Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๖-๔ หน้า ๑๑๗ - ๑๕๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖-๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๓ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ



พระอภิธรรมปิฎก
ธาตุกถา
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๑. สภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้น
๑๔. จุททสมนัย
๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส
๑. สภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้น
[๔๕๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากรูปขันธ์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๕๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ มนายตนะ มนินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ และธาตุ ๑๑
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๗
[๔๕๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากจักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
จักขุธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๕๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากจักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ
ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๒. สภาวธรรมมีสัจจะเป็นต้น
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๗
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๑
๒. สภาวธรรมมีสัจจะเป็นต้น
[๔๖๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากทุกขสัจ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๔๖๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสมุทยสัจ มัคคสัจ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๖๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากนิโรธสัจ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์
ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๖๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๒. สภาวธรรมมีสัจจะเป็นต้น
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๖๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอุเปกขินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๕
[๔๖๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์
อวิชชา สังขารที่เกิดเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๖๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากวิญญาณที่เกิดเพราะมีสังขารเป็นปัจจัย
ผัสสะที่เกิดเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาที่เกิดเพราะมีผัสสะเป็น
ปัจจัย
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ และธาตุ ๑๑
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๗
[๔๖๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากตัณหาที่เกิดเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานที่เกิดเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย กัมมภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๒. สภาวธรรมมีสัจจะเป็นต้น
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๖๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอุปปัตติภพ สัญญาภพ ปัญจโวการภพ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๕
[๔๖๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากกามภพ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๕
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๓
[๔๗๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากรูปภพ อสัญญาภพ เอกโวการภพ
ปริเทวะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๗๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอรูปภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุ-
โวการภพ โสกะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน
อิทธิบาท ฌาน อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
๓. ผัสสาทิสัตตกะ
[๔๗๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต
มนสิการ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ และธาตุ ๑๑
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๗
[๔๗๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอธิโมกข์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๗
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๑
๔. ติกะ
[๔๗๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นกุศล สภาวธรรมที่เป็น
อกุศล สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๗๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๔๗๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
สภาวธรรมที่เป็นวิบาก
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๕
[๔๗๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก สภาว-
ธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๗๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบาก สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึด
ถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สภาวธรรมที่
กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
[๔๗๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๕
[๔๘๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่
เป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๔๘๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๗
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๑
[๔๘๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๘๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๕
[๔๘๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๕
[๔๘๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรค สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่
มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๘๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่ไม่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคล สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
[๔๘๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ สภาวธรรม
ชั้นประณีต
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๘๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๖
[๔๘๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ สภาวธรรมชั้นต่ำ สภาวธรรม
ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผล
แน่นอน สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ
สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอธิบดี
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๙๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมชั้นกลาง สภาวธรรมที่ให้ผล
ไม่แน่นอน
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
[๔๙๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เกิดขึ้น สภาวธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้น สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอน สภาวธรรมที่เป็นอดีต สภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคต สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน สภาวธรรมที่เป็นภาย
ในตน สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และ
ธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๙๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตน
เป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๙๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส๕. ทุกะ
๕. ทุกะ
[๔๙๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่มีเหตุ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ สภาว-
ธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่
มีเหตุ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๙๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ สภาวธรรมที่
วิปปยุตจากเหตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๔๙๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง สภาว-
ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่เห็นได้ สภาวธรรมที่กระทบได้
สภาวธรรมที่เป็นรูป สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๙๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นโลกิยะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
[๔๙๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๙๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่
ไม่เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๕๐๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๕๐๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์ สภาวธรรมที่
เป็นคันถะ สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ สภาวธรรมที่เป็นโยคะ สภาวธรรมที่
เป็นนิวรณ์ สภาวธรรมที่เป็นปรามาส สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส
สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๕๐๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาส
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาส
แต่ไม่เป็นปรามาส สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์
ของปรามาส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๕๐๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๕๐๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ สภาวธรรม
ที่เป็นจิต สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต
สภาวธรรมที่ระคนกับจิต สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็น
สมุฏฐาน สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับ
จิต สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ และธาตุ ๑๑
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
[๕๐๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ สภาว-
ธรรมที่วิปปยุตจากจิต สภาวธรรมที่ระคนกับจิต สภาวธรรมที่เป็น
อุปาทายรูป สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และ
ธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๕๐๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๕
[๕๐๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน สภาวธรรม
ที่เป็นกิเลส สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยกิเลส สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส สภาวธรรม
ที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้า
หมองแต่ไม่เป็นกิเลส สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
[๕๐๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลส สภาว-
ธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลส
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส สภาวธรรมที่วิปปยุต
จากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๕๐๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๕๑๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรค สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๕๑๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรค สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สภาวธรรมที่มี
เหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๕๑๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีวิตก สภาวธรรมที่มีวิจาร
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๗
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๑
[๕๑๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีปีติ สภาวธรรมที่สหรคต
ด้วยปีติ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๕๑๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๕
[๕๑๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร สภาวธรรม
ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๕๑๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร สภาว-
ธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และ
ธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๕๑๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร สภาวธรรมที่
เป็นอรูปาวจร สภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ สภาวธรรม
ที่ให้ผลแน่นอน สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๕๑๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นอรูปาวจร สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
สภาวธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และ
ธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] รวมบทธรรมที่ไม่ได้ในจุททสมนัย ๔๗ บท
รวมบทธรรมที่ไม่ได้ในจุททสมนัย ๔๗ บท
ธัมมายตนะ ๑ ธัมมธาตุ ๑
ชีวิตินทรีย์ ๑ นามรูป ๑ สฬายตนะ ๑
ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑ ธรรม ๒ บท
จากติกะ (อัชฌัตตพหิทธะและอนิทัสสนอัปปฏิฆะ)
ในจูฬันตรทุกะแรก ๗ บท
ในโคจฉกะ ๑๐ บท ในมหันตรทุกะถัดมา ๑๔ บท
ในปิฏฐิทุกะสุดท้าย ๖ บท สภาวธรรม ๔๗ ประการเหล่านี้
ย่อมไม่ได้ในสมุจเฉทนัย (จุททสมนัย)
และใน (อัฏฐมนัยที่ชื่อว่า) โมฆปุจฉกะ
วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทสที่ ๑๔ จบ
ปกรณ์ที่ชื่อว่าธาตุกถา จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกอุทเทส
พระอภิธรรมปิฎก
ปุคคลบัญญัติ
__________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มาติกา
๑. เอกกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๑ จำพวก
[๑] บัญญัติ ๖ ประการ คือ

