ความทะยานอยากในวิญญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณนั้นก็จักเป็น
อันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”
ฉันทปหานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยฉันทปหานสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจ สูตรที่ ๒
[๑๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอัน
เป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูป เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปนั้นก็จักเป็น
อันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ... ในเวทนา ... ในสัญญา ...
เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ... ในสังขาร ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้สังขารนั้นก็จักเป็น
อันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เธอทั้งหลายจงละความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณ
นั้นก็จักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”
ทุติยฉันทปหานสูตรที่ ๑๐ จบ
อันตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อันตสูตร ๒. ทุกขสูตร
๓. สักกายสูตร ๔. ปริญเญยยสูตร
๕. สมณสูตร ๖. ทุติยสมณสูตร
๗. โสตาปันนสูตร ๘. อรหันตสูตร
๙. ฉันทปหานสูตร ๑๐. ทุติยฉันทปหานสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๓. ธัมมกถิกสูตร

๒. ธัมมกถิกวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมกถึก
๑. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา
[๑๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่
พระองค์ตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”๑
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดรูป
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งรูป ไม่รู้ชัดเวทนา ... ไม่รู้ชัดสัญญา ... ไม่รู้ชัดสังขาร ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับแห่งวิญญาณ
ภิกษุ นี้เราเรียกว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่
ในอวิชชา”
อวิชชาสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา
[๑๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๓. ธัมมกถิกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ รู้ชัดรูป
รู้ชัดความเกิดแห่งรูป ฯลฯ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ... เวทนา ...
สัญญา ... รู้ชัดสังขาร ฯลฯ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
ภิกษุ นี้เราเรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
วิชชาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธัมมกถิกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมกถึก
[๑๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ด้วย
เหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นพระธรรมกถึก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุ
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความ
เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ ไม่ถือมั่นรูป ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’
หากภิกษุ ... เวทนา ฯลฯ
หากภิกษุ ... สัญญา ...
หากภิกษุ ... สังขาร ...
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ ไม่ถือมั่นวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”
ธัมมกถิกสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๔. ทุติยธัมมกถิกสูตร

๔. ทุติยธัมมกถิกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมกถึก สูตรที่ ๒
[๑๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็นธรรมกถึก’
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นพระธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึง
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงเป็นผู้บรรลุ
นิพพานในปัจจุบัน’
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุ
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย
เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ ไม่ถือมั่นรูป ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้บรรลุ
นิพพานในปัจจุบัน’
หากภิกษุ ... เวทนา ฯลฯ
หากภิกษุ ... สัญญา ...
หากภิกษุ ... สังขาร ...
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ ไม่ถือมั่นวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’
ทุติยธัมมกถิกสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๕. พันธนสูตร

๕. พันธนสูตร
ว่าด้วยเครื่องพันธนาการ
[๑๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้
เห็นพระอริยะ ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกเครื่องพันธนาการคือรูปจองจำไว้ ถูก
เครื่องพันธนาการทั้งภายในและภายนอกจองจำไว้ มองไม่เห็นฝั่งนี้๑ มองไม่เห็น
ฝั่งโน้น๒ ถูกจองจำจนแก่ ถูกจองจำจนตาย ถูกจองจำจากโลกนี้จนถึงโลกหน้า
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ อัตตาในเวทนา
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกเครื่องพันธนาการคือเวทนาจองจำไว้ ถูก
เครื่องพันธนาการทั้งภายในและภายนอกจองจำไว้ มองไม่เห็นฝั่งนี้ มองไม่เห็นฝั่งโน้น
ถูกจองจำจนแก่ ถูกจองจำจนตาย ถูกจองจำจากโลกนี้จนถึงโลกหน้า
พิจารณาเห็นสัญญา ...
พิจารณาเห็นสังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกเครื่องพันธนาการคือวิญญาณจองจำไว้ ถูก
เครื่องพันธนาการทั้งภายในและภายนอกจองจำไว้ มองไม่เห็นฝั่งนี้ มองไม่เห็นฝั่งโน้น
ถูกจองจำจนแก่ ถูกจองจำจนตาย ถูกจองจำจากโลกนี้จนถึงโลกหน้า
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฯลฯ ได้รับการ
แนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณา
เห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๖. ปริปุจฉิตสูตร
นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ไม่ถูกเครื่องพันธนาการคือรูปจองจำไว้ ไม่ถูก
เครื่องพันธนาการทั้งภายในและภายนอกจองจำไว้ มองเห็นฝั่งนี้ มองเห็นฝั่งโน้น
เรากล่าวว่า ‘เธอพ้นแล้วจากทุกข์’ ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ...
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ...
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณ โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ไม่ถูกเครื่องพันธนาการคือ
วิญญาณจองจำไว้ ไม่ถูกเครื่องพันธนาการทั้งภายในและภายนอกจองจำไว้ มอง
เห็นฝั่งนี้ มองเห็นฝั่งโน้น เรากล่าวว่า ‘เธอพ้นแล้วจากทุกข์”
พันธนสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปริปุจฉิตสูตร
ว่าด้วยการสอบถาม
[๑๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อ
นั้นว่าอย่างไร เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา’ หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ...
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๗. ทุติยปริปุจฉิตสูตร
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ปริปุจฉิตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยปริปุจฉิตสูตร
ว่าด้วยการสอบถาม สูตรที่ ๒
[๑๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อ
นั้นว่าอย่างไร เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ...
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ทุติยปริปุจฉิตสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๙. อุปาทานิยสูตร

