Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

ธัมมโชติ-หน้าหลัก

เรียนลัดพระไตรปิฎก : รวมธรรมะน่าสนใจจากพระไตรปิฎกด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อคนรุ่นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ระดับผู้เริ่มสนใจพระพุทธศาสนา จนถึงผู้ที่ต้องการบรรลุธรรมขั้นสูง (ท่านสามารถคลิกที่สารบัญที่มุมขวาล่างของหน้าจอ ซึ่งจะมีหมวดต่างๆ ให้เลือกอ่าน เมื่อคลิกหมวดธัมมโชติ-เรียนลัดพระไตรปิฎกก็จะแสดงรายชื่อเรื่องสำหรับเลือกอ่าน)

รายการในหน้านี้


เนื้อหาจะมีทั้งส่วนที่นำพระไตรปิฎกพระสูตรที่คนทั่วไปควรจะรู้มาลงเอาไว้โดยตรง แล้วอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่เข้าใจยาก ส่วนที่ประมวลความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในพระสูตรต่างๆ มารวมไว้ด้วยกัน ส่วนที่เป็นธรรมะพื้นฐานเพื่อปูความรู้ให้เข้าใจพระไตรปิฎกได้ง่ายขึ้น และส่วนที่เป็นการตอบคำถามที่มีผู้สนใจสอบถามเข้ามาแล้วผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นด้วย จึงได้นำมาลงเอาไว้เช่นกันครับ

เนื้อหาธรรมะในเว็บนี้จะยึดพระไตรปิฎกของเถรวาทเป็นหลักนะครับ ท่านผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้กับคำสอนของครูบาอาจารย์ที่ท่านนับถือได้ด้วยตัวของท่านเอง แนวทางการอธิบายธรรมะจะเน้นที่การทำความเข้าใจด้วยเหตุผลมากกว่าการใช้ศรัทธาความเชื่อนะครับ เพราะน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งท่านผู้อ่านและแก่พระพุทธศาสนามากกว่า โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นทั้งหมด 7 หมวด เพื่อให้ง่ายในการเลือกอ่าน คือ
  • หมวดทาน
  • หมวดศีล
  • สมถกรรมฐาน (สมาธิ)
  • วิปัสสนา (ปัญญา)
  • ธรรมทั่วไป
  • บทวิเคราะห์
  • ตัวอย่างการบรรลุธรรม

เกี่ยวกับผู้ดำเนินการ

เนื่องจากทางผู้ดำเนินการไม่ต้องการให้ผู้อ่านอาศัยความเชื่อถือหรือความศรัทธาในตัวผู้ดำเนินการ ในการยอมรับธรรมบรรยายต่างๆ แต่ต้องการให้ผู้อ่านพิจารณาด้วยปัญญาของท่านเองว่าสิ่งที่ผู้ดำเนินการบรรยายไว้นั้นถูกต้องหรือไม่ เมื่อท่านพิจารณาแล้วเห็นว่าควรเชื่อก็จึงเชื่อ เมื่อไม่แน่ใจก็รับฟังไว้ แล้วลองปฏิบัติให้ถึงขั้นนั้นดู หรือถ้าท่านเห็นว่าธรรมบรรยายนั้นไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็ไม่ต้องเชื่อ สมดังที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แก่พวกชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล ดังความในพระไตรปิฎก (เกสปุตตสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 12 อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ข้อ 505) ดังนี้

ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่

ดังนั้น ผู้ดำเนินการจึงไม่ขอแสดงรายละเอียดใด ๆ เกี่ยวกับตนเอง "ถ้าท่านจะยึดติดก็ขอให้ยึดที่ตัวธรรมเถิด อย่าได้ยึดติดที่ตัวบุคคลใด ๆ เลย"