๑. ขันธบัญญัติ ๒. อายตนบัญญัติ
๓. ธาตุบัญญัติ ๔. สัจจบัญญัติ
๕. อินทริยบัญญัติ ๖. ปุคคลบัญญัติ

๑. ขันธบัญญัติ
[๒] การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่าเป็นขันธ์ มีเท่าไร
ขันธบัญญัติมี ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์

การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่าเป็นขันธ์มีเท่านี้
๒. อายตนบัญญัติ
[๓] การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นบ่อเกิดว่าเป็นอายตนะ มีเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกอุทเทส
อายตนบัญญัติมี ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ
๕. ฆานายตนะ ๖. คันธายตนะ
๗. ชิวหายตนะ ๘. รสายตนะ
๙. กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ

การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นบ่อเกิดว่าเป็นอายตนะมีเท่านี้
๓. ธาตุบัญญัติ
[๔] การบัญญัติสภาวธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่าเป็นธาตุ มีเท่าไร
ธาตุบัญญัติมี ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ
๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ
๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ
๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ
๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

การบัญญัติสภาวธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่าเป็นธาตุมีเท่านี้
๔. สัจจบัญญัติ
[๕] การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นความจริงว่าเป็นสัจจะ มีเท่าไร
สัจจบัญญัติมี ๔ คือ
๑. ทุกขสัจจะ ๒. สมุทยสัจจะ
๓. นิโรธสัจจะ ๔. มัคคสัจจะ
การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นความจริงว่าเป็นสัจจะมีเท่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกอุทเทส
๕. อินทริยบัญญัติ
[๖] การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นใหญ่ว่าเป็นอินทรีย์ มีเท่าไร
อินทริยบัญญัติมี ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์
๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์

การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นใหญ่ว่าเป็นอินทรีย์มีเท่านี้
๖. ปุคคลบัญญัติ
[๗] การบัญญัติเหล่าบุคคลว่าเป็นบุคคล มีเท่าไร
บุคคล ๑ จำพวก คือ

๑. บุคคลผู้เป็นสมยวิมุตตะ (๑) ๒. บุคคลผู้เป็นอสมยวิมุตตะ (๒)
๓. บุคคลผู้เป็นกุปปธรรม (๓) ๔. บุคคลผู้เป็นอกุปปธรรม (๔)
๕. บุคคลผู้เป็นปริหานธรรม (๕) ๖. บุคคลผู้เป็นอปริหานธรรม (๖)
๗. บุคคลผู้เป็นเจตนาภัพพะ (๗) ๘. บุคคลผู้เป็นอนุรักขนาภัพพะ (๘)
๙. บุคคลผู้เป็นปุถุชน (๙) ๑๐. บุคคลผู้เป็นโคตรภู (๑๐)
๑๑. บุคคลผู้เป็นภยูปรตะ(๑๑) ๑๒. บุคคลผู้เป็นอภยูปรตะ (๑๑)
๑๓. บุคคลผู้เป็นภัพพาคมนะ (๑๓) ๑๔. บุคคลผู้เป็นอภัพพาคมนะ (๑๒)
๑๕. บุคคลผู้เป็นนิยตะ (๑๔) ๑๖. บุคคลผู้เป็นอนิยตะ (๑๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกอุทเทส

๑๗. บุคคลผู้เป็นปฏิปันนกะ (๑๕) ๑๘. บุคคลผู้เป็นผเลฐิตะ (๑๕)
๑๙. บุคคลผู้เป็นสมสีสี (๑๖) ๒๐. บุคคลผู้เป็นฐิตกัปปี (๑๗)
๒๑. บุคคลผู้เป็นอริยะ (๑๘) ๒๒. บุคคลผู้เป็นอนริยะ (๑๘)
๒๓. บุคคลผู้เป็นเสขะ (๑๙) ๒๔. บุคคลผู้เป็นอเสขะ (๑๙)
๒๕. บุคคลผู้เป็นเนวเสขานาเสขะ (๑๙) ๒๖. บุคคลผู้เป็นเตวิชชะ (๒๐)
๒๗. บุคคลผู้เป็นฉฬภิญญะ (๒๑) ๒๘. บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ (๒๒)
๒๙. บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ (๒๓) ๓๐. บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ (๒๔)
๓๑. บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ (๒๕) ๓๒. บุคคลผู้เป็นกายสักขี (๒๖)
๓๓. บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ (๒๗) ๓๔. บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ (๒๘)
๓๕. บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี (๒๙) ๓๖. บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี (๓๐)
๓๗. บุคคลผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ (๓๑) ๓๘. บุคคลผู้เป็นโกลังโกละ (๓๒)
๓๙. บุคคลผู้เป็นเอกพีชี (๓๓) ๔๐. บุคคลผู้เป็นสกทาคามี (๓๔)