๘. สัญโญชนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
[๑๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร สังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในรูปนั้นเป็นสังโยชน์
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในวิญญาณนั้นเป็นสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
นี้เรียกว่า สังโยชน์”๑
สัญโญชนิยสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุปาทานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
[๑๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร อุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในรูปนั้นเป็นอุปาทาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๐. สีลวันตสูตร
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในวิญญาณนั้นเป็นอุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เราเรียกว่า อุปาทาน”๑
อุปาทานิยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย
[๑๒๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่
หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย
ขอรับ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการอัน
ภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น
(บังคับไม่ได้) เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๐. สีลวันตสูตร
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก
เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นไป
ได้ที่อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุผู้มีศีลมนสิการโดยแยบคาย โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นโสดาบันควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นโสดาบัน
ก็ควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไป
ได้ที่ภิกษุผู้เป็นโสดาบันมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งสกทาคามิผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุแม้ผู้เป็นสกทาคามีควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นสกทาคามี
ก็ควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไป
ได้ที่ภิกษุผู้เป็นสกทาคามีมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งอนาคามิผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอนาคามีควรมนสิการโดยแยบคาย
ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นอนาคามีก็ควร
มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไปได้ที่
ภิกษุผู้เป็นอนาคามีมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งอรหัตตผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอรหันต์ควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๑. สุตวันตสูตร
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นอรหันต์ก็ควร
มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี
เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม
เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
ท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มี
แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ อนึ่ง ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ”
สีลวันตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. สุตวันตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ภิกษุผู้ได้สดับควรมนสิการโดยแยบคาย
[๑๒๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่
หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้ได้สดับควรมนสิการโดยแยบคาย
ขอรับ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการอันภิกษุ
ผู้ได้สดับควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุผู้ได้สดับควรมนสิการ
โดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ได้
สดับมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๒. กัปปสูตร
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นโสดาบันควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นโสดาบันก็ควร
มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไปได้ที่
ภิกษุผู้เป็นโสดาบันมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการโดยแยบคาย โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
อรหัตตผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอรหันต์ควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นอรหันต์ก็ควร
มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี
เป็นดุจลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม
เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
ท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มี
แก่ภิกษุผู้อรหันต์ อนึ่ง ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ”
สุตวันตสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. กัปปสูตร
ว่าด้วยพระกัปปะ
[๑๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระกัปปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้
เห็นอย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้
และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๓. ทุติยกัปปสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กัปปะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคลเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคล
เห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา‘๑
กัปปะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”
กัปปสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ทุติยกัปปสูตร
ว่าด้วยพระกัปปะ สูตรที่ ๒
[๑๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระกัปปะ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ
และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะ
ด้วยดี สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กัปปะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ บุคคลเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้
หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคล
เห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น
กัปปะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และ
มานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
ทุติยกัปปสูตรที่ ๑๓ จบ
ธัมมกถิกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาสูตร ๒. วิชชาสูตร
๓. ธัมมกถิกสูตร ๔. ทุติยธัมมกถิกสูตร
๕. พันธนสูตร ๖. ปริปุจฉิตสูตร
๗. ทุติยปริปุจฉิตสูตร ๘. สัญโญชนิยสูตร
๙. อุปาทานิยสูตร ๑๐. สีลวันตสูตร
๑๑. สุตวันตสูตร ๑๒. กัปปสูตร
๑๓. ทุติยกัปปสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๑. สมุทยธัมมสูตร

๓. อวิชชาวรรค
หมวดว่าด้วยอวิชชา
๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
[๑๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’
อวิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดรูปที่
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็น
จริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘เวทนามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา’
ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๑. สมุทยธัมมสูตร
เป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุ นี้เราเรียกว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่
ในอวิชชา”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ รู้ชัด
รูปที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’
รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา’ รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘รูปมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ รู้ชัดเวทนาที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘เวทนามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
เป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ รู้ชัดสังขารที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
เป็นธรรมดาว่า ‘สังขารมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ รู้ชัดวิญญาณที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๒. ทุติยสมุทยธัมมสูตร
เป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุ นี้เราเรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
สมุทยธัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยสมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สูตรที่ ๒
[๑๒๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่
หลีกเร้นในเวลาเย็น ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
รูปที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริง ฯลฯ ไม่รู้ชัดรูปที่มี
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ เวทนาที่มีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัด ... ตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารทั้งหลายมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๓. ตติยสมุทยธัมมสูตร
ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ทุติยสมุทยธัมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยสมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สูตรที่ ๓
[๑๒๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา
วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ผู้ได้
สดับ รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา’ รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา’
รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ เวทนาที่มีความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ สังขารที่มีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา ฯลฯ รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตาม
ความเป็นจริงว่า ‘สังขารทั้งหลายมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๕. ทุติยอัสสาทสูตร
รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ วิญญาณที่มีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา ฯลฯ รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”
ตติยสมุทยธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์
[๑๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดคุณ
โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ ไม่รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
อัสสาทสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์ สูตรที่ ๒
[๑๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๖. สมุทยสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับ รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา
ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ
ตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”
ทุติยอัสสาทสูตรที่ ๕ จบ

๖. สมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งขันธ์
[๑๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ...
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... ไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
สมุทยสูตรที่ ๖ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น