ด้วยความปรารถนาดี
จาก
ธัมมโชติ

ลิขสิทธิ์ของบทความธัมมโชติ

ผู้สนใจท่านใดที่เห็นคุณค่าของเว็บไซต์แห่งนี้และมีความประสงค์จะนำข้อมูลไปเผยแพร่ หรือประชาสัมพันธ์ในรูปแบบใดๆ ก็ตาม รวมถึงการทำเป็น Mirror Site เพื่อยืดอายุของบทความธรรมะเหล่านี้ในโลกอินเทอร์เน็ตให้ยืนนาน (เพราะไม่ทราบว่าทางผู้ให้บริการพื้นที่ทำเว็บแห่งนี้ จะเก็บเว็บไซต์ธัมมโชตินี้ เอาไว้อีกนานเท่าไหร่) อันจะเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกต่อไป ผู้ดำเนินการยินยอมให้กระทำได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตใดๆ ทั้งสิ้น โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  1. จะต้องไม่ขัดต่อคุณธรรม และจริยธรรมอันดี รวมทั้งกฎหมายบ้านเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
  2. การเผยแพร่ หรือประชาสัมพันธ์นั้น จะเป็นการให้บริการฟรี หรือคิดค่าใช้จ่าย (ในราคาอันสมควร) ก็ได้
  3. ลิขสิทธิ์ทั้งหมดของบทความ รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ในเว็บไซต์ธัมมโชติแห่งนี้ ผู้ดำเนินการขอมอบให้เป็นของพระพุทธศาสนา ผู้ดำเนินการไม่ขอมอบลิขสิทธิ์ให้กับผู้ใดผู้หนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่อนุญาตให้ผู้สนใจทุกท่านนำบทความ รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ในเว็บไซต์ธัมมโชติแห่งนี้ ไปเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ได้ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้นี้
  4. กรุณาอย่าย่อ หรือตัดข้อความในบทความต่างๆ ออกไป เพราะบางเรื่องผู้ดำเนินการอธิบายอย่างละเอียดจนอาจดูเยิ่นเย้อ แต่ที่ทำอย่างนั้นเพื่อป้องกันการเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้อ่าน การตัดข้อความบางตอนออกไปอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
  5. ถ้าจะมีการแทรกข้อความอะไรลงไปในบทความ กรุณาใส่ในวงเล็บ และลงชื่อกำกับเอาไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านทราบที่มาที่ชัดเจน
บุญกุศลอันใดที่บังเกิดขึ้นแล้ว และจักบังเกิดขึ้น จากการสร้างสรรค์เว็บไซต์ธัมมโชตินี้ ขอผลบุญนั้นจงดลบันดาลให้ผู้ใฝ่ธรรมทุกๆ ท่าน มีความเจริญก้าวหน้าในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป และขอให้หลักธรรมของพระพุทธศาสนาแพร่หลาย และเจริญรุ่งเรืองอยู่คู่โลก เพื่อสร้างความสงบสุขให้แก่โลก ตราบนานเท่านานเทอญ.

สารบัญธัมมโชติ

ท่านสามารถเปิดสารบัญได้จากหลายจุดนะครับ ทั้งจากเมนูลอยที่ตรึงอยู่ที่มุมล่างขวาของหน้า จากแถบสารบัญที่อยู่ด้านบนสุดและด้านล่างสุดของทุกหน้า รวมถึงด้านล่างของหน้าหลักธัมมโชติแห่งนี้

หมวดทาน


หมวดศีล


สมถกรรมฐาน (สมาธิ)


วิปัสสนา (ปัญญา)


ธรรมทั่วไป


บทวิเคราะห์


ตัวอย่างการบรรลุธรรม



12 ความคิดเห็น :

  1. ຈາກຫນຶ່ງໃນຄົນລາວຜູ້ນັບຖືສາສະນາພຸດ
    ຂໍຂອບໃຈທ່ານເປັນຢ່າງສູງ ສຳຫລັບການແບ່ງປັນທີ່ບໍ່ຫວັງຜົນນີ້
    ຂໍໃຫ້ຄວາມດີທີ່ທ່ານສ້າງເປັນຜົນບຸນ ແລະ ສ້າງຄວາມສຸກໃຫ້ທ່ານຢ່າງແທ້ຈິງ.

    ตอบลบ
  2. หมอฉัตร เนติฯ5 สิงหาคม 2560 เวลา 06:59

    อยากได้คำแปลพระอภิธรรมปิฎกเป็นภาษาไทย สรุปโดยย่อครับ
    เพราะเวลาไปนั่งฟังสวดศพเป็นภาษาบาลี แปลไม่ออก รู้สึกว่าฟังแล้วไม่ได้ประโยชน์