๔๑. บุคคลผู้เป็นอนาคามี (๓๕)
๔๒. บุคคลผู้เป็นอันตราปรินิพพายี (๓๖)
๔๓. บุคคลผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี (๓๗)
๔๔. บุคคลผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี (๓๘)
๔๕. บุคคลผู้เป็นสสังขารปรินิพพายี (๓๙)
๔๖. บุคคลผู้เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (๔๐)
๔๗. บุคคลผู้เป็นโสดาบัน (๔๑)
๔๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล (๔๑)
๔๙. บุคคลผู้เป็นสกทาคามี (๔๒)
๕๐. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (๔๒)
๕๑. บุคคลผู้เป็นอนาคามี (๔๓)
๕๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (๔๓)
๕๓. บุคคลผู้เป็นอรหันต์ (๔๔)
๕๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (๔๔)
เอกกอุทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกอุทเทส
๒. ทุกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก
[๘] บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้มักโกรธ บุคคลผู้ผูกโกรธ (๔๕-๔๖)
๒. บุคคลผู้มักลบหลู่ บุคคลผู้ตีเสมอ (๔๗-๔๘)
๓. บุคคลผู้มีความริษยา บุคคลผู้มีความตระหนี่ (๔๙-๕๐)
๔. บุคคลผู้โอ้อวด บุคคลผู้มีมายา (๕๑-๕๒)
๕. บุคคลผู้ไม่มีหิริ บุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ (๕๓-๕๔)
๖. บุคคลผู้ว่ายาก บุคคลผู้มีมิตรชั่ว (๕๕-๕๖)
๗. บุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในการ
บริโภค (๕๗-๕๘)
๘. บุคคลผู้มีสติหลงลืม บุคคลผู้ไม่มีสัมปชัญญะ (๕๙-๖๐)
๙. บุคคลผู้มีศีลวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ (๖๑-๖๒)
๑๐. บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก (๖๓-๖๔)
๑๑. บุคคลผู้ไม่มักโกรธ บุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ (๖๕-๖๖)
๑๒. บุคคลผู้ไม่ลบหลู่ บุคคลผู้ไม่ตีเสมอ (๖๗-๖๘)
๑๓. บุคคลผู้ไม่ริษยา บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ (๖๙-๗๐)
๑๔. บุคคลผู้ไม่โอ้อวด บุคคลผู้ไม่มีมายา (๗๑-๗๒)
๑๕. บุคคลผู้มีหิริ บุคคลผู้มีโอตตัปปะ (๗๓-๗๔)
๑๖. บุคคลผู้ว่าง่าย บุคคลผู้มีมิตรดี (๗๕-๗๖)
๑๗. บุคคลผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้รู้ประมาณในการบริโภค
(๗๗-๗๘)
๑๘. บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ (๗๙-๘๐)
๑๙. บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ (๘๑-๘๒)
๒๐. บุคคลผู้หาได้ยากในโลก ๒ จำพวก (๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกอุทเทส
๒๑. บุคคลผู้ให้อิ่มได้ยาก ๒ จำพวก (๘๔)
๒๒. บุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จำพวก (๘๕)
๒๓. อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนย่อมเพิ่มพูน (๘๖)
๒๔. อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนย่อมไม่เพิ่มพูน (๘๗)
๒๕. บุคคลผู้มีอัธยาศัยเลว บุคคลผู้มีอัธยาศัยประณีต (๘๘-๘๙)
๒๖. บุคคลผู้อิ่มแล้ว บุคคลผู้ทำคนอื่นให้อิ่ม (๙๐)
ทุกอุทเทส จบ
๓. ติกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวก
[๙] บุคคล ๓ จำพวก คือ
๑. บุคคลที่หมดความหวัง บุคคลที่ยังมีความหวัง บุคคลที่ปราศจาก
ความหวัง (๙๑-๙๓)
๒. บุคคลเปรียบเหมือนคนไข้ ๓ จำพวก (๙๔)
๓. บุคคลผู้เป็นกายสักขี บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้เป็นสัทธา-
วิมุตตะ (๙๕-๙๗)
๔. บุคคลผู้พูดภาษาคูถ บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้ บุคคลผู้พูดภาษา
น้ำผึ้ง (๙๘-๑๐๐)
๕. บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผลเก่า บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ บุคคลผู้มี
จิตเหมือนเพชร (๑๐๑-๑๐๓)
๖. บุคคลตาบอด บุคคลตาเดียว บุคคลสองตา (๑๐๔-๑๐๖)
๗. บุคคลผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ บุคคลผู้มีปัญญาเหมือนชายพก
บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวาง (๑๐๗-๑๐๙)
๘. บุคคลบางคนยังมีกามราคะและภวราคะ บุคคลบางคนไม่มีกามราคะ
แต่ยังมีภวราคะ บุคคลบางคนไม่มีทั้งกามราคะและภวราคะ (๑๑๐-
๑๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุทเทส
๙. บุคคลผู้เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน บุคคลผู้เปรียบเหมือน
รอยขีดที่แผ่นดิน บุคคลผู้เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ (๑๑๓-๑๑๕)
๑๐. บุคคลเปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ ๓ จำพวก (๑๑๖)
๑๑. บุคคลเปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวก (๑๑๗)
๑๒. บุคคลผู้ประมาณได้ง่าย บุคคลผู้ประมาณได้ยาก บุคคลผู้ประมาณ
ไม่ได้ (๑๑๘-๑๒๐)
๑๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ บุคคลบาง
คนในโลกนี้ควรสักการะ เคารพ แล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ (๑๒๑-
๑๒๓)
๑๔. บุคคลบางคนที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่ง
ใกล้ บุคคลบางคนที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไป
นั่งใกล้ บุคคลบางคนที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งเข้าใกล้ (๑๒๔-
๑๒๖)
๑๕. บุคคลบางคนมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้พอประมาณในสมาธิ
ทำให้พอประมาณในปัญญา บุคคลบางคนมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้พอประมาณในปัญญา บุคคลบางคนมี
ปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้บริบูรณ์ใน
ปัญญา (๑๒๗-๑๒๙)
๑๖. บุคคลผู้เป็นศาสดา ๓ จำพวก (๑๓๐)
๑๗. บุคคลผู้เป็นศาสดา ๓ จำพวก แม้อื่นอีก (๑๓๑)
ติกอุทเทส จบ
๔. จตุกกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๐] บุคคล ๔ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษ บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ บุคคล
ผู้เป็นสัตบุรุษ บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ (๑๓๒-๑๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุทเทส
๒. บุคคลผู้เป็นคนชั่ว บุคคลผู้เป็นคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว บุคคลผู้เป็น
คนดี บุคคลผู้เป็นคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี (๑๓๖-๑๓๙)
๓. บุคคลผู้มีธรรมชั่ว บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว บุคคล
ผู้มีธรรมดี บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี (๑๔๐-๑๔๓)
๔. บุคคลผู้มีแต่โทษ บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนมาก บุคคลผู้มีโทษเป็น
ส่วนน้อย บุคคลผู้ไม่มีโทษ (๑๔๔-๑๔๗)
๕. บุคคลผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู บุคคลผู้เป็นวิปจิตัญญู บุคคลผู้เป็นเนยยะ
บุคคลผู้เป็นปทปรมะ (๑๔๘-๑๕๑)
๖. บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว บุคคลผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่
ถูกต้อง บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว บุคคลผู้ตอบได้ไม่
ถูกต้องและไม่รวดเร็ว (๑๕๒-๑๕๕)
๗. บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก (๑๕๖)
๘. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวก (๑๕๗)
๙. บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวก (๑๕๘)
๑๐. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวก (๑๕๙)
๑๑. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวก (๑๖๐)
๑๒. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวก (๑๖๑)
๑๓. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวก (๑๖๒)
๑๔. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก (๑๖๓)
๑๕. บุคคลไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
จำพวก ๑ บุคคลไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควร
สรรเสริญจำพวก ๑ บุคคลไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความ
เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสจำพวก ๑ บุคคลไม่พิจารณาไม่
ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใสจำพวก ๑
(๑๖๔)
๑๖. บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนจำพวก ๑
บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญจำพวก ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุทเทส
บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
เลื่อมใสจำพวก ๑ บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใส
ในฐานะที่ควรเลื่อมใสจำพวก ๑ (๑๖๕)
๑๗. บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลแต่
ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล
จำพวก ๑ บุคคลกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลแต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลจำพวก ๑ บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตาม
ความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
ตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลจำพวก ๑ บุคคลไม่กล่าวติเตียนผู้
ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้
ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลจำพวก ๑ (๑๖๖)
๑๘. บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรแต่ไม่ดำรงชีพด้วย
ผลแห่งบุญ บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญแต่ไม่ดำรงชีพด้วยผล
แห่งความขยันหมั่นเพียร บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยัน
หมั่นเพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ บุคคลผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผล
แห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ (๑๖๗)
๑๙. บุคคลผู้มืดมาและมืดไป บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป บุคคลผู้สว่าง
มาแต่มืดไป บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป (๑๖๘)
๒๐. บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป บุคคลผู้สูงมาแต่
ต่ำไป บุคคลผู้สูงมาและสูงไป (๑๖๙)
๒๑. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวก (๑๗๐)
๒๒. บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป บุคคลผู้ถือเสียงเป็น
ประมาณ เลื่อมใสในเสียง (๑๗๑)
๒๓. บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสในความเศร้าหมอง
บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมในในธรรม (๑๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุเทส
๒๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
จำพวก ๑ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ตนเองจำพวก ๑ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นจำพวก ๑ (๑๗๓)
๒๕. บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อนหมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
จำพวก ๑ บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้
อื่นให้เดือดร้อนจำพวก ๑ บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อนหมั่นประกอบ
ในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อนหมั่นประกอบใน
การทำผู้อื่นให้เดือดร้อนจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อนไม่
หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อนจำพวก ๑ บุคคลนั้นไม่
ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ เสวยสุข มีตนประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน (๑๗๔-๑๘๕)
๒๖. บุคคลผู้มีราคะ บุคคลผู้มีโทสะ บุคคลผู้มีโมหะ บุคคลผู้มีมานะ
(๑๘๖)
๒๗. บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในแต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่งจำพวก ๑ บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่งแต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในจำพวก ๑ บุคคลผู้ได้ความ
สงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
จำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งจำพวก ๑ (๑๘๗)
๒๘. บุคคลผู้ไปตามกระแส บุคคลผู้ไปทวนกระแส บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น
บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก (๑๘๘)
๒๙. บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ บุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่เข้าถึงสุตะ
บุคคลผู้มีสุตะมากแต่ไม่เข้าถึงสุตะ บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ
(๑๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกอุทเทส
๓๐. บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกบุณฑริก บุคคลผู้เป็นสมณะ
ผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ (๑๙๐)
จตุกกอุทเทส จบ
๕. ปัญจกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๕ จำพวก
[๑๑] บุคคล ๕ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้ต้องอาบัติและเดือดร้อนทั้งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่ง
เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรม
เหล่านั้นที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแก่ตนจำพวก ๑ บุคคลผู้
ต้องอาบัติแต่ไม่เดือดร้อนทั้งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรมเหล่านั้นที่
เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแก่ตนจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติ
แต่เดือดร้อนและไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตตติ
อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรมเหล่านั้นที่เป็นอกุศลซึ่ง
เป็นบาปอันเกิดขึ้นแก่ตนจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติ ไม่เดือดร้อน
แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับ
ไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรมเหล่านั้นที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอัน
เกิดขึ้นแก่ตนจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติ ไม่เดือดร้อน และ
รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไป
โดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรมเหล่านั้นที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้น
แก่ตนจำพวก ๑ (๑๙๑)
๒. บุคคลให้แล้วดูหมิ่น บุคคลดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วมกัน บุคคลผู้เชื่อ
ง่าย บุคคลผู้โลเล บุคคลผู้โง่งมงาย (๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๖. ฉักกอุทเทส
๓. บุคคลเปรียบเหมือนนักรบอาชีพ ๕ จำพวก (๑๙๓-๑๙๘)
๔. ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวก (๑๙๙)
๕. ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตอันเขานำมาถวายในภายหลังเป็นวัตร ๕ จำพวก
(๒๐๐)
๖. ภิกษุผู้ถือการนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
๗. ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวก
๘. ภิกษุผู้ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร ๕ จำพวก
๙. ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๐. ภิกษุผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๑. ภิกษุผู้ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๒. ภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๓. ภิกษุผู้ถือการนั่งบนอาสนะตามที่ได้จัดไว้เป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๔. ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวก (๒๐๑)
ปัญจกอุทเทส จบ
๖. ฉักกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๖ จำพวก
[๑๒] บุคคล ๖ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน ถึง
ความเป็นสัพพัญญูในธรรมนั้น และถึงความชำนาญในทศพลญาณ
จำพวก ๑ บุคคลผู้ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมา
ก่อน แต่ไม่ถึงความเป็นสัพพัญญูในธรรมนั้น และไม่ถึงความ
ชำนาญในทศพลญาณจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเอง
ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
และบรรลุสาวกบารมีจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๗. สัตตกอุทเทส
ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
แต่ไม่บรรลุสาวกบารมีจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเอง
ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนและไม่ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
เป็นพระอนาคามี ไม่มาสู่โลกนี้อีกจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะ
ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนและไม่ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์
ในปัจจุบัน เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี ยังมาสู่โลกนี้
อีกจำพวก ๑ (๒๐๒)
ฉักกอุทเทส จบ
๗. สัตตกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๗ จำพวก
[๑๓] บุคคล ๗ จำพวก คือ
(๑) บุคคลเปรียบเหมือนคนตกน้ำ ๗ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้จมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง
๒. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก
๓. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่
๔. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู
๕. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป
๖. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง
๗. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่งเป็นผู้ลอยบาปอยู่บนบก (๒๐๓)
(๒) บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ (๒๐๔)
บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ (๒๐๕)
บุคคลผู้เป็นกายสักขี บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี
บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี (๒๐๖)
สัตตกอุทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑๐. ทสกอุทเทส
๘. อัฏฐกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๘ จำพวก
[๑๔] บุคคล ๘ จำพวก คือ
(๑) บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ จำพวก บุคคลผู้พร้อมเพรียง
ด้วยผล ๔ จำพวก (๒๐๗)
อัฏฐกอุทเทส จบ
๙. นวกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๙ จำพวก
[๑๕] บุคคล ๙ จำพวก คือ