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สวัสดีครับ

      สำหรับเรื่องบทสวดอภิธรรม (อภิธรรม 7 คัมภีร์) นั้น สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงแปลและอธิบายขยายความเอาไว้แล้ว สามารถอ่านได้ที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้นะครับ

      https://www.watsacramento.org/w-article-074B-t.htm

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ24 สิงหาคม 2560 เวลา 13:02

    ขอบพระคุณครับ อ่านแล้วยังเข้าใจยากอยู่ครับ
    ความรู้ผมน้อย มีฉบับแปลไทยเป็นไทยไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สวัสดีครับ

      ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์พระไตรปิฎกออนไลน์ http://tripitaka-online.blogspot.com

      ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนก็สอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ

      ลบ
  4. อนุโมทนาด้วยนะครับ เป็นเรื่องยากที่คนไม่เคยศึกษาพื้นฐานมาก่อนบ้าง จะอ่านธรรมอันลึกซึ้งได้เข้าใจ แม้จะอธิบายละเอียดแค่ไหนก็ตาม เพราะระดับจิตยังไม่พร้อม แนะนำว่า ให้อ่านหรือฟังคร่าวๆ อย่าพยายามเข้าใจ สักแต่ว่าอ่านหรือฟังไปเรื่อยๆ บ่อยๆ จบแล้วก็ซ้ำอีกหลายรอบ จนกว่าจะเข้าใจ จิตจะค่อยๆ เรียนรู้ แล้วจะเข้าใจลึกซึ้งเอง บางครั้งอายุก็สำคัญ คนที่ยังไม่ผ่านชีวิตมา ก็อาจจะไม่เข้าใจคำว่าทุกข์ที่แท้ได้จริง มันมีปัจจัยเยอะมาก แต่ถ้าอ่านแล้ว จะต้องเข้าใจให้ได้ทันที จะเป็นการกดดันจิตตัวเอง แล้วจะทำให้ยิ่งอ่าน ยิ่งไม่เข้าใจ ควรอ่าน ผ่านๆ ไปก่อน ตรงไหนไม่เข้าใจ ข้ามไปก่อน เหมือนดูซีรีส์ไม่แปลไทย บางทีเราก็เข้าใจคำศัพท์เอง โดยแปลไม่ได้ แต่เข้าใจ

    ตอบลบ
  5. ขอกราบขอบพระคุณท่านธัมมโชติที่ทำ website นี้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระผมอย่างมากในการศึกษาธรรมะ.

    ตอบลบ

  6. สวัสดีครับ

    ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์พระไตรปิฎกออนไลน์ http://tripitaka-online.blogspot.com

    โดยทั่วไปแล้วชีวิตย่อมเป็นที่รักยิ่งของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนะครับ พระพุทธเจ้าก็เคยตรัสว่า "บุคคลตั้งใจค้นหาทั่วทุกทิศ ก็ไม่พบใครที่ไหนซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนเลย" : มัลลิกาสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๓๗

    ดังนั้น คนที่สามารถฆ่าตัวตายได้นั้น ในขณะนั้นสภาวะจิตย่อมจะเป็นจิตประเภทโทสะที่มีกำลังแรงกล้า (จิตประเภทโทสะ เช่น โกรธ ผิดหวัง เสียใจ น้อยใจ กลัว กังวล เครียด เหงา) จึงสามารถทำลายสิ่งที่เป็นที่รักยิ่งคือชีวิตของตนได้

    การจะแก้กรรมที่เกิดจากโทสะนั้น (หมายถึงการบรรเทา/เจือจางการส่งผลของกรรมนั้นนะครับ เพราะบุญกับบาป หรือกุศลกรรมกับอกุศลกรรมเป็นกรรมคนละส่วนกัน ทดแทนกันไม่ได้) ก็ต้องทำกรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ ซึ่งก็คือเมตตานะครับ

    ตัวอย่างเช่น การแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างไม่มีประมาณ การช่วยชีวิตผู้อื่นด้วยจิตเมตตา การช่วยชีวิตสัตว์ที่จะถูกฆ่า การบริจาคทรัพย์/อวัยวะให้โรงพยาบาลเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น การบริจาคอาหารเพื่อต่อชีวิตให้ผู้อื่น ฯลฯ

    ธัมมโชติ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ6 สิงหาคม 2567 เวลา 11:32

    ผมขอกราบอนุโมทนาบุญการสร้างเวลพระไตรปิฎกนี้ด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ15 สิงหาคม 2567 เวลา 20:53

    ສາທຸ ຂໍອະນຸຍາດອ່ານແລະເເປເປັນພາສາລາວເດີ

    ตอบลบ