๑. บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ ๒. บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ
๓. บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ ๔. บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ
๕. บุคคลผู้เป็นกายสักขี ๖. บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
๗. บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ ๘. บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี
๙. บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี (๒๐๘)

นวกอุทเทส จบ
๑๐. ทสกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๑๐ จำพวก
[๑๖] บุคคล ๑๐ จำพวก คือ
(๑) บุคคลผู้มีความสำเร็จในกามาวจรภูมินี้ ๕ จำพวก บุคคลผู้ละ
อัตภาพในกามาวจรภูมินี้แล้วสำเร็จ ๕ จำพวก (๒๐๙)
ทสกอุทเทส จบ
มาติกาปุคคลบัญญัติ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
นิทเทส
๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๑] บุคคลผู้เป็นสมยวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย๑ทุกกาล ทุกสมัย และอาสวะ
ทั้งหลายของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมยวิมุตตะ
[๒] บุคคลผู้เป็นอสมยวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายทุกกาล ทุกสมัย แต่อาสวะ
ทั้งหลายของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอสมยวิมุตตะ
แม้พระอริยบุคคลทั้งหมดก็ชื่อว่าผู้เป็นอสมยวิมุตตะในอริยวิโมกข์๒
[๓] บุคคลผู้เป็นกุปปธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูป๓เป็นอารมณ์หรือมีอรูป๔เป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่ได้ตามที่ต้องการ มิใช่ได้โดยไม่ยาก มิใช่ได้โดยไม่ลำบาก มิใช่จะเข้า
หรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตามกำหนด
เวลาที่ต้องการ ข้อที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงเสื่อมเพราะอาศัยความประมาทของบุคคล
นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกุปปธรรม
[๔] บุคคลผู้เป็นอกุปปธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
และบุคคลนั้นเป็นผู้ได้ตามที่ต้องการ ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก จะเข้าหรือ
ออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตามกำหนดเวลา
ที่ต้องการ ข้อที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงเสื่อมไปเพราะอาศัยความประมาทของบุคคล
นั้น นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอกุปปธรรม พระอริยบุคคล
แม้ทั้งหมดก็ชื่อว่าผู้เป็นอกุปปธรรมในอริยวิโมกข์

เชิงอรรถ :
๑ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๓๕)
๒ อริยวิโมกข์ ในที่นี้หมายถึงโลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๓๗)
๓ รูป ในที่นี้หมายถึงรูปนิมิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓/๓๗)
๔ อรูป ในที่นี้หมายถึงอรูปนิมิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓/๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๕] บุคคลผู้เป็นปริหานธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่ได้ตามที่ต้องการ มิใช่ได้โดยไม่ยาก มิใช่ได้โดยไม่ลำบาก มิใช่
จะเข้าหรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตาม
กำหนดเวลาที่ต้องการ ข้อที่บุคคลนั้นจะพึงเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้นเพราะอาศัย
ความประมาท นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปริหานธรรม
[๖] บุคคลผู้เป็นอปริหานธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
และบุคคลนั้นเป็นผู้ได้ตามที่ต้องการ ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก จะเข้าหรือ
ออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตามกำหนดเวลา
ที่ต้องการ ข้อที่บุคคลนั้นจะพึงเสื่อมจากสมาบัตินั้นเพราะอาศัยความประมาท นั่น
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอปริหานธรรม พระอริยบุคคลแม้
ทั้งหมดก็ชื่อว่าผู้เป็นอปริหานธรรมในอริยวิโมกข์
[๗] บุคคลผู้เป็นเจตนาภัพพะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่จะได้ตามที่ต้องการ มิใช่จะได้โดยไม่ยาก มิใช่จะได้โดยไม่ลำบาก
มิใช่จะเข้าหรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ
ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ ถ้าตามใส่ใจ๑ ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น ถ้าไม่
ตามใส่ใจ ย่อมเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นเจตนาภัพพะ
[๘] บุคคลผู้เป็นอนุรักขนาภัพพะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่จะได้ตามที่ต้องการ มิใช่จะได้โดยไม่ยาก มิใช่จะได้โดยไม่ลำบาก
มิใช่จะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ
ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ ถ้าตามรักษา ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น ถ้า
ไม่ตามรักษา ย่อมเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอนุรักขนาภัพพะ

เชิงอรรถ :
๑ ตามใส่ใจในที่นี้หมายถึงเข้าสมาบัติเนือง ๆ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗/๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๙] บุคคลผู้เป็นปุถุชน เป็นไฉน
บุคคลใดยังละสังโยชน์ ๓ ไม่ได้และไม่ปฏิบัติเพื่อละสภาวธรรมเหล่านั้น บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นปุถุชน
[๑๐] บุคคลผู้เป็นโคตรภู เป็นไฉน
การก้าวลงสู่อริยธรรมมีในลำดับแห่งสภาวธรรมเหล่าใด บุคคลผู้ประกอบด้วย
สภาวธรรมเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นโคตรภู
[๑๑] บุคคลผู้เป็นภยูปรตะ เป็นไฉน
พระเสขะ ๗ จำพวกและปุถุชนผู้มีศีลชื่อว่าผู้เป็นภยูปรตะ พระอรหันต์ชื่อว่า
ผู้เป็นอภยูปรตะ
[๑๒] บุคคลผู้เป็นอภัพพาคมนะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม๑ เครื่องกั้นคือกิเลส๒ เครื่องกั้นคือ
วิบาก๓ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา ไม่ควรหยั่งลงสู่
นิยาม๔ที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้เป็นอภัพพาคมนะ
[๑๓] บุคคลผู้เป็นภัพพาคมนะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือ
วิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ไม่โง่เขลา ควรหยั่งลงสู่นิยามที่ถูกต้อง
ในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้เป็นภัพพาคมนะ

เชิงอรรถ :
๑ กรรม ในที่นี้หมายถึงอนันตริยกรรม ๕ คือ (๑) ฆ่ามารดา (๒) ฆ่าบิดา (๓) ฆ่าพระอรหันต์ (๔) ทำร้าย
พระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต (๕) ทำสงฆ์ให้แตกกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๔๒)
๒ กิเลสในที่นี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๔๒)
๓ วิบากในที่นี้หมายถึงอเหตุกปฏิสนธิ ได้แก่ ปฏิสนธิที่ปราศจากกุศลเหตุ ๓ ประการ คือ อโลภะ อโทสะ
และอโมหะ ได้แก่ ปฏิสนธิของสัตว์ดิรัจฉาน และทุกเหตุกปฏิสนธิ หมายถึงปฎิสนธิที่ปราศจากอโมหเหตุ
ได้แก่ ปฏิสนธิของมนุษย์บางจำพวก เช่น พวกที่บอด ใบ้ มาแต่กำเนิด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๔๒)
๔ นิยาม ในที่นี้หมายถึงมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๑๔] บุคคลผู้เป็นนิยตะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม ๕ จำพวก บุคคลผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ และพระ
อริยบุคคล ๘ จำพวกชื่อว่าผู้เป็นนิยตะ บุคคลที่เหลือชื่อว่าผู้เป็นอนิยตะ
[๑๕] บุคคลผู้เป็นปฏิปันนกะ เป็นไฉน
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ จำพวก ชื่อว่าผู้เป็นปฏิปันนกะ บุคคลผู้
พร้อมเพรียงด้วยผล ๔ จำพวกชื่อว่าผู้เป็นผเลฐิตะ
[๑๖] บุคคลผู้เป็นสมสีสี เป็นไฉน
ความสิ้นอาสวะและความสิ้นชีวิตของบุคคลใดไม่ก่อนไม่หลัง บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้เป็นสมสีสี
[๑๗] บุคคลผู้เป็นฐิตกัปปี เป็นไฉน
บุคคลนี้เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล และเป็นเวลาที่กัปถูกไฟไหม้
กัปไม่พึงถูกไฟไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้เป็นฐิตกัปปี บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคแม้ทั้งหมดชื่อว่าผู้เป็นฐิตกัปปี
[๑๘] บุคคลผู้เป็นอริยะ เป็นไฉน
พระอริยบุคคล ๘ จำพวกชื่อว่าผู้เป็นอริยะ บุคคลที่เหลือชื่อว่าผู้เป็นอนริยะ
[๑๙] บุคคลผู้เป็นเสขะ เป็นไฉน
บุคคลเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ จำพวก บุคคลเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วย
ผล ๓ จำพวก ชื่อว่าผู้เป็นเสขะ พระอรหันต์ชื่อว่าผู้เป็นอเสขะ บุคคลที่เหลือชื่อว่า
ผู้เป็นเนวเสขานาเสขะ
[๒๐] บุคคลผู้เป็นเตวิชชะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ประกอบด้วยวิชชา ๓ ชื่อว่าผู้เป็นเตวิชชะ
[๒๑] บุคคลผู้เป็นฉฬภิญญะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ประกอบด้วยอภิญญา ๖ ชื่อว่าผู้เป็นฉฬภิญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๒๒] บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน
บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ ๔ นั้น และถึงความชำนาญในทศพลญาณ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
[๒๓] บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน
แต่ไม่บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ ๔ นั้น และไม่ถึงความชำนาญใน
ทศพลญาณ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัจเจกพุทธะ
[๒๔] บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่และอาสวะทั้งหลายของเขา
ย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ
[๒๕] บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลาย
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ
[๒๖] บุคคลผู้เป็นกายสักขี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของ
เขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกายสักขี
[๒๗] บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคต
ประกาศแล้วเป็นอันเขาเห็นชัดแล้วประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่าง
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
[๒๘] บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคต
ประกาศแล้วเป็นอันเขาเห็นชัดแล้วประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่ไม่เหมือนผู้ชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
[๒๙] บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน
ปัญญินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง
บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นตัวนำ มีปัญญาเป็นประธาน บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น
ธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
[๓๐] บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง
บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น
สัทธานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
[๓๑] บุคคลผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป
ในเทวโลกและมนุษยโลก ๗ ชาติแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น
สัตตักขัตตุปรมะ
[๓๒] บุคคลผู้เป็นโกลังโกละ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป ๒
หรือ ๓ ตระกูลแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นโกลังโกละ
[๓๓] บุคคลผู้เป็นเอกพีชี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลนั้นเกิดเป็น
มนุษย์ภพเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นเอกพีชี

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคเบื้องสูง ๓ (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค)
(สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๑/๕๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๓๔] บุคคลผู้เป็นสกทาคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะทำราคะ
โทสะ และโมหะให้เบาบาง เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะ
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสกทาคามี
[๓๕] บุคคลผู้เป็นอนาคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็น
ธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอนาคามี
[๓๖] บุคคลผู้เป็นอันตราปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา
บุคคลนั้นยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูงในลำดับที่เกิดบ้าง ยังไม่ถึง
ท่ามกลางประมาณอายุบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอันตราปรินิพพายี
[๓๗] บุคคลผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา
บุคคลนั้นยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง ก้าวล่วงท่ามกลางประมาณ
อายุบ้าง ใกล้จะทำกาลกิริยาบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี
[๓๘] บุคคลผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา
บุคคลนั้นยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกะ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตทันทีเมื่อตายก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดา
และสัตว์นรกเป